HUAWEI FreeClip เตรียมเปิดขาย 2.2 นี้ พร้อมโปรโมชันพิเศษที่ Shopee กับราคาต่ำสุดเพียง 5,092 บาท[1] จากราคาปกติ 6,490 บาท เมื่อใช้ร่วมกับโค้ดลดจากหัวเว่ยมูลค่า 500 บาท เพียงใส่โค้ด HWFCFEB1 เมื่อช้อปขั้นต่ำ 5,700 บาท และคูปองส่วนลดเพิ่มจาก Shopee 15% สูงสุด 1,000 บาท ไม่มีขั้นต่ำ เพียงใส่โค้ด 15MALL22 นอกจากนี้ยังรับฟรีของสมนาคุณมูลค่าสูงสุดอีก 3,487 บาท พร้อมโปรบัตรเครดิตที่ร่วมรายการผ่อน 0% สูงสุด 10 เดือน ที่ร้านค้าอย่างเป็นทางการของหัวเว่ยบน Shopee ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 วันเดียวเท่านั้น งานนี้ใครเล็งหูฟังสายแฟชันใหม่ไว้บอกเลยห้ามพลาด!!

สามารถติดตามรายละเอียดโปรโมเพิ่มเติมได้ที่นี่ ติดตามข่าวสารก่อนใครได้ที่  HUAWEI Mobile TH สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการซื้อสินค้า คอมมิวนิตี้ และบริการ ง่ายๆ ในคลิกเดียว เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน My HUAWEI ใน AppGallery

หมายเหตุ : เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯกำหนด

[1] ราคาต่ำสุดวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 โค้ดลดและของแถมมีจำนวนจำกัด

 

หูฟังแบบ Open-ear ถือเป็นหูฟังตัวเลือกเพิ่มความหลากหลายให้กับผู้ใช้งาน เนื่องจากสำหรับผู้ใช้จำนวนมาก หูฟัง In-ear อาจไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการได้หลากหลาย ถึงแม้ว่าหูฟังแบบ In-ear จะเหมาะสำหรับผู้รักเสียงเพลง แต่ด้วยการออกแบบแล้วทำให้มีแนวโน้มที่จะเลื่อนและหลุดออกจากหูได้ และอาจทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายหากสวมใส่เป็นเวลานาน หัวเว่ยได้เล็งเห็นกับปัญหาเหล่านี้จึงได้พัฒนาหูฟังรุ่นแรกที่มาในรูปแบบ Open-ear อย่าง HUAWEI FreeClip ด้วยการออกแบบ C-bridge อันเป็นเอกลักษณ์ เปิดกฎเกณฑ์ของการออกแบบใหม่ เพื่อการสวมใส่สบายแต่มีสไตล์สำหรับความต้องการที่หลากหลาย วันนี้หัวเว่ยจะมาสรุปข้อดีของหูฟังแบบ Open-ear ที่จะสร้างความแตกต่างจากหูฟังรูปแบบที่เดิมเพื่อการฟังที่สบายกว่าเคย

มั่นใจทุก movement เอาใจสายแอคทีฟ ฟิตเนส

หัวเว่ยใช้เวลา 3 ปี ในการออกแบบ C-bridge ให้เหมาะกับหูประเภทต่างๆ ตามหลักสรีรศาสตร์ แต่ยังให้ความปลอดภัยและความสบาย ด้วยน้ำหนักเบาเพียง 5.6 กรัม[1] และมุมเอียง 11 องศา ซึ่งช่วยให้หูฟังแนบไปกับหูของผู้ใช้ระหว่างการกระโดด วิ่ง และเคลื่อนไหวไปมาได้โดยไม่ต้องกลัวว่าหูฟังจะหลุดระหว่างการออกกำลังกาย รวมทั้งแม้ในขณะที่มีเหงื่อออกด้วยการรองรับความสามารถในการกันน้ำและเหงื่อระดับ IP54 ทำให้ผู้ใช้มั่นใจในการออกกำลังกายโดยไม่ต้องกลัวว่าเอียร์บัดจะเสียหาย อีกทั้งรูปแบบหูฟังแบบเปิดยังช่วยให้หูของผู้ใช้ระบายอากาศได้ดีขึ้นอีกด้วย

ไม่สูญเสียเสียงสัมผัสรอบตัว

HUAWEI FreeClip ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่ต้องการเพลิดเพลินกับเสียงเพลงโดยไม่สูญเสียสัมผัสสิ่งรอบข้าง ด้วยเทคโนโลยีระบบเสียงแบบ Open Ear ที่ช่องหูไม่ได้ถูกปิดกั้นจนสุด ช่วยให้ผู้ใช้สามารถดื่มด่ำไปกับเพลงโปรดของพวกเขาในขณะที่ยังคงสามารถฟังบรรยากาศโดยรอบได้ ซึ่งเป็นสิ่งสําคัญอย่างยิ่งสําหรับผู้ใช้งาน เช่น นักวิ่งมาราธอนที่ต้องการตระหนักถึงคนเดินเท้าและการจราจรรอบ ๆ ตัวพวกเขา เพื่อความปลอดภัยเมื่อวิ่งในเมือง ผู้ใช้ที่ฟังเพลงขณะขับรถด้วย แต่ต้องการระวังเสียงจราจร เป็นต้น

