×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7636

นางวิชชุดา ไตรธรรม ที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ นายเกษมศักดิ์ วงศ์อุไร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทิพยประกันภัย พลตำรวจตรีสามารถ ศรีสิริวิบูลย์ชัย ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 5 พ.ต.อ.สุธี เสน่ห์ลักษณา ผกก.สน.ทุ่งมหาเมฆ นางสาวโศรยา วัธชนะ ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตรักษาราชการ ผู้อำนวยการเขตยานนาวา พร้อมด้วยทีม TIP SMART ASSIST และทีมอาสาบรรเทาภัยจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมพลังลงพื้นที่ช่วยเหลือชุมชนคลองขวาง พระรามสาม หลังเกิดเหตุเพลิงไหม้ โดยมอบถุงยังชีพ อาหาร น้ำดื่ม เสื้อผ้า เครื่องอุปโภค-บริโภค อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ทางสถานีตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆยังตั้งโต๊ะอำนวยความสะดวกประชาชนเพื่อแจ้งความต่างๆ และการไฟฟ้าเข้ามาติดตั้งไฟส่องสว่าง เพื่อให้ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน มีขวัญและกำลังใจกลับมาใช้ชีวิต อย่างปกติได้อย่างโดยเร็วที่สุด

เอไอเอ ประเทศไทย นำโดยนายอัลเจอร์ ฟัง (กลาง) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และนายกฤษณ์ จันทโนทก (ขวา) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารตัวแทนประกันชีวิต พร้อมคณะผู้บริหาร เข้ามอบเงินจำนวน 2,000,000 บาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบเหตุโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นที่ห้างสรรพสินค้าเทอร์มินอล 21 ให้กับนายวิเชียร จันทรโณทัย (ที่ 2 จากซ้าย) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ณ ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา โดยมี นายชนะพล มหาวงษ์ (ที่ 2 จากขวา) รองเลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เป็นสักขีพยาน ทั้งนี้ เหตุการณ์โศกนาฏกรรมดังกล่าว ส่งผลให้ลูกค้าเอไอเอ 9 ท่านเสียชีวิต ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นตัวแทนของเอไอเอ และอีก 5 ท่านได้รับบาดเจ็บ โดยบริษัทได้อนุมัติจ่ายสินไหมมรณกรรมอย่างเร่งด่วนให้กับผู้รับผลประโยชน์เป็นจำนวนรวม 9.9 ล้านบาทเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ เอไอเอ ยังมอบเงินช่วยเหลือพิเศษให้กับลูกค้าเอไอเอ จำนวน 50,000 บาทในกรณีเสียชีวิต และ 20,000 บาทในกรณีได้รับบาดเจ็บ

 ลอรีอัล กรุ๊ป เปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานปี 2562 โดยบริษัทมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น +8.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมียอดขายรวมมูลค่า 2.987 หมื่นล้านยูโร ซึ่งเป็นการเติบโตที่ดีที่สุดนับตั้งแต่ปี 2550

 

นายฌอง-พอล แอกง (Jean-Paul Agon) ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของลอรีอัล กล่าวว่า “ลอรีอัลสามารถส่งท้ายทศวรรษที่ผ่านมาได้อย่างยอดเยี่ยม ท่ามกลางตลาดความงามที่ยังคึกคักเป็นอย่างยิ่ง ยอดขายทุกแผนกเติบโตขึ้น ยอดขายแผนกผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูง (LOréal Luxe) สูงกว่า 1.1 หมื่นล้านยูโร จากการเติบโตของ 4 แบรนด์ใหญ่ของลอรีอัล ได้แก่ ลังโคม อีฟ แซงต์ โลร็องต์ จิออร์จิโอ อาร์มานี และคีลส์ ซึ่งสามารถทำยอดขายเพิ่มขึ้นในอัตราเลข 2 หลักได้ทุกแบรนด์  ส่วนแผนกผลิตภัณฑ์เวชสำอาง (Active Cosmetics) ก็ทำยอดขายทั้งปีได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยยอดขาย ลา โรช-โพเซย์ ทะลุ 1 พันล้านยูโร ขณะที่การขยายตัวของแผนกผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค (Consumer Products) ก็ได้แรงหนุนจากแบรนด์ ลอรีอัล ปารีส ที่ทำผลงานยอดเยี่ยมตลอดทั้งปีได้ดีเป็นอย่างยิ่ง รวมทั้งยอดขายในแผนกผลิตภัณฑ์ช่างผมมืออาชีพ (Professional Products) ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งไฮไลท์อยู่ที่การเติบโตในอัตราเลข หลักของแบรนด์ เคเรสตาส

 

ทั้งนี้ ผลประกอบการที่แบ่งตามโซนภูมิภาคมีความแตกต่างกัน โดยกลุ่มตลาดใหม่มีอัตราการเติบโตสูงสุดในรอบกว่า 10 ปี และตลาดเอเชียแปซิฟิกก้าวขึ้นมาเป็นภูมิภาคอันดับหนึ่ง ผลักดันด้วยยอดขายในจีนที่เติบโตช่วงปลายปี รวมทั้งยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้นในเกาหลีใต้ อินเดีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ในส่วนตลาดยุโรปตะวันออกสามารถรักษาอัตราการเติบโตที่แข็งแกร่งเอาไว้ได้ ในขณะที่ยุโรปตะวันตกก็สามารถหวนคืนสู่การขยายตัวได้อีกครั้งในปีที่แล้ว แต่อเมริกาเหนือได้รับผลกระทบจากผลประกอบการที่ย่ำแย่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เมคอัพ

 

ช่องทางอี-คอมเมิร์ซ และค้าปลีกท่องเที่ยว ยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตที่ทรงพลัง ซึ่งมีส่วนสนับสนุนเป็นอย่างมากต่อความสำเร็จของกลุ่มบริษัท โดยอี-คอมเมิร์ซขยายตัวอย่างโดดเด่นในอัตรา +52.4% และมียอดขายคิดเป็นสัดส่วน 15.6% ของยอดขายรวม ขณะที่ช่องทางค้าปลีกท่องเที่ยวก็ยังมีการเติบโตที่แข็งแกร่ง และมียอดขายเพิ่มขึ้น +25.3%

 

