×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 810

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 813

ยืนยง  ทรงศิริเดช หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารการปฏิบัติการและประสิทธิภาพธุรกิจสาขา ทีเอ็มบี เปิดเผยว่า  ธนาคารมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่จะช่วยให้ลูกค้าได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ในแบบลูกค้าต้องการ  โดยเห็นว่าช่องทางสาขาคือช่องทางในการให้บริการลูกค้าที่มีความสำคัญในการส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ทีเอ็มบีจึงได้พัฒนาสาขารูปแบบใหม่ สำหรับลูกค้าในยุคดิจิทัล  “ TMB Digital Branch Banking  Experience” เป็นการเปลี่ยนรูปแบบการบริการในสาขาเพื่อไปสู่ธนาคารรูปแบบใหม่รายแรกของไทย นับเป็นก้าวแรกที่สำคัญที่จะนำไปสู่ก้าวต่อๆ ไปในการให้บริการดิจิทัลแบงก์กิ้ง

  TMB Digital Branch Banking Experience  เป็นการนำเทคโนโลยีการออกแบบช่องทางการบริการมาผสานเข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัล  ช่วยให้กระบวนการธุรกรรมมีความสะดวกสบายยิ่งขึ้น ลดระยะเวลารอคอย เกิดประสบการณ์ใหม่ที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน  โดยการบริการที่ได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับการใช้งานดังกล่าว มีอยู่ 4 ส่วน ประกอบด้วย 1. การนัดหมายล่วงหน้าผ่านระบบออนไลน์ (New Queue Platform)  2. บริการข้อมูลผลิตภัณฑ์และการบริการต่างๆ ผ่าน อี-โบรชัวร์ (E-Brochure) 3. เทคโนโลยี VDO Conference เพื่อให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนจาก TMB Advisory 4. เจ้าหน้าที่ Navigator พร้อมอุปกรณ์ที่จะให้คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นสำหรับการใช้บริการทุกธุรกรรม

         ยืนยง ทรงศิริเดช หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารการปฏิบัติการและประสิทธิภาพธุรกิจสาขา ทีเอ็มบี

ยืนยงกล่าวถึงรูปแบบสาขาว่า การออกแบบภายในจะเน้นการสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรเพื่อช่วยให้ลูกค้าเข้าใจการเปลี่ยนผ่านการให้บริการนี้ โดยในระยะแรกต้องสร้างความเข้าใจทีละขั้นตอนเพื่อสร้างความคุ้นเคย ซึ่งจากการทดลองใช้งานมาช่วงหนึ่ง พบว่าลูกค้าชอบบริการที่นำมาใช้กับสาขารูปแบบใหม่  จึงนำไปสู่การปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการที่สาขาเป็นแบบบริการตัวเองเพิ่มมากขึ้น

 รูปแบบของสาขาใหม่นี้เป็นอีกก้าวสำคัญของการให้บริการดิจิทัลแบงก์กิ้งของทีเอ็มบี โดยยึดหลักให้ลูกค้าเข้าถึงง่าย มีความสะดวกสบายและรวดเร็ว  นำความต้องการพื้นฐานมาสู่ประโยชน์ของลูกค้าและสร้างรูปแบบบริการตัวเองที่จะช่วยให้ลูกค้าติดต่อกับธนาคารได้ง่ายขึ้น ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ได้ต้องการธนาคาร  แต่ต้องการทำธุรกรรมทางการเงิน ทีเอ็มบีจึงมุ่งเน้นการเสนอบริการที่ตอบสนองความต้องการพื้นฐานก่อนเป็นอันดับแรก

 ประสบการณ์รูปแบบใหม่ผ่านสาขานี้จะให้อำนาจกับลูกค้าในการเลือกอะไร ที่ไหน และอย่างไร ตามความสะดวกของแต่ละคน ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ตัดขาดการสื่อสารกับคนด้วยกัน หากพอใจจะขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่โดยตรงมากกว่าผ่านระบบการบริการแบบครบวงจร ซึ่งเจ้าหน้าที่ของสาขาจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้เข้าถึงช่องทางบริการทางดิจิทัล และจะเป็นปัจจัยสำคัญให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบายจากการเปลี่ยนผ่าน

