SCB WEALTH เดินหน้ารุกด้าน Financial Privilege มุ่งเน้นการมอบเอกสิทธิ์ทางการเงินและการลงทุน เพื่อนำไปต่อยอดความมั่งคั่งและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง ผ่านกิจกรรมสัมมนา

ในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา และอาจารย์ด้านกฎหมายและเศรษฐกิจระหว่างประเทศคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย นางสาวเกษรี อายุตตะกะ CFP® ผู้อำนวยการกลยุทธ์การลงทุน SCB Chief Investment Office ธนาคารไทยพาณิชย์ ภายใต้หัวข้อ “ China Reopening: Challenges and Prospects ” ณ SCB Investment Center ชั้น 4 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี

โดยดร.อาร์ม กล่าวในงานสัมมนาว่า คนจีนยังคงเชื่อมั่นในศักยภาพเศรษฐกิจระยะยาวของประเทศตนเอง แม้ในระยะสั้น จะเป็นแบบเศรษฐกิจ Square Root Shape กล่าวคือ ดีดตัวขึ้นหลังเปิดเมืองระยะหนึ่งแล้วทรงตัว โดยในไตรมาสแรก GDP Growth อยู่ที่ 4.5% จากคาดการณ์ไว้ที่ 4% การค้าปลีกเติบโต 10% จากการฟื้นตัวการบริโภคภายในประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังไม่มีการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังค้างอยู่ และ ผล

ประกอบการบริษัทจีนยังไม่ดีอย่างที่คาดหวัง ทำให้ประชาชนไม่แน่ใจกับสถานการณ์เศรษฐกิจ ยังระมัดระวังการใช้จ่าย สิ่งที่นักลงทุนในตลาดหุ้นคาดหวัง คือ การกระตุ้นเศรษฐกิจ และอัดฉีดเม็ดเงิน

ส่วนในระยะกลางเศรษฐกิจจีนจะโตแบบขั้นบันได มีทั้งช่วงที่เศรษฐกิจนิ่งๆ และเติบโตสลับกัน ซึ่งมี 3 ปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้อง คือ 1)รัฐบาลจำเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยจีนกำลังเจอปัญหาเงินฝืด สวนทางกับชาติอื่นที่มีปัญหาเงินเฟ้อ ประชาชนคาดหวังว่าจะมีการปรับลดดอกเบี้ย อัดฉีดเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ 2)ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจเริ่มกลับมา หลังรัฐบาลจีน ให้ความเชื่อมั่นในการสนับสนุนภาคธุรกิจ โดยย้ำว่าภาคเอกชนมีความสำคัญกับเศรษฐกิจจีน และ3)ยังมีความท้าทายจากปัญหาอสังหาริมทรัพย์ และปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ แม้ภาคอสังหาริมทรัพย์จะเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น แต่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ส่วนปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้ต่างชาติยังลังเลในการเข้ามาลงทุน เพราะไม่มั่นใจว่าความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐฯ จะลุกลามมากกว่านี้หรือไม่

สำหรับเศรษฐกิจจีนในระยะยาว มีอัตราการเติบโตที่ดีกว่าประเทศอื่นๆในโลก ซึ่งสหรัฐฯ เจอปัญหาเงินเฟ้อ ดอกเบี้ยในอัตราที่สูง ปัญหาภาคธนาคารขาดเสถียรภาพ และปัญหาอสังหาริมทรัพย์ ด้านยุโรป ได้รับผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่วนจีน ได้รับผลกระทบจากนโยบาย zero covid การปราบปรามภาคเอกชน ภาคอสังหาริมทรัพย์ และเทคโนโลยี ที่แรงเกินไป รวมทั้ง ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ แต่พบว่า จีนได้เลิกนโยบายโควิดและเริ่มกลับมาเน้นภาคเอกชนอีกครั้ง ทำให้นักลงทุนสนใจ และหาจังหวะเข้าลงทุน

