สจล. จับมือ บริษัท เคเอ็มไอที ลาดกระบัง จำกัด และ บริษัท ไอออนโฮลดิ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์ ที่มีเทคโนโลยีในการผสมชีวพันธุ์ ที่สามารถทดแทนปุ๋ยเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผสมผสานกับองค์ความรู้กระบวนการที่มาจากการวิจัย ของนักวิจัยสถาบันวิจัยนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ยุคใหม่ สจล. ที่คิดค้นชีวพันธุ์และกรรมวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ดังกล่าว ที่ได้มาตรฐานระดับสากล ซึ่งส่งผลให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดย รศ. ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดี ได้ลงนามร่วมกับผู้บริหารทั้ง 2 บริษัท ได้แก่ คุณภัสชา อัยยปัญญา และดร.กฤชนนท์ อัยยปัญญา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอออน โฮลดิ้ง จำกัด พร้อมกับ รองศาสตราจารย์ ดร.สุดาพร สาวม่วง กรรมการผู้จัดการ บริษัท เคเอ็มไอที ลาดกระบัง จำกัด โดยมี รศ.ดร.เกษม สร้อยทอง ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยเกษตรอินทรีย์ยุคใหม่ สจล. ร่วมลงนามในฐานะพยาน

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ร่วมกับสถานทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย ระดมเครือข่ายนักวิชาการนานาชาติจากมหาวิทยาลัย ชุมชนธุรกิจ สถาบันวิจัยและพัฒนา และหน่วยงานภาครัฐ ผลักดันความร่วมมือในงาน ‘เนเธอร์แลนด์-ไทย : เทคโนโลยีอวกาศ 2023 เพื่อการเกษตรยั่งยืนและระบบอาหารที่มั่นคง’ (The Netherlands – Thailand Space Technology Forum 2023 : Space Technology for Resilient Agriculture and Food System) เพื่อเป้าหมายยกระดับการทำเกษตรและระบบอาหารที่ยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศสุดขั้ว พัฒนาการเกษตรดาวเทียม โดยมี รศ. ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดี สจล. และนายแร็มโก ฟัน ไวน์คาร์เดิน เอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ฯ ร่วมเป็นประธานเปิดงาน ณ ห้อง The Crystal Box เกษรทาวเวอร์ ราชประสงค์

รศ. ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ระบบการเกษตรและอาหารทั่วโลกอยู่ภายใต้แรงกดดัน เนื่องจากจำนวนประชากรโลกที่กำลังเพิ่มขึ้นและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศสุดขั้ว (Climate Change) ความท้าทายของระบบเกษตรกรรมและอาหารของประเทศ ไม่เพียงต้องผลิตอาหารด้วยวิธีที่ปลอดภัย ดีต่อสุขภาพเท่านั้น แต่จะต้องมุ่งเป้าประกันความมั่นคงด้านอาหาร (Food Security) ได้อย่างเพียงพอสำหรับทุกคนด้วย ‘งานเนเธอร์แลนด์-ไทย: เทคโนโลยีอวกาศ 2023 เพื่อการเกษตรยั่งยืนและระบบอาหารที่มั่นคง’ ตอกย้ำความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างไทย-เนเธอร์แลนด์ ในการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์เชิงพื้นที่ ‘เทคโนโลยีอวกาศ’ (Space Technology) และ ‘เกษตรกรรมดาวเทียม’ (Satellite Agriculture) เพื่อพัฒนาเกษตรกรรมของทั้งสองประเทศ นับเป็นการรวมตัวของผู้เชี่ยวชาญ นักวิทยาศาสตร์ภูมิสารสนเทศ และผู้มีส่วนกำหนดนโยบาย 140 คน ในการขับเคลื่อนนวัตกรรมใหม่ๆ ด้วยโซลูชั่นที่ก้าวล้ำ และกำหนดภูมิทัศน์ใหม่ของ ‘เทคโนโลยีอวกาศ’ และ ‘เกษตรกรรมที่ชาญฉลาดต่อสภาพภูมิอากาศ’ อาทิ การใช้ข้อมูลและภาพจากดาวเทียมเพื่อการพยากรณ์อากาศ การวิเคราะห์ดิน และการจัดการพืชผลแบบเรียลไทม์ได้ปฏิวัติการเกษตรกรรมสู่ยุคใหม่ เพิ่มขีดความสามารถสร้าง ‘มาตรฐานสากลเกษตรยืดหยุ่นและยั่งยืน’ ในการทำ ‘เกษตรอัจฉริยะ’ ผ่านปัญญาประดิษฐ์ IoT และการวิเคราะห์ข้อมูล โดยสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ SDG2 – ความมั่นคงทางอาหาร (Food Security), SDG3 - ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ตลอดจน SDG11 – ชุมชนและเมืองที่ยั่งยืน เราจะร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจอวกาศ ด้วยนวัตกรรมและสร้างแรงบันดาลใจของความร่วมมือไทย – เนเธอร์แลนด์ ในการผลักดันขยายองค์ความรู้และการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นความท้าทายระดับโลก

