×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7637

KCF ผู้ประกอบธุรกิจเกษตรครบวงจร จับมือ เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ และท็อปส์ พรีเมี่ยมซูเปอร์มาร์เก็ต ชั้นนำของประเทศ เปิดช่องทางให้ประชาชนได้ร่วมซื้อไข่ใจบุญ 1 แพ็ค ได้ทำบุญ 5 บาทเข้าสู่โครงการ “ไข่ใจบุญ” เพื่อสนับสนุนกองทุนภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งจุฬาฯ ทันที

นายโกญจนาท ศรมยุรา รองประธานกรรมการบริหารและรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายบัญชี และการเงิน (CFO) บริษัท เกษมชัยฟู๊ด จำกัด เปิดเผยในวันแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “ไข่ใจบุญ” เพื่อสนับสนุนกองทุนภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งจุฬาฯ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า “ผมได้ข่าวว่าคุณหมอไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล ศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความต้องการรับเงินบริจาคจากคนไทยคนละ 5 บาท เพื่อวิจัยต่อยอดทำยารักษามะเร็ง ซึ่งจะลดค่ายาจากเข็มละ 200,000 บาท เหลือเพียง 20,000 บาท ทำให้คนไทยมีความหวังที่จะเข้าถึงยารักษาโรคมะเร็งได้มากขึ้น ผมจึงอยากมีส่วนร่วมสนับสนุนทันที”

หลังจากที่บริษัทฯ ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของโครงการวิจัยฯ ว่ายินดีดำเนินการร่วมกัน บริษัทฯ จึงเร่งเชิญชวนห้างร้านต่างๆ    ที่บริษัทฯ ได้วางขายผลิตภัณฑ์ไข่อยู่แล้ว ให้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งทุกห้างร้านให้ความสนใจเข้าร่วมทันที  โครงการมีระยะเวลา 9 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2561 ถึง 31 สิงหาคม 2562 หลังจากนั้นจึงค่อยดูกระแสตอบรับและความจำเป็นของโครงการวิจัยฯ อีกครั้งว่ายังต้องการให้ช่วยเหลือต่ออีกหรือไม่ เพราะประชาชนอาจจะสนับสนุนจนเกินจำนวนที่ต้องการแล้วก็ได้

นายโกญจนาท ยังเปิดเผยต่อด้วยว่า “ผมเคยลองคำนวณง่ายๆ ตอนที่ไปพบกับคุณหมอไตรรักษ์หัวหน้าโครงการวิจัยฯ ซึ่งผมยังไม่รู้เลยว่าห้างไหนจะเอาด้วย จึงคิดง่ายๆ ว่า ห้างที่เราขายไข่มีอยู่ 4,000 สาขา ถ้าขายได้สาขาละ 10 แพ็ค  รวมเป็น 40,000 แพ็คต่อวัน  หนึ่งแพ็คบริจาค 5 บาท = 200,000 บาท ได้เงินเดือนละ 6 ล้านบาท จำนวน 9 เดือน = 54 ล้านบาท ขณะที่ในเฟสนี้คุณหมอต้องการ 200 ล้าน แต่คุณหมอก็บอกว่า ไม่เป็นไร ได้เท่าไหร่ก็เท่านั้น ถ้าได้ก็ถือว่าคนไทยเห็นความสำคัญ และก็จะทำให้ผลการวิจัยสำเร็จเร็วขึ้น เป็นของขวัญให้กับประชาชนได้เร็วขึ้น”

ด้านนายแพทย์ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล หัวหน้าทีมวิจัยยาแอนติบอดีรักษามะเร็ง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าว่า การวิจัยมีทั้งสิ้น 5 เฟส ประกอบด้วย

เฟส 1 การผลิตยาแอนติบอดีต้นแบบจากหนู ทำการผลิต เลือก และทดสอบยาต้นแบบจากเซลล์เม็ดเลือดขาวของหนูมากกว่าหนึ่งแสนแบบ ใช้งบประมาณ 100 ล้านบาท

เฟส 2 ปรับปรุงแอนติบอดีให้มีความคล้ายโปรตีนของมนุษย์ และเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีขึ้น ใช้งบประมาณ 10 ล้านบาท

