บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือไอวีแอล บริษัทเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ประกาศกลยุทธ์ใหม่ “CPF 2030 Sustainability in Action“ ขับเคลื่อนภารกิจ 9 ความมุ่งมั่น ภายใต้ 3 เสาหลัก อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และ ดิน น้ำ ป่าคงอยู่  สร้างความมั่นคงทางอาหารบนพื้นฐานการผลิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมควบคู่ส่งเสริมสังคมเติบโตไปด้วยกัน ร่วมบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) หนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ  ( SDGs ) ครบ 17 เป้าหมาย  

นายวุฒิชัย  สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส  ด้านพัฒนาความยั่งยืนองค์กร ซีพีเอฟ  กล่าวว่า  กลยุทธ์ใหม่ 2030 Sustainability in Action เป็นการปฏิบัติการในช่วง 10 ปีข้างหน้า (ปี 2564 - ปี 2573)  เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของการตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental Social Governance :  ESG) โดยที่บริษัทฯยังคงให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจภายใต้ 3 เสาหลัก อาหารมั่นคง  สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่  สนับสนุนนโยบายของเครือเจริญโภคภัณฑ์ที่มีเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ ภายในปี 2573 และสนับสนุนเป้าหมาย SDGs ทางตรงได้ครบทั้ง  17  เป้าหมาย      

"ภายหลังจากประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามเป้าหมายปี 2020  ในปีนี้เราได้กำหนดกลยุทธ์ขึ้นใหม่ เน้นการปฏิบัติอย่างจริงจัง  และมีเป้าหมายใหม่เพื่อสร้างผลเชิงบวกให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อม  สอดรับกับเป้าหมายของสหประชาชาติ สู่ทศวรรษแห่งการลงมือทำ สร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นให้โลก ขณะเดียวกันบริษัทฯจะส่งต่อความยั่งยืนในระดับบุคคลสู่พนักงานในองค์กรและภายนอก” นายวุฒิชัยกล่าว    

 

สำหรับเป้าหมายการดำเนินงาน 9 ความมุ่งมั่น ภายใต้กลยุทธ์ 3 เสาหลัก  ในด้านอาหารมั่นคง  เน้นสร้างความมั่นคงทางอาหารและคิดค้นนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภคด้วยผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีและเหมาะสมกับทุกช่วงวัย นำระบบดิจิทัลและหุ่นยนต์มาใช้ในกระบวนการผลิต ดำเนินการทางการตลาดด้วยความรับผิดชอบ ด้วยการให้ความรู้ด้านโภชนาการและอาหารเพื่อสุขภาพแก่ผู้บริโภค  ใส่ใจในกระบวนการเลี้ยงสัตว์ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ (Animal WelFare) ภายใต้มาตรฐานสากล และนำเทคโนโลยีใช้ในการจัดการฟาร์มในรูปแบบ Smart Farm  โดยมีเป้าหมาย50% ของผลิตภัณฑ์ใหม่ ได้รับการพัฒนาเพื่อสุขภาพที่ดีและมีคุณค่าทางโภชนาการที่มากขึ้น และเพิ่มสัดส่วนผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำเป็น  40 % ของยอดขาย  เป็นต้น

ด้านสังคมพึ่งตน  ได้กำหนดเป้าหมายใหม่ คือ  สร้างผลลัพธ์เชิงบวกให้แก่พนักงานและคนในสังคมจำนวน 3 ล้านคน และเป้าหมายให้ความรู้พนักงานได้ครบ 3 ล้านชั่วโมง ด้วยการเคารพสิทธิมนุษยชน ดูแลพนักงานอย่างเท่าเทียม ส่งเสริมการเรียนรู้และประสบการณ์ทำงานที่ดีให้แก่พนักงานโดยมุ่งสู่เป้าหมายเป็น Learning Organization หรือ อิ่มรู้ (Lifelong Learning) เพื่อยกระดับคุณค่าของพนักงานทุกคนในองค์กรซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนด้านความยั่งยืน  และขยายสู่สังคมด้วยการสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่เกษตรกรในโครงการคอนแทรคฟาร์มที่ดำเนินการมาแล้วมากกว่า 40 ปี จำนวนเกษตรกร ประมาณ 5,000 ราย ด้วยรูปแบบของเกษตรพันธสัญญา  การสนับสนุนองค์ความรู้แก่เกษตรกรผู้ปลูกพืชวัตถุดิบอาหารสัตว์ในโครงการเกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน  โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน ที่ดำเนินการมามากกว่า 30 ปี  มีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ฯ 880 โรงเรียน ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตและทักษะอาชีพให้แก่เยาวชน สร้างการเข้าถึงอาหารโปรตีนคุณภาพ  และโครงการจ้างงานคนพิการ ฯลฯ        

