บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมมือกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.), กระทรวงแรงงาน, และเครือข่ายมหาวิทยาลัยรวทถึงองค์กรชั้นนำในประเทศไทย จัดงานมหกรรม ‘Thailand Digital Talent Summit and Job Fair: Building Talent Hub for a Digital, Intelligent, and Green Thailand’ ภายใต้แนวคิด ‘สร้างศูนย์กลางบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ นำประเทศไทยสู่ยุคดิจิทัลอัจฉริยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม’ โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 200 ราย ทั้งบุคลากรจากภาครัฐ, สถาบันการศึกษา, และภาคอุตสาหกรรม โดยการประชุมสุดยอดครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญในด้านการบ่มเพาะบุคลากรดิจิทัล และสร้างโอกาสทางอาชีพซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศไทย บนเส้นทางสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน
นายเดวิด หลี่ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด ตอกย้ำแนวคิดและความรุดหน้าด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลว่า “Huawei ASEAN Academy (ประเทศไทย) มุ่งพัฒนากลยุทธ์ 4 ประการสำคัญ ได้แก่สถาบันธุรกิจ (สำหรับระดับผู้บริหาร) เพื่อบ่มเพาะภาวะผู้นำด้านดิจิทัลสำหรับผู้บริหารองค์กร, สถาบันเทคนิค (สำหรับระดับนักพัฒนา) เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญภาคปฏิบัติให้กับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา เอสเอ็มอี และนักพัฒนาซอฟต์แวร์, สถาบันวิศวกรรม (สำหรับระดับผู้ประกอบวิชาชีพ) ที่มุ่งเน้นทักษะการปฏิบัติจริงสำหรับกลุ่มคนทำงาน และประการสุดท้ายคือการลดความเหลื่อมล้ำด้านดิจิทัล (สำหรับระดับผู้ใช้งาน) เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้ด้อยโอกาสเข้าถึงความรู้ด้านดิจิทัลได้อย่างเท่าเทียม”
นายเดวิด กล่าวเสริมว่า “ในปัจจุบัน หัวเว่ยและพาร์ทเนอร์ผนึกกำลังพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลไปแล้วกว่า 96,000 คน ซึ่งรวมถึงบุคลากรผู้มีทักษะด้านดิจิทัล 72,000 คน, ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาคลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ 8,000 คน, วิศวกรด้านเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (green engineer) 2,000 คน, บุคลากรด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ 5,000 คน, เอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ 3,500 ราย ทั้งยังจัดการฝึกอบรมให้กับนักเรียนและชุมชนในชนบท 6,000 คน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้หัวเว่ยได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือจัดตั้งสถาบัน ICT Academy ร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทยกว่า 42 แห่งทั่วประเทศ”
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, กล่าวถึงความร่วมมือในมหกรรม Thailand Digital Talent Summit ว่า “ในนามกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ต้องขอขอบคุณหัวเว่ยสำหรับความร่วมมือครั้งสำคัญในการส่งเสริมความรู้ด้านดิจิทัล เพื่อบ่มเพาะศักยภาพบุคลากรด้านดิจิทัลในประเทศไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น กระทรวง อว.มีภารกิจสำคัญคือการสร้างกำลังคนที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะด้านดิจิทัลที่กลายเป็นหัวใจสำคัญและเป็นพื้นฐานการพัฒนาของโลกยุคนี้ในทุกๆ มิติ เราพร้อมผนึกกำลังกับหัวเว่ยเพื่อผลักดันนวัตกรรมดิจิทัลและนโยบายการวิจัยที่ออกแบบโดยเฉพาะในการจัดหาบุคลากรที่มีคุณภาพเข้าสู่ระบบ พร้อมทั้งผลักดันนโยบายส่งเสริมการผลิตและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21”
