นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในงานประกาศผลและพิธีมอบรางวัลการประกวดข้าวหอมมะลิของประเทศไทย ประจำปี 2566 (ครั้งที่ 41) และรางวัลการประกวดข้าวสารคุณภาพดีเด่นแห่งประเทศไทยประจำปี พ.ศ. 2566 ซึ่งจัดโดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ในวันนี้ (24 เมษายน 2567) ที่ห้องบุรฉัตรไชยากร กระทรวงพาณิชย์ เพื่อเฟ้นหาและอนุรักษ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศไทย ส่งเสริมการเพาะปลูกข้าวหอมมะลิคุณภาพดี และสร้างต้นแบบเกษตรกร ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่นิยมข่าวคุณภาพสูงเป็นหลัก และยังมีการเชื่อมโยงการตลาดให้เกษตรกรผู้ชนะการประกวดเพิ่มมูลค่า สร้างรายได้ ขยายช่องทางการจำหน่ายให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรอย่างยั่งยืน

นายภูมิธรรม กล่าวว่า ข้าว เป็นพืชเศรษฐกิจหลักของไทย เกี่ยวข้องกับพี่น้องเกษตรกร

กว่า 4.7 ล้านครัวเรือน และประชาชนในประเทศส่วนใหญ่บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก สะท้อนถึงความมั่นคงทางอาหารและเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงเกี่ยวข้องกับพี่น้องเกษตรกรจำนวนมาก รัฐบาลโดยกระทรวงพาณิชย์เล็งเห็นถึงความสำคัญของพี่น้องเกษตรกรไทยที่เปรียบเสมือนเป็นกระดูกสันหลังของชาติ ดำเนินนโยบาย พัฒนา สนับสนุน และส่งเสริมชาวนา ภายใต้หลักการ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น

นายภูมิธรรมเน้นย้ำว่า ข้าวหอมมะลิถือเป็นข้าวในตลาดข้าวพรีเมียมที่มีชื่อเสียงด้วยอัตลักษณ์เฉพาะตัว  มีเม็ดยาวเรียวสวย สีมันวาว หุงแล้วมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นใบเตย รสสัมผัสนิ่มนวล จึงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากที่สุดทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ แม้ราคาจะสูงกว่าข้าวชนิดอื่นแต่ยังคงเป็นที่ต้องการของตลาด เพื่อเป็นการรักษาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง การยกระดับเชิงนโยบายทั้งด้านการผลิตและการควบคุมคุณภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค และให้ประเทศไทยยังคงไว้ซึ่งแหล่งผลิตและส่งออกข้าวหอมมะลิชั้นเลิศของโลก ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตข้าวสำคัญของโลก โดยในปี 2566 ไทยสามารถส่งออกข้าวได้สูงถึง 8.76 ล้านตัน นับได้ว่าสูงสุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่ากว่า 178,135 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาร้อยละ 28 โดยข้าวหอมมะลิยังคงรักษาระดับการส่งออกได้ดีแม้ราคาสูงกว่าคู่แข่ง โดยมีปริมาณส่งออกในปี 2566 อยู่ที่ 1.32 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 5.6 ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน แคนาดา และฮ่องกง

“ตนเดือนเดินทางไปหลายประเทศได้รับความชื่นชมในข้าวไทย ไม่ว่าจะเป็นจีนในหลายมณฑล สหรัฐอเมริกา และอีกหลายประเทศ ทุกคนต่างชื่นชมถึงแม้ราคาจะสูงกว่าที่อื่น แต่ยังสัมผัสได้ในความพิเศษของข้าวหอมมะลิไทย ”นายภูมิธรรมกล่าว

นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยเพิ่มเติมว่า การประกวดข้าวหอมมะลิของประเทศไทยวันนี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทเกษตรกรรายบุคคล และประเภทสถาบันเกษตรกร ในครั้งนี้มีเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิจาก 22 จังหวัด ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ส่งตัวอย่างข้าวเข้าประกวดจำนวนรวม 967 ตัวอย่าง และได้นำตัวอย่างข้าวขาวของผู้ที่สมัครเข้าร่วมประกวดฯ ตรวจสอบคุณภาพข้าวทางวิชาการ ทั้งเคมีและกายภาพ ส่งให้คณะกรรมการตัดสินการประกวดทั้งในระดับจังหวัดและระดับประเทศพิจารณาคัดเลือกจนได้ผู้ได้รับรางวัลรวมจำนวน 21 ราย แบ่งเป็น เกษตรกรรายบุคคล 18 ราย และสถาบันเกษตรกร 3 ราย เป็นโล่รางวัลเกียรติยศและใบประกาศเกียรติคุณ พร้อมเงินรางวัล รวมกว่า 625,000 บาท

