November 27, 2024

Inbound Knowledge @FAM

March 13, 2019 4637

ในฐานะ รองคณบดี ฝ่ายบริหารวิชาการและต่างประเทศ ผศ.ดร.สุทธิ สูอำพัน คือ ผู้ที่มาให้คำอธิบายเรื่องการใช้เครือข่าย ต่างประเทศที่คณะการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง มีอยู่เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ให้กับคณะนี้

ผศ.ดร.สุทธิ เล่าถึงกิจการวิเทศสัมพันธ์ ของคณะว่าสามารถแบ่งได้เป็น 2 ด้าน คือ  ขาเข้า (Inbound) และขาออก (Outbound)  โดยวิวัฒนาการของกิจกรรมด้านนี้ในยุคแรก จะเริ่มจากขาออก คือการเตรียมนักศึกษา ให้พร้อมสำหรับการไปศึกษาต่อในต่างประเทศ ด้วยการเสริมความรู้ด้านภาษาอังกฤษให้กับ นักศึกษา และเริ่มส่งนักศึกษาไปแลกเปลี่ยน เยี่ยมเยียนสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ ที่คณะมีสายสัมพันธ์อยู่ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ ก็ยังคงมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

แต่ความท้าทายของ FAM คือการทำให้ขาเข้าเพิ่มปริมาณขึ้น จะทำอย่างไรให้นักศึกษาจากต่างประเทศเข้ามาเรียนเพิ่มขึ้น  จะทำอย่างไรให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันมากขึ้น เหล่านี้ คือโจทย์สำคัญสำหรับงานนี้ เพราะการมีนักศึกษาและ อาจารย์จากต่างประเทศเข้ามาจะช่วยให้นักศึกษาไทยได้มี โอกาสฝึกฝนความเป็นเจ้าบ้านที่ดี นอกเหนือจากเรื่องความรู้ และทักษะทางด้านวิชาการและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็น ของคนที่มาจากต่างวัฒนธรรมกัน

ผศ.ดร.สุทธิ มองว่าเป้าหมายของงานนี้ไม่ใช่แค่ปริมาณ  แต่ยังต้องการความหลากหลายของเชื้อชาติที่จะเข้ามา จากเดิม ที่นักศึกษาแลกเปลี่ยนของคณะจะมาจากยุโรปและญี่ปุ่นที่ ส่วนใหญ่เข้ามาเรียนครั้งละ 1 เทอม ก็อยากจะเพิ่มสัดส่วน ของนักศึกษาจากประเทศในอาเซียนที่อาจจะเลือกมาเรียนที่ FAM ตลอดทั้งหลักสูตร 4 ปีให้มีจำนวนมากขึ้น

ที่ผ่านมาเริ่มมีคณะจากต่างประเทศที่เข้ามาเยี่ยม FAM  อยู่เป็นระยะ เป็นจุดเริ่มต้นของการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน  รองคณบดีฝ่ายบริหารวิชาการและต่างประเทศเล่าตัวอย่างว่า มหาวิทยาลัยเทมาเสกโพลิเทคนิคของสิงคโปร์ มาเยี่ยมคณะเมื่อ เดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยเป็นคณะนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ จำนวน 30 คน พร้อมอาจารย์ 3 คน ที่ขอมาเรียนบทเรียน ในประเทศไทย เพื่อเปิดโลกทัศน์และมองหาโอกาสใหม่ๆ

“ผมจัดเป็นเลคเชอร์ชื่อว่า “Technological Development and Thailand 4.0” บอกว่า เทคโนโลยีคือส่วนของคุณ คุณเก่งอยู่แล้ว แต่ไทยแลนด์ 4.0 คือ เทคโนโลยีของคุณแต่โอกาสของเรา สรุปงานเลคเชอร์ครั้งนั้นเราชี้ให้เห็นว่า เราเป็นประเทศที่มิกซ์ทุกอย่าง 1.0 2.0 เราก็มีเรามีหมดเลย แต่ส่วนที่เราอยากเติมและเป็นโอกาสให้เขาคือ ส่วนของ 4.0 สุดท้ายผมก็บอกเขาว่าให้กลับไปทำการบ้านว่า โอกาสที่จะเกิดขึ้นในไทยแลนด์ 4.0 จะมีอะไรบ้าง และโอกาสที่เขาสามารถเข้ามามีบทบาทคืออะไรบ้าง ให้ไปสรุปกับอาจารย์ของเขา”

