×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7636

อาจารย์ประจำภาควิชาสถิติ คณะบัญชีฯ จุฬาฯ โชว์ผลงานวิจัยรางวัลระดับนานาชาติ จากการศึกษาพฤติกรรมการเข้าชมเว็บไซต์อเมซอน สะท้อนความสำคัญของฐานข้อมูลที่เป็นกลาง เพื่อการวิจัย และพัฒนาเศรษฐกิจสังคม โดยเผยพฤติกรรมการเข้าใช้บริการเว็บไซต์คือตัวแปรสำคัญชี้อนาคตค้าปลีกออนไลน์ของกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยในไทย ซึ่งอยู่ในโลกแห่ง Big Data จึงอยากเรียกร้องภาครัฐและเอกชน จับมือร่วมกันพัฒนาสร้างฐานข้อมูลสาธารณะ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางการแข่งขันให้กับภาคเศรษฐกิจไทย

 

ผลงานวิจัยดังกล่าว ได้รับการเชิดชูเกียรติในงาน “เรียง 100 ความภูมิใจ Chulalongkorn Business School” ประจำปี 2563 เพื่อเชิดชูเกียรติเหล่าคณาจารย์และนิสิตที่สร้างผลงาน สร้างชื่อเสียงให้กับคณะฯ มหาวิทยาลัย และประเทศชาติ ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

รศ.ดร. ชัชพงศ์ ตั้งมณี อาจารย์ประจำภาควิชาสถิติ และผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าฐานข้อมูลที่เป็นกลาง คือกุญแจสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย ซึ่งแม้ที่ผ่านมาทุกภาคส่วนจะมีความตื่นตัวในเรื่อง Big Data และ Data Analytic หากแต่การเตรียมพร้อมรับมือเป็นแบบต่างคนต่างทำ ทำให้ใครมีกำลังก็จะลงทุนทำเพื่อประโยชน์เฉพาะของหน่วยงานตน โดยไม่ได้ตระหนักถึงธุรกิจขนาดเล็ก ที่ยังขาดศักยภาพในการลงทุนด้วยตัวเอง ทั้งที่ธุรกิจขนาดเล็กคือรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจประเทศ

 

“ข้อสรุปนี้ เป็นผลสะท้อนมาจากการทำวิจัยที่มีชื่อว่า Visit Behavior at Amazon.com: An Analysis of Viewers’ Demographics ซึ่งเป็นการศึกษาพฤติกรรมการเข้าชมเว็บไซต์อเมซอน โดยพิจารณาในเรื่องของกลุ่มประชากรในแต่ละภูมิภาคของสหรัฐอเมริกา ส่งผลต่อรสนิยมการเข้าชมเว็บที่แตกต่างกัน ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการตัดสินใจซื้อ เช่น ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ บอสตัน นิวยอร์ก มีการดู 10.12 หน้า แต่ใช้เวลาเพียง 10.17 นาที เมื่อเทียบกับทางตอนกลาง ตะวันตก และตอนใต้ ที่ดูหน้าจำนวนน้อยกว่า ไม่ถึง 10 หน้า หากแต่ใช้เวลาในการดูนานกว่าถึง 11-13 นาที เป็นต้น

 

ด้วยงานวิจัยพฤติกรรมออนไลน์ จำเป็นอย่างมากที่ต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดเก็บข้อมูล เราไม่สามารถใช้แบบสอบถามในการจัดเก็บได้ เพราะมีความแม่นยำไม่เพียงพอ คณะบัญชีฯ จุฬาฯ ของเรา เล็งเห็นถึงความสำคัญนี้ จึงได้ลงทุนเงินหลักล้าน เพื่อซื้อสิทธิ์ในการเข้าใช้บริการฐานข้อมูลจาก โครงการ WRDS ของ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย (University of Pennsylvania) ที่มีข้อมูลส่วนหนึ่งคือฐานข้อมูล Comscore ซึ่งเป็นฐานข้อมูลพฤติกรรมออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา จึงให้ผมมีโอกาสได้ทำงานวิจัยนี้ได้สำเร็จ

 

 

 

“ผลวิจัยที่ได้เป็นประโยชน์อย่างมาก ต่อการพัฒนาเว็บไซต์ให้ตอบโจทย์ด้านการตลาดให้กับองค์กรธุรกิจ แต่เพราะข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลประชากรของสหรัฐอเมริกา ประโยชน์ต่อภาคธุรกิจไทยจึงส่งผลเฉพาะกลุ่มธุรกิจการค้าที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นคนอเมริกันเป็นหลัก ซึ่งหากมีหน่วยงานในไทย หรือมีการจับมือร่วมกันระหว่างภาครัฐ และเอกชนในการสร้างฐานข้อมูลที่เป็นกลางขึ้น เปิดให้ทุกคนมีสิทธิ์นำไปใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะได้ ก็จะสร้างคุณูปการให้กับเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก”

 

ในมุมมองของอาจารย์ ความตื่นตัวในเรื่อง Big Data หรือ Data Analytic ของไทย จะเป็นลักษณะต่างคนต่างทำ องค์กรขนาดใหญ่จึงมีความได้เปรียบ เพราะมีความพร้อมมากกว่า ขณะที่องค์กรขนาดเล็ก อย่างเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ของประเทศ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ หรือแม้กระทั่งองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความเกี่ยวข้องอยู่ในซัพพลายเชนเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมโยงกันของทุกธุรกิจที่หากธุรกิจใดล้ม ก็จะส่งผลต่อธุรกิจอื่นๆ ให้ล้มตามกันเป็นโดมิโน ด้วยเหตุนี้การจับมือก้าวไปพร้อมกันจึงเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนควรตระหนักร่วมกัน

“เอสซีจี” โดยบริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ จำกัด ร่วมกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาวัสดุ Advanced Materials ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์แบบ 3 มิติ (3D Printing Technology) สำหรับเป็นฐานลงเกาะของตัวอ่อนปะการังและการปลูกปะการังธรรมชาติ สร้างต้นแบบปะการังเทียมรุ่นใหม่ที่มีความเสมือนจริง และใกล้เคียงธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ด้วยเทคโนโลยีขึ้นรูปจาก Advanced Materials ที่เอสซีจี ซิเมนต์ พัฒนาขึ้น สามารถใช้เศษคอนกรีตรีไซเคิลเป็นส่วนผสมทดแทนหินปูนถึง 40% โดยความร่วมมือครั้งนี้ครอบคลุมการศึกษา วิจัย และพัฒนาออกแบบรูปแบบวัสดุให้มีความเหมาะสมตามแนวทางการฟื้นฟูระบบนิเวศแนวปะการังและทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ขยายภาพโครงการ “รักษ์น้ำ จากภูผา…สู่มหานที” คืนความสมดุลให้กับระบบนิเวศทางทะเลอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับทะเลไทยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เตรียมนำร่องทดลองจัดวางจริงในทะเล 3 พื้นที่ ได้แก่ เกาะราชาใหญ่ จังหวัดภูเก็ต เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ภายในเดือนพฤษภาคม 2563

 

นายอุกกฤต สตภูมินทร์ ผู้อำนวยการกองอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า “ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่งนั้นมีความสำคัญต่อความมั่นคงของเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างยิ่ง เพราะระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งที่สมบูรณ์ส่งผลโดยตรงต่อการขับเคลื่อนให้เกิดการเติบโตทางสังคมและเศรษฐกิจ และยังเป็นหลักประกันความยั่งยืนในอนาคตของมนุษย์ และระบบนิเวศของโลกอีกด้วย สำหรับแนวปะการังถือเป็นระบบนิเวศที่มีความซับซ้อน และเป็นบริเวณที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงที่สุดในทะเล ประกอบกับมีการใช้ประโยชน์จากแนวปะการังมากขึ้นทั้งในด้านการประมง และการท่องเที่ยว เพราะฉะนั้นการดูแล อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรปะการังของประเทศไทยให้เกิดความสมบูรณ์ และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจึงถือเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งโดยวางแนวทางการดำเนินงาน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เน้นการทำงานเชิงรุกและบูรณาการแบบมีส่วนร่วมกับหลายภาคส่วน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จึงได้ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเอสซีจีในการพัฒนารูปแบบวัสดุสำหรับนำไปใช้ในงานด้านการฟื้นฟูปะการังและปะการังเทียม ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายด้านการฟื้นฟูระบบนิเวศแนวปะการัง และทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งของรัฐบาล ทั้งนี้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจะดำเนินการสำรวจพื้นที่และจัดทำแผนการฟื้นฟูปะการัง และจุดท่องเที่ยวดำน้ำ เพื่อกำหนดเป็นพื้นที่เป้าหมาย สำหรับขยายผลการนำวัสดุหรือปะการังเทียมไปดำเนินการในระยะยาวต่อไปในอนาคต”