เฟส 3 เมื่อได้ยาต้นแบบที่ปรับปรุงแล้ว จะต้องนำมาทดสอบประสิทธิภาพเบื้องต้นในสัตว์ทดลอง แล้วทำการผลิตยาจากโรงงานในปริมาณมากให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัยสูงสุด ในขั้นตอนนี้ใช้งบประมาณ 200 ล้านบาท

เฟส 4 ทดสอบยาที่ผลิตได้ในสัตว์ทดลอง เช่น หนู และลิง โดยจะทดสอบคุณภาพและความปลอดภัยในสัตว์ทดลอง เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะทดสอบในมนุษย์ต่อไป คาดว่าจะใช้งบประมาณ 100-200 ล้านบาท

เฟส 5 การทดสอบในมนุษย์ เป็นการทดสอบตัวยาในผู้ป่วยมะเร็งในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีการทดสอบต่างๆ อาทิ ปริมาณการให้ยา ประสิทธิภาพการรักษา ผลข้างเคียง เป็นต้น คาดว่าจะใช้งบประมาณ 1,000 ล้านบาท

นายแพทย์ไตรรักษ์ กล่าวว่า “เพื่อให้งานวิจัยดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ศูนย์ฯ จึงได้จัดตั้ง “กองทุนภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งจุฬาฯ”  ขึ้นเพื่อระดมทุนในการพัฒนายาแอนติบอดีรักษามะเร็งที่มีประสิทธิภาพสูงในราคาที่คนไทยสามารถเข้าถึงได้ และเป็นวิธีการรักษาแห่งอนาคตซึ่งเป็นความหวังที่จะเอาชนะโรคมะเร็งได้” 

ด้าน คุณโสภาพรรณ จุ้ยเจริญ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สายจัดซื้อกลุ่มสินค้าอาหารสด บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ ได้ดำเนินนโยบายและโครงการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือสังคมมาโดยตลอดทั้งด้านการศึกษา สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ซึ่งเป็นไปตามนโยบายหลักของกลุ่มเซ็นทรัล ที่ต้องการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนให้กับประชาชน สำหรับโครงการ “ไข่ใจบุญ” เพื่อสนับสนุนกองทุนภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งจุฬาฯ นับเป็นโครงการที่ดีมาก และบริษัทฯ ยินดีให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ซึ่งทางเราได้จัดพื้นที่เพื่อเป็นช่องทางในการจำหน่ายถึง 209 สาขาทั่วประเทศ ลูกค้าของเซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ และท็อปส์ พร้อมให้การช่วยเหลือ สนับสนุนโครงการต่างๆ ที่เกิดประโยชน์ต่อสังคมเสมอ จากหลายๆ โครงการที่บริษัทฯ จัดขึ้นก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง การเข้าร่วมสนับสนุนโครงการ “ไข่ใจบุญ” เพื่อสนับสนุนกองทุนภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งจุฬาฯ เราจึงเชื่อมั่น

ขอเพียงประชาชนเมื่อได้เห็นแพ็ค “ไข่ใจบุญ” วางขายที่เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ และท็อปส์แล้ว ก็ช่วยอุดหนุนกันคนละหลายๆ แพ็ค เพื่อให้ได้ยอดเงินบริจาคตามเป้าหมายโดยเร็ว ประชาชนก็จะได้รับประโยชน์เร็วยิ่งขึ้น

การผนึกกำลังกันระหว่างผู้ผลิตไข่ (KCF) กับ ช่องทางขาย (เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ และท็อปส์) ภายใต้โครงการ “ไข่ใจบุญ” เพื่อสนับสนุนกองทุนภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งจุฬาฯ ในครั้งนี้ จะเป็น “ความหวัง” ที่ไม่ไกลเกินเอื้อมของประชาชนคนไทยเพื่อเข้าถึงยารักษามะเร็ง ซึ่งทุกวันนี้คนไทยมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งแล้วถึง 1 ใน 3 คน

