เอสซีจี โดย บริษัทผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด (CPAC) ร่วมกับกระทรวง มหาดไทย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงนามความร่วมมือ (MOU) ทดลองใช้เทคโนโลยีชีวภัณฑ์ช่วยควบคุมปริมาณผักตบชวาใน 10 จังหวัดที่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ เพื่อแก้ไขปัญหาผักตบชวาในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่แพร่ขยายพันธุ์รวดเร็ว โดยชีวผลิตภัณฑ์จะช่วยควบคุมการแพร่กระจายและลดปริมาณผักตบชวาในแม่น้ำ ทำให้ใบไหม้ และแห้งตาย ง่ายต่อการจัดเก็บ สามารถลดปริมาณผักตบชวาได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต และพืชอื่น ๆ  ทั้งนี้ จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ นี้ เป็นต้นไป

ความร่วมมือกำจัดผักตบชวา เป็น 1 ใน 6 แผนแม่บทข้อเสนอการแก้ไขปัญหาในเชิงภาพรวมของโครงการแม่น้ำเจ้าพระยาน่ามอง ปราศจากขยะ สร้างชีวิตประชาชนดีขึ้น ซึ่ง เอสซีจี โดย CPAC ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพลิกฟื้นชีวิตให้กับแม่น้ำเจ้าพระยา และพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนที่อาศัยบริเวณริมแม่น้ำลำคลองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน โดย 6 แม่บท ประกอบด้วย

  1. การเชื่อมโยงการท่องเที่ยวตลอดแม่น้ำเจ้าพระยา
  2. การจัดการผักตบชวา และวัชพืชต้นไม้เล็กริมน้ำ
  3. การสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง หรือถนนทำหน้าที่เป็นเขื่อน
  4. การบริหารคุณภาพน้ำให้ผ่านตามมาตรฐาน
  5. การขุดลอกดินทรายตะกอนที่สันดอนแม่น้ำ
  6. การศึกษาโครงการแก้มลิงขนาดใหญ่

ในภาพ นายชูโชค ศิวะคุณากร Head of Environment Social Governance & Business Stakeholder Engagement, CPAC ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจกับรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย ผศ.ดร.อาร์ม อันอาตม์งาม รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

ม.ศรีปทุม จัดเวทีแข่งขัน “ SPU AI Prompt Mini Hackathon 2024” ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอาชีวศึกษา ครั้งแรกในประเทศไทย

เป็นที่ประจักษ์ดีว่าในยุคดิจิทัล “นวัตกรรม” ไม่ได้แค่เพียงเปลี่ยนโลกธุรกิจ และยังเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรม และสังคมได้อย่างยั่งยืน บทบาทของสถาบันการศึกษา จึงหาใช่แค่แหล่งรวมองค์ความรู้เท่านั้น หากแต่เป็นจิกซอว์สำคัญของการบ่มเพาะสร้างเมล็ดพันธุ์นักนวัตกรรมรุ่นใหม่ สร้างรากฐานนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจและสังคมของประเทศที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

เกือบ 6 ทศวรรษ ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ยึดมั่นพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนต่าง ๆ ให้ทันยุคเข้าสมัย สร้างบุคลากรพัฒนาประเทศ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสร้างสรรค์งานวิจัย และนวัตกรรมสู่สังคมโลก โดยทาง รองศาสตราจารย์ ดร.อนุวัฒน์ จางวนิชเลิศ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ สจล. เผยถึงแนวทางในการบริหารจัดการด้านวิชาการ หลักสูตรของ สจล. ว่า

เน้นการพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความสามารถทางด้านนวัตกรรมเพื่อให้ตอบโจทย์สังคม การทำงานในอนาคต ซึ่งจะทำได้เช่นนี้ต้องพัฒนาผสานความร่วมมือหลายฝ่าย พัฒนาหลักสูตรที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น ร่วมถึงสร้างหลักสูตรใหม่ ๆ ที่ต้องได้รับการยอมรับทั้งในประเทศ และระดับนานาชาติด้วย”

ทั้งนี้ “รองศาสตราจารย์ ดร.อนุวัฒน์” ย้ำว่าเพื่อสร้างนักศึกษาที่ตอบโจทย์สังคมตลาดแรงงานในยุคปัจจุบัน การพัฒนาหลักสูตร จึงไม่ใช่เกิดจากแค่องค์ความรู้ของคณะอาจารย์ผู้สอนเท่านั้น แต่ทางอาจารย์ผู้สอนจะร่วมมือกับผู้ประกอบการ หรือ ผู้ที่มีคุณวุฒิจากภายนอกที่ได้รับการยอมรับในวงกว้าง มาร่วมกันแชร์ไอเดีย วิจัย วิเคราะห์ถึงความเหมาะสมของหลักสูตรการเรียนการสอนนั้น ๆ และมีภาคปฏิบัติที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้สัมผัสถึงรูปแบบการทำงานจริง ๆ กับผู้ประกอบการ ตั้งแต่เข้าเรียนชั้นปีที่1 เพื่อที่จะได้เข้าใจถึงการทำงาน เพราะหากรอให้เรียนใกล้จบแล้วไปฝึกงานก็อาจจะช้าเกินไปในยุคนี้ ผลลัพธ์จากการร่วมพัฒนาหลักสูตรดังที่กล่าวข้างต้น ทำให้นักศึกษาที่จบจากทาง สจล. มีความรู้ความสามารถ กลายเป็นที่ต้องการตัวของภาคธุรกิจนวัตกรรมต่าง ๆ เมื่อใกล้เรียนจบก็มีการจองตัวเพื่อเข้าทำงานจำนวนมาก