 

ศ.น.สพ.ดร.รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช คณบดี คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “การดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งนั้นเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้องค์ความรู้ด้านวิชาการเพื่อรองรับการดำเนินงานในด้านของการบริหารจัดการที่เหมาะสม สำหรับการฟื้นฟูระบบนิเวศแนวปะการัง สามารถดำเนินการได้หลายวิธี และหนึ่งในนั้น คือ การฟื้นฟูปะการังที่ดำเนินการกับแนวปะการังโดยตรงด้วยการฟื้นฟูทางกายภาพ (Physical Restoration) เช่น การสร้างฐานลงเกาะของตัวอ่อนปะการัง หรือการสร้างปะการังเทียมซึ่งเป็นการปรับปรุงสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการฟื้นตัวของปะการัง ทำให้แนวปะการังกลับมามีสภาพความอุดมสมบูรณ์และสามารถเอื้อประโยชน์ในแง่ต่างๆ ให้กับสิ่งมีชีวิตในทะเลรวมไปถึงมนุษย์ ซึ่งการคิดค้นและพัฒนารูปแบบวัสดุเพื่อใช้ในการฟื้นฟูแนวปะการัง ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 3D Printing จึงเป็นอีกวิธีที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานด้านการฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้การสนับสนุนด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับปะการัง พร้อมทั้งติดตามและรวบรวมข้อมูลผลการทดลองเพื่อศึกษา วิจัย และนำข้อมูลไปใช้สนับสนุนการพัฒนารูปแบบวัสดุให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานมากขึ้นในอนาคต”

นายชนะ ภูมี Vice-President Cement and Construction Solution Business ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง กล่าวว่า “เอสซีจี มุ่งสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องภายใต้แนวคิด Passion for Better Green Society เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมเพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมให้ดี ควบคู่ไปกับการสร้างความร่วมมือกับทุกฝ่ายในการดำเนินธุรกิจเพื่อขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ที่เน้นการรักษาคุณค่าของทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเกิดการใช้ทรัพยากรใหม่ให้น้อยที่สุด ซึ่งถือเป็นการสร้างคุณค่าและความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อม ชุมชน และธุรกิจ การร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ เอสซีจีจะดำเนินการผลิตและจัดทำวัสดุสำหรับใช้เป็นฐานลงเกาะสำหรับปะการังธรรมชาติ พร้อมทั้งร่วมวิจัยและพัฒนารูปแบบวัสดุเพื่อนำไปใช้ในการฟื้นฟูปะการัง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

 

“ซึ่งการผลิตปะการังเทียมนี้ เอสซีจี ซิเมนต์ ได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการพิมพ์แบบ 3 มิติ (3D Printing Technology) และ Advanced Materials ด้วยนวัตกรรมการขึ้นรูปวัสดุที่พัฒนาขึ้นสามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานได้โดยไม่จำกัดรูปแบบ มาสร้างสรรค์ต้นแบบปะการังเทียมรุ่นใหม่ที่ได้รับการออกแบบให้มีรูปทรงใกล้เคียงกับปะการังธรรมชาติ มีความเสมือนจริงมากขึ้น โดยใช้ระบบ Extrusion Printing ซึ่งเป็นระบบการผลิตแบบขึ้นรูปด้วยการฉีดเลเยอร์เป็นชั้นๆ เหมาะกับงานโครงสร้างที่ต้องการความแข็งแรง และ Advanced Materials นำมาใช้ออกแบบและจำลองโครงสร้างได้เหมือนปะการังจริง โดยสามารถใช้เศษคอนกรีตจากการรื้อถอนอาคารเป็นส่วนผสมทดแทนหินปูนได้มากถึง 40% โดยการพัฒนาวัสดุคอนกรีตดังกล่าว เมื่อแล้วเสร็จจะขยายผลนำไปทดลองจัดวางจริงในท้องทะเลไทย พื้นที่ ได้แก่ 1.) เกาะราชาใหญ่ จังหวัดภูเก็ต 2.) เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 3.) เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ภายในเดือนพฤษภาคม 2563 ก่อนต่อยอดไปยังพื้นที่อื่นๆ ในประเทศไทยต่อไป และเพื่อรองรับการต่อยอดทางธุรกิจในอนาคต เอสซีจี ยังมีบริการ SCG 3D Printing Service Solution ที่ให้บริการ Co Design & Develop ตลอดจนการหาซัพพลายเชนให้กับลูกค้า เพื่อ Scale Up งานที่อยู่อาศัยเพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น”

นางสาวพิชามน จิตรเป็นธรรม  ผู้อำนวยการ  ธุรกิจสินเชื่อบุคคล “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดแคมเปญเสริมสร้างวินัยในการใช้จ่ายครั้งใหม่ “เคลียร์หนี้” ซีซั่น 11 ให้สมาชิกบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” ที่มีประวัติการชำระดี รับโอกาสลุ้นแบ่งเบาและปลดภาระหนี้ที่มีอยู่ถึง 11 เดือน 11 รอบ รวม 396 รางวัล โดยลงทะเบียนครั้งเดียวสามารถลุ้นรับรางวัลได้ตลอดปี 2563 รางวัลที่ มี 11 รางวัล รับการเคลียร์หนี้คงค้างในบัตร “เคทีซี พราว” เต็มจำนวน        ไม่จำกัดยอดสูงสุด (จับรางวัล 11 รอบๆ ละ รางวัล)  รางวัลที่ 2  มี 385 รางวัล รับการเคลียร์หนี้ 10% ของยอดคงค้าง (จับรางวัล 11 รอบๆ ละ 35 รางวัล) โดยสามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์เข้าร่วมแคมเปญฯ ได้หลายช่องทาง ตั้งแต่วันที่ มกราคม 2563 – 31 ธันวาคม 2563SMS พิมพ์ OK  เว้นวรรค ตามด้วยหมายเลขบัตรกดเงินสดฯ 16 หลัก ส่งไปที่ 061-384-5000 ลงทะเบียนออนไลน์ฟรี ที่ www.ktc.co.th/cleardebt10 หรือลงทะเบียนที่ศูนย์บริการลูกค้า ”เคทีซี ทัช” ทุกสาขา โดยสมาชิกจะได้รับ สิทธิ์ลุ้น เมื่อมียอดเงินต้นคงค้างเพิ่มขึ้นทุกๆ 2,000 บาท เมื่อเทียบกับรอบบัญชีก่อนหน้า และคงค้างทุกวันอย่างน้อย 15 วันจนถึงวันสรุปรอบบัญชี ลงทะเบียนก่อน มีสิทธิ์ลุ้นเคลียร์หนี้ก่อน

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. จัด “งานสัมมนาเปิดตัวเทคโนโลยีและนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยกลุ่มเรื่องอาหาร “Taste of Innovation : นวัตกรรมอาหาร เพื่อการพัฒนา สู่อนาคต” ภายใต้การสนับสนุนของ สวก. โชว์ศักยภาพของผลงานวิจัยที่ตอบโจทย์นโยบายของรัฐบาล ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ คือเกษตรและอาหาร สุขภาพและการแพทย์ ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงและเป็นจุดเริ่มต้นในการผลักดันให้เกิดการลงทุนทางธุรกิจของภาคเอกชนในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งสามารถก่อให้เกิดมูลค่าทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในอนาคตได้ไม่น้อยกว่า 570 ล้านบาท ณ โรงแรม รามาการ์เด้นส์ หลักสี่ กรุงเทพฯ

นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประธานคณะกรรมการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการขับเคลื่อนแนวทางนโยบายตลาดนำการผลิตให้เกิดเป็นรูปธรรมภายใต้การบริหารจัดการสินค้าเกษตร เพื่อให้เกิดความสมดุลทางการตลาดตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ในการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร และให้เกิดความเชื่อมโยงการผลิตและการตลาดระหว่าง เกษตรกร ภาครัฐ และภาคเอกชน โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความสำคัญกับงานวิจัย เพราะเชื่อมั่นว่างานวิจัยคือกลไกสำคัญของการพัฒนาการเกษตรของประเทศ ซึ่งปัจจุบันการทำงานวิจัยจำเป็นต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน

เมื่อโลกปัจจุบันเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว หากพิจารณาในแง่ของประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น จะเห็นได้ว่ามีความต้องการอาหาร และที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้พื้นที่เพาะปลูกลดลง ประกอบกับมีความต้องการอาหารที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน อาหารสุขภาพ และอาหารพร้อมรับประทานมากขึ้นประเทศต่างๆ มีเทคโนโลยีด้านการเกษตรที่ก้าวหน้ามากขึ้น มีข้อมูลเพื่อใช้ในการวางแผน ทำการเกษตรแบบแม่นยำ ซึ่งจะส่งผลให้มีการแข่งขันทางการผลิตและการตลาดที่สูงมาก เมื่อโลกเปลี่ยนไป ประเทศไทยซึ่งเป็นเกษตรกรรมย่อมได้รับผลกระทบ เพราะฉะนั้นสินค้าเกษตรต้องมีการยกระดับคุณภาพผลผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค และต้องมีตลาดรองรับที่แน่นอน

ดร.สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร กล่าวว่า งานสัมมนาเปิดตัวเทคโนโลยีและนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยกลุ่มเรื่องอาหาร “Taste of Innovation : นวัตกรรมอาหาร เพื่อการพัฒนา สู่อนาคต” ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร หรือ สวก. ในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อต้องการเผยแพร่เทคโนโลยีจากผลงานวิจัยกลุ่มเรื่อง “อาหาร” จำนวน 44 โครงการ ซึ่งพร้อมถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีสู่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อนำไปขยายผลสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบาย เชิงสาธารณะ และเชิงพาณิชย์ ประกอบด้วยภาคบรรยาย 14

โครงการ และภาคนิทรรศการ 25 โครงการ นอกจากนี้ ยังมีบูธในส่วนของภาคเอกชนที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจาก สวก. มานำเสนอผลงานอีก 5 โครงการ ทางคณะผู้จัดงานได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมอาหารและอาหารเสริม ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ ไม่น้อยกว่า 200 ท่าน เข้าร่วมงาน โดยหวังว่า ผลงานวิจัยที่นำเสนอในวันนี้ จะเป็นประโยชน์ และเกิดการผลักดันไปสู่การใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยในอนาคต และพิธีลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิผลงานวิจัย แก่ผู้ประกอบการ จำนวน 13 ราย

สำหรับผลงานวิจัยกลุ่มเรื่อง “อาหาร” จำนวน 14 โครงการที่มานำเสนอผลสำเร็จของโครงการอาหารแปรรูปเพื่อสุขภาพ สำหรับงานในครั้งนี้ มีโครงการเด่น 3 โครงการโดดเด่นที่น่าสนใจ ได้แก่

1.โครงการผลิตภัณฑ์ลำไยสดด้วยเทคนิคทางศิลปะวิทยาการอาหารระดับโมเลกุล โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา คงจรูญ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ งานวิจัยชิ้นนี้สืบเนื่องมาจากปัญหาเรื่องลำไยไม่ได้คุณภาพหรือลำไยตกเกรด ทำให้เกษตรกรไม่สามารถจำหน่ายในราคาที่สูงได้ จึงได้นำลำไยตกเกรดเหล่านั้นมาแปรรูปเป็น “ชาลำไยสด” ที่รสชาติอร่อย อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่มีอยู่ในเนื้อลำไย มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ อุดมไปด้วยสารพอลิฟีนอล แคลอรี่ต่ำ ไม่มีน้ำตาล ไม่มีสารกันบูด เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่มีวัตถุดิบจากธรรมชาติ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่านั่นเอง

2.โครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาอาหารเหลวเสริมสุขภาพสำเร็จรูป เพื่อเป็นแหล่งโปรตีนสำหรับผู้สูงอายุ โดย ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง มหาวิทยาลัยขอนแก่น เกิดจากจากการพบว่า แนวโน้มการเพิ่มประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงได้พัฒนาอาหารเหลวเสริมสุขภาพที่มีองค์ประกอบของโปรตีนไฮโดรไลเซทจากไข่ขาวของไข่ไก่และเลือดจระเข้สยาม ที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน มีความอ่อนนุ่มและง่ายต่อการเคี้ยวและกลืนสำหรับผู้สูงอายุมากขึ้น ผลิตภัณฑ์โปรตีนคล้ายเนื้อนี้จะมีให้เลือก 3 รส ได้แก่ รสกล้วย วานิลลา และช็อกโกแลต รับประทานง่ายเพียงแค่อุ่นก็พร้อมรับประทานได้ทันที

3.โครงการผลิตภัณฑ์อาหารว่างไทยและเบเกอรี่ทดแทนแป้งสาลีบางส่วนด้วยแป้งข้าวเจ้า โดย ดร.จันทร์จนา ศิริพันธ์วัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยคัดเลือกผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ที่จำหน่ายในสวนดุสิตโฮมเบเกอรี่จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย แยมโรล ชิฟฟ่อน คุกกี้เนย โดนัทหรือขนมปังไส้กรอกและถ้วยทาร์ต และอาหารว่างไทยยอดนิยมที่มีส่วนผสมของแป้งสาลีเป็นส่วนประกอบ จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ขนมปั้นสิบ กะหรี่ปั๊บ ขนมเกลียวทอง ขนมกรอบเค็มและขนมสาลี่กรอบ แล้วนำมาศึกษาสูตรและกรรมวิธีการผลิตโดยใช้แป้งข้าวเจ้า 4 สายพันธุ์ ได้แก่ ปทุมธานี 1 ขาวตาแห้ง 17 กข41 และ กข6 ทดแทนบางส่วน โดยจุดเด่นของผลิตภัณฑ์จะได้ผลิตภัณฑ์ขนมไทยและเบเกอรี่ที่ใช้แป้งข้าวเจ้าทดแทนแป้งสาลี และได้วัตถุดิบแป้งข้าวที่จัดจำหน่ายให้กับโรงงานผลิตขนมไทยและเบเกอรี่ ช่วยลดต้นทุนและสร้างมูลค่าแป้งข้าวไทย

นอกจากนี้ ภายในงานยังจัดให้มีพิธีลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิผลงานวิจัยของ สวก. จำนวน 13 โครงการ อาทิ โครงการวิจัยและพัฒนาหญ้าหวานเพื่อใช้เป็นผลิตภัณฑ์ให้ความหวาน ระหว่าง สวก.และบริษัท ซูกาเวีย จำกัด,โครงการวิจัยการศึกษาความปลอดภัยและประสิทธิผลลดน้ำตาลในเลือดของมะระขี้นกแคปซูลในผู้ที่มีภาวะก่อนเป็นเบาหวาน ระหว่าง สวก. และมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร, พิธีลงนามโครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์หมี่โคราช ระหว่าง สวก. และห้างหุ้นส่วนจำกัด แม่ตุ้ยหมี่ตะคุ ฯลฯ เป็นต้น

สำหรับพิธีลงนาม “โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยที่มีเบาหวาน โดยใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบหลักเพื่อทดแทนผลิตภัณฑ์นำเข้าจากต่างประเทศ” ระหว่าง สวก. และบริษัท ดีโอดี ไบโอเทค จำกัด (มหาชน)