เอสซีจี โดย นายฎายิน เกียรติกวานกุล Marketing Director – Roof Business บริษัท กระเบื้องหลังคาซีแพค จำกัด เป็นผู้แทนเข้ารับโล่รางวัลสร้างสรรค์สังคมไทย ด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่อาศัย จากคณะทำงานประชารัฐเพื่อสังคม (E6) จาก พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะที่เอสซีจีได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสานพลังประชารัฐ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ด้วยการผลักดันให้เกิดแบบบ้านมาตรฐานสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ จัดอบรมช่างชุมชนเพื่อสร้างเครือข่ายวิชาชีพสำหรับสร้างและปรับปรุงที่อยู่อาศัยเพื่อผู้สูงอายุ พร้อมทั้งร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจัดตั้งศูนย์ Universal Design Center (UDC) หรือศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน จำนวน 5 ศูนย์ทั่วประเทศ สำหรับเป็นช่องทางให้ประชาชนสามารถรับคำปรึกษาด้านที่อยู่อาศัยได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งเป็นศูนย์เพื่อการวิจัยและค้นคว้าเรื่องที่อยู่อาศัยอีกด้วย ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถหาข้อมูลและติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/universaldesigncenter

 

 

ทั้งนี้ โครงการสานพลังประชารัฐเป็นนโยบายของรัฐบาลเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ โดยมุ่งเน้นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยคณะทำงานประชารัฐเพื่อสังคม (E6) มียุทธศาสตร์หลัก 5 โครงการเร่งด่วน ประกอบด้วย 1.การจ้างงานผู้พิการ 2.การจ้างงานผู้สูงอายุ 3.การส่งเสริมการออมเพื่อการเกษียณอายุ 4.ที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่อาศัย และ 5.ความปลอดภัยบนท้องถนน

GMI Open House

December 17, 2018

ขอเชิญผู้สนใจศึกษาต่อปริญญาโท ด้านบริหาร / จัดการ เข้าร่วมงาน Open House ในวันเสาร์ที่ 19 มกราคม 2562 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้อง Meeting Room 3 - 4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ผู้ที่เข้าร่วมจะได้รับฟังข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการเรียนบริหารเฉพาะทางด้วยหลักสูตรคุณภาพสู่การเป็นมืออาชีพอย่างละเอียด จาก คณาจารย์ นักศึกษา และศิษย์เก่าบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สามารถลงทะเบียนร่วมงานได้ที่ https://goo.gl/KMd4kw (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-470-9795, 02-470-9781, 084-676-5885

มธบ.จัด Workshop  การถอดรหัสความคิดด้วยภาษาภาพ (Visual Thinking) ครั้งแรกในไทยและอาเซียน ของการสื่อสารรูปแบบใหม่ ที่ท้าทายต่อการเติบโตของธุรกิจในยุคดิจิตัล  โดยวิทยากรเจ้าของหนังสือ Visual Thinking ที่ขายดีไปทั่วโลกและได้รับการแปลถึง 11 ภาษา ชี้การสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพย่อมส่งผลดีต่อธุรกิจทั้งภายในและภายนอกองค์กร

ดร.พัทธนันท์  เพชรเชิดชู รองอธิการบดีสายงานภาคีสัมพันธ์ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านธุรกิจ ได้เห็นความสำคัญของการสื่อสารในรูปแบบ “Visual Thinking” และเชื่อว่าการสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพจะส่งผลดีต่อประสิทธิผลขององค์กรทั้งการสื่อสารภายใน และภายนอกองค์กร จึงได้จัดเวิร์คชอป ในหัวข้อ “Visual Thinking: Empowering Your Vision through Visual Thinking” โดยเชิญ Willemien Brand ที่เป็นทั้งผู้เขียนหนังสือที่ขายดีไปทั่วโลกชื่อ Visual Thinking ซึ่งถูกนำไปแปลถึง 11 ภาษา และเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงระดับโลกในเรื่องการถอดรหัสความคิดด้วยภาษาภาพ มาเป็นผู้สร้างปรากฏการณ์ครั้งแรกในประเทศไทยและอาเซียน ของการถ่ายทอดการสร้างทักษะการสื่อสารด้วยภาษาภาพที่เป็นหนึ่งใน Future Skill ที่สำคัญมาก โดยจะจัดขึ้นในวันจันทร์ที่ 14 มกราคม 2562  เวลา 8.30-17.00 น. ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพฯ

ทั้งนี้ การสื่อสารเชิงธุรกิจเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่ต้องสื่อสารกับลูกค้าที่มีความหลากหลายมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างทั้งด้านภาษาหรือวัฒนธรรม หากองค์กรมีทีมงานที่มีทักษะในการสื่อสารเชิงธุรกิจที่สามารถอธิบายเรื่องราวหรือกลยุทธ์ทางธุรกิจที่มีความซับซ้อนให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยผ่านกระบวนการการสื่อสารรูปแบบที่ใช้ทักษะใหม่ ด้วยการจัดระเบียบความคิดและอธิบายผ่านรูปภาพ (Visual Thinking) เพื่อให้ผู้ได้รับสารนั้นมองเห็นภาพอย่างชัดเจนและเข้าใจอย่างถ่องแท้ในสิ่งที่ผู้ส่งสารต้องการสื่อ ก็จะทำให้เกิดการพัฒนาทั้งในตัวบุคลากรขององค์กรที่จะเป็นปัจจัยหลักของการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนของธุรกิจ และยังทำให้เกิดการสื่อสารที่ตรงเป้าหมายและได้ใจความสำคัญให้กับลูกค้าขององค์กร นอกจากนี้การสื่อสารในระหว่างหน่วยงานภายในองค์กรก็เป็นเรื่องที่ท้าทายต่อการเติบโตของธุรกิจในยุคดิจิทัลอีกด้วย

ดร.พัทธนันท์  กล่าวด้วยว่า “Visual Thinking” ไม่ได้มีประโยชน์เพียงแค่การเล่าเรื่องราวคุณค่าที่องค์กรจะนำเสนอให้แก่ลูกค้าเป้าหมายเท่านั้น แต่การสื่อสารในองค์กรก็เป็นเรื่องที่สำคัญ การสื่อสารแนวคิดยุทธวิธีการทำธุรกิจ กลยุทธ์ และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ซับซ้อน ต้องอาศัยผู้ที่มีทักษะในการถ่ายทอดเรื่องราว การอธิบาย ผ่านตัวหนังสือนั้นไม่อาจทำให้คนเห็นภาพได้ แต่การอธิบายด้วยภาพนั้นสามารถอธิบายได้มากกว่าล้านคำพูด ดังนั้น จะดีกว่าหรือไม่ถ้าองค์กรของเราสามารถทำได้เพื่อให้ทุกคนเข้าใจแนวทางในการสร้างคุณค่าสู่ลูกค้าเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่สนใจสามารถรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร : 065-594-9955  Facebook : @DPUPraxis  Line@ :  https://line.me/R/ti/p/@dpupraxis  E-mail :This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

นางสาวกฤสุภางค์ อนันตวนิช ผู้แทน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เข้ารับรางวัล แผนงานการตลาดยอดเยี่ยม Bronze Award ประเภทองค์กรที่ประกอบธุรกิจ อาหารและร้านอาหาร (Food) จากนายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ในงาน MAT Award 2018 ครั้งที่ 10 จัดโดยสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย (Marketing Association of Thailand) จากแคมเปญ “ไส้กรอกซีพีเพื่อนซี้แบมแบม” หลังประสบความสำเร็จทั้งในแง่การสื่อสารและยอดขาย ณ โรงแรมแบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค เมื่อเร็วๆ นี้

แคมเปญ ไส้กรอกซีพีเพื่อนซี้แบมแบม โดยมีนายกันต์พิมุกต์ ภูวกุล หรือ แบมแบม ศิลปินวง GOT7 เป็นพรีเซ็นเตอร์ จัดกิจกรรมล่าสุด “แฟนมีตติ้ง แบมแบม” ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมมากถึงกว่าหมื่นคนและมียอดจำหน่ายที่เกินความคาดหมาย นับเป็นกิจกรรมที่ประสบความสำเร็จ ตอกย้ำความเป็นเจ้าตลาดของไส้กรอกซีพีได้เป็นอย่างดี

X

Right Click

No right click