ใครว่า “ชั้นวางสินค้า” ไม่สำคัญ ไม่มีผลต่อยอดขาย 2 ผู้ประกอบการ SME สินค้าขายดีในเซเว่น อีเลฟเว่นอย่าง “ขนมขบเคี้ยวแบรนด์ มูซ่า และ กล้วยตากอบน้ำผึ้งลานทอง” ขอค้านเสียงแข็ง เพราะได้พิสูจน์ด้วยตัวเองมาแล้ว ด้วยยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด

ย้อนกลับไปในช่วงเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ถือเป็นช่วงเวลาที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้รับผลกระทบอย่างมากโดยเฉพาะด้านยอดขาย บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ ในฐานะองค์กรที่ให้การสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการ SME มาอย่างต่อเนื่อง ได้เห็นถึงผลกระทบดังกล่าว จึงขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพลิกฟื้นสถานการณ์ผ่าน SME Shelf” ชั้นวางสินค้าเอสเอ็มอีโดยเฉพาะในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2564 เพื่อสร้าง ความสะดวกในการมองเห็น (Easy to see) ให้ผู้บริโภคมองเห็นว่าสินค้าชิ้นไหนเป็นของเอสเอ็มอีได้อย่างชัดเจน ความสะดวกในการเข้าถึง (Easy to reach) ให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าเอสเอ็มอีได้ง่าย ความสะดวกในการไว้วางใจ (Easy to trust) ให้ผู้บริโภคสามารถมั่นใจในคุณภาพสินค้าเอสเอ็มอีที่ผ่านการคัดกรองคุณภาพ นำไปสู่การตัดสินใจสนับสนุน SME ได้ง่ายขึ้น

ผ่านมากว่า 1 ปี จำนวน SME Shelf เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็น 5,500 สาขาในปัจจุบัน เพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการ SME อย่างต่อเนื่อง ยืนยันโดย บีม-พรรษนันท์ พลสว่าง เจ้าของแบรนด์ขนมขบเคี้ยว “มูซ่า” และ เอ๊ะ-ปาณัสม์ศา เคร่งกำเนิด เจ้าของกล้วยตากอบน้ำผึ้งลานทอง 2 ผู้ประกอบการ SME ที่เป็นคู่ค้าเซเว่น อีเลฟเว่น มาร่วม 10 ปี

“มูซ่า” ชี้ “SME Shelf” ดันยอดขายปี’65 พุ่ง 40 ล้าน

บีม-พรรษนันท์ พลสว่าง กรรมการ บริษัท ทูบี อินเตอร์ฟู๊ดส์ จำกัด ผู้จัดจำหน่ายขนมขบเคี้ยวและผลไม้แปรรูป แบรนด์ “มูซ่า” ทายาทรุ่น 2 ที่เข้ามาช่วยบริหารงาน เล่าให้ฟังว่า มูซ่า เติบโตมาจากร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ตั้งแต่ปี 2557 ด้วยสินค้าเพียง 1 SKU คือ ขนมปังกรอบขาไก่รสเค็ม และมีการพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ปัจจุบันบริษัทมีสินค้าจัดจำหน่ายในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ถึง 20 SKU ครอบคลุมสินค้ากลุ่มทานเล่นและผลไม้แปรรูป อาทิ ขาไก่จัมโบ้ ขาไก่ 3 รส ขนมปังไส้สับปะรด ซึ่งทุก SKU ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง โดยสินค้าที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ ขนมปังกรอบขาไก่รสแซ่บและขนมปังกรอบซุปเปอร์

กระทั่งเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 พบว่า ยอดขายในกลุ่มขาไก่ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้ายอดนิยมของบริษัทปรับลดลง 30% แต่หลังจากที่ เซเว่น อีเลฟเว่น ดำเนินโครงการ “SME Shelf” โดยมีสินค้าของบริษัทจัดวางอยู่บน SME Shelf ด้วย พบว่า ยอดขายปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2564 บริษัทมียอดขายรวม 35 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่มียอดขายอยู่ที่ 29 ล้านบาท ล่าสุดในปี 2565 บริษัทมียอดขายรวมอยู่ที่ 40 ล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

SME Shelf ช่วยสร้างความโดดเด่นให้กับสินค้า ลูกค้าเห็นสินค้าได้ง่ายขึ้น โฟกัสสินค้าที่ต้องการได้ชัดเจนมากขึ้น ดูได้จากยอดขายของขนมปังกรอบขาไก่รสแซ่บและขนมปังกรอบซุปเปอร์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี

ช่องทางเพิ่มโอกาสสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

ด้าน เอ๊ะ-ปาณัสม์ศา เคร่งกำเนิด เจ้าของกล้วยตากอบน้ำผึ้งลานทอง กล่าวว่า การจะนำสินค้าเพื่อวางจำหน่ายบน SME Shelf ได้นั้น จำเป็นต้องมีการพัฒนาตัวตนเองและสินค้าอยู่เสมอ ที่ผ่านมาทีมผู้เชี่ยวชาญของเซเว่น อีเลฟเว่น ก็เข้ามาช่วยคำแนะนำและเพิ่มองค์ความรู้ด้านต่างๆ อาทิ การให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการ การทำบัญชี ความรู้เรื่องมาตรฐานการผลิต SME Shelf  จึงไม่เพียงช่วยเพิ่มยอดขาย แต่ยังช่วยสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้ผู้ประกอบการอีกด้วย

กล้วยตากอบน้ำผึ้งลานทองเป็นสินค้าเกษตร ที่ต้องอาศัยระบบการบริหารที่มีประสิทธิภาพ เพื่อรักษาคุณภาพและรสชาติของสินค้าให้ได้มาตรฐาน โดยเซเว่น อีเลฟเว่น เป็นผู้มาให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง เพราะการจะอยู่ในตลาดได้นาน ท่ามกลางการแข่งขันที่สูงนั้น ผู้ประกอบการและสินค้าต้องมีการพัฒนาอยู่เสมอ

 

ล่าสุด เซเว่น อีเลฟเว่น ยังคงเดินหน้าโครงการ SME Shelf อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งยังคงสร้างกิมมิกใหม่ๆ สร้างความโดดเด่นให้สินค้า SME เพิ่มเติม เช่น การติดป้ายแจ็คสัน หวัง โปรโมทชวนซื้อสินค้า SME เพื่อช่วยให้สินค้า SME มีโอกาสเติบโตและเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น สอดคล้องกับปณิธานองค์กร “ร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสต่อกัน”

ในปัจจุบันผู้ประกอบธุรกิจต้องพบเจอความท้าทายที่หลากหลาย และสิ่งหนึ่งที่ต้องเผชิญก็คือ การรักษาคนเก่งให้ทำงานด้วยไปนาน ๆ หรือการดึงดูดคนเก่งมาทำงานด้วย  แน่นอนว่า พนักงานเก่ง ๆ ย่อมอยากร่วมงานกับองค์กรที่เป็น “งานที่มั่นคง” ซึ่งในยุคก่อนหมายถึง การทำงานกับหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ธนาคาร หรือ บริษัทเอกชนข้ามชาติ บริษัทที่มีการลงทุนขนาดใหญ่ แต่ในปัจจุบันมีบริษัทขนาดกลาง ขนาดเล็ก หรือแม้แต่บริษัทแบบ Start up ที่มีพนักงานไม่ถึง 50 คน เกิดขึ้นมากมาย ดังนั้น บริษัทเหล่านี้จะทำอย่างไรที่ทำให้คนเก่งรู้สึกว่าเป็นองค์กรที่มั่นคง อยากเข้ามาร่วมงานด้วย 

finbiz by ttb จึงขอนำเสนอแนวคิดและเคล็ดวิธี สำหรับ SME เพื่อนำไปสู่การเป็นองค์กรที่มั่นคง ตอบโจทย์คนเก่ง ดึงดูดให้อยากมาร่วมงานและอยู่ไปนาน ๆ ซึ่ง SME ทำได้ไม่เกินกว่าความสามารถ เพื่อให้ก้าวผ่านความท้าทายนี้ไปได้

ความมั่นคง ในยุคปัจจุบัน คืออะไร

จากการรวบรวมข้อมูล พบว่า สิ่งที่คนในยุคปัจจุบันมองคือ ความยาวนาน ไม่ได้เท่ากับความมั่นคง หรือดึงดูดอีกต่อไป แต่ความมั่นคง สร้างความน่าเชื่อใจ และดึงดูด ในมุมมองของคนยุคปัจจุบัน ประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ  ดังนี้

1) องค์กรที่สามารถรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ และสามารถสนับสนุนให้พนักงานสามารถปรับตัวได้ทัน เพื่อลดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด หรือกะทันหัน เช่น การลาออก หรือ การไล่ออก

2) มีการสื่อสารในองค์กรแบบ 360 องศา ทั้งจากผู้บริหารถึงพนักงาน และจากพนักงานถึงผู้บริหาร โดยมีการรับฟัง และพยายามทำความเข้าใจ ในหลากหลายช่องทาง

3) สามารถทำให้พนักงานมองเห็นเส้นทางอาชีพ หรือ การเติบโตในอนาคตของตัวเองในองค์กรได้

4) องค์กรที่พนักงานรู้สึกว่าตัวเองมีการพัฒนาที่ดี สามารถดึงศักยภาพที่แท้จริงของพนักงานออกมาได้

5) องค์กรสามารถให้เงินเดือนที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ รวมไปถึงสวัสดิการ การดูแลสุขภาพด้านต่าง ๆ และให้การดูแลพนักงานตามที่กฎหมายแรงงานกำหนด

