×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7637

บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับเกียรติรับรางวัลใหญ่ถึง 2 รางวัลในงาน American Chamber of Commerce Thailand CSR Excellence (ACE) Awards ซึ่งเป็นโครงการที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อยกย่ององค์กรที่เป็นสมาชิกของหอการค้าอเมริกันในประเทศไทยที่มีความมุ่งมั่นระยะยาวอันโดดเด่นในการสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศไทย โดยหอการค้าอเมริกันในประเทศไทยได้ยกย่อง บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นองค์กรที่มีโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมดีเด่นด้วยการมอบรางวัลระดับโกลด์ต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 ในขณะเดียวกัน แคมเปญ“Equip all Youth to be Future Ready through Digital Skills and Computer Science Education” ซึ่งเป็นแคมเปญระยะยาวของ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ยังได้รับรางวัลชนะเลิศในหมวด ‘Excellence in Developing Smart People Award’ จากความสำเร็จในการสนับสนุนเยาวชนให้บรรลุเป้าหมาย และก้าวข้ามขีดจำกัดเชิงดิจิทัลในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลมากยิ่งขึ้น

จากจำนวนผู้ลงชื่อสมัครเข้าชิงรางวัลองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมดีเด่นจากหอการค้าอเมริกันในประเทศไทยประจำปี 2561 กว่า 77 องค์กร ทำให้การแข่งขันในปีนี้มีความท้าทายเป็นพิเศษ โดยคณะกรรมการได้ตัดสินโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรอย่างเข้มข้น ด้วยการประเมินผลลัพธ์ที่สามารถวัดผลได้ ได้แก่ ผลลัพธ์ที่สร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับเศรษฐกิจและสังคม การมีส่วนร่วมของพนักงานในระดับสูง ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ที่แข็งแกร่งกับองค์กรไทย และเป็นโครงการที่สอดคล้องกับพันธกิจขององค์กรอย่างชัดเจน

นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “เรารู้สึกดีใจและเป็นเกียรติที่ผลงานอันยอดเยี่ยมของเราจากการร่วมมือกับพันธมิตรในช่วงเวลาห้าปีที่ผ่านมาได้รับการยกย่องโดยหอการค้าอเมริกันในประเทศไทย จากพันธกิจในการเป็นกำลังสำคัญให้ทุกคนและทุกองค์กรบรรลุเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ขึ้น ทำให้ไมโครซอฟท์ยังคงยึดมั่นกับความมุ่งมั่นที่มีมาอย่างยาวนานในการเป็นพันธมิตรระยะยาวกับประเทศไทยมาโดยตลอด เราเชื่อมั่นว่าในอนาคตทุกคนจะมีทักษะ ความรู้ และโอกาสในการบรรลุเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ขึ้น และเยาวชนจะเป็นกลุ่มคนแถวหน้าด้านการพัฒนาเชิงนวัตกรรม รางวัลเหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณบ่งบอกอันชัดเจนว่าเรากำลังมาในเส้นทางที่ถูกต้องและยังเป็นกำลังใจให้พวกเราเดินหน้าเตรียมความพร้อมเยาวชนไทยด้วยการเสริมสร้างทักษะเชิงดิจิทัล สนับสนุนให้พวกเขาบรรลุเป้าหมายที่ดียิ่งกว่า ก้าวข้ามขีดจำกัดเชิงดิจิทัล และเป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลในอนาคต”

