×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 809

จากการเป็นเจ้าตลาดสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ธนาคารเกียรตินาคินได้เปลี่ยนกลยุทธ์ตัวเองให้มาเน้นการเข้าถึงลูกค้าในเชิงรุกและการขยายสินเชื่อสู่รายย่อยแบบครบวงจร เพื่อยกตัวเองให้ก้าวสู่การเป็นธนาคาร Credit House

 

ผ่านกลุ่มสายงานช่องทางการตลาดและพัฒนาฐานลูกค้า (Alternative Distribution Channel หรือ ADC) กลุ่มสายงานใหม่ที่ตั้งขึ้นเมื่อกุมภาพันธ์ 2559

 

ADC ทำหน้าที่ให้บริการผลิตภัณฑ์สินเชื่อแก่รายย่อย ทั้งสินเชื่อบุคคล สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อ KK SME รถคูณสาม 10 เดือนสำหรับการทำงานสามารถปล่อยสินเชื่อใหม่กว่า 5,000 ล้านบาท โดยเหตุผลที่ทำให้สินเชื่อทั้งสามของธนาคารได้รับความสนใจ เพราะสินเชื่อบุคคล - ธนาคารใช้เวลาพิจารณาอนุมัติสินเชื่อภายในหนึ่งวัน และเป็นสินเชื่อที่ตรงกับความต้องของลูกค้า สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย - ทีมงานใหม่มีความสัมพันธ์กับโครงการบ้านทำให้ตลาดนี้ขยายได้มากขึ้น และสินเชื่อ KK SME รถคูณสาม - ธนาคารเป็นเจ้าแรกที่ให้บริการสินเชื่อดังกล่าว และเจ้าหน้าที่มีการเข้าถึงตัวลูกค้าโดยตรง รวมทั้งมีการโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ทำให้ได้รับการตอบรับดี นอกจากนี้ การที่ ADC ทำงานผ่านโครงสร้าง 4+1 ส่งผล  ADC ขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว

 

ภัทรพงศ์ รักตะบุตร ประธานสายงานช่องทางการตลาดและพัฒนาฐานลูกค้า ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โครงสร้าง 4+1 ได้แก่ กลุ่มงานวางแผนและพัฒนาฐานลูกค้า กลุ่มงานบริหารประสิทธิภาพและผลงานของทีมขาย กลุ่มงานกำกับมาตรฐานงานขาย และกลุ่มงานพัฒนาบุคลากรและสนับสนุนงานขาย ส่วนอีกหนึ่งกลยุทธ์สุดท้าย คือ กลุ่มงานบริหารงานขาย ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำตลาด 

 

“ในปี 2560 นี้เราจะเน้นกลุ่มงานบริหารงานขายให้รองรับแผนการขยายธุรกิจของธนาคารในปัจจุบัน โดยจะเพิ่มพื้นที่การให้บริการตามหัวเมืองที่มีศักยภาพ ซึ่งได้ทดลองไปแล้วที่จังหวัดเชียงใหม่ และจะสร้างทีมบริหารงานขายเพื่อรองรับผลิตภัณฑ์-ช่องทางการทำตลาดใหม่ๆ พร้อมทั้งขยายกลุ่มนี้จาก 600 คนให้เป็น 1,000 คนเพื่อช่วยเสริมศักยภาพของการขยายธุรกิจรายย่อย ทำให้คาดในปี 2560  ADC จะขยายการปล่อยสินเชื่อจาก 5,000 ล้านบาทเป็น 10,000 ล้านบาท”

 

ส่วนแผนในอีก 3-4 ปีธนาคารจะปรับสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ และสินเชื่อรายย่อยให้มีสัดส่วนที่เท่ากัน คือ 50 ต่อ 50 จากที่สิ้นปี 2559 สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์อยู่ที่ 70% สินเชื่อรายย่อยอยู่ที่ 30% เนื่องจากสินเชื่อรายย่อยมีมาร์จินดี ขณะที่สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เริ่มชะลอตัว เชื่อว่าการพัฒนาสายงาน ADC ตามแผนจะช่วยให้สินเชื่อรายย่อยเพิ่มขึ้นได้ตามเป้า ที่ผ่านมา ADC อนุมัติสินเชื่อบุคคลไปแล้ว 20% สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย 40% สินเชื่อ KK SME3 30%

 

สำหรับสัดส่วนการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร ณ สิ้นปี 2559 มียอดรวมทั้งสิ้น 

 

176,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 1. สินเชื่อรายย่อย 123,000 ล้านบาท (สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ 113,000 ล้านบาท สินเชื่อบุคคล 4,000 ล้านบาท สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย 3,500 

ล้านบาท และสินเชื่อ Micro SMEs 2,500 ล้านบาท) 2. สินเชื่อธุรกิจและอื่นๆ 53,000 ล้านบาท

 

คงต้องดูกันต่อว่าการทำงานของ ADC ตามโครงสร้าง 4+1 จะช่วยสร้างรายได้ให้กับธนาคารเกียรตินาคินตามเป้าหมายที่วางไว้หรือเปล่า และการเดินทางมาสายนี้ของธนาคารจะสร้างโอกาสในทางธุรกิจให้มากน้อยแค่ไหน เราคงต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์

 

Page 2 of 2
X

Right Click

No right click