โดยในวันนี้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้มอบรางวัลแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการโรงสี ผู้ผลิตข้าวสารคุณภาพ ผู้ชนะการประกวดข้าวสารคุณภาพดีเด่นแห่งประเทศไทยประจำปี พ.ศ.2566 รวม 11 รางวัล ในประเภทต่างๆ อาทิ ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมไทย และข้าวสารเหนียวเมล็ดยาว สำหรับรายชื่อผู้ชนะการประกวดข้าวหอมมะลิของประเทศไทย ประจำปี 2566 ประกอบด้วย

ประเภทเกษตรกรรายบุคคล : ได้แก่

รางวัลชนะเลิศ นายณรงค์  จันทรุ่ง จ.อุบลราชธานี

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 นางจันทร์สมสบบง จ.พะเยา

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 นายสุเรียนสังข์ลาย จ.สุรินทร์

ประเภทสถาบันเกษตรกร :  ได้แก่

รางวัลชนะเลิศ วิสาหกิจชุมชนข้าวหอมมะลิสงเปลือย ม.5 ต.เมืองทอง จ.ร้อยเอ็ด

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. นครพนม จำกัด จ.นครพนม

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ศูนย์ข้าวชุมชนข้าวปลอดสารพิษตำบลแม่อ้อ จ.เชียงราย

โดยภายในงานได้มีการ MOU ซื้อ-ขายข้าวเปลือกหอมมะลิล่วงหน้าในราคานำตลาด สูงกว่าราคาตลาด 500 บาท/ตัน จำนวน 6 คู่ กว่า 343.4 ตัน ด้วย เพื่อสร้างความมั่นใจว่าข้าวที่มีคุณภาพสูงมีตลาดรองรับ ทั้งนี้สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์กรมการค้าภายใน www.dit.go.th หรือ Line@ MR.DIT

เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์เชิงรุกในการสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ และภารกิจของกองทุนประกันวินาศภัย และสร้างความเชื่อมั่นในระบบประกันภัย ให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ

ฟีเจอร์ Optical Character Recognition สำหรับภาษาไทย และ LLM ชุดใหม่จะช่วยให้องค์กรไทย ใช้ประโยชน์จาก AI และระบบอัตโนมัติเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจ

ขนทัพพอร์ตผลิตภัณฑ์ตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภคชาวไทยทุกช่วงวัย พร้อมแผนธุรกิจสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

เทรนด์การส่งบุตรหลานไปเรียนต่างประเทศของไทยมีมาอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่มีจุดหมายอยู่ที่อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับการยอมรับด้านการศึกษาต่อต่างประเทศ

จากความต้องการเรียนต่อต่างประเทศทำให้การเข้าเรียนในโรงเรียนนานาชาติเติบโต ส่งผลให้กว่า 10 ปีที่ผ่านมานี้มีการเปิดตัวของโรงเรียนนานาชาติในไทย จาก 10 กว่าแห่ง เพิ่มเป็นหลัก 100 และขยับเป็น 234 แห่งในปัจจุบัน กระจายตัวอยู่ในกรุงเทพฯ 122 แห่ง และในจังหวัดสำคัญ เช่น ภูเก็ต ชลบุรี นนทบุรี เป็นต้น  โดย หลักสูตรที่ได้รับการยอมรับ ได้แก่ ระบบอังกฤษ ที่เน้นการเรียนรู้วิชาการ โดยสามารถเลือกเรียน A-Level หรือ IB Diploma ตอน Year 12-13 (ขึ้นอยู่กับโรงเรียน), ระบบอเมริกา เรียนรู้ผ่านกิจกรรมควบคู่ไปกับวิชาการ

โรงเรียนนานาชาติในไทยเติบโตไม่หยุด

การส่งบุตรหลานเข้าโรงเรียนนานาชาติในไทยมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ตัวเลขจากสมาคมโรงเรียนนานาชาติแห่งประเทศไทย (International Schools Association of Thailand : ISAT) คาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดรวมของธุรกิจโรงเรียนนานาชาติในปี 2566 ประมาณ 70,000 ล้านบาท ขณะที่จำนวนนักเรียนในโรงเรียนนานาชาติ ขยายตัวเป็น 65,000-75,000 คน เติบโตเฉลี่ย 5-10% ต่อปี

กลุ่มเป้าหมายหลักมีทั้งครอบครัวคนไทยที่วางแผนส่งลูกเข้าเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนมุ่งหน้าสู่มหาวิทยาลัยระดับท็อปในต่างประเทศ  รวมทั้งจากครอบครัวผู้บริหารระดับสูงและระดับกลางจากต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาทำงานในไทยพร้อมครอบครัว และผู้ปกครองจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เมียนมา กัมพูชา รวมถึงจีน ที่มองไทยเป็นประเทศน่าอยู่ การศึกษาได้มาตรฐาน ค่าเรียนมีความเหมาะสม และค่าครองชีพไม่สูงมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับการส่งไปเรียนที่ประเทศอื่น  