ระบบเสียง Open Sound ช่วยให้เสียงอยู่ใกล้กับช่องหูมากขึ้น

การออกแบบ C-bridge ช่วยให้เสียงอยู่ใกล้กับช่องหูมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทางของเสียง แก้ปัญหาที่พบบ่อยด้วยหูฟังแบบเปิดหูอื่นๆ ที่มักจะมีช่องเสียงอยู่ห่างจากหูมากเกินไป ด้วยระบบเสียง Open Sound แบบวงจรแม่เหล็กคู่ความไวสูงและไดรฟ์แอมพลิจูดขนาดใหญ่ ซึ่งรักษาความชัดเจนของเสียง ไดรเวอร์ยูนิตความไวสูงแบบแม่เหล็กคู่จะเพิ่มความเข้มของการเหนี่ยวนำแม่เหล็ก ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความสามารถในการขับเคลื่อนของลำโพงสร้างคุณภาพเสียงที่ทรงพลังและดึงโทนเสียงที่แตกต่างกันของเพลงที่ผู้ใช้ฟัง ตั้งแต่เสียงเบสที่ก้องกังวานไปจนถึงเสียงแหลมของเพลง อีกทั้งยังมีระบบเสียงแบบ Reverse Sound Field Acoustic System ปรับระดับเสียงแบบอัจฉริยะในขณะที่ยกเลิกคลื่นเสียงอย่างละเอียด ป้องกันการรั่วไหลของเสียงของจากมุมต่าง ๆ ได้สูงถึง 6-17 dB นับเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการปกป้องความเป็นส่วนตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณกำลังทำงานหรือรับสายส่วนตัวในลิฟต์สาธารณะหรือสำนักงานในขณะที่อยู่ท่ามกลางเพื่อนร่วมงาน

Fashion Farward: สไตล์ที่เหมาะกับทุกชุดและทุกโอกาส

HUAWEI FreeClip เป็นผลิตภัณฑ์ล่าสุดจากกลยุทธ์ Fashion Forward ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มใหม่ของหัวเว่ยในการเปลี่ยนเทคโนโลยีอุปกรณ์สวมใส่ให้กลายเป็นแฟชั่น รูปลักษณ์ภายนอกที่โฉบเฉี่ยวแม้จะมีความซับซ้อนทางเทคนิค

ตอบโจทย์ทุกการส่วมใส่ไปได้ทุกที่อย่างมีสไตล์ ตั้งแต่ออฟฟิศ ยิม ไปจนถึงงานดินเนอร์สุดหรู ด้วยดีไซน์คล้ายต่างหูที่มีให้เลือกสองสีอย่างมีสไตล์ได้แก่ สีม่วง และ สีดำ ทำให้ HUAWEI FreeClip แทบจะเป็นเครื่องประดับที่เข้ากันกับเสื้อผ้าทุกชุด และยังตอบสนองความต้องการที่หลากหลายอีกด้วย

เป็นเจ้าของก่อนใครกับโปรโมชันสุดคุ้ม 2.2 นี้

HUAWEI FreeClip วางจำหน่ายในราคา 6,490 บาท พร้อมโปรโมชัน รับฟรี HUAWEI Band 8 มูลค่า 1,899 บาท กระเป๋าหูฟัง มูลค่า 599 บาท จำกัด 50 สิทธิ์แรกเฉพาะช่องทางออนไลน์ บริการดูแลหูฟัง HUAWEI Loss Care มูลค่า 499 บาท (1 ข้าง 1ปี ในราคาส่วนลด 50%) เมื่อสั่งซื้อตั้งแต่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 – 29 กุมภาพันธ์ 2567 ทางหน้าร้าน HUAWEI Experience Store และร้านค้าตัวแทนจำหน่ายที่ร่วมรายการ รวมทั้งช่องทางออนไลน์บนเว็บไซต์ HUAWEI Store ร้านค้าอย่างเป็นทางการของหัวเว่ยบนแพลตฟอร์ม Lazada และ Shopee

นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์หัวเว่ยยังเข้าร่วมโครงการ “Easy E-Receipt 2024” ช้อปสูงสุด 50,000 บาท รับคืนสูงสุด 17,500 บาท

สำหรับลูกค้าที่ซื้อ HUAWEI FreeClip ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึง วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 สามารถเข้าร่วมโครงการนำใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์มาลดหย่อนภาษีตามเงื่อนไขของกรมสรรพากรได้[2]