การที่ทาง สจล. พัฒนาหลักสูตรไม่ยึดทฤษฎีแบบเดิม ๆ แต่ปรับเปลี่ยนให้ทันโลกความเป็นจริงอยู่เสมอ เปิดโอกาสให้นักศึกษาสัมผัสบรรยากาศการทำงานจริง ๆ กล้าลองนำความรู้ งานวิจัย มาประยุกต์สร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์แก้ปัญหาในการทำงานบนสนามจริง เมื่อเรียนจบนักศึกษาก็จะมีศักยภาพพร้อมกับการทำงานเต็มที่ จบออกมาภายใต้การสร้างนวัตกรรมจากงานวิจัยที่เกิดขึ้นจริงได้ ไม่ใช่แค่ทฤษฎีบนกระดาษ ย่อมสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ประกอบการ ก่อเกิดการจ้างงานในอนาคตนั่นเอง”

เดินหน้าเติมเต็มองค์ความรู้ สร้างหลักสูตร 2 ปริญญา และนานาชาติ

ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.อนุวัฒน์ เผยว่า สจล. ไม่เพียงเดินหน้าร่วมมือกับภาคธุรกิจ แต่ได้ผนึกกำลังกับหน่วยงานการศึกษาทั้งมหาวิทยาลัยไทยชั้นนำอื่น ๆ มหาวิทยาลัยในต่างประเทศ พัฒนาหลักอบรมทั้งระยะยาว ระยะสั้น จนทำให้วันนี้ สจล. กลายเป็นหนึ่งในสถาบันอุดมศึกษาที่มีหลักสูตรที่เติบโตอย่างมาก โดยปัจจุบันได้มีการเปิด หลักสูตร 2 ปริญญา (Double Degree) และหลักสูตรนานาชาติ ขึ้นมากมาย

รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ สจล. กล่าวถึงแนวคิดการทำหลักสูตร 2 ปริญญาหลักสูตรทั่วไปทั้งในไทย และต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นแบบหลักสูตรเดียวเป็นหลัก แต่จากการที่ สจล. ได้ทำงานร่วมกับผู้ประกอบการ และภาคสังคมต่าง ๆ รวมถึงใส่ใจความต้องการของนักศึกษา จนพบว่าเด็กรุ่นใหม่มีแนวคิดการเรียนสมัยใหม่มากขึ้น โดยเด็กรู้สึกว่าการเรียน 4 ปี ไม่อยากอยู่ในกรอบเดิม ๆ อยากมีความรู้อื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ทำงานร่วมกันได้จริง ในขณะเดียวกันตลาดงานเองเจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่ก็ต้องการคนที่มีความรู้ความสามารถรอบด้านมากขึ้น

เช่นนี้แล้วทางสถาบันจึงออกแบบหลักสูตร 2 ปริญญาขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของทุกฝ่าย โดยหลักสูตรนี้จะเป็นการผสมผสานความรู้สองด้านเข้าด้วยกัน โดยมีแกนกลางที่เชื่อมโยงความรู้ ไม่ใช่การเรียนแบบสะเปะสะปะ แต่เนื้อหารายวิชาจะมีความสอดคล้องกัน ยกตัวอย่างเช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ซึ่งปกติเรียน 4 ปี และ คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม เรียน 5 ปี พอนำมาทำหลักสูตร 2 ปริญญาร่วมกันจะเหลือเรียน 5 ปี เท่านั้น เท่ากับว่าต้องออกแบบหลักสูตรขึ้นมาใหม่ไม่ให้บีบกรอบการเรียนมากเกินไป ซึ่งการทำให้เกิดความสมดุลของหลักสูตร รองศาสตราจารย์ ดร.อนุวัฒน์ ยอมรับ ไม่ง่าย แต่ถ้าทำได้ก็จะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษา เพราะเรียนจบแล้ว สามารถไปทำงานได้หลากหลายมากขึ้น อย่างการเรียนวิศวกรรมโยธา จะทำให้นักศึกษาเข้าใจเรื่องของโครงสร้างการคำนวณต่าง ๆ เข้าใจหลักการในการออกแบบ ส่วนสถาปัตยกรรม เรียนเพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ซึ่งทั้งสองคณะฯ นี้ช่วยเสริมความรู้ซึ่งกันและกันได้ ปัจจุบันหลักสูตร 2 ปริญญาที่รวมสองสาขาวิชาจากสองคณะฯ นี้เข้าด้วยกัน มี สจล. นำร่อง

โดยส่วนใหญ่การทำหลักสูตร 2 ปริญญา จะใช้เวลาในการพัฒนาราว 6 เดือน ถึง 1 ปี แต่ สจล. ใช้เวลาราว 2-3เดือน เพราะที่ผ่านมาทาง สจล. พัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง มีความร่วมมือที่ดีกับสถาบันการศึกษาในไทย และต่างประเทศ การพัฒนาหลักสูตรให้ตอบโจทย์ความต้องการของนักศึกษาและสังคมจึงทำได้อย่างรวดเร็ว แต่กระนั้นก็ต้องคำนึงถึงโอกาสความเป็นไปได้ของการสร้างหลักสูตรด้วย ไม่ใช่ว่าทุกคณะจะมาร่วมกันได้ ต้องมีแกนกลางรายวิชาที่ไปด้วยกันได้ หลักสูตรนั้น ๆ ถึงจะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาจริง ๆ

ปัจจุบันหลักสูตร 2 ปริญญา ของทาง สจล. มีทั้งที่เป็นจากความร่วมมือของคณะภายใน สจล. อย่างหลักสูตรวิศวกรรมเกษตรอัจฉริยะ (AGRINOVATOR) โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะเทคโนโลยีการเกษตร / หลักสูตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา  และ คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม/ หลักสูตร AgriBiz-Econ ของคณะคณะเทคโนโลยีการเกษตร และคณะบริหารธุรกิจ

และมีแบบที่ความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาภายในประเทศอย่าง การทำหลักสูตรปริญญาตรีควบปริญญาโท สาขาการจัดการวิศวกรรมและการเป็นผู้ประกอบการ และเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. และสถาบันบัณฑิต

พัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) จากปกติเรียนปริญญาตรีควบปริญญาโท จะใช้เวลา 6 ปี แต่เมื่อมาพัฒนาร่วมกันแบบนี้ก็จะใช้เวลาเรียนเพียง 5 ปี ซึ่งก็จะตอบโจทย์สังคม บัณฑิตก็จะสามารถออกมาทำงานได้เร็วขึ้น

ร่วมถึงสถาบันเองได้ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่างประเทศ อย่างการทำ หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ (นานาชาติ) ในระดับปริญญาตรี โดยวิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอินฮา ประเทศเกาหลีใต้ เหล่านี้เป็นต้น

“ล่าสุดได้มีการพูดคุย เจแปนแอร์ไลน์ หรือแม้แต่สายการบินในไทยเอง ต่างก็ให้ความสนใจในการรับนักศึกษาจาก สจล. ไปร่วมฝึกงานทำงาน เพราะเรามีหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ (นานาชาติ) ที่ทำร่วมกับวิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ นี่คือตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาหลักสูตรแบบร่วมกับสถาบันที่ได้รับการยอมรับ และร่วมมือกับภาคธุรกิจผู้ประกอบการจริง ๆ ทำให้นักศึกษามีโอกาสมากขึ้นในการต่อยอดทางอาชีพในอนาคต”

“ส่วนโอกาสที่ในอนาคต สจล. จะมีการปรับเป็นการเรียนการสอนแบบหลักสูตร 2 ปริญญา ทั้งหมดก็มีความเป็นไปได้ เพราะตอนนี้เด็กไทยมีความต้องการที่หลากหลายมากขึ้น ไม่ใช่แค่เรียนจบ ออกมาแล้วทำงานได้อย่างเดียว แต่ต้องเป็นมัลติสกิล คือ ทำงานได้อย่างหลากหลาย เด็กบางคนอยากเป็นผู้ประกอบการ มีความรู้บิสซิเนสไม่พอแต่ต้องมีความรู้วิทยาศาสตร์ด้วย เพราะสามารถนำวิทยาศาสตร์ไปพัฒนาต่อยอดสร้างนวัตกรรมสินค้าใหม่ ๆ ของตัวเองขึ้นมาได้”

นอกจากเรื่องของ หลักสูตร 2 ปริญญา ที่ผ่านมาทาง สถาบันฯ ก็ให้ความสำคัญกับการพัฒนาหลักสูตรนานาชาติด้วย โดยตอนนี้มีกว่า 20 หลักสูตรแล้ว เช่น หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (นานาชาติ) คณะแพทยศาสตร์ / หลักสูตร Doctor of Dental Surgery คณะทันตแพทยศาสตร์ / หลักสูตร Business Information Technology คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ / หลักสูตร Culinary Science and Foodservice Management (International program) คณะอุตสาหกรรมอาหาร / หลักสูตร Industrial and Engineering Chemistry (International Program) คณะวิทยาศาสตร์ / หลักสูตร B.Eng. Chemical Engineering (International Program) คณะวิศวกรรมศาสตร์

รองศาสตราจารย์ ดร.อนุวัฒน์ เชื่อว่า หลักสูตรนานาชาติไม่ใช่แค่ให้นักศึกษามีความรู้ในระดับนานาชาติ มีโอกาสทำงานต่างประเทศมากขึ้น แต่เป็นการพัฒนาสังคมด้วย เพราะการที่มีนักศึกษาต่างชาติมาเรียนด้วย และการที่นักศึกษาไทยได้ไปเรียนในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นทางยุโรป หรือ ญี่ปุ่น จีนเอง เด็กไทยเราก็จะได้เรียนรู้ภาษา และวัฒนธรรมของชาติอื่น ๆ ไปพร้อมกัน ซึ่งถือเป็นประโยชน์อย่างมากเวลาไปทำงานที่ต่างประเทศ และการเรียนหลักสูตรนานาชาติของ สจล. ซึ่งได้รับการยอมรับในต่างประเทศ ก็ช่วยให้นักศึกษามีโอกาสทำงานในต่างประเทศมากขึ้น

สร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ ทุกระดับการศึกษาของไทย

ปัจจุบัน นอกจาก สจล. จะได้รับการยอมรับในวงการศึกษาไทยในฐานะสถาบันผู้นำทางด้านนวัตกรรมแล้ว ยังได้รับความเชื่อมั่นในระดับนานาชาติ จนเกิดเป็นความร่วมมือในการจัดตั้งสถาบันการศึกษาเฉพาะทางขึ้นมาเพื่อผลิตบัณฑิต ผู้เชี่ยวชาญรองรับอุตสาหกรรม และโลกอนาคต โดยครอบคลุมทุกระดับชั้นการศึกษา ซึ่งจะช่วยให้เด็กไทยเรียนรู้ศึกษาทางด้านนวัตกรรมที่สามารถต่อยอดนำมาพัฒนาสังคม และประเทศได้ตลอดทุกช่วงอายุ

ล่าสุด ทาง สจล. ได้ร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ จัดตั้งสถาบันการศึกษาขึ้นมาด้วยกัน 4 สถาบันคือ มหาวิทยาลัย CMKL, 42 Bangkok, โรงเรียนสาธิตนานาชาติพระจอมเกล้า และสถาบันโคเซ็นแห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง (KOSEN - KMITL)

สำหรับ มหาวิทยาลัย CMKL ทาง รองศาสตราจารย์ ดร.อนุวัฒน์ เผยว่า เกิดขึ้นจากเป็นความร่วมมือ ระหว่าง สจล. กับ มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน ประเทศสหรัฐอเมริกา CMKL ถือเป็นรากฐานของการให้ความรู้ด้าน AI ที่เปิดรับตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ถึง ปริญญาเอก วัตถุประสงค์ของ CMKL คือ การพัฒนางานวิจัย นำนวัตกรรมมาช่วยแก้ไขปัญหาที่ประเทศไทย ซึ่งหลักการเรียนการสอนต่างๆ ก็จะเป็นมาตรฐานเช่นเดียวกับที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน

“ปัจจุบัน CMKL เปิดสอนอยู่ที่ Lifelong Learning Center ของทาง KMITL ตอนนี้มีนักศึกษาเข้าเรียนมาก มีหลักสูตรที่ตอบสนองเรื่องของ AI โดยตรง ซึ่งสถาบันแห่งนี้นอกจากผลิตบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีออกสู่ตลาดแล้ว ยังช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับทาง สจล. ในเรื่องของงานวิจัย และก็ช่วยพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ของสถาบันด้วย เนื่องจาก คาร์เนกีเมลลอน เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก การที่มาร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับทาง สจล. ก็ช่วยในเรื่องของการวิจัยและการพัฒนาต่างๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัลของไทยด้วย”

ส่วน 42 Bangkok เกิดขึ้นจากเป็นความร่วมมือ ระหว่าง สจล.กับ Ecole 42 Paris ประเทศฝรั่งเศส เป็นสถาบันโปรแกรมเมอร์ระดับโลก โดยยุคดิจิทัลนี้ต้องยอมรับว่าเรื่องของ Coding สำคัญ ซึ่งทาง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ก็พยายามโฟกัสเรื่องนี้ ซึ่งทาง สจล. จึงจัดตั้ง 42 Bangkok ขึ้นมาเพื่อพัฒนาการทำ Coding ในไทย โดยเปิดรับผู้ที่สนใจตั้งแต่อายุ 18 ปี คือเด็กที่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาแล้วมีทักษะทางด้านนี้อยากเรียนรู้พัฒนาให้เป็นผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะก็สามารถมาเรียนได้ ซึ่งรูปแบบการเรียนจะเป็นในลักษณะของการ Coaching คือ จะเรียนกันเป็นกลุ่มก้อน ช่วยเหลือแนะนำกันและกัน โดย หลักสูตรนี้หากเรียนครบ 21 ระดับ ก็จะได้รับประกาศนียบัตร Ecole 42 Paris แต่ที่ผ่านมาพบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่ถูกทาบทามไปทํางาน ตั้งแต่ยังไม่จบระดับที่ 21 เพราะด้วยความสามารถเป็นที่ต้องการของตลาด ตอบโจทย์ภาคของสังคม ธุรกิจได้จริง

สำหรับ โรงเรียนสาธิตนานาชาติพระจอมเกล้า เป็นโรงเรียนนานาชาติแห่งแรกที่มุ่งเน้นการเรียนด้านวิทยาศาสตร์ เป็นพิเศษ โดยมีคอร์สเรียน AP ตามหลักสูตรประเทศสหรัฐอเมริกา เน้นการเรียนด้านวิทยาศาสตร์ ตลอดจนคณิตศาสตร์และเทคโนโลยี (STEM) บรรยากาศการเรียนจะสนับสนุนให้นักเรียนพยายามเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ และความพิเศษของนักเรียนที่นี่อย่างหนึ่งคือสามารถใช้สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ของนักศึกษาระดับปริญญาของ สจล. ได้ เช่น ห้องสมุด หอพัก สนามกีฬา ตลอดจนบางวิชาจะเป็นอาจารย์ของ สจล.เองที่เข้าร่วมสอนด้วย นอกจากนี้นักเรียนสามารถเลือกเรียน Track ที่เรียกว่า “Pathway to KMITL” เข้าสู่การเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีที่ สจล. ได้ด้วย

นอกจากพัฒนาองค์ความรู้ด้านดิจิทัล เทคโนโลยีในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษา และ ภาคประชาชนทั่วไปแล้ว ทาง สจล. ก็มีรองรับการพัฒนาในระดับอาชีวะศึกษา ระดับอนุปริญญาด้วยเช่นกัน โดยได้รับมอบหมายจากรัฐบาลไทยที่ร่วมมือกับรัฐบาลญี่ปุ่น ก่อตั้ง สถาบันโคเซ็นแห่ง สจล. ขึ้นมา ตามโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรม เทคโนโลยี และนวัตกรรม สนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค โดยมีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. เป็นฝ่ายขับเคลื่อนดำเนินการ เปิดสอนในหลักสูตรอนุปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ ในหลักสูตรวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และในปี 2567 จะเปิดหลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดงาน

“หลักสูตรที่สอนใน สถาบันโคเซ็นแห่ง สจล. จะเน้นเป็นการเรียนที่มาพร้อมภาคปฏิบัติ เพื่อให้เด็กที่เข้ามาเรียนได้ปูพื้นฐานความรู้ที่ดี ต่อยอดด้านทักษะ มีฝีมือ จนสามารถทำงานได้ตรงกับที่ตลาดต้องการ ซึ่งเด็กกลุ่มนี้จริง ๆ มีความสามารถเก่งเฉพาะด้าน ถ้าจบในหลักสูตรอนุปริญญา แล้วต้องการทำงานไปด้วย และเรียนต่อไปด้วย ทาง สจล. ก็พร้อมสนับสนุนโดยสามารถมาเรียนต่อในระดับปริญญาตรีที่ สจล. ได้ด้วย”

ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.อนุวัฒน์ ซึ่งคลุกคลีอยู่ในวงการศึกษามานาน เชื่อว่า หลักสูตรการเรียนการสอน คือหนึ่งในสิ่งสำคัญที่จะช่วยสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพออกสู่สังคม กำลังคนที่มีศักยภาพจะสร้างประโยชน์ต่อประเทศชาติได้มหาศาล ดังนั้น สจล. ในฐานะที่เป็นหนึ่งในสถาบันอุดมศึกษาที่มุ่งมั่นให้การศึกษาและวิจัยเพื่อผลิตทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จึงเดินหน้าพัฒนาหลักสูตรให้ตอบโจทย์สังคม มุ่งเน้นการสอนที่ให้นักศึกษาได้รู้จัก คิด วิเคราะห์ กล้าคิด กล้าแสดงออก และรู้จักการทำวิจัยและนำมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศในยุคดิจิทัลได้จริง


เรื่อง / ภาพ : กองบรรณาธิการ

นายปริญญา กิตติการุญจิต กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บางจากรีเทล จำกัด เปิดเผยว่า แบรนด์อินทนิล ฉลองครบรอบ 18 ปี ก้าวสู่ปีที่ 19 มุ่งมั่นเป็นผู้นำแบรนด์กาแฟไทยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco Coffee Brand) ปัจจุบันอินทนิลมีจำนวนมากกว่า 1,000 สาขาในประเทศไทย รวมถึงในอีก 2 ประเทศคือกัมพูชาและลาว และกำลังจะขยายสาขาในต่างประเทศเพิ่มอีกหลังจากสถานการณ์ COVID คลี่คลายในปีนี้

ความสำเร็จตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มาจากการที่ลูกค้าให้การสนับสนุนและไว้วางใจ ในแบรนด์อินทนิลอย่างต่อเนื่อง เพื่อแทนคำขอบคุณ อินทนิลจึงขอมอบของขวัญพิเศษสำหรับลูกค้าทุกท่าน ได้แก่

  • โปรโมชั่นใหญ่สุดพิเศษ “ฉลอง 18 ปี ใช้เพียง 100 คะแนน+เงิน 18 บาท รับทันทีเครื่องดื่มอินทนิลทุกเมนู” เพื่อแทนคำขอบคุณสำหรับลูกค้าอินทนิลที่เป็นสมาชิกบางจากกรีนไมลส์ ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 6 ล้านสมาชิก ที่เคียงข้างกันมาตลอดระยะเวลา 18 ปี อินทนิลจึงขอมอบโปรโมชั่นพิเศษตอบแทนลูกค้า ด้วยการใช้คะแนนบางจากกรีนไมลส์เพียง 100 คะแนน รับสิทธิ์แลกซื้อเครื่องดื่มอินทนิลทุกเมนูในราคา 18 บาท ยกทัพกันมามากกว่า 80 เมนูร้อน เย็น และปั่น อาทิเช่น เมนูกาแฟยอดฮิต อย่างอเมริกาโน่ หรือ เอสเพรสโช่ เมนูสำหรับคนไม่ดื่มกาแฟอย่าง โกโก้ หรือ ชาไทย นอกจากเครื่องดื่มแล้ว ยังมีเมนูใหม่ๆ ในรูปแบบเกล็ดน้ำแข็งเย็นชื่นใจในชื่อ “สลัชชี่” พร้อมไอศครีมซอฟต์เสิร์ฟ ทุกรสชาติในราคา เพียง 18 บาท ราคาเดียวเท่านั้น

โดยจำกัด 200,000 สิทธิ์ ตลอดโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1-13 กุมภาพันธ์ 2567 หรือ  จนกว่าสิทธิ์จะหมด ซึ่งสามารถรับสิทธิ์ได้โดยการแสดงบัตรสมาชิก หรือแจ้งเบอร์โทรศัพท์ที่ตรงกับฐานข้อมูลสมาชิก ที่ร้านอินทนิลทุกสาขาทั่วประเทศ

สำหรับลูกค้าอินทนิลที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกบางจากกรีนไมลส์สามารถสมัครได้ฟรี รับ 100 คะแนนเข้าระบบทันทีเมื่อสะสมครั้งแรก และรับโปรโมชันพิเศษนี้ต่อได้เลย สมัครสมาชิกได้ที่ร้านอินทนิลทุกสาขา

หรือ สมัครผ่านช่องทางออนไลน์แบบดิจิทัลการ์ด ดูรายละเอียดได้ที่ https://www.bcpgreenmiles.com/t

  • เปิดตัวเครื่องดื่มใหม่สุดพิเศษ “Cocoa Lover Series” ต่อยอดเครื่องดื่มซิกเนเจอร์“โกโก้ ขวัญใจมหาชน” กับ 2 เมนูพิเศษ โกโก้มิ้นท์และ โกโก้สตรอว์เบอร์รี่ซึ่งเป็นเมนูที่ผสานความเข้มข้นของเมนูโกโก้อินทนิลที่เป็นเอกลักษณ์พิเศษ กับนมสดกลิ่นมิ้นท์หรือ กลิ่นสตรอว์เบอร์รี่ ที่เข้ากันอย่างลงตัว มาพร้อมกับความหอมหวานนุ่มละมุนของโฟมครีมรสมิ้นท์หรือโฟมครีมรสสตรอว์เบอร์รี่ ราดด้วยซอสสตรอว์เบอร์รี่หวานอมเปรี้ยวเปรียบได้กับความสนุกและสดใสของวัยรุ่น Young Gen ในวัย 18 ปี ซึ่งอินทนิลตั้งใจส่งมอบความรักที่มีต่อลูกค้าทุกคนผ่านเมนูนี้เป็นการตอบแทนและขอบคุณที่ได้สร้างความสุขร่วมกันตลอดการเดินทาง 18 ปี เมนูพิเศษนี้มีให้ลิ้มลองกันที่ร้านอินทนิลทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 30 เมษายน 2567