ในระยะเวลาห้าปีที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ได้ทำงานร่วมกับองค์กรที่มีเป้าหมายคล้ายคลึงกันอย่างหลากหลาย ตั้งแต่องค์กรภาครัฐไปจนถึงองค์กรไม่แสวงหากำไร ในการนำโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมที่สนับสนุนด้านการศึกษาที่จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องภายใต้ธีม “Equip all Youth to be Future Ready through Digital Skills and Computer Science Education” โดยกิจกรรมเหล่านี้ถูกจัดขึ้นเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกันในการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนเยาวชนและชุมชนของพวกเขาในการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกที่เป็นระบบ โดยไมโครซอฟท์ได้จัดฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและทักษะด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ให้กับเยาวชนจำนวนกว่า 410,000 คนที่มีพื้นเพที่หลากหลาย รวมถึงเยาวชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและด้อยโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ เยาวชนที่มีความพิการทางร่างกาย เยาวชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เยาวชนที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย ผู้ลี้ภัยในเขตเมือง นักโทษหญิง พนักงานจากองค์กรไม่แสวงผลกำไร อาสาสมัคร และอาจารย์ราว 4,000 คน

นอกจากนี้ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับพันธมิตรต่างๆ เช่น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม องค์การยูเนสโก มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ และอื่นๆ ยังได้ทำงานอย่างหนักเพื่อเสริมสร้างความสำคัญของสะเต็มศึกษาและคุณค่าของทักษะการเขียนโค้ด จากการจัดเวิร์คช็อปเพื่อ

สร้างแรงบันดาลใจที่มีเป้าหมายในการลดช่องว่างระหว่างเพศและเพิ่มจำนวนผู้หญิงให้หันมาสนใจเรียนรู้และประกอบอาชีพเกี่ยวกับสะเต็มศึกษา ไปจนถึงการจัดอบรมทักษะเชิงวิทยาการคอมพิวเตอร์เบื้องต้นจำนวนมาก ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ รวมถึง “Skype-a-thons” ทำให้ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ได้อย่างต่อเนื่องให้มีเป้าหมายในการประกอบอาชีพด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ด้วยการทำให้แน่ใจว่าเยาวชนไทยทั้งหมดมีความพร้อมและได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมกันในการเข้าถึงทักษะเชิงดิจิทัลและการศึกษาด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่มีความสำคัญยิ่งต่อการประสบความสำเร็จในอนาคตยุคดิจิทัลตามนโยบายประเทศไทย 4.0

 

ยิ่งไปกว่านั้น ไมโครซอฟท์ ตระหนักว่าการคิดเชิงคำนวณและวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นเป็นพื้นฐานของการศึกษาในศตวรรษที่ 21 และมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือรัฐบาลในการลดช่องว่างด้านอาชีพและทักษะในประเทศไทย และยกระดับการอยู่ร่วมกันของกลุ่มคนที่มีพื้นเพที่หลากหลายให้ดียิ่งขึ้นผ่านการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับความมุ่งมั่นดังกล่าว บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “Coding Thailand” โครงการที่เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา ‘พลเมืองดิจิทัล’ โดยตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของโครงการ ไมโครซอฟท์ได้สนับสนุนทรัพยากรด้านเทคโนโลยีและกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์แบบเต็มเวลาให้กับโครงการดังกล่าว เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายสูงสุดในการสร้างความสนใจด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ในกลุ่มเยาวชนยุคดิจิทัลและเตรียมความพร้อมให้กับพวกเขาในการรับมือกับยุคดิจิทัลได้สำเร็จ