เป็นโครงการวิจัยที่โดดเด่นและน่าสนใจอย่างมาก เพราะมีประโยชน์และเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันที่พบว่า ปัญหาโรคเบาหวานเป็นปัญหาใหญ่และกำลังทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เพราะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งมาจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงรวมถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ทำให้อัตราการเสียชีวิตและการทุพพลภาพเพิ่มขึ้น ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยเบาหวานมากถึง 4.8 ล้านราย และหลายรายเกิดภาวะแทรกซ้อน

ดร.สุธีรา อินทเจริญศานต์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ผู้คิดค้นและวิจัยโครงการพัฒนาตำรับอาหารท้องถิ่นเป็นอาหารพิเศษสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน กล่าวว่า ปัญหาสำคัญของผู้เป็นเบาหวานที่มักกังวลที่สุด คือ ภาวะของโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ และเป็นสาเหตุหลักของความเจ็บป่วย อาหารถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยควรรู้ว่ารับประทานอย่างไรเพื่อไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นเร็ว จึงต้องควบคุมและเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับตัวเอง โดยเฉพาะอาหารที่ทำมาจากแป้งและน้ำตาล

“งานวิจัยชิ้นนี้เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้มีชีวิตที่ดีขึ้น และยังช่วยลดการนำเข้าผลิตภัณฑ์ต่างประเทศที่มีราคาแพง จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารปรุงสุกพร้อมรับประทานที่ยังคงรักษาคุณค่าทางโภชนาการ รสชาติ เนื้อสัมผัส รวมถึงการยืดอายุการเก็บรักษาของตำรับอาหารพิเศษให้เหมาะสมสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เพื่อเป็นทางเลือกในการควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน รวมถึงบุคคลทั่วไปที่ต้องการดูแลสุขภาพของตนเอง โดยอาหารพิเศษสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานนี้ จะมีจุดเด่นในการเป็นต้นแบบอาหารปรุงสุกพร้อมรับประทานที่พัฒนาและปรับปรุงสูตรมาจากตำรับอาหารท้องถิ่น โดยได้แรงบันดาลใจมาจากการพัฒนามาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีผักและสมุนไพรพื้นบ้านเป็นองค์ประกอบ ซึ่งหลายชนิดมีคุณสมบัติในการช่วยชะลอและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ส่วนวัตถุดิบส่วนใหญ่เป็นพืชผักอินทรีย์ ที่หาง่ายในท้องถิ่นและราคาไม่แพง โดยมีสูตรและวิธีการปรุงประกอบตำรับอาหารทั้งคาวหวาน ซึ่งผู้สนใจสามารถนำไปทำเองที่บ้านได้ และเหมาะกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน รวมถึงบุคคลทั่วไปที่ต้องการดูแลสุขภาพ อาทิ ผู้ที่ต้องการควบคุมแป้งและน้ำตาลเพื่อควบคุมน้ำหนักจากการรับประทานอาหารในชีวิตประจำวันอีกด้วย” ดร.สุธีรา อินทเจริญศานต์ กล่าว

อีกส่วนหนึ่งภายในงาน มีนิทรรศการผลงานวิจัยกลุ่มเรื่องอาหารที่แบ่งออกเป็น 4 โซน ได้แก่ 1.โซน Show Case จัดแสดงผลิตภัณฑ์ผลงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง 2.โซนแสดงต้นแบบผลงานวิจัยพร้อมใช้เชิงพาณิชย์มากกว่า 10 ผลงาน 3.โซนจัดแสดงข้อมูลองค์ความรู้พร้อมใช้เชิงสาธารณะมากกว่า 5 ผลงาน และ 4.โซนคลินิกวิจัยเพื่อให้คำปรึกษาและถ่ายทอดองค์ความรู้พร้อมกับการจับคู่ธุรกิจ พร้อมให้ผู้ร่วมงานเข้ามาชมและศึกษาเพิ่มเติมได้ตลอดเวลา

กรุงเทพฯ 22 มกราคม 2563 – รายงานวิจัยของเอคเซนเชอร์ (NYSE: ACN) เผยข้อมูลจากการสำรวจกลุ่มผู้บริหารระดับสูงที่ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 54) คาดว่าธุรกิจใหม่ ๆ จะเป็นตัวสร้างรายได้ให้บริษัทอย่างน้อยครึ่งหนึ่งในช่วง 3 ปีข้างหน้า แม้ว่าตอนนี้จะมีเพียงหนึ่งในสาม (ร้อยละ 33) ที่ระบุว่า รายได้กว่าครึ่งมาจากธุรกิจใหม่ที่เริ่มต้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
 
รายงานของเอคเซนเชอร์เรื่อง “Make Your Wise Pivot to the New” ใช้ข้อมูลจากการสำรวจผู้บริหารระดับสูง 1,440 ราย ครอบคลุม 11 อุตสาหกรรม ใน 12 ประเทศ เผยให้เห็นว่า มีกิจการเพียงร้อยละ 6 ที่ประสบความสำเร็จจากการปรับตัว ไม่ว่าจะเป็นการมองหาโอกาสใหม่หรือลงทุนในธุรกิจใหม่ ซึ่งเอคเซนเชอร์เรียกว่า wise pivot หรือการปรับทิศอย่างชาญฉลาดเพื่อตอบรับโอกาสใหม่ ซึ่งบริษัทเหล่านี้ได้เปิดเผยว่า ปัจจุบันรายได้ร้อยละ 75 ของบริษัทเป็นผลมาจากกิจกรรม การลงทุนและร่วมทุน เพื่อเจาะตลาดใหม่ที่ไม่ได้ให้ความสนใจและสำรวจในช่วง 3 ปีที่แล้ว ซึ่งมีบริษัทเกือบ 2 ใน 3 (ร้อยละ 64) ของกลุ่มที่จัดว่าเป็น “ผู้ชำนาญการปรับปรับทิศ” (Rotation Master) สามารถเพิ่มยอดขายได้อย่างน้อยร้อยละ 11 ขณะที่บริษัทกว่าครึ่ง (ร้อยละ 57) สามารถดันกำไรให้เติบโตในอัตรานี้เช่นเดียวกัน (ประเมินจากกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา หรือ EBITD)
บทวิเคราะห์ฉบับนี้ ชี้ให้เห็นว่าบริษัทที่เป็น “ผู้ชำนาญการปรับทิศ” มีการปูพื้นฐานที่เหมาะสมสำหรับต่อยอดให้การปรับทิศทางธุรกิจ ประสบความสำเร็จได้ในที่สุด การปูพื้นฐานต่าง ๆ นั้น สรุปได้เป็น 3 แนวทาง ดังนี้
  1. บริษัทกลุ่มนี้เพิ่มความสามารถในการลงทุนได้ด้วยการฟื้นความแข็งแกร่งของธุรกิจหลัก เห็นได้จากร้อยละ 76 ของ “ผู้ชำนาญการปรับทิศ” ที่ระบุว่าบริษัทมีศักยภาพการลงทุนที่เพียงพอต่อการปรับเปลี่ยนธุรกิจเดิมให้คงอยู่ได้ เทียบกับบริษัทอื่นโดยเฉลี่ย ร้อยละ 49 นอกจากนี้ ร้อยละ 70 ของบริษัทที่ปรับทิศได้ดี ยังมีความสามารถในการลงทุนที่เพียงพอต่อการปรับสเกลหรือขยายธุรกิจใหม่ เมื่อเทียบกับบริษัทอื่นอีกร้อยละ 46
  2. บริษัทกลุ่มนี้ใช้กลยุทธ์พัฒนานวัตกรรมแบบรวมศูนย์ โดย 3 ใน 4 (ร้อยละ 76) ของผู้ชำนาญการปรับทิศ เผยว่า ได้รวมเอาทรัพยากรที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างนวัตกรรมเข้ามาอยู่ภายใต้หน่วยงานเฉพาะ เทียบกับบริษัทอื่นร้อยละ 36 ที่ทำเช่นนี้ การตัดสินใจลงทุนต่าง ๆ ก็อยู่ภายใต้อาณัติของผู้บริหารชุดเดียวกัน การนำนวัตกรรมไปใช้ในเชิงพาณิชย์ จึงเกิดประโยชน์และเต็มศักยภาพมากที่สุด นอกจากนี้ เกือบ 4 ใน 5 (ร้อยละ 79) ของบริษัทกลุ่มนี้ยังระบุว่า สิ่งที่สำคัญมาก ๆ คือ ความร่วมมือกับเครือข่ายที่กว้างขวาง ครอบคลุมทั้งพันธมิตรและลูกค้า เพื่อส่งให้กลยุทธ์ด้านนวัตกรรมสัมฤทธิผล เทียบกับบริษัทอื่นราว 2 ใน 3 (ร้อยละ 66) ที่ระบุถึงประเด็นนี้
  3. บริษัทกลุ่มนี้ประสานศักยภาพของธุรกิจหลักและธุรกิจใหม่ให้เกิดประโยชน์ กิจการที่เป็นผู้ชำนาญการปรับทิศสามารถประเมินผลกระทบของธุรกิจใหม่ต่อธุรกิจหลักได้ก่อนที่จะเร่งขยายไปสู่โอกาสใหม่ ๆ ร้อยละ 60 ของผู้ชำนาญการปรับทิศ (เทียบกับกิจการอื่น ร้อยละ 28) ตระหนักดีว่า ธุรกิจใหม่มีศักยภาพในการกำหนดรูปแบบวัฒนธรรมของธุรกิจหลักใหม่ และครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) ของกิจการเหล่านี้ ก็ทราบดีถึงศักยภาพและโอกาสการขายข้ามกัน (cross-sell) ระหว่างธุรกิจหลักและธุรกิจใหม่ เทียบกับกิจการอื่นร้อยละ 29 ที่ตระหนักในเรื่องนี้
 
