September 19, 2024

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี มุ่งตอบโจทย์ด้านการต่อยอดความมั่งคั่งครบทุกมิติให้กับกลุ่มลูกค้า Wealth ผ่านบัตรเครดิต ttb reserve พร้อมโซลูชันจัดการค่าใช้จ่ายสกุลเงินต่างประเทศได้อย่างคุ้มค่าและสะดวกยิ่งขึ้น เพื่อวางแผนการศึกษาส่งต่ออนาคตที่ดีที่สุดให้บุตรหลาน ด้วยบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ เพิ่มความมั่งคั่งและช่วยต่อยอดความสำเร็จทางการเงินไม่มีที่สิ้นสุด

นางสาวกนกวรรณ เพชรพิสิฐโชติ ประธานกลุ่ม บริหารผลิตภัณฑ์ธุรกรรมธนาคาร และความมั่งคั่งทางการเงิน ทีเอ็มบีธนชาต เปิดเผย แผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และความเป็นผู้นำในการส่งมอบโซลูชันทางการเงินที่ครบวงจรแก่กลุ่มลูกค้า Wealth โดยธนาคารตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ จึงออกแบบโซลูชันความมั่งคั่งครบทุกมิติและผลิตภัณฑ์ที่ดูแลแบบองค์รวม ผ่านบัตรเครดิต ttb reserve ตอกย้ำความเป็น Total Wealth Solution” ที่สามารถส่งต่อความมั่งคั่งและเตรียมความพร้อมทางการเงินด้านต่าง ๆ เพื่อต่อยอดความสำเร็จสู่ชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น

เพื่อให้กลุ่มลูกค้า Wealth สามารถส่งต่อความมั่งคั่งและเตรียมความพร้อมทางการเงินสำหรับการศึกษาต่อต่างประเทศของบุตรหลานให้ก้าวสู่ความสำเร็จที่ไปได้ไกลขึ้น ธนาคารได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการมีผลิตภัณฑ์ที่ง่าย สะดวก และปลอดภัย พร้อมเป็นตัวช่วยสำคัญให้ลูกค้าสามารถบริหารความเสี่ยงด้านความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ที่อาจทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นได้ จึงได้ออกผลิตภัณฑ์ที่สามารถสะสมความมั่งคั่งผ่านบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (FCD) ประเภทออมทรัพย์แบบ e-Saving สกุลเงิน USD ที่ให้ดอกเบี้ยสูงถึง 4.1% ต่อปี* สำหรับลูกค้าที่เปิดบัญชี FCD e-Saving สกุลเงิน USD ใหม่ ผ่านแอป ttb touch ระยะเวลาโปรโมชันตั้งแต่วันนี้ – 30 กันยายน 2567 และยังรองรับถึง 5 สกุลเงินหลัก ได้แก่ USD, EUR, AUD, GBP และ JPY

สำหรับการโอนเงินชำระค่าใช้จ่ายการศึกษาที่ต่างประเทศ สามารถแลกเงิน และโอนเงินด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ สะดวก ผ่าน แอป ttb touch ค่าธรรมเนียมเริ่มต้นเพียง 150 บาท ปลายทางรับเงินเต็มจำนวน* วงเงินสูงสุดถึง 4 ล้านบาทต่อวัน และหากโอนผ่านแอป ttb touch  ด้วยสกุลเงิน USD ไปสหรัฐอเมริกา (USA) และสกุลเงินGBP ไปสหราชอาณาจักร (UK)  ฟรี! ค่าธรรมเนียมการโอนเพื่อการศึกษา ระยะเวลาโปรโมชันตั้งแต่วันนี้ – 30 กันยายน 2567  

นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมให้เลือกเพื่อวางแผนการเงิน เช่น บัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ ประเภทฝากประจำ 6 เดือน สกุลเงิน USD ที่ให้ดอกเบี้ยสูงถึง 5.00% ต่อปี และสกุลเงิน GBP ที่ให้ดอกเบี้ย 4.60% ต่อปี โดยสามารถติดต่อเปิดบัญชีได้ที่ ทีทีบีทุกสาขา

ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมามียอดการโอนเงินต่างประเทศเพื่อการศึกษาเติบโตขึ้นถึง 66% และยอดการเปิดบัญชี FCD ที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าดอกเบี้ยสกุลเงินบาท โตขึ้นถึง 284% ธนาคารเชื่อว่าความเสี่ยงด้านความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนหากมีการวางแผนบริหารจัดการที่ดีจะช่วยให้ลูกค้าสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นได้

ในด้านการลงทุนระยะยาว ธนาคารยังได้ตระหนักถึงการลงทุนที่ปลอดภัยท่ามกลางตลาดที่ผันผวน โดยมีทีม Investment Office ให้คำปรึกษากับลูกค้าในการวางแผนและจัดพอร์ตการลงทุน จากแนวโน้มตลาดทั้งในและต่างประเทศโดยเน้นการลงทุนที่ปลอดภัยด้วยผลิตภัณฑ์ทางเลือกการลงทุนอย่างหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ที่สร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น พร้อมทั้งจำกัดความเสี่ยง มุ่งเน้นรักษาเงินต้นแต่ยังมีโอกาสรับผลตอบแทนที่ดี เพื่อให้มั่นใจว่าลูกค้าสามารถส่งต่อความมั่งคั่งให้กับบุตรหลานได้อย่างอุ่นใจยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ หากมีแผนการเดินทางไปต่างประเทศ ธนาคารยังมีบัตรเครดิต ttb reserve เป็นบัตรเครดิตใบเดียวที่ตอบโจทย์การใช้งานในต่างประเทศ ที่ยกเว้นค่าธรรมเนียมอัตราแลกเปลี่ยน 2.5% ทำให้หมดกังวลเรื่องค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เมื่อบุตรหลานใช้จ่ายในต่างประเทศ และรับคะแนนสะสมรายปีสูงสุด 180,000 คะแนน เมื่อมียอดรวมผลิตภัณฑ์ตามที่ธนาคารกำหนด พร้อมรับเอกสิทธิ์เหนือระดับอีกมากมาย

“ทั้งนี้  ธนาคารเชื่อว่าโซลูชันความมั่งคั่งครบทุกมิติและผลิตภัณฑ์ที่ดูแลแบบองค์รวม ผ่านบัตรเครดิต ttb reserve จะสามารถช่วยตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่ม Wealth ได้เป็นอย่างดี และช่วยลูกค้าวางแผนเพื่อส่งต่อความมั่งคั่งได้อย่างไร้กังวล เพื่อให้มีชีวิตทางการเงินดีขึ้นอย่างแน่นอน” นางสาวกนกวรรณ กล่าว

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม

https://www.ttbbank.com/link/pr/ttbreserve/fcdesaving

https://www.ttbbank.com/link/pr/ttbreserve/pro-ott

https://www.ttbbank.com/link/pr/ttbreserve/fcdproduct

https://www.ttbbank.com/link/pr/ttbreserve/stn

สนใจเปิดบัญชีออนไลน์ได้ง่ายๆผ่าน แอป ttb touch https://www.ttbbank.com/link/ttbreserve/openacc/fcdesaving

สนใจโอนเงินผ่านแอป ttb touch https://www.ttbbank.com/link/pro-ott-jul24

สามารถดูข้อมูลอัตราดอกเบี้ยเงินตราต่างประเทศได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/rates/foreign-currency-deposits


