นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานสักขีพยานและกล่าวแสดงความยินดีในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศกับสภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ แห่งชาติจีน คณะกรรมการเทศบาลเมืองเซินเจิ้น(CCPIT Shenzhen) ร่วมกับนายหวัง ลี่ผิง อัครราชทูต(ที่ปรึกษา) ฝ่ายการพาณิชย์ของจีน ที่ห้องบุรฉัตรไชยากร กระทรวงพาณิชย์

โดยนายจุรินทร์ กล่าวว่า เป็นนโยบายที่ตนมอบให้กับกระทรวงพาณิชย์ดำเนินการตลอดช่วง 4 ปี ที่รัฐบาลนี้มาบริหารแผ่นดิน วันนี้มี FTA ทั้งหมด 14 ฉบับ กับ 18 ประเทศ และ mini FTA 6 ฉบับ ประกอบด้วย โคฟุ ปูซาน คยองกี เตลังกานา และของจีน 2 ฉบับ คือ ไห่หนานและกานซู่ ที่จะลงนามวันนี้กับเซินเจิ้นเป็นฉบับที่ 7  และถัดจากนี้ยังมีกับยูนนาน และที่กำลังจะประสบความสำเร็จคือ 5 รัฐของอินเดีย รวมกับสหราชอาณาจักรและปากีสถาน ถ้าประสบความสำเร็จจะเข้ามาช่วยเสริม FTA ในเชิงลึก

นโยบายที่ตนมอบให้กระทรวงพาณิชย์คือความร่วมมือเขตเสรีทางการค้าฉบับใหญ่หรือ FTA ไม่พอ เป็นภาพกว้าง ภาพรวม ถึงเวลาที่เราต้องใช้นโยบายเชิงลึก เชิงรุกทำการค้าการลงทุนร่วมกัน ลงลึกรายมณฑล รายรัฐ เพราะบางรัฐบางประเทศใหญ่กว่าประเทศไทยและบางมณฑลของจีนจีดีพีมากกว่าประเทศไทย และเซินเจิ้นมีจีดีพีเกือบเท่าไทย จะช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าการลงทุนที่เป็นรูปธรรมที่สุดรูปแบบหนึ่ง ถือเป็นโอกาสที่ดีที่สุดของทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งไทยและเซินเจิ้น เซินเจิ้นเป็นเขตเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ของจีน รองจากเซี่ยงไฮ้และปักกิ่ง เป็นเมืองยุทธศาสตร์เชื่อมมณฑลกวางตุ้ง ฮ่องกงและมาเก๊า เป็นศูนย์รวมเศรษฐกิจด้านตะวันออกเฉียงใต้ของจีน (Greater Bay Area) เป็นที่รวมของธุรกิจใหม่ ที่รวมของนวัตกรรม เทคโนโลยีและเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของจีน จะมีส่วนช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกันได้มหาศาลในอนาคต

“ปี 2565 มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับเซินเจิ้น มีมูลค่า 868,000 ล้านบาท ตั้งเป้าร่วมกันหลังมี mini FTA ภายใน 2 ปีที่ (2566-2567)จะทำให้มูลค่าการค้าระหว่างกันเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5% ตั้งเป้าเพิ่มอีก 43,000 ล้านบาท ในปี 66 และ 130,000 ล้านบาท ในปี 67 จะเป็นกลไกสำคัญเพิ่มมูลค่าการค้าการลงทุนอย่างเป็นรูปธรรม ผลักดันเศรษฐกิจของไทยและจีนให้เจริญก้าวหน้าสืบไป” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าว

โดยภายในงานเป็นการลงนามระหว่างอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ(นายภูสติ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์) กับประธานสภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ แห่งชาติจีน คณะกรรมการเทศบาลเมืองเซินเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน(นายกู้ ตงจง) ซึ่งมีนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ และตัวแทนภาครัฐและเอกชนทั้งไทยและจีนให้ความสนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

แวนเทจ (หรือ แวนเทจ มาร์เก็ตส์) โบรกเกอร์ซื้อขายสินทรัพย์หลากหลายประเภทสำหรับนักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนมืออาชีพ

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับ บริษัท ที.ซี.ซี เทคโนโลยี จำกัด และบริษัทยิบอินซอย จำกัด จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการพัฒนา Center of Digital Learning Hub