ความแข็งแกร่งของรูปแบบธุรกิจที่มีความสมดุลของลอรีอัลนำมาซึ่งความสำเร็จอีกครั้งในปีนี้ โดยการดำเนินธุรกิจทั่วโลกของลอรีอัล ซึ่งครอบคลุมตลาดความงามทั้งหมด รวมทั้งทีมงานผู้มีความสามารถที่มีอยู่ทั่วโลก ทำให้บริษัทสามารถบรรลุผลกำไร และเติบโตยั่งยืน อีกทั้งยังเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับสถานะของบริษัทในฐานะผู้นำตลาดความงาม

 

ในขณะที่ทั่วโลกได้รับผลกระทบอย่างหนักจากปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศในปี 2562 แต่ลอรีอัลก็ยังคงสานต่อพันธสัญญาในการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบและยั่งยืน โดย CDP ได้จัดอันดับความน่าเชื่อถือ AAA ให้แก่บริษัทอีกครั้งเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน จากการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน และการต่อสู้กับการทำลายป่า โดยลอรีอัลได้รับการรับรองให้เป็นบริษัทที่มีจริยธรรมมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกจากการจัดอันดับของ Ethisphere Institute เป็นครั้งที่ 10 นอกจากนี้ ลอรีอัลยังมีบทบาทสำคัญในเรื่องความเสมอภาคทางเพศ และความเป็นผู้นำของบริษัทในด้านนี้ได้รับการยกย่องจาก Equileap และ Bloomberg ซึ่งผลการดำเนินงานที่นอกเหนือจากตัวเลขยอดขายเหล่านี้ ได้สร้างความภาคภูมิใจให้กับบริษัท ซึ่งมีพันธกิจที่แน่วแน่ต่อการส่งเสริมธุรกิจที่มีความรับผิดชอบและยั่งยืน

 

ช่วงเวลาหลายสัปดาห์ต่อจากนี้ จะเป็นความท้าทายสำหรับประชาชนชาวจีนในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา บริษัทขอส่งกำลังใจและจะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยพร้อมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับทีมงานของเราในจีนอย่างแน่นอน บริษัทเฝ้าติดตามสถานการณ์นี้อย่างใกล้ชิด และเชื่อมั่นในทางการจีนว่าจะดำเนินมาตรการอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดครั้งนี้อย่างดีที่สุด

 

ทั้งนี้ คาดว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบเพียงชั่วคราวต่อตลาดความงามในภูมิภาคนี้ และต่อธุรกิจของลอรีอัลในจีน ตลอดจนช่องทางค้าปลีกท่องเที่ยวจีน ถึงแม้ว่าอาจจะเร็วเกินไปที่จะประเมินผลกระทบก็ตาม แต่ด้วยประสบการณ์ต่างๆ ที่บริษัทเคยเผชิญมาแล้วกับสถานการณ์แบบเดียวกันในอดีต (โรค SARS, MERS เป็นต้น) แสดงให้เห็นว่า หลังจากช่วงเวลาแห่งความปั่นป่วนวุ่นวายนี้ผ่านพ้นไป การอุปโภคบริโภคก็จะแข็งแกร่งกว่าที่เคยเป็นมาอีกครั้ง ดังนั้น ถ้าหากตั้งสมมติฐานว่า การแพร่ระบาดครั้งนี้จะเป็นไปในรูปแบบเดียวกันกับที่เคยเกิดขึ้น บริษัทมั่นใจในศักยภาพว่า ในปีนี้จะสามารถเติบโตสูงกว่าตลาดความงาม และทำยอดขายและกำไรที่เติบโตขึ้นอีกปี

 

สรุปตัวเลขการเติบโตในแผนกต่างๆ

แผนกผลิตภัณฑ์ช่างผมมืออาชีพเติบโต +3.2% 

ปีนี้เป็นปีที่สามารถกลับมามีอัตราการเติบโตที่สูงกว่าตลาดได้อีกครั้ง ยอดขายโตเร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงครึ่งปีหลัง ผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม ซึ่งเป็นกลุ่มที่ผลักดันการเติบโตมากที่สุด ได้รับอานิสงส์จากการขยายตัวอย่างโดดเด่นของแบรนด์เคเรสตาส ที่เติบโตในอัตราเลขสองหลัก แผนกนี้ยังสร้างสถานะที่แข็งแกร่งขึ้นทั่วโลก จากการเติบโตอย่างต่อเนื่องในตลาดสหรัฐ และเอเชียแปซิฟิก ขณะที่ยุโรปตะวันออกก็ยังรักษาการเติบโตไว้ได้

 

แผนกผลิตภัณฑ์อุปโภคเติบโต +3.3%

แบรนด์ลอรีอัล ปารีส มีอัตราการเติบโตสูงสุดตั้งแต่ปี 2550 จากการเปิดตัวครั้งสำคัญของ Rouge Signature ในกลุ่มเมคอัพ และ Revitalift Filler ที่มีส่วนผสมของไฮยาลูรอนนิค แอซิดในกลุ่มสกินแคร์ ซึ่งมีการเปิดตัวไปทั่วโลกในรูปแบบของแอมเพิลและเซรั่ม แบรนด์การ์นิเย่ ก็มีการเติบโตจากกลุ่มตลาดใหม่ รวมทั้งความสำเร็จที่เกิดขึ้นทั่วโลกของผลิตภัณฑ์แผ่นมาสก์หน้า (Tissue Mask) และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า Micellar Cleansing Water และการริเริ่มผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก และผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ อาทิ Garnier Organic และ Fructis Hair Food อย่างไรก็ดี ตลาดเมคอัพในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วได้ชะลอตัวลง โดยเฉพาะในสหรัฐ ท่ามกลางสถานการณ์ที่ยากลำบากขึ้นเช่นนี้ เมย์เบลลีน นิวยอร์ก ก็ยังคงประสบความสำเร็จในการเปิดตัว Fit Me! และ Superstay Matte Ink รวมทั้งมีอัตราการเติบโตที่แข็งแกร่งในกลุ่มตลาดใหม่ ด้วยเช่นกัน

 