ทั้งนี้ หุ้นที่น่าสนใจ ได้แก่ หุ้นกลุ่มดั้งเดิม ที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค สนับสนุนการฟื้นตัวในช่วงหลังโควิด ส่วนในระยะยาว แนะนำกลุ่ม Soft Tech ที่ราคามีการปรับลดลงไปมาก จากผลกระทบเรื่องการออกกฎระเบียบจัดการ จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ แม้ราคาจะปรับขึ้นมาบ้างแล้ว แต่ถือว่ายังอยู่ในระดับที่ลงทุนได้ นอกจากนี้ กลุ่มพลังงานสะอาด ซึ่งรัฐบาลยังสนับสนุนเต็มที่ อาจหาจังหวะเข้าลงทุน เมื่อราคาปรับลดลง

SCB CIOประเมินความไม่แน่นอนของการเมืองไทยในการจัดรัฐบาลใหม่ เป็นความเสี่ยงระยะสั้น มองเป็นโอกาสลงทุนระยะยาว แนะสะสมกองทุนRMF-SSF หุ้นไทยกลุ่มท่องเที่ยว บริโภคอุปโภค และโรงพยาบาล ส่วนการจัดการเพดานหนี้สหรัฐฯ มีแนวโน้มเจรจายืดเยื้อเนื่องจากคะแนนเสียงของสองพรรคใหญ่ค่อนข้างใกล้เคียงกันและคุมเสียงพรรคละสภา (narrow majorities and divided government) ชี้หุ้นสหรัฐฯ กลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน น่าสนใจ รอรองรับปันผล มีความผันผวนน้อย และกลุ่มเทคฯ ยักษ์ใหญ่สหรัฐฯ ส่วนหุ้นญี่ปุ่นแนะทยอยขาย หลังปรับขึ้นกว่า 14% จากอานิสงค์เงินเยนอ่อนค่า และการเปิดเมือง คาด ECB ขึ้นดอกเบี้ยอีก 2ครั้งๆละ 0.25% พร้อมคงดอกเบี้ยที่ 3.75%ถึงปลายปี 2566

ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโส และหัวหน้าทีม SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีประเด็นความไม่แน่นอนทางการเมือง 2 ประเด็นที่นักลงทุนต้องจับตา ได้แก่ การจัดตั้งรัฐบาลของไทย และการจัดการเพดานหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงระยะสั้นต่อตลาด แต่มาพร้อมโอกาสการลงทุนระยะยาว

สำหรับประเด็นการจัดตั้งรัฐบาลของไทย ยังมีความไม่แน่นอนสูง และอาจใช้เวลานานกว่าปกติ ด้วยเงื่อนไขการลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรี ที่ต้องมีเสียงสนับสนุน 376 เสียงขึ้นไป จากสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ซึ่งกรอบกฎหมายกำหนดให้ต้องมีการประชุมสภาครั้งแรก ภายในวันที่ 28 ก.ค. นี้ อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งรัฐบาลใหม่เกิดขึ้น ท่ามกลางเศรษฐกิจไทยที่กำลังฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (GDP) ในปีนี้ ไตรมาสแรก เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ( YoY ) เติบโตได้ 2.7% (โดยฟื้นจากไตรมาส 4 /2565 ที่เติบโตได้ 1.4%) และหากพิจารณาการเติบโตเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (หลังหักผลของฤดูกาลแล้ว) เศรษฐกิจไทยไตรมาส1กลับมาขยายตัวได้ 1.9% (เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 / 2565 ที่หดตัว -1.1%) โดยได้รับแรงหนุนหลักจากการบริโภคภาคเอกชน และการท่องเที่ยว ทำให้ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทางเทคนิคลดลงอย่างมาก

ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ที่จะออกมา ยังมีรายละเอียดไม่มากนัก ซึ่งอาจมีผลต่อเศรษฐกิจน้อยกว่ามาตรการกระตุ้นครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากภาครัฐมีหนี้สาธารณะต่อGDPที่สูงอยู่แล้ว (smaller fiscal space) รวมถึงหนี้ภาคครัวเรือนที่สูง ถึง 87% ของ GDP ซึ่งน่าจะเป็นข้อจำกัดทำให้ภาคการเงินยังมีความระมัดระวังในการปล่อยกู้อีกด้วย

SCB CIO มองว่า ตลาดหุ้นไทย หลุดพ้นภาวะ earning recession หรือภาวะที่กำไรบริษัทจดทะเบียนเมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวติดต่อกัน 2 ไตรมาส ได้เรียบร้อยแล้ว โดยเชื่อว่า ดัชนีในระดับปัจจุบันรับรู้ความเสี่ยงจากประเด็นการเมืองไปบ้างแล้ว จึงเป็นโอกาสสำหรับการลงทุนระยะยาว โดยเฉพาะการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อลดหย่อนภาษี ประเภท กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) รวมทั้งแนะนำให้สะสมหุ้นกลุ่มท่องเที่ยว บริโภคอุปโภค และโรงพยาบาล เนื่องจากผลประกอบการ มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง นอกจากนี้ แนวโน้มราคาต่อ

กำไรต่อหุ้น forward P/E ratio ของหุ้นไทย ลดลง (derate) จากระดับ 15.4 เท่า ก่อนการเลือกตั้งลงมาที่ 15.0 เท่า (มีค่าความผันผวน -0.5 sd)

สำหรับประเด็นปัญหาเพดานหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ อาจสร้างความผันผวนให้กับตลาดการเงินโลกได้ โดยคาดว่า ปัญหานี้จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯในระยะสั้นเท่านั้น เนื่องจากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังแข็งแกร่ง ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะ earning recession ไปแล้ว เมื่อมีปัจจัยความไม่แน่นอนทางการเมืองนี้เข้ามา ก็อาจทำให้ตลาดผันผวนได้

ทั้งนี้ จากฝ่ายบริหารที่ครองโดยพรรคเดโมแครต ในขณะที่ฝ่ายนิติบัญญัติครองโดยพรรคเดโมแครตในสภาสูงแต่พรรคริพับลิกันครองสภาล่าง (divided government) และจำนวนคะแนนเสียงในแต่ละสภาที่มีเสียงส่วนใหญ่ห่างจากเสี่ยงส่วนน้อยไม่มาก (Narrow majorities) ทำให้การผ่านร่างกฎหมายฯ มีแนวโน้มการต่อรองที่ยืดเยื้อ ซึ่งอาจจะมีผลกระทบทางลบเกิดขึ้นได้ หากมีการผิดนัดชำระหนี้ผูกพัน โดยSCB CIO เชื่อว่าน่าจะมีการตกลงกันและผ่านร่างกฎหมายได้ในนาทีสุดท้าย (last minute deal) และมาควบคู่กับการปรับลดงบประมาณใช้จ่ายบางส่วน

ดร.กำพล กล่าวต่อไปว่า เราได้ประเมินทางเลือกในการแก้ไขปัญหาเพดานหนี้สหรัฐฯ ดังนี้ 1) การเพิ่มเพดานหนี้ แต่เราคาดว่าร่างกฎหมายการเพิ่มเพดานหนี้ที่จะผ่านสภาคองเกรส จะมาควบคู่กับแผนการปรับลดรายจ่ายด้านงบประมาณ 2) กรณีที่ยังไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้ก่อนเข้าใกล้ X-date ซึ่งเป็นวันที่มาตรการพิเศษและกระแสเงินสดของรัฐบาลสหรัฐฯ จะหมดลง เราคาดว่า ทางการอาจเลือกผ่านกฎหมายการเพิ่มเพดานหนี้เล็กน้อย หรือ ผ่านกฎหมายเลื่อนเพดานหนี้ออกไปชั่วคราวจนถึงวันที่ 30 ก.ย. นี้ โดยต้องพยายามผ่านกฎหมายการเพิ่มเพดานหนี้ควบคู่กับแผนการใช้จ่ายสำหรับปีงบประมาณ 2567