นางจิรวรรณ สุตสุนทร รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้กล่าวว่า “เรารู้สึกเป็นเกียรติและยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับหัวเว่ยซึ่งเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีดิจิทัลอัจฉริยะระดับโลกในการส่งเสริมบุคลากรด้านดิจิทัลให้สอดรับกับความต้องการที่หลากหลายของอุตสาหกรรมภายในประเทศ โดยเราจะมุ่งตอบสนองความต้องการและมุ่งยกระดับและเสริมสร้างทักษะบุคลากรร่วมกัน ภายใต้ความร่วมมือด้านวิชาการและอุตสาหกรรมในการพัฒนาทักษะบุคลากรที่จำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมดิจิทัลในอนาคต”
ในการประชุมสุดยอดครั้งนี้ หัวเว่ยได้ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ครั้งใหม่กับพันธมิตรที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมอีโคซิสเต็มด้านบุคลากรดิจิทัลในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง:
ก่อนหน้านี้ หัวเว่ยได้ร่วมมือกับหน่วยงานด้านการกำหนดนโยบายและพันธมิตรโครงการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทักษะดิจิทัลให้ได้รวม 100,000 คน ภายในปี พ.ศ. 2568 โดยหัวเว่ย ประเทศไทย ได้ผนึกกำลังร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) เพื่อจัดการแข่งขันด้านความปลอดภัยไซเบอร์ซึ่งมีผู้เข้าร่วมถึง 4,000 คน รวมทั้งได้ร่วมมือกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ฝึกอบรมเอสเอ็มอีไทย 160 ราย เกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G, เมืองอัจฉริยะ, AI และหุ่นยนต์แบบอิมเมอร์ซีฟ และจัดกิจกรรมการแข่งขันด้านไอซีทีครอบคลุมเทคโนโลยีคลาวด์, ทรัพย์สินทางปัญญา, และความปลอดภัยทางไซเบอร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา และมอบทุนการศึกษาคิดเป็นมูลค่า 1 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2566 รวมถึงโครงการรถดิจิทัลเพื่อสังคม (Digital Bus) ซึ่งมอบการฝึกอบรมทักษะด้านดิจิทัลให้แก่นักเรียนในพื้นที่ห่างไกลใน 14 จังหวัดในประเทศไทย
หัวเว่ยได้วางรากฐานในประเทศไทยมากว่า 25 ปี โดยมุ่งมั่นผลักดันกลยุทธ์ด้านดิจิทัลในประเทศไทยตามพันธกิจ ‘เติบโตในประเทศไทย สนับสนุนประเทศไทย’ (Grow in Thailand, Contribute to Thailand) ผ่านแพลตฟอร์ม Huawei ASEAN Academy ประเทศไทย และหลักสูตรการฝึกอบรมที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ หัวเว่ยจะมุ่งมั่นสร้างอีโคซิสเต็มครบวงจรที่รวมการฝึกอบรม, มาตรฐานการรับรองจากหัวเว่ย, การคัดเลือกพันธมิตร, และแอปพลิเคชันต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน ด้วยการบ่มเพาะสภาวะความร่วมมือที่เปลี่ยนความคิดและนวัตกรรม ไปสู่การแบ่งปันองค์ความรู้และการประยุกต์ใช้งานจริง โดยหัวเว่ยพร้อมจะขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ยุคดิจิทัล ที่เปี่ยมด้วยความอัจฉริยะและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
การปฏิรูปทางดิจิทัล (Digital Revolution) กำลังเข้ามาเปลี่ยนทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเรา บริการออนไลน์และบริการต่าง ๆ บนมือถือกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้เราเริ่มเห็นเทคโนโลยีอัจฉริยะ เช่น แอปพลิเคชัน AI ได้รับการนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วโลกมากขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยวางเป้าหมายเพื่อขึ้นเป็นศูนย์กลางทางด้านดิจิทัลของอาเซียนในอนาคตอันใกล้นี้ เราจำเป็นจะต้องมีระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่แข็งแกร่งเพื่อรองรับเทคโนโลยีอัจฉริยะต่าง ๆ ที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลที่จะเกิดขึ้นทั่วประเทศ เทคโนโลยีฐานข้อมูลจึงเป็นหนึ่งในรากฐานที่สำคัญที่สุดในกระบวนการปฏิรูปทางดิจิทัลนี้ ขณะเดียวกัน ฐานข้อมูลยังเป็นหัวใจหลักในการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตลอดเวลาห้าทศวรรษที่ผ่านมา คำถามสำคัญคือเทคโนโลยีฐานข้อมูลรุ่นใหม่ล่าสุด จะช่วยปลดล็อคคุณค่าสูงสุดให้กับประเทศไทยในยุคสมัยของ Big Data และ AI ได้อย่างไร