ผลิตภัณฑ์ความงามขั้นสูงเติบโต +13.8%

แผนกนี้เติบโตสูงกว่าตลาด และตอกย้ำความสำเร็จของผลิตภัณฑ์กลุ่มสกินแคร์และน้ำหอม โดย 4 แบรนด์หลักของแผนกนี้ล้วนมีอัตราการเติบโตในอัตราเลขสองหลัก แบรนด์ลังโคมได้แรงขับเคลื่อนอย่างชัดเจนจากผลประกอบการที่ยอดเยี่ยมในกลุ่มสกินแคร์ โดยเฉพาะสูตรใหม่ของ Génifique และ Absolue รวมทั้งความสำเร็จของน้ำหอมน้องใหม่ Idôle ส่วนแบรนด์ อีฟ แซงต์ โลร็องต์และ จิออร์จิโอ อาร์มานี ก็มียอดขายที่ดีมากในกลุ่มน้ำหอม หลังจากประสบความสำเร็จในการเปิดตัว Libre และการทำผลงานได้ยอดเยี่ยมของ Black Opium, Y และ Sì Passione รวมไปถึงความสำเร็จในกลุ่มผลิตภัณฑ์รองพื้น โดยรวมแล้ว ผลิตภัณฑ์ความงามขั้นสูงสามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาด โดยเฉพาะในเอเชียแปซิฟิก และยุโรปตะวันตก แม้จะเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากกว่าในสหรัฐก็ตาม แผนกนี้ยังทำผลงานได้ดีในช่องทางค้าปลีกท่องเที่ยว ตลาดยุโรปตะวันออก และละตินอเมริกาด้วย ขณะเดียวกัน ช่องทางอี-คอมเมิร์ซของแผนกนี้ก็ยังคงขยายตัวเร็วขึ้น ซึ่งมีสัดส่วนยอดขายกว่า 20% จากยอดขายของแผนก

 

แผนกผลิตภัณฑ์เวชสำอางเติบโต +15.5%

อัตราการเติบโตนี้เป็นการเติบโตสูงสุดในรอบ 20 ปีของแผนกผลิตภัณฑ์เวชสำอาง ยอดขายของแผนกนี้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยขยายตัวสองเท่าของตลาดผลิตภัณฑ์ผิวหนัง แบรนด์ ลา โรช-โพเซย์ มีการเติบโตในอัตราเลขสองหลัก ครองส่วนแบ่งตลาดในทุกภูมิภาค และทำยอดขายทะลุ 1 พันล้านยูโร ส่วนแบรนด์วิชี่ ก็เติบโตต่อเนื่อง โดยมียอดขายสูงเป็นพิเศษในยุโรปตะวันออก และละตินอเมริกา โดยกำลังเปิดตัว Liftactiv Peptide-C ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ต่อต้านริ้วรอยที่เป็นนวัตกรรมในรูปแบบแอมเพิล ส่วนแบรนด์เซราวี ซึ่งมีการขยายตัวอย่างมากในสหรัฐ ก็ยังคงขยายตัวไปทั่วโลก ทั้งนี้ ทุกภูมิภาคมีส่วนช่วยสนับสนุนการเติบโตของแผนก โดยเฉพาะเอเชียและอเมริกาเหนือที่มีการขยายตัวแข็งแกร่ง

 

สรุปการเติบโตตามโซนภูมิภาค

  • ยุโรปตะวันตกเติบโต +1.8%
  • อเมริกาเหนือลดลง -0.8%
  • กลุ่มตลาดใหม่

 

เอเชียแปซิฟิกมียอดขายเพิ่มขึ้น +25.5%

ทุกแผนกมียอดขายเพิ่มขึ้นในอัตราเลขสองหลัก และยอดขายที่เพิ่มขึ้นในไตรมาส 4 เนื่องจากได้แรงหนุนอย่างมากจากยอดขายที่สูงเป็นพิเศษในวันคนโสด (11/11) ของจีน โดยยอดขายในจีนเพิ่มขึ้นตลอดทั้งปี และบริษัทก็มีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่ยอดขายในฮ่องกงได้รับผลกระทบอย่างมากจากสถานการณ์ทางสังคม โดยเฉพาะในไตรมาส 4 การขยายตัวในภูมิภาคนี้ยังได้แรงผลักดันจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอินเดีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย และจากแบรนด์หรูทั้ง ลังโคม คีลส์ อีฟ แซงต์ โลร็องต์และ จิออร์จิโอ อาร์มานี ขณะที่แผนกผลิตภัณฑ์อุปโภคได้รับอานิสงส์จากปีที่สดใสของ ลอรีอัล ปารีส จากความสำเร็จของแบรนด์ 3CE สไตล์นันดะจากเกาหลี รวมทั้งยอดขายที่โตขึ้นของแบรนด์การ์นิเย่ ในประเทศต่างๆ ในเอเชียหลายประเทศ สำหรับแผนกผลิตภัณฑ์ช่างผมมืออาชีพนั้น ได้รับปัจจัยสนับสนุนเป็นพิเศษจากแบรนด์เคเรสตาสและผลิตภัณฑ์เปลี่ยนสีผม ส่วนแผนกผลิตภัณฑ์เวชสำอางก็ยังคงเติบโตอย่างสดใสในทุกประเทศ จากความสำเร็จของลา โรช-โพเซย์ และ สกินซูติเคิลส์  

“เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับสำนักพิมพ์วงกลม และสถานทูตตุรกี เอาใจสมาชิกบัตรนักเดินทาง จัดกิจกรรมเสวนา “ทอล์คถอดรหัสเที่ยวครั้งที่ 8: Turkey Mosaic of Wonders ตุรกีชุมนุมสิ่งมหัศจรรย์ของโลก” ในวันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2563 ณ “เคทีซี ป๊อป” ชั้น B1 อาคารสมัชชา-วาณิช 2 สุขุมวิท 33 แนะนำข้อมูลท่องเที่ยวตุรกี ดินแดน 2 ทวีป ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศยอดนิยมของนักท่องเที่ยว ชาวไทย ภายในงานพบกับ 2 นักเดินทางตัวจริง อาจารย์ต้น - คุณากร วาณิชย์วิรุฬห์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์โลก และคุณโก๋ - ภทร ภทรภานุ ไชยเชียงของ บล็อกเกอร์สายท่องเที่ยว มาร่วมแชร์ประสบการณ์การเดินทาง พร้อมเปิดตัวหนังสือคู่มือท่องเที่ยวตุรกี “KTC Guidezine x Wongklom Journey” ฉบับล่าสุด เจาะลึกมุมน่าเที่ยวใน อิสตันบูล และชี้เป้าเมืองรองที่ทรงเสน่ห์ รวมทั้งให้คำปรึกษาการเดินทางท่องเที่ยวตุรกี พร้อมรับสิทธิ์เข้าร่วม Workshop “ร้อยหินร้อยพลังแห่งการเดินทาง" ร้อยหินสีต่างๆ และ หิน Evil's Eye เครื่องรางจากตุรกี สอนโดย ครูชัย ศักดิ์ชัย ศรีวัฒนาปิติกุล นักศิลปะบำบัด พร้อมลิ้มรส Turkish Ice Cream และขนม Turkish Delight โดยสมาชิก เคทีซีสามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่ “KTC World Travel Service” โทรศัพท์ 02 123 5050 หรือเว็บไซต์ www.ktcworld.co.th