Sixth Form เวลาทองของการศึกษา

มร.คริสโตเฟอร์ นิโคลส์ ครูใหญ่โรงเรียนนานาชาติเวลลิงตันคอลเลจ กรุงเทพ (Wellington College Bangkok)  กล่าวว่า Sixth Form หรือ Year 12 และ Year 13 นับเป็นช่วงเวลา 2 ปีที่สำคัญของการเรียนก่อนก้าวสู่การเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก  ที่เวลลิงตันคอลเลจ กรุงเทพ มีการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนอย่างเต็มที่ เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยที่ตนเลือก โรงเรียนจึงมีการช่วยเหลือนักเรียนในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การให้คำปรึกษาเรื่องการเลือกมหาวิทยาลัย การสมัครเข้าเรียน การเขียนเรียงความ การเตรียมตัวสัมภาษณ์ เพื่อให้นักเรียนมีความพร้อมมากที่สุด รวมถึงยังมีการสอนทักษะที่สำคัญที่ใช้ในการเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำ ซึ่งเป็นการเรียนแบบพึ่งพาตัวเอง และ อาศัยการคิดวิเคราะห์เชิงลึก ซึ่งถ้าหากนักเรียนทำได้ดี มีผลงานโดดเด่น ก็จะเป็นที่ต้องการของมหาวิทยาลัยชั้นนำ

จากการที่ โรงเรียนเวลลิงตันคอลเลจ เป็นสมาชิกของ CIS หรือ Council of International School ทำให้โรงเรียนมีการติดต่อโดยตรงกับ Admission ของมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก เป็นการช่วยนักเรียนด้านการเตรียมความพร้อมได้อย่างเต็มที่

Realise Your Potential ค้นพบศักยภาพที่เป็นตัวคุณ

เวลลิงตันคอลเลจ กรุงเทพ ใช้หลักสูตร A-Level ในระดับ Sixth Form เพราะ A-Level เป็นที่ยอมรับ อย่างกว้างขวางจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลกทั้งยุโรป อเมริกา เอเชีย หากคะแนน A-Level สูงตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดสามารถใช้คะแนน A-Level ยื่นเข้าได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องสอบเข้าอีก และมีการเปิดสอนคลอบคลุม ตั้งแต่วิทยาศาสตร์ ศิลปะ คณิตศาสตร์ การออกแบบและเทคโนโลยี, วิทยาการคอมพิวเตอร์, ธุรกิจ, การละคร, ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ และอื่นๆ รวม 20 สาขาวิชา

ขณะเดียวกันที่เวลลิงตันคอลเลจ กรุงเทพ ยังเน้นส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนได้ค้นพบศักยภาพของตัวเอง และมีความสุขกับการเรียน โดยมีครูผู้มากประสบการณ์ที่จบจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็น Oxford และ Cambridge มาสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กแต่ละคน ที่สำคัญ เวลลิงตันคอลเลจ เป็นโรงเรียนแรกของประเทศอังกฤษที่มีการนำ Happiness & Wellbeing หรือทักษะการมีชีวิตที่ดี เข้ามาอยู่ในหลักสูตร เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจ สอนให้รู้จักการแก้ไขปัญหาแต่ละด้าน ไปจนถึงการดูแลจิตใจของตัวเอง ซึ่งเป็นการพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตและการทำงานที่สำคัญ

นอกจากนี้ ตลอดการเรียนจะมีกิจกรรมส่งเสริมทักษะเพิ่มเติม ทั้งดนตรี กีฬา หรือ สายเทคโนโลยี โดยส่งเสริมทักษะในรูปแบบของ Personalised Education หรือ จัดการสอนตามความถนัดและศักยภาพของแต่ละคน โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายรองรับความสนใจที่หลากหลาย

1Million Baht Award โอกาสเข้าถึงแหล่งความรู้ระดับโลก

1 Million baht Award” เป็นอีกหนึ่งโอกาสทางการศึกษาที่เวลลิงตันคอลเลจ กรุงเทพ เปิดให้นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ Year 11 ในโรงเรียนนานาชาติ ที่สนใจอยากมาศึกษาต่อในระดับ Sixth Form (Year 12-13) ที่ เวลลิงตันคอลเลจ กรุงเทพ ด้วยการมอบทุนการศึกษา 1,000,000 บาท เพื่อให้นักเรียนได้ใช้เวลา 2 ปี ที่สำคัญในการพัฒนาศักยภาพได้อย่างเต็มที่ก่อนก้าวไปสู่การเรียนต่อในมหาวิทยาลัยระดับโลก

“ผมเชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนอยากมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูก ที่เวลลิงตันคอลเลจ กรุงเทพ เป็นโรงเรียนที่พร้อมจะช่วยผลักดันให้นักเรียนทุกคนได้แสดงศักยภาพออกมาได้อย่างเต็มที่”