ด้านดิน น้ำ ป่า คงอยู่  ซีพีเอฟนำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้บริหารทรัพยากรเกิดประโยชน์สูงสุด เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน พัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การจัดหาวัตถุดิบด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม  ต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่า 100 %  และตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบ การสร้างคุณค่าปราศจากขยะ (Waste to Value) ทั้งจากบรรจุภัณฑ์และขยะอาหาร  โดยมีเป้าหมายลดขยะอาหารในกระบวนการดำเนินธุรกิจของบริษัทเป็นศูนย์ (Zero Food Waste)  ภายในปี  2573   การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าบก ป่าชายเลน  และเพิ่มพื้นที่สีเขียวในสถานประกอบการ   ซึ่งดำเนินการไปแล้วรวมมากกว่า 1 หมื่นไร่ และมีแผนจะดำเนินการต่อเนื่อง ในระยะที่ 2 (ปี 2564-2568)   เพื่อสร้างสมดุลสิ่งแวดล้อมและปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ        

ภายใต้กลยุทธ์ใหม่ “CPF 2030 Sustainability in Action" ซีพีเอฟได้ออกแบบสัญลักษณ์  ด้วยการนำแนวคิด 3 เสาหลักเป็นสื่อสัญลักษณ์อยู่ภายในรูปหัวใจ แสดงถึงความมุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อประชากรโลก สร้างสรรค์คุณค่าให้แก่สังคม คืนสมดุลทรัพยากรธรรมชาติ ก้าวสู่เป้าหมายการเป็นครัวของโลกที่ยั่งยืน 

การปรับตัวผลิกฟื้นสถานการณ์องค์กร เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลง

ทุกองค์กร ต่างก็พุ่งเป้าไปสู่ความสำเร็จ  “เพื่อความยั่งยืน”

และจะไปถึงเป้าหมายความสำเร็จนั้น   “ด้วยความยั่งยืน” 

หลักการบริหารจัดการน้ำเพื่อความยั่งยืน ตามแนวคิดเรื่อง Sustainable Development ของน้ำนั้นมีมานานแล้ว แต่สิ่งที่เข้ามาเพิ่มในปัจจุบัน คือการประดิษฐ์สร้าง Toolจำนวนมากผนวกเข้ามา ภายใต้แนวคิด IWRM (Integrated Water Resources Management) เป็น Tool ซึ่งในระยะแรกที่นำมาใช้กับทุกเรื่อง จากนั้นมีพัฒนาการ Integrated ซึ่งในความหมาย คือ การรวมทุกคน ทุกมิติ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ มาอย่างต่อเนื่อง

ความพร้อมในการรับมือกับบริบทของสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลต่อป่าต้นน้ำของประเทศไทย ในวันนี้เกี่ยวข้องและเชื่อมโยง ทั้งศาสตร์ด้านวิศวกรรมน้ำ และTool (เครื่องมือ) ตลอดจนการบูรณาการเพื่อนำเทคโนโลยี IoT และBig Data มาใช้ในงานบริหารจัดการน้ำให้เกิดความยั่งยืน