นอกจากนี้ ยังได้เปรียบเทียบการจัดการวิกฤตเพดานหนี้ในปี 2554 ที่ยกเพดานหนี้ไม่กี่ชั่วโมงก่อนเส้นตาย กับปี 2556 ที่ใช้วิธีเลื่อนเพดานหนี้ 1 วันก่อนเส้นตาย พบว่า การจัดการในปี 2554 สร้างความผันผวนต่อตลาดสูงมาก และทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวลดลง เนื่องจากการเจรจามีความไม่แน่นอนสูงมาก รวมถึง S&P Global Ratings ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ ลง (จาก AAA เป็น AA+) โดย 1 เดือนก่อนและหลังการยกเพดานหนี้ S&P500 index ปรับลดลงถึง -12% ส่วนผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี (10y UST yield) ปรับลง 1.13 ppt. แต่ผลต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีไม่มากนัก ขณะที่ ปี 2556 S&P500 index ปรับขึ้น +5% และผลต่อ 10y UST yield และเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีค่อนข้างจำกัด

ส่วนปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการลงทุน ได้แก่ สถานการณ์เงินเฟ้อในยุโรปที่ยืดเยื้อกว่าที่คาดการณ์ ขณะที่เศรษฐกิจยุโรปยังฟื้นตัวได้ดี ทำให้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) น่าจะขึ้นดอกเบี้ยต่อ แม้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะหยุดขึ้นดอกเบี้ยแล้ว โดยคาดว่า ECB จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้ง ครั้งละ 0.25% จนกระทั่งดอกเบี้ยแตะระดับ 3.75% และคงดอกเบี้ยไว้ถึงปลายปี 2566 ส่วนอัตราดอกเบี้ยของ Fed เราคงมุมมองว่า น่าจะอยู่ที่ 5.0-5.25% จนถึงปลายปี 2566 เนื่องจากความตึงเครียดในภาคการเงินของสหรัฐฯ ยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้โอกาสในการขึ้นดอกเบี้ยต่อมีน้อยลง แต่อัตราเงินเฟ้อที่ชะลอลงช้าและตลาดแรงงานที่ยังแข็งแกร่ง เป็นปัจจัยหลัก ทำให้ Fed ไม่น่าจะลดดอกเบี้ยในปีนี้

SCB CIO มองว่า ช่วงเวลาเช่นนี้ เป็นโอกาสจับจังหวะสะสมหุ้นกลุ่มเชิงรับ (Defensive) ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยเฉพาะในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน (Utilities) ซึ่งมีคุณสมบัติผันผวนน้อย (low volatility) มีเงินปันผลรองรับ ขณะที่ มูลค่า

หุ้น (valuation) และการเติบโตของกำไรในปัจจุบัน จัดอยู่ในกลุ่มที่มีลักษณะเติบโตและมีราคาสมเหตุสมผล (Growth At Reasonable Price) นอกจากนี้ยังมี กลุ่มบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ (Mega Tech) ที่ได้อานิสงส์จากผลประกอบการที่ยังแข็งแกร่ง อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ลดลง และได้รับกระทบน้อยจากความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย

ดร.กำพล กล่าวว่า SCB CIO ยังมีการปรับมุมมองหุ้นญี่ปุ่น เป็นทยอยขาย (Slightly negative from Neutral) เนื่องจากตลาดหุ้นญี่ปุ่นตั้งแต่ต้นปี 2566 ปรับตัวขึ้นมาแล้วกว่า 14% โดยได้อานิสงส์หลักจาก ค่าเงินเยนที่อ่อนค่ากว่า 4% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ และการเปิดเมือง แต่ในระยะข้างหน้าความเสี่ยงเงินเฟ้อของญี่ปุ่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการปรับค่าจ้างที่จะเกิดขึ้นในเดือน ก.ค. ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นมีการปรับนโยบายการควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Yield Curve Control) ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นมีแนวโน้มปรับขึ้น สวนทางกับผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะลดลงจากการหยุดขึ้นดอกเบี้ยของ Fed และความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินเยนมีแนวโน้มกลับมาแข็งค่าขึ้น