ทั้งนี้ สมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีสามารถสั่งซื้อคู่มือท่องเที่ยวตุรกี KTC Guidezine x Wongklom Journey เล่มล่าสุด ผ่านเว็บไซต์ www.ktc.co.th/ushop หรือที่ KTC TOUCH ทุกสาขา และหากสนใจเดินทางท่องเที่ยวตุรกีสามารถสำรองบัตรโดยสารและที่พัก หรือปรึกษาการเดินทางได้ที่ “KTC World Travel Service” บริการข้อมูลการเดินทางและท่องเที่ยวสำหรับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี โทรศัพท์ 02 123 5050 และเว็บไซต์ www.ktcworld.co.th หรือเฟซบุ๊ค KTC WORLD

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อุทิศองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี เพื่อสร้างประโยชน์แก่สังคมไทยอีกครั้ง ต่อยอดการพัฒนาโครงการติดตั้งเซนเซอร์ตรวจวัดปริมาณ PM 2.5 ปีที่ 2 ร่วมกับ การเคหะแห่งชาติ, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม, สภาวิศวกร, บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หลังจับมือ กสท โทรคมนาคมดำเนินการโครงการในปีแรกประสบความ สำเร็จเป็นไปตามเป้าหมาย มั่นใจสามารถนำข้อมูลที่ได้มาศึกษาวิจัย วิเคราะห์หาสาเหตุ พร้อมเสนอแนวทางแก้ไขปัญหามลภาวะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในไทย หลังเริ่มทวีความรุนแรงถึงขั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพ

 

ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คณะวิศวฯ จุฬาฯ ได้ร่วมกับโครงการอาศรมความคิด อรุณ สรเทศน์ ณ ลานเกียร์ (เปิดโลกลานเกียร์) หลอมรวมศาสตร์และนวัตกรรมด้านวิศวกรรมเพื่อผลักดันประเทศไทยให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยได้รับการสนับสนุนที่ดีเยี่ยมจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมาอย่างต่อเนื่องในทุกครั้งที่ประเทศไทยและคนไทยต้องเผชิญภาวะวิกฤติ ครั้งนี้ก็เช่นกัน ปัญหามลภาวะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 นับวันยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มอยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนไทย ด้วยเหตุดังกล่าว คณะวิศวฯ จุฬาฯ จึงได้จัดตั้งคณะทำงานที่เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม พัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีเซนเซอร์ตรวจวัดปริมาณ PM 2.5 ที่เริ่มดำเนินการแล้วในปีที่ผ่านมา และมีประสิทธิภาพในการตรวจวัดสภาพอากาศและจัดเก็บข้อมูลเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งเป็นประโยชน์อยากมากในการศึกษาวิจัยเพื่อหาต้นตอสาเหตุปัญหา จึงได้เริ่มโครงการในระยะที่ 2 ภายใต้ความร่วมมือจากหลายภาคส่วน เพื่อขยายการจัดเก็บข้อมูลสภาพอากาศให้ขยายวงกว้างยิ่งขึ้น ตลอดจนการพัฒนาแอพพลิเคชั่นและเว็บไซต์คอยให้คำแนะนำ สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่คนไทย เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเข้าถึงได้ง่าย แบบ ไร้ขีดจำกัด

 

“คณะวิศวฯ จุฬาฯ จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลสภาพอากาศ นำมาใช้ประโยชน์ด้านการวิจัย ผนึกพลังพันธมิตรเพิ่มพื้นที่การติดตั้งเซนเซอร์เพิ่มศักยภาพโครงการ วิเคราะห์ถึงผลกระทบ เสนอแนะแนวทางแก้ไข และพร้อมที่จะส่งมอบองค์ความรู้ต่างๆ แก่ภาครัฐ เพื่อนำไปใช้พัฒนากลยุทธ์แก้ปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก และประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ที่สำคัญต้องการนำองค์ความรู้ที่ได้มามอบให้แก่คนไทยเพื่อนำประโยชน์ดังกล่าวไปใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตในมิติต่างๆ สอดคล้องกับปณิธานในการดำเนินงานของคณะฯ CHULA INNOVATION ENGINEERING” ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล กล่าว

 

 

ทั้งนี้ เซนเซอร์ตรวจวัดปริมาณ PM 2.5 ที่พัฒนาขึ้นโดยคณะวิศวฯ จุฬาฯ สามารถตรวจวัดได้ทั้งฝุ่น PM 2.5, PM 10, อุณหภูมิ และความชื้น พร้อมทั้งคำนวณค่า AQI และแสดงผลผ่านทั้งหน้าจอเซนเซอร์และเว็บไซต์ www.sensorforall.eng.chula.ac.th เพื่อบ่งบอกระดับผลกระทบต่อสุขภาพ โดยความร่วมมือในโครงการนี้ จะมีการติดตั้งเซนเซอร์ตรวจวัดปริมาณ PM 2.5 ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑลในระยะแรกจำนวน 30 จุด และพร้อมเปิดรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ต้องการร่วมเป็นเครือข่ายในการตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เพื่อหาแนวทางจัดการมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยข้อมูลจากเซนเซอร์ทุกจุดจะถูกนำมาประมวลร่วมกับข้อมูลอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลจุดความร้อน (Hot Spot) ข้อมูลการจราจร รวมไปถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อวิเคราะห์และคาดการณ์แหล่งกำเนิดของฝุ่น PM 2.5 และนำเสนอนโยบายสำหรับแก้ไขปัญหา PM 2.5 และร่วมสร้างสังคมสุขภาพดีให้เกิดขึ้นในประเทศไทย