ผศ.ดร.อนุรักษ์ ศรีอริยวัฒน์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวถึง หลักการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน โดยเน้นในเรื่อง Sustainable Development ของน้ำนั้นมีมานานแล้ว แต่สิ่งที่เข้ามาเพิ่มในปัจจุบัน คือ มีการประดิษฐ์Toolจำนวนมากขึ้นมาก โดยมี IWRM (Integrated Water Resources Management) เป็น Tool ซึ่งในระยะแรกที่นำมาใช้กับทุกเรื่อง จากนั้นมีพัฒนาการ Integrated ซึ่งในความหมาย คือ การรวมทุกคน ทุกมิติ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ มาอย่างต่อเนื่อง

สำหรับ “ต้นน้ำ” ก็คือ คนที่อาศัยอยู่ติดกับป่า ต้องไม่ทำลายป่า รักษาป่า “คนที่อยู่กลางน้ำ” คือ คนที่เพาะปลูก ถ้าน้ำไม่ถูกปล่อยมาก็จะมีปัญหากับกลางน้ำ และ “คนที่อยู่ปลายน้ำ” คือ คนที่อยู่ในเมือง ที่ต้องการน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค รวมในส่วนที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่มักอยู่บริเวณพื้นที่ราบ ซึ่งต้องการน้ำที่เพียงพอ การมองจึงต้องรอบด้าน ให้มีการใช้น้ำให้เหมาะสม และเพียงพอทั้งต้น กลางและปลาย นั่นคือแนวทางในการมองก่อนจะไปสู่การบริหารจัดการ

ต่อมาเมื่อมีความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย มิติจึงเริ่มเปลี่ยนไปเป็นแนวคิดที่เรียกว่า (WEF - WATER, ENERGY & FOOD) NEXUS หมายถึง “การเชื่อมต่อ” เพราะทั้ง 3 ส่วนคือ Water, Energy และ Food ไม่สามารถทำได้โดยอิสระ ต้องมีการเชื่อมต่อกัน เช่น การทำ Food ต้องใช้ Water และ Energy การสร้าง Energy ก็ต้องใช้ Water เป็นสิ่งพื้นฐานในการสร้างพลังงาน ตั้งแต่โรงงานไฟฟ้า เช่นการหล่อเย็น หรือ Water เองก็ต้องใช้ Energy มาประกอบ จึงสรุปได้ว่า การจัดการเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเดียวนั้นไม่ได้ตอบโจทย์ยุคสมัยอีกต่อไป ต้องมีการเชื่อมโยงทั้ง 3 เรื่อง และต้องรักษาสมดุลทุกเรื่องไปพร้อมๆ กันเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

ในส่วนของความท้าทายของการนำ Tool ไปใช้ให้ได้ประโยชน์นั้น อยู่ที่การสื่อสารและศาสตร์ความรู้ในมิติอื่นด้วย ถึงแม้ในทางวิศวกรรมเรามีความเชี่ยวชาญชำนาญเรื่องในคอนเซปท์ IWRM แต่เราก็ต้องสามารถคุยกับคนอื่นให้ได้ในทุกมิติว่าใครจะเอาเราไปใช้ และเราจะเอาของใครมาใช้ เกิดการแลกเปลี่ยน (Exchange) ขยายตนเองออกไปนอกวง

ยกตัวอย่าง เรื่องจำเป็นที่เราต้องรู้เกี่ยวกับ Energy และ Food และวันนี้ ได้รู้เรื่อง Smart Farm ที่เป็น Combination ระหว่าง Food กับ Water เราอาจไม่มีความรู้เรื่องการปลูกพืช แต่ต้องรู้ว่าการจะปลูกพืชให้ดีนั้นต้องการน้ำเท่าไร เพื่อการจัดการที่มีประสิทธิภาพ ขยายภาพออกก็จะสามารถนำหลักการนี้ไปเกี่ยวข้องกับอีกหลายเรื่อง เช่น ที่อยู่อาศัย ระบบการจัดการน้ำในบ้าน ก็สามารถไปร่วมกับการจัดการ Energy เป็น Smart City และหากมีการจัดการข้อมูลที่ดี ยังสามารถเจาะไปถึงพฤติกรรมของคนได้ถึงการใช้น้ำที่แตกต่างกันอีกด้วย