[1]   น้ำหนักจริงอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการกำหนดค่าผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต

[2] จะสามารถหักภาษีได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการยืนยันของกรมสรรพากร

ภูมิทัศน์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทั่วโลกได้ส่งผลกระทบต่อแนวทางการดำเนินธุรกิจขององค์กรต่าง ๆ รวมถึงวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนในทุกมิติ ในปัจจุบัน หลายองค์กรได้บูรณาการความปลอดภัยทางไซเบอร์เข้าเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักของกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ ซึ่งหมายความว่าหลายภาคอุตสาหกรรมจะต้องการผู้เชี่ยวชาญเข้ามาเติมเต็มความต้องการที่กำลังเติบโตในสายงานด้านนี้ อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมความปลอดภัยทางไซเบอร์ยังขาดแคลนความแตกต่างหลากหลายของผู้มีความรู้ความสามารถ ความไม่สมดุลของจำนวนเพศชายและหญิงยังคงปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจนในสายงานด้านนี้ โดยพบว่า ในปี 2565 มีผู้หญิงจำนวนคิดเป็นสัดส่วนแค่ 25%[1] ที่ทำงานในด้านนี้ ทั้งนี้ ในยุคที่ภัยคุกคามทางไซเบอร์ทวีความรุนแรงขึ้นทั่วโลก ทั้งหน่วยงานภาครัฐและองค์กรต่าง ๆ ต่างพยายามอย่างเต็มที่ในการส่งเสริมผู้มีความรู้ความสามารถเพื่อให้รองรับกับความท้าทายที่เกิดจากอาชญากรไซเบอร์ในปัจจุบัน  หนึ่งในความพยายามดังกล่าวคือความร่วมมือระหว่างหัวเว่ย และ สกมช. ในการจัดการแข่งขัน 'Women Thailand Cyber Top Talent 2023' โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมความรู้ความสามารถให้แก่แรงงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างภูมิทัศน์ดิจิทัลที่แข็งแกร่งและสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้ดียิ่งขึ้น

พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ได้กล่าวถึงโครงการจัดการแข่งขันครั้งนี้ว่า “ในประเทศไทยมีจำนวนผู้หญิงที่ทํางานในสายไซเบอร์ซีเคียวริตี้คิดเป็น 3% ของแรงงานทั้งหมด เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 10% เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมกับหัวเว่ยในการเพิ่มจำนวนผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์หญิงในประเทศและส่งเสริมความหลากหลายทางเพศให้กับอุตสาหกรรมไอทีด้วยการจัดการแข่งขัน ‘Women Thailand Cyber Top Talent 2023’ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ผู้หญิงได้เรียนรู้ เพิ่มทักษะ และพัฒนาประสบการณ์ ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ นอกจากนี้ หัวเว่ย และ สกมช. ไม่เพียงแต่มองเห็นการเสริมศักยภาพของผู้หญิงในด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์เท่านั้น แต่ทั้งสององค์กรมุ่งมั่นที่จะสร้างอนาคตซึ่งให้ความสำคัญกับความหลากหลายซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญของนวัตกรรมและความเป็นเลิศในโลกดิจิทัลที่พัฒนารุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว”

การแข่งขัน ‘Women Thailand Cyber Top Talent 2023’ ประกอบไปด้วยการแข่งขันในรอบคัดเลือกผ่านระบบออนไลน์ มีทีมเข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 218 ทีมจากสามระดับ ได้แก่ ระดับนักเรียน (Junior) ระดับนักศึกษา (Senior) และระดับประชาชนทั่วไป (Open) รวมผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 ระดับ กว่า 407 คน และมีการจัดการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศแบบออนไซต์ เพื่อเฟ้นหาทีมชนะเลิศในแต่ละระดับจากทีมที่ได้รับคัดเลือกจํานวน 30 ทีม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะด้าน ICT ให้แก่ผู้หญิงและผู้มีเพศสภาพหญิง ซึ่งจะปูทางไปสู่การสร้างผู้มีความรู้ความสามารถด้านดิจิทัลที่หลากหลายและครอบคลุมมากขึ้น นอกจากนี้ การแข่งขันยังเป็นการยกระดับความรู้ ทักษะ ให้ผู้เข้าร่วมได้แสดงศักยภาพด้านต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาและความท้าทายด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงได้ และยังช่วยให้ประเทศไทยมีแรงงานความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเพียงพอกับความต้องการในปัจจุบันและในอนาคต