“กิจการชั้นแนวหน้าประสบความสำเร็จในการปรับทิศทางหาโอกาสใหม่ ๆ ไม่ใช่เพราะมีธุรกิจเดิมเป็นฐาน แต่เพราะไปเสริมธุรกิจเดิมให้แข็งแกร่ง ปรับประสิทธิภาพ ทำให้สามารถปันทรัพยากรที่จำเป็นต่อการขยายธุรกิจใหม่ออกมาได้” นายนนทวัฒน์ พุ่มชูศรี กรรมการผู้จัดการ เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย กล่าว “กิจการเหล่านั้นกล้าที่จะก้าว ตั้งแต่การลดต้นทุนตามแผนกลยุทธ์ผลักดันให้นวัตกรรมกลายเป็นหัวใจหลักของธุรกิจ และขายสินทรัพย์ที่ไม่คุ้มค่าออกไป เพื่อเปลี่ยนธุรกิจหลักให้เป็นขุมพลังขับเคลื่อนการลงทุนใหม่ ๆ ได้ต่อไป”
“จากการทำงานกับลูกค้า ทำให้เห็นว่าบริษัทที่ประสบความสำเร็จ มีการไตร่ตรองเป็นอย่างดีเกี่ยวกับวิธีที่จะพัฒนานวัตกรรมให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร เพื่อปรับธุรกิจหลักและขยับขยายธุรกิจใหม่ไปด้วยกัน บริษัทชั้นแนวหน้าจะเน้นเพิ่มขีดความสามารถด้านนวัตกรรมเพื่อหาแนวคิดดี ๆ ที่มีศักยภาพจากที่ต่าง ๆ ในองค์กร และนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดยมีการสนับสนุนและมีโฟกัสตรงจุดชัดเจน”
 
ปฏิบัติการสำคัญสำหรับ “การปรับทิศอย่างชาญฉลาด”
องค์กรแต่ละแห่งเผชิญกับความท้าทายต่างกันไปเมื่อปรับทิศไปสู่ธุรกิจใหม่ รายงานของเอคเซนเชอร์จึงแนะนำปฏิบัติการหลากหลายรูปแบบสำหรับบริษัทที่ยังไม่ชำนาญเท่า Rotation Master หรือผู้ชำนาญการปรับทิศ
 
Rotation Driver ผู้ขับเคลื่อนการปรับทิศ ได้แก่ กิจการที่มีรายได้ร้อยละ 51 – 75 มาจากธุรกิจที่เริ่มต้นขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา แนะนำให้: 
  • ผลักดันการเติบโตของธุรกิจหลัก ไม่ใช่แค่ลดต้นทุนให้ดีที่สุดเท่านั้น แต่อาจนำระบบอนาลิติกส์เข้ามาใช้ เพื่อวิเคราะห์และทำความเข้าใจลูกค้าที่มีอยู่ได้ดีขึ้น รวมทั้งนำการตลาดดิจิทัลและประสบการณ์ที่ตอบโจทย์แต่ละบุคคล (personalization) มาใช้ให้เกิดประโยชน์
  • เน้นลงทุนในธุรกิจใหม่ที่มีศักยภาพสูงสุดและปรับขยายได้มากที่สุด เช่น การดึงคนเก่ง ๆ หรือซื้อสินทรัพย์ที่มีศักยภาพเข้ามาเสริมทัพอย่างต่อเนื่อง
  • ฟื้นวัฒนธรรมของธุรกิจหลักให้แข็งแกร่ง ด้วยการเสริมศักยภาพใหม่เข้าไป เช่น การดึงนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลเข้ามา เพื่อหาโอกาสการใช้บิ๊กดาต้าให้เกิดประโยชน์มากที่สุดและนำมาใช้ด้วยความรับผิดชอบ
Rotation Starter ผู้เริ่มต้นปรับทิศ ได้แก่ กิจการที่มีรายได้ร้อยละ 1 – 25 มาจากธุรกิจที่เริ่มต้นขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา แนะนำให้:
  • ปรับโครงสร้างการดำเนินงานในปัจจุบันตั้งแต่ระดับฐานราก รวมถึงการขายกิจการหรือสินทรัพย์ที่ไม่คุ้มค่าออกไป เพื่อให้สามารถลงทุนได้เพิ่มขึ้น
  • วางพื้นฐานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านนวัตกรรม อย่างห้องปฏิบัติการนวัตกรรม เพื่อเริ่มบ่มเพาะแนวคิดใหม่ ๆ ในองค์กร
  • รวมกลุ่มและขยายความร่วมมือกับพันธมิตรต่าง ๆ เพื่อทดสอบแนวคิดเชิงพาณิชย์ใหม่ ๆ ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม จนมีความพร้อมสำหรับการเข้าไปเจาะตลาดก่อน

5 เรื่องที่หลายคนยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับ “แกร็บ”

 

นาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก “แกร็บ” (Grab) แอปพลิเคชันเรียกรถสุดฮอตที่เปิดให้บริการในเมืองไทยมาแล้วกว่า 6 ปี โดยปัจจุบันได้ขยายธุรกิจไปในบริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สั่งอาหารออนไลน์ผ่าน GrabFood บริการส่งพัสดุหรือสิ่งของผ่าน GrabExpress ฟีเจอร์สั่งซื้อของสดหรือสินค้าจากซุปเปอร์มาร์เก็ตอย่าง Groceries รวมไปถึงบริการทางการเงินต่างๆ ผ่าน GrabPay และถึงแม้ว่าคนไทยจะคุ้นชินกับซูเปอร์แอปอย่างแกร็บมาเกินกว่าครึ่งทศวรรษ แต่ก็ยังมีบางเรื่องที่หลายคนยังคงเข้าใจผิดเกี่ยวกับแอปนี้ มาดูกันว่า 5 ประเด็นหลักที่หลายคนยังสับสนเกี่ยวกับแกร็บ ประเทศไทย มีอะไรบ้าง

 

“แกร็บ” เป็นบริษัทต่างชาติ ไม่เสียภาษี?