นายแร็มโก ฟัน ไวน์คาร์เดิน (Remco van Wijngaarden) เอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ‘วิทยาศาสตร์ภูมิสารสนเทศ’ มีความสำคัญมากขึ้นในชีวิตประจำวันของเรา การวางแผนการเดินทาง พยากรณ์อากาศ และอื่นๆ ข้อมูลเชิงพื้นที่กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับหลายภาคส่วน เช่น เกษตรกรรม การวางผังเมือง การจัดการทรัพยากร (ป่าไม้ น้ำ แร่ธาตุ) และเพื่อการออกแบบระบบที่จะลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และภัยพิบัติ อันเป็นความท้าทายของโลกปัจจุบัน เช่น อุณหภูมิที่สูงขึ้น ภัยแล้ง น้ำท่วม การตัดไม้ทำลายป่า การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ มลภาวะทางอากาศ ฯลฯ ล้วนเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน และต้นกำเนิดและผลที่ตามมามักจะทับซ้อนกันทางภูมิศาสตร์ วิทยาศาสตร์ภูมิสารสนเทศช่วยให้เราเข้าใจความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนได้ดีขึ้น ทั้งยังช่วยเราในการคิดค้นวิธีแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่ดีขึ้นเพื่อสังคมและโลกอีกด้วย การประชุมเทคโนโลยีอวกาศเนเธอร์แลนด์ – ไทย 2023 ครั้งนี้  มุ่งเน้นไปที่การนำ ‘เทคโนโลยีอวกาศ’ เข้ามามีส่วนในการทำ ‘ระบบการเกษตรและอาหาร’ ที่มีความยืดหยุ่นคล่องตัวและยั่งยืนมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิสารสนเทศจึงมีบทบาทสำคัญในการทำให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้

ดร. นพดล สุกแสงปัญญา ผู้เชี่ยวชาญ วิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ สจล. กล่าวถึงการใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการวิเคราะห์และติดตามสังเกตการณ์ ‘ภัยแล้ง’ ในแต่ละพื้นที่ของประเทศไทย แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1. ภัยแล้งเชิงอุตุนิยมวิทยา 2. ภัยแล้งเชิงอุทกภัย 3. ภัยแล้งเชิงเกษตรกรรม เพื่อให้หน่วยงานรัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลและภาพไปใช้ในการวางแผนและบริหารจัดการภัยแล้งได้ดียิ่งขึ้น โดยใช้องค์ประกอบต่างๆ อาทิ ระดับปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิของหน้าดิน สภาพอากาศความอุดมสมบูรณ์ของพันธุ์พืช ระบบชลประทาน และความชื้นของดิน เพื่อใช้ในการวางแผนทำการเกษตรอย่างยั่งยืน ผลักดันเครือข่ายในประเทศไทยและเนเธอร์แลนด์ในการใช้ ‘เทคโนโลยีอวกาศ’ มาช่วยทางด้าน ‘เกษตรแม่นยำ’ และระบบอาหารที่มั่นคงเพียงพอ  หากเกษตรกรสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้จริงจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพียงแต่ในปัจจุบันยังขาดการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ไปยังผู้ใช้ นอกจากนี้ควรออกมาตรการเพื่อความยั่งยืนในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อาทิ เสริมสร้างเกษตรกรที่ไม่ทำลายป่าและไม่ทำการเพาะปลูกมากเกินจนล้นความต้องการของผู้บริโภค