ไทยพาณิชย์ โพรเทค เปิดแผนธุรกิจปี 2566 ต่อยอดทิศทางแบงก์แม่ จับโจทย์ผลิตภัณฑ์ประกันเป็นหนึ่งในรากฐานการสร้างความมั่งคั่ง พร้อมมอบประสบการณ์บริการที่เชื่อมถึงกันแบบไร้รอยต่อจากทุกช่องทางสู่ทุกภูมิภาคจากการวางระบบรากฐานข้อมูลเทคโนโลยีจากสำนักงานใหญ่ เพื่อการให้บริการที่เข้าใจง่ายและใส่ใจ ครอบคลุมทั่วพื้นที่สำคัญในประเทศไทยเพื่อการเติบโตระยะยาว ประเดิมเปิดศูนย์กลางการดำเนินงานภาคเหนือที่ จ.เชียงใหม่ เป็นแห่งแรก เพื่อสนับสนุนศักยภาพงานขายและบริการเต็มรูปแบบ พร้อมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ประกันกลุ่มราคาสุดคุ้ม เพื่อช่วยตั้งต้นวางแผนชีวิตอย่างมั่นคงสำหรับกลุ่มอาชีพอิสระ โดยออกแบบประกันกลุ่มอุบัติเหตุสุดคุ้มเริ่มต้นเพียง 225 บาทต่อปี นำร่อง 5 องค์กรภาคธุรกิจและท่องเที่ยวเชียงใหม่ ตั้งเป้าผลักดันเบี้ยรับรวมและรายได้ปี 2566 โต 200%

 

นางสาวปรมาศิริ มโนลม้าย รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจประกัน ธนาคารไทยพาณิชย์ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยพาณิชย์ โพรเทค จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจนายหน้าประกันชีวิตและประกันวินาศภัย เปิดเผยว่า “จากการวางรากฐานการทำงานเพื่อสร้างการเจริญเติบโตในช่วงที่ผ่านมา การนำเสนอผลิตภัณฑ์ด้านความคุ้มครองที่คุ้มค่าและพัฒนาช่องทางการติดต่อลูกค้าทั้งออฟไลน์และออนไลน์ เพื่อให้ผู้บริโภคกลุ่มแมสเข้าถึงความคุ้มครองที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะช่องทางประกันออนไลน์ (Digital Insurance) https://online.scbprotect.co.th/ ส่งผลให้บริษัท ไทยพาณิชย์ โพรเทค จำกัด ก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทนายหน้าประกันชีวิตและประกันวินาศภัยที่มียอดกรมธรรม์ผ่านช่องทางออนไลน์ที่เติบโตรวดเร็วที่สุดในตลาด ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ย 200% ต่อเดือน บริษัทมีผลประกอบการที่โดดเด่น โดยในปี 2565 ที่ผ่านมา บริษัทมีเบี้ยรับรวม 1.7 พันล้านบาท และฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นกว่า 1.8 แสนราย”

ในปี 2566 นี้ บริษัท ไทยพาณิชย์ โพรเทค ตั้งเป้าหมายเติบโตอย่างมีศักยภาพ โดยกำหนดกลยุทธ์สอดรับกับกลยุทธ์ของธนาคารไทยพาณิชย์ที่ประกาศเป็น “ดิจิทัลแบงก์ที่เป็นอันดับหนึ่งด้านการบริหารความมั่งคั่ง พร้อมมอบประสบการณ์การให้บริการที่เชื่อมถึงกันอย่างไร้รอยต่อในทุกช่องทาง” ด้วยการวางโครงสร้างการให้บริการและการวางระบบรากฐานข้อมูลเทคโนโลยี IT infrastructure ให้สามารถรองรับการให้บริการที่เชื่อมถึงกันอย่างไร้รอยต่อ (Omni-Channel) จากช่องทางการขายที่แตกต่างกัน เป็นการผสานความสะดวกสบายในการเข้าถึงความคุ้มครองผ่านทางดิจิทัลกับการดูแลและให้บริการลูกค้าด้วยใจจากพนักงานทั้งก่อนและหลัง

การขาย รวมถึงการพัฒนา AI ในการเรียนรู้และวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์และค่าเบี้ยที่คุ้มค่าผ่านช่องทางการขายที่เหมาะสมสำหรับลูกค้าแต่ละราย และการขยายเครือข่ายสู่ภูมิภาคหลัก โดยจะทยอยเปิดศูนย์กลางการดำเนินงานประจำภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ประเดิมภาคเหนือ จ.เชียงใหม่เป็นแห่งแรก โดยตั้งเป้าภูมิภาคจะมีส่วนผลักดันให้เบี้ยรับรวมและรายได้ปีนี้เติบโต 200%