สำหรับการก้าวเข้าสู่ปีที่ 19 อย่างมั่นคงและยั่งยืน อินทนิลยังคงเดินหน้าพัฒนาร้าน ภายใต้แนวคิดโฮมมี่ “Homey Concept” สะท้อนบรรยากาศของความอบอุ่น ผ่อนคลาย มีเครื่องดื่มคุณภาพและเบเกอรี่ที่หลากหลาย ผ่าน Barista ที่คอยต้อนรับ สร้างความประทับใจกับลูกค้าทุกกลุ่ม ทุกเพศ และทุกวัย เพื่อให้ร้านอินทนิลเป็นมากกว่าร้านกาแฟ เป็นสถานที่ส่งมอบความสุขให้กับลูกค้าได้ในทุกๆวัน

นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง มอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นประจำปี 2566 “รางวัลการพัฒนาสู่รัฐวิสาหกิจยั่งยืน” ให้แก่ ดร.พสุ โลหารชุน ประธานกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และ “รางวัลความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาดีเด่น” ให้แก่ ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ซึ่ง EXIM BANK ร่วมกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ดำเนินโครงการ The S1 Project (SME One) รวมช่องทาง รวมกระบวนการ และรวมโมเดลในการประเมินสินเชื่อเข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับความสะดวกรวดเร็วในการใช้บริการขอสินเชื่อจาก EXIM BANK โดยมี บสย. ค้ำประกัน ในงานมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นประจำปี 2566 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง ภายใต้แนวคิด “รัฐวิสาหกิจสร้างสรรค์พลังไทยสู่สากล Enhancing Thainess towards Global Opportunities” ณ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2567

รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและประสิทธิภาพในการดำเนินงานของ EXIM BANK โดยบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร เพื่อพัฒนานวัตกรรมด้านกระบวนการและบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการไทยและเทรนด์การค้าและการลงทุนของโลกปัจจุบัน ภายใต้บทบาท Green Development Bank เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง  

LINE for Business ตอกย้ำผู้นำแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อธุรกิจ มุ่งเป็นเพื่อนร่วมทางเคียงข้าง SME ไทย เดินหน้าสู่ปีที่ 9 ในการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้งาน LINE เพื่อธุรกิจ เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับ LINE เพื่อช่วยเหลือให้ความรู้แก่ SME ไทยเรื่องการทำธุรกิจในโลกดิจิทัล ล่าสุดเปิดตัว LINE Certified Coach ประจำปี 2567 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการคัดเลือกและรับรองจาก LINE พร้อมเดินสายให้ความช่วยเหลือ ให้คำแนะนำแบบจัดเต็ม สู่ทุกธุรกิจ SME ทั่วประเทศไทยตลอดปี 2567 นี้!

LINE Certified Coach เป็นทีมผู้เชี่ยวชาญการใช้งาน LINE เพื่อธุรกิจที่ริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2559 เพื่อส่งมอบความรู้ ให้คำปรึกษาแก่ SME ไทยในการทำธุรกิจบนแพลตฟอร์ม LINE ได้อย่างเต็มศักยภาพ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งาน LINE Official Account การลงโฆษณาผ่าน LINE Ads การสร้างหน้าร้านออนไลน์ ปิดการขายผ่าน LINE SHOPPING รวมถึงเครื่องมือและโซลูชั่นอื่นๆ บน LINE โดยโค้ชทุกท่านผ่านการคัดเลือกมาอย่างเข้มข้น ทั้งในรูปแบบการทดสอบความรู้และการสัมภาษณ์ เพื่อให้มั่นใจถึงทักษะในการทำธุรกิจบนโลกออนไลน์ และความเข้าใจในเทคโนโลยีต่างๆ ของ LINE พร้อมความสามารถในการแนะนำ ให้คำปรึกษา นำเสนอกลยุทธ์ที่จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาธุรกิจให้ SME ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนทัศนคติ และความมุ่งมั่นในการเติบโตในฐานะพันธมิตรของ LINE อย่างแท้จริง

สำหรับปีนี้ มีผู้เชี่ยวชาญทั้งสิ้น 34 ท่านที่ผ่านการคัดเลือกเป็น LINE Certified Coach โดยมีทั้งโค้ชผู้คร่ำหวอดจากปีที่แล้ว และโค้ชดาวรุ่งหน้าใหม่อีกมากมาย ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่การเป็น LINE Certified Coach ในปีนี้ นับเป็นอีกหนึ่งปีที่ LINE ได้โค้ชที่มีทักษะ ความเชี่ยวชาญที่หลากหลาย อาทิ เจ้าของธุรกิจ ที่ปรึกษาธุรกิจ คนรุ่นใหม่วัย Young Gen เป็นต้น เสริมแกร่งให้กองทัพดิจิทัลกูรูจาก LINE สามารถส่งมอบความรู้ ความเชี่ยวชาญให้กับ SME ไทยได้อย่างครอบคลุม และแตกต่างกันไปตามแต่เฉพาะลักษณะของธุรกิจ

LINE Certified Coach ประจำปี 2567 ทั้ง 34 ท่าน แบ่งประเภทการให้คำปรึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 : กลุ่มโค้ชเชี่ยวชาญด้านธุรกิจ จำนวน 29 ท่าน เน้นให้คำปรึกษาเชิงกลยุทธ์การตลาด การใช้งานเครื่องมือต่างๆ บนแพลตฟอร์ม LINE ไม่ว่าจะเป็นการใช้งาน LINE Official Account การใช้งาน LINE Ads และการใช้งานโซลูชั่นอื่นๆ บน LINE เพื่อการทำธุรกิจ การตลาด การขาย สร้างธุรกิจให้เติบโต

กลุ่มที่ 2 : กลุ่มโค้ชผู้เชี่ยวชาญด้าน API จำนวน 5 ท่าน  เน้นให้คำแนะนำในเชิงเทคนิค สำหรับการสร้าง หรือการใช้งานโซลูชั่นต่างๆ ในเชิงลึก เพื่อเชื่อมต่อข้อมูล เชื่อมต่อระบบต่างๆ มาสู่แพลตฟอร์ม LINE รวมถึงการสร้าง Chatbot เพื่อการปิดการขายที่ง่ายขึ้น