 

ด้านศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงแนวนโยบายของคณะฯ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมแก่สังคมไทยว่า “ที่ผ่านมา คณะวิศวฯ จุฬาฯ ได้จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ในโครงการ CHULA MOOC รายวิชาเรื่องสิ่งแวดล้อมเรื่องของเรา What (Love) is in the air ขึ้น เพื่อรวมข้อมูลความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมไว้อย่างหลากหลาย และแน่นอนว่าข้อมูลเกี่ยวกับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ก็ถูกบรรจุอยู่ด้วยเช่นกัน ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาค้นคว้าศึกษาได้ด้วยตนเองโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ นอกจากนี้ คณะฯ ยังได้พัฒนาเว็บไซต์เพื่อรายงานสภาพอากาศในแต่ละจุดที่ติดตั้งเซนเซอร์ โดยสามารถเข้าไปชมข้อมูลได้ที่ www.sensorforall.eng.chula.ac.th การสร้างการเข้าถึงข้อมูลที่ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น จะช่วยให้คนไทยสามารถเตรียมพร้อมเพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ลงนามกับนายอัตสึโอะ คุโรดะ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร องค์กรรับประกันแห่งประเทศญี่ปุ่น (Nippon Export and Investment Insurance : NEXI) ในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการรับประกัน (Insurance) โดยมีนายนะชิดะ คะสุยะ เอกอัครราชทูตประเทศญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และนายพิริยะ เข็มพล กรรมการ EXIM BANK เป็นสักขีพยานกิตติมศักดิ์ในพิธีลงนาม เพื่อใช้บริการประกันการส่งออกและการลงทุนของ EXIM BANK เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงของผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยและญี่ปุ่น โดยเฉพาะในตลาด CLMV และพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ของไทย ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563

 

กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า ความร่วมมือระหว่าง EXIM BANK กับ NEXI ครอบคลุมการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการให้บริการทางการเงินในรูปแบบการรับประกันและการรับประกันต่อ เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงให้ผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่นมั่นใจที่จะขยายการส่งออกและโครงการลงทุนเพิ่มมากขึ้น ทั้งในไทย ญี่ปุ่น และประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก อันจะนำไปสู่การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตใหม่ ๆ ของญี่ปุ่น การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กรธุรกิจของญี่ปุ่น การพัฒนาทักษะแรงงาน โดยเฉพาะ SMEs และโอกาสใหม่ ๆ ทางการตลาด อาทิ การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในญี่ปุ่น ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยและญี่ปุ่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยบริการประกันการส่งออกและประกันความเสี่ยงด้านการลงทุนภายใต้ความร่วมมือระหว่างทั้งสองหน่วยงานนี้จะช่วยให้การค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับญี่ปุ่นขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องกังวลความเสี่ยงจากผู้ซื้อ ประเทศผู้ซื้อ หรือประเทศเป้าหมายที่เข้าไปลงทุน นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการที่ใช้บริการประกันการส่งออกและประกันความเสี่ยงการลงทุนของ EXIM BANK สามารถโอนสิทธิในกรมธรรม์ประกันการส่งออกและการลงทุนเป็นหลักประกันในการขอรับสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ได้

 

ยิ่งไปกว่านั้น EXIM BANK และ NEXI ยังมีความร่วมมือด้านการรับประกันต่อระหว่างกัน ช่วยสนับสนุนการทำหน้าที่ธนาคารเพื่อการพัฒนาการส่งออกและการลงทุนของ EXIM BANK ได้เป็นอย่างดี ทำให้ EXIM BANK สามารถรับความเสี่ยงในการทำธุรกิจรับประกันได้มากขึ้น ขยายขอบเขตการให้บริการแก่ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยและญี่ปุ่นได้มากขึ้นกว่าเดิม โดยมี NEXI ร่วมรับความเสี่ยงในการสนับสนุนธุรกรรมการส่งออกและการลงทุน

 

“EXIM BANK ขยายความร่วมมือกับ NEXI ในครั้งนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกอบการไทยและผู้ประกอบการญี่ปุ่นซึ่งเป็นนักลงทุนรายใหญ่ของไทย ในการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกัน เพื่อยกระดับศักยภาพและเทคโนโลยีการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของไทย กระตุ้นการพัฒนาสินค้าและบริการที่มีนวัตกรรม ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและภาคธุรกิจในไทยและขยายไปยังตลาด CLMV ที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคและโลกโดยรวม” นายพิศิษฐ์กล่าว

ดูเหมือนว่า บริษัทผู้เชี่ยวชาญและให้คำปรึกษาด้านไอที อาทิ การ์ทเนอร์ ฟอเรสเตอร์ ต่างคาดการณ์ทิศทางของโลกนับจากปี 2563 เป็นต้นไป กำลังเดินหน้าสู่ยุคของระบบอัตโนมัติ (The Age of Automation) อย่างเต็มรูปแบบมากขึ้น

 

ไฮบริดคลาวด์ เอดจ์ คอมพิวติ้ง ไอโอที เออาร์ แมชชีนเลิร์นนิ่ง ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) หุ่นยนต์ ดิจิทัล ทวิน บล็อกเชน ระบบจัดการและวิเคราะห์ข้อมูล ระบบความปลอดภัยด้านไอทีและข้อมูล ยังคงทรงอิทธิพลต่อการพัฒนาระบบไอทีอย่างต่อเนื่อง ว่ากันว่า หากองค์กรสามารถบูรณาการการใช้งานเทคโนโลยีข้างต้น ในการเข้าถึงความต้องการของมนุษย์ (เช่น ลูกค้า และ พนักงาน) และครอบคลุมพื้นที่ในการดำรงชีวิต ( เช่น บ้าน สถานที่ทำงาน) ซึ่งการ์ทเนอร์เรียกกลยุทธ์นี้ว่า People-centric Smart Space จะช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้อีกมากมาย โดยเฉพาะการพัฒนาระบบงานที่มีความป็นอัตโนมัติ (Autonomous) ที่ทำให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้มากขึ้น และง่ายขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญสูงมากนัก ตลอดจนการออกแบบแพลตฟอร์มการนำเสนอผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกิจกรรมการตลาดได้ตามคาดหวังและประสบการณ์ซึ่งส่งตรงถึงตัวกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทิศทางการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่เราจะได้เห็นมากขึ้นในปีนี้ ได้แก่