        เจ้าหน้าที่ของสาขาจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้เข้าถึงช่องทางบริการทางดิจิทัล

 ทั้งนี้ สาขารูปแบบใหม่จะนำร่องให้บริการใน 15 สาขา ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2560 ประกอบด้วย เซ็นทรัลปิ่นเกล้า, สยามพารากอน, ฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต, เดอะมอลล์ บางแค, ซีคอนสแควร์, เซ็นทรัลพระรามเก้า, เซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต, เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ, แฟชั่นไอแลนด์, เซ็นทรัล เฟสติวัล หาดใหญ่, เซ็นทรัล ลาดพร้าว, เซ็นทรัลเวิลด์, เดอะมอลล์บางกะปิ, เซ็นทรัล มหาชัย และทีเอ็มบี สำนักงานใหญ่

 

รังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ประธานกรรมการ TMB เปิดเผยว่า เนื่องจากบุญทักษ์ หวังเจริญ แจ้งความประสงค์ที่จะดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ศกนี้     คณะกรรมการธนาคารจึงได้พิจารณาสรรหาผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งแทน และได้มีมติแต่งตั้ง ปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน เป็นผู้สานต่อภารกิจในการนำธนาคารก้าวไปข้างหน้า ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป

รังสรรค์กล่าวว่า “การแต่งตั้งคุณปิติ นี้ นับได้ว่าเป็นการเปลี่ยนผ่านที่มีความต่อเนื่องและราบรื่น โดยคุณบุญทักษ์ได้ปฏิบัติภารกิจหลักสำคัญสองประการหลังจากที่มีการต่อสัญญาให้ทำหน้าที่ต่ออีก 2 ปีเมื่อปลายปี 2559  คือการวางรากฐาน Digital Transformation ให้กับธนาคารและการร่วมสรรหาผู้ที่เหมาะสมมาดำรงตำแหน่งแทน ซึ่งทำให้ TMB พร้อมแล้วสำหรับผู้นำคนใหม่ที่จะมาทำหน้าที่นี้ต่อไปเพื่อดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ของธนาคาร ทั้งนี้คณะกรรมการธนาคารเล็งเห็นว่าคุณปิติเป็นนักการธนาคารที่มีวิสัยทัศน์และความรู้ความสามารถ และได้ร่วมงานกับธนาคารมาตั้งแต่ช่วงที่คุณบุญทักษ์เข้ารับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการร่วมวางกลยุทธ์และดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายของธนาคาร ยิ่งไปกว่านั้นคุณปิติยังมีความเข้าใจในวัฒนธรรมของTMBเป็นอย่างดี คณะกรรมการธนาคารจึงเชื่อมั่นว่า คุณปิติจะสามารถนำTMBให้รุดหน้าต่อไปในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพตามแผนที่ได้วางไว้”

ประวัติของ ปิติ อายุ 47 ปี เป็นนักการธนาคารที่มีประสบการณ์ เข้าร่วมงานกับTMBในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ และปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน       นายปิติจบการศึกษาปริญญาเอก สาขาการบริหารกลยุทธ์ ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) และ ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหการ ก่อนจะดำรงตำแหน่งปัจจุบัน ปิติมีประสบการณ์ในวงการธนาคารมากว่า 25 ปี ครอบคลุมทั้งด้านลูกค้าธุรกิจ, ด้านลูกค้า SME, ด้านลูกค้ารายย่อย และธุรกิจตลาดทุน นอกจากนั้นยังมีประสบการณ์การเป็นกรรมการอิสระของรัฐวิสาหกิจ และบริษัทเอกชน 

