×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 813

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 810

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 805

ความชัดเจนในการออกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกรรมดิจิทัล จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีบทบาทในการทำหน้าที่กำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนไทยให้เป็นแหล่งระดมทุนและแหล่งลงทุนที่มีประสิทธิภาพของทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป

จากกรณีที่กระทรวงการคลังได้ออกหนังสือเตือนนักลงทุนมาตลอดว่าสกุลเงินดิจิทัล ไม่ใช่สกุลเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย การลงทุนมีความเสี่ยง

ตามด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศขอความร่วมมือสถาบันการเงินไม่ให้ทำธุรกรรม หรือมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Cryptocurrency (สกุลเงินดิจิทัล) ทั้งการเข้าไปลงทุนหรือซื้อขายเพื่อประโยชน์ของสถาบันการเงินและหรือผลประโยชน์ของลูกค้า, การให้บริการรับแลกเปลี่ยน, การสร้างแพลตฟอร์มเพื่อเป็นสื่อกลางทำธุรกรรมระหว่างลูกค้า, การใช้บัตรเครดิตในการซื้อ และการรับให้คำปรึกษาเพื่อลงทุนหรือการแลกเปลี่ยน Cryptocurrency

จากนั้นมีความเคลื่อนไหวของ เจ เวนเจอร์ส จำกัด (เจวีซี) บริษัทลูกของบริษัท เจมาร์ทจำกัด (มหาชน) ได้เปิด ICO (Initial Coin Offering)  ออก Cryptocurrency ที่มีชื่อว่า "เจฟินคอยน์" โดยมีเป้าหมายเพื่อระดมทุนเงินดิจิทัลสำหรับนำมาเปิดตัวโปรเจคโครงการหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัท นับว่าเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามกระแสของโลกยุคดิจิทัล

อย่างไรก็ตามในด้านของความชัดเจนในการออกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกรรมดิจิทัลนั้น รพี สุจริตกุล เลขาธิการกรรมการในคณะกรรมการกำกับตลาดทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)  กล่าวถึงการระดมทุนในรูปแบบ ICO อยู่ระหว่างการพิจารณาของ 4 หน่วยงานรัฐ โดยจะมีการพิจารณาเพื่อนำกฎหมายที่มีอยู่มากำกับ Cryptocurrency ซึ่งแนวทางในการกำกับดูแลเป็นเรื่องใหม่ และในปัจจุบันนี้ยังไม่มีประเทศไหนที่มีแนวทางในการกำกับดูแลได้อย่างชัดเจน

ทั้งนี้แนวทางกำกับดูแลการระดมทุนผ่านเงินสกุลดิจิทัลของก.ล.ต.นั้น กำลังศึกษาแนวทางเพื่อนำข้อสรุปเสนอสู่การพิจารณาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้

 

 

ทิพยสุดา ถาวรามร รองเลขาธิการ กรรมการในคณะกรรมการกำกับตลาดทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)  กล่าวถึงประกาศของธปท. ที่ไม่ให้สถาบันการเงินเข้าลงทุนในเงินดิจิทัลนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ขัดกันในนโยบาย

ซึ่งมองว่าธปท.ดำเนินการเพื่อเตือนไม่ให้ธนาคารพาณิชย์ที่อยู่ภายใต้การดูแลเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงเท่านั้น และบริษัทที่มีการระดมทุน ICO ก่อนที่เกณฑ์จะออกนั้น ก.ล.ต.ไม่สามารถห้ามไม่ให้บริษัททำธุรกิจได้ และยังไม่มีหลักเกณฑ์ในการดูแล ดังนั้นผู้ที่จะออกต้องคำนึงถึงผลกระทบของราคาหุ้น หรือกิจการของบริษัทจดทะเบียนด้วย ซึ่งบริษัทต้องมีการกำกับดูแลความเสี่ยงด้วย

ในด้านของการพิจารณากฎเกณฑ์การควบคุมสินทรัพย์การลงทุนในรูปดิจิทัล หรือดิจิทัล แอทเซส ที่ผ่านมาสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง และ ธปท. มีความเห็นให้ก.ล.ต.เป็นผู้ดูแลในการดำเนินการหาแนวทางควบคุม