ศาสตราจารย์ ดร. วิคเตอร์ เจตเทน คณะวิทยาศาสตร์สารสนเทศภูมิศาสตร์และการสังเกตการณ์โลก (ITC) มหาวิทยาลัยทเวนเต้ (University of Twente) เนเธอร์แลนด์  กล่าวว่า การวิเคราะห์ความมั่นคงทางอาหารใน ‘สภาพอากาศสุดขั้ว’ (Extreme Climatic Conditions) ด้วยเทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล หรือ Remote Sensing จากดาวเทียม สามารถช่วยระบุปริมาณผลิตผลที่ชัดเจน ปัญหาการผลิตในเวลาและสถานที่ได้อย่างแน่นอน เราสามารถระบุพื้นที่มีปัญหาเพื่อวางแผนรับมือกับจุดอ่อนได้ทันท่วงทีและแม่นยำ ทั้งนี้เราต้องเข้าใจความซับซ้อนของระบบการเกษตร ความยืดหยุ่น ความเป็นจริงและข้อจำกัดของเกษตรกร จึงจะสามารถใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อช่วยเหลือในทางปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

งานครั้งนี้ ประกอบด้วยความร่วมมือของ 11 องค์กร ได้แก่ สถานเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL), คณะวิทยาศาสตร์สารสนเทศภูมิศาสตร์และการสังเกตการณ์โลก (ITC) มหาวิทยาลัย Twente, สำนักงานภูมิภาค FAO ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก, สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ประเทศไทย (GISTDA), กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรมป่าไม้ ประเทศไทย, ศูนย์ภูมิสารสนเทศสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT), คาดาสเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล เนเธอร์แลนด์, ปีเตอร์สัน เทคโนโลยี เนเธอร์แลนด์ และชมรมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ – สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

พลิก 4 ธุรกิจไลฟ์สไตล์ เพื่อกิน-อยู่-เที่ยว-เล่น ปลอดภัย…โลกไร้สารพิษ

ในประเทศไทยเริ่มมีเหตุร้ายเกิดต่อเนื่องบ่อยขึ้น ตั้งแต่เหตุการณ์ ผอ.โรงเรียน บุกปล้นร้านทองในห้างที่สิงห์บุรี ยิงประชาชนดับ 3 ราย (ม.ค. ปี 2563) , จ่าคลุ้มคลั่งกราดยิง แล้วหลบเข้าห้างที่โคราช (8 ก.พ. 2563) มีผู้เสียชีวิต 30 ราย, ล่าสุด เด็กวัย 14 ปี กราดยิงที่พารากอน เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 66 เสียชีวิต 2 บาดเจ็บ 5 ราย คมสัน มาลีสี อธิการบดี สจล. ชี้ควรใช้เทคโนโลยี เอ.ไอ.เชื่อมต่อเครือข่ายกล้อง CCTV ในกรุงเทพฯ  พัฒนาระบบ SMS เพื่อแจ้งข่าวสารและเหตุฉุกเฉิน พร้อม 6 ข้อเสนอแนะในการลดปัญหาการก่อเหตุร้ายในที่สาธารณะ

สถิติที่น่าตระหนกจากรายงานของเว็บไซต์ World Popular Review คนไทยมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองมากถึง 10.3 ล้านกระบอก คิดเป็นสัดส่วน 15.41% ของประชากรไทย นับเป็นประเทศที่มีการครอบครองปืนมากที่สุดในอาเซียน และอยู่ในอันดับที่ 20 ของโลก