1 Million baht Award โอกาสดี ๆ สำหรับนักเรียน Year 11 (อายุ 15-16 ปี)  ที่ไม่ควรปล่อยผ่าน ผู้ปกครองที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดการรับทุนการศึกษา และ นัดหมายเข้ามาเยี่ยมชมโรงเรียนได้ที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือโทร 02-0878888

เตรียมมอบข้อเสนอพิเศษให้ผู้สำรองห้องพักล่วงหน้า เพื่อสัมผัสประสบการณ์ครั้งใหม่ในระดับตำนาน

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี เดินหน้ามอบชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นรอบด้าน มอบสิทธิพิเศษให้แก่ผู้ถือบัตรเครดิต ttb ได้รับประสบการณ์สุดพิเศษอิ่มอร่อยเกินคุ้มอย่างต่อเนื่อง กับโปรโมชันสุดพิเศษ กิน 1,000.- ลด 100.- ในแคมเปญTasty Asian” มอบส่วนลด เมื่อใช้บริการ 9 ร้านอาหารเด็ดสไตล์เอเชียน ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2567 – 30 มิถุนายน 2567 นี้ ดังนี้

สิทธิพิเศษ 1: รับส่วนลด 100 บาท เมื่อรับประทานอาหารและมียอดใช้จ่ายครบ 1,000 บาทขึ้นไป / เซลล์สลิป ณ 9 ร้านอาหารชั้นนำที่ร่วมรายการ ได้แก่ ร้านบ้านหญิง ร้านขมิ้น คูซีน & คาเฟ่ ร้านเอี่ยวไถ่ ร้านฮิโตริ ชาบู ร้านมากุโระ ร้านแซมาอึล ร้านแซมาอึล เอ็กซ์เพรส ร้านซูชิโร่ ร้านทงชินราเมง จำกัดส่วนลด 1 สิทธิ์ / โต๊ะ / ใบเสร็จ / วัน / ร้าน โดยตรวจสอบจำนวนสิทธิ์ส่วนลดของแต่ละร้านก่อนใช้บริการ รับสิทธิ์ด้วยการสแกน QR Code ที่สื่อประชาสัมพันธ์แต่ละร้านเพื่อรับสิทธิ์ผ่านแอป ttb touch

สิทธิพิเศษ 2: แลกรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 12% เมื่อใช้คะแนนสะสมทุก 1,000 คะแนน และมียอดใช้จ่าย 1,000 บาทขึ้นไป / เซลล์สลิป สำหรับบัตรเครดิต ttb reserve infinite และ บัตรเครดิต ttb reserve signature ทุก 1,000 คะแนน รับเครดิตเงินคืน 120 บาท บัตรเครดิต ttb อื่น ๆ ทุก 1,000 คะแนน รับเครดิตเงินคืน 100 บาท จำกัดการแลกคะแนนสะสม 4,000 คะแนน / บัญชีบัตรหลัก / เดือน สูงสุด 12,000 คะแนน / บัญชีบัตรหลัก ตลอดรายการส่งเสริมการขาย เพียงส่ง SMS ทุกครั้งที่ต้องการแลกคะแนน พิมพ์ TSTY ตามด้วยคะแนนที่ต้องการแลกทุก 1,000 คะแนน แต่ไม่เกินยอดใช้จ่าย เว้นวรรค ตามด้วยหมายเลขบัตรเครดิต 12 หลักสุดท้าย ส่งมาที่หมายเลข 4806026 โดยทีทีบีส่งเสริมให้ลูกค้าใช้เท่าที่จำเป็น และผ่อนชำระคืนไหว เพื่อสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น

บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต ฉลองครบรอบ 73 ปี ในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ตอกย้ำความมั่งคงแข็งแกร่งแบรนด์ประกันระดับโลก นำทีมผู้บริหารระดับสูง พนักงาน และตัวแทนฝ่ายขาย ร่วมทำบุญตักบาตรอาหารแห้ง ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ จำนวน 18 รูป พร้อมนิมนต์พระครูสมุห์สมเกียรติ สุรญาโณ (พระอาจารย์กี้) เจ้าอาวาส วัดสบสวรรค์ ประพรมน้ำมนต์เสริมความสิริมงคลให้แก่บริษัทและพนักงานอีกด้วย

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรมเพื่อสังคมตลอดวัน อาทิ หน่วยบริจาคโลหิตเคลื่อนที่ สภากาชาดไทย ธนาคารขยะรีไซเคิล จาก Recycle Day ชุมชนแลกเปลี่ยนสินค้าแฟชั่น จาก Swoop Buddy จุดรับบริจาคอาหารเข้าธนาคารอาหาร จัดแพคถุงยังชีพ จากมูลนิธิ SOS ณ สำนักงานใหญ่ อาคารเพลินจิตทาวเวอร์