น.ส. พิมพ์ชนก อุตตะมี ตัวแทนผู้ชนะจากทีม 'NR01' ในระดับนักเรียน (Junior) กล่าวว่า "การได้รับรางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน ‘Women Thailand Cyber Top Talent 2023’ ถือเป็นสิ่งที่ทรงคุณค่าในชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการเข้าร่วมการแข่งขันด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นครั้งแรก ประสบการณ์ที่ได้รับค่อนข้างเป็นสิ่งใหม่ซึ่งช่วยเปิดโอกาสอันมากมายให้ได้เรียนรู้และแสดงความสามารถ และทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยทางไซเบอร์มากขึ้น ในฐานะผู้หญิงยุคใหม่ซึ่งมีความสนใจในสายงานด้านนี้ บทบาทสำคัญที่สุดประการหนึ่งคือ การเผยแพร่ความรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้แก่ผู้อื่นเท่าที่จะทำได้ และเราทุกคนล้วนแล้วแต่สามารถส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวกของเยาวชนไทยในการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ได้ ด้วยการเป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีความรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นการใช้โซเชียลมีเดียอย่างมีสติหรือการรู้เท่าทันถึงภัยคุกคามไซเบอร์”

“เทคโนโลยีจากหัวเว่ยและองค์กรเอกชนอื่น ๆ จะมีบทบาทอย่างมากในการช่วยยกระดับความปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศไทยในมิติต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีที่สามารถตรวจจับและป้องกันกิจกรรมที่ละเมิดกฎหมายไซเบอร์ เช่น การใช้ประโยชน์จาก AI ในการตรวจจับและคาดการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ นอกจากนี้ การสร้างแพลตฟอร์มสำหรับการทำงานร่วมกันและการแลกเปลี่ยนความรู้ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ในการเสริมสร้างความเข้าใจอันแข็งแกร่งเกี่ยวกับความรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับคนไทย” น.ส. พิมพ์ชนก กล่าวเสริม

ร.ท.หญิง รติรส แผ่นทอง ร.น. และ จ.ส.ต.หญิง ณัฐธยาน์ เรื่อศรีจันทร์ จากทีม ‘hacKEr4nDtHECA7-1’ ในระดับประชาชนทั่วไป (Open) กล่าวว่า “ในฐานะตัวแทนศูนย์ไซเบอร์ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ซึ่งปฏิบัติงานด้านไซเบอร์ของกองทัพไทยโดยตรง เรารู้สึกภาคภูมิใจที่ได้รับรางวัลชนะเลิศครั้งนี้ เพราะแสดงให้เห็นถึงศักยภาพหน่วยงานของเราในการปกป้องความปลอดภัยระบบนิเวศทางไซเบอร์ของประเทศไทย อีกทั้งเป็นการวัดระดับขีดความสามารถของพวกเราเมื่อเทียบกับบุคคลภายนอก พร้อมเป็นการส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและการพัฒนาทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยี ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริงในกับหน่วยงานได้”

“เราอยากจะสนับสนุนให้ผู้หญิง หรือผู้ที่มีเพศสภาพเป็นหญิง รวมไปถึงเพศสภาพอื่นๆ (LGBTIQA+) ให้ลองออกมาทำในสิ่งที่ท้าทายตัวเองมากขึ้น เช่น การเพิ่มความรู้ด้านเทคโนโลยี ด้วยการยกระดับทักษะและการเพิ่มทักษะใหม่ ๆ ซึ่งจะนำไปสู่การเสริมศักยภาพแรงงานดิจิทัลของทั้งอุตสาหกรรม นอกจากนี้ การสร้างสรรค์ให้เกิดความหลากหลายภายในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีด้วยการเพิ่มจำนวนผู้หญิงและผู้ที่มีเพศสภาพเป็นหญิง (LGBTIQA+) จะมีส่วนช่วยในการเพิ่มจำนวนผู้มีความรู้ความสามารถและส่งเสริมไอเดียนวัตกรรมใหม่ ๆ ทั้งนี้ ความก้าวหน้าด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศไม่ได้ขึ้นอยู่กับความพยายามของหน่วยงานภาครัฐเท่านั้น ภาคเอกชนก็มีบทบาทสำคัญเช่นกัน ดังเช่นหัวเว่ยซึ่งให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยี ความเชี่ยวชาญ และบุคลากรมาโดยตลอด ความร่วมมือนี้จะมีส่วนช่วยในการสร้างภูมิทัศน์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่งสำหรับประเทศต่อไป” ร.ท.หญิง รติรส กล่าวเสริมในตอนท้าย

ทั้งนี้ หัวเว่ยดำเนินงานในประเทศไทยมาเป็นเวลา 24 ปี และบริษัทได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านดิจิทัลอย่างรวดเร็วของประเทศ เพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลมาอย่างต่อเนื่อง หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะบ่มเพาะผู้มีความสามารถด้านดิจิทัลและเพิ่มศักยภาพให้กับบุคลากรด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับเหล่าพาร์ทเนอร์รายสำคัญ สร้างสรรค์มาเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะ ช่วยให้ประเทศเตรียมพร้อมรับมือกับภัยคุกคามด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น ตามพันธกิจ ‘เติบโตในประเทศไทย เพื่อประเทศไทย’ (In Thailand, For Thailand) และ ‘ก้าวไปข้างหน้า โดยไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง’ (Leading Everyone Forward and Leaving No One Behind) ของหัวเว่ย บริษัทจะยังคงลงทุนในประเทศไทยต่อไปเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และยกระดับสถานะของประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางด้านดิจิทัลของภูมิภาค