*อัตราดอกเบี้ยบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ ประเภทออมทรัพย์ แบบ e-Saving สกุลเงิน US Dollar สำหรับลูกค้าบุคคลธรรมดา อ้างอิงอัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคาร ณ วันที่ 5 ก.ค. 67 อัตราดอกเบี้ยปกติ 2.10% ต่อปี (เปลี่ยนแปลงได้ตามประกาศของธนาคาร) และรับอัตราดอกเบี้ยพิเศษเพิ่มอีก 2.0% ต่อปี ณ วันทำการที่ 5 นับจากวันเปิดบัญชีและฝากเงินสำเร็จ รวมเป็น 4.10% ต่อปี โดยวันที่เปิดบัญชีสำเร็จจนถึงวันทำการที่ 4 รับอัตราดอกเบี้ยปกติตามประกาศของธนาคาร สำหรับลูกค้าที่เปิดบัญชีใหม่ผ่าน แอป ttb touch ตั้งแต่วันที่ 12 ก.ค. 67 – 30 ก.ย. 67 รับดอกเบี้ยพิเศษ ถึงวันที่ 30 พ.ย. 67 เงื่อนไข และอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด สามารถเรียกดูข้อมูลอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันได้ทางเว็บไซต์ธนาคาร

**เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด โดยธนาคารจะหักค่าธรรมเนียมการโอน 150 บาท จากบัญชี และจะคืนค่าธรรมเนียมเข้าบัญชีที่ถูกหักค่าธรรมเนียมภายใน 3 วันทำการ

  • การลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงเป็นการลงทุนที่มีความซับซ้อนและความเสี่ยงสูงกว่าหุ้นกู้ทั่วไป ผู้ลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจข้อมูลสําคัญ ลักษณะและหลักทรัพย์อ้างอิงของหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง จากหนังสือชี้ชวน Factsheet ก่อนตัดสินใจลงทุน
  • เงื่อนไขและการพิจารณาบัตรเครดิตเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด ใช้เท่าที่จำเป็น และชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 7% - 16% ต่อปี

 

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินค่าเงินบาทในช่วงสิ้นปี 2567 มีแนวโน้มผันผวนมากขึ้น โดยจะอยู่ในกรอบ 35-36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานภายในประเทศยังคงเปราะบางกว่าในอดีต หลังเศรษฐกิจไทยเผชิญกับปัญหาเชิงโครงสร้าง ซึ่งส่งผลให้ดุลการชำระเงินไม่แข็งแกร่งเหมือนในอดีต ประกอบกับความเสี่ยงจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่ขยายตัว ทำให้ค่าเงินบาทยังมีความเสี่ยงอ่อนค่าและผันผวนอยู่ แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่วัฏจักรดอกเบี้ยขาลงในช่วงปลายปีนี้ แนะธุรกิจเตรียมรับมือกับความเสี่ยงจากสถานการณ์ตลาดการเงินที่ยังมีความไม่แน่นอน 

ในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทโดยรวมปรับอ่อนค่า 7% มากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย เป็นรองเพียงเงินเยนของญี่ปุ่น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของสหรัฐอเมริกา ตลอดจนปัจจัยภายในประเทศ เช่น ฤดูการจ่ายเงินปันผล และความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในประเทศที่กดดันการไหลออกของเงินทุนต่างชาติ เป็นต้น  แต่สำหรับในช่วงครึ่งปีหลัง หากพิจารณาจากสถิติในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า ทิศทางค่าเงินบาทมักจะปรับแข็งค่าขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้าย ค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นอย่างชัดเจนในไตรมาส 4 โดยเฉลี่ยถึง 4.9%  ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยฤดูกาลท่องเที่ยวของไทยที่มีความต้องการเงินบาทจากนักท่องเที่ยวต่างชาติมากขึ้น รวมถึงความต้องการค่าเงินบาทของกลุ่มบริษัทในการปิดงบประมาณสิ้นปี อย่างไรก็ตาม ด้วยภาวะเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอนมากขึ้นจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ในเชิงการเมืองและการค้า ดังนั้น ttb analytics ได้ประเมินแนวโน้มทิศทางค่าเงินบาทในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 มีแนวโน้มผันผวนมากขึ้นในครึ่งหลังของปี ณ สิ้นปี 2567 ค่าเงินบาทจะอยู่ในกรอบ 35-36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากมุมมองปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจไทย และการเปลี่ยนแปลงทางการเงินและเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบ โดยมีรายละเอียดดังนี้  