เจนเนอราลี่ กรุ๊ป ปรับโครงสร้างสายงานธุรกิจประกันภัยตามภูมิภาคเพื่อความคล่องตัวในด้านการบริหาร พร้อมแต่งตั้ง มร. วู้ดดี้ แบรดฟอร์ด (Mr. Woody Bradford) รับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เจนเนอราลี่ อินเวสต์เมนท์ โฮลดิ้ง (Generali Investments Holding หรือ GIH) โดยมี มร.ฟิลลิป ดอนเนท (Mr. Philippe Donnet) ประธานกรรมการบริหารกลุ่มเจนเนอราลี่ รับตำแหน่งประธานกรรมการของ เจนเนอราลี่ อินเวสต์เมนท์ โฮลดิ้ง

มร.อันเดรีย ซิโรนี ประธาน คณะกรรมการบริหารกลุ่มเจนเนอราลี่ อนุมัติโครงสร้างองค์กรใหม่ที่สะท้อนถึงธุรกิจหลักของกลุ่มฯ ตามที่ มร.ฟิลลิป ดอนเนท ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเจนเนอราลี่ เสนอต่อที่ประชุม โดยตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2567 เป็นต้นไป กลุ่มเจนเนอราลี่จะดำเนินงานในฐานะกลุ่มบริษัททางการเงินที่ให้บริการครบวงจร โดยมุ่งเน้น 2 ธุรกิจหลัก อันได้แก่ ภาคธุรกิจประกันภัย และการบริหารจัดการสินทรัพย์

การปรับโครงสร้างครั้งสำคัญนี้ มุ่งขับเคลื่อนการเติบโตและตอบสนองต่อเป้าหมายทางธุรกิจหลักทั้งธุรกิจประกันภัยและธุรกิจบริหารจัดการสินทรัพย์ให้ดียิ่งขึ้น สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ Lifetime Partner 24: Driving Growth ในการเป็นเพื่อนผู้เคียงข้างลูกค้าในทุกช่วงเวลาของชีวิต โดยการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับความสำเร็จและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้เจนเนอราลี่สามารถคว้าโอกาสในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับแผนกลยุทธ์ในระยะต่อไป

โดยแต่งตั้งให้ มร. จูลิโอ แตร์ซาริโอล (Mr. Giulio Terzariol) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานธุรกิจประกันภัย บริหารงานในส่วนของ “ธุรกิจประกันภัย” อันมีเป้าหมายในการยกระดับประสิทธิภาพธุรกิจประกันภัยทั่วโลก มุ่งเน้นการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เสริมสร้างความสอดคล้องของกลยุทธ์ และสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับตลาดมากขึ้น เพื่อให้โครงสร้างองค์กรมีความกระชับและคล่องตัว โดยได้บูรณาการหน่วยธุรกิจ DACH (เยอรมนี ออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์) และหน่วยธุรกิจต่างประเทศ จัดโครงสร้างให้เป็นส่วนหนึ่งของสายงานใหม่ ซึ่งประกอบด้วย 5 หน่วยธุรกิจระดับประเทศ ได้แก่ อิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมนี ออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ และ 3 ภูมิภาค ได้แก่ เมดิเตอร์เรเนียนและละตินอเมริกา ยุโรปตะวันออกตอนกลาง และเอเชีย โดยมี มร.ไฮเม่ อังคัสเตกุย เมลกาเรโจ (Mr. Jaime Anchústegui) ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารหน่วยธุรกิจต่างประเทศ จะได้รับการแต่งตั้งเป็นรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานธุรกิจประกันภัย และเป็นตัวแทนในการประสานงานกับหน่วยงานกำกับดูแลท้องถิ่น บริหารความร่วมมือเชิงกลยุทธ์และการร่วมทุน ตลอดจนขับเคลื่อนโครงการประกันภัยระดับโลก และ มร. จิโอวานนี่ ลิเวรานี่ (Mr. Giovanni Liverani) ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารหน่วยธุรกิจ DACH จะเข้ามารับบทบาทใหม่