นายเดวิด หลี่ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีฐานข้อมูลยุคใหม่ว่า “สำหรับภาคอุตสาหกรรมแนวดิ่งต่าง ๆ รวมไปถึงอุตสาหกรรมธนาคาร แอปพลิเคชันที่ใช้งานแบบเรียลไทม์กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น ภาคอุตสาหกรรมหลายแห่งยังมีความต้องการใช้งานธุรกรรมออนไลน์เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภาคธนาคารที่มีการทำธุรกรรมข้อมูลออนไลน์เกิดขึ้นหลายล้านรายการ เทคโนโลยีดิจิทัลได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของทุกคนไปแล้ว นั่นหมายความว่าแอปพลิเคชันจำนวนมากที่ให้บริการผู้บริโภคจำเป็นต้องมีระบบและอีโคซิสเต็มด้านดิจิทัลในประเทศ หัวเว่ย ในฐานะผู้นำระดับโลกด้านบริการโซลูชันดิจิทัล จะเข้ามาช่วยสร้างและบ่มเพาะอีโคซิสเต็มให้กับเหล่าพันธมิตรในประเทศ พร้อมไปกับการให้บริการแก่อุตสาหกรรมแนวดิ่งและหน่วยงานภาครัฐ หัวเว่ยมีความมั่นใจในศูนย์ข้อมูลที่ได้ลงทุนไว้ ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจอย่างมาก โดยปัจจุบันเรามีศูนย์ข้อมูล (Data Center) 3 แห่งในประเทศไทย ซึ่งตอกย้ำถึงความทุ่มเทในระยะยาวและความเชื่อมั่นที่เรามีต่อประเทศไทย”
ปัจจุบัน เทคโนโลยีฐานข้อมูลยังพบกับความท้าทายหลัก 4 ประการ ประการแรก คือวิธีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หลากหลาย และกระจัดกระจาย ในการรับมือกับสถานการณ์เช่นนี้ เราจำเป็นต้องมีฐานข้อมูลที่สามารถขยายขนาดได้อย่างไร้รอยต่อ และสามารถปรับให้เข้ากับภาระงานหลากหลายรูปแบบ ประการที่สอง คือวิธีการคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพการทำงานในระดับสูง ภายใต้กระบวนการประมวลผลข้อมูลจำนวนมากพร้อม ๆ กัน เนื่องจากมีความต้องการใช้งานแอปพลิเคชันในแบบเรียลไทม์มากขึ้น รวมไปถึงการทำธุรกรรมออนไลน์จากธนาคารและภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เพิ่มขึ้น ประการที่สาม คือวิธีการสร้างความปลอดภัยได้อย่างครอบคลุม รวมทั้งการรับมือกับความท้าทายจากการละเมิดข้อมูลออนไลน์และการโจมตีทางไซเบอร์ โดยในปี พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา มูลค่าความเสียหายที่เกิดจากอาชญากรรมทางไซเบอร์ทั่วโลกได้เพิ่มสูงถึง 8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะทะลุ 10.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปี พ.ศ. 2568 ประการสุดท้าย คือการรับมือกับเทรนด์ดิจิทัลของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ต้องการอีโคซิสเต็มดิจิทัลภายในประเทศที่มีความสมบูรณ์ ซึ่งผู้ติดตั้งระบบ ผู้พัฒนาซอฟท์แวร์ และผู้พัฒนาแอปพลิเคชันในประเทศล้วนเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนา
ประเทศไทยมีจุดแข็งด้านจำนวนผู้ใช้งานดิจิทัลจำนวนมาก แต่ยังคงขาดแคลนผู้สร้างสรรค์ทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล นี่คือปัญหาในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศในยุคของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล เนื่องจากหลายประเทศต่างนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้งาน แต่ไม่ได้คาดการณ์ถึงความสามารถที่จำเป็นต่อการสร้างและบ่มเพาะอีโคซิสเต็มด้านดิจิทัลในประเทศ อย่างไรก็ตาม หัวเว่ยมองเห็นศักยภาพระดับสูงของประเทศไทย เนื่องจากรัฐบาลไทยมีความตระหนักในความท้าทายต่าง ๆ เหล่านี้ ทั้งยังมีความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนหลายโครงการเพื่อส่งเสริมระบบนิเวศด้านดิจิทัลของประเทศ ไม่เพียงเท่านั้น หัวเว่ยยังมองเห็นความตระหนักที่เพิ่มขึ้นของภาคสาธารณะและภาคเอกชนที่มีต่อเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งทุกฝ่ายต่างมีความตั้งใจที่จะลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล เทคโนโลยีฐานข้อมูลจึงกำลังเป็นที่ต้องการเป็นอย่างมากในอุตสาหกรรมแนวดิ่งของหลาย ๆ อุตสาหกรรม ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดี เนื่องจากเมื่อใดที่มีการลงทุน ย่อมนำมาซึ่งโอกาสทางอาชีพที่มากขึ้นตามไปด้วย
นี่จึงเป็นสาเหตุให้หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะลงทุนในประเทศไทย พร้อมไปกับการบ่มเพาะบุคลากรด้านดิจิทัลและสร้างสรรค์ระบบนิเวศทางดิจิทัลให้เกิดขึ้นในประเทศ เพราะนี่คือส่วนสำคัญของกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคเทคโนโลยีดิจิทัลของประเทศชาติ นอกจากนี้ หัวเว่ยจะยังคงเดินหน้าให้ความสำคัญกับการนำเสนอประโยชน์จากการลงทุนในด้านไอซีที พร้อมส่งมอบเทคโนโลยีล้ำยุคให้กับประเทศไทย เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของภาครัฐ ภาคการขนส่ง ภาคธนาคาร และภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของประเทศ
นายเดวิด หลี่ เปิดเผยว่าหัวเว่ยได้ลงทุนในเทคโนโลยีฐานข้อมูลอย่างต่อเนื่องมากว่า 20 ปี และล่าสุดได้เปิดตัว GaussDB เทคโนโลยีฐานข้อมูลรุ่นใหม่ล่าสุดที่จะเข้ามาปลดล็อคคุณค่าสูงสุดทางด้านข้อมูลในประเทศไทย โดย GaussDB จะช่วยให้หัวเว่ยสามารถทำงานและให้การสนับสนุนพันธมิตรในประเทศไทยได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจาก GaussDB สามารถใช้งานได้ทั้งบนระบบคลาวด์สาธารณะและคลาวด์ส่วนบุคคล ไม่เพียงเท่านั้น การใช้งานฐานข้อมูลล้ำสมัยอย่าง GaussDB จะช่วยเสริมศักยภาพโซลูชันอัจริยะในปัจจุบัน ด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพและสร้างประโยชน์เพิ่มเติมให้กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นการช่วยบ่มเพาะอีโคซิสเต็มดิจิทัลโดยรวมของประเทศไทย
ก่อนหน้านี้ หัวเว่ยได้เปิดตัวฐานข้อมูล GaussDB ในประเทศจีนเพื่อทดสอบและปรับปรุงประสิทธิภาพเทคโนโลยี เมื่อโซลูชันนี้ได้รับการพัฒนาจนให้ประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดแล้ว หัวเว่ยจึงได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ในประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดต่างประเทศแห่งแรกภายใต้โครงการนำร่องของหัวเว่ยเพื่อสนับสนุนพันธมิตรและหน่วยงานในท้องถิ่น โดยหัวเว่ยเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าฐานข้อมูล GaussDB จะเข้ามาพลิกโฉมตลาดผลิตภัณฑ์ฐานข้อมูล ด้วยข้อเสนอที่ดีกว่าสำหรับหลายภาคอุตสาหกรรม
เมื่อไม่นานมานี้ หัวเว่ย คลาวด์ ถือเป็นผู้ให้บริการคลาวด์เพียงรายเดียวในตลาดที่ได้รับรางวัล ‘ตัวเลือกดีเด่นของลูกค้าในปี 2023’ จากผลสำรวจเสียงตอบรับของลูกค้าโดยการ์ทเนอร์ (Gartner Peer Insights™) โดยหัวเว่ย คลาวด์ จะยังมุ่งให้ความสำคัญกับนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพสำหรับรองรับการใช้งานในภาคธุรกิจให้มากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยลูกค้าในการสร้างรากฐานของข้อมูลอัจฉริยะที่มีความเสถียร ยืดหยุ่น และมีศักยภาพสูงต่อไป ทั้งนี้ หัวเว่ยได้เข้ามาสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งในประเทศไทยมากว่า 24 ปี ด้วยความมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนการพัฒนาทางดิจิทัลให้กับประเทศ ภายใต้พันธกิจ ‘เติบโตในประเทศไทย สนับสนุนประเทศไทย’ (Grow in Thailand, Contribute to Thailand) สำหรับก้าวต่อไปภายใต้ภารกิจ ‘นำทุกฝ่ายก้าวไปข้างหน้า โดยไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง’ (Lead Everyone Forward, Leave No One Behind) หัวเว่ยจะยังคงเดินหน้าส่งมอบเทคโนโลยีฐานข้อมูลที่ล้ำสมัยและโซลูชันอัจฉริยะต่างๆ ที่จะช่วยส่งเสริมการเติบโต เพิ่มประสิทธิภาพ และยกระดับความสามารถทางการแข่งขันให้กับประเทศไทย พร้อมทั้งกระชับความร่วมมือกับพันธมิตรในท้องถิ่นเพื่อขับเคลื่อนเทคโนโลยีอัจฉริยะ สนับสนุนกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิทัล กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจดิจิทัล และผลักดันให้ประเทศไทยได้ขึ้นเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลของอาเซียน
บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด จัดงาน “Huawei Cloud Database Summit Thailand 2024” ภายใต้แนวคิด ‘GaussDB: ตัวเลือกที่ดีกว่าของฐานข้อมูลแห่งอนาคต’ (GaussDB: A Better Way to Database) ภายในงาน หัวเว่ยผนึกกำลังร่วมกับลูกค้าและพันธมิตรชั้นนำเปิดตัวโซลูชัน GaussDB เพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศไทยเข้าถึงเทคโนโลยีฐานข้อมูล AI-Native และเร่งกระบวนการพลิกโฉมสู่ดิจิทัล นอกจากนี้ หัวเว่ย คลาวด์ยังเปิดตัวโครงการนำร่อง GaussDB Pioneer Program เพื่อผลักดันนวัตกรรมและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีฐานข้อมูลในประเทศไทย
หัวเว่ย คลาวด์ GaussDB, ตัวเลือกสำหรับฐานข้อมูลที่ก้าวล้ำไปอีกขั้น ด้วยคุณสมบัติชั้นนำ 6 ประการ
นายเดวิด หลี่ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวระหว่างพิธีเปิดว่า “การปฏิวัติด้านดิจิทัลกำลังเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเรา โดยเราเห็นการใช้งาน AI มากขึ้นในธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งฐานข้อมูลนับเป็นพื้นฐานของการปฏิวัติทางดิจิทัล และการปลดปล่อยข้อมูลในยุคของบิ๊ก ดาต้าและ AI นั้นมีความท้าทายอยู่สี่ประเด็นหลัก คือ ประการแรก การประมวลผลข้อมูลปริมาณมากที่หลากหลายและกระจัดกระจายด้วยการใช้ฐานข้อมูล ประการที่สอง การคงประสิทธิภาพที่สูงในการประมวลผลข้อมูลมาก ๆ ในเวลาพร้อมกัน ประการที่สาม การรักษาความปลอดภัยที่ครอบคลุมทั่วถึงและการจัดการกับการละเมิดข้อมูล และประการที่สี่ แนวโน้มดิจิทัลซึ่งได้รับความนิยมในทุกธุรกิจที่ต้องการอีโคซิสเต็มท้องถิ่นที่หลากหลายและเข้มแข็ง เราภูมิใจที่จะเสนอ GaussDB ฐานข้อมูลรุ่นต่อไปของเราให้กับประเทศไทย ซึ่งจะมอบโซลูชันที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อปลดล็อกคุณค่าของข้อมูลอย่างเต็มที่ และ "ให้โลกมีตัวเลือกที่ดีกว่า" "
GaussDB ได้รับการพัฒนามานานกว่า 20 ปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 และได้รับการทดสอบผ่านการใช้งานจริง เช่น ฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์ของหัวเว่ยถูกย้ายไปยัง GaussDB ช่วยลดเวลาการสร้างรายงานประจำปีจาก 30 วันเหลือเพียง 10 วัน และธนาคารชั้นนำแห่งหนึ่งของจีนใช้ GaussDB พลิกโฉมฐานข้อมูลเดิมให้กับระบบธุรกิจมากกว่า 150 ระบบ
บรูโน จาง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี หัวเว่ย คลาวด์ กล่าวถึงหกก้าวสำคัญที่ทำให้ GaussDB เป็นตัวเลือกที่ดีกว่าสำหรับฐานข้อมูลแห่งอนาคต