รังสรรค์กล่าวด้วยว่า “ในนามของคณะกรรมการธนาคาร ผมขอแสดงความชื่นชมและขอบคุณคุณบุญทักษ์ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความอุทิศตน และได้ใช้ความรู้ความสามารถในการดำเนินงานอย่างมีกลยุทธ์เพื่อปฏิรูปและพลิกโฉมธนาคารให้เป็นTMBในวันนี้ โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานับตั้งแต่ที่ได้รับมอบหมายภารกิจที่มีความท้าทายอย่างยิ่งในการตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่าย คุณบุญทักษ์ได้ริเริ่มและนำการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญมาสู่TMB ด้วยการปรับองค์กรให้เป็นองค์กรที่ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้องค์กรมีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ สร้างแบรนด์TMBตามปรัชญา Make THE Difference ของธนาคาร อีกทั้งยังได้มีการพัฒนาบุคลากรอย่างเข้มข้น บริหารจัดการด้านการเงินและบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเสริมสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับธนาคาร ซึ่งทำให้TMBมีความมั่นคงและมีศักยภาพที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดีด้วยผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นผู้นำและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการธนาคารไทย รวมทั้งยกระดับให้TMBเป็นธนาคารชั้นนำที่สามารถตอบโจทย์ของผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายอย่างยั่งยืน ทั้งลูกค้า ผู้ถือหุ้น พนักงาน และสังคมโดยรวม”

ในโอกาสนี้ บุญทักษ์ ได้กล่าวว่า “ผมขอขอบคุณลูกค้า คณะกรรมการธนาคาร และเพื่อนพนักงาน ที่ได้เคียงข้างกันมาบนเส้นทางการ ‘Make THE Difference เปลี่ยน...เพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น’  ด้วยรากฐานที่มั่นคงในทุกด้าน ตลอดจนการมีแผนกลยุทธ์ธุรกิจระยะยาวที่ชัดเจนในการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า การเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพและคล่องตัวสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล        มีธรรมาภิบาลในการกำกับดูแลกิจการ ประกอบไปด้วยทรัพยากรบุคคลคุณภาพ ผมเชื่อมั่นว่า TMBจะทะยานก้าวหน้าไปได้เร็วยิ่งกว่าเดิมในยุคดิจิทัล เป็นธนาคารที่ส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง (Need-based) ให้ลูกค้าใช้งานง่าย (Simple & Easy) จนทำให้ลูกค้าชื่นชอบและบอกต่อให้คนรอบข้างมาใช้บริการของTMBมากยิ่งขึ้นต่อไป”

บุญทักษ์ เข้ารับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารTMB เมื่อวันที่  14 กรกฎาคม 2551 และเป็นผู้นำในการวางรากฐานทางการเงินที่ทำให้TMBพ้นจากภาวะขาดทุนสะสมกว่าหนึ่งแสนล้านบาท พลิกกลับมาเป็นธนาคารที่มีฐานะทางการเงินที่เข้มแข็ง มีความสามารถในการทำกำไรและเติบโตอย่างต่อเนื่อง สามารถจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นได้ในงวดผลประกอบการปี 2553 นับเป็นการจ่ายเงินปันผลครั้งแรกในรอบ 14 ปี   และเป็นผู้ที่นำการสร้างแบรนด์TMB Make THE Difference เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรให้ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรโดยเป็นธนาคารไทยที่นำแนวคิด LEAN มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน นำเสนอแนวคิดใหม่ในด้านการธนาคาร เช่น แบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์เงินฝากเป็นกลุ่มบัญชีเพื่อใช้ เช่น TMB All Free และกลุ่มบัญชีเพื่อออม เช่น TMB No Fix และเป็นธนาคารแรกในไทยที่ยกเลิกการคิดค่าธรรมเนียมโอนเงินข้ามเขต ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจากความเข้าใจในปัญหาและความต้องการของลูกค้า พร้อมกันนี้ได้นำธนาคารก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ด้วยการพัฒนาองค์กรและวิธีการทำงานให้มีความรวดเร็วในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าและคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เป็นผู้ริเริ่มการธนาคารรูปแบบใหม่สำหรับยุคดิจิทัล ME by TMB บัญชีดิจิทัลที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีทั่วไป และบุญทักษ์ยังได้ริเริ่มการให้บริการกองทุนรวมแก่ลูกค้าทุกคน ด้วยแนวคิด  TMB Open Architecture เปิดให้ลูกค้าสามารถเลือกลงทุนผ่านสาขาของTMBในกองทุนดีๆจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนหลายแห่งโดยไม่ผูกติดอยู่กับบริษัทในเครือเท่านั้น เพื่อผลประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นหลัก รวมทั้งเปิดให้บริการที่ปรึกษาและจัดพอร์ตการลงทุน TMB Advisory ทำให้ลูกค้ามีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นตามเป้าหมายการลงทุนที่ลูกค้าต้องการ ทั้งนี้ลูกค้ายังสามารถรับบริการผ่านช่องทางดิจิทัลได้ด้วย ยิ่งไปกว่านั้นยังมีผลงานด้านการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ โดยได้ริเริ่มการจัดอบรม LEAN Supply Chain ฟรีให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีภายใต้ซัพพลายเชนของธุรกิจขนาดใหญ่ เพื่อให้มีความรู้และทักษะสามารถนำ LEAN ไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการการทำงานและพัฒนากิจการของตนเองให้มีศักยภาพสูงขึ้นเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและความสามารถในการแข่งขันเพื่อความสำเร็จและการเติบโตอย่างยั่งยืนอีกด้วย

