บนข้อเท็จจริงที่ว่าการแข่งขันทางธุรกิจในโลกยุคปัจจุบันได้กำหนดให้องค์กรยุคใหม่ต้องหาเครื่องมือเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน เพื่อความเท่าทันและไม่ตกยุค และบล็อกเชนก็เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางธุรกิจ เพราะการประยุกต์ใช้บล็อกเชนไม่ได้ถูกจำกัดเฉพาะการใช้งานด้านการเงินหรือการทำธุรกรรม แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการบันทึก จัดเก็บข้อมูล และการตรวจสอบติดตามเพื่อความโปร่งใสและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารองค์กรยุคใหม่ รวมถึงการทำความรู้จักกับระบบนิเวศทางธุรกิจยุคใหม่ที่ใช้บล็อกเชนเป็นกลไกสำคัญ แม้แต่ Social Network ระดับโลกอย่าง Facebook ก็ยังนำมาใช้งาน

บทบาทของเทคโนโลยีบล็อกเชนได้กลายเป็นหนึ่งกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ยุคดิจิทัล หรือ Digital Transformation และภายใต้การเล็งเห็นประเด็นสำคัญในเรื่องนี้ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้ร่วมมือกับบริษัท SIAM ICO  บริษัทที่ปรึกษาและออกแบบการพัฒนาธุรกิจและการลงทุนด้านดิจิทัล โดยกำหนดเปิดหลักสูตรพิเศษ Blockchain for Enterprise Transformation เพื่อให้ความรู้และพัฒนาผู้บริหารขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีความตั้งใจ หรือสนใจที่จะพัฒนากลยุทธ์ด้านดิจิทัลให้กับองค์กร โดยอาศัยเทคโนโลยีบล็อกเชนเป็นกลไกสำคัญ

ภายใต้ความร่วมมือในครั้งนี้ ผู้บริหารของสององค์กร ได้ร่วมกันจัดแถลงความร่วมมือและแนะนำถึงสาระสำคัญของหลักสูตร ตลอดจนผู้บรรยายอันประกอบไปด้วยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญที่ทรงคุณวุฒิและอยู่ในอุตสาหกรรมจริง

การแถลงข่าวครั้งนี้ประกอบด้วย 

- รศ.ดร.ธัชวรรณ กนิษฐ์พงศ์ คณบดี คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

- ปฐม อินทโรดม กรรมการผู้จัดการและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท สยาม ไอซีโอ จำกัด

- คณิต ศาตะมาน ซีอีโอ ไนท์ อะคาเดเมีย

- ปกรณ์ ลี้สกุล ซีอีโอฟินีมา

นอกจากนั้น การแถลงความร่วมมือในครั้งนี้ยังได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.จงสวัสดิ์ จงวัฒน์ผล รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)  เข้าร่วมเป็นสักขีพยานและให้ความเห็นในการสัมภาษณ์ในโอกาสนี้ด้วย


รศ.ดร.ธัชวรรณ กนิษฐ์พงศ์ คณบดี คณะบริหารธุรกิจ  สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

เป็นหนึ่งในเป้าหมายและความตั้งใจของ รศ.ดร.ธัชวรรณ  ซึ่งเพิ่งก้าวเข้ามารับตำแหน่งคณบดี ของคณะบริหารธุรกิจเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา  โดยเป็นหนึ่งในวิสัยทัศน์ของผู้นำของคณะฯ ที่ให้ความสำคัญกับเรื่อง disruption  และเทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้าน AI, Blockchain ตลอดจน Fintech ที่คนไทยยังต้องการการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างมาก