ประการแรกคือ สถาปัตยกรรมขั้นสูง GaussDB ใช้สถาปัตยกรรมคลาวด์เนทีฟแบบ 3 เลเยอร์ (three-layer pooling) ให้บริการผู้ใช้หลากหลายองค์กร (Multi-Tenancy) และปลดล็อกประสิทธิภาพการทำงาน ประการที่สอง GaussDB ให้บริการแบบมัลติ-โมเดล (multi-model) ผสานฐานข้อมูลแบบ HTAP, เวกเตอร์ และมัลติ-โมเดลขจัดสภาวะคอขวดของข้อมูล และสนับสนุนธุรกิจใหม่ได้มากขึ้น ประการที่สาม ความพร้อมใช้งาน GaussDB ผสานการทำงานระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อย่างลงตัว มาพร้อมดูอัล คลัสเตอร์ ทำงานสอดผสานกันอย่างเหนือชั้น จึงพร้อมใช้งานอยู่เสมอ ประการที่สี่ ความอัจฉริยะ GaussDB มาพร้อมแบบจำลองฐานข้อมูลขนาดใหญ่และมีระบบการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) แบบโต้ตอบทันที ลดข้อจำกัดด้านประสบการณ์ใช้งาน ประการที่ห้า การรักษาความปลอดภัย GaussDB มาพร้อมระบบรักษาความปลอดภัยแบบ E2E พร้อมการเข้ารหัสเต็มรูปแบบและระบบป้องกันการปลอมแปลง หมดกังวลด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว และประการสุดท้าย อีโคซิสเต็มเปี่ยมศักยภาพ ฐานข้อมูลบุคคลที่สามสามารถโยกย้ายได้อย่างราบรื่นโดยอัตโนมัติและการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ ช่วยลดข้อจำกัดของอีโคซิสเต็ม
ฐานข้อมูลหัวเว่ย คลาวด์วางรากฐานที่แข็งแกร่งพร้อมสร้างมูลค่าสูงสุดให้กับข้อมูล
เทคโนโลยีฐานข้อมูลเปลี่ยนไป 5 ทิศทางหลัก: จากฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ไปสู่แบบกระจาย, จากความน่าเชื่อถือของฮาร์ดแวร์เปลี่ยนเป็นความน่าเชื่อถือของซอฟต์แวร์, จากทรัพยากรคงที่ไปจนถึงการรองรับการขยายตัวแบบยืดหยุ่นบนคลาวด์, จากการบำรุงรักษาแบบแมนนวลเปลี่ยนเป็นระบบอัจฉริยะ, และเปลี่ยนจากการป้องกันความปลอดภัยจุดเดียวเป็นการสร้างระบบรักษาความปลอดภัยรอบด้าน และเพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของธุรกิจ หัวเว่ย คลาวด์ มอบบริการฐานข้อมูลชั้นนำระดับองค์กร 3 รูปแบบ ได้แก่ GaussDB, GaussDB for MySQL และ GeminiDB ซึ่งเป็นฐานข้อมูลแบบ multi-model NoSQL
GaussDB ผลักดันนวัตกรรมทางธุรกิจในอุตสาหกรรมการเงิน มอบระบบการดำเนินงานและการบำรุงรักษา (O&M) แบบ deterministic และยกระดับความเสถียรและความน่าเชื่อถือของข้อมูลไปอีกขั้น
หัวเว่ยเปิดตัวโครงการ GaussDB Pioneer Program ในประเทศไทย
เซลีน เฉา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวเว่ย คลาวด์ ประเทศไทย กล่าวในหัวข้อ “สร้างอนาคตดิจิทัลอัจฉริยะแบบก้าวกระโดดบนคลาวด์” โดยเน้นย้ำว่า หัวเว่ย คลาวด์เป็นหนึ่งในสามผู้ให้บริการชั้นนำในตลาดคลาวด์สาธารณะในประเทศไทย และครองอันดับหนึ่งในตลาดไฮบริดคลาวด์ “เราภูมิใจที่ได้ครองอันดับ ผู้ให้บริการคลาวด์ชั้นนำที่ให้บริการลูกค้าจากอุตสาหกรรมหลายภาคส่วนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่สำคัญกว่านั้น ทีมงานของเราทุ่มเทอย่างเต็มที่และผนึกกำลังร่วมกับพาร์ทเนอร์เพื่อบ่มเพาะอีโคซิสเต็มที่แข็งแกร่งในประเทศไทย”
ภายในงานครั้งนี้ หัวเว่ย คลาวด์ ยังได้เปิดตัวโครงการนำร่อง GaussDB Pioneer Program ในประเทศไทย พร้อม 3 สิทธิพิเศษ ประการแรกลูกค้า 100 ท่านแรกจะได้รับสิทธิ์ทดลองใช้งานฟรี 1 เดือน และได้รับการดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญในช่วง 1 เดือนแรกของการใช้งาน ประการที่สองพาร์ทเนอร์ 100 รายแรก จะได้รับสิทธิ์ร่วมพัฒนาโซลูชันกับหัวเว่ย คลาวด์ พร้อมรับโอกาสทางธุรกิจและส่วนลดพิเศษ ประการที่สาม สำหรับสมาชิก คลาวด์ เนทีฟ อีลิท คลับ (Cloud Native Elite Club – CNEC) โดยสมัครสมาชิก CNEC และได้สิทธิ์เป็น 100 ท่านแรกที่เข้าร่วมกิจกรรมประจำเดือน ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้นำทางความคิดระดับโลกและรับการฝึกอบรมพิเศษมากมาย
เปิดตัวคลาวด์ เนทีฟ อีลิท คลับ (Cloud Native Elite Club - CNEC) และ GaussDB (DWS) 3.0 ในไทย