รศ. ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กรุงเทพฯ เป็นมหานครเต็มไปด้วยชุมชน กิจกรรมความเคลื่อนไหว อาคาร-ศูนย์การค้า ทั้งยังเป็นจุดหมายยอดนิยมในการท่องเที่ยวของนานาชาติ ซึ่งปีนี้ไทยตั้งเป้าหมาย 25 ล้านคน ‘ความปลอดภัยในที่สาธารณะ (Public Safety) จึงเป็นสิ่งสำคัญต่อประชาชน สังคม และเศรษฐกิจ ปัจจุบันหลายเทคโนโลยีที่บ้านเรามีและสามารถนำมาใช้ได้เลย ซึ่งจะช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ โดยประมวลผลข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เช่น โซเชียลมีเดียและเซ็นเซอร์ ในเวลาเรียลไทม์เพื่อให้ข้อมูลสำหรับการตัดสินใจและการประสานงานในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI)  เชื่อมต่อเพื่อเพิ่มพลังในการวิเคราะห์ข้อมูลจากเครือข่ายกล้องวงจรปิด (CCTV) ที่มีอยู่กว่า 5 หมื่นตัวในกรุงเทพฯ เพื่อช่วยในการควบคุมสถานการณ์และให้ข้อมูลสำหรับการประเมินสถานการณ์ เช่น ภาพพฤติกรรมของคนกำลังวิ่งหนีท่ามกลางคนเดิน AI สามารถช่วยประมวลผลและสังเกตความผิดปกติ  Smart City สามารถนำภาพในเมืองมาประเมินได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเห็นคนวิ่งกรูไปทิศหนึ่งทิศใด ก็สันนิษฐานได้ว่าอาจเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติในทิศทางตรงข้าม  คนวิ่งหนีอะไร ทั้งนี้ สจล.ได้พัฒนาใช้ระบบ AI เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลจากกล้อง CCTV ที่ฉะเชิงเทรา ทำให้ตำรวจตามจับตัวคนร้ายได้สำเร็จทันท่วงที

ขณะที่เทคโนโลยี 4G - 5G ในประเทศไทยก้าวหน้ามีประสิทธิภาพสูง เราควรพัฒนาระบบ SMS เพื่อแจ้งข่าวสารและเหตุฉุกเฉิน ซึ่งใช้ได้กับโทรศัพท์ทุกระดับ SMS เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานที่ไม่ซับซ้อนและเข้าถึงคนได้ทุกวัย อย่างในเกาหลีใต้ ระบบ SMS จะรู้ตำแหน่ง GPS, GEO Trackingช่วยตักเตือนเรื่องกฎเกณฑ์แก่นักท่องเที่ยว, SMS Alert ทักทายประชาชนทุกเช้า วันนี้มีเหตุการณ์สำคัญอะไรในบ้านเรา หากมีเหตุร้าย สามารถแจ้งเตือนไปยังคนที่อยู่ในพื้นที่เกิดเหตุอันตรายได้ ช่วยลดความตื่นตระหนก ชุลมุนของฝูงชน

เทคโนโลยีระบบแจ้งเตือนฉุกเฉิน ยังมีหลายรูปแบบ เช่น  Wireless Emergency Alerts (WEA) หน่วยงานรัฐบาลสามารถส่งการแจ้งเตือนฉุกเฉินแบบเหมือนข้อความไปยังโทรศัพท์มือถือที่เข้ากันได้ในพื้นที่เฉพาะ โดยใช้เทคโนโลยี Geofencing ซึ่งสามารถเห็นได้ว่าอุปกรณ์โทรศัพท์ของเรากำลังอยู่ที่ตำแหน่งไหน, ระบบการแจ้งเตือนที่สามารถเห็นได้จากป้ายสาธารณะทั่วไป เช่น ในสหรัฐอเมริกา จะมีระบบ AMBER Alert นำข้อความแจ้งเตือนฉุกเฉินไปขึ้นยังป้ายตามทางหลวง/ทางด่วน หรือป้ายสาธารณะที่เป็น Digital Signage ทำให้ง่ายต่อการติดตามคนร้าย และแนะนำถึงเส้นทางหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีปัญหา นอกจากนี้ยังมีแอปพลิเคชันแจ้งเตือนฉุกเฉิน เช่น FEMA แอปพลิเคชันจัดการฉุกเฉินระดับท้องถิ่นสามารถให้ข้อมูลและข้อความแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์ในระหว่างมีภัยฉุกเฉินได้  แอปพลิเคชัน Zello เพื่อการสื่อสารฉุกเฉินทำให้สมาร์ทโฟนเปลี่ยนเป็นวอล์กี้-ทอล์คกี้ ที่ช่วยให้ผู้ใช้สื่อสารกันได้แม้ระบบโทรศัพท์มือถือจะเกิดการใช้งานมากเกินไปหรือล่มสลายก็ตาม