[1] https://cybersecurityventures.com/women-in-cybersecurity-report-2023/

ในปี 2024 ประเด็นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และการพัฒนาที่ยั่งยืนจะไม่ได้เป็นแค่การทำเพื่อภาพลักษณ์ขององค์กรอีกต่อไป แต่กลายเป็นประเด็นสำคัญระดับโลกและในระดับประเทศ ทั้งในภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากกฎและข้อบังคับเกี่ยวกับความยั่งยืนจากหน่วยงานระดับโลก รวมถึงการค้าระหว่างประเทศจะเริ่มมีการปรับเปลี่ยนมาตรฐาน เพื่อวางมาตรฐานใหม่ให้ธุรกิจลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง

เทรนด์เรื่องนี้ทำให้ทุกภาคส่วนในประเทศไทยต้องปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญ และหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนเป็นไปอย่างรวดเร็วก็คือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมอัจฉริยะ ซึ่งจะช่วยในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีศักยภาพ โดยหัวเว่ยถือเป็นหนึ่งในองค์กรภาคเอกชนที่ผลักดันเรื่องกรีนเทคโน  โลยีมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาดโดยตรง และด้านนวัตกรรมที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากภาคองค์กรด้วยการปรับกระบวนการทำงานในภาพรวม ซึ่งจะช่วยพาทุกฝ่ายก้าวสู่เป้าหมายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้อย่างแข็งแกร่งในอนาคต

ดร. ชวพล จริยาวิโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงเทรนด์เรื่องความเป็นกลางทางคาร์บอนในปัจจุบันและเทคโนโลยีที่ตอบรับ Net Zero ว่า “ในปัจจุบันนี้ ถ้าเรามองเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Emission) ในภาพรวม จะพบว่าหลัก ๆ แล้วมาจาก 3 กลุ่มใหญ่ กลุ่มแรกที่มีสัดส่วนใหญ่ที่สุดคือเทคโนโลยีในอดีตที่ยังใช้งานมาถึงปัจจุบันสำหรับการผลิตพลังงาน รองลงมาคือกลุ่มภาคอุตสาหกรรมทั้งหลายที่ยังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และกลุ่มที่สามคือภาคคมนาคม สำหรับในส่วนของเทคโนโลยี ถ้าเรามองไปที่เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตพลังงาน (ในประเทศไทย) จะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา เพราะเริ่มมีการใช้พลังงานสะอาด ซึ่งหน่วยงานรัฐของไทยต่างก็ผลักดันเทคโนโลยีเรื่องความยั่งยืนไปในทิศทางเดียวกัน โดยเทคโนโลยี
กรีนกลุ่มแรก ๆ คือกลุ่ม Smart PV ที่มีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ทั้งในระดับโรงไฟฟ้าและภาคครัวเรือน ในขณะเดียวกันก็ยังมีโอกาสในการเติบโตอีกมาก เทคโนโลยีกรีนที่มีความสำคัญเป็นกลุ่มที่สองคือเทคโนโลยีสมาร์ทกริด ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เกิดการนำพลังงานไปใช้อย่างชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเทคโนโลยีกรีนกลุ่มที่สามคือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีความชาญฉลาดเข้ามาเพื่อใช้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการทำงาน ผ่านการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล รวมถึงการนำมาสร้างพลังงานใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ”

เขาให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าอุตสาหกรรมเทคโนโลยีมีสัดส่วนในการผลิตคาร์บอนฟุตปริ้นท์เพียงแค่ประมาณ 2% จากภาพรวมทั้งหมด แต่ในขณะเดียวกันกลับมีบทบาทในการช่วยลดคาร์บอนฟุตปริ้นท์ให้กับภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้มากถึง 15-20% โดยอุตสาหกรรมไอซีทีน่าจะช่วยผลักดันให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับอุตสาหกรรมได้มากถึง 12,100 ตัน ภายในปี ค.ศ. 2030