หัวเว่ย คลาวด์ ยังได้จัดเสวนาระหว่างประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายประสบการณ์ลูกค้าจากองค์กรชั้นนำเพื่อหารือเกี่ยวกับความท้าทายด้านฐานข้อมูล และคุณลักษณะที่จำเป็นของฐานข้อมูลในกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคอัจฉริยะ โดยมีผู้นำจากธุรกิจและเทคโนโลยีชั้นนำกว่า 50 รายเข้าร่วม ได้แก่ ธุรกิจการเงิน ธุรกิจโทรคมนาคม และอินเทอร์เน็ตจากภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ในยุคแห่งอัจฉริยะ ความต้องการด้านข้อมูลเพิ่มสูงขึ้นและมีความหลากหลายมากขึ้น การดำเนินธุรกิจเป็นแบบเรียลไทม์และเป็นระบบมากขึ้น ก่อให้เกิดความท้าทายใหม่ด้านความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพของคลังข้อมูลที่รองรับการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ GaussDB (DWS) 3.0 เป็นบริการคลังข้อมูล (Data Warehouse Service – DWS) เจเนอเรชันใหม่บนคลาวด์ มาพร้อมนวัตกรรมล้ำสมัย ครอบคลุมตั้งแต่สถาปัตยกรรม, ความเข้ากันได้, ไปจนถึงการกำหนดการกู้คืนความเสียหายได้ตามความต้องการ
GaussDB มอบโซลูชันที่ครอบคลุมเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในยุคคลาวด์และ AI ซึ่งรวมถึงความพร้อมใช้งานสูง ช่วยลดอัตราการสูญหายและความขัดแย้งของข้อมูล พร้อมบริการกู้คืนข้อมูลสำคัญจากระยะไกลประสิทธิภาพและฟังก์ชันรองรับการขยายตัวของข้อมูลที่เหนือชั้น ทำให้สืบค้นข้อมูลที่ซับซ้อนจำนวนหลายพันล้านรายการได้ในไม่กี่วินาที ฐานข้อมูล GaussDB AI-native อัจฉริยะแบบ end-to-end มอบประสิทธิภาพการประมวลผลสูงขึ้นถึง 5 เท่า นอกจากนี้ ฐานข้อมูลที่เข้ารหัสด้วยซอฟต์แวร์เต็มรูปแบบทำให้ GaussDB ได้รับการรับรองความปลอดภัยระดับสูงสุดในอุตสาหกรรม และที่สำคัญที่สุด GaussDB ติดตั้งและโยกย้ายข้อมูลได้ง่าย ทำให้ในปัจจุบันมีการใช้งานฐานข้อมูลของหัวเว่ย คลาวด์ มากกว่า 2,500 รายการในหลากหลายภาคส่วน รวมถึงธุรกิจการเงิน รัฐบาล ธุรกิจแบบดั้งเดิม อินเทอร์เน็ต และภาคการผลิต
หัวเว่ยวางรากฐานที่แข็งแกร่งในประเทศไทยมายาวนานกว่า 25 ปี และมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะร่วมพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลในประเทศไทยตามพันธกิจ ‘เติบโตพร้อมกับประเทศไทย ร่วมสนับสนุนประเทศไทย (Grow in Thailand, Contribute to Thailand) ตลอดเวลาที่ผ่านมา หัวเว่ยร่วมผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคอัจฉริยะของเอเชีย แปซิฟิก ซึ่งเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีชีวิตชีวามากที่สุดในโลก พร้อมศักยภาพมหาศาลในด้านเศรษฐกิจดิจิทัล บริษัทมุ่งมั่นรับมือโลกอัจฉริยะที่กำลังจะมาถึงภายใต้กลยุทธ์ ‘All Intelligence’ ด้วยการนำเสนอโซลูชันล้ำสมัย รวมถึงเทคโนโลยีคลาวด์และ AI เพื่อส่งเสริมการเติบโต ประสิทธิภาพการทำงาน ความสามารถในการแข่งขัน และสร้างความร่วมมือในท้องถิ่น และสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยเพื่อปูทางสู่การเป็นศูนย์กลางดิจิทัลของอาเซียน
ไมเดียจับมือหัวเว่ย, เอไอเอส, และไชน่า ยูนิคอม ในการสร้างโรงงานอัจฉริยะพร้อมระบบ 5G เต็มรูปแบบแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สร้างมาตรฐานใหม่ของสายการผลิตอัจฉริยะในประเทศไทยที่เปี่ยมด้วยนวัตกรรมล้ำสมัย โดยการผนึกกำลังครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญที่ปูทางสู่ยุคแห่งเทคโนโลยี 5G ที่ช่วยยกระดับประสิทธิภาพ, ความปลอดภัย, และรองรับการทำงานร่วมกันแบบอัตโนมัติภายใต้กระบวนการผลิตที่มีความซับซ้อน
ทั้งนี้ เครือข่าย 5G ที่ครอบคลุมทั่วพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมและแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ต 5G+ เชิงอุตสาหกรรม ทำให้กระบวนการผลิตเชื่อมต่อกันโดยสมบูรณ์ผ่านเทอร์มินัล 5G ความเร็วสูง นอกจากนี้ ยังติดตั้งไพรเวทเน็ตเวิร์ก 5G แบบเดดิเคท (Dedicated) ที่ได้รับการออกแบบให้รองรับข้อกำหนดกระบวนการทำงานและให้ทำงานร่วมกับระบบอัจฉริยะต่าง ๆ ได้อย่างราบรื่นโดยเฉพาะ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสถานการณ์การผลิตและเชื่อมต่อขั้นตอนการผลิตเข้าด้วยกันแบบไร้รอยต่อ