ทั้งนี้ TMB ยังคงดำเนินการต่อเนื่องตามแผนกลยุทธ์ 5 ปีที่วางไว้ต่อไปภายใต้การนำของคุณปิติ โดยยังคงมุ่งเป็นธนาคารที่ส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการคุณภาพที่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าอย่างตรงจุด (Need Based) ลูกค้าใช้งานง่ายและสะดวก (Simple & Easy) เป็นธนาคารที่ให้บริการ Transactional Banking ที่ดีที่สุดที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพจนทำให้ลูกค้าเลือกใช้TMBเป็นธนาคารหลักและบอกต่อ เพื่อก้าวสู่การเป็นธนาคารไทยชั้นนำที่ทันสมัยและก้าวหน้าที่สุด

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ประเมินบาทแข็งทั้งปี 7% คาดรายได้ธุรกิจส่งออกหด 1 แสนล้านบาท ผลกระทบส่วนใหญ่ตกอยู่ที่บริษัทไทย ทำให้อัตรากำไรขั้นต้นลดลงจากปกติสูงสุด 6% แต่เอื้อผู้นำเข้าและขายในประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทต่างชาติ

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ประเมินบาทแข็งทั้งปี 7% คาดรายได้ธุรกิจส่งออกหด 1 แสนล้านบาท ผลกระทบส่วนใหญ่ตกอยู่ที่บริษัทไทย ทำให้อัตรากำไรขั้นต้นลดลงจากปกติสูงสุด 6% แต่เอื้อผู้นำเข้าและขายในประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทต่างชาติ

แม้ว่าการส่งออกไทยในปีนี้จะกลับมาเติบโตอย่างสดใส จากภาวะการค้าโลกที่ปรับตัวดีขึ้น โดยในช่วง 8 เดือนแรกเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 9% มีรายได้จากการส่งออกเฉลี่ย 1.9 หมื่นล้านเหรียญต่อเดือน แต่ธุรกิจส่งออกกลับต้องรับมือกับการแข็งค่าของเงินบาทที่ปรับตัวอย่างรวดเร็วตั้งแต่ต้นปีจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ 35.8 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 33.3 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา และเนื่องจากพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่เติบโตดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายได้จากการท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้นในไตรมาสสุดท้าย ส่งผลให้ ณ สิ้นปี 2560 นี้ อัตราแลกเปลี่ยนที่ศูนย์วิเคราะห์ฯ คาดการณ์ไว้จะอยู่ที่ 33.3 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ หรือแข็งค่า 7% จากต้นปี 2560