จากทั้งหมด 5 ข้อนี้ พบว่ามิติของความมั่นคง ได้เปลี่ยนไปจากความมั่นคงขององค์กร ไปสู่การสร้างเสริมความมั่นใจในการดำรงชีวิตให้กับพนักงาน ซึ่งเป็นทั้งสิ่งที่ “พนักงานอยากได้” และองค์กรก็ได้รับประโยชน์ด้วยเช่นกัน และเมื่อสามารถตอบโจทย์ดังกล่าวได้ จะมี “บุคลากรที่มีความสามารถ มีความคิดสร้างสรรค์ที่เต็มใจมอบแรงกายใจมันสมอง เพื่อพัฒนา สร้างผลงาน ยอดขาย รวมถึงสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร” ถึงแม้จะองค์กรไม่ได้ใหญ่โตมากก็ตาม

SME มั่นคง เพราะ พนักงานมั่นใจ

การจะเป็นองค์กรที่พนักงานให้ความไว้วางใจ และร่วมงานกันอย่างมั่นใจนั้น ไม่ยากอย่างที่คิด

1) หมั่นสื่อสารกับพนักงานอยู่เสมอ เช่น การประกาศผลประกอบการเป็นระยะ เพื่อให้พนักงานเข้าใจสถานการณ์ต่าง ๆ หากผลประกอบการดี พนักงานย่อมเกิดกำลังใจ หรือหากผลประกอบการไม่เป็นไปอย่างที่คาดหวัง จะต้องสามารถบอกสาเหตุได้ พนักงานจะได้เข้าใจ และเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้

2) เปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงความคิดเห็น มีช่องทางในการแสดงความคิด วิธีนี้จะช่วยสร้างความรู้สึกเป็นส่วนสำคัญขององค์การ สร้างความผูกพันระหว่างพนักงานและองค์กร สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์กรร่วมกัน และยังเป็นโอกาสได้แนวคิดในการพัฒนาองค์กร

3) จัดการอบรมพัฒนาทักษะให้พนักงาน นอกจากจะช่วยพัฒนาฝีมือ ความคิดของพนักงานแล้ว ยังสามารถมาหักเป็นค่าใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์ด้านภาษีได้อีกด้วย

4) ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน รวมถึงหาตัวช่วยในการพัฒนาสวัสดิการที่ดีให้กับพนักงาน เช่น ประกันกลุ่ม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น

5) เป็น SME ที่มีสวัสดิการดี มั่นคง มั่นใจ ทั้งสำหรับองค์กรและพนักงาน แต่เมื่อพูดถึงสวัสดิการที่ดีสำหรับ SME ส่วนใหญ่แล้วถือว่าไม่ใช่เรื่องง่าย มักจะต้องมีพนักงานจำนวนไม่ต่ำกว่า 50 คน จึงจะมีโอกาสต่อรอง เพื่อให้ได้สวัสดิการ เช่น ประกันกลุ่ม หรือจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดี ๆ ให้กับพนักงานได้

อย่างไรก็ตาม มีผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยสร้างให้ SME มีสวัสดิการที่ดีได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทั้งพนักงานและองค์กรเองด้วย ได้แก่

ประกันกลุ่ม Group Insurance ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์มารองรับองค์กร ที่มีพนักงานเริ่มต้นเพียง 5 คน และยังสามารถจ่ายเบี้ยแบบแบ่งเป็นรายเดือนได้อีกด้วย

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ Provident Fund เริ่มต้นเพียง 2 คน ก็สามารถจัดตั้งกองทุนได้แล้ว และไม่กำหนดขั้นต่ำของจำนวนเงินนำส่งเข้ากองทุน อีกทั้งฟรีค่าธรรมเนียมจัดตั้งกองทุน

การหาตัวช่วยดี ๆ จะช่วยให้ SME สามารถเป็นองค์กรที่สร้างความมั่นคง มั่นใจในการดำรงชีวิต ดึงดูดพนักงานเก่ง ๆ ได้ไม่ยากอีกต่อไป โดย ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี มีบริการ ttb payroll plus ที่แม้บริษัทจะไม่ได้มีพนักงานมากมายนัก ก็สามารถใช้บริการได้ทั้งบริหารจัดการเงินเดือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดูแลสวัสดิการพนักงานให้องค์กร แบบครบวงจร และประหยัดต้นทุนได้ด้วย ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ที่ https://www.ttbbank.com/th/sme/sme-digital-banking-and-other-services/sme-payroll/ttb-payroll-plus

ยกระดับสินค้าสู่ร้านเซเว่นฯ จัดเต็มนวัตกรรมแบบ “SME โตไกลไปด้วยกัน”

บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จับมือ SME D Bank ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางด้านธุรกิจ

โครงการ “T-SI The Wisdom Workshop” รู้ครบ… จบทุกปัญหาธุรกิจ ครั้งที่ 4

X

Right Click

No right click