ซึ่งดิจิทัล แอทเซส มีความคล้ายคลึงกับหลักทรัพย์ และสามารถซื้อขายในตลาดรองได้ แต่อย่างไรก็ตามไม่สามารถนำพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เข้าดูแลได้ นั่นเพราะดิจิทัล แอทเซส ไม่ใช่หลักทรัพย์จึงต้องหาแนวทางโดยทำงานร่วมกับทีมกฎหมายของกระทรวงการคลังว่า จะใช้กรอบกฎหมายแบบใดที่จะให้ก.ล.ต.กำกับดูแล ทั้งในด้านธุรกิจที่เกี่ยวข้อง หรือ ธุรกิจนายหน้าการซื้อขาย ซึ่งในต่างประเทศ ไม่ได้มีหลักเกณฑ์การดูแลดิจิทัล แอทเซส มาก่อน จึงต้องหารือว่าจะดำเนินการอย่างไร รวมถึงดูแลกฎเกณฑ์ ICO เพื่อเสนอสู่การพิจารณาของคณะกรรมการก.ล.ต.ในเวลาต่อไป

ICO VS. IPO

February 05, 2018

ICO เป็นของใหม่ที่เกิดขึ้นมาบนโลกนี้และเร็วๆ นี้ก็จะมีการออก ICO ของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทยเกิดขึ้น ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จึงออกอินโฟกราฟฟิกเพื่อช่วยทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ICO โดยเปรียบเทียบกับ IPO ซึ่งเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยกันดีในตลาดทุน แม้ปัจจุบันเกณฑ์ในการกำกับดูแล ICO ยังไม่ออกมาแต่อินโฟกราฟฟิกชุดนี้ก็เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเบื้องต้นสำหรับผู้ที่สนใจ

ข่าวฮือฮาเกี่ยวกับมูลค่าของ Bitcoin เงินตราอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำนิวไฮให้เห็นมาอย่างต่อเนื่อง ตามมาด้วยความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องในโลกการเงิน ที่มีทั้งมองเงินตราดิจิทัลในแง่บวกและลบ แต่ก็ยังไม่สามารถหยุดยั้งความร้อนแรงของกระแส Cryptocurrency บนโลกใบนี้ไปได้

 

และในโลก Cryptocurrency นอกจาก Bitcoin ที่ครองตลาดอยู่กว่าครึ่งแล้ว ยังมีเหรียญดิจิทัลอีกกว่า 1,200 เหรียญในตลาดที่มีมูลค่ารวมกว่า 1.7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ณ วันที่ 28 ตุลาคม 2560) เป็นเรื่องที่น่าดีใจเมื่อพบว่า หนึ่งในเหรียญที่อยู่ในตลาดนี้ มีเหรียญหนึ่งที่เกิดจากมันสมองของคนไทย ผู้มีความมุ่งมั่นกับเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับ Cryptocurrency

 

Zcoin คือเหรียญที่เรากำลังจะพูดถึง แม้จะยังไม่โด่งดังเท่ากับ Bitcoin แต่ Zcoin ก็เป็นเครื่องยืนยันว่า คนไทยมีความสามารถที่หลากหลาย ไม่เว้นในสายเทคโนโลยีเข้มข้นอย่างเช่นในวงการ Crytocurrency และเมื่อได้รับโอกาสก็สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจออกมาได้

 

ปรมินทร์ อินโสม ผู้ก่อตั้งและร่วมพัฒนา ZCoin ปัจจุบันยังเป็นซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง บ.สตางค์ คอร์ปอเรชัน จำกัด มาเล่าเรื่องราวของ Zcoin และความเป็นไปของโลก Cryptocurrency ที่น่าสนใจนี้

ปรมินทร์เล่าเรื่อง Zcoin ว่า จุดเริ่มต้นมาจากขณะที่ไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งโดยส่วนใหญ่นักศึกษาที่ไปเรียนต่อมักจะหางานพิเศษทำ โดยมีงานพิเศษในร้านอาหารเป็นที่นิยมของกลุ่มนักศึกษา แต่เขามองว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่เขาจะใช้สิ่งที่เรียนเกี่ยวกับ Information Security หรือการรักษาความปลอดภัยบนระบบสารสนเทศมาหารายได้ 

 