Key point

  • มูลค่าการส่งออกไทยเดือน ก.ย. หดตัว -5.2%YOY โดยเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 19 เดือน ในหลายหมวดสินค้า นำโดยหมวดสินค้าอุตสาหกรรมที่หดตัว -6.7%YOY เช่น รถยนต์ - อุปกรณ์และส่วนประกอบ (-7.4%YOY) เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (-4.1%YOY) เคร่ืองใช้ไฟฟ้า (- 0.8%YOY) และโดยเฉพาะทองคำที่หดตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ -78.7%YOY จาก -66.6%YOY โดยเมื่อ พิจารณาการส่งออกที่ไม่รวมทองคำจะหดตัวที่ -0.8%YOY สำหรับหมวดสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวที่ -1.6%YOY เช่น อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป กุ้งแปรรูป น้ำตาลทรายขาว และผลไม้ กระป๋องและแปรรูป อย่างไรก็ตาม สินค้าหมวดเกษตรยังขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 0.1%YOY ตามการ ขยายตัวของข้าว และผลิตภัณฑ์มันส าปะหลัง ขณะที่ยางพาราและน ้าตาลยังคงหดตัวจากผลของ ราคาที่ลดลงเป็นสำคัญ ทั้งนี้การส่งออกในภาพรวมในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2018 เติบโตที่ 8.1%YOY
  • การส่งออกไทยหดตัวในตลาดเอเชียเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการหดตัวของมูลค่าการส่งออก ไปยังจีน (-14.1%YOY) ฮ่องกง (-7.0%YOY) ไต้หวัน (-17.5%YOY) และเอเชียใต้ (-3.7%YOY) ขณะที่การส่งออกไปญี่ปุ่นขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ 0.2%YOY จาก 14.6%YOY ในเดือนก่อนหน้า เช่นเดียวกันกับการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศ CLMV และ ASEAN-5 ที่ก็ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที 17.5%YOY และ 0.9%YOY จากในเดือนก่อนหน้าที่ 32.5%YOY และ 35.5%YOY ตามลำดับ ขณะที่มูลค่าการส่งออกไปยังทวีปออสเตรเลียหดตัวที่ -19.3%YOY จากที่ขยายตัวได้ที่ 10.1%YOY ในเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ดีการส่งออกไปยังสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปปรับตัวดีขึ้นเป็น 1.2%YOY และ 3.9%YOY จากในเดือนก่อนหน้าที่ 0.6%YOY และ -4.3%YOY ตามลำดับ
  • ผลกระทบจากมาตรการเก็บภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ต่อสินค้าส่งออกของไทย ยังคงส่งผลกระทบต่อเนื่อง โดยมูลค่าสินค้าส่งออกที่ถูกตั้งเก็บภาษีนำเข้าโดยสหรัฐฯ ได้แก่ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ (แผงโซลาร์) และเครื่องซักผ้า-เครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ ที่ไทยส่งออกไปยัง สหรัฐฯ ในเดือนกันยายน หดตัวที่ -78.2%YOY และ -87.6%YOY ตามลำดับ ทำให้มูลค่าการส่งออก ของสินค้ากลุ่มดังกล่าวในภาพรวมทุกตลาดส่งออกลดลง -38.3%YOY และ -44.6%YOY ตามลำดับ ทั้งนี้ การส่งออกเหล็ก-เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ไปสหรัฐฯ กลับมาหดตัว -16.1%YOY หลังจาก ขยายตัว 12.6%YOY ในเดือนก่อนหน้า แต่ในภาพรวมทุกตลาดส่งออกขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือน ก่อนหน้าที่ 2.4%YOY เป็น 4.4%YOY ขณะที่ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม ยังขยายตัวได้ดีทั้งในภาพรวม และการส่งออกไปสหรัฐฯ ที่ 12.1%YOY และ 38.2%YOY ตามลำดับ
  • สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนส่งผลชัดเจนมากขึ้น การส่งออกของไทยไปยัง จีนในเดือนนี้มีการหดตัวสูงที่ -14.1%YOY โดยส่วนหนึ่งคาดว่าเป็นผลกระทบมาจากมาตรการการ เก็บภาษีนำเข้าจากจีนของสหรัฐฯ ที่เริ่มบังคับใช้เมื่อ 6 กรกฎาคม และ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา รวมมูลค่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกสินค้าในกลุ่มที่คาดว่าจะมีความ เกี่ยวข้องกับสินค้าที่จีน ถูกตั้งภาษีนำเข้ามามีการหดตัวชัดเจน เช่น แผงวงจรไฟฟ้า และส่วนประกอบ อุปกรณ์ ตู้เย็น-ตู้แช่แข็ง ซึ่งมูลค่าการส่งออกไปจีนหดตัวที่ -50.8%YOY และ -78.9%YOY ตามลำดับ สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์-อุปกรณ์และส่วนประกอบไปยังจีนหดตัว -13.4%YOY ทั้งนี้ การหดตัวของการส่งออกไทยไปจีนยังอาจมีผลบางส่วนมาจากการที่เศรษฐกิจจีนมีการชะลอตัวลง อีกด้วย
  • มูลค่าการนำเข้าขยายตัวที่ 9.9%YOY ชะลอลงจากการเติบโตที่ 22.8%YOY ในเดือนก่อนหน้า นำโดยการชะลอลงของการนำเข้าสินค้าในหมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปที่เติบโต 11.5%%YOY ชะลอลงจาก 37.6%YOY และหมวดสินค้าทุนที่หดตัว -5.8%YOY จากที่ขยายตัว 6.2%YOY ในเดือนก่อนหน้า โดยเป็นการลดลงของการนำเข้าหมวดเครื่องบินและส่วนประกอบ (-80.2%YOY) เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม การนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงเติบโตเร่งขึ้นที่ 50.5%YOY จาก 33.8%YOY ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ การนำเข้าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2018 เติบโตที่ 15.2%YOY