 

การบูรณาการเทางเทคโนโลยีหลายรูปแบบเพื่อมุ่งสู่ความเป็น ไฮบริด อินเทลลิเจนท์ (Hybrid Intelligence-HI) มากขึ้น เช่น คลาวด์แบบไฮบริด ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งที่เปิดกว้างให้องค์กรสามารถผสมผสานการใช้งานหลายรูปแบบ ทั้งคลาวด์ส่วนตัว และคลาวด์สาธารณะ จากหลากหลายผู้ให้บริการไอทีให้เหมาะกับความต้องการเฉพาะด้าน ผสมกับพลังของ เอดจ์ คอมพิวติ้ง (Empowered Edge) ผู้ช่วยคนสำคัญที่จะทำให้อุปกรณ์ใช้งานปลายทางมีความฉลาดในการประมวลผลด้วยตัวเอง ซึ่งจะช่วยลดปริมาณงานของคลาวด์ส่วนกลาง ทั้งสนับสนุนให้แนวคิดการสร้างคลาวด์กระจายออกไปตามจุดต่าง ๆ(Distributed Cloud) มีความเป็นไปได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ระบบไอทีโดยภาพรวมทำงานได้รวดเร็วขึ้น

 

ประกอบกับองค์กรธุรกิจหรือผู้ใช้งานต่างต้องการแอปพลิเคชันที่ปรับเปลี่ยนได้ตามที่ตนเองต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงกว่า 40% เมื่อถึงปี 2567 ซึ่งไม่เพียงจะทำให้องค์กรต้องเร่งพัฒนาโซลูชันหลักในการดำเนินธุรกิจแล้ว ยังต้องเพิ่มแอปพลิเคชันในลักษณะ คอนเทนเนอร์ และ ไมโครเซอร์วิส แยกออกเป็นส่วน ๆ สำหรับงานหรือบริการบางประเภท เพื่อให้องค์กรสามารถสร้างและปรับปรุงบริการการใช้งานได้เร็ว ทันการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ และทันใจผู้ใช้มากขึ้น

 

นอกจากนี้ ความนิยมในการเข้าถึงบริการและแอปพลิเคชันจากที่ไหนก็ได้โดยอิสระผ่านสมาร์ทโฟน หรือ อุปกรณ์ BYOD โดยยังคงรักษาประสิทธิผลของงานได้เหมือนเดิม หรือดียิ่งกว่าเดิม เป็นสิ่งที่การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า จนถึงปี 2566 กว่า 30% ขององค์กรธุรกิจกำลังปรับเปลี่ยนนโยบายในการติดตามผลการทำงานของพนักงาน หรือติดตามพฤติกรรมลูกค้าที่ใช้บริการผ่านอุปกรณ์ BYOD ต่าง ๆ มากขึ้น อย่างไรก็ตาม องค์กรก็ต้องมีแนวทางควบคุมการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ เพื่อการใช้งานเฉพาะในขอบเขตที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมกับธุรกิจไว้ด้วย

 

ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ จะถูกพัฒนาให้เป็นไฮบริดมากขึ้นในมิติต่าง ๆ เช่น การเติมเต็มความเป็นอัตโนมัติให้กับระบบงาน ใช้เป็นตัวตรวจจับพฤติกรรมเสี่ยงต่อระบบความปลอดภัย หรือพัฒนาให้ฉลาดพอที่จะประเมินพฤติกรรมหรือสิ่งที่มนุษย์รู้สึก ซึ่งการ์ทเนอร์เรียกสิ่งนี้ว่า Artificial Emotional Intelligence - AEI ทั้งยังทำนายต่ออีกว่า ในปี 2567 ปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถจับอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์อย่างลึกซึ้งและแม่นยำ จะมีผลต่อการสร้างสรรค์โฆษณาสินค้าออนไลน์เกินกว่าครึ่ง รวมถึงมีผลต่อ

การตัดสินใจซื้อของลูกค้า ขณะเดียวกัน 28% ของนักการตลาดทั้งหลายต่างจัดอันดับให้ทั้ง เอไอ และ แมชชีนเลิร์นนิ่ง มีผลต่อการขับเคลื่อนการตลาดในอนาคต

 

เพิ่มเติมด้วยเทคโนโลยี ไอโอที โดย ฟอร์เรสเตอร์ ซึ่งกล่าวว่า นับจากปี 2563 เป็นต้นไป ไอโอทีจะเดินเครื่องเต็มที่สู่ยุค 5G ด้วยศักยภาพในการรับ-ส่งข้อมูลที่ใช้เวลาน้อยลงเรื่อย ๆ (Low-Latency) โดยเฉพาะการใช้งานในภาคอุตสาหกรรม สำหรับการเก็บและแชร์ข้อมูลผ่านอุปกรณ์เซ็นเซอร์ในการเชื่อมโยงการบริหารงานโรงงานกับเครื่องจักรในสายการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจติดตาม หรือตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มา-ที่ไปของสินค้าในระบบซัพพลายเชน หรือระบบขนส่งได้ในแบบเรียลไทม์ หรือ การเก็บรวบรวมและเชื่อมโยงระบบข้อมูลจากอุปกรณ์ไอโอทีที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตนับเป็นพัน ๆ ล้านชิ้นในการสร้างระบบนิเวศน์ด้านไอที (Ecosystem) เพื่อการจัดการในองค์กร การดำเนินธุรกิจ การสื่อสารกับลูกค้า ได้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่ากับการลงทุนทางเทคโนโลยี

 

การบริหารจัดการข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจทางธุรกิจ หรือ บิสซิเนส อินเทลลิเจนท์ จะยังคงอยู่ต่อไป แต่จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม ด้วยการเติมเทคโนโลยีด้านเอไอเพื่อช่วยจัดการกับข้อมูลระดับ บิ๊ก ดาต้า การสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและรอบด้าน (Data Analytics) ให้สามารถตอบโจทย์ธุรกิจได้จริง หรือ การออกแบบ ระบบจัดการชุดข้อมูล (Data Catalog) เพื่อแก้ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ใช้งาน หรือ ไม่สร้างมูลค่าใด ๆ ให้กับธุรกิจ ข้อมูลที่เก็บมาเฉพาะใช้งานในหน่วยงานเดียว ไม่สามารถปรับเปลี่ยน หรือขยายรูปแบบการเก็บข้อมูลออกไปได้ เป็นต้น