อย่างที่ทราบกันดี การแข็งค่าของเงินบาทส่งผลต่อรายได้ธุรกิจจะมากหรือน้อยขึ้นกับสัดส่วนการพึ่งพารายได้จากการส่งออกและสัดส่วนต้นทุนรายจ่ายที่เกิดจากการซื้อในประเทศหรือนำเข้า ทางศูนย์วิเคราะห์ฯ ได้ประเมินผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่าตั้งแต่ต้นปี ผ่านการวิเคราะห์โครงสร้างธุรกิจและงบกำไรขาดทุนของธุรกิจ พบว่ารายได้จากการส่งออกสุทธิ (ส่งออก-นำเข้า) ทั้งปี 2560 จะลดลง 2.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งแบ่งระดับผลกระทบออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่

          1.กลุ่มที่ได้รับผลกระทบทางลบ คือ ธุรกิจที่พึ่งพารายได้จากการส่งออกและใช้วัตถุดิบภายในประเทศเป็นหลัก คาดว่าเงินบาทที่แข็งจะทำให้รายได้ผู้ประกอบการหายไปกว่า 9.9 หมื่นล้านบาท ซึ่งกระทบต่ออัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) ให้ลดลงจากระดับปกติ 1-6% โดยอยู่ในกลุ่มธุรกิจประเภท ผลิตภัณฑ์ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าว อาหาร อัญมณีและเครื่องประดับ โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการไทย 80%

          2.กลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์ คือ ธุรกิจขายในประเทศและนำเข้าวัตถุดิบเป็นหลัก โดยเงินบาทที่แข็งค่าจะทำให้รายจ่ายจากการนำเข้าของผู้ประกอบการน้อยลง 7.4 หมื่นล้านบาท และส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) เพิ่มขึ้นจากระดับปกติ 1-2% ซึ่งอยู่ในกลุ่มธุรกิจ ผู้ค้าเครื่องจักรและชิ้นส่วน สินค้าอุปโภคบริโภค ผู้ค้าเหล็ก เครื่องใช้ไฟฟ้า ยาและเวชภัณฑ์ โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการต่างชาติ 60%

          3.กลุ่มที่ไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่พึ่งพารายได้จากการส่งออกแต่ใช้วัตถุดิบนำเข้าเป็นหลักซึ่งสามารถป้องความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนด้วยลักษณะของตัวธุรกิจเอง (Natural Hedging) โดยอยู่ในกลุ่มธุรกิจผู้ผลิตรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์/คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน และเคมีภัณฑ์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการต่างชาติ

จะเห็นได้ว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่า ส่งผลลบต่อความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจที่พึ่งพารายได้จากการส่งออกที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นหลัก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการไทย แต่กลับเป็นผลบวกกับกลุ่มธุรกิจที่ผู้นำเข้าและขายในประเทศ ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการต่างชาติ

 ในปี 2561 นี้ ศูนย์วิเคราะห์ฯ มองธุรกิจส่งออกยังคงเผชิญความเสี่ยงจากการแข็งค่าของเงินบาทต่อไป คาดว่าสิ้นปี 2561 อัตราแลกเปลี่ยนจะอยู่ในระดับ 32.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคาดว่าจะแข็งค่าขึ้น 2.5% จากสิ้นปี 2560 จากปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่ดีขึ้นต่อเนื่อง ทั้งจากรายได้การส่งออกและการท่องเที่ยวและยังได้รับแรงหนุนจากเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI)

อีกทั้งเงินทุนต่างชาติที่เคลื่อนย้ายไหลเข้าตลาดหุ้นไทย ดังนั้นผู้ประกอบการควรมองหาเครื่องมือที่จะช่วยป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากทิศทางค่าเงินบาทที่จะแข็งค่า รักษาความสามารถในการทำกำไรและพยุงความสามารถแข่งขันในตลาดได้ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SME ซึ่งมักไม่ได้ทำการป้องกันความเสี่ยงไว้