Implication

  • อีไอซีมองการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกไทยปี 2018 มีโอกาสต่ำกว่าที่ ประมาณการเดิมที่ 8.5% เนื่องจากตัวเลขการส่งออกในเดือนนี้ที่ออกมาต่ำกว่าตลาด คาดการณ์ค่อนข้างมาก (-5.2%YOY vs 5.6%YOY) และผลกระทบจากสงครามการค้ามีความชัดเจนและต่อเนื่องมากขึ้น โดยสำหรับความเสี่ยงสงครามการค้าจะยังมีผลกระทบอีกระลอกจาก มาตรการการตอบโต้ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ที่เริ่มบังคับใช้ในวันที่ 24 กันยายนที่ผ่านมา มูลค่ารวมกว่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่คาดว่าจะเริ่มเห็นผลในช่วงปลายปีนี้เป็นต้นไป นอกเหนือไปจากผลกระทบจากส่วนที่มีการบังคับใช้ไปแล้วเมื่อ 6 กรกฎาคม และ 23 สิงหาคมที่ ผ่านมาที่ยังอาจมีผลต่อเนื่องในระยะต่อไป นอกจากนี้ ยังต้องจับตาผลกระทบจากการชะลอตัวของ เศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญโดยเฉพาะจีนที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ การขยายตัวของมูลค่าการส่งออกที่ต่ำกว่าคาดอาจส่งผลถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในภาพรวมในปีนี้และปีหน้าได้
  • อีไอซีคาดว่ามูลค่าการน าเข้าทั้งปี 2018 จะขยายตัวที่ 15% การนำเข้าในช่วงที่เหลือ ของปี 2018 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้ต่อเนื่อง จากการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศที่ยังมี แนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่อง รวมถึงการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมัน อย่างไรก็ดี การนำเข้าในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเพื่อส่งออกอาจชะลอลงหากภาคการส่งออกมี การเติบโตต่ำกว่าที่คาดในระยะต่อไป ทั้งนี้ดุลการค้า 9 เดือนแรกยังเกินดุลอยู่ระดับสูงที่ 2,838.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สะท้อนถึงเสถียรภาพระหว่างประเทศของเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในเกณฑ์ดี

 

โดย : จิรายุ โพธิราช (This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.)
         Economic Intelligence Center (EIC)
         ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
         EIC Online: www.scbeic.com

 

 