“ตอนนั้น Crytocurrency เป็นหนึ่งในตัวเลือกของผมเหมือนกัน Bitcoin เพิ่งเพิ่มมูลค่าจาก 300 เหรียญไปที่ 1,300 เหรียญ เป็นปรากฏการณ์ที่ออกข่าวทุกช่อง และทุกเว็บไซต์ คนในฝั่งผมที่เปิดเว็บไซต์ออนไลน์อยู่แล้วก็ได้ดูข่าว ผมก็เริ่มสนใจ Bitcoin และเริ่มศึกษาว่าทำอย่างไรที่จะหาเงินจาก Bitcoin ได้ด้วยความรู้ที่ผมมีเกี่ยวกับ Information Security นั่นคือจุดเริ่มต้น ซึ่งพอเข้าไปศึกษา ผมก็มองว่า Bitcoin จะมีการขุด แก้โจทย์คณิตศาสตร์แข่งกันแล้วได้ Bitcoin ไป ผมก็เข้าไปคลุกคลีในช่วงเวลาหนึ่ง และมองว่าผมยังมีศักยภาพหรือมีความรู้ที่มากกว่าการทำแบบนั้น และมองว่า เป็นไปได้ไหมที่จะสร้างเหรียญของตัวเองขึ้นมา จากการที่มีความรู้อยู่แล้ว และไปดูตัวซอร์สโค้ดของ Bitcoin ที่เขาโอเพ่นซอร์สอยู่แล้ว ก็เริ่มศึกษามาตั้งแต่ตอนนั้นและใช้หัวข้อนี้ในการจบปริญญาโทด้วย ประกอบกับอาจารย์ที่ปรึกษา ก็ทำวิจัยทางด้านนี้ด้วย” 

 

หัวข้องานวิจัยสำหรับจบปริญญาโทของเขาจึงเป็นการทำธุรกรรมให้เป็นส่วนตัวบนบล็อกเชนซึ่งเป็นเทคโนโลยีเบื้องหลังของ Bitcoin และ Crytocurrency อื่น ซึ่งเขาก็สามารถทำได้เข้าตานักลงทุนจนมีผู้มาสนับสนุนด้านเงินทุนและทำเป็นโปรเจ็กต์ที่ใช้เวลาทำประมาณ 1 ปี ในชื่อ Zcoin

 

ปรมินทร์ ย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นให้ฟังว่า “สมัยก่อนคนที่จะสร้างเหรียญใหม่พยายามที่จะสร้างบล็อกเชนของตัวเอง Zcoin ก็เป็นหนึ่งในนั้น ตอนนี้มีคนต้องการสร้างเหรียญเยอะโดยเอาบิสเนสโมเดลต่างๆ มาจับ ซึ่งการสร้างเหรียญใหม่แล้วต้องมีความรู้ในด้านเทคนิคอลเยอะๆ ก็ค่อนข้างยาก ทาง Ethereum จึงมองว่า จะทำอย่างไรให้คนสร้างเหรียญสร้างได้ง่ายขึ้น เลยทำเป็นแพลตฟอร์มออกมา อำนวยความสะดวกโดยที่ขี่บน Ethereum อีกที ผมทำตัว Zcoin มาก่อน Ethereum จะปล่อยแพลตฟอร์มออกมา เป็นเหตุที่ทำไมผมใช้บล็อกเชนของตัวเอง แทนที่จะขี่บน Ethereum จริงๆ แล้วปัจจุบัน ในทีมงานของผมเองก็ยังมีการเขียนซีคอยน์อยู่บน Ethereum เหมือนกัน โดยใช้เทคโนโลยี Zcoin ที่ชื่อว่า Zero Coin ไปรันบน Ethereum ทำให้คนที่ใช้งาน Ethereum สามารถใช้งานเทคโนโลยีเดียวกันที่อยู่ใน Zcoin ได้” 

 

จุดเด่นของ Zcoin คือความเป็นส่วนตัวสำหรับผู้ที่ต้องการความเป็นส่วนตัว ไม่อยากให้คนอื่นได้รู้ว่าเป็นใคร ที่ทำการโอนเงินไปให้ผู้อื่น เช่น นักธุรกิจที่กำลังอยู่ระหว่างเริ่มต้นการร่วมธุรกิจที่ยังไม่อยากให้คู่แข่งทราบ เป็นจุดเด่นที่ Zcoin มาตอบโจทย์เรื่องนี้ซึ่งหากใช้ Bitcoin จะไม่สามารถทำได้ 