“โดยส่วนตัวคือต้องการพัฒนาหลักสูตรเหล่านี้อยู่แล้ว เมื่อได้คุยกับทาง SIAM ICO ซึ่งมีเป้าหมายที่ไปในแนวทางเดียวกัน จึงเป็นที่มาของความร่วมมือ เพราะเรื่อง Blockchain มันเป็นภาพใหญ่ หลายคนรู้จัก Bitcoin  รู้จักคริปโตเคอเรนซี่ แต่ข้อเท็จจริงๆ แล้วบล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีที่สามารถประยุกต์มาทำอะไรได้มากกับองค์กรหรือสถาบัน ไม่ใช่เพียงออก Coin หรือ Currency เท่านั้น แต่บล็อกเชนทำอะไรได้มากกว่านั้น  แม้กระทั่งตอนนี้ เราได้พูดกันถึง Digital certificate หรือใบประกาศดิจิตอล ในบล็อกเชนที่ไม่สามารถปลอมได้ พูดถึงเงินที่ไม่สามารถปลอมได้ ซึ่งมันดีนะ และเชื่อว่าบล็อกเชนจะนำพาเราไปสู่สิ่งอื่นๆ อีกหลายๆเรื่องได้ อาทิ Supply Chain หรือ ระบบการจัดเก็บประวัติการรักษาพยาบาล หรือ เก็บข้อมูล Tourism ซึ่งต่อไปใช้การใช้จะกว้างออกไปอย่างมาก”

รศ.ดร.ธัชวรรณ ยังย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาเรื่อง บล็อกเชนเป็นหลักสูตรว่า “นอกจากประโยชน์ของบล็อกเชนที่กล่าวมา  เทคโนโลยีบล็อกเชนยังสามารถประยุกต์ใช้ในการพัฒนาองค์กรไปสู่ความเป็นดิจิทัลได้ อย่างที่เป็นกระแสอยู่ในขณะนี้คือเรื่อง Digital Transformation ซึ่งน่าสนใจมาก  โดยหลักสูตร Blockchain for Enterprise Transformation ที่กำลังจะเปิดร่วมกับ บริษัท SIAM ICO นี้ถือได้ว่าเป็นที่แรกที่เปิดคอร์ส วิชานี้ โดยเราจะเปิดเป็นสาธารณะโดยให้บุคคลภายนอกเข้ามารับการอบรม หลังจากนั้นก็จะหลอมรวมวิชานี้เข้าไปอยู่ในหลักสูตรMBA ของทางนิด้าในเวลาต่อไป ซึ่งเชื่อว่านักศึกษาจะให้ความสนใจและได้รับประโยชน์จากคอร์สนี้อย่างมาก”

คณบดีหญิงคนแรกของ NIDA Business School อยากเชิญชวนให้ศิษย์เก่า ตลอดผู้บริหารองค์กรของทั้งภาครัฐและเอกชนมาลงคอร์สนี้ ซึ่งได้รับการออกแบบให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับผู้เรียนที่ต้องการความกระชับในเรื่องเวลา เพียง 3 วันใน 3 สัปดาห์ของเดือนสิงหาคม  โดยที่วันสุดท้ายของหลักสูตรจะจัดให้มีเวิร์กชอป โดยที่ทางนิด้าเรานำหลักของ Design Thinking เข้ามาผสมผสานในการจัดอบรมเพื่อให้ผู้เรียนได้ประโยชน์ควบคู่ทั้งในเรื่องบล็อกเชนและ Design Thinking ไปพร้อมๆกัน อีกด้วย


ปฐม  อินทโรดม กรรมการผู้จัดการและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท SIAM ICO  จำกัด

ความเป็นมาของหลักสูตร Blockchain for Enterprise Transformation  เกิดจากคำถามที่ทั้งสยามไอซีโอและนิด้าได้รับอยู่เสมอในช่วงปีที่ผ่านมาคือ เรื่องบล็อกเชน และ Digital Transformation  และเมื่อได้มีโอกาสได้หารือถึงเป้าหมายและความเป็นไปได้ในเรื่องความร่วมมือเพื่อพัฒนาเป็นหลักสูตรนี้เกิดขึ้นมา โดยผูกเอา 2 เรื่องไว้ด้วยกัน 