“ต้นทางป่าไม้ ปลายทางประมง ระหว่างทางเกษตรกรรม” เป็นพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงวางแนวทางการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ ดินและน้ำของประเทศไทยให้อุดมสมบูรณ์ รวมถึงส่งเสริมชุมชนในพื้นที่ต้นน้ำ ตลอดจนพื้นที่ปลายน้ำที่ต้องพึ่งพิงธรรมชาติให้ดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ นับเป็นแนวคิดที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า สามารถสร้างความความยั่งยืนให้กับผืนป่าและชุมชนได้อย่างแท้จริง ... พื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ต้นน้ำ และเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชไร่ที่สำคัญของประเทศ แม้ในช่วงเวลาที่ผ่านมา หลายพื้นที่ของจังหวัดกาญจนบุรี จะประสบปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วม ทั้งจากภัยธรรมชาติ และฝีมือมนุษย์ แต่ด้วยแนวคิดการสร้าง “ฝายชะลอน้ำ” ตามแนวพระราชดำริ เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยฟื้นฟูผืนป่าได้อีกครั้ง และยิ่งไปกว่านั้น เมื่อมีป่า ชุมชนก็มีรายได้ และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ส่งผลให้เกิดความเข้มแข็งภายในชุมชน

เมื่อป่าอยู่รอด ชุมชนจึงอยู่ได้

ชุมชนบ้านยางโทน อำเภอไทรโยค เป็นอีกหนึ่งชุมชนในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ที่ประสบปัญหาพื้นที่แห้งแล้งจากการแผ้วถางป่าสำหรับขยายพื้นที่ทำกิน ชุมชนจึงได้ร่วมกับกรมป่าไม้ และเอสซีจี สร้างฝายชะลอน้ำ เพื่อแก้ปัญหา และหวังคืนความชุ่มชื่นให้ผืนดิน จนปัจจุบัน เห็นผลแล้วว่า นอกจากความสมบูรณ์ของระบบนิเวศที่กลับคืนมา ฝายยังช่วยฟื้นสภาพพื้นที่ให้เป็นแหล่งอาหาร และสร้างรายได้ให้กับชุมชน ผลิตผลทั้งหน่อไม้ ไผ่รวก เห็ดโคน และผักหวาน สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้ชุมชน

“ชุมชนได้เข้าไปร่วมกิจกรรมสร้างฝายชะลอน้ำกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ และเอสซีจี ตั้งแต่ปี 2552 เพียงไม่กี่ปีก็เริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในพื้นที่ ฝายช่วยคืนความสมดุลให้กับป่า และป่ายังเปรียบเสมือนซุปเปอร์มาเก็ตที่ชุมชนสามารถเข้าไปหาของป่าสำหรับนำมาใช้ทำอาหารให้ครอบครัว และแบ่งขายสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น แค่คนในชุมชน 1 คน เดินเข้าป่าไปเก็บหน่อไม้เพียง 2 กระสอบปุ๋ย สามารถสร้างรายได้ให้ถึง 300 บาทต่อวัน หรือประมาณ 5,000 – 6,000 บาทต่อเดือน ส่วนรายได้ของชุมชนที่มาจากการขายหน่อไม้ เห็ดโคน พืชสมุนไพร ไม้ใช้สอยในครัวเรือน มากถึง 4,000,000 บาทต่อปี ยิ่งไปกว่านั้น ไม่น่าเชื่อว่าเพราะการที่ชุมชนช่วยกันลงแรง ร่วมใจกันสร้างฝายชะลอน้ำ จะทำให้ชุมชนบ้านยางโทนของเรามีโอกาสพูดคุยกัน เข้าใจกัน และรักสามัคคีกันมากขึ้นผู้ใหญ่ครุฑ นายเต้นยิ้ว วชิรพันธ์วิชาญ ประธานป่าชุมชนบ้านบ้านยางโทน กล่าว

ไม่หยุดแค่งานชุมชน มุ่งมั่นยกระดับความรู้สู่งานวิชาการ

นอกจากชุมชนแล้ว พื้นที่ของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี อำเภอไทรโยค ยังเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความแห้งแล้งในพื้นที่ป่าต้นน้ำที่อยู่ในเขตมหาวิทยาลัย เมื่อฝนตกหนักหน้าดินจะถูกชะล้างลงไปยังพื้นที่ด้านล่าง สร้างความเดือดร้อนให้ชุมชน มหาวิทยาลัยฯ จึงเริ่มสร้างฝายชะลอน้ำร่วมกับเอสซีจีตั้งแต่ปี 2553 เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จากจุดเริ่มต้นเพียง 10 ฝาย ได้ขยายเพิ่มเป็น 100 ฝาย จนปัจจุบันนักศึกษาและจิตอาสาได้ร่วมกันสร้างไปแล้ว 354 ฝาย