“เชียงใหม่เป็นเมืองหลักของธุรกิจการค้าและการท่องเที่ยวของประเทศไทย และตลาดแรงงานปรับดีขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนจากจำนวนผู้ประกันตนมาตรา 33 จังหวัดเชียงใหม่ ในไตรมาสแรกของปี 2566 เติบโต 30%*1 อีกทั้งยังพบว่าหลังจากสถานการณ์โควิดดีขึ้นนั้น มีแรงงานกลับคืนถิ่นจำนวนมาก และต้องการมีอาชีพที่มั่นคง จนปัจจุบัน ศูนย์กลางการดำเนินงานประจำภาคเหนือ มีพนักงาน รวมทั้งสิ้น 450 คน พร้อมกันนี้ บริษัทฯ ลงนามความร่วมมือกับ 5 องค์กรภาคธุรกิจการค้าและการท่องเที่ยวเชียงใหม่ ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ สมาพันธ์ SME ไทย จังหวัดเชียงใหม่ สมาคมส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการไทยจังหวัดเชียงใหม่ ATED.CM และสมาคมโรงแรมไทยภาคเหนือ (ตอนบน) สนับสนุนผลิตภัณฑ์ประกันกลุ่มราคาพิเศษสุด เพื่อช่วยตั้งต้นวางแผนชีวิตอย่างมั่นคงสำหรับกลุ่มอาชีพอิสระเกี่ยวกับธุรกิจการค้าและการท่องเที่ยวซึ่งเป็นหัวใจหลักของภาคเหนือสามารถเข้าถึงประกันที่จำเป็นได้ในราคาคุ้มค่า”

นางสาวปรมาศิริ กล่าวว่า บริษัทฯ ร่วมมือกับ ซันเดย์ ประกันภัย บริษัทอินชัวร์เทคชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ SCB 10X ถือหุ้นอยู่ พัฒนาผลิตภัณฑ์และระบบที่ทันสมัยเหมาะกับลูกค้าในยุคดิจิทัลที่สามารถรับความคุ้มครองง่ายๆ ผ่านมือถือ ออกประกันกลุ่มอุบัติเหตุสุดคุ้ม (Group Personal Accident) ประกันพื้นฐานความคุ้มครองสำหรับความเสี่ยงในการใช้ชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นได้บ่อยสำหรับทุกวัย โดยสามารถทำได้ทั้งพนักงานองค์กร สมาชิกในองค์กรและครอบครัวของคนในองค์กร ด้วยค่าเบี้ยเริ่มต้นเพียงปีละ 225 บาท รับความคุ้มครองชีวิตจากอุบัติเหตุสูงถึง 100,000 บาท และอีกไฮไลต์สำคัญคือประกันกลุ่มอุบัติเหตุ PA แผน 6 ที่มีค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุครั้งละ 5,000 บาท ไม่จำกัดจำนวนครั้ง และความคุ้มครองชีวิตจากอุบัติเหตุสูงถึง 500,000 บาท ด้วยค่าเบี้ยเพียง 1,180 บาทต่อปี นอกจากนี้ ยังมีประกันกลุ่มรถทัวร์ รถตู้ ประกันทรัพย์สินและโรงงาน ให้บริการอีกในลำดับถัดไป การขยายเครือข่ายสู่ภูมิภาคนี้ บริษัทตั้งเป้าสร้างเบี้ยรับเพิ่มภาคละ 720 ล้านบาทต่อภาคต่อปี

ทั้งนี้ บริษัทฯ มีแผนที่จะขยายศูนย์กลางการดำเนินงานประจำภาค โดยภาคถัดไป คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดขอนแก่น โดยจะเริ่มรับสมัครทีมงานในไตรมาส 3 ของปีนี้กว่า 300 อัตรา จุดเด่นของงานเช่น งานเทเลเซลล์ คือ เป็นสัญญาจ้างพนักงาน มีเงินเดือนประจำ เบี้ยขยัน ค่าคอมมิชชั่นตามผลงาน รางวัลพิเศษตามแคมเปญ และสวัสดิการต่างๆ นอกจากนี้ บริษัทยังส่งเข้าอบรมและส่งสอบใบอนุญาตโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เป็นต้น โดยรับทั้งผู้ที่มีประสบการณ์งานขายประกันและนักศึกษาจบใหม่ บริษัทฯ คาดว่าจะ

ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลามเช่นที่จังหวัดเชียงใหม่ ผู้สนใจสามารถแอดไลน์ @scbprotect เพื่อติดตามประกาศเกี่ยวกับการรับสมัครงานและโปรโมชั่นประกันดีๆ คุ้มๆ ได้ตลอดทั้งปี

บริษัทฯ มีแนวทางที่สอดคล้องกับแบงก์แม่ คือ การให้บริการที่เชื่อมถึงกันอย่างไร้รอยต่อในทุกช่องทาง โดยยึดหลักการดูแลด้วยใจและใส่ใจบริการ ด้วยการบริการที่หลากหลายช่องทาง นำโดย 1314 SCB Protect Customer Service Center เป็นศูนย์กลางการให้บริการหลังการขายและตอบคำถามเกี่ยวกับประกันจากทุกช่องทาง ความสามารถในการรองรับการให้บริการจาก 200 คนต่อเดือนในช่วงเริ่มต้น เป็น 200 คนต่อวันในปี 2566 ช่องทางดิจิทัลอย่าง LINE Official Account (LINE OA) SCB Protect, Facebook SCB Protect และอีเมล และในปี 2566 นี้ ได้เชื่อมต่อระบบประกันออนไลน์ และประกันรถยนต์ทางโทรศัพท์เข้ากับ LINE OA SCB Protect ทำให้สามารถสอบถามเกี่ยวกับประกันที่สนใจ ทำรายการซื้อจนจบจ่ายเงิน และรับความคุ้มครองผ่านทางไลน์ได้อย่างปลอดภัย เป้าหมายสำคัญคือการเชื่อมต่อทุกระบบเพื่อเป็น One-Stop Service ในการให้บริการลูกค้าสำหรับทุกประเภทประกัน เพื่อให้คนไทยเข้าถึงประกันที่ต้องการได้ในราคาที่คุ้มค่า ผ่านการบริการที่สะดวกรวดเร็วในปี 2567

ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB และ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ร่วมตอกย้ำความมุ่งมั่นในการดำเนินงานด้านความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง ยกระดับขีดความสามารถทางด้านการเงินยั่งยืน ร่วมลงนามใน “สัญญาอนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงทางการเงินที่เชื่อมโยงกับผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน หรือ Sustainability Linked Swap” เป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประเทศไทย โดยจะนำผลการดำเนินงานของ GC ในการมีส่วนร่วมในด้านการสร้างสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจ และบรรษัทภิบาล (ESG) มาเป็นเกณฑ์เพื่อพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยในธุรกรรมนี้ ทั้งนี้ ยังเป็นการต่อยอดการให้บริการการเงินยั่งยืนอย่างครบวงจรต่อเนื่องจากความสำเร็จของสัญญาการสนับสนุนสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability-Linked Loan: SLL) เมื่อเดือนธันวาคม 2565 การลงนามในครั้งนี้มี ดร. ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wholesale และ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์ และ นางสาวภัทรลดา สง่าแสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงินและบัญชี บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ร่วมในพิธีลงนามเมื่อเร็วๆ นี้

ดร. ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wholesale และ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า “ปัจจุบันกระแสของความยั่งยืนได้กลายเป็นวาระสำคัญของโลก รวมทั้งในประเทศไทยด้วย ดังจะเห็นได้จากความตื่นตัวขององค์กรไทยที่เริ่มให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจควบคู่ไปกับการสร้างสรรค์สังคมยั่งยืน ผ่านการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี ธนาคารไทยพาณิชย์จึงมุ่งมั่นผลักดันการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนให้เป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักขององค์กร สอดคล้องกับการประกาศเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2050 ของกลุ่มธุรกิจ SCBX ทั้งนี้ ในส่วนของการสนับสนุนการปรับตัวของลูกค้าภาคธุรกิจนั้น ธนาคารมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ผสานแนวคิดการเงินยั่งยืน (Sustainable Finance) เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ลูกค้าและต่อยอดความรับผิดชอบต่อสังคมตามแนวธุรกิจของลูกค้าในรูปแบบต่างๆ การที่องค์กรขนาดใหญ่อย่าง GC

เข้าทำธุรกรรมสัญญาอนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน ในครั้งนี้ เป็นการตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะรับผิดชอบต่อสังคมและให้ความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ทั้งยังช่วยขยายขีดความสามารถในการแข่งขัน ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจและการเติบโตในระยะยาว และสามารถช่วยองค์กรลดต้นทุนได้อีกทางหนึ่ง โดยในธุรกรรมของ GC ครั้งนี้ ธนาคารจะพิจารณาอัตราดอกเบี้ยโดยใช้ผลการดำเนินงานทางด้านความยั่งยืน ตลอดจนการเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนอย่างครบถ้วนและโปร่งใสของ GC เป็นองค์ประกอบในการกำหนด ความร่วมมือในครั้งนี้จึงเป็นอีกก้าวสำคัญของการต่อยอดคุณค่าทางด้าน ESG ทั้งยังได้รับประโยชน์จากความมุ่งมั่นในการรับผิดชอบต่อสังคมและสร้างสรรค์โลกที่ดีขึ้น

นางสาวภัทรลดา สง่าแสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงินและบัญชี บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ที่ผ่านมา GC มุ่งมั่น และนำแนวทาง ESG มาใช้ในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ ได้รับการจัดอันดับโดย DJSI เป็นอันดับที่ 1 ของโลก ในกลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 สะท้อนการเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนที่มีความพร้อมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับประเทศไทย และโลกใบนี้ร่วมกับพันธมิตรด้วยเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050 ตามแนวทาง Together To Net Zero นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีแผนในการนำ Sustainable Funding เข้ามาสนับสนุนเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืน การเข้าร่วมลงนามในสัญญาอนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงทางการเงินที่เชื่อมโยงกับผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน หรือ Sustainability Linked Swap ร่วมกับธนาคารไทยพาณิชย์ในครั้งนี้ จะส่งผลให้ GC สามารถลดต้นทุนทางการเงิน และบริหารทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อเนื่องจากสินเชื่อความยั่งยืนที่ได้รับไปแล้วก่อนหน้านี้”

 

รายนามผู้บริหาร ภาพ 6 ท่าน (จากซ้ายไปขวา)

1. นายจิตศักดิ์ สุนทรพันธุ์ ผู้จัดการฝ่ายหน่วยงานการเงินองค์กรและนักลงทุนสัมพันธ์ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

2. นางสาวศรมน อิงคตานุวัฒน์ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Corporate Banking 1 ธนาคารไทยพาณิชย์

3. นางสาวภัทรลดา สง่าแสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงินและบัญชี บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

4. ดร. ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wholesale และ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์

5. นายสมสกุล วินิชบุตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารฝ่าย Client Coverage 1.7 ธนาคารไทยพาณิชย์

6. นางขวัญกมล พริ้งวณิชย์ Division Head, Financial Market Trading ธนาคารไทยพาณิชย์

Market update by SCBFM: 10 เมษายน 2566

  • กลุ่มงานตลาดการเงินธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 15-34.35บาท/ดอลลาร์
  • ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น หลังตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐออกมาใกล้เคียงกับที่คาด 236,000 ตำแหน่ง อัตราการว่างงานอยู่ที่ 5% ลดลงจาก 3.6% และค่าจ้างรายชั่วโมงอยู่ที่ +0.3% จาก +0.2% เดือนก่อนหน้า
  • ตลาดคาดธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีโอกาส 70% ในการปรับดอกเบี้ยขึ้น 25 bps ในการประชุมครั้งหน้า จับตาดูตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่จะประกาศวันพุธนี้ คาดการณ์ที่ 6% yoy รวมถึงรายงานผลการประชุมเฟด
  • วันอังคารติดตามการปรับตัวเลข GDP เศรษฐกิจโลก จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และรายงานผลประกอบการภาคธนาคารสหรัฐในช่วงปลายสัปดาห์
X

Right Click

No right click