 1) ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account) ยังไม่สามารถสนับสนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเหมือนในอดีต 

ตัวที่สะท้อนภาพได้ชัดเจน คือ ดุลบัญชีเดินสะพัด ที่บอกถึงรายรับและรายจ่ายเงินตราต่างประเทศจากการขายสินค้าและบริการ ปัจจุบันไทยมีแนวโน้มเกินดุลบัญชีเดินสะพัดไม่มากเหมือนในอดีต ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการส่งออกสินค้าของไทยโตได้ช้าลง เนื่องจากเผชิญกับปัญหาเชิงโครงสร้างจากกลุ่มสินค้าเทคโนโลยีเก่าที่มีความต้องการในตลาดโลกน้อยลง และผลจากนโยบายการกีดกันการค้าที่เพิ่มขึ้น สวนทางกับการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น จากการระบายสินค้าของจีน (De-Stocking) เข้ามาในไทยและราคาพลังงานที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งหากดูตัวเลขดุลการค้า (Trade Balance) ช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ ไทยเกินดุลเพียง 7.1 พันล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นครึ่งหนึ่งของมูลค่าเกินดุลเฉลี่ยปี 2558-2562 ที่ 14.4 พันล้านดอลลาร์ ในส่วนดุลบริการของไทยครึ่งแรกของปีของปี 2567 การท่องเที่ยวไทยสร้างรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวน 0.83 ล้านล้านบาท น้อยลงจากช่วงปี 2562 ที่สูงถึง 1.1 ล้านล้านบาท ผลจากโครงสร้างนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เปลี่ยนไป  ในขณะที่ดุลบริการในส่วนของค่าขนส่งที่ปกติขาดดุลอยู่เดิมมีแนวโน้มติดลบมากขึ้นจากการปรับขึ้นค่าระวางเรือตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจากปัญหาความขัดแยังในตะวันออกกลางที่ยืดเยื้อ  

2) ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย (Capital & Financial Account) ยังขาดดุลเพิ่มขึ้น กดดันค่าเงินบาทต่อเนื่อง   
ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายที่สะท้อนการลงทุนโดยตรง และสินทรัพย์ทางการเงินต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ยังมีแนวโน้มไหลออกจากปัจจัยโครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่ยังเปราะบาง ตลอดจนความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ยังมีอยู่ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการเข้ามาลงทุนภายในประเทศ และทิศทางของเงินทุนต่างชาติ นอกจากนี้ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงกว้างกว่าในอดีต ยังไม่เอื้อต่อการแข็งค่าของเงินบาท หนึ่งในนั้นคือการที่นักลงทุนภายในประเทศมีความสนใจสินทรัพย์ต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะตราสารหนี้ (Bonds) ที่มีเงินทุนไหลออกกว่า 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงไตรมาสที่ 1 จากผลตอบแทนที่เพิ่มสูงขึ้น ตามวัฏจักรดอกเบี้ยโลกที่อยู่ในระดับสูง ตลอดจนการผ่อนคลายกฎเกณฑ์การไปลงทุนต่างประเทศของนักลงทุนในประเทศ ประกอบกับดอกเบี้ยต่างประเทศที่สูงกว่าทำให้ผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะกลุ่มส่งออกมีการฝากเงินสกุลต่างชาติมากขึ้น แทนการแลกเงินสกุลบาททันที เนื่องจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของไทยกับต่างประเทศยังคงกว้างกว่าในอดีตมาก ซึ่งปัจจัยดังกล่าวลดแรงกดดันที่ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น  