 

ปรมินทร์อธิบายว่า “Zcoin ทุกคนเห็นเหมือนกัน แค่ระบุไม่ได้ ยังมีทรานเซกชันเกิดขึ้นอยู่ แต่จากที่เคยระบุได้ก็จะระบุไม่ได้ แต่ทรานเซกชันก็ยังอยู่ในบล็อกเชนอยู่ ระบุที่มาไม่ได้ ใน Bitcoin ถ้าผมสามารถผูกบัญชีกับคนคนหนึ่งได้ นั่นหมายความว่าผมจะรู้แล้วว่าเขามีเงินเท่าไร ทำทรานเซกชันอะไรบ้าง เมื่อไร ผมจะรู้เลยว่าเขาได้เงินมาจากที่ไหนบ้าง และส่งไปที่ไหนบ้าง ซึ่ง Zcoin มีเรื่องของการไม่โชว์ที่มา คือผมสามารถส่งเงินไปที่ปลายทางได้โดยที่ปลายทางได้รับ แต่ไม่ได้ระบุที่มาว่ามาจากไหน” 

 

สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Crytocurrency คือมูลค่าของเหรียญซึ่งเกิดจากการนำราคาของเหรียญคูณด้วยจำนวนเหรียญในระบบ โดยราคาเกิดจากการนำราคาซื้อขายในตลาดแลกเปลี่ยนทั่วโลกมาเฉลี่ยกัน เช่น Zcoin มีตลาดที่อินโดนีเซีย อเมริกา จีน และยุโรป ก็นำทั้งหมดมาเฉลี่ยว่ามีมูลค่าต่อเหรียญเท่าไร แล้วคูณกับจำนวนเหรียญที่มี

ปรมินทร์ เล่าว่า “ตอนที่ทำไม่ได้มองว่าจะโตขนาดนี้ ก่อนหน้านี้มองว่าเกิน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐก็ถือว่ามากแล้ว เพราะด้วยเงินทุนที่เราได้มาเรามองว่า 10-20 เท่าก็เยอะแล้ว แต่ปัจจุบันมูลค่า  มาอยู่ที่ประมาณ 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐเกินกว่าที่เราคาดหวังไว้ แต่เราก็ยังมองว่ามันยังสามารถโตไปได้อีกไกล”

 

จากราคาเริ่มต้นที่เหรียญละ 6 เซนต์ ปัจจุบัน Zcoin มีมูลค่าต่อเหรียญอยู่ที่ประมาณ 12 ดอลลาร์สหรัฐ และมีปริมาณเหรียญในระบบประมาณ 3 ล้านเหรียญ ติดอยู่ 1 ใน 100 เหรียญของโลก เห็นได้ว่ามีการเติบโตอย่างมาก ปรมินทร์อธิบายเรื่องนี้ว่า “พวกผมเองก็ได้อานิสงส์จาก Bitcoin ที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนซึ่งไม่ใช่นักลงทุนมือสมัครเล่น เงินถูกใส่มาในตลาด Crytocurrency มากขึ้นทำให้ Zcoin ได้รับอานิสงส์ไปด้วย เพราะการที่นักลงทุนอาชีพมาลงทุนในตลาด Crytocurrency เขาจะไม่ได้ลงแค่เหรียญเดียว แต่เขาจะจัดพอร์ตของเขาไป เพื่อลดความเสี่ยง” ในด้านการใช้งานเงินตราดิจิทัล ผู้ก่อตั้ง Zcoin บอกว่ายังมีคนนำเงินเหล่านี้ไปใช้ไม่มากนัก เพราะการนำไปใช้ต้องมีความเข้าใจในระดับหนึ่ง ร้านค้าต้องเข้าใจกลไกการชำระเงินที่แตกต่างจากระบบที่มีอยู่ เช่น เมื่อจ่าย Bitcoin จะต้องรอเวลาเพื่อให้ระบบทำงานประมาณ 10 นาที ร้านค้าแต่ละร้านต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจ และต้องมีแรงกระตุ้นให้เข้ามาใช้งาน เช่น เมื่อเพิ่มการชำระเงินด้วยเงินอิเล็กทรอนิกส์แล้วจะทำให้มีผู้ใช้บริการมากขึ้น สำหรับในประเทศไทยเขามองว่า เขาเข้ามาได้ถูกจังหวะในช่วงที่ตลาดกำลังมีความสนใจ Crytocurrency รวมถึงผู้กำกับดูแลทั้งธนาคารแห่งประเทศไทยและสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลัก ทรัพย์ที่ให้ความสนใจในเรื่องนี้ 