 

ส่วนเทคโนโลยี บล็อกเชน ซึ่งถึงแม้มาตรฐานความปลอดภัยในการดูแลบัญชีธุรกรรมออนไลน์จะยังไม่นิ่ง แต่ผู้ใช้ก็ไม่รีรอที่จะซื้อขายใช้จ่ายเงินในตลาดออนไลน์ ผ่านสมาร์ทโฟน หรือแพลตฟอร์มการเงินต่าง ๆ อาทิ กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือคิวอาร์โค้ด โดยคาดว่าจะเพิ่มสูงถึง 50% ในปี 2568 เลยทีเดียว ขณะเดียวกัน การแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิคของบล็อกเชนยังคงดำเนินต่อไป เช่น การกระจายข้อมูลให้เข้าถึงได้ การเข้ารหัสด้วยชุดข้อมูลเสมือนแบบโทเคน (Token) เพื่อให้หลาย ๆ บล็อกเชนสามารถทำงานร่วมกัน หรือปรับขยายระบบเพื่อรองรับข้อมูลหรือผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นได้

 

อย่างไรก็ตาม เหรียญย่อมมีสองด้าน และด้านมืดของไอทีที่ยังเป็นปัญหาใหญ่ คือ การโจมตีจากอาชญากรไซเบอร์ การละเมิดสิทธิและข้อมูลส่วนบุคคล การเข้าถึงชั้นความลับของข้อมูลทางธุรกิจโดยบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต การขโมยรหัสผ่านเพื่อเข้าถึงบัญชีธุรกรรมออนไลน์ การเจาะช่องโหว่ของระบบเพื่อก่อกวนการทำงาน รวมถึงการปล่อยไวรัสแรนซัมแวร์ บนโลกดิจิทัลจะยังคงเกิดอย่างต่อเนื่อง

 

ดังนั้น องค์กรควรให้ความใส่ใจกับการสร้างปราการ ความปลอดภัยไอที เครือข่ายและข้อมูล ให้ครอบคลุมทั้งด้านเทคนิคและนโยบาย ในเชิงเทคนิค เช่น ระบบป้องกันไวรัส เกตเวย์ ไฟร์วอลล์ ซึ่งถือเป็นระบบพื้นฐานที่ต้องมีอยู่แล้วภายในทุกองค์กร หรือบนคลาวด์ทุกประเภท การพัฒนาระบบพิสูจน์ตัวตน (Authentication) เมื่อเวลามีการร้องขอข้อมูลเชิงลึก หรือเข้าใช้งานในระบบ การเฝ้าระวังการรับ-ส่งข้อมูลที่ได้มาจากการใช้งานเอไอ แมชชีนเลิร์นนิ่ง หรือ ไอโอที เนื่องจากเป็นเป้าโจมตีที่อาชญกรไซเบอร์ชื่นชอบ เป็นต้น ส่วน ในเชิงนโยบาย ก็เช่น การวางมาตรฐานด้านจริยธรรมทางเทคโนโลยีที่ซื่อสัตย์ โปร่งใส ตรวจสอบได้ (Transparency and Traceability) เพื่อไม่ให้ก้าวล่วงความเป็นส่วนตัวของผู้คนจนเกินไป เพราะทุกคนต่างฉลาดพอที่จะเดาได้ว่า ข้อมูลของเขากำลังถูกเก็บและนำไปใช้อย่างไร รวมถึงหมั่นติดตามและคอยปรับปรุงนโยบายด้านความปลอดภัยให้เป็นไปตามข้อบังคับ หรือกฎหมายความปลอดภัยจากในและนอกประเทศ เช่น พรบ. อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ จีดีพีอาร์ มาตรฐานทางบัญชีใหม่ IFRS 9 หรืออื่น ๆ เพื่อให้ระบบความปลอดภัยมีความทันสมัย ทันเหตุการณ์ และเป็นไปตามมาตรฐานสากลอยู่เสมอ

 

เรื่องน่ายินดีก็คือ การ์ทเนอร์คาดว่า การใช้จ่ายด้านไอทีทั่วโลกจะโตเพิ่มขึ้นอีก 3.7% ในปี 2563 จากยอดใช้จ่ายรวม 3.7 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในปี 2562 และถึงแม้ตัวเลขส่วนใหญ่ถูกใช้จ่ายไปกับเรื่องซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรธุรกิจ แต่ตัวเลขใช้จ่ายด้านความปลอดภัยก็สูงถึง 10.5% ในปี 2562 ทั้งนี้ ตัวเลขที่ใช้จ่ายไปกับการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ คาดว่าจะโตถึง 41.2% ในอีก 5 ปีข้างหน้า

ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า วิถีโลกยุคระบบอัตโนมัติที่มีศักยภาพและเสถียรภาพนั้น ช่วยให้มนุษย์มีอิสระในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี แต่ก็ต้องเป็นระบบที่ต้องตอบสนองวิถีชีวิตทั้งในโลกความเป็นจริง และชีวิตในเวอร์ชันดิจิทัลได้อย่างชาญฉลาด มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยสูงเป็นสำคัญ

เซินเจิ้นจีน, 11 กุมภาพันธ์ 2563 – บริษัทหัวเว่ยประกาศว่าได้ดำเนินการยื่นฟ้องบริษัทเวอไรซอน (Verizon) บริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของสหรัฐฯ ด้วยข้อหาละเมิดสิทธิบัตร ที่ศาลแขวงแห่งสหรัฐอเมริกาประจำแขวงตะวันออกและตะวันตกรัฐเทกซัส โดยหัวเว่ยเรียกร้องเงินชดเชยกรณีที่เวอไรซอนใช้เทคโนโลยีจดสิทธิบัตรและได้รับการคุ้มครองโดยสิทธิบัตรของหัวเว่ยในสหรัฐอเมริกา 12 รายการ

