“เคทีซี” ผู้นำธุรกิจบริการสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคของไทย เผยทิศทางการทำ CSR ปี 2562 มุ่งเน้นการให้โอกาสทางการศึกษากับเยาวชนทุกกลุ่มแบบไม่มีข้อจำกัด โดยเฉพาะกลุ่มผู้บกพร่องทางร่างกาย ซึ่งมีศักยภาพในการพัฒนาและเรียนรู้ได้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีการนำไปปรับใช้และพัฒนาไปเป็นอาชีพในการเลี้ยงดูตนเอง และยังสามารถถ่ายทอดต่อให้ผู้อื่น เพื่อสร้างความยั่งยืนในสังคมในระยะยาว ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด SD

นางสาวอภิวันท์ บากบั่น ผู้อำนวยการ - ทรัพยากรบุคคล “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เผยว่า เคทีซีเป็นสถาบันการเงินที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการให้โอกาสทางการศึกษา และสนับสนุนการให้ความรู้กับคนในสังคม โดยเฉพาะการร่วมพัฒนาศักยภาพเยาวชนไทยให้มีคุณภาพอย่างไม่มีขีดจำกัด ผ่านการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ ด้วยเป้าหมายของการนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ต่อยอดในด้านต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (Sustainable Development Goals–SDGs) รวม 3 เป้าหมาย ได้แก่

1. การให้การศึกษาที่เท่าเทียม(Quality Education)

2. การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-Being)                

3. การบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน (Responsible Consumption and Production)

“เคทีซีจึงได้ริเริ่มโครงการ CSR ประจำปี 2562 “เรียนรู้ ต่อยอด ยั่งยืน” เพื่อร่วมเตรียมพร้อมให้นักเรียนรู้จักการพึ่งพาตนเอง โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องความบกพร่องทางกายเป็นอุปสรรค โดยได้รับความร่วมมือที่ดีจากโรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ บรรจุโครงการนี้ไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ซึ่งน้องๆ จะได้เรียนรู้ทฤษฎีและฝึกปฏิบัติการเกษตรเพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาและต่อยอดสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และบริหารการใช้จ่ายเพื่อการใช้ชีวิตที่มีความสุขอย่างยั่งยืน อีกทั้งรู้จักถ่ายทอดแบ่งปันให้กับสังคม โดยเราได้เลือกกระบวนการเพาะเห็ดออร์กานิคครบวงจร เพื่อทำกินและสร้างอาชีพเป็นโครงการนำร่อง โดยเริ่มตั้งแต่การเรียนรู้ชนิดของเห็ด กระบวนการเพาะเห็ด การแปรรูปเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารกลางวัน ทำให้โรงเรียนประหยัดค่าใช้จ่าย รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อ  ต่อยอดสร้างอาชีพสร้างรายได้