3) แนวโน้มวัฏจักรดอกเบี้ยขาลงทั่วโลก อาจช่วยสนับสนุนการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ แต่ต้องติดตามปัญหาภูมิรัฐศาสตร์    ในส่วนของปัจจัยต่างประเทศ แม้ว่านักลงทุนส่วนใหญ่จะคาดว่า Fed จะเข้าสู่วัฏจักรดอกเบี้ยขาลงในช่วงปลายปีนี้ หลังเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวมากขึ้น ซึ่งบางส่วนอาจช่วยลดแรงกดดันเงินทุนไหลออกจากประเทศไทยได้บ้าง เนื่องจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีแนวโน้มที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายการเงินตลอดทั้งปีนี้  

อย่างไรก็ตาม การดึงดูดเงินทุนต่างชาติเข้าสู่สินทรัพย์ของไทยยังคงจำกัดจากการที่ตลาดหุ้นไทยไม่ได้มีหุ้นกลุ่ม Growth และดอกเบี้ยนโยบายของไทยยังคงต่ำ เมื่อเทียบกับภูมิภาค นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเพิ่มความผันผวนให้กับตลาดการเงินโลก และเพิ่มความไม่แน่นอนให้กับทิศทางการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท เช่น การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ในช่วงปลายปีนี้ ตลอดจนความเสี่ยงจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์อื่น ๆ ที่ยังคงมีอยู่ 

จากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยถึงสิ้นปีนี้อาจไม่ดีเท่าที่คาดการณ์ โดยเฉพาะการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากการค้าโลก ขณะที่ปัจจัยปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ยังกดดันราคาพลังงานและขนส่งสินค้าให้อยู่ในระดับสูงต่อไป ยิ่งไปกว่านั้น วัฏจักรนโยบายการเงินโลกที่ผ่อนคลายมากขึ้น การเปลี่ยนผ่านนโยบายทางการเมืองของสหรัฐฯ จะสร้างความผันผวนและความไม่แน่นอนมากขึ้นให้กับตลาดการเงินโลก ทำให้ ttb analytics มองประเด็นเหล่านี้จะสร้างแรงกดดันให้ค่าเงินบาทผันผวนและอ่อนค่าได้ ทำให้ผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับค่าเงินไม่ว่าจะเป็นผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ผู้ลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศ หรือผู้ที่มีหนี้ในสกุลเงินต่างประเทศ ควรติดตามข้อมูลข่าวสารด้านเศรษฐกิจการเงินอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ยังควรศึกษาและใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนอย่างเหมาะสม เพื่อลดความผันผวนและความเสี่ยงของค่าเงินบาท เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ในช่วงเวลาต่อไป 

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี จับมือ พีซแอนด์ลีฟวิ่ง จํากัด มหาชน ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยแนวราบที่มีประสบการณ์มากว่า 30 ปี สนับสนุนให้คนไทยได้เป็นเจ้าของบ้านที่มีคุณภาพ โลเคชันดี ในราคาที่เอื้อมถึง มอบดีลสินเชื่อบ้านสุดพิเศษ ดอกเบี้ย 0% ต่อปี ผ่อนสบายล้านละ 2,800 บาท ได้นานถึง 2 ปี

นายอธิศ วงศ์ศศิธร (ขวา) รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าผลิตภัณฑ์สินเชื่อมีหลักประกัน ทีเอ็มบีธนชาต และ นายโดม ศิริโสภนา (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการ พีซแอนด์ลีฟวิ่ง จำกัด มหาชน ร่วมเติมเต็มความฝันให้คนไทยได้เป็นเจ้าของบ้านคุณภาพดี ในราคาที่เอื้อมถึง จัดแคมเปญสินเชื่อบ้าน ร่วมมอบโปรโมชันสุดพิเศษด้วยอัตราดอกเบี้ยที่คุ้มค่า 0% ต่อปี นาน 2 ปีแรก ผ่อนสบาย ล้านละ 2,800 บาทต่อเดือน และสามารถเลือกผ่อนชำระได้นานสูงสุดถึง 35 ปี ฟรี ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์และค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย เมื่อกู้ซื้อบ้านกับสินเชื่อบ้านทีทีบี พร้อมทั้งรับสิทธิพิเศษเพิ่มเติมจาก พีซแอนด์ลีฟวิ่ง อาทิ รับค่าตกแต่งเพิ่มเติมสูงสุด 500,000 บาท สำหรับผู้ที่จองและทำสัญญา พร้อมจดทะเบียนจำนอง บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์โฮม ในเครือพีซแอนด์ลีฟวิ่ง ภายใต้ 5 โครงการ CHER สุขสวัสดิ์ – พุทธบูชา, CHER WESTVILLE ราชพฤกษ์, CHER ราชพฤกษ์ - พระราม 5, CHEREA VICINITY ราชพฤกษ์ – เจษฎาบดินทร์ และ CHERENE กรุงเทพกรีฑา - ร่มเกล้า ตั้งแต่วันนี้ ถึง 30 กันยายน 2567 นี้