โดย รองศาสตราจารย์ประยุกต์ ศรีวิไล อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ลงนามร่วมกับ นายธีรพันธุ์ เหลืองนฤมิตชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด และ นางมรกต ยิบอินซอย กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยิบอินซอย จำกัด โดยมี ผู้ช่วยศาสตรจารย์จรวย สาวิถี ผู้อำนวยการ สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นายพิพิธ จริยวัฒนวิจิตร Deputy Managing Director - Commercial & Operation บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด และ นายสุขสันต์ มงคลจุฑา Senior AVP-Sales & Marketing บริษัท ยิบอินซอย จำกัด ร่วมลงนามเป็นพยาน ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 4 อาคารบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเยี่ยมชมพร้อมแนะนำการใช้งานและการให้บริการของ Digital Learning Hub ณ อาคารสโมสรบุคลากร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (MSU Staff club)

 

โดยทั้ง 3 ฝ่าย มีจุดมุ่งหมายที่จะร่วมกันพัฒนามหาวิทยาลัยมหาสารคามให้เป็น Center of Digital Learning Hub (Learning Center) พัฒนาศักยภาพทางการเรียนรู้ ทักษะและความสามารถของผู้ที่เข้าร่วมโครงการ Center of Educational Technology (Learning Center) ให้มีความรู้ ความสามารถในสายงานด้านเทคโนโลยี เช่น สายงาน Web/Mobile สายงานกลุ่ม Data สายงานกลุ่ม IoT สายงานกลุ่ม Automate สายงาน Infrastructure และ Hardware และสายงานธุรกิจ ตลอดจนพัฒนาระบบ Digital Learning Platform เพื่อรองรับการเข้าใช้งานของ บุคลากรและ นิสิตภายในมหาวิทยาลัย

รองศาสตราจารย์ประยุกต์ ศรีวิไล อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ของการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้สนับสนุนพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม การบริหารจัดการ และการบริการต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย รวมถึงการพัฒนาด้านทรัพยากรบุคคล ทั้งนิสิตและบุคลากร เพื่อเตรียมพร้อมกับการแข่งขัน ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในปัจจุบัน และวันนี้มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ทำข้อตกลงความร่วมมือกับ บริษัท ที.ซี.ซี เทคโนโลยี จำกัด และ บริษัท ยิบอินซอย จำกัด ที่ให้การสนับสนุนด้านระบบ Smart Classroom ให้แก่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน จัดกิจกรรมสำหรับนิสิต พร้อมร่วมผลักดันมหาวิทยาลัยเพื่อก้าวสู่การเป็น Smart University”

นายธีรพันธุ์ เหลืองนฤมิตชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด (ทีซีซีเทค) กล่าวว่า “การสร้างระบบเครือข่ายการศึกษาให้สอดคล้องกับโลกดิจิทัลในยุคปัจจุบันนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทีซีซีเทคได้ตระหนักถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดแก่ภาคการศึกษา โดยในครั้งนี้ ทีซีซีเทคได้จับมือร่วมกับยิบอินซอยในการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน และระบบการจัดการการเรียนการสอน Digital Learning Management Platform (DLMP) เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาคณาจารย์สามารถผลิตและใช้สื่อการเรียนการสอนดิจิทัลได้ โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว อีกทั้งยังสนับสนุนการยกระดับทักษะ Reskill/ Upskill เพื่อช่วยขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยมหาสารคามในการเตรียมความพร้อมสู่การเป็น Digital Learning Hub”

นางมรกต ยิบอินซอย กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยิบอินซอย จำกัด กล่าวว่า “ในฐานะผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศอย่างครบวงจร มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมเป็นส่วนสำคัญ ในการสนับสนุน และร่วมกันพัฒนา Education Learning Technology อย่างสร้างสรรค์ และใช้ได้จริง เพื่อรองรับและเป็นการก้าวเข้าสู่ยุค Digital Transformation รวมถึงการเพิ่มโอกาสให้ทางมหาวิทยาลัยมหาสารคามในการเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นแรงผลักดันสู่ความเป็น Digital Learning Hub พัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่าย และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อรองรับการเป็น Learning Center ได้อย่างสมบูรณ์แบบ อาทิ การจัดทำ System Integration เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายต่าง ๆ เป็นต้น”

airasia Super App ร่วมกับคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU)

DP Survey ผนึกกำลังจับมือกับ Robinhood ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการให้บริการตรวจสภาพรถยนต์ก่อนการรับประกันภัย และการสำรวจภัยให้แก่ลูกค้าประกันภัยรถยนต์ เพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วแก่ลูกค้าและเสริมสร้างความมั่นใจในการทำประกันภัยรถยนต์