“ระหว่างการสร้างฝาย มหาวิทยาลัยฯ และเอสซีจี ได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่ดีเกิดขึ้นในพื้นที่ จึงได้ร่วมมือกันทำงานวิจัยเชิงวิชาการ ภายใต้โครงการ การติดตามตรวจสอบทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการจัดการฝายอย่างยั่งยืน เพื่อศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ และความหลากหลายของสัตว์ รวมถึงประโยชน์จากฝายที่เกิดขึ้นกับชุมชน ผลจากงานวิจัยได้พบ ชาฤาษีไทรโยค ที่เป็นดัชนีชี้วัดสิ่งแวดล้อมที่สำคัญทางระบบนิเวศ ซึ่งพบแหล่งเดียวในโลก พืชชนิดนี้จะขึ้นในป่าที่มีระบบนิเวศสมบูรณ์เท่านั้น อีกทั้ง ยังพบการกลับมาของเสือลายเมฆซึ่งเป็นสัตว์ที่เสี่ยงจะสูญพันธุ์ สะท้อนให้เห็นว่า การสร้างฝายมีส่วนสำคัญที่ช่วยฟื้นให้ระบบนิเวศของป่ากลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง รวมถึงฝายยังทำหน้าที่ช่วยดักตะกอนดินไม่ให้ไหลลงไปสร้างความเดือดร้อนแก่ชุมชนเช่นที่ผ่านมาได้อีกด้วย ต่อจากนี้ มหาวิทยาลัยฯ และเอสซีจี ได้ร่วมกันจัดตั้ง “สถานีเรียนรู้ฝายชะลอน้ำตามแนวพระราชดำริ” เพื่อรวบรวมและถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการทำฝายและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องให้แก่ชุมชน และผู้ที่สนใจได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป และมีเป้าหมายจะสร้างฝายให้ครบ 500 ฝายในปี 2561 นี้” ผศ.ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยให้เห็นผลประจักษ์เชิงวิชาการที่สะท้อนความอุดมสมบูรณ์ที่เกิดขึ้นจากฝายชะลอน้ำ

เครือข่ายพลังคนรุ่นใหม่ หัวใจรักษ์สื่งแวดล้อม

ด้วยความเชื่อที่ว่า การรักษาและดูแลน้ำเป็นหน้าที่ของคนทุกคน ไม่เฉพาะแค่ชุมชนต้นน้ำเท่านั้น น้องแนน นางสาวช่อผกา พจนาสุคนธ์ กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ปี 4 หนึ่งในเยาวชนจิตอาสาคนรุ่นใหม่ ตัดสินใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมผ่านช่องทางออนไลน์ Facebook SCG โดยหวังว่าจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเรียนรู้กับเพื่อนๆ และพี่ๆ ชุมชน รวมถึงหวังว่าการร่วมกิจกรรมจะช่วยปลุกพลังที่จะส่งต่อแรงบันดาลใจให้เพื่อนๆ ที่ไม่ได้ร่วมกิจกรรม กล่าวว่า