ตามตารางที่เตรียมไว้ยังมีมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศ อีกหลายแห่งที่ขอเข้ามาเยี่ยมชมคณะการบริหารและจัดการ  ทั้งเพื่อมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีบางส่วนก็กำลังมองหาสถานที่ สำหรับเรียนต่อ อาทิ จากประเทศจีน เมียนมา ซึ่งจะมีส่วนช่วย ให้ขาเข้าด้านความรู้ของ FAM มีความคึกคักมากขึ้น

อีกทางหนึ่ง ในระดับผู้สอนอาจารย์จากต่างประเทศก็มี เข้ามาที่คณะทั้งเพื่อทำงานวิจัยและมาร่วมบรรยาย อีกทั้ง สจล. ยังมีกองทุน Academic Melting Pot ซึ่งเป็นทุนที่ให้กับอาจารย์ จากภายนอกให้เข้ามาหลอมรวมกับอาจารย์ภายในสถาบันก็จะ มีส่วนช่วยทำให้งานด้านนี้พัฒนาได้เร็วขึ้น

งานสำคัญอีกงานหนึ่งที่จะช่วยให้งานด้านต่างประเทศ เดินหน้า คือการนำคณะเข้าสู่การจัดอันดับ โดย ผศ.ดร.สุทธิ มองว่าหากได้รับการจัดอันดับที่น่าเชื่อถือก็จะช่วยเพิ่มการรับรู้ ในระดับนานาชาติให้กับ FAM โดยได้เลือกจะเข้าร่วมการ จัดอันดับของ Eduniversal ที่รวบรวมโรงเรียนธุรกิจที่มีมาตรฐาน ทั่วโลกกว่า 154 ประเทศ มาจัดอันดับ 1-1,000

ในนั้นยังมีการแบ่งใครคือ Top 200 Top 400 Top 600 Top 800 จนถึง Top1,000 ก็เป็นความตั้งใจให้เรามีชื่อในนั้น ถ้าเราทำได้ ผมคิดว่าจะเป็นการสร้างที่ยืนให้เรา จากผลงานในอดีตหรือศักยภาพนอนาคต เพียงพอที่จะบอกว่าเราคือใคร

อีกภารกิจด้านต่างประเทศที่สำคัญ คือการจัดการประชุม วิชาการนานาชาติ เพื่อสร้างความคึกคักให้กับงานวิชาการ ของคณะ จากเดิมที่สถานที่คับแคบไม่เหมาะกับการจัดงานใหญ่ เช่นนี้ เมื่อคณะกำลังจะมีตึกใหม่ ที่มีห้องประชุมและสถานที่ และบรรยากาศที่เหมาะกับการจัดการประชุมสัมมนาก็จะทำให้ การจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการทำได้สะดวกมากขึ้น

ผศ.ดร.สุทธิ บอกว่าจะทำให้ FAM เป็นแหล่งรวมทาง ปัญญาในระดับนานาชาติ ที่ไม่ใช่แค่มีนักศึกษามาเรียน แต่เป็น Knowledge Think Tank เป็นการ Inbound Knowledge และ จะต่อยอดไปถึงการที่สจล. มีสถานที่ตั้งอยู่ใกล้กับ EEC ก็จะทำให้กลายเป็น Thailand 4.0 Business School ที่ผู้ที่มา ร่วมกิจกรรมสามารถใช้เวลาไม่นานก็เดินทางไปดูงานที่ EEC ต่อได้

เป้าหมายของงานด้านต่างประเทศที่วางแผนไว้ทั้งหมด  ก็เพื่อยกระดับ FAM ให้ก้าวสู่ความเป็นสถาบันระดับนานาชาติ สามารถผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ด้านบริหารจัดการและมีความ เข้าใจในเทคโนโลยี ตอบสนองความเปลี่ยนแปลงบนโลกใบนี้  ให้เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศไทยและโลกได้

สอนให้รู้ว่าโลกเปลี่ยน

ทางด้านวิชาการในยุค Disruptive สิ่งที่เราเห็นกันอยู่คือ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งในรูปแบบการใช้ชีวิต สินค้า และบริการต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยผลพวงจากเทคโนโลยีต่างๆ  ที่เข้ามาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่ FAM เตรียมไว้รองรับ โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คือการสอนให้ผู้เรียนรู้ว่าโลก กำลังเปลี่ยน เป็นหลักในการออกแบบหลักสูตรที่ ผศ.ดร.สุทธิ อธิบาย