นายจุมพล ริมสาคร ประธานคณะกรรมการ บริษัท ดี พี เซอร์เวย์ แอนด์ลอว์ จำกัด พร้อมด้วย นายกลพัฒน์ รัตนาภรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดี พี เซอร์เวย์ แอนด์ลอว์ จำกัด หรือ DP Survey ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการให้บริการตรวจสภาพรถยนต์ก่อนการรับประกันภัย และการสำรวจอุบัติเหตุรถยนต์กับ นายสีหนาท ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด หรือ Robinhood ผู้นำการตลาดด้านการให้บริการรับ/ส่งอาหารและสิ่งของ ซึ่งมีพนักงาน Rider ครอบคลุมพื้นที่กทม.และปริมณฑล ถือเป็นผู้นำการตลาดด้านการให้บริการรับ/ส่งอาหารและสิ่งของ สำหรับ DP Survey ซึ่งเป็นผู้นำและเชี่ยวชาญด้านการสำรวจภัย ทั้งการสำรวจภัยอุบัติเหตุรถยนต์ และความเสียหายทรัพย์สิน รวมทั้งให้บริการตรวจสภาพรถยนต์ก่อนการรับประกันภัย นอกจากนี้ยังให้บริการด้านงานสำรวจอุบัติเหตุและประเมินความเสียหายในธุรกิจประกันวินาศภัย ซึ่งมีเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศด้วยเช่นกัน

นายจุมพล กล่าวว่า บริษัท DP Survey ซึ่งเป็นบริษัทสำรวจภัยที่อยู่ภายใต้บริษัท ทิพยไอเอสบี จำกัด ในเครือบริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TIPH มีภารกิจหลักในการบริหารจัดการสินไหมการประกันภัยทุกประเภทแบบครบวงจร ตั้งแต่การสำรวจภัยและประเมินความเสียหาย การตรวจสภาพทรัพย์สินก่อนเอาประกันภัย การเรียกร้องคู่กรณี  และการดำเนินการทางกฎหมายให้กับบริษัทประกันภัยทั่วไป โดยใช้เทคโนโลยีที่มีความทันสมัย และทีมงานที่เชี่ยวชาญด้านสินไหมทุกประเภท

นายกลพัฒน์ กล่าวว่า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการกับลูกค้าที่จะทำประกันภัยรถยนต์จึงได้มีการพัฒนาแอปพลิเคชัน “I-Survey Super App” โดยเพิ่มฟังก์ชั่น MVIS (Mobile Vehicle Inspection System) ที่จะช่วยอำนวยความสะดวก รวดเร็ว ให้กับลูกค้าในการตรวจสภาพรถยนต์ก่อนรับประกัน ได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ยิ่งขึ้น

นายสีหนาท กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่าง Robinhood กับ DP Survey ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าของ DP Survey ในการเข้าตรวจสภาพรถยนต์ก่อนการรับประกันภัย และการสำรวจอุบัติเหตุรถยนต์ โดยพนักงาน Rider ของ Robinhood  ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกและรวดเร็วให้แก่ลูกค้า

สำหรับขั้นตอนการให้บริการตรวจสภาพรถยนต์ ทาง DP Survey จะเป็นผู้ประสานวัน,เวลาและสถานที่ เพื่อนัดหมายลูกค้าเข้าตรวจสภาพรถยนต์ หรือเข้าสำรวจอุบัติเหตุรถยนต์  ซึ่งเจ้าหน้าที่ Robinhood จะเป็นผู้ดำเนินการถ่ายรูปรถยนต์ตามรูปแบบและเกณฑ์ตามมาตรฐาน รวมทั้งดำเนินการด้านเอกสารสำคัญที่เกี่ยวกับรถยนต์และเจ้าของที่รับบริการ โดยจะส่งข้อมูลทั้งหมดผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งจะทราบผลการพิจารณาภายใน 15 นาที  และสำหรับงานสำรวจภัยรถยนต์นั้นเจ้าหน้าที่ Robinhood จะดำเนินการตามขั้นตอนการทำงานที่กำหนดไว้  ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ของ บริษัท DP Survey ประจำห้อง PCC หรือห้อง Professional  Claim Control  เป็นผู้คอยให้คำปรึกษา และส่งข้อมูล Claim ทั้งหมดผ่านแอปพลิเคชัน I-Survey Super App 

ทั้งนี้ Robinhood มั่นใจในมาตรฐานการให้บริการของพนักงาน Robinhood และเทคโนโลยีของ DP Survey ว่าลูกค้าจะมีความพึงพอใจในการให้บริการ ที่สะดวกรวดเร็ว แม่นยำ  และในอนาคต Robinhood  จะขยายพื้นที่บริการ  เพื่อเพิ่มความสามารถในการให้บริการลูกค้าได้มากขึ้น ทั้งนี้จะเริ่มให้บริการในเขตพื้นที่ กทม.และปริมณฑล ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป

Page 3 of 9
X

Right Click

No right click