แม้ว่าปัจจุบันหลายๆ คนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ด้วยตัวเองได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้นภายใต้พัฒนาการของเทคโนโลยีที่เข้ามาทั้งช่วยต่อยอด ช่วยต่อเติม กระทั่งถึงการแทรกแซงการศึกษาในระบบ
หากมองว่าเทคโนโลยีที่มีพัฒนาการในยุคนี้ อาทิเช่น AI หรือ ArtificialIntelligent จะเข้ามาแทนที่ หรือ Disrupt แรงงานในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมกระทั่งถึงงานด้านการบัญชีแล้ว แล้วเรามองว่านั่นคืออุปสรรคและเรากำลังจะถูกแทนที่ คงไม่จำเป็นต้องเปิดสอนหลักสูตรการบัญชีกันอีกต่อไป แต่ในข้อเท็จจริงคือปรากฏการณ์กำลังจะส่งผลต่อทุกๆ อาชีพและหากพลิกมุมมองจะพบว่าความเปลี่ยนแปลงนี้นอกจากความท้าทายยังมีสิ่งที่เรียกว่า ‘โอกาส’ รวมอยู่ด้วย หากว่าเราสามารถดึงเอาเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วยยกระดับประสิทธิภาพงานด้วยศักยภาพของเทคโนโลยีที่มีทั้งความถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว แล้วตัวเราเองก็หันมาพัฒนาทักษะและปรับบทบาท ตลอดจนการเรียนรู้เพื่อเป็นนักบัญชียุคใหม่ คือความเห็นของ รศ.ดร.นฤนาถ ศราภัยวานิช หัวหน้าภาควิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือ AccBA CMU
ด้วยการเล็งเห็นแนวโน้มความเปลี่ยนแปลง ภาควิชาการบัญชีของ AccBA จึงเริ่มกระบวนการปรับพัฒนาหลักสูตรซึ่งจะ Implement ในปี พ.ศ. 2563 โดยหลักสูตรระดับปริญญาตรีจะมีวิชา Minor เกี่ยวกับไอทีเพิ่มเข้ามาและกำหนดเป็นวิชาบังคับ ซึ่งหลักสูตรบัญชีปัจจุบันไม่ได้กำหนดให้นักศึกษาต้องเรียน Minor แต่หากนักศึกษาสนใจจะเรียน Minor ก็จะเปิดกว้างให้สามารถเลือกเรียน Minor สาขาอะไรก็ได้ เช่น Major บัญชี แต่ Minor อาจจะเป็นภาษาอังกฤษ เยอรมัน วิทยาศาสตร์ หรือสาขาอื่นๆ เป็นต้น แต่หลักสูตรใหม่จะเป็นภาคบังคับเลยว่า Major บัญชี ต้อง Minor ไอที ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 5 วิชา โดยทางภาควิชาได้เข้าไปสร้างความร่วมมือกับคณะวิศวฯ เพื่อร่วมศึกษาและกำหนดแนววิชาด้านไอทีที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องและจำเป็นกับวิชาชีพบัญชี หรือ AI มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานในวิชาชีพตรงไหน อย่างไรบ้าง
ทั้งนี้ รศ.ดร.นฤนาถ ยังกล่าวถึงกระบวนการปรับพัฒนาหลักสูตรของภาควิชาบัญชีว่า “อันดับแรกทางสาขาการบัญชีเราเริ่มจากการทำความเข้าใจ AI ด้วยวิชา Minor ที่จะสอนให้นักศึกษาได้รู้ว่า AI ทำงานอย่างไรและสามารถนำมาสนับสนุนและต่อยอดในวิชาชีพได้อย่างไร โดยเทรนด์ปัจจุบันจะเห็นว่ามีเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่พัฒนาขึ้นมาช่วยการจัดการด้านบัญชีได้มาก ถึงขั้นที่สามารถสแกนเอกสารแล้วเข้าสู่ระบบงานบัญชีเพื่อทำการบันทึกและรวบรวมข้อมูลได้เลย ซึ่งช่วยลดงานด้านการบันทึกรายการหรือ Record Transaction เบื้องต้นได้มาก เท่ากับว่าเทคโนโลยีเหล่านี้ เข้ามาช่วยลดทอนงานในลักษณะที่เป็น Routine ออกไปได้มาก นั่นคือความหมายของการถูกแทนที่หรือถูกดิสรัป แต่อย่างไรก็ตามงานที่เป็นเรื่องของการคิดวิเคราะห์ งานวางแผน การตัดสินใจหรือหน้าที่ในการ Approve ข้อมูล วิเคราะห์ Transaction เชิงลึกนั้นยังคงต้องเป็นหน้าที่ของมนุษย์อยู่นั่นเอง ดังนั้น ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจึงต้องมีทักษะและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ยุคสมัย นอกจากนี้ทางหลักสูตรยังมีการส่งเสริม Soft Skill เพื่อเป็นทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและมีจิตสำนึกต่อสังคมอีกด้วย”