จะเห็นได้ว่ากรอบเรื่องนี้สามารถคิดต่อขยายวงออกไปได้อีกมากมาย ซึ่งการ combine หลายๆ ศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เป็นการโฟกัสไปที่การใช้งาน ว่าจะนำเรื่องน้ำไปใช้เพื่ออะไร เช่น เพื่อการเกษตร เรื่องของเมือง คล้ายๆ กับ IoT ที่ไม่จำกัดแค่เรื่อง Internet แต่เป็นอุปกรณ์ แอปพลิเคชันต่างๆ นานา ที่จะคิดขึ้นมาได้ เพียงแต่ใช้ internet เป็นเครื่องมือเท่านั้น ปัจจุบันจึงมีเทคโนโลยีต่อเนื่องที่เกิดขึ้นมาอีกมากมายในศาสตร์เรื่องนี้

ศาสตร์ของวิศวกรรมแหล่งน้ำในวันนี้

ผศ.ดร.อนุรักษ์ บอกว่าถ้าจะพูดเรื่อง “ศาสตร์ของวิศวกรรมน้ำ” ในวันนี้กับในอดีตไม่มีความแตกต่างกัน เพราะการจะทำอะไรต้องมีพื้นฐานของศาสตร์ที่ถูกต้องเป็นรากฐานก่อน ยิ่งในสังคมปัจจุบันยิ่งต้องการคนที่รู้จริง ที่เป็นมืออาชีพ จากความรู้พื้นฐานที่จากเดิม เราอาจจะต้องศึกษาในเชิงลึกลงไปให้มากที่สุด แต่ในวันนี้มองว่าเราต้องปรับตัว เพื่อให้ความรู้ตนเองถูกกระจายไปใช้กับเรื่องอื่นๆ ให้ได้กว้างที่สุด

ขณะเดียวกัน “น้ำ” ไม่ได้มีความแตกต่างระหว่างอดีตกับปัจจุบัน แต่สิ่งที่ต่างไป คือ สภาพสังคมและบริบท ซึ่งทำให้เกิดการปรับตัวไปใช้เทคโนโลยีอื่นๆ วิศวกรน้ำในอดีตอาจจะเน้นการทำเขื่อน แต่วันนี้คงต้องหันไปทำอย่างอื่นแทน เช่น ฝายขนาดเล็ก ซึ่งในความเป็นจริงนั้นก็คือเขื่อน เพราะเป็นสิ่งที่ใช้กันน้ำ สิ่งสำคัญที่ต้องเปลี่ยนและปรับตัวคือคำว่า Management คือต้องเปลี่ยนระบบตนเองให้เข้ากับสภาพการที่เปลี่ยนไป

คนที่เรียนเรื่องน้ำในอดีตจะถูกสอนให้มอง 4 อย่างคือ Space, Time, Quantity และ Quality (ที่ไหน, เมื่อไร, ปริมาณ และคุณภาพ) ซึ่งปัจจุบันเราก็ยังต้องมอง 4 มิตินี้ แต่บริบทเปลี่ยนไป เมื่อเรานำคำว่า Management เข้ามาเกี่ยวจะมีหลายๆ ด้านเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างๆ เช่น Smart Farm ที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ในฐานะของวิศวกร ต้องนำศาสตร์ไปตามให้ทันในมิติที่เรามีหลักการอยู่

การเตรียมตัวจัดการน้ำในอนาคต

ในประเด็นของความกังวลในเรื่อง Water Security ที่หมายถึงความมั่นคงทางน้ำ ซึ่งจะเชื่อมโยงไปถึงเรื่องความยั่งยืนของน้ำนั่นเอง

ทั้งนี้เราต้องมาหาว่าปัจจัยอะไร ที่ทำให้เกิดความไม่มั่นคง ซึ่งจะพบว่ามี 2 ปัจจัยหลักๆ คือ 1. Water Productivity และ 2. Water Disaster