ดร. ซ่ง หลิ่วผิง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของหัวเว่ย ระบุว่า “ผลิตภัณฑ์และบริการของเวอไรซอนได้ผลประโยชน์จากเทคโนโลยีจดสิทธิบัตร ซึ่งเป็นผลงานที่หัวเว่ยใช้เวลาหลายปีทุ่มเทวิจัยและพัฒนา"

ในฐานะผู้ให้บริการสมาร์ทดีไวซ์และอุปกรณ์การสื่อสารชั้นนำ หัวเว่ยลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาด้วยงบประมาณร้อยละ 10-15 ของรายได้ต่อปี ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา บริษัททุ่มงบประมาณให้กับการวิจัยและพัฒนาไปมากกว่า 70,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.18 ล้านล้านบาท) ซึ่งให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นการยื่นจดสิทธิบัตรมากกว่า 80,000 รายการทั่วโลก และในจำนวนนี้มีสิทธิบัตรที่ยื่นจดในสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียวมากถึง 10,000 รายการ นวัตกรรมเหล่านี้ไม่ได้เป็นแค่เสาหลักแห่งความสำเร็จของหัวเว่ยแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น ทว่ายังถูกนำไปใช้งานโดยบริษัทต่างๆ ทั่วโลก สร้างมูลค่าทั้งในสหรัฐฯ และในที่ต่างๆ มากมาย

ก่อนจะยื่นฟ้องในรัฐเทกซัส หัวเว่ยเคยเจรจากับเวอไรซอนมาแล้วเป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งในช่วงเวลานั้น หัวเว่ยได้แจ้งรายละเอียดของสิทธิบัตรและหลักฐานข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ระบุว่าเวอไรซอนใช้สิทธิบัตรของหัวเว่ยแล้ว แต่ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเงื่อนไขการอนุญาตให้ใช้สิทธิได้

“เราลงทุนกับการวิจัยและพัฒนาไปอย่างมหาศาลก็เพราะว่าเราต้องการจะมอบโซลูชันด้านโทรคมนาคมที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ให้กับลูกค้าของเรา เราแบ่งปันนวัตกรรมเหล่านี้กับอุตสาหกรรมอื่นๆ ในวงกว้างผ่านสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ” ดร.ซ่ง กล่าว

“ตลอดหลายปีที่ผ่านมาจนกระทั่งปัจจุบัน เราประสบความสำเร็จในการเจรจาสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรกับบริษัทหลายแห่ง แต่เมื่อไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้ เราก็ไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากการชดใช้ตามกฎหมาย”

“นี่เป็นวิถีปฏิบัติทั่วไปของแวดวงอุตสาหกรรมนี้ หัวเว่ยเพียงขอให้เวอไรซอนเคารพการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของหัวเว่ย โดยจะชำระเป็นค่าใช้งานสิทธิบัตรของเราก็ได้ หรือจะเลิกใช้สิ่งที่เป็นสิทธิบัตรของเราในผลิตภัณฑ์และบริการของเวอไรซอนก็ย่อมได้”

หัวเว่ยเคารพและปกป้องลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา สนับสนุนการแบ่งปันเทคโนโลยีที่จดสิทธิบัตรอย่างถูกต้องตามกฎหมายผ่านสัญญาสิทธิบัตรแบบแลกเปลี่ยน (cross-license) หรือสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิแบบชำระเงิน (paid license agreements) ตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา หัวเว่ยมีส่วนร่วมกับการเจรจาสิทธิบัตรแบบแลกเปลี่ยนอย่างกว้างขวางกับผู้ถือสิทธิบัตรรายใหญ่หลายรายในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ลงนามในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิกับผู้ค้ารายใหญ่ในแวดวงไอซีทีมาแล้วมากกว่า 100 ฉบับ ทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

นับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา หัวเว่ยได้รับค่าธรรมเนียมสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรเป็นมูลค่ามากกว่า 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 43,736 ล้านบาท) และในปัจจุบัน หัวเว่ยยังคงชำระเงินเป็นมูลค่ามากกว่า 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 187,440 ล้านบาท) เพื่อใช้เทคโนโลยีที่ถือสิทธิบัตรโดยบริษัทร่วมแวดวงอุตสาหกรรมอย่างถูกกฎหมาย โดยร้อยละ 80 ของค่าธรรมเนียมสิทธิบัตรดังกล่าวถูกจ่ายให้กับบริษัทต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา

นวัตกรรมและการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาคือเสาหลักแห่งความสำเร็จของหัวเว่ย ในปี 2018 ค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของหัวเว่ยพุ่งแตะ 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 468,600 ล้านบาท) เกือบเทียบได้กับ ร้อยละ 15 ของรายได้ต่อปีของบริษัท ชื่อหัวเว่ยจึงขึ้นมาเป็นอันดับที่ ของกระดานคะแนนอุตสาหกรรมและ    การลงทุนแห่งสหภาพยุโรป ปี 2019 (2019 EU Industrial R&D Investment Scoreboard) ซึ่งเผยแพร่โดยคณะกรรมาธิการยุโรป

หัวเว่ยยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้เดินหน้าแบ่งปันความสำเร็จชั้นนำทางด้านการวิจัยและพัฒนาของหัวเว่ยกับ  แวดวงอุตสาหกรรมและสังคมในภาพรวม ซึ่งรวมทั้งบริษัทและผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา เพราะการแบ่งปันนวัตกรรมออกสู่วงกว้างนั้นยิ่งผลักดันทั้งอุตสาหกรรมให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยเช่นกัน

จากกรณีสำนักข่าว เดลีเมล์ รายงานว่า กระแสหวาดผวาไวรัสอู่ฮั่น ทำให้ทางการจีนสั่งให้ประชาชนทิ้งสัตว์เลี้ยงในบ้าน อ้างว่าอาจเป็นพาหะแพร่เชื้อไวรัสโคโรนา ทั้งที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ยืนยันว่าไม่เคยมีหลักฐานว่าไวรัสโคโรนาจะติดต่อผ่านแมวหรือสุนัขได้

LINE ประเทศไทย ตอกย้ำความเป็นแพลตฟอร์มยืนหนึ่งที่ครองใจคนไทยกว่า 45 ล้านคน ด้วยบริการหลากหลายที่ตอบโจทย์ความต้องการในชีวิตประจำวันของคนไทยในด้านต่างๆ

Page 2 of 6
X

Right Click

No right click