ปลัดอว.ย้ำบทบาทของมหาวิทยาลัยดิจิทัลในการขับเคลื่อนประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว  โดยต้องมุ่งผลิต “มนุษย์ดิจิทัล” และเป็นผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างนวัตกรรมและใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ในทุกมิติ

ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการการสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ “การสำรวจความพร้อมการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล” Digital Maturity Model (DMM), Transformation Readiness towards Digital University โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเครื่องมือ DMM รวมถึงประสบการณ์การสำรวจความพร้อมสู่ความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัยดิจิทัล

ปลัด อว.กล่าวระหว่างปาฐกถา  แนวนโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัยไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ว่า "การพัฒนาของโลกทั้งปัจจุบันที่อยู่ในยุคดิจิทัล มูลค่าของเศรษฐกิจและบริษัทชั้นนำของโลกมักเกี่ยวข้องกับดิจิทัล เทคโนโลยีเกินครึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับดิจิทัล ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญอย่างก้าวกระโดด ประเทศไทยเป็นกลไกหนึ่งของโลกจึงต้องให้ความสำคัญกับการก้าวสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล โดยเตรียมบทบาทของมหาวิทยาลัยให้มีความพร้อมมุ่งสู่ดิจิทัลในฐานะที่เป็นคลังความรู้ของประเทศในการผลิตบุคลากรเพื่อก้าวสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้วในปี 2580 ซึ่งหนึ่งในนั้นคือประเทศไทยจะต้องเป็นประเทศดิจิทัล ดังนั้นดิจิทัลจึงมีสองมิติทั้งเป็นเครื่องมือและเป็นเป้าหมายปลายทาง"

มหาวิทยาลัยจึงมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนสู่ประเทศดิจิทัล ในมุมของกระทรวง อว. เห็นว่ามหาวิทยาลัยจะต้องใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีให้ได้มากที่สุด เพื่อลดระยะเวลาและค่าใช้จ่าย จึงต้องเตรียมความพร้อมที่จะทำให้องค์กรบริหารจัดการเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพได้ดีขึ้น มหาวิทยาลัยมีหน้าที่จำเพาะในการใช้ดิจิทัลในภารกิจจัดการเรียนการสอนให้ได้มากที่สุด เช่น การสอนออนไลน์ นอกจากนี้ยังต้องมองไปข้างหน้าถึงกลไกการให้การศึกษาในรูปแบบอื่น เช่น การเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมถึงภารกิจในการวิจัยโดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้สร้างนวัตกรรม และใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ในทุกมิติและทุกภารกิจ

“มหาวิทยาลัยยังมีหน้าที่สำคัญมากในการสร้างคนไทยให้เป็น “มนุษย์ดิจิทัล” เพื่อเป็นอนาคตของประเทศที่สามารถใช้และพัฒนาดิจิทัลได้ต่อไปในอนาคต ดังนั้นบทบาทในการสอน ให้ความรู้และประสบการณ์ในการใช้ดิจิทัลของมหาวิทยาลัยจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก ประการสุดท้ายมหาวิทยาลัยมีบทบาทเป็นผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล โดยควรจะมีความพร้อมล่วงหน้า 10 ปี ขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการพัฒนา และเน้นความประหยัด มีประสิทธิผลสูงขึ้นโดยใช้ทรัพยากรน้อยลง”

ขณะที่ ดร.วันฉัตร สุวรรณกิตติ รองเลขาธิการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวถึงการใช้เครื่องมือ DMM กับการพัฒนาประเทศในนิเวศดิจิทัล ว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้แนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติตามหลักการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) เป็นรูปธรรมมากขึ้น ภายใต้แผนแม่บท แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงฯ ทั้งนี้ โจทย์สำคัญภายใต้ 13 หมุดหมายเพื่อพลิกโฉมประเทศ คือ ต้องทำน้อยได้มาก ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อตอบโจทย์ประเทศ การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยได้ เป็นคนไทยที่มีสมรรถนะสูง อยู่ได้ด้วยตนเองและไปต่อได้ในภาวะวิกฤต