บ่มเพาะจิตสำนึกเพื่อสังคม
ทั้งนี้ รศ.ดร.นฤนาถ ยังขยายความถึง Vision ด้านการเรียนการสอนของคณะที่นอกจากเรื่องทักษะทางวิชาชีพแล้ว ทางคณะฯ ยังมีเป้าหมายสำคัญที่ต้องการผลิตบัณฑิตที่มีจิตสำนึกต่อสังคมหรือ Social Conscious ว่า
“ความรู้ที่เราจัดในหลักสูตร 4 ปีนี้น่าจะก่อประโยชน์อะไรให้สังคมได้บ้าง มีการปรับหลักสูตรให้นักศึกษาปี 4 เข้าไปศึกษาหาข้อมูลว่ามีชุมชนใดที่ต้องการความช่วยเหลือและนักศึกษาเห็นว่าตนเองสามารถนำองค์ความรู้ในสาขาบัญชีที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา ไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาให้กับชุมชนเหล่านั้นได้อย่างยั่งยืนบ้าง แล้วพัฒนาเป็นข้อเสนอโครงการที่ระบุวัตถุประสงค์ แนวคิด วิธีการในการแก้ปัญหา ตัวชี้วัด หลังจากที่โครงการได้รับแนะนำและอนุมัติจากอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ นักศึกษาจะเข้าไปทำการช่วยเหลือชุมชนตามแนวทางและวิธีการที่ได้ออกแบบไว้ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่อง 2 ภาคการศึกษา ทำให้นักศึกษามีเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง เป็นการผสมผสานความรู้และทักษะทางวิชาชีพบัญชีกับศาสตร์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ไอที Soft Skill ในด้านความสามารถในการสื่อสาร การทำงานเป็นทีมและการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยมีเหล่าคณาจารย์ช่วยกันทำหน้าที่เป็น Advisor คอยให้คำปรึกษา แนะนำและกลั่นกรองไอเดียต่างๆ ให้แก่นักศึกษา”
นอกจากบทบาทการเป็นพี่เลี้ยงโครงการเพื่อสังคมของนักศึกษาแล้ว คณาจารย์ของภาควิชาฯ ยังมีบทบาทหน้าที่ในการดูแลประสานการนิเทศและการฝึกงานของนักศึกษา กับผู้ประกอบการตลอดจนศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันที่อยู่ในตลาดงาน โดยทางคณะฯ จะเน้นการเป็น Partner กับสำนักงานบัญชีบริษัทต่างๆ ทั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์เพื่อส่งนักศึกษาไปฝึกงาน
รศ.ดร.นฤนาถ กล่าวถึงจุดเด่นของหลักสูตรบัญชีของ AccBA ว่าคือ เรื่องของการนำเอาไอทีมาเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการฝึกงานและ Social Conscious ที่จะทำให้เด็กเรียนรู้การเป็นผู้ให้ ฝึกฝนการทำงานเป็นทีมและทักษะการสื่อสาร นำองค์ความรู้ที่มีอยู่ไปประยุกต์ใช้จริง เรามีการกำหนดให้นักศึกษาเรียนซอฟต์แวร์ก่อนที่เด็กจะออกไปฝึกงาน ทั้งตัวเล็ก อย่าง Express หรือ BC Account แล้วแต่ว่าช่วงนั้นอะไรที่กำลังมาแรง ตัวกลางก็จะเป็น SAP B1 และตัวใหญ่ ที่ Listed Company ใช้เช่น SAP ซอฟต์แวร์ทั้ง 3 ระดับนี้จะถูกบรรจุในหลักสูตรให้นักศึกษาได้เรียนรู้ เพื่อให้นักศึกษาสามารถปรับใช้ได้กับซอฟต์แวร์อื่นๆ ทำให้เราได้รับ Feedback จากบริษัทต่างๆ ว่าเด็กเราต่างจากที่อื่นเพราะรู้จักโปรแกรมเหล่านี้ สร้างความพึงพอใจและบัณฑิตก็มีโอกาสที่จะได้รับ Offer งานค่อนข้างสูง