ทั้งนี้ LINE ยังได้นำเสนอ Recommended Coach หรือโค้ชที่ได้รับการแนะนำจาก LINE เป็นพิเศษสำหรับปี 2567 จำนวน 8 ท่าน โดยเป็นกลุ่มโค้ชที่ LINE เห็นถึงศักยภาพอันโดดเด่นตลอดปี 2023 ที่ผ่านมา ด้วยประสบการณ์การให้ความรู้ คำปรึกษาแก่ธุรกิจ SME ได้อย่างหลากหลายและน่าประทับใจ รวมถึงมีทักษะ ความรู้ ความเข้าใจในการทำธุรกิจดิจิทัลด้วยโซลูชั่นต่างๆ บนแพลตฟอร์ม LINE อย่างดีเยี่ยม

SME เตรียมตัวให้พร้อม แล้วเตรียมพบกับกิจกรรมอัดแน่น เพื่อเสริมความรู้ให้ผู้ประกอบการ SME ไทยตลอดทั้งปี ที่ทาง LINE for Business พร้อมเหล่า LINE Certified Coach เตรียมไว้ให้! ผู้ที่สนใจ สามารถติดตามอัปเดตข่าวสารกิจกรรมอันน่าสนใจเหล่านี้ได้ เร็วๆ นี้ที่ LINE Official Account: LINE for Business (@linebizth) หรือเฟซบุ๊กแฟนเพจ LINE for Business พร้อมติดตามข้อมูลเกี่ยวกับ LINE Certified Coach ทั้ง 34 ท่านได้ที่ https://lineforbusiness.com/th/line-certified-coach/

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เดินหน้าหนุนเกษตรกรรายย่อย มากกว่า 5,500 รายทั่วประเทศ รับหน้าที่เป็นตลาดรับผลผลิตแทน ลดความเสี่ยงตลาดผันผวน เกษตรกรมีรายได้แน่นอน มุ่งถ่ายทอดองค์ความรู้-เทคโนโลยีสู่เกษตรกรรายย่อย-รายกลาง สร้างความมั่นคงในอาชีพ ร่วมสร้างอาหารมั่นคง ส่งมอบอาหารปลอดภัยสู่ผู้บริโภค

 

นายสมพร เจิมพงศ์ ผู้อำนวยการใหญ่ ธุรกิจสุกร ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟ มุ่งยกระดับการเลี้ยงสัตว์แก่เกษตรกรรายย่อย ทั่วประเทศมากกว่า 5,500 ราย ในรูปแบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการเลี้ยงสัตว์ที่ดี ภายใต้การบริหารจัดการด้านการเลี้ยงสัตว์ที่มีมาตรฐาน ด้วยการนำขีดความสามารถของบริษัทฯ มาถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมการเลี้ยงแก่เกษตรกร ที่สำคัญเกษตรกรต้องมีตลาดรองรับผลผลิต บริษัทฯจึงทำหน้าที่เป็นตลาดรับซื้อผลผลิตคืนจากเกษตรกร เพื่อให้มีอาชีพที่ไร้ความเสี่ยงด้านราคาและการตลาด และมีหลักประกันรายได้ที่มั่นคง โดยเฉพาะในช่วงที่ผ่านมาที่ราคาสุกรผันผวนมาก จากการเข้ามาของขบวนการลักลอบนำเข้าเนื้อสุกรเถื่อน หากแต่เกษตรกรรายย่อยที่เลี้ยงสุกรกับซีพีเอฟ ไม่ได้รับผลกระทบเนื่องจากมีการทำสัญญาตกลงราคากันไว้ล่วงหน้า และบริษัทฯ รับซื้อผลผลิตของเกษตรกรไว้ทั้งหมด

“นอกจากการส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อยได้รับทั้งความรู้ด้านการเลี้ยงสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพ และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ทำให้เกษตรกรสามารถดำเนินกิจการได้อย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญคือเกษตรกรไม่ได้รับความเสี่ยงตลาดผันผวน โดยสินค้าที่ซีพีเอฟผลิตส่งจำหน่ายในตลาดและห้างโมเดิร์นเทรดต่างๆ ก็มาจากเกษตรกรรายย่อยที่บริษัทฯรับความเสี่ยงโดยตรง และยังมีเกษตรกรรายกลางอีกร่วม 500 ราย ที่ซีพีเอฟ เข้าไปช่วยสนับสนุนองค์ความรู้ โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยในอาหาร เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรในห่วงโซ่คุณค่าเติบโตไปด้วยกัน” นายสมพร กล่าว

 

ตลอดระยะเวลานับตั้งแต่ปี 2518 ที่ซีพีเอฟ นำระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง (Contract Farming) มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมแบบครบวงจร เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์แบบพันธสัญญาแก่เกษตรกรรายย่อย ภายใต้หลักคิด “เกษตรกรคือคู่ชีวิต” ร่วมสนับสนุนความมั่นคงทางอาชีพและรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยของไทย มีความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน พึ่งพาตนเองอย่างเข้มแข็ง มีส่วนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับชุมชนและประเทศ ควบคู่กับการผลิตเนื้อสัตว์ที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ร่วมกันผลิตและส่งมอบสินค้าอาหารคุณภาพมาตรฐานสูง สร้างความมั่นคงด้านอาหารให้คนไทย

บริษัท ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ตอกย้ำความเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโซลูชันสำนักงาน พร้อมเสริมความแข็งแกร่งแนวทางขับเคลื่อนธุรกิจ “Committed to Transformation” ผ่านการเดินหน้าขยายเครือข่ายพันธมิตรเพื่อให้บริการครอบคลุมกลุ่มลูกค้าทั่วประเทศ​ ร่วมลงนามแต่งตั้ง อุบลไอเฟค เป็นตัวแทนให้บริการหลังการขายอย่างเป็นทางการในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างรวมทั้งสิ้น 10 จังหวัด ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 เป็นต้นไป