“ถ้าคุณสนใจเรื่องบล็อกเชน คุณจะได้เรื่อง Digital Transformation เป็นของแถม และคุณอาจจะพบว่าจะปรับเปลี่ยนองค์กรเป็นดิจิทัลไม่ต้องใช้บล็อกเชนก็ได้ มีแนวทางมากมาย หรืออาจจะใช่คุณก็ลุยต่อได้เต็มที่ ก็จะมีหลักสูตรอื่นๆ เพิ่มเติมที่จะตามมาในอนาคตเจาะลึกเรื่องเหล่านี้ลงไป หรือถ้าคุณสนใจเรื่องDigital Transformation นอกจากจะได้รู้กระบวนการ  ยังมีเวิร์กช้อป ที่เราจะสอนเรื่องการปรับเปลี่ยนองค์กรว่าต้องรู้จักแกนหลักขององค์กร องค์ประกอบภายนอกมีอะไรบ้าง มีกรณีศึกษาจากกรณีทั้งไทยและต่างประเทศอะไรที่นำมาใช้ได้ และได้เรื่องบล็อกเชนเสริมเข้าไปด้วย ซึ่งบล็อกเชนคุณอาจจะรู้เพื่อไปปรับกระบวนการทำงานหรือไปใช้ในเรื่องการระดมทุนจะทำ STO ICO  ต่อไปในอนาคตได้”         

ปฐม เผยว่าหลักสูตรนี้เหมาะกับผู้บริหารองค์กรภาครัฐและเอกชนตั้งแต่ขนาดกลางขึ้นไปที่มีความตั้งใจจะพัฒนากลยุทธ์ด้านดิจิทัลให้กับองค์กรโดยอาศัยเทคโนโลยีบล็อกเชนเป็นหัวใจสำคัญ และที่รับทราบเรื่องบล็อกเชนและ Digital Transformation มาระยะหนึ่งแล้ว อยากรู้ว่าจะนำไปปรับใช้กับองค์กรของตนเองได้อย่างไร โดยเป็นหลักสูตรที่เน้นในการถ่ายทอดความรู้ และการนำไปประยุกต์ใช้ในโลกความเป็นจริงอย่างเต็มที่

“สิ่งที่ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รับกลับไปคือ “Digital Transformation คือเราพูดถึงภาพรวมของเทคโนโลยีทั้งหมด เจาะลึกเทรนด์ที่จะมีผลกระทบในอนาคต สยามไอซีโอเราเชี่ยวชาญเรื่องไฮบริด  เช่น ธุรกิจโลจิสติกส์ ตอนเวิร์กช้อป คุณรู้หรือไม่ว่าIOTมารวมกับบล็อกเชนได้ รถขนส่งสามารถเอาเซนเซอร์ใส่เข้าไปวัดอุณหภูมิ มีจีพีเอสวัดว่าอยู่ที่จุดไหนแล้ว บวกกับSmart Contact ของบล็อกเชนทำให้ลูกค้าของคุณจ่ายเงินได้ทันทีเมื่อรู้ว่าคุณขนอาหารไปส่งถึงเป้าหมายโดยที่อุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลงจากที่กำหนดไว้ เป็นการเชื่อมโยงเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน”

การนำเทคโนโลยีหลายอย่างมาประสานกันจนเกิดโซลูชันเป็นเป้าหมายเบื้องต้นที่คุณปฐมคาดหวังให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับกลับไป และหากสามารถมองไปไกลได้ถึงการคิดแพลตฟอร์มดิจิทัลออกมาใช้ได้จริง ก็จะเป็นเป้าหมายสูงสุดที่หลักสูตรนี้ต้องการ


สนใจรายละเอียดหลักสูตร Blockchain for Enterprise Transformation คลิ๊ก

 

 

ข่าวการมาถึงของการระดมทุนรูปแบบใหม่อย่าง STO (Security Token Offering) ได้สร้างความตื่นตัวไปทั่วทั้งโลกรวมถึงประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างหนีไม่พ้น อีกทั้งยังได้รับการคาดการณ์จากหลายสำนักว่าน่าจะเติบโตในหลักล้านล้านดอลลาร์ในช่วงไม่กี่ปีนับจากนี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ทรัพยากรบุคคลในไทย ควรจะต้องเริ่มศึกษา สั่งสมความรู้ ความเข้าใจ เพื่อให้พร้อมตั้งรับต่อ STO หรือแม้แต่เข้าไปมีส่วนร่วมในฐานะผู้เล่นคนสำคัญในระดับภูมิภาค