เขายกตัวอย่างวิชา Fundamental of Managing Technology ซึ่งเป็นวิชาในหลักสูตรนานาชาติว่า หากดูตาม ตำราเรียนก็จะพบว่าเป็นวิชาสำหรับนักศึกษาปริญญาโทแต่ก็มี การนำมาย่อยเพื่อใช้เรียนและสอนในระดับปริญญาตรี เราใส่ วิชานี้ลงในปี 1 เทอม 1 วิชานี้ทำให้เขาได้คุ้นเคยและ ได้เห็นภาพ เท่าทัน และพร้อมจะเห็นว่า Disruptive World จะไปในทิศทางไหน ถ้าเราไม่มีกลุ่มวิชาตรงนี้  คำนี้ก็จะเป็นเหมือนคำเท่ๆ ที่พูดไปอย่างนั้นแต่ไม่รู้ว่า คืออะไร แต่การเรียนที่นี่ ทำให้เขาเห็น วิชาอย่างนี้ เป็นเสมือนการสร้างความรู้สึกร่วม ว่าโลกเปลี่ยน ทำให้มุมมองผู้เรียนเปลี่ยน

โดยภายในวิชาจะให้นักศึกษาได้ค้นคว้าเรียนรู้เกี่ยวกับ เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่นหุ่นยนต์ ยานยนต์ไร้คนขับ ปัญญาประดิษฐ์ ที่เกิดขึ้นแล้ว และมองเห็นว่าจะใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้ ได้อย่างไร

รองคณบดีฝ่ายวิชาการและต่างประเทศอธิบายต่อว่า  ในฐานะนักบริหารเราเรียนเพื่อให้กล้าใช้ จะใช้งานได้อย่างไร เห็น AI เป็นเหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่ง ในอนาคตข้างหน้า ก็พัฒนาสิ่งเหล่านั้นมาใช้บรรยากาศการเรียนเรื่อง AI ในคลาสจะไม่ได้ตื่นเต้นว่าผมจะไม่มีงานทำ จะเป็นแบบว่า ผมจะเป็นนาย AI มากกว่า และเราก็ไม่ได้กลัว หุ่นยนต์หรืออะไร มองเหมือนเป็นลูกจ้างคนหนึ่ง

เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเช่นนี้ถูกสอดแทรกเข้าไป ในแก่นแกนของหลักสูตรของคณะ รวมถึงวิชาเลือกที่เกี่ยวข้อง กับทางอุตสาหกรรม เช่น วิชา Industrial Design วิชา Industrial Production System เป็นต้น ประกอบกับการที่คณะอยู่ใน  สจล. ซึ่งมีความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอยู่แล้ว ทำให้ผู้เรียนของ FAM มีเพื่อนฝูงต่างคณะที่สามารถร่วมทำ กิจกรรมด้วยกัน ผสมผสานระหว่างความเป็นนักบริหารกับ นักวิทยาศาสตร์ได้อีกทางหนึ่ง

ซึ่งคำว่าเทคโนโลยีนี้ไม่ได้หมายถึงแค่อะไรที่เป็นดิจิทัล เท่านั้น แต่ยังรวมถึงเทคโนโลยีที่เกิดจากการวิจัยและพัฒนา  เช่น ในการเรียนการสอนอาจจะมีการตั้งคำถามว่าจะทำอย่างไร ให้เครื่องสำอางไทยมีจุดเด่นในระดับโลกได้ ซึ่งที่สุดผู้เรียนก็ต้อง ย้อนกลับไปที่การวิจัย เพื่อหาจุดเด่นที่จะมาทำผลิตภัณฑ์นั้น

ผศ.ดร.สุทธิ ปิดท้ายว่า ด้วยนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ทำให้ จากนี้ไปเทคโนโลยีไม่ใช่เรื่องในห้องแล็ปหรือโรงงานอีกแล้ว โรงเรียนธุรกิจในสถาบันเทคโนโลยีก็ควรจะเติบโตไปใน ทิศทางนั้น โดยเห็นตัวอย่างได้จากโรงเรียนธุรกิจชั้นนำ เช่น  MIT SLOAN ที่อยู่ในสถาบัน MIT ซึ่งมีความโดดเด่นทางด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การที่ FAM อยู่ใน สจล.ที่มี ความโดดเด่นทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเช่นกัน จึงมี สภาพแวดล้อมที่จะพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน


 

เรื่อง : กองบรรณาธิการ

ภาพ : ฐิติชญาน์ แปลงกูล

 

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Friday, 08 July 2022 11:45
X

Right Click

No right click