ด้านธุรกิจ “เจนเนอราลี่ อินเวสต์เมนท์ โฮลดิ้ง” (Generali Investments Holding หรือ GIH) จะเข้ามาแทนที่หน่วยธุรกิจบริหารจัดการสินทรัพย์และความมั่งคั่งเดิม โดยจะดูแลกิจกรรมการบริหารจัดการสินทรัพย์ทั้งหมดทั่วโลกภายในกลุ่มบริษัท ยกเว้นบางส่วนที่ดำเนินการในประเทศจีน GIH มุ่งเน้นการมอบประสิทธิภาพและบริการระดับโลกให้แก่ลูกค้าเดิม ควบคู่ไปกับการขยายธุรกิจไปยังลูกค้าภายนอกกลุ่มบริษัททั่วโลก และเพื่อให้เป้าหมายนี้บรรลุผล GIH จะอาศัยทั้งศักยภาพการลงทุนที่มีอยู่เดิม เสริมด้วยศักยภาพใหม่ ๆ ที่ได้จากการเข้าซื้อกิจการของบริษัท คอนนิ่ง โฮลดิ้งส์ จำกัด (Conning Holdings Limited) และบริษัทในเครือ รวมถึงความแข็งแกร่งจากความร่วมมือระยะยาวกับ คาเธย์ ไลฟ์ (Cathay Life) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเข้าซื้อกิจการดังกล่าวที่เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2567 โดยมี มร. วู้ดดี้ แบรดฟอร์ด (Mr. Woody Bradford) ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารเจนเนอราลี่ อินเวสต์เมนท์ โฮลดิ้ง และจะยังคงบทบาทปัจจุบันในตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานคณะกรรมการของบริษัท คอนนิ่ง โฮลดิ้งส์ จำกัด ทางด้าน มร.ฟิลลิป ดอนเนท ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเจนเนอราลี่ จะได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการบริหารเจนเนอราลี่ อินเวสต์เมนท์ โฮลดิ้ง ขณะที่ มร. คาร์โล ตราบัตโตนี่ (Mr. Carlo Trabattoni) ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานบริหารจัดการสินทรัพย์และความมั่งคั่ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหารเจนเนอราลี่ อินเวสต์เมนท์ โฮลดิ้ง จะเข้ารับหน้าที่ใหม่ภายใต้สายงานบริหารสินทรัพย์

นอกเหนือจากนี้ ธนาคารเจนเนอราลี่ (Banca Generali) ภายใต้การบริหารของ มร.เจียน มาเรีย มอสซา (Mr. Gian Maria Mossa) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จะยังคงมุ่งเน้นการให้บริการที่ปรึกษาทางการเงินและโซลูชั่นการบริหารความมั่งคั่งอย่างคลอบคลุมต่อไป

มร .เดวิด ซิส (Mr. David Cis) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของกลุ่มเจนเนอราลี่ ซึ่งรายงานตรงต่อ มร.มาร์โก เซซานา (Mr. Marco Sesana) ผู้จัดการทั่วไป โดยจะเข้าร่วมในคณะกรรมการบริหารของกลุ่มฯ มุ่งเน้นยกระดับคุณภาพการบริการให้เป็นเลิศ ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ (AI) การจัดการกระบวนการทางธุรกิจ และการใช้แพลตฟอร์มเทคโนโลยีร่วม มาประยุกต์ใช้

ภายใต้โครงสร้างองค์กรใหม่นี้ สำนักงานใหญ่ของกลุ่มบริษัท (Group Head Office) ยังคงรับผิดชอบกำหนดยุทธศาสตร์หลักและเป้าหมายองค์กร ควบคู่ไปกับการบริหาร จัดการ และสนับสนุนหน่วยธุรกิจทุกด้านอย่างมีประสิทธิภาพ โดยปรับแผนให้เหมาะสมกับแต่ละธุรกิจ

มร.ฟิลลิป ดอนเนท ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเจนเนอราลี่ กล่าวว่า “กลุ่มเจนเนอราลี่ ประสบความสำเร็จในการก้าวสู่ระดับโลกด้านธุรกิจประกันภัยและการบริหารสินทรัพย์แบบครบวงจร ด้วยความแข็งแกร่งทางการเงิน ความมุ่งมั่นต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการคำนึงถึงความยั่งยืน ในส่วนของสายงานบริหารสินทรัพย์นั้น การเข้าซื้อกิจการของบริษัทคอนนิ่งตลอดจนถึงความร่วมมือระยะยาวกับ คาเธย์ ไลฟ์ ช่วยให้เราสามารถขยายขอบเขตผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุน เสริมฐานลูกค้าต่างชาติ มุ่งขยายธุรกิจกับลูกค้าภายนอกกลุ่มบริษัท และการเพิ่มประสิทธิภาพด้านช่องทางการจัดจำหน่ายในตลาดสำคัญต่างๆ  เสริมความแข็งแกร่งให้กลุ่มเจนเนอราลี่ เป็นหนึ่งใน 10 ผู้บริหารจัดการสินทรัพย์ชั้นนำของยุโรป สำหรับสายงานประกันภัย มุ่งเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มบริษัทฯ ในตลาดหลัก ผ่านความเป็นเลิศด้านเทคนิค การนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ และการปรับบริการให้ตรงกับความต้องการลูกค้าแม้ในสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งนี้ ด้วยโครงสร้างองค์กรใหม่ที่เน้นธุรกิจประกันภัยและการบริหารสินทรัพย์ และความคล่องตัวในการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น กลุ่มบริษัทฯ จะสามารถเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจในอนาคต สนับสนุนการกำหนดยุทธศาสตร์สำหรับแผนกลยุทธ์ในระยะยาว”