“ปัจจัยหลักในการผลักดันเรื่องกรีนเทคโนโลยีจะมาจาก 3 ส่วน ปัจจัยแรกคือนโยบายจากภาครัฐที่ผลักดันตามมาตรฐานใหม่ของ Net Zero และเร่งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงวิธีการผลิตพลังงานในภาคเอกชน ปัจจัยที่สองคือเงินทุน โดยเราได้เห็นเงินทุนจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนสำหรับสนับสนุนด้านกรีน เช่น การปล่อยเงินกู้จากภาคธนาคารสำหรับโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์ หรือการจัดเตรียมงบประมาณสำหรับการปรับเปลี่ยนไปสู่บริษัทสีเขียวของภาคองค์กร เป็นต้น และปัจจัยที่สามคือปัจจัยที่เกี่ยวกับธุรกิจทั้งหลาย ซึ่งมีแรงกดดันทั้งจากปัจจัยภายนอกของตลาด ประเด็นเรื่องคาร์บอนเครดิต หรือการตกลงกันระหว่างธุรกิจ” ดร. ชวพล กล่าวเสริม

ในด้านเทคโนโลยีหลักของหัวเว่ยที่มีส่วนช่วยเรื่องการลดคาร์บอนฟุตปริ้นท์โดยตรง ประกอบด้วย เทคโนโลยีคลาวด์และโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์ Smart PV ทั้งนี้ เทคโนโลยีคลาวด์สามารถนำมาใช้เพื่อปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานและวิธีการเข้าถึงตลาด ซึ่งจะช่วยลดคาร์บอนฟุตปริ้นท์ของเทคโนโลยีที่ใช้ รวมถึงการประกอบธุรกิจในด้านต่าง ๆ นอกจากนี้ เทรนด์เรื่องการทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นก็มีส่วนช่วยผลักดันเทคโนโลยีคลาวด์ในประเทศไทยและยังมีส่วนช่วยดึงการลงทุนเข้ามาในประเทศอีกด้วย โดยหัวเว่ยได้ลงทุนด้านกรีน ดาต้าเซ็นเตอร์เพื่อให้บริการด้านคลาวด์ในประเทศไทยถึง 3 แห่ง และยังได้ทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ทั้งในระดับโลกและในประเทศไทยเพื่อสร้างอีโคซิสเต็มด้านคลาวด์ที่แข็งแกร่ง รวมทั้งสร้างความแตกต่างที่ชัดเจนในการช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน
ไดออกไซด์

สำหรับเทคโนโลยี Smart PV ของหัวเว่ยคือ เทคโนโลยีที่ตอบโจทย์เรื่องการสร้างพลังงานสะอาดโดยตรง จะเห็นได้ว่าแทบทุกภาคอุตสาหกรรมกำลังปรับตัวใช้เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงอสังหาริมทรัพย์ในระดับครัวเรือนโครงการใหม่ ๆ ที่เริ่มมีการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น โดยหัวเว่ยได้นำเสนอโซลูชัน 1+4+X FusionSolar ที่ให้ความสำคัญกับทั้งเรื่องการจัดเก็บพลังงาน การนำไปใช้งาน และความปลอดภัยในการใช้งานพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นผลจากการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของหัวเว่ย คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 23,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2022 เพื่อทำให้เทคโนโลยีของหัวเว่ยมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงในการลดคาร์บอน
ฟุตปริ้นท์ให้แก่ภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้อย่างเต็มที่

ทั้งนี้ หัวเว่ยมองว่าองค์ประกอบสำคัญในการมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนคือ เทคโนโลยี ความสามารถของคน รวมถึงการเน้นเรื่องการนำความอัจฉริยะเข้ามาใช้ในภาคธุรกิจเพื่อปรับตัวรับกับความยั่งยืน ในขณะเดียวกันก็ยังมีศักยภาพในการแข่งขันและสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้บริโภคได้อย่างควบคู่กัน สำหรับในประเทศไทย ภาครัฐก็สนับสนุนในเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นอย่างดี และภาคเอกชนก็ให้ความสำคัญกับเทรนด์นี้อย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งหัวเว่ยก็ให้ความสำคัญกับการลงทุนเรื่องเทคโนโลยีที่สนับสนุนเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศไทย สอดคล้องกับพันธกิจที่ว่า  “เติบโตในประเทศไทย ร่วมสนับสนุนประเทศไทย”

ในยุคที่เทคโนโลยีเจริญรุดหน้าอย่างก้าวกระโดด เอไอกลายเป็นเทคโนโลยีแห่งยุคที่เข้ามาช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมต่างๆ ให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (digital transformation) การนำเทคโนโลยีเอไอมาปรับใช้ไม่เพียงจะช่วยปลดล็อคศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศไทย แต่ยังนำมาซึ่งโอกาสใหม่ ๆ สำหรับทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้ประกอบการธุรกิจ และบุคคลทั่วไป หัวเว่ย มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการใช้งานเทคโนโลยีเอไอที่กำลังรุ่งเรืองนี้ จึงได้ประกาศแผนกลยุทธ์การพัฒนาเอไอ ที่สอดรับต่อการเปลี่ยนแปลงและโอกาสใหม่ ๆ เพื่อเสริมความแกร่งให้ประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์จากความอัจฉริยะต่างๆ และขับเคลื่อนการพัฒนาธุรกิจต่อไปได้ ผ่านการแบ่งปันเทคโนโลยี การผสานความร่วมมือ และการผนึกกำลังภายในระบบนิเวศ (ecosystem integration) กลยุทธ์ดังกล่าวยังมุ่งเน้นที่จะปรับภูมิทัศน์ดิจิทัลของประเทศไทย ให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ของรัฐบาลไทยในการเดินหน้าสู่การเป็นศูนย์กลางด้านเอไอของอาเซียน       