ทีทีบี ยังคงเดินหน้ามอบบริการและประสบการณ์ที่ดีที่ช่วยให้คนไทยเข้าถึงสินเชื่อที่อยู่อาศัย เพื่อสานฝันการมีบ้านเป็นของตัวเอง พร้อมหนุนให้กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว เพื่อชีวิตทางการเงินที่ดี ทั้งในวันนี้และอนาคต  สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ เจ้าหน้าที่ประจำโครงการ พีซแอนด์ลีฟวิ่ง หรือ สมัครสินเชื่อผ่านช่องทางออนไลน์ ได้ที่  https://www.ttbbank.com/link/new-home-pr


***หมายเหตุ: กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว: อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 4.01% -  5.22% ต่อปี (MRR ปัจจุบัน 7.83% ต่อปี ณ วันที่ 3 ต.ค. 66)  ผ่อนล้านละ 2,800 บาท คำนวณจากวงเงินกู้ 1,000,000 บาท ระยะเวลา 30 ปี ในอัตราดอกเบี้ย 0% ต่อปี นาน 2 ปีแรก    อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามประกาศธนาคาร  เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ระดมผู้เชี่ยวชาญและพันธมิตรจากภาครัฐและเอกชน ร่วมแชร์ความรู้ด้าน ESG และผลกระทบของธุรกิจจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม หนุนส่งเสริมผู้ประกอบการไทยยกระดับอุตสาหกรรมเป็นองค์กรคาร์บอนต่ำที่เติบโตอย่างยั่งยืน โดยนำประสบการณ์จากภาคเอกชนที่พัฒนาองค์กรด้วยแนวคิด ESG ที่มีทั้งความท้าทายและโอกาสของธุรกิจไทยในเวทีโลก มาปรับใช้ในองค์กรได้อย่างตรงจุด ทั้งลดต้นทุน การใช้พลังงาน และสร้างภาพลักษณ์ที่ดี

ในงานสัมมนา “ttb Business Green Transition Forum 2024” นายศรัณย์ ภู่พัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต ได้ตอกย้ำว่า ทีทีบีเป็นธนาคารที่ผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยหันมาปรับตัวและเปลี่ยนผ่านก้าวสู่ธุรกิจสีเขียวอย่างต่อเนื่อง เพราะเล็งเห็นถึงโอกาสในการต่อยอดธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน แม้ว่าจะมีความท้าทายจากนโยบายหรือกฎระเบียบใหม่ ๆ จากประเทศผู้นำเข้าสินค้า ซึ่งมีความจำเป็นที่ผู้ประกอบการไทยต้องเรียนรู้ และเร่งปรับองค์กร เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่องค์กรคาร์บอนต่ำ จึงได้ระดมผู้เชี่ยวชาญทั้งจากภาครัฐและเอกชนมาแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจนำแนวคิด ESG ไปปรับใช้กับองค์กรได้อย่างตรงจุดและง่ายขึ้น

นายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ภาคการผลิตที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมากในประเทศไทย ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ โดยภาคการเกษตรมีความเปราะบางและได้รับผลกระทบมากที่สุด แต่มีศักยภาพในการรับมือได้น้อยกว่าสาขาอื่นมาก สำหรับร่าง พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ พ.ร.บ.Climate Change ที่จะมีผลบังคับใช้ในอนาคตนั้น จะทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจ สังคมคาร์บอนต่ำและยั่งยืน โดยในส่วนของภาคอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการสามารถเตรียมความพร้อมในการประเมินองค์กรเพื่อจัดทำข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจก และแผนการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อปรับเปลี่ยนการทำธุรกิจให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐ และเทรนด์การค้าระดับสากล ซึ่งขณะนี้ผู้ประกอบการเองนับว่ามีความตื่นตัวในการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียว และจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนในการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี หากทำได้จะนำไปสู่การลดต้นทุนให้กับธุรกิจได้อย่างมีนัยยะสำคัญ และที่สำคัญเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องดำเนินการร่วมกัน เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้ไปสู่เป้าหมายที่กำหนดภายใต้เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 30-40% ในปี 2573

ขณะที่นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ เปิดเผยว่า 3 ปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อทิศทางการลงทุนของไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า ประกอบด้วย 1) ประเด็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และการมุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality & Net Zero  2) ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) ซึ่งทำให้เกิดการแบ่งขั้วและส่งผลต่อการปรับโครงสร้างห่วงโซ่อุปทานของการลงทุนทั้งระบบ 3) กติกาภาษีใหม่ของโลก (Global Minimum Tax) ซึ่งส่งผลต่อการวางแผนการลงทุนและการเลือกแหล่งลงทุนของบริษัทต่างชาติขนาดใหญ่ ในส่วนของบีโอไอได้ผลักดันให้ภาคธุรกิจมุ่งลงทุนสู่ "ความยั่งยืน" ครอบคลุมทุกภาคอุตสาหกรรม โดยขอบเขตธุรกิจที่บีโอไอให้การส่งเสริมนั้นค่อนข้างกว้างมากกว่า 400 กิจการ ครอบคลุมตั้งแต่ภาคเกษตร ภาคการผลิต และภาคบริการ ซึ่งแต่ละอุตสาหกรรมมีแนวทางการส่งเสริมครบวงจร โดยมีเงินลงทุนขั้นต่ำเพียงแค่ 1 ล้านบาทก็มาขอรับการส่งเสริมได้ หรือ ถ้าเป็นผู้ประกอบการ SMEs เงินทุนขั้นต่ำเพียง 500,000 บาท ก็สามารถเข้าสู่เกณฑ์การพิจารณาได้ ซึ่งบีโอไอมีมาตรการที่จะช่วยภาคอุตสาหกรรมในการลดก๊าซเรือนกระจก ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไปสู่ “Smart & Sustainable Industry” ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

สำหรับการเสวนา “เส้นทางการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ความยั่งยืน โอกาสของธุรกิจไทย” นายสมิทธิพร เศรษฐปราโมทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เน็กซ์ จำกัด ยอมรับว่า Climate Change สำคัญและส่งผลกระทบกับหลากหลายธุรกิจ โดยบ้านปู เน็กซ์ ดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีพลังงานสะอาด ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ธุรกิจแบตเตอรี่ ธุรกิจซื้อขายไฟฟ้า ธุรกิจอี-โมบิลิตี้ และธุรกิจจัดการพลังงาน โดยมุ่งมั่นเป็นองค์กรสีเขียว และพร้อมเป็นที่ปรึกษาด้าน Net Zero Solutions ให้แก่ผู้ประกอบการสามารถเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียวได้อย่างครบวงจร โดยจับมือกับพาร์ทเนอร์ที่มีนวัตกรรมและความเชี่ยวชาญระดับโลกที่จะนำเทคโนโลยีและ AI มาใช้ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ และย้ำว่าผู้ประกอบการต้องเร่งปรับเปลี่ยนวิธีในการทำธุรกิจ เพราะบริษัทที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากจะเสียปรียบในการแข่งขันด้านธุรกิจและการตลาดในอนาคต