แม้ว่าแอปพลิเคชันแกร็บจะริเริ่มและก่อตั้งโดยสองนักธุรกิจชาวมาเลเซียอย่าง แอนโทนี ตัน และฮุย หลิง ตัน แต่เมื่อเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยนับตั้งแต่ปี 2556 แกร็บได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทสัญชาติไทยอย่างถูกต้องกับกระทรวงพาณิชย์ภายใต้ชื่อ บริษัท แกร็บแท็กซี่ (ประเทศไทย) จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 2,880 ล้านบาท ปัจจุบัน แกร็บ ประเทศไทยมีบริษัทไทยถือหุ้นอยู่ถึง 75% โดยหนึ่งในนั้นคือ กลุ่มเซ็นทรัล ซึ่งได้ประกาศการลงทุนในแกร็บ ประเทศไทยในช่วงต้นปี 2562 ที่ผ่านมา โดยมีมูลค่าสูงถึง 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 6,200 ล้านบาท ในฐานะบริษัทไทย แกร็บ ประเทศไทย จึงมีหน้าที่ในการเสียภาษีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ อาทิ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งปฏิบัติตามกฎหมายของกรมสรรพากรอย่างเคร่งครัดไม่ต่างไปจากบริษัทไทยทั่วไป

 

นั่ง “แกร็บ” มีความเสี่ยง ไร้ความคุ้มครอง?

คนที่ไม่เคยใช้บริการเรียกรถผ่านแอปอาจจะรู้สึกเสี่ยงหรือมีความกังวลในเรื่องปลอดภัย สำหรับบริษัทผู้พัฒนาแอปพลิเคชันเรียกรถชั้นนำระดับโลกแล้ว ความปลอดภัยในการเดินทางของผู้โดยสารถือเป็นหนึ่งในภารกิจที่สำคัญที่สุด แกร็บให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัย อาทิ เทคโนโลยียืนยันตัวตนด้วยการเซลฟีของทั้งคนขับและผู้โดยสาร เพื่อสร้างความอุ่นใจให้กับทั้งสองฝ่าย ฟีเจอร์ Share My Ride ซึ่งผู้โดยสารสามารถแชร์รายละเอียดการเดินทางให้ครอบครัวหรือเพื่อนได้รับทราบ ทั้งตำแหน่งของรถ เส้นทางการเดินทาง รายละเอียดของคนขับทั้งชื่อ-นามสกุลและภาพถ่าย รวมถึงระยะเวลาโดยประมาณที่ผู้โดยสารจะไปถึงจุดหมาย หรือปุ่มขอความช่วยเหลือเพื่อติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทันทีในกรณีฉุกเฉิน นอกจากนี้ ยังมี Call Center ที่คอยให้ความช่วยเหลือทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง ที่สำคัญแกร็บยังได้ทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลที่คุ้มครองทั้งผู้โดยสารและคนขับในทุกเที่ยวการเดินทาง โดยมีวงเงินคุ้มครองสูงสุดถึง 100,000 บาทในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ รวมถึงทุนประกันชีวิตสูงสุดถึง 200,000 บาท

 

ใครๆ ก็ขับ “แกร็บ” ได้ เปิดช่องให้เกิดอาชญากรรม?

ถึงแม้ว่าแกร็บจะเปิดโอกาสให้คนที่มีรถยนต์ส่วนบุคคลสามารถหารายได้เสริมจากการให้บริการรับส่งผู้โดยสารโดยเรียกผ่านแอป แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะสามารถขับแกร็บได้ คนที่จะมาเป็นพาร์ทเนอร์ของแกร็บจะต้องผ่านกระบวนการคัดกรองที่เข้มงวด โดยมีการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมย้อนหลังถึง 7 ปี หากพบประวัติเคยกระทำความผิดทางกฎหมายใดๆ ก็จะไม่สามารถให้บริการได้ เมื่อผ่านการคัดเลือกแล้วคนขับจะต้องผ่านการอบรมด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เทคนิคในการรับงาน มารยาทในการให้บริการ มาตรความปลอดภัยด้วย รวมทั้งมีการกำหนดหลักปฏิบัติและจรรยาบรรณเพื่อเป็นแนวทางในการทำงานให้กับคนขับทุกคน นอกจากนี้ แกร็บยังรับฟังความคิดเห็นของผู้โดยสารเพื่อพร้อมปรับปรุงการให้บริการอยู่เสมอ โดยมีระบบการให้คะแนนหลังการเดินทาง ซึ่งถือเป็นการประเมินผลการให้บริการของคนขับไปในตัวโดยจะส่งผลต่อค่าตอบแทน โบนัสและสิทธิประโยชน์อื่นๆ และในกรณีที่คนขับกระทำความผิดหรือฝ่าฝืนข้อบังคับต่างๆ แกร็บมีระบบแบนคนขับหรือการระงับสัญญาณการให้บริการในระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยแกร็บพร้อมให้การสนับสนุนเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในด้านข้อมูลของคนขับเพื่อประโยชน์ในการสืบสวนสอบสวน

 

“แกร็บ” เอาเปรียบคนขับ ทำนาบนหลังคน?

บางคนคิดว่าแกร็บเอาเปรียบคนขับจากการหักเปอร์เซ็นต์ค่าบริการ โดยอาจไม่ทราบว่าอันที่จริงแล้วแกร็บให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนขับมาตั้งแต่เริ่มต้นดำเนินธุรกิจ ปัจจุบันมีพาร์ทเนอร์คนขับนับแสนคนที่ใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชันแกร็บในการสร้างรายได้จากอาชีพอิสระ โดยนอกจากค่าโดยสารแล้ว คนขับแกร็บยังได้รับผลตอบแทนในรูปแบบอื่นๆ อย่างเช่น โบนัส อินเซนทีฟ หรือส่วนลดค่าคอมมิชชัน นอกจากนี้ ยังมีสิทธิประโยชน์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ประกันสุขภาพ การผ่อนชำระสินค้ารายวัน การให้สินเชื่อ ส่วนลดจากพันธมิตร ทั้งบริการที่เกี่ยวกับการซ่อมบำรุงรถ น้ำมัน อาหาร ท่องเที่ยว รวมถึงการจัดกิจกรรมพิเศษ

และคอร์สอบรมต่างๆ ทุกเดือนเพื่อเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาทักษะให้กับคนขับ นอกเหนือจากคนขับแล้ว แกร็บยังดูแลไปถึงครอบครัวด้วย โดยหนึ่งในโครงการสำคัญที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2561 คือ Grab The Future เพื่อมอบทุนการศึกษาให้กับบุตรของพาร์ทเนอร์คนขับ โดยปัจจุบันแกร็บมอบทุนไปแล้ว 4 ล้านบาท ครอบคลุม 700 ครอบครัว

 

คนขับ “แกร็บ” แย่งงานแท็กซี่?

หลายคนคิดว่าบริการการเดินทางของแกร็บมีเฉพาะที่เป็นรถยนต์ส่วนบุคคลเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วยังมีคนขับแท็กซี่ที่เห็นประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีในการหาผู้โดยสารอยู่บนแพลตฟอร์มของแกร็บอีกเป็นจำนวนมาก ปัจจุบัน มีคนขับรถแท็กซี่หลายหมื่นคนที่รับงานผ่านแอปพลิเคชันแกร็บ ซึ่งถือเป็นการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงผู้โดยสาร จากเดิมที่ต้องรอผู้โดยสารที่โบกเรียกตามท้องถนนเพียงอย่างเดียว จากผลวิจัยของศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งได้สำรวจความคิดเห็นของคนขับแท็กซี่เมื่อเร็วๆ นี้พบว่า 99% ของคนขับแท็กซี่บอกว่าแอปพลิเคชันเรียกรถช่วยให้เข้าถึงผู้โดยสารและทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น เทคโนโลยีของแกร็บทำให้คนขับทราบจุดหมายปลายทางของผู้โดยสารล่วงหน้าทำให้แมตช์กับเส้นทางที่คนขับสะดวกเดินทาง ซึ่งช่วยแก้ปัญหาการปฏิเสธผู้โดยสาร มีระบบ GPS ที่ช่วยแนะนำเส้นทาง ทั้งยังมีฟีเจอร์แปลภาษาที่ช่วยให้คนขับสามารถสื่อสารกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้