“ปกติชอบธรรมชาติอยู่แล้ว แต่ยังไม่เคยมีโอกาสได้สัมผัสและลองลงมือทำงานร่วมกับพี่ๆ ชุมชนแบบนี้มาก่อน ครั้งแรกสำหรับการสร้างฝายไม่เหนื่อยอย่างที่คิด เพราะได้แรงจากพี่ๆ ชุมชน และพี่ๆ พนักงานเอสซีจีช่วยกัน เมื่อก่อนเคยได้ยินแต่คนพูดถึงฝาย แต่การมาร่วมกิจกรรมในวันนี้ได้มีโอกาสมาเรียนรู้วิธีการสร้างฝายที่ถูกต้อง ทำให้เห็นว่า ฝายช่วยชะลอน้ำสามารถช่วย
แผ่กระจายความชุ่มชื้นไปสู่พื้นที่โดยรอบได้มากกว่าแค่เก็บน้ำตามที่เราเคยคิดไว้ และไม่น่าเชื่อว่า การเริ่มต้นทำฝายจากจุดเล็กๆ ด้วยหัวใจของพี่ๆ ชุมชน และแรงของเพื่อนๆ นักศึกษาจิตอาสาของมหาวิทยาลัยมหิดลฯ กลับส่งผลให้ป่าทั้งป่ากลับมาอุดมสมบูรณ์ได้อีกครั้ง นึกภาพไม่ออกเลยว่าสภาพพื้นที่ที่เคยแห้งแล้งและมีปัญหาน้ำท่วมเป็นอย่างไร ถ้าครั้งหน้ามีกิจกรรมประเภทนี้อีก จะขอเป็นอีกหนึ่งแรงที่จะลงมือช่วยเพื่อประเทศไทยของเรา”

สืบสานศาสตร์พระราชา เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ต่อยอดและขยายผลให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชน

เอสซีจีให้ความสำคัญเรื่องการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และมุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนให้เติบโตไปพร้อมกันในทุกพื้นที่ที่เอสซีจีเข้าไปดำเนินธุรกิจ โดยได้น้อมนำและสืบสานพระราชดำริ “จากภูผา สู่มหานที” มาเป็นแนวทางในการรักษาดูแลจัดการน้ำให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ที่เอสซีจีเข้าไปดำเนินการในพื้นที่ 20 จังหวัดทั่วประเทศไทย ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

“เอสซีจีมีเครือข่ายชุมชนในโครงการเอสซีจี รักษ์น้ำ มากกว่า 170 ชุมชน เครือข่ายเยาวชน Young รักษ์น้ำ กว่า 80 คน และมีจิตอาสาเข้าร่วมโครงการมากกว่า 89,400 คน ร่วมกันสร้างฝายชะลอน้ำสำเร็จไปแล้วกว่า 79,300 ฝาย ความสำเร็จจากการดูแลพื้นที่ต้นน้ำด้วยการสร้างฝายชะลอน้ำของทั้งชุมชนบ้านเขามุสิ และชุมชนบ้านยางโทน จังหวัดกาญจนบุรี รวมถึงผลงานวิจัยทางวิชาการของมหาวิทยาลัยมหิดลฯ วิทยาเขตกาญจนบุรี เป็นบทเรียนและต้นแบบความร่วมมือที่แสดงให้เห็นถึงพลังของชุมชน ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นให้ชุมชนอื่นๆ ที่ประสบปัญหาคล้ายกัน ได้นำแนวคิดไปปรับใช้แก้ปัญหาเรื่องน้ำในพื้นที่ด้วยตนเองให้ประสบผลสำเร็จ และขยายผลต่อไป จนเกิดการบริหารจัดการน้ำชุมชนอย่างยั่งยืนในอนาคต จากนี้ไป เอสซีจีมีความตั้งใจที่จะส่งเสริมให้ชุมชนสามารถต่อยอดพัฒนา และแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผลผลิตจากฝาย เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ได้ตลอดทั้งปี” นายแสงชัย วิริยะอำไพวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทสยามคราฟท์อุตสาหกรรม จำกัด ธุรกิจแพคเกจจิ้ง เอสซีจี กล่าว

 เอสซีจี จะยังคงเดินหน้าสานต่อโครงการ “รักษ์น้ำ จากภูผา สู่มหานที” ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นหัวใจสำคัญ รวมถึงการสร้างเครือข่ายให้เกิดพลังที่เข้มแข็ง เพื่อร่วมกันสร้างต้นน้ำที่ยั่งยืน สู่ปลายน้ำอันอุดมสมบูรณ์ ก่อเกิดเป็นความสมดุลที่หล่อเลี้ยงชีวิตของผู้คนในทุกพื้นที่ พร้อมถ่ายทอดและต่อยอดแนวความคิดในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นต้นทุนสำคัญของทุกชีวิตนี้ให้คงอยู่ต่อไป