    ความคับข้องใจของผู้ประกอบการโดยเฉพาะขนาดกลางและเล็กกับการทำธุรกรรมกับธนาคาร คือค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายธนาคาร การต้องไปสาขาเพื่อทำธุรกรรม ทำให้เสียเวลาและเสียโอกาสทางธุรกิจ

    ธนาคารทหารไทย จำกัด หรือ ทีเอ็มบี จึงเปิดตัวบัญชี“ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี วัน แบงก์” (TMB SME One Bank) รูปแบบใหม่ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการข้างต้น

     รัชกร ชยาภิรัต หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารธุรกรรมทางการเงินภายในประเทศ ทีเอ็มบี หรือ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) มองว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีอำนาจต่อรองไม่มาก จึงไม่สามารถใช้บริการบางอย่างของสถาบันการเงินได้เต็มที่ และเมื่อดูระบบนิเวศทางด้านการเงินในประเทศไทย ที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน และมี National E-Payment มารองรับ ธนาคารจึงได้พัฒนา “ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี วัน แบงก์” บัญชีเพื่อธุรกิจ ที่จบปัญหาด้านค่าธรรมเนียม ซึ่งเป็นเหมือน ‘ต้นทุนที่ไม่จำเป็น’ ที่ผู้ประกอบการมองข้ามหรือเคยชิน แต่ก็มีความต้องการที่กำจัดค่าธรรมเนียมเหล่านี้  ด้วยการมอบประโยชน์ให้ลูกค้า สามารถ โอน-รับ-จ่าย ข้ามธนาคาร ข้ามเขต ได้ทันที ฟรีค่าธรรมเนียม ทุกรายการแบบไม่จำกัดจำนวนครั้ง โดยไม่ต้องคงเงินขั้นต่ำในบัญชี เมื่อทำธุรกรรมด้วยช่องทางดิจิทัล คือ TMB Business Touch โมบายแอปพลิเคชันสำหรับเอสเอ็มอี ซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมได้ทุกที่ ทุกเวลา

    บัญชีเพื่อธุรกิจ ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี วัน แบงก์ ยังตอบโจทย์ความต้องการในธุรกิจของลูกค้าเอสเอ็มอี ในด้านการจ่าย เช่น การโอนหรือถอนเงินผ่านเครื่อง ATM ฟรีไม่จำกัดจำนวนครั้ง ได้ทุกธนาคาร การจ่ายเงินเดือนพนักงานได้ทุกธนาคารได้ฟรี รวมไปถึงการจ่ายบิลต่างๆ นอกจากนี้ ในด้านรายรับ ลูกค้ายังได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากการเรียกเก็บเช็คข้ามเขต ข้ามธนาคาร ไม่มีค่าธรรมเนียม และซื้อสมุดเช็ค 1 เล่ม แถม 1 เล่ม ไม่จำกัดจำนวน ทั้งหมดนี้ สามารถช่วยให้ลูกค้าสามารถประหยัดต้นทุนในการทำธุรกรรมได้อย่างมาก

     รัชกรให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า บัญชีเพื่อธุรกิจ ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี วัน แบงก์ มุ่งเจาะกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอี ที่มีความคุ้นเคยกับการทำธุรกรรมในระบบดิจิทัล โดยธนาคารตั้งเป้าเพิ่ม 100,000 บัญชีภายในสิ้นปีนี้ และหากลูกค้าใช้บัญชี ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี วัน แบงก์ อย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ธนาคารมีข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมของลูกค้า  และสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ และบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้านอื่นๆ ได้อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ด้านสินเชื่อ

     ทั้งนี้ผู้ที่สมัครใช้บริการ บัญชีเพื่อธุรกิจ ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี วัน แบงก์ จะมีค่าธรรมเนียมเอทีเอ็มปีละ 500 บาท โดยธนาคารมีโปรโมชั่นหากสมัครพร้อมเพย์ธนาคารจะคืนค่าธรรมเนียมนี้ให้

     เป็นเกมการแย่งชิงการทำธุรกรรมกับธนาคารที่จัดการกับ pain point ของลูกค้าอย่างน่าสนใจ

Page 12 of 12
X

Right Click

No right click