กาย นันต์ธนะ Developer และ Co-Founder บริษัท Mainnetus Blockchain Academy & Solution ได้ผ่านสนามการระดมทุนมาอย่างโชกโชน รวมถึงเคยออก ICO จริงๆ มาแล้ว ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมองค์ความรู้เรื่อง Blockchain และ STO ในประเทศไทย โดยตั้งใจให้เป็นภารกิจหลักของ Mainnetus เพื่อกระจายองค์ความรู้ทั้งในสถาบันการศึกษา การจัดสัมมนาหรือเวิร์คชอปที่ผู้เข้าร่วมได้ทดลองระบบ Wallet จริงๆ

จึงถือเป็นโอกาสดีที่เราได้เผยแพร่ บทสนทนากับเขา ถึงความกระตือรือร้นต่อโครงการมากมายที่กำลังจะเกิดขึ้น รวมถึงกรณีศึกษาส่วนตัว ที่มีต่อ Blockchain และ STO

บทบาทของ Mainnetus

การเกิดขึ้นของ Mainnetus Blockchain Academy & Solution เป็นความตั้งใจในการสร้าง สถาบัน Pop-Up ขนาดย่อมที่มีทั้งความเป็น Blockchain Lab และศูนย์กระจายความรู้เรื่องเทคโนโลยี Blockchain ในประเทศไทย โดยได้เริ่มโครงการไปแล้วที่มหาวิทยาลัยบูรพา โดยถือเป็นการเริ่มถ่ายทอดความรู้สู่นักศึกษา ก่อนที่จะขยายสู่บุคคลทั่วไป รวมถึงบริษัทต่างๆ ในอนาคตอันใกล้

กาย ได้เล่าถึงเป้าหมายของ Mainnetus ไว้ว่า “เราตั้งบริษัทขึ้นมาก็เพราะอยากจะให้ความรู้ ซึ่งไม่ได้ต้องการกำไรจากการจัดเลยครับ แต่มีเป้าหมายคือต้องการปูพื้นฐานให้เมืองไทยมี Blockchain Developer ที่เทียบเท่ากับเวียดนามเป็นอย่างน้อย ฉะนั้น เราเลยต้องมาเริ่มจากมหาวิทยาลัย แล้วก็จะต่อยอดไปเรื่อยๆ ซึ่งผมมองว่าบริษัทอาจจะได้ประโยชน์ เมื่อวันนึงที่เขาจบไปก็อาจจะอยากมาสมัครงานหรือนึกถึง Mainnetus ก่อนก็ได้”

“แต่ที่สำคัญคือการจัดครั้งต่อไป ที่เราตั้งใจจะจัดในเชิงธุรกิจมากขึ้น โดยที่ผม มีกลุ่มผู้เข้าร่วมที่ตั้งใจเชิญมาอย่างชัดเจน ไม่สะเปะสะปะ เช่นกลุ่มบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ คือผมอยากได้คนที่เข้ามาแล้วได้ประโยชน์จริงๆ ไม่อยากเห็นคนที่มาร่วมเฉยๆ แล้วนั่งหาว ฉะนั้น ความรู้ที่เราจะให้ ก็คิดไว้ว่าจะมีช่วงของการบรรยายสั้นๆ แล้วจากนั้นจะใช้การเรียนรู้ผ่านเวิร์คชอป ให้เขาได้ลองทำกันจริงๆ ให้ผู้เข้าร่วมได้ฝึกฝนตั้งแต่การเปิด Wallet เลย เพราะบรรดากลุ่มผู้บริหาร บางทีเขารู้ว่ามีเรื่องพวกนี้อยู่ แต่ไม่มีใครมี Wallet บางคนไม่กล้าเปิด บางคนงง แต่เราจะบอกว่าการเปิด Wallet นั้นเป็นสิ่งจำเป็น แล้วเราสอนให้ ผ่านการทดลองทำจริง แล้วตัวผมก็มีเหรียญอยู่แล้ว ก็ตั้งใจจะให้ใช้ลองโอนกันไปมา”