Image preview

กรุงเทพฯ, 20 มกราคม 2563 - ทีเอ็มบี หรือ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย แจ้งผลประกอบการ 12 เดือน ปี 2562 โดยนายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี กล่าวถึงภาพรวมการดำเนินงานว่า “ปี 2562 นับว่ามีความท้าทายไม่น้อยทั้งในเรื่องของภาพรวมทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในอุตสาหกรรมธนาคาร ขณะที่ทีเอ็มบีเองก็มีโครงการรวมกิจการ ด้วยปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ตลอดทั้งปีทีเอ็มบีจึงให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบ มุ่งปรับปรุงคุณภาพพอร์ตสินเชื่อและฐานะทางการเงินให้มีความแข็งแกร่ง ขณะเดียวกันก็ได้เริ่มเตรียมความพร้อมสำหรับการรวมกิจการ ไม่ว่าจะเป็นการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ M-Rate ของทั้งสองธนาคารให้อยู่ในระดับเดียวกัน การเตรียมสภาพคล่องไว้ขยายพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อ การขายหุ้นใน บลจ.ธนชาต เพื่อตอกย้ำกลยุทธ์การให้บริการกองทุนรวม Open Architecture ของทีเอ็มบี จากการเตรียมการต่างๆ เหล่านี้ จึงมั่นใจว่าธนาคารมีความพร้อมสำหรับก้าวใหม่ในปี 2563 ไม่ว่าจะเป็นการใช้มาตรฐานบัญชี IFRS 9 และการดำเนินการรวมกิจการตามแผนที่ได้วางไว้”

ทั้งนี้ ภายหลังเสร็จสิ้นขั้นตอนการซื้อหุ้นธนาคารธนชาตเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา ในงบการเงินรวมของทีเอ็มบี จะรวมผลการดำเนินงานของธนาคารธนชาตในฐานะบริษัทย่อยเข้ามา โดยด้านงบดุลจะรวมผลการดำเนินงานของธนาคารธนชาต ณ สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2562 ขณะที่งบกำไรขาดทุนนั้น จะรวมผลการดำเนินงานของธนาคารธนชาตเฉพาะช่วงวันที่ 4-31 ธันวาคม 2562

ส่งผลให้ ณ สิ้นปี 2562 ทีเอ็มบีมีสินทรัพย์ ตามงบการเงินรวม จำนวน 1.9 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจาก 0.9 ล้านล้านบาท ณ สิ้นปี 2561 ด้านเงินฝากเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.4 ล้านล้านบาท จาก 0.6 ล้านล้านบาท จากผลของการรวมกิจการและการเติบโตอย่างต่อเนื่องของเงินฝากที่เป็น Flagship Product ของทีเอ็มบี โดยเฉพาะจากเงินฝากบัญชี ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี และทีเอ็มบี โนฟิกซ์ ด้านสินเชื่อเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.4 ล้านล้านบาท จาก 0.7 ล้านล้านบาท จากพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อของธนาคารธนชาตที่รวมเข้ามา ขณะที่สินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับรายย่อยของทีเอ็มบีก็ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องเช่นกัน

ในส่วนของรายได้จากการดำเนินงานรอบ 12 เดือน ปี 2562 ตามงบการเงินรวม อยู่ที่ 39,821 ล้านบาท ลดลงจาก 48,042 ล้านบาท ในปีก่อนหน้า ทั้งนี้ การลดลงมีสาเหตุหลักจากการลดลงของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย จากการเปรียบเทียบกับฐานสูงในปี 2561 ซึ่งในปีดังกล่าว ทีเอ็มบีมีการบันทึกรายได้พิเศษจากการขายหุ้น TMBAM 65% จำนวน 1.2 หมื่นล้านบาท จึงทำให้รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย (งบการเงินรวม ) ในปี 2561 อยู่ที่ 23,545 ล้านบาท สูงกว่า 12,956 ล้านบาท ในปี 2562 ทั้งนี้ หากตัดรายการพิเศษดังกล่าวออกไป รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยในปี 2562 จะเพิ่มขึ้นประมาณ 11% เมื่อประกอบกับรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่เพิ่มขึ้น 9.7% YoY มาอยู่ที่ 26,865 ล้านบาท จากรายได้จากเงินให้สินเชื่อที่เพิ่มขึ้น และการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยการให้เช่าซื้อและสัญญาเช่าการเงินจากธนาคารธนชาต จะทำให้รายได้จากการดำเนินงานในปี 2562 ปรับตัวดีขึ้น 10% โดยประมาณ

ทั้งนี้ ในส่วนของธุรกรรมการขายหุ้น บลจ.ธนชาต หรือ TFUND นั้น สำหรับทีเอ็มบีจะรับรู้รายการขายดังกล่าวจากธนาคารธนชาต ซึ่งเป็นบริษัทลูก แต่ทีเอ็มบีจะไม่มีการบันทึกกำไรจากรายการนี้ เนื่องจากในการรวมกิจการ ทีเอ็มบีดำเนินการบันทึกและรับรู้มูลค่าของ TFUND เข้ามาด้วย Fair Value แล้ว ดังนั้น การที่ธนาคารธนชาตขายหุ้น TFUND ออกไป 25.1% ที่เกิดขึ้นในไตรมาส 4 นั้น จึงไม่มีการบันทึกกำไร โดยสำหรับ TFUND ส่วนที่เหลือ 49.9% ที่ธนาคารธนชาตถืออยู่ ทีเอ็มบีจะรับรู้รายได้เข้ามาจากส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วม (Profit sharing from associate company)

ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (งบการเงินรวม) อยู่ที่ 20,674 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.3% จากปีก่อนหน้า การเพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเป็นผลจากการรับรู้ค่าใช้จ่ายของธนาคารธนชาต ประกอบกับในปี 2562 มีค่าใช้จ่าย one-time หลายรายการ เช่น ค่าใช้จ่าย Employee Retirement Benefit ตามพรบ.คุ้มครองแรงงานฉบับแก้ไขใหม่ ค่าใช้จ่ายที่ปรึกษาโครงการรวมกิจการ (Advisory Fee) เป็นต้น

โดยทั้งปี 2562 ทีเอ็มบีดำเนินการตั้งสำรองฯ เป็นจำนวน 10,337 ล้านบาท ตามแผนการปรับปรุงคุณภาพพอร์ตสินเชื่อ ซึ่งหลังจากหักสำรองฯ และภาษี ธนาคารมีกำไรสุทธิสำหรับปี 2562 จำนวน 7,222 ล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับ 11,601 ล้านบาท ในปีก่อนหน้า จากผลของการบันทึกรายได้พิเศษในปี 2561 และค่าใช้จ่าย one-time ที่เกิดขึ้นในปี 2562 ที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้า

ด้านคุณภาพสินทรัพย์ปรับตัวดีขึ้นตามแผน โดยในส่วนของทีเอ็มบี (งบการเงินเฉพาะ) สามารถลดสัดส่วนหนี้เสียลงมาอยู่ที่ 2.33% จาก 2.76% ในปีที่แล้ว ส่วนอัตราส่วนสำรองฯ ต่อหนี้เสีย ซึ่งสะท้อนความสามารถในการรองรับความเสี่ยงอยู่ที่ 140% (งบการเงินเฉพาะ) เป็นไปตามเป้าหมายที่ทีเอ็มบีตั้งไว้ สำหรับงบการเงินรวม สัดส่วนหนี้เสียอยู่ที่ 2.30% และอัตราส่วนสำรองฯ ต่อหนี้เสียยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 120%

ท้ายสุดในส่วนของระดับความเพียงพอของเงินกองทุน ในเบื้องต้นอัตราส่วน CAR และ Tier I (งบการเงินรวม) ณ สิ้นปี 2562 ประมาณการณ์ว่าจะอยู่ที่ 17% และ 13% ซึ่งยังคงเป็นไปตามเกณฑ์ Basel III และสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ 11.0% และ 8.5% ตามลำดับ