เจนเนอราลี่ กรุ๊ป ปรับโครงสร้างสายงานธุรกิจประกันภัยตามภูมิภาคเพื่อความคล่องตัวในด้านการบริหาร พร้อมแต่งตั้ง มร. วู้ดดี้ แบรดฟอร์ด (Mr. Woody Bradford) รับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เจนเนอราลี่ อินเวสต์เมนท์ โฮลดิ้ง (Generali Investments Holding หรือ GIH) โดยมี มร.ฟิลลิป ดอนเนท (Mr. Philippe Donnet) ประธานกรรมการบริหารกลุ่มเจนเนอราลี่ รับตำแหน่งประธานกรรมการของ เจนเนอราลี่ อินเวสต์เมนท์ โฮลดิ้ง

มร.อันเดรีย ซิโรนี ประธาน คณะกรรมการบริหารกลุ่มเจนเนอราลี่ อนุมัติโครงสร้างองค์กรใหม่ที่สะท้อนถึงธุรกิจหลักของกลุ่มฯ ตามที่ มร.ฟิลลิป ดอนเนท ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเจนเนอราลี่ เสนอต่อที่ประชุม โดยตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2567 เป็นต้นไป กลุ่มเจนเนอราลี่จะดำเนินงานในฐานะกลุ่มบริษัททางการเงินที่ให้บริการครบวงจร โดยมุ่งเน้น 2 ธุรกิจหลัก อันได้แก่ ภาคธุรกิจประกันภัย และการบริหารจัดการสินทรัพย์

การปรับโครงสร้างครั้งสำคัญนี้ มุ่งขับเคลื่อนการเติบโตและตอบสนองต่อเป้าหมายทางธุรกิจหลักทั้งธุรกิจประกันภัยและธุรกิจบริหารจัดการสินทรัพย์ให้ดียิ่งขึ้น สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ Lifetime Partner 24: Driving Growth ในการเป็นเพื่อนผู้เคียงข้างลูกค้าในทุกช่วงเวลาของชีวิต โดยการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับความสำเร็จและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้เจนเนอราลี่สามารถคว้าโอกาสในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับแผนกลยุทธ์ในระยะต่อไป

โดยแต่งตั้งให้ มร. จูลิโอ แตร์ซาริโอล (Mr. Giulio Terzariol) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานธุรกิจประกันภัย บริหารงานในส่วนของ “ธุรกิจประกันภัย” อันมีเป้าหมายในการยกระดับประสิทธิภาพธุรกิจประกันภัยทั่วโลก มุ่งเน้นการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เสริมสร้างความสอดคล้องของกลยุทธ์ และสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับตลาดมากขึ้น เพื่อให้โครงสร้างองค์กรมีความกระชับและคล่องตัว โดยได้บูรณาการหน่วยธุรกิจ DACH (เยอรมนี ออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์) และหน่วยธุรกิจต่างประเทศ จัดโครงสร้างให้เป็นส่วนหนึ่งของสายงานใหม่ ซึ่งประกอบด้วย 5 หน่วยธุรกิจระดับประเทศ ได้แก่ อิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมนี ออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ และ 3 ภูมิภาค ได้แก่ เมดิเตอร์เรเนียนและละตินอเมริกา ยุโรปตะวันออกตอนกลาง และเอเชีย โดยมี มร.ไฮเม่ อังคัสเตกุย เมลกาเรโจ (Mr. Jaime Anchústegui) ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารหน่วยธุรกิจต่างประเทศ จะได้รับการแต่งตั้งเป็นรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานธุรกิจประกันภัย และเป็นตัวแทนในการประสานงานกับหน่วยงานกำกับดูแลท้องถิ่น บริหารความร่วมมือเชิงกลยุทธ์และการร่วมทุน ตลอดจนขับเคลื่อนโครงการประกันภัยระดับโลก และ มร. จิโอวานนี่ ลิเวรานี่ (Mr. Giovanni Liverani) ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารหน่วยธุรกิจ DACH จะเข้ามารับบทบาทใหม่