อีกโครงการที่สำคัญของ Mainnetus คือการผลิต Platform สำเร็จรูป ที่ทำให้การเข้าถึง Blockchain เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ทั้งยังตั้งรับกับการมาถึงของ STO โดยเฉพาะ “ตัว Platform ที่กำลังจะเสร็จ มันจะทำให้เห็นเลยว่า ตอนจะออก STO มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ซึ่งวันนึงข้างหน้าคุณสามารถมาใช้ได้ ไม่ว่าจะลองไปใช้ภายในโรงงาน ในบริษัทก่อนก็ได้ครับ แล้วเราก็ตั้งใจจะสอนอยู่แล้วว่า หากเห็น platform หน้าตาแบบนี้ คุณจะซื้อเหรียญยังไง ตรงนี้ก็เตรียมให้ลองทำ และเราคิดว่าจะมีประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมเป็นอย่างมากครับ”

ความสำคัญของ STO และข้อแตกต่างต่อ ICO

จากประสบการณ์ของคุณกายที่ประกอบธุรกิจหลากหลายประเภททั้งบริษัทประมูล บริษัทประกัน แอปพลิเคชั่นจองสปา บริษัทโฮลดิ้งในสิงคโปร์ รวมถึงมีประสบการณ์ในการใช้ Blockchain และทำ ICO ออก utility coin เพื่อจับจ่ายภายในเครือธุรกิจมาแล้ว ได้เล่ามุมมองต่อการระดมทุนในอนาคตว่า แม้ผลกระทบของระดมทุนแบบ ICO ต่อ IPO จะไม่ได้ชัดเจนขนาดพลิกวงการ แต่หาก กลต. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) ประกาศรับรอง STO ขึ้นมา เมื่อนั้น เราอาจจะได้เห็นการเปลี่ยนโฉมหน้าการระดมทุนอย่างชัดเจน, STO จะเป็นเครื่องมือทางการเงินที่สำคัญ และจะกลายเป็นภาคบังคับที่จะผู้ประกอบการและนักลงทุนเพิกเฉยไม่ใช่

“ตอนผมทำ ICO ซึ่งทำเป็น Utility Coin ไว้ใช้ซื้อสินค้าและบริการในเครือบริษัทของผมเอง จริงๆ ไม่ได้ตั้งเป้าว่าจะรวยจากการขายเหรียญด้วยซ้ำครับ ผมแค่รู้สึกว่าปัจจุบันหากใครจะออกเหรียญคุณควรจะต้องมีธุรกิจจริงๆ ก่อน แต่ถ้าหากต้องการระดมทุนล้วนๆ สำหรับ ICO ผมว่ามันหมดเวลาไปแล้วครับ เพราะข้างในนั้นมันมีโปรเจกต์รอระดมทุนที่ค้างไว้เต็มไปหมด เป็นหมื่นโปรเจกต์ บางคนถือเหรียญไว้ โดยไม่รู้ว่าเขาระดมให้อะไรด้วยซ้ำ ปัญหาสำคัญของการระดมทุน ICO คือมันเป็นเรื่องของความฝันล้วนๆ เรื่องของเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมาก ไม่รู้ด้วยว่ามันจะเป็นจริงหรือไม่จริง บางโปรเจกต์ที่ออกกันมา ผมว่าชั่วชีวิตก็อาจจะไม่ได้เห็นมันด้วยซ้ำ การที่ผมมีธุรกิจอยู่แล้ว มันทำให้เราได้ trust จากคนซื้อ ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบ”

“แต่ถ้าหากเป็นการระดมทุนแบบ STO ผมเห็นด้วยครับ เพราะมันคือการลงทุนจริงๆ มีพันธสัญญา มีการให้หุ้น มีเงินปันผล มีส่วนร่วมในธุรกิจ แค่มันอยู่บนระบบ ไม่ได้อยู่บนกระดาษเป็นใบๆ และมีเรื่องของ Cryptocurrency และ Blockchain เข้ามาเกี่ยวข้อง คือว่ากันจริงๆ มันก็คือการซื้อขายหุ้นดีๆ นี่เอง แน่นอนว่ามันจะไม่ใช่การวาดฝันอีกต่อไป แต่จะกลับมาสู่พื้นฐานทางธุรกิจ ที่พึ่งพาเทคโนโลยี ซึ่งมันจะมีหนทางไปได้มากกว่า ด้วยความชัดเจนของมันแบบ IPO ผนวกกับความไร้ข้อจำกัดของเทคโนโลยีแบบ ICO แต่อย่างไรก็ตาม คุณก็ต้องมีบริษัทก่อนอยู่ดีนะ”