นายปิติ ตัณฑเกษม กล่าวในตอนท้ายว่า “สำหรับปี 2563 นี้ ผู้บริหารชุดใหม่ที่เป็นการประสานความร่วมมือระหว่างผู้บริหารจากทั้งสองธนาคาร พร้อมเดินหน้าสานพันธกิจการรวมกิจการ เพิ่มศักยภาพของธนาคารในการให้บริการและส่งมอบประสบการณ์ทางการเงินที่ดียิ่งขึ้นให้กับฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้นแตะระดับ 10 ล้านราย และในส่วนของเป้าหมายทางการเงินปี 2563 นี้ อยู่ระหว่างการนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการในปลายสัปดาห์นี้”

Image preview

“เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ สภากาชาดไทย ขอเชิญชวนสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีผู้มีจิตศรัทธาร่วมส่งน้ำใจช่วยเหลือและฟื้นฟูพื้นที่ประสบไฟป่าในประเทศออสเตรเลียผ่านสภากาชาดไทย โดยใช้คะแนน KTC FOREVER ทุก 1,000 คะแนน เปลี่ยนเป็นเงินบริจาค 100 บาท ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2563 - 31 มีนาคม 2563 ผ่าน 3 ช่องทาง 1) KTC PHONE      02 123 5000 กด ศูนย์  2) แอปฯ “KTC Mobile” เลือกบัตรที่ต้องการทำรายการ > คะแนน > แลกคะแนน > บริจาค > ทำรายการตามขั้นตอน โดยดาวน์โหลดแอปได้ที่ App Store และ Google Play 3) KTC Online เข้า www.ktc.co.th/online > เลือกบัตรที่ต้องการทำรายการ > คะแนนสะสม > บริจาค > ทำรายการตามขั้นตอน ทั้งนี้ เงินบริจาคสามารถนำใบเสร็จรับเงินไปลดหย่อนภาษีได้  

Image preview

ทิพยประกันภัย สนับสนุน ครบรอบ 30 ปี EPA โครงการปริญญาโท สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ สำหรับนักบริหาร (EPA) คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลักสูตรที่สร้างผู้บริหาร ผู้นำในองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยภายในงานมีการจัดกิจกรรมเสวนาในรูปแบบพิเศษ EPA Executive Talk ภายใต้หัวข้อ "Creative Digital Government" โดยมี ดร.สมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัททิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) , คุณวิชัย ทองแตง ประธานกรรมการ โรงพยาบาลพญาไท 1, 2,3 จำกัด, คุณวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน และคุณธีรรัตน์ ปัณฑรสูตร กรรมการผู้จัดการ บริษัทซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมเสวนา นอกจากนี้ยังมีคุณติ๊ก ชิโร่ ศิษย์เก่า EPA ศิลปินชื่อดังมาแต่งเพลง และร้องเพลง 30ปี EPA อีกด้วย ท่ามกลางบรรยากาศที่แสนอบอุ่นของศิษย์เก่า EPA ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

กรุงเทพฯ: ธนาคารไทยพาณิชย์และบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักสำรองของปี 2562 จำนวน 95,560 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30% จากปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นผลจากการรับรู้กำไรพิเศษจากการขายหุ้นในบริษัทไทยพาณิชย์ประกันชีวิต ทั้งนี้ธนาคารมีการตั้งสำรองพิเศษในปี 2562 ส่งผลให้ธนาคารมีกำไรสุทธิ (งบการเงินรวมก่อนตรวจสอบ) จำนวน 40,436 ล้านบาท นอกจากนี้ ธนาคารประกาศเงินปันผลพิเศษแก่ผู้ถือหุ้นในอัตรา 0.75 บาทต่อหุ้น โดยมีกำหนดจ่ายในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์นี้

รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเติบโต 3% จากปีก่อนเป็นจำนวน 99,402 ล้านบาท แม้ว่าทิศทางอัตราดอกเบี้ยในปี 2562 อยู่ในขาลง และยอดสินเชื่อรวม ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562 ลดลงเล็กน้อยจากปีก่อน ธนาคารยังคงสามารถขยายฐานรายได้จากการปรับพอร์ตสินเชื่อด้วยการเพิ่มสัดส่วนของสินเชื่อที่ให้ผลตอบแทนสูง

รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 59จากปีก่อน เป็นจำนวน 66,696 ล้านบาท โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากกำไรของเงินลงทุนที่เกิดจากการขายหุ้นของธนาคารในบริษัทไทยพาณิชย์ประกันชีวิตในช่วงปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา หากไม่รวมกำไรพิเศษดังกล่าว รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเติบโต 2% จากปีก่อน โดยรายได้ประเภท recurring ปรับตัวดีขึ้น และในไตรมาสที่สี่ธนาคารมีการรับรู้รายได้ใหม่จากความร่วมมือทางธุรกิจกับพันธมิตรด้านประกันชีวิต

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 9% จากปีก่อนเป็นจำนวน 70,538 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากค่าใช้จ่ายครั้งเดียวในการตั้งสำรองผลประโยชน์พนักงานตามกฎหมายแรงงานใหม่ และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับโครงการ Transformation ทั้งนี้จากการเติบโตของรายได้รวมที่ 20% จากปีก่อน ทำให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ในปี 2562 ปรับลดลงมาเป็น 42.5%

อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ อยู่ที่ 3.41% ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562 เพิ่มขึ้นจากประมาณ 3% ในครึ่งแรกของปี การเพิ่มขึ้นของสินเชื่อด้อยคุณภาพสะท้อนถึงความท้าทายของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจอันเกิดจากความผันผวนของเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังและการที่ธนาคารใช้นโยบายระมัดระวังในการจัดชั้นลูกหนี้

จากแนวโน้มของคุณภาพสินเชื่อในปัจจุบันและความผันผวนของสภาวะเศรษฐกิจ ธนาคารได้ตั้งเงินสำรองจำนวน 36,211 ล้านบาท ในปี 2562 และอัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพของธนาคาร ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562 อยู่ที่ 134%

เงินกองทุนตามกฎหมายของธนาคาร ณ สิ้นปี 2562 อยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ 18.1% ดังนั้น ภายหลังการขายหุ้นของธนาคารในบริษัทไทยพาณิชย์ประกันชีวิตได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว คณะกรรมการธนาคารได้มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลพิเศษแก่ผู้ถือหุ้นในอัตรา 0.75 บาทต่อหุ้น ทั้งนี้ เงินปันผลปกติจากการดำเนินงานของธนาคารประจำปี 2562 จะได้รับการพิจารณาและอนุมัติในวันประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2562 ในเดือนเมษายน 2563

นายอาทิตย์ นันทวิทยา กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า

จากความผันผวนของเศรษฐกิจธนาคารใช้หลักความระมัดระวังในการดำเนินธุรกิจโดยเฉพาะการเติบโตของสินเชื่อที่มุ่งเน้นการปล่อยสินเชื่อที่มีคุณภาพ จากการคาดการณ์ว่าสินเชื่อทั้งระบบจะเติบโตในระดับปานกลาง ธนาคารจะยังคงให้ความสำคัญต่อการปรับพอร์ตสินเชื่อไปสู่ธุรกิจที่ให้อัตราผลตอบแทนสูง การปล่อยสินเชื่อผ่านช่องทางดิจิทัล และธุรกิจการบริหารจัดการความมั่งคั่ง พร้อมกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและบริหารจัดการต้นทุนค่าใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ นอกจากนี้ จากความสำเร็จในการพัฒนาขีดความสามารถใหม่ ๆ ผ่านโครงการ Transformation ธนาคารกำลังนำขีดความสามารถดังกล่าวมาใช้ในเชิงรุกยิ่งขึ้น และทำงานร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจและฟินเทคชั้นนำในการพัฒนาธุรกิจในรูปแบบใหม่เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในระยะยาว

Page 4 of 6
X

Right Click

No right click