เดวิด หลี่ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวย้ำถึงพันธกิจของกลุ่มธุรกิจโซลูชัน ประมวลผลคลาวด์ของหัวเว่ย ในการขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีคลาวด์และเอไอในประเทศไทย “ในโลกอัจฉริยะทุกวันนี้ ปรากฏการณ์ความก้าวล้ำของเทคโนโลยีเอไอ ไม่เพียงแค่เป็นที่รับรู้กันเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงตามมาอีกมากมาย ความสามารถของเอไอพัฒนาขึ้นจากการรับรู้และความรู้คิด ต่อยอดไปสู่การสร้างคอนเทนต์ ดังนั้น แอปพลิเคชันเอไอต่างๆ จะค่อยๆ พัฒนาต่อยอดจากแอปพลิเคชันสำหรับผู้บริโภคทั่วไป ไปสู่แอปพลิเคชันสนับสนุน และสุดท้ายจะกลายมาเป็นแอปพลิเคชันหลักของธุรกิจ ภายในอีก 2 ปีข้างหน้า เราเชื่อว่าอุตสาหกรรมธุรกิจกว่า 50% จะนำเอไอมาใช้เพื่อปลดล็อคศักยภาพและสร้างโอกาสใหม่ ตีเป็นมูลค่าหลายล้านล้านเหรียญให้กับธุรกิจ หัวเว่ย จึงตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งที่ได้ผนึกกำลังร่วมกับรัฐบาลไทยในการนำเทคโนโลยีเอไอมาใช้เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ประเทศไทย 4.0 เราจะนำความเชี่ยวชาญในประเทศไทย ความชำนาญในอุตสาหกรรม กลยุทธ์การสร้างระบบนิเวศ และพันธกิจด้านความมั่นคงปลอดภัย มาช่วยขับเคลื่อนให้ประเทศไทยได้ก้าวสู่แถวหน้าของยุคปฏิวัติเอไอ เราจะเดินหน้าสำรวจยุคเอไอแห่งอนาคตไปด้วยกันพร้อมกับคนไทย วัฒนธรรมไทย และนวัตกรรม โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”

พร้อมกันนี้ หัวเว่ย ได้เผยกลยุทธ์ 3 เสาหลัก ในการนำเทคโนโลยีเอไอมาใช้ในการพัฒนาประเทศไทย ดังนี้

  • เอไอเพื่อประเทศไทย – ส่งเสริมการใช้งานโซลูชันเอไอของ HUAWEI CLOUD โดยผนึกกำลังร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในจัดทำกลยุทธ์การพัฒนาเทคโนโลยีเอไอและคลาวด์ โดยมุ่งผลักดันการสร้างรัฐบาลดิจิทัล ระบบเศรษฐกิจแบบหลากหลาย และความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัลของประเทศ รวมไปถึงการวางรากฐานที่แข่งแกร่งให้กับ HUAWEI CLOUD AI ในการเข้าสู่ประเทศไทย นอกจากนี้ หัวเว่ย วางแผนที่จะปลดล็อคศักยภาพเอไอด้วยระบบเอไอภาษาไทย เพื่อช่วยต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ของคนไทย และผลักดันการพัฒนาความสามารถมนุษย์เอไอของประเทศไทย
  • เอไอเพื่ออุตสาหกรรม – ภายในอีก 2 ปีข้างหน้า กว่า 50% ของอุตสาหกรรมหลัก เช่น ภาคบริการสาธารณะ อุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ ภาคเกษตรกรรม ธุรกิจบริการทางด้านการเงิน จะนำเอไอมาใช้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในระดับอุตสาหกรรม ข้อมูลจากแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติ คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมเอไอของไทยจะมีมูลค่าแตะ 8 หมื่นล้านบาท ภายในปี พ.ศ. 2570 ดังนั้น หัวเว่ยจะใช้ HUAWEI CLOUD เป็นแพลตฟอร์มในการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยมุ่งเน้นในภาคธุรกิจการเงินและค้าปลีก เพื่อเร่งขับเคลื่อนความเป็นดิจิทัลให้กับอุตสาหกรรมของประเทศไทย และสร้างการเติบโตในอุตสาหกรรมใหม่ให้กับประเทศชาติ
  • เอไอเพื่อระบบนิเวศ – ในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของอุตสาหกรรมหนึ่ง ๆ ต้องอาศัยความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายในยุคเอไอ ดังนั้น ระบบนิเวศที่เพียบพร้อมคือกุญแจสำคัญ หัวเว่ยให้ความสำคัญกับพาร์ทเนอร์และระบบนิเวศของอุตสาหกรรมมาโดยตลอด โดยหัวเว่ยให้ความสนับสนุนพาร์ทเนอร์ทั่วโลกกว่า 48,000 ราย และร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ทางยุทธศาสตร์กับบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำทั่วโลก หัวเว่ยได้จัดตั้งโครงการเพื่อพัฒนานักพัฒนาเทคโนโลยีเอไอ 20,000 คนภายใน 3 ปี นอกจากนี้ หัวเว่ยจะร่วมขับเคลื่อนชุมชนนักพัฒนาเพื่อส่งเสริมการเติบโตของระบบนิเวศเอไอในประเทศไทยและสนับสนุนพาร์ทเนอร์และสตาร์อัพไทยในการพัฒนาแอปพลิเคชันเอไอให้ก้าวสู่ระดับภูมิภาค