สำหรับ Water Productivity นั้นเป็นตัวตอบที่ชัดเจนอย่างหนึ่งว่า ใช้น้ำแล้วต้องแบ่ง ซึ่งการแบ่งจะใช้สัดส่วนใดเพื่อให้บาลานซ์กับทุกคน ให้เกิดความเท่าเทียมกัน การตัดสินจะต้องนำ Productivity มาขบคิดพิจารณา สถานการณ์ในวันนี้ประเทศเราใช้ Priority แรก คือ เพื่อการอุปโภคบริโภค และข้อที่ 2 คือ เรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งก็สะท้อนไปที่ความมั่นคง และความยั่งยืน จากนั้นถัดมาจึงไปที่การเกษตร อุตสาหกรรม หรือการบริการก่อนหลัง

ที่ผ่านมามีผลการสำรวจด้านการจัดสรรน้ำ โดยใช้วิธีนำสภาพเศรษฐกิจมาวัดว่า 1 ลูกบาศก์เมตรของน้ำเพื่อการเกษตร ผลิตออกมาเป็นผลบวกทางจีดีพีได้ 4 บาท ในขณะที่อุตสาหกรรมได้ 300 กว่าบาท และการบริการได้ที่ 2,400 บาท อย่างไรก็ตามเราไม่สามารถนำแกนนี้มายึดเป็นตัวตัดสินโดยหลักเสียทีเดียว แต่เป็นเพียงการคาดการณ์ในอนาคต เพื่อสุดท้ายอาจนำมาซึ่งการสร้างข้อตกลง สำหรับการบริหารจัดการน้ำในอนาคต ถ้ามีการขาดน้ำ เช่นเดียวกับเรื่องไฟฟ้าที่กำลังมีประเด็นอยู่ในปัจจุบัน

ผศ.ดร.อนุรักษ์ ยังเปิดเผยว่า ความยากของการบริหารจัดการน้ำ คือ การถูกควบคุมโดยธรรมชาติที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งพื้นที่และเวลาและมีความไม่แน่นอนสูงมาก ยกตัวอย่างพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยมีน้ำมหาศาล แต่เราเอาน้ำจากภาคใต้มาใส่ให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ประสบปัญหาด้านความแห้งแล้งไม่ได้ เพราะมีข้อจำกัดของพื้นที่

นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดเรื่องเวลา สร้างปัญหาระหว่างดีมานต์กับซัพพลายที่ไม่ตรงกัน เพราะปริมาณน้ำยังมีปัจจัยที่ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน โดยเฉพาะฝนตกในภาคใต้ของประเทศไทยคิดเป็น 85-90% ของทั้งปี แต่หน้าแล้งไม่มีฝนตกเลย

การขาดน้ำในหน้าแล้งจะหาซัพพลายได้ ต้องมีการสำรองน้ำตั้งแต่หน้าฝน สิ่งที่จะสำรองน้ำได้ในระดับบ้านเรือนก็คือโอ่ง ตุ่ม ระดับภูมิภาคก็คือเขื่อน ซึ่งทุกวันนี้มีกระแสต่อต้านทำให้การสร้างเขื่อนใหม่เป็นไปได้ยาก ดังนั้นเมื่อประเทศไทยหยุดสร้างเขื่อนหมายถึงตัวเลขซัพพลายหรือสำรองของน้ำหยุดเติบโต ในขณะที่ดีมานด์หรือความต้องการใช้น้ำกลับเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ วันนี้ที่ยังไม่มีใครสนใจเพราะวันนี้เป็นหน้าฝน พอมาพูดกันเมื่อหน้าแล้งก็จะสายเกินไป เรื่องของน้ำจึงเป็นเรื่องที่พูดและศึกษาควบคู่กันระหว่าง Space กับ Time เสมอ

สำหรับปัจจัยกระทบด้านความมั่นคงของน้ำในเรื่อง Water Disaster นั้นมีอยู่ 2 แบบ คือ น้ำแล้ง กับ น้ำท่วม ซึ่งการจัดการนั่นแน่นอนว่าย่อมต่างกันโดยสิ้นเชิง

สำหรับการจัดการน้ำแล้ง ใช้ Tool คือ Productivity แต่การจัดการน้ำท่วมจะทำอย่างไร จะอยู่สู้หรือจะหนี จะเอาอะไรมาใช้ตัดสิน น้ำท่วมมาก หรือท่วมน้อย นั่นคือ ระดับของน้ำและท่วมนานเท่าไร