ด้านธุรกิจ “เจนเนอราลี่ อินเวสต์เมนท์ โฮลดิ้ง” (Generali Investments Holding หรือ GIH) จะเข้ามาแทนที่หน่วยธุรกิจบริหารจัดการสินทรัพย์และความมั่งคั่งเดิม โดยจะดูแลกิจกรรมการบริหารจัดการสินทรัพย์ทั้งหมดทั่วโลกภายในกลุ่มบริษัท ยกเว้นบางส่วนที่ดำเนินการในประเทศจีน GIH มุ่งเน้นการมอบประสิทธิภาพและบริการระดับโลกให้แก่ลูกค้าเดิม ควบคู่ไปกับการขยายธุรกิจไปยังลูกค้าภายนอกกลุ่มบริษัททั่วโลก และเพื่อให้เป้าหมายนี้บรรลุผล GIH จะอาศัยทั้งศักยภาพการลงทุนที่มีอยู่เดิม เสริมด้วยศักยภาพใหม่ ๆ ที่ได้จากการเข้าซื้อกิจการของบริษัท คอนนิ่ง โฮลดิ้งส์ จำกัด (Conning Holdings Limited) และบริษัทในเครือ รวมถึงความแข็งแกร่งจากความร่วมมือระยะยาวกับ คาเธย์ ไลฟ์ (Cathay Life) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเข้าซื้อกิจการดังกล่าวที่เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2567 โดยมี มร. วู้ดดี้ แบรดฟอร์ด (Mr. Woody Bradford) ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารเจนเนอราลี่ อินเวสต์เมนท์ โฮลดิ้ง และจะยังคงบทบาทปัจจุบันในตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานคณะกรรมการของบริษัท คอนนิ่ง โฮลดิ้งส์ จำกัด ทางด้าน มร.ฟิลลิป ดอนเนท ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเจนเนอราลี่ จะได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการบริหารเจนเนอราลี่ อินเวสต์เมนท์ โฮลดิ้ง ขณะที่ มร. คาร์โล ตราบัตโตนี่ (Mr. Carlo Trabattoni) ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานบริหารจัดการสินทรัพย์และความมั่งคั่ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหารเจนเนอราลี่ อินเวสต์เมนท์ โฮลดิ้ง จะเข้ารับหน้าที่ใหม่ภายใต้สายงานบริหารสินทรัพย์

นอกเหนือจากนี้ ธนาคารเจนเนอราลี่ (Banca Generali) ภายใต้การบริหารของ มร.เจียน มาเรีย มอสซา (Mr. Gian Maria Mossa) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จะยังคงมุ่งเน้นการให้บริการที่ปรึกษาทางการเงินและโซลูชั่นการบริหารความมั่งคั่งอย่างคลอบคลุมต่อไป

มร .เดวิด ซิส (Mr. David Cis) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของกลุ่มเจนเนอราลี่ ซึ่งรายงานตรงต่อ มร.มาร์โก เซซานา (Mr. Marco Sesana) ผู้จัดการทั่วไป โดยจะเข้าร่วมในคณะกรรมการบริหารของกลุ่มฯ มุ่งเน้นยกระดับคุณภาพการบริการให้เป็นเลิศ ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ (AI) การจัดการกระบวนการทางธุรกิจ และการใช้แพลตฟอร์มเทคโนโลยีร่วม มาประยุกต์ใช้

ภายใต้โครงสร้างองค์กรใหม่นี้ สำนักงานใหญ่ของกลุ่มบริษัท (Group Head Office) ยังคงรับผิดชอบกำหนดยุทธศาสตร์หลักและเป้าหมายองค์กร ควบคู่ไปกับการบริหาร จัดการ และสนับสนุนหน่วยธุรกิจทุกด้านอย่างมีประสิทธิภาพ โดยปรับแผนให้เหมาะสมกับแต่ละธุรกิจ

มร.ฟิลลิป ดอนเนท ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเจนเนอราลี่ กล่าวว่า “กลุ่มเจนเนอราลี่ ประสบความสำเร็จในการก้าวสู่ระดับโลกด้านธุรกิจประกันภัยและการบริหารสินทรัพย์แบบครบวงจร ด้วยความแข็งแกร่งทางการเงิน ความมุ่งมั่นต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการคำนึงถึงความยั่งยืน ในส่วนของสายงานบริหารสินทรัพย์นั้น การเข้าซื้อกิจการของบริษัทคอนนิ่งตลอดจนถึงความร่วมมือระยะยาวกับ คาเธย์ ไลฟ์ ช่วยให้เราสามารถขยายขอบเขตผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุน เสริมฐานลูกค้าต่างชาติ มุ่งขยายธุรกิจกับลูกค้าภายนอกกลุ่มบริษัท และการเพิ่มประสิทธิภาพด้านช่องทางการจัดจำหน่ายในตลาดสำคัญต่างๆ  เสริมความแข็งแกร่งให้กลุ่มเจนเนอราลี่ เป็นหนึ่งใน 10 ผู้บริหารจัดการสินทรัพย์ชั้นนำของยุโรป สำหรับสายงานประกันภัย มุ่งเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มบริษัทฯ ในตลาดหลัก ผ่านความเป็นเลิศด้านเทคนิค การนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ และการปรับบริการให้ตรงกับความต้องการลูกค้าแม้ในสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งนี้ ด้วยโครงสร้างองค์กรใหม่ที่เน้นธุรกิจประกันภัยและการบริหารสินทรัพย์ และความคล่องตัวในการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น กลุ่มบริษัทฯ จะสามารถเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจในอนาคต สนับสนุนการกำหนดยุทธศาสตร์สำหรับแผนกลยุทธ์ในระยะยาว”

Page 3 of 604
X

Right Click

No right click