การทำ DMM อย่าอยู่แค่ในรั้วมหาวิทยาลัย แต่ต้องออกมานอกรั้ว ช่วยกันขับเคลื่อนประเทศให้พัฒนาและบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ทุกคนเป็นตัวจักรสำคัญในการผลิตบัณฑิตและใช้ดิจิทัลเพื่อพัฒนาประเทศ มี Digital Mindset มุ่งมั่นที่จะสร้างตัวเองให้เป็นดิจิทัล รวมถึงการสร้างวิชาการที่ประยุกต์สากลให้เข้ากับภูมิสังคมไทยในแต่ละพื้นที่ได้ การวิจัยและพัฒนา การบริการสังคมจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ทั้งนี้ DDM เป็นเครื่องมือบอกสถานะ โจทย์ วิเคราะห์สิ่งที่ควรทำและไปต่อ อีกทั้งช่วยติดตามประเมินผลเพื่อให้เกิดการเดินหน้าและยั่งยืน ซึ่งจะต้องมีความพร้อมในการใช้ข้อมูล โดยเป้าหมายสุดท้ายคือประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน สุดท้ายขอฝากข้อคิดในการใช้ DMM บนหลัก 6 ประการ คือ มีความรู้ในสิ่งที่ทำ มีคุณธรรม มีความเพียรล้มแล้วลุกให้ได้ ตัดสินใจบนหลักความพอประมาณ มีเหตุและผล และมีภูมิคุ้มกันที่หาทางออกได้เสมอ

ด้าน อ.ดนัยรัฐ ธนบดีธรรมจารี ผู้ดูแลโครงการมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) เผยถึงเครื่องมือ DMM เป็นเครื่องมือสำคัญในการสะท้อนถึงความพร้อมที่จะเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ให้ผู้บริหารและระดับปปฏิบัติการเห็นภาพตรงกันต่อการดำเนินงานในมหาวิทยาลัย รวมถึงกำหนดประเด็นการพัฒนาที่สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร ทำให้เกิดการนำไปใช้ แบ่งปันข้อมูลและเทคโนโลยีร่วมกัน ต้องร่วมกันสร้างนิเวศแห่งการพัฒนาร่วมกันทุกภาคส่วน ในมุมมองความต้องการของสังคมที่เชื่อมโยงกับทิศทางของโลกและบริบทของประเทศสู่การกำหนดเป้าหมายของตนเอง และขับเคลื่อนองค์กรอย่างเป็นระบบโดยใช้เทคโนโลยีให้สอดคล้อง

ในโลกยุคใหม่ที่รูปแบบการเรียนรู้และความต้องการของตลาดแรงงานเปลี่ยนไป อีกทั้งผู้คนมีการตั้งคำถามถึงความสำคัญของสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมมือกับ SkillLane ปรับตัวรับมืออนาคตด้วย TUXSA หลักสูตรปริญญาโทออนไลน์ ที่ช่วยให้ธรรมศาสตร์กลับสู่การเป็น “ตลาดวิชายุคดิจิทัล” ที่ตอบโจทย์โลกสมัยใหม่ โดยเป็นปีที่ 4 แห่งความสำเร็จด้วยจำนวนผู้เรียนมากกว่า 16,000 คน รวมถึงมีนักศึกษาเรียนจบเป็นมหาบัณฑิตแล้วในปี พ.ศ.2565 นี้

ในปัจจุบัน รูปแบบการเรียนรู้ของผู้คนเปลี่ยนแปลงไป ทั้งไม่จำเป็นต้องเรียนรู้อยู่แค่ในห้องเรียนและอาจไม่จำเป็นต้องเรียนในมหาวิทยาลัย ขณะเดียวกัน สถานการณ์ของตลาดแรงงานก็เปลี่ยนไป ผลวิจัยระบุว่า ในช่วง 5 ปีข้างหน้า งานทั่วโลกจะหายไป 85 ล้านตำแหน่ง และจะเกิดงานใหม่กว่า 97 ล้านตำแหน่ง ส่งผลให้ตลาดแรงงานยุคใหม่อาจเกิดปรากฏการณ์คนจำนวนมากไม่มีงานทำ และงานเกิดใหม่จำนวนมากไม่มีคนที่ทักษะเหมาะสมมาทำได้ กระแสการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้เกิดคำถามสำคัญคือ “มหาวิทยาลัยยังจำเป็นอยู่หรือไม่” และ “หากมหาวิทยาลัยจะอยู่รอดต่อไป ควรปรับตัวและมีบทบาทอย่างไร”

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทยได้ตอบคำถามเหล่านี้ผ่านการปรับตัวเพื่อตอบโจทย์อนาคต โดยร่วมกับ SkillLane แพลตฟอร์มเรียนออนไลน์ของไทย ได้เปิดตัว TUXSA หลักสูตรปริญญาโทในรูปแบบออนไลน์ที่ส่งมอบทักษะแห่งอนาคตให้แก่คนไทย หลักสูตรปริญญาโทนี้ทั้งตอบโจทย์การเรียนรู้ของผู้เรียนยุคใหม่และตอบโจทย์ตลาดแรงงานในอนาคตไปพร้อมกัน