หากเรามองจากธรรมชาติของแม่น้ำเจ้าพระยาที่เกิดจาก แม่น้ำ 4 สาย คือ ปิง วัง ยม น่าน ซึ่งส่งผลกระทบทำให้เกิดน้ำท่วมในภาคกลาง และแม้บางส่วนจะเกิดจากฝนที่ตกในพื้นที่ แต่บางส่วนก็เกิดจากสิ่งที่เราเรียกกันว่าน้ำหลากจากภาคเหนือลงมา นั่นคือด้านการจัดการน้ำจะทำอย่างไร

ในกรณีภาคใต้ ที่เป็นลักษณะน้ำท่วมฉับพลัน (Flash Flood) เกิดจากฝนตกในปริมาณมากต่อเนื่อง วิธีการจัดการปัญหาสองแบบนี้ ต่างกันอย่างสิ้นเชิง น้ำท่วมฉับพลันจะสามารถเตือนล่วงหน้าได้เพียงแค่ 3 ชั่วโมง หรืออย่างมากที่สุดคือ 1 วัน มีลักษณะมาเร็ว ไปเร็ว แต่ลักษณะนี้จะทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สิน

ในขณะที่น้ำท่วมในปี พใศ. 2554 จะเป็นน้ำหลากที่ค่อยๆ มา เห็นชัดแน่ๆ ว่าจะท่วม ความยากอยู่ที่ปริมาณน้ำที่มาก ระบายไม่ได้ น้ำขังนาน วิธีการจัดการจึงมีหลากหลายวิธีทั้งการใช้โครงสร้าง หรือไม่ใช้โครงสร้าง

การนำเทคโนโลยีมาใช้กับเรื่องน้ำ

ผศ.ดร.อนุรักษ์ บอกว่า ความคาดหวังที่เราจะนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานบริหารจัดการน้ำ ไม่ว่าจะเป็น IoT หรือ Big Data ปัจจุบันนี้เรายังไม่สามารถนำมาใช้ได้ในประเทศไทยได้อย่างสมบูรณ์ นั่นเพราะเรายังไม่มีการเก็บข้อมูลในระยะเวลาที่นานและต่อเนื่อง ตลอดจนครอบคลุมพื้นที่ที่ต้องการ ซึ่งปัญหาส่วนหนึ่งมาจากหน่วยงานที่เก็บข้อมูลยังไม่มีการบูรณาการอย่างชัดเจน ทั้งที่มีหน่วยงานที่ทำเกี่ยวกับเรื่องน้ำในประเทศไทยที่มีมากถึงกว่า 30 หน่วยงาน แต่ข้อมูลก็ไม่ครบถ้วน อาจเพราะมีความยากลำบากและต้องมีการลงทุนในการเก็บข้อมูลจำนวนมากเป็นระยะเวลานาน

“น้ำเป็นหนึ่งใน Utility หลัก” ที่เป็นปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของรัฐ จึงต้องฝากความหวังไว้กับสทนช. หรือสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หน่วยงานที่เพิ่งตั้งขึ้นมาใหม่ที่เป็นของรัฐ และสังกัดภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี ที่คาดว่าจะทำให้เกิดความคล่องตัวในการประสานงานกันระหว่างกระทรวงต่างๆ และสิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญคือเรื่องกฎหมายที่ต้องมารองรับ เช่น พระราชบัญญัติน้ำ เพื่อให้มีอำนาจบังคับใช้ในการทำงาน จากนั้น คือ การลงทุนในงบประมาณทั้ง Operation และ Maintenance เพื่อการรวบรวมข้อมูลจำนวนมหาศาล จากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปสู่การเผยแพร่ให้กับประชาชน เพื่อความหวังในการรับมือกับการบริหารจัดการน้ำในอนาคตอย่างยั่งยืน 


เรื่อง : กองบรรณาธิการ

นับตั้งแต่เริ่มมีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดในช่วงเวลากว่า 60 ปีที่ผ่านมา นอกจากอุปกรณ์อำนวยความสะดวกหรือสิ่งของต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นแล้ว “ขยะ” ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด

Page 2 of 4
X

Right Click

No right click