ด้านนายพรเทพ ศุภธราธาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินโน พรีคาสท์ จำกัด บริษัทในเครือของกลุ่มบริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทฯ มองว่าการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม จะต้องทำทั้งองค์กร จึงมีการให้ความรู้แก่พนักงานและลูกค้าเพื่อเข้าใจถึงคุณค่าของ ESG  และให้ความสำคัญกับการลดคาร์บอนด้วยการนำนวัตกรรมมาใช้ เช่น การใช้เทคโนโลยีคาร์บอนเคียว ที่นำคาร์บอนมาผสมกับคอนกรีต เพื่อลดปริมาณการใช้ปูนซีเมนต์ และเพิ่มความแข็งแกร่งให้ผนังพรีคาสท์ การใช้โซลาร์เซลล์ รวมไปถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่ดูแลสิ่งแวดล้อม และย้ำว่าการเปลี่ยนผ่านธุรกิจไม่ใช่การลงทุนเพียงอย่างเดียว แต่อาจใช้วิธีการลดต้นทุน เพื่อให้ได้มาซึ่งการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญคือ ต้องมีการสื่อสารขององค์กรไปในทางเดียวกัน โดยตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนว่าต้องการลดคาร์บอนเท่าใด เพื่อนำมาปรับเปลี่ยนกระบวนการลดต้นทุนเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งมองผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ที่สามารถนำมาช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมได้

 

ขณะที่นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บรรจุภัณฑ์บนโลกกว่าร้อยละ 80 ทำจากพลาสติกหรือกระดาษ โดยบริษัทฯ เริ่มต้นจากการผลิตกระดาษและบรรจุภัณฑ์กระดาษ และต่อมาได้มีการเพิ่มบรรจุภัณฑ์พลาสติก เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ครบวงจรมากขึ้น โดยในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา กระแส ESG เริ่มมากขึ้นทั้งในส่วนพฤติกรรมผู้บริโภค กฎหมายและข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความเข้มข้นขึ้น บริษัทได้ยึดหลัก ESG 4 Plus: มุ่ง Net Zero, Go Green, Lean เหลื่อมล้ำ, ย้ำร่วมมือ Plus การดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส” โดยให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนผ่านการใช้พลังงานเป็นพลังงานหมุนเวียน การใช้เทคโนโลยีมาปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต การลงทุนวิจัยและพัฒนานวัตกรรมโดยใช้เงิน 0.5% ของรายได้จากการขาย ซึ่งผลที่ได้คือ บรรจุภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สามารถนำไปรีไซเคิลได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคและการดำเนินการด้าน ESG ของบริษัท พร้อมทั้งแนะนำผู้ประกอบการที่ต้องการลงทุนเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียว ให้เริ่มต้นจากสิ่งเล็ก ๆ ก่อน เช่น การแยกขยะหรือการประหยัดพลังงาน หรือหากต้องการลงทุนในเทคโนโลยีที่สูงขึ้นแล้วลงทุนเพียงบริษัทเดียวไม่คุ้มค่า สามารถแชร์การลงทุนร่วมกับพาร์ทเนอร์ได้ เพื่อให้ธุรกิจสามารถเปลี่ยนผ่านและไปต่อได้

ทีทีบี พร้อมเป็นพันธมิตรเคียงข้างลูกค้าธุรกิจ และสนับสนุนผู้ประกอบการที่ต้องการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ธุรกิจสีเขียว (Green Transition) ตามกรอบการดำเนินงานในการเป็นธนาคารเพื่อความยั่งยืน ภายใต้แนวคิด B+ESG  เพื่อสนับสนุนให้ลูกค้า คู่ค้า พันธมิตรทางธุรกิจและสังคมสามารถดำเนิน “ชีวิต” และ “ธุรกิจ” ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน 

X

Right Click

No right click