 

สำหรับการเลือกลงทุนในเหรียญดิจิทัลเหล่านี้ ปรมินทร์บอกว่า “ถ้าให้เซฟที่สุด คือแบ่งเป็น 3 ชั้น เสี่ยงน้อย เสี่ยงกลาง เสี่ยงสูง เป็นเรื่องการลงทุน เลือกท็อป ตรงกลางและท้ายๆ ไว้ อาจจะเอาลิสต์มาดู 1-10 เลือกสัก 1-2 เหรียญ 20-50 เลือกสัก 1 เหรียญ 50-100 อีกเหรียญ แค่นี้ก็พอแล้ว ผมมองว่าตั้งแต่ 150 ไปเริ่มเสี่ยงไป บางทีเขาทำขึ้นมาไม่ได้ซีเรียสกับเหรียญที่ทำ จะลงเหรียญอะไร ถ้าไม่อยู่ใน 1-10 ต้องศึกษาดีๆ เหมือนหุ้นบลูชิป ที่มีความมั่นคงกว่า 

 

ในแง่การใช้งาน ผมก็ยังแนะนำ Bitcoin เพราะเกิดมาก่อนเขา วอลุ่มในการเทรดค่อนข้างเยอะเกินครึ่ง เราสามารถเอาไปใช้ที่ประเทศไหนก็ได้ มีตลาดทั่วโลก เป็นตลาดใหญ่ที่สุดแล้ว ถือ Bitcoin ความเสี่ยงที่จะไปที่ประเทศนั้นแล้วเอาออกไม่ได้มีน้อยกว่า อารมณ์เหมือนถือยูเอสดอลลาร์กับเงินประเทศเล็กๆ”  

 

บล็อกเชนสังคมแห่งการตรวจสอบ

ปริมินทร์กล่าวถึงเทคโนโลยีบล็อกเชนว่า มีความน่าสนใจแตกต่างจากซอฟต์แวร์ทั่วไป โดยยกตัวอย่างเช่น การอัปเดตซอฟต์แวร์ที่ทั่วไปจะมีการทำกันอยู่ตลอดเวลา แต่สำหรับบล็อกเชนการทำเช่นนั้นทำได้ยาก “ในส่วนของบล็อกเชนเราจะอัปเกรดแบบนั้นไม่ได้ การอัปเดตหนึ่งทีอาจจะใช้เวลาเป็นปี เพราะว่าผู้ใช้งานกระจายอยู่ทั่วโลก และการที่เราขออัปเดต ก็จะเกิดกรณีที่ว่าคุณเป็นใครมาสั่งให้เราอัปเดตซอฟต์แวร์ และซอฟต์แวร์ที่คุณให้เราอัปเดตมีความปลอดภัยมากแค่ไหน มีแบ็กดอว์ฝังไปบ้างหรือเปล่า คนอื่นก็ต้องการตรวจสอบด้วย และการเอาซอฟต์แวร์พวกนี้ไปรันบนฮาร์ดแวร์ขนาดเล็ก ตู้เอทีเอ็มต่างๆ นั่นคืออุปกรณ์เหล่านั้นก็ต้องอัปเดต ด้วย ซึ่งไม่สามารถสั่งให้อัปเดตทีเดียวได้ เพราะเขาเองก็ไม่ได้เชื่อใจผม เขาก็ต้องใช้เวลาตรวจสอบ ในบล็อกเชน ไม่มีใครเชื่อใจกันทั้งสิ้น เช่น Zcoin ประกาศว่าจะมีการอัปเกรดใน 3 อาทิตย์ข้างหน้า ซอร์สโค้ดเราปล่อยออกแล้ว ตัวซอฟต์แวร์เราปล่อยเรียบร้อยแล้ว คุณสามารถนำไปรันได้เลย เพราะอีก 3 อาทิตย์ข้างหน้าอันเก่าใช้งานไม่ได้แล้ว มันไม่สามารถวันนี้เอาไปเลย”

 

เรื่องและภาพ : กองบรรณาธิการ 

Page 3 of 3
X

Right Click

No right click