เอไอเอ ประเทศไทย ฉลองครบรอบ 80 ปี ที่อยู่เคียงข้างคนไทยมาด้วยความมุ่งมั่นที่จะส่งมอบสุขภาพและชีวิตที่ดีให้กับประชาชนทั่วประเทศ จัดกิจกรรมเดิน-วิ่งการกุศลครั้งยิ่งใหญ่ ภายใต้โครงการ “AIA Sharing A Life Charity Run” พร้อมกันใน 10 จุดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, เชียงใหม่, พิษณุโลก, อุดรธานี, ขอนแก่น, นครราชสีมา, นครปฐม, สุพรรณบุรี, ระยอง และสุราษฎร์ธานี โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐบาล อาทิ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และหน่วยงานประจำจังหวัด ทั้ง 10 แห่ง  พร้อมใจกันมาร่วมเดิน-วิ่งการกุศล ทั้งสิ้นกว่า 50,000 พลังความดีจากทั่วประเทศ และได้ร่วมมอบเครื่องออกกำลังกายกลางแจ้ง ในโครงการ “AIA Vitality Workout” เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนในชุมชนมีสุขภาพที่แข็งแรง สอดคล้องกับคำสัญญาของเอไอเอ ที่ต้องการสนับสนุนในคนไทยมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น (Healthier, Longer, Better Lives) 

มร. ตัน ฮาค เลห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอ ประเทศไทย กล่าวว่า “ในโอกาสที่ปีนี้ เอไอเอ ประเทศไทย ครบรอบ 80 ปี และเรามีคำมั่นสัญญาใหม่ที่มุ่งเน้นในการส่งเสริมและสนับสนุนให้คนไทยมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น (Healthier, Longer, Better Lives) จึงเป็นที่มาของโครงการ AIA Sharing A Life Charity Run ซึ่งถือเป็นกิจกรรมเพื่อตอบแทนสังคมในรูปแบบการเดิน-วิ่ง พร้อมร่วมแบ่งปันให้กับองค์กรการกุศลต่างๆทั่วประเทศ นอกจากนี้ ทุกท่านที่มาร่วมงานนี้ ยังมีส่วนร่วมในการบริจาคเครื่องออกกำลังกายกลางแจ้งผ่านโครงการ AIA Vitality Workout โดยผมขอเป็นตัวแทนเอไอเอ ประเทศไทย ขอบคุณพลังความดีทั้งหมดกว่า 50,000 คนทั่วประเทศ ที่ออกมาแสดงพลังร่วมกันในวันนี้”

สำหรับที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งกิจกรรมที่สวนจตุจักร กรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ 6.00 น. โดยเริ่มด้วยกิจกรรมเดิน-วิ่งการกุศล ต่อจากนั้น เป็นพิธีมอบเงินบริจาคแก่องค์กรการกุศลต่างๆ ต่อด้วยการร่วมส่งมอบเครื่องออกกำลังกายกลางแจ้ง “AIA Vitality Workout” โดยมีผู้บริหารของสวนจตุจักรเป็นผู้รับมอบ และกิจกรรมปลูกต้นไม้ เพิ่มความร่มรื่นให้แก่สวนจตุจักร อีกด้วย

ทั้งนี้ เอไอเอ ประเทศไทย ยังคงยึดมั่นในการทำความดี ตอบแทนสู่สังคมไทย ผ่านกิจกรรมต่างๆอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอกย้ำการเป็นบริษัทประกันชีวิตอันดับ 1 ของประเทศไทย และเป็นการฉลองครบรอบ 80 ปี ในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ด้วยความมุ่งมั่นในการเป็นส่วนช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย พร้อมกันกับการพัฒนาสังคมไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน เพื่อสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้นของคนไทยทั่วประเทศ

X

Right Click

No right click