ปัจจุบันหลายสิ่งหลายอย่างปรับเปลี่ยนไปอย่างมากทั้งเรื่องของการลดลงของจำนวนประชากรทั้งของเราเองและในหลายๆ ประเทศ โอกาสการศึกษามีมากขึ้น รูปแบบการศึกษา และคุณสมบัติของพนักงานที่นายจ้างต้องการในอนาคตอาจไม่ได้ยึดติดอยู่เพียงปริญญา แต่อยู่ที่ทักษะที่จะทำงานได้ จุดนี้จึงถือเป็นความท้าทายสำหรับเรา ทำให้ระยะเวลาของการปรับหลักสูตรจากเดิมทุกๆ 4 ปี ต้องเร่งเร็วขึ้นเพื่อให้เท่าทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อย่างไรก็ตามสาขาการบัญชียังคงได้รับความสนใจเป็นจำนวนมากจากผู้เรียนและผู้ปกครอง เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานและมีตำแหน่งงานรองรับจำนวนมากทั้งในภาครัฐและเอกชน
สำหรับเทรนด์ทางด้านการบัญชีจะยังคงก้าวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง ทางภาควิชาบัญชี AccBA พยายามที่จะทำงานให้รองรับและตอบสนองในสิ่งที่เราสามารถคาดการณ์ได้ว่าน่าจะส่งผลกระทบและเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนให้มากที่สุด โดยเฉพาะหลักสูตรปี พ.ศ 2563 จะเห็นการปรับเปลี่ยนของหลักสูตรมากพอสมควร แต่ในระหว่างนั้นหากมีอะไรที่เปลี่ยนใหม่ ทางภาควิชาบัญชีและคณะฯ ก็มีความพร้อมที่จะปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และสำหรับศิษย์เก่าของคณะฯ หรือนักบัญชีทั่วไปที่จำเป็นต้องปรับความรู้เพื่อให้ก้าวทันมาตรฐานรายงานทางการเงินและสภาพงานที่เปลี่ยนไป ทางภาควิชาก็ยังมีโครงการ Refresh ให้กับศิษย์เก่าและบุคคลทั่วไปเพื่อช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาวิชาชีพด้านการบัญชี
เรื่อง : ณัฐพัชธ์ สุมา
“ภาพรวมโดยกว้างของปรากฏการณ์ Disruptive Technologies ที่เรากำลังเผชิญหน้าร่วมกันในช่วงเวลานี้มีหลายมุมมอง หากมองบวกก็คือการลัดกระบวนการขั้นตอนต่างๆ ที่เคยมีมา เพื่อมุ่งเป้าเข้าสู่จุดหมายให้ได้โดยเร็ว
“แรงบันดาลใจที่ทำให้เกิดไอเดียธุรกิจนี้คือคุณปู่กับคุณย่าค่ะ ซึ่งหนูไม่มีโอกาสได้ทดแทนบุญคุณพวกท่านแล้วจึงอยากส่งมอบความปราถนาดีนี้ผ่านการเพิ่มคุณค่าให้แก่สังคมผู้สูงวัยค่ะ” น.ส.กัลยรัตน์ พิกุลน้อย (พลอย) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (College of Innovative Business and Accountancy: CIBA) หลักสูตรบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หนึ่งในสมาชิกทีม JElder เผยถึง แรงบันดาลใจที่ทำให้เกิดไอเดียธุรกิจเพื่อสังคม ( SE: social enterprise ) ซึ่งเป็น Market Place ที่ใช้งานง่ายสำหรับผู้สูงอายุโดยมีวิธีการขายเป็น Group buy ซึ่งผู้สูงอายุสามารถเพลิดเพลินกับการขายสินค้าอุปโภค บริโภค รวมถึงการจัด Event ต่างๆได้ใน Platform นี้ โดยไอเดียธุรกิจนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในการแข่งขัน Startup Thailand League 2019 ที่สนามแข่งขันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีโคราช จังหวัดนครราชสีมา และเตรียมความพร้อมลงสนามรอบ Final Pitching Demo Day
