ผลวิจัยล่าสุดจากทีม Ericsson (NASDAQ: ERIC) Mobility Report เผยหลักฐานสนับสนุนสำคัญแก่ผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร (CSPs) ทั่วโลก ซึ่งชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ของการนำ 5G มาปรับใช้และการเติบโตของรายได้

การเติบโตของรายได้เป็นความท้าทายของผู้ให้บริการทั่วโลกที่มักส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนด้านเครือข่าย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์การเติบโตทางธุรกิจของพวกเขาหรือเรียกว่า 'การสร้างรายได้ (Monetization)' ในอุตสาหกรรม

รายงาน Ericsson Mobility ฉบับพิเศษที่เรียกว่า Business Review edition นำเสนอโอกาสต่าง ๆ สำหรับการสร้างรายได้จากบริการ 5G

โดยรายงานนี้เน้นย้ำถึงแนวโน้มการเติบโตของรายได้แง่บวกตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 2020 ในตลาด 5G ชั้นนำ 20 แห่ง* คิดเป็น 85% ของยอดผู้ใช้บริการ 5G ทั้งหมดทั่วโลก และสัมพันธ์กับยอดผู้ใช้บริการ 5G ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นในตลาดเหล่านี้

 

รายงานฉบับนี้พบว่า:

· โมเดลการกำหนดราคาตามกลุ่มลูกค้า (Tiered Pricing) เป็นกุญแจสำคัญของผู้ให้บริการที่สามารถตอบสนองความต้องการส่วนบุคคลของแต่ละลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผลักดันรายได้ให้เติบโตต่อเนื่องระยะยาว

· ในตลาด 5G ชั้นนำ 20 แห่ง พบว่ามีประสิทธิภาพเครือข่ายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหลัง 5G เปิดให้บริการ

· เส้นกราฟรายได้จากบริการเครือข่ายไร้สายจะพุ่งขึ้นอีกครั้งในตลาด 5G ชั้นนำเหล่านี้ หลังจากช่วงเติบโตช้าหรือไม่มีการเติบโต ซึ่งสัมพันธ์กับยอดการขยายตัวของผู้ใช้บริการ 5G

เฟรดริก เจดลิง รองประธานผู้บริหารและหัวหน้าเครือข่ายของอีริคสันกล่าวว่า "การรับมือกับความท้าทายของลูกค้าคือหัวใจสำคัญของความมุ่งมั่นพยายามในด้านการวิจัยและพัฒนาในทุก ๆ ผลิตภัณฑ์ของอีริคสัน โดยความเชื่อมโยงระหว่างการนำเครือข่าย 5G มาปรับใช้และการเติบโตของรายได้ในตลาด 5G ชั้นนำ 20 อันดับแรก ตอกย้ำให้เราเห็นว่าเครือข่าย 5G ไม่เพียงแต่เป็น Game Changer เท่านั้น แต่ยังให้ประโยชน์แก่ผู้นำไปใช้ระยะแรกอีกด้วย แม้ว่า 5G จะยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่มีการเติบโตรวดเร็วจากกรณีการใช้งานที่ได้รับการยืนยันแล้ว และยังมีแผนการสร้างกรณีการใช้งานทั้งในระยะกลางและระยะยาวที่ชัดเจน”

ตามที่คาดไว้ บริการ Enhanced Mobile Broadband (eMBB) จะเป็นการใช้งานหลักของเครือข่าย 5G ในช่วงแรก โดยได้รับแรงหนุนมาจากความต้องการเพิ่มความครอบคลุมสัญญาณทางด้านภูมิศาสตร์และมอบข้อเสนอที่แตกต่าง ปัจจุบันมียอดผู้ใช้งาน 5G มากกว่าหนึ่งพันล้านรายอยู่บนเครือข่าย 5G เชิงพาณิชย์ที่เปิดให้บริการอยู่ 230 เครือข่ายทั่วโลก โดยบริการ 5G eMBB มอบโอกาสในการสร้างรายได้ที่รวดเร็วที่สุดสำหรับ 5G เนื่องจากเป็นบริการส่วนขยายจากธุรกิจที่มีอยู่เดิมของผู้ให้บริการ อาศัยโมเดลธุรกิจและใช้กระบวนการแบบเดียวกัน แม้แต่ในตลาด 5G ชั้นนำ 20 อันดับแรก ก็ยังมีผู้บริโภคประมาณ 80% ที่ยังไม่ได้เปลี่ยนไปใช้ 5G นับว่าเป็นตัวชี้ชัดสำคัญถึงศักยภาพในการเติบโตของรายได้

 

ตามที่ระบุไว้ในรายงาน Ericsson Mobility ฉบับเดือนพฤศจิกายนปีก่อนว่าบริการ Fixed Wireless Access (FWA) จะมีกรณีการใช้งาน 5G ในช่วงแรกขนาดใหญ่ที่สุดเป็นลำดับสอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคต่าง ๆ ที่ยังไม่มีตลาดบรอดแบนด์และผู้บริโภคยังเข้าไม่ถึงบริการดังกล่าว สำหรับบริการ FWA นั้นมีศักยภาพการเติบโตของรายได้ที่น่าสนใจสำหรับ CSPs เนื่องจากใช้ศักยภาพของบรอดแบนด์มือถือเป็นส่วนใหญ่ โดยคาดว่าจะมีการเชื่อมต่อ FWA สูงถึง 300 ล้านครั้งภายในหกปี

นอกเหนือจากผู้บริโภคที่ใช้บริการ 5G แล้ว ยังมีโอกาสการเติบโตเพิ่มขึ้นจากการนำเครือข่าย 5G ไปใช้ในระดับองค์กรและภาครัฐทั่วโลก