รศ.ดร.พิภพ อุดร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “ธรรมศาสตร์มีอายุ 88 ปี เก่าแก่และมีความขลัง แต่ความขลังนี้อาจทำให้ไม่ทันโลก เราจึงต้องกลับไปเป็น 18 ใหม่อีกครั้ง โดยเราจะตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ในโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี แต่หลักการทำงานของเราคือ อะไรที่ไม่เชี่ยวชาญอย่าลงทุน ให้หาพันธมิตรที่เก่งในเรื่องนี้แทน นั่นคือเหตุผลที่เราจับมือกับสตาร์ทอัปด้าน Education Technology สร้าง TUXSA ปริญญาโทออนไลน์ที่เป็นโปรแกรมการเรียนรู้รูปแบบใหม่

7 จุดเด่นของหลักสูตร TUXSA  คือ

● เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้าถึงความรู้ที่ต้องการจากที่ไหน เมื่อไรก็ได้

● เลือกเรียนเฉพาะวิชาที่สนใจได้

● ถ้าเลือกเรียนทั้งหลักสูตรเพื่อรับใบปริญญา จะได้รับวุฒิปริญญาโทที่มีศักดิ์และสิทธิ์เท่าปริญญาโทปกติ

● วางแผนค่าใช้จ่ายในการเรียนได้

● ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

● เนื้อหาหลักสูตรพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ผู้เรียน

● เรียนพร้อมทำงานได้ ไม่เสียโอกาสทางการงาน

ปัจจุบัน TUXSA เปิดสอนอยู่ทั้งหมด 2 หลักสูตรคือ หลักสูตรปริญญาโทบริหารธุรกิจ สาขา Business Innovation (M.B.A. Business Innovation) ที่ผ่านการรับทราบหลักสูตรจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และหลักสูตรปริญญาโท Data Science for Digital Business Transformation (M.S. Digital Business Transformation)

และในปี พ.ศ. 2565 ซึ่งครบรอบ 4 ปีของการก่อตั้ง TUXSA หลักสูตรปริญญาโทนี้ฉลองความสำเร็จด้วยจำนวนผู้เรียนมากกว่า 16,000 คน และมีนักศึกษาจบการศึกษาเป็นมหาบัณฑิตแล้ว ความสำเร็จของ TUXSA สะท้อนถึงการปรับตัวไปในทิศทางที่ถูกต้องของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทั้งรูปแบบการเรียนและเนื้อหา โดยมีปริญญาสนับสนุนว่าผู้เรียนผ่านการรับรองจากสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพ

รศ.ดร.พิภพ อุดร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ตอนธรรมศาสตร์เกิดขึ้นมา เราเป็นมหาวิทยาลัยเปิดที่ทุกคนเข้าถึงได้ พอเราเปลี่ยนมาเป็นมหาวิทยาลัยปิด จำนวนที่นั่งก็จำกัด คนจะเข้าสู่ธรรมศาสตร์ต้องผ่านการคัดเลือกมากมาย การเปิดปริญญาโทออนไลน์ที่ชื่อ TUXSA ของเราคือการ Back to the Future ทำให้ธรรมศาสตร์กลับไปสู่จุดตั้งต้นเดิมของความเป็นตลาดวิชา แต่เทคโนโลยีทำให้เราก้าวผ่านข้อจำกัดของจำนวนที่นั่ง เวลา สถานที่ และค่าใช้จ่าย ทำให้เราตอบโจทย์การเรียนรู้รูปแบบใหม่ให้กับคนในทุกเจนเนอเรชัน

สำหรับผู้ที่สนใจ ดูรายละเอียด TUXSA ได้ที่ www.skilllane.com/tuxsa

 

แม้สถานการณ์เศรษฐกิจไทยกลับมาขยายตัวเล็กน้อยในไตรมาสแรกของปีจากการคลายมาตรการต่างๆ ในขณะเดียวกัน เทคโนโลยีเริ่มเข้ามามีบทบาทในการทำงานมากขึ้น จนเกิดเป็นอัตราเร่งให้เกิดอาชีพใหม่ๆ สูงขึ้น ผลที่ตามมาคือ ปัญหาช่องว่าง Skill Gap ที่นับวันจะขยายกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้จากอัตราการว่างงานของเด็กรุ่นใหม่ที่มากขึ้น มีจำนวน 2.6 แสนคน เพิ่มสูงขึ้น 5.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนถึงปัญหาของตลาดแรงงานเด็กรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มสำคัญที่จะเป็นแรงงานมีฝีมือในอนาคต

X

Right Click

No right click