จงใช้ประโยชน์จาก Blockchain อย่าให้ Blockchain ใช้ประโยชน์จากเรา

“อย่างไรก็ตาม สิ่งแรกที่ต้องคิดก่อนคือ Blockchain ช่วยคุณได้ยังไง” กาย กล่าวเสริมถึงข้อสังเกตที่ว่า แท้จริงแล้ว แม้ในระดับสากล ก็เกิดการเข้าใจผิดต่อประโยชน์ของ Blockchain, ICO หรือ ไอเดียของการระดมทุน

จากกรณีศึกษาจากประสบการณ์ส่วนตัว คุณกายเล่าให้ฟังถึงการทำงานกับ Blockchain ไว้ว่า “ผมเห็นด้วยว่าเราต้องเริ่มตื่นตัวเรื่อง Blockchain กันแล้วครับในเวลานี้ เพราะบางบริษัทยังไม่รู้จักเลย แต่สถาบันทางการเงินเขาใช้กันหมดแล้ว ที่สำคัญมากๆ เลยคือหลายคนยังคิดว่าประโยชน์จริงๆ ของมันเป็นเรื่องการระดมทุน หรือหนทางรวยเร็วอยู่ ซึ่งผมอยากบอกว่า ต้องตัดทิ้งเรื่องระดมทุนไปเลยครับ!”

“ที่ผ่านมา ICO ทำให้คนสนุกกับการระดมทุนที่ไม่มีจริง ทั้งคนออกเหรียญ คนซื้อเหรียญมันเหมือนสนุกกันอยู่ในฝันมากๆ แล้วคนก็ตื่นตัวมาก แต่ขาดความรู้ ผมว่าก็มีหมดตัวกันเยอะครับ ฉะนั้น ใครที่อยากรวยเร็ว หรือคิดเรื่อง speculate ผมว่าต้องคิดใหม่ก่อน ต้องคิดว่า Blockchain มันช่วยคุณได้ยังไงก่อน แล้วเดินทางนั้น อย่างตัวผม ก็รู้แค่ว่าถ้าวันนึงราคาในโลกมันล่มสลาย วันนั้น Blockchain จะยังอยู่ มันจะมาช่วยผมตรงนี้ ผมอยากให้มองตรงนี้เป็นพื้นฐาน ส่วนเรื่องราคาเหรียญ ถ้าหากว่ามันได้ก็ถือซะว่าเป็นโบนัส แต่ก็ไม่ได้บอกว่าสิ่งที่ผมทำมันง่ายกว่านะครับ มันก็มีความยากของมัน เช่น ลูกค้าซื้อ Coin เพื่อมาจับจ่ายสินค้าบริการของผม แต่ผมก็ไม่สามารถสร้างทุกอย่างที่เขาอยากซื้อได้ แล้วพอลูกค้าใช้ Coin ตัวผมเองก็ต้องมีเงินสดสำรองเอาไว้ เพื่อจ่าย Supplier ซึ่งก็ไม่ง่ายครับ ...ผมมองว่า ก่อนหน้านี้ที่สิงคโปร์ สวิตเซอร์แลนด์ หรือเยอรมัน ที่คนออก ICO กันไม่หยุดหย่อน เขาไม่ได้เอา Blockchain มาช่วยตัวเขาเองเลย แต่เขาช่วยให้ Blockchain มันเติบโตอย่างรวดเร็วต่างหาก… อะไรพวกนี้ เป็นเรื่องที่ผมว่าในประเทศเรายังขาดประสบการณ์และความรู้กันอยู่มากครับ”


เรื่อง : คุณากร วิสาลสกล

ภาพ : ภัทรวรรธน์ พงษ์บริพันธ์

Page 3 of 8
X

Right Click

No right click