5G ช่วยทำให้เกิดคุณค่าสำคัญสำหรับองค์กร ด้วยเครือข่าย 5G แบบส่วนตัวและเครือข่ายไร้สายที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างที่นำมาใช้ในองค์กรและในภาคอุตสาหกรรม

การอัปเกรดเครือข่าย 4G ที่มีอยู่เดิมให้เป็นเครือข่าย 5G ที่มีศักยภาพมากกว่าถึง 10 เท่า และลดปริมาณการใช้พลังงานได้มากกว่า 30% ช่วยเพิ่มรายได้พร้อมลดต้นทุนและยังสอดรับกับความยั่งยืน

“การเติบโตของรายได้และความยั่งยืนเป็นหัวข้อสนทนาประจำระหว่างเรากับลูกค้า โดยรายงาน Ericsson Mobility ฉบับพิเศษนี้ เราได้สำรวจวิธีที่ผู้ให้บริการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย 5G และเห็นสัญญาณเริ่มต้นของการเติบโตของรายได้ในตลาด 5G ชั้นนำ จากการขยายความครอบคลุมของสัญญาณที่กว้างขวางและการมอบข้อเสนอด้านบริการที่แตกต่าง โดยยังมีด้านที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันคือสามารถสร้างความได้เปรียบด้านต้นทุนและช่วยจัดการกับการเติบโตด้านข้อมูลที่มีผลต่อการขับเคลื่อนรายได้ในอนาคต ตอกย้ำให้เห็นว่าเครือข่าย 5G เป็นตัวเร่งการเติบโตที่ตลาดรอคอย” เฟรดริก เจดลิง กล่าวเพิ่มเติม

อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ Ericsson Mobility Report Business Review Edition report

ในสัปดาห์ที่ผ่านมา (23 - 27 ก.ย.) ตลาดหุ้นทั่วโลกส่วนใหญ่ ปรับลดลง โดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดลบ จากความกังวลสถานการณ์การเมืองสหรัฐฯ

นายนฤพล เลิศปัญญาโรจน์ (ขวา) รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอแอมไชน่าทาวน์ จำกัด ผู้พัฒนาโครงการ I’m Chinatown โครงการมิกซ์ยูสแห่งแรกและมีขนาดใหญ่ที่สุดของย่านเยาวราช ร่วมแสดงความยินดีกับ นายอชิร พัฒนสินธุ์ กรรมการบริหาร บริษัท คิงคอง กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด เนื่องในโอกาสที่บริษัทฯ เตรียมที่จะเปิดร้าน King Kong Buffet บุฟเฟต์ปิ้งย่างสไตล์ญี่ปุ่นระดับพรีเมียม  สาขาที่ 16 และ King Kong Sweets ร้านขนมหวานสไตล์ญี่ปุ่น สาขาที่ 5 บนพื้นที่รวมกว่า 200 ตร.ม.​ที่บริเวณชั้น B ในส่วนศูนย์การค้าของโครงการฯ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้

นายอชิร ได้เปิดเผยว่าในช่วงที่ผ่านมา King Kong Buffet สามารถสร้างยอดรายได้เติบโตเฉลี่ยปีละ 10% มีการเปิดสาขาใหม่ปีละ 3-4 สาขา และปัจจุบันกลายเป็นแบรนด์ร้านอาหารยอดนิยมของเหล่านักท่องเที่ยวชาวจีน เพราะคุณภาพของวัตถุดิบและเมนูที่หลากหลายแตกต่างจากแบรนด์คู่แข่ง เช่น เมนูกุ้งแม่น้ำ เนื้อลายเกรดพรีเมียม พร้อมน้ำจิ้มบาร์บีคิวสูตรพิเศษของทางร้านที่ไม่เหมือนใคร ส่วนปัจจัยที่เลือกขยายสาขาใหม่มาที่โครงการ I’m Chinatown เนื่องจากโลเคชั่นอยู่ในย่านเยาวราชเป็นจุดหมายสำคัญที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวจีน ญี่ปุ่น เกาหลี มีทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม แหล่งช้อปปิ้ง แหล่งรวมของอร่อย ส่วนตัว โครงการ I’m Chinatown ก็ยังอยู่ติดกับสถานีรถไฟฟ้า MRT วัดมังกร สะดวกในการเดินทางสำหรับนักท่องเที่ยวและคนไทย อีกทั้งโครงการฯ ยังมีส่วนของโรงแรมซึ่งจะช่วยเพิ่มยอดการขายให้กับร้าน King Kong Buffet และ King Kong Sweets ได้อีกด้วย โดยบริษัทฯ คาดว่าทั้งสองแบรนด์จะมีลูกค้ามาใช้บริการเป็นชาวต่างชาติ โดยเฉพาะจีนและเกาหลี 50% และลูกค้าคนไทย 50% ซึ่งพร้อมจะเปิดให้บริการระหว่าง 11.00 - 23.00 น. ทุกวัน

กลุ่มดุสิตธานี พร้อมเปิดให้บริการ “บ้านดุสิตธานี” เต็มรูปแบบ 18 กันยายนนี้ หลังปรับปรุง “บ้านศาลาแดง” ที่งดงามและโดดเด่นสะดุดตาด้วยสถาปัตยกรรมจากยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2

การสะสมของรัก สิ่งล้ำค่า และข้าวของหายากเป็นหนึ่งในกิจการงานอดิเรกของเหล่าผู้มั่งคั่งนับแต่อดีตอันยาวนาน โดยมีข้อเท็จจริงที่ประจักษ์ออกมาว่านอกเหนือไปจากการเป็นสันทนาการความสุขแล้ว

Page 1 of 37
X

Right Click

No right click