น้องพลอยเล่าว่า ไอเดียธุรกิจนี้ ได้ร่วมระดมความคิดสร้างสรรค์กับเพื่อนๆอีก 3 คนในทีม JElder มีด้วยประกอบด้วย น.ส.กัญญารัตน์ ชาญประโคน คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม หลักสูตรการท่องเที่ยว น.ส.อนุตตรีย์ เชิดครบุรี คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม หลักสูตร การโรงแรม และ น.ส. อานิต้า แสงโรจน์
คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม สาขาการโรงแรม โดยเริ่มเริ่มแรกได้นำเสนอไอเดียธุรกิจนี้ผ่านโครงการนพรัตน์ทองคำซึ่งเป็นโครงการสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ผู้ที่มีคุณสมบัติแก้ว 9 ประการ ขณะนั้นได้รับรางวัลนวัตกรรมชมเชยจากผลงาน จุดนี้จึงเป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจที่ทำให้พัฒนาตนเองและสร้าง Platform ธุรกิจให้มีความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น
การเรียนที่ CIBA มีหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนให้กับนักศึกษา ทำให้สร้าง J E I d e r ให้ประสบความสำเร็จได้ โดย DPU X จะสอนการ Pitching เสนอไอเดียอย่างไรให้เข้าเป้าหรือประสบความสำเร็จได้ มีทีมงานให้คำปรึกษาแนะแนวทางในการสร้างสรรค์ไอเดียธุรกิจเสมอ น้องพลอยกล่าว
ดร.ศิริเดช คำสุพรหม คณบดีวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (College of Innovative Business and Accountancy: CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวย้ำว่า มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เราปลูกฝังทักษะการเป็นผู้ประกอบการให้นักศึกษาตั้งแต่เริ่มเรียนชั้นปี 1 ในทุกสาขาวิชา ผ่านวิชาในกลุ่ม DPU CORE (ดียู คอร์) เมื่อขึ้นชั้นปีที่ 3 ในรายวิชาที่เรียกว่า Capstone Projects นักศึกษาจะทำงานเป็นทีม สมาชิกในทีมมาจากต่างสาขาและต่างคณะ เพื่อให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ออกไอเดียและสร้างสรรค์ชิ้นงาน หัวข้อโครงการอาจเกิดจากนักศึกษาเอง หรือจากสถานประกอบการและพันธมิตรในเครือข่ายของมหาวิทยาลัย และยังได้จัดตั้งสถาบัน DPU X (ดีพียู เอ็กซ์) เพื่อทำหน้าที่บ่มเพาะทีมนักศึกษาเหล่านี้ต่อในโครงการ DPU Startup Bootcamp เพื่อปั้นไอเดียให้เป็นจริงได้
นักศึกษาเราต้องผ่านเวทีประกวดแนวคิดธุกิจ CIBA MINI CAPSTONE ซึ่งเป็นการจัดแสดงแนวคิดธุรกิจยุค Thailand 4.0 ให้จับกลุ่มทำงานเป็นทีมหลากหลายคณะนำเสนอแผนธุรกิจผ่านโครงการ MINI CAPSTONE โดยมีการประกวด Final Pitching และ Showcase ซึ่งจะจัดทุกปีเพื่อให้นักศึกษาได้มีเวทีนำเสนอผลงาน ดร.ศิริเดช กล่าวในตอนท้าย
ปฐม อินทโรดม กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยาม ไอซีโอ จำกัด นำทีมร่วมกับ สมใจ ถวิลถิขกุล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด นิตยสาร MBA เข้าเยี่ยมแสดงความยินดี รศ.ดร.ธัชวรรณ กนิษฐ์พงศ์ คณบดี คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ในโอกาสขึ้นรับตำแหน่งคณบดีคนล่าสุด คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เมื่อกลางเดือนพฤกษาคมที่ผ่าน
นัยว่านอกจากวาระของการร่วมยินดีกับตำแหน่งใหม่ สามปาร์ตี้มีเป้าหมายความร่วมมือเตรียมจัดหลักสูตรอบรมพิเศษ ทั้งบรรยายและ workshop หัวข้อ Blockchain for Enterprise Transformation สำหรับเครือข่ายและผู้ที่สนใจหลักสูตรดังกล่าว เตรียมตัว Back to School ได้เร็วๆนี้