อุบลไอเฟค ดำเนินธุรกิจให้บริการสำนักงานครบวงจร ตั้งแต่การจำหน่ายไปจนถึงการซ่อมแซมและให้บริการหลังการขาย โดยมีประสบการณ์เป็นตัวแทนจำหน่ายและศูนย์ให้บริการแก่แบรนด์อุปกรณ์สำนักงานชั้นนำมานานกว่า 37 ปี ด้วยความมั่นใจในประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในธุรกิจให้บริการสำนักงาน ตลอดจนมีความมุ่งมั่นร่วมกันที่จะยกระดับคุณภาพการบริการให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพสูงสุด บริษัท ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด และ อุบลไอเฟค จึงลงนามร่วมกันในข้อตกลงแต่งตั้งเป็นตัวแทนให้บริการหลังการขายอย่างเป็นทางการ  ณ อาคารซันทาวเวอร์ส บี ชั้น 25 เมื่อเร็วๆ นี้ โดยมีผู้บริหารทั้งสองฝ่ายร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามครั้งนี้

อุบลไอเฟค จะดำเนินการให้บริการหลังการขายแก่ฐานลูกค้าที่อยู่ภายใต้สัญญาบริการและสัญญาเช่าของฟูจิฟิล์มฯ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างรวมทั้งสิ้น 10 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุบลลราชธานี และอำนาจเจริญ โดยจะให้บริการครอบคลุมตั้งแต่การซ่อมแซม บำรุงรักษา และการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้งานอุปกรณ์สำนักงานของฟูจิฟิล์มฯ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องพิมพ์ เครื่องพรินเตอร์ เครื่องมัลติฟังก์ชัน และเครื่องพิมพ์ระดับโปรดักชันหรือเครื่องพิมพ์เชิงพาณิชย์ (Graphic Communication) ผ่านการดำเนินงานของผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการอบรมมาตรฐานการบริการจากฟูจิฟิล์มฯ โดยตรง เพื่อรักษาและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าในพื้นที่ ผ่านบริการที่มีประสิทธิภาพ สะดวกสบาย และยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น

มร.มาซาอากิ ยานากิย่า ประธานบริษัท ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวในพิธีลงนามข้อตกลงว่า “มาตรฐานการให้บริการถือเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั้งในระดับครัวเรือนและระดับองค์กร ดังนั้น พันธมิตรที่จะเข้ามาเป็นตัวแทนให้บริการแก่ผู้ใช้งานของฟูจิฟิล์มฯ จึงจำเป็นต้องผ่านการคัดเลือกอย่างพิถีพิถัน และผ่านกระบวนการพัฒนาฝึกอบรมให้มีศักยภาพในการส่งมอบบริการตามมาตรฐานของบริษัทฯ ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น จึงมีความยินดีอย่างมากที่ได้แต่งตั้ง อุบลไอเฟค เป็นพันธมิตรที่จะดำเนินการให้บริการแก่ลูกค้าของเราในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างทั้ง 10 จังหวัด ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคในภูมิภาคมายาวนานกว่า 37 ปี ทั้งสองบริษัทฯ มีเป้าหมายร่วมกันที่จะยกระดับศักยภาพการบริการของ ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น ให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เราเชื่อมั่นว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นการเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจให้แก่ทั้งสองฝ่าย พร้อมทั้งเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของฟูจิฟิล์มฯ ในการขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้กลยุทธ์การตลาดและการขายปัจจุบันซึ่งมุ่งเน้นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งและขยายตลาดธุรกิจเครื่องพิมพ์สำนักงานไปสู่กลุ่มลูกค้าทั่วประเทศ”

ด้านนายกฤช ตริยางกูรศรี ผู้บริหาร อุบลไอเฟค กล่าวว่า “อุบลไอเฟค รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนให้บริการหลังการขายของฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น เพราะถือเป็นการยกระดับมาตรฐานการบริการให้อยู่ในระดับมาตรฐานสากลของฟูจิฟิล์มฯ ประสานกับประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในพื้นที่ของ อุบลไอเฟค จะทำให้ลูกค้าได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพและตรงตามความต้องการมากที่สุด”

ปัจจุบัน บริษัท ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด มีเครือข่ายตัวแทนให้บริการหลังการขายครอบคลุม 30 จังหวัดทั่วประเทศ โดยเริ่มแต่งตั้งพันธมิตรรายแรกเมื่อปี 2566 ได้แก่ บริษัท เอส.เค. โอเอ เซ็นเตอร์ จำกัด ซึ่งขณะนี้ดำเนินงานเป็นทั้งตัวแทนให้บริการหลังการขายและตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางรวมทั้งสิ้น 20 จังหวัด และพันธมิตรรายล่าสุด ได้แก่ อุบลไอเฟค ที่จะเข้ามาเป็นตัวแทนให้บริการหลังการขายในอีก 10 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 เป็นต้นไป

การร่วมลงนามแต่งตั้งตัวแทนให้บริการหลังการขายในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของฟูจิฟิล์มฯ ในการขยายศักยภาพทางการตลาดผ่านพันธมิตรเพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดให้กับลูกค้า โดยพันธมิตรทางธุรกิจทั้งสองรายจะมุ่งเน้นการให้บริการที่ได้มาตรฐาน เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นและความพึงพอใจให้กับฐานลูกค้าที่อยู่ภายใต้สัญญาบริการและสัญญาเช่าของฟูจิฟิล์มฯ ในพื้นที่ต่าง ๆ ตลอดจนร่วมเป็นแรงผลักดันสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของบริษัทฯ ในอนาคต

เพื่อยกระดับการพัฒนาธุรกิจชุมชนไทยอย่างครบวงจร ควบคู่สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

X

Right Click

No right click