นายวินเซ็นท์ ไค ผู้จัดการทั่วไป โรงงานเครื่องปรับอากาศไมเดียประเทศไทย กล่าวว่า “โรงงานอัจฉริยะ 5G ในประเทศไทยได้กำหนดต้นแบบสายการผลิตแห่งโลกอนาคต เพื่อสอดรับกับกลยุทธ์การพลิกโฉมสู่ยุคดิจิทัลและเทคโนโลยีอัจฉริยะเต็มรูปแบบของไมเดีย กรุ๊ป โดยเราได้ออกแบบสายการผลิตประสิทธิภาพสูงให้เชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์แบบ ทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย”
ทั้งนี้ โซลูชันหลักที่เสริมศักยภาพให้กับโรงงานอัจฉริยะ 5G ได้แก่:
ในโครงการโรงงานอัจฉริยะ ผู้ให้บริการเครือข่ายถือว่ามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล โดยใช้ความเชี่ยวชาญและอีโคซิสเต็มในประเทศไทยเพื่อผลักดันเครือข่าย 5G ให้บรรลุประสิทธิภาพที่เหนือชั้น, มอบการเชื่อมต่อที่ไร้ขีดจำกัด รวมทั้งช่วยรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในการดำเนินงาน นายภูผา เอกะวิภาต รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจองค์กร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ตอกย้ำความมุ่งมั่นของเอไอเอสในการสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยกล่าวว่า “เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่น 5G ถือเป็นเทคโนโลยีหนึ่งเดียวที่สามารถสร้างเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่กว่า 160,000 ตร.ม. รวมโรงงานผลิตถึง 3 แห่งเข้าด้วยกันได้ และในอนาคต เอไอเอสยังคงมุ่งมั่นขับเคลื่อนนวัตกรรมและผนึกกำลังกับผู้ผลิตระดับโลกในการสร้างโรงงานอัจฉริยะในประเทศไทย”
ในขณะเดียวกัน นส. ยูนิซ เซ, ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไชน่า ยูนิคอม โอเปอเรชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวย้ำถึงความสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมและไอทีว่า “ความพร้อมของเครือข่าย 5G ของประเทศไทยอยู่ในระดับแนวหน้าของภูมิภาคอาเซียน ทางไชน่า ยูนิคอม มุ่งมั่นสนับสนุนความสำเร็จของนโยบาย Thailand 4.0 ด้วยสถานการณ์การใช้งานที่ครอบคลุม และสถานการณ์แบบ 5G2B ใหม่ ๆ ที่หลากหลาย พร้อมขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและระบบอัจฉริยะสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ”
นายวรกาน ลิขิตเดชาศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีเครือข่ายโทรคมนาคม บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวย้ำถึงความมุ่งมั่นของหัวเว่ยในการพลิกโฉมอุตสาหกรรม “เรามองเห็นแล้วว่า 5G มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการพลิกโฉมของภาคอุตสาหกรรม และภาคอุตสาหกรรมการผลิตเองก็ได้แสดงศักยภาพด้านการพัฒนาและยกระดับศักยภาพด้วยเทคโนโลยี 5G ให้ประจักษ์ โดยหัวเว่ยยังคงมุ่งต่อยอดความร่วมมือกับลูกค้าในภาคอุตสาหกรรม ผู้ให้บริการเครือข่าย และพาร์ทเนอร์เพื่อสร้างมูลค่าทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยี 5G ต่อไป เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว เราได้ทำงานกับลูกค้าอย่างใกล้ชิดเพื่อทำความเข้าใจกลยุทธ์ดิจิทัลในแต่ละราย และเจาะลึกกระบวนการผลิตและค้นหาความต้องการเฉพาะด้าน พร้อมแบ่งปันประสบการณ์และหลักปฏิบัติจากความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อเร่งนำเทคโนโลยี 5G มาใช้เพื่อยกระดับสายการผลิตอัจฉริยะ”
โรงงานอัจฉริยะ 5G เต็มรูปแบบแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถือเป็นก้าวสำคัญของการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคอัจฉริยะและยุคอุตสาหกรรม 4.0 ของประเทศไทย และยังได้แสดงให้เห็นถึงพลังของความร่วมมือและนวัตกรรมล้ำสมัย เพื่อร่วมกันกำหนดต้นแบบของเทคโนโลยีการผลิตแห่งโลกอนาคต