ในการป้องกัน-แก้ไขเหตุร้าย สจล.มี ข้อแนะนำ สำหรับผู้ประกอบการเจ้าของอาคารและห้างสรรพสินค้า ควรออกแบบพื้นที่บังเกอร์ที่แข็งแรง หรือจุดซ่อนตัว และให้มีเส้นทางลำเลียงคนออกจากห้าง ดังเช่นในต่างประเทศ, ใช้ซอฟท์แวร์ AI เชื่อมระบบเครือข่ายกล้องวงจรปิด (CCTV) เช่น บริเวณทางเข้าและออก พื้นที่จอดรถ เพื่อเฝ้าระมัดระวัง บันทึกข้อมูล และวิเคราะห์สถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น, ฝึกอบรมป้องกันภัย ไฟไหม้และการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างถูกต้องตามหลักสากล และทบทวนแผนการและความพร้อมทุกด้าน

รศ. ดร.คมสัน มาลีสี กล่าวทิ้งท้ายว่า  6 ข้อเสนอแนะในการลดปัญหาการก่อเหตุร้ายในที่สาธารณะ ที่ทุกฝ่ายต้องร่วมช่วยกันแก้ไขเพื่อเสริมสร้างสังคมไทยที่อบอุ่นน่าอยู่และปลอดภัย มีดังนี้ 1.ด้านสุขภาพจิต เริ่มจากที่บ้าน ครอบครัวต้องมีความรักความเข้าใจ เกื้อหนุนกำลังใจกัน ควรส่งเสริมมีบริการบำบัดทางด้านจิตวิทยาที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง, 2.ด้านการครอบครองอาวุธปืน ไทยติดอันดับ 1 ของอาเซียน และอันดับ 20 ของโลก รัฐบาลควรหาทางลดการครอบครองและสกัดกั้นการซื้อขายอาวุธทางออนไลน์ ผู้เป็นเจ้าของปืนต้องจัดเก็บในที่ปลอดภัยไม่ให้ลูกหลานเข้าถึงได้, 3.ป้องกันเยาวชนจากเกมที่กระตุ้นการใช้ความรุนแรง  ซึ่งอาจเกิดการเลียนแบบเอาอย่าง, 4.ให้ความสำคัญในการเพิ่มศักยภาพระบบความปลอดภัยด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี การใช้ระบบการแจ้งเตือนฉุกเฉินผ่านโทรศัพท์มือถือ และการใช้ซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันที่ช่วยในการตรวจสอบและรายงานปัญหาในเวลาเรียลไทม์ การติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) และระบบการตรวจจับควันและแก๊สพิษ, 5. สร้างพลังความร่วมมือกับชุมชนในการรักษาความปลอดภัยของชุมชนและเมือง ซึ่งความสัมพันธ์อันดีกับคนในพื้นที่จะช่วยรายงานปัญหาและการเห็นสิ่งผิดปกติต่อเจ้าหน้าที่ได้ครอบคลุมยิ่งขึ้น 6.ชุมชน อาคาร ศก.ค้า ควรมีการซักซ้อม 3 วิธีการเอาตัวรอด เมื่อต้องเผชิญเหตุร้ายกราดยิง หรือคลุ้มคลั่ง ได้แก่ หนี จากจุดอันตรายไปยังพื้นที่ปลอดภัย, ซ่อน หากหนีไม่ได้ ให้หาสถานที่ปลอดภัยหลบซ่อนตัว และ สู้ อย่างปลอดภัยซึ่งเป็นทางเลือกสุดท้าย

สุดยอดแอปพลิเคชั่น...หาจุดเติมน้ำดื่มฟรี-ลดขยะพลาสติก เพิ่มพลังเมืองอัจฉริยะ

X

Right Click

No right click