มาร์ค เฉิน ประธานฝ่ายขายโซลูชันประมวลผลคลาวด์ของหัวเว่ย กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลยุทธ์การพัฒนาเอไอของหัวเว่ยว่า“ขณะที่เราเดินทางเข้าสู่ยุคแห่งการระเบิดของเทคโนโลยี เราฉลองให้กับการความสำเร็จอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีเอไอและคลาวด์ ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผล การแปลงข้อความเป็นเสียงพูด ไปจนถึงการรู้จำเสียงพูด ทั้งหมดล้วนนำไปสู่ความเป็นไปได้ที่ไร้ขีดจำกัดในอนาคต กลยุทธ์ของหัวเว่ยยังมุ่งเน้นที่การลงทุนมหาศาลในด้านเทคโนโลยี การผนึกกำลังกับพาร์ทเนอร์วโลก และการมีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดกับทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาโซลูชันที่เฉพาะเจาะจง สำหรับในประเทศไทย หัวเว่ยไม่เพียงแค่มุ่งเปิดตัวเทคโนโลยีล้ำยุคแต่ยังเข้ามามีส่วนร่วมกับประเทศไทยอย่างต่อเนื่องในกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิทัลของประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา เราได้เปิดตัวแพลตฟอร์มผานกู่ (Pangu AI) ซึ่งออกแบบขึ้นเพื่อให้สามารถใช้งานได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม จึงไม่เพียงช่วยยกระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติการแต่ยังสามารถรับมือกับความท้าทายเฉพาะตัวของแต่ละอุตสาหกรรมได้ด้วย ความเชี่ยวชาญของเรายังขยายรวมไปถึงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ วิศวกรรมซอฟท์แวร์ กระบวนการผลิต และการจัดหาโซลูชัน เป็นต้น จากประสบการณ์ที่สั่งสมจากอุตสาหกรรมเหล่านี้ ทำให้หัวเว่ยมองเห็นศักยภาพของเอไอในการเข้ามาปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้คนได้อย่างชัดเจน”

ปัจจุบัน หน่วยงานภาครัฐและองค์กรธุรกิจหลายแห่งตระหนักถึงโอกาสและความสำคัญของเอไอในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิทัล การพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ รวมไปถึงการยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจ หัวเว่ยให้บริการโซลูชันแก่หน่วยงานภาครัฐกว่า 800 แห่ง ลูกค้าด้านการเงินกว่า 500 ราย และผู้ให้บริการเครือข่ายอีกกว่า 120 บริษัท ไม่เพียงเท่านั้น ในประเทศจีน กว่า 75% ของบริษัทสื่อดิจิทัลชั้นนำท็อป 50 ของประเทศ 85% ของบริษัทเกมชั้นนำ 90% ของบริษัทอีคอมเมิร์ซชั้นนำ และอีก 90% ของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ท็อป 30 ของจีนล้วนใช้บริการจากหัวเว่ย

หัวเว่ย สั่งสมประสบการณ์กว่า 24 ปีในประเทศไทย พร้อมอยู่เคียงข้างเพื่อสนับสนุนการพัฒนาทางดิจิทัลอย่างรวดเร็วของประเทศไทยเสมอมา และในยุคที่เอไอกำลังเข้ามาเปลี่ยนโลก หัวเว่ยจะยังคงเดินหน้าลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง พร้อมให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมไทยในการยกระดับประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีเอไอและคลาวด์ไปด้วยกัน เพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับประเทศไทยในภูมิทัศน์เอไอโลก สอดคล้องกับความมุ่งมั่นของหัวเว่ยในการเติบโตในประเทศไทย เพื่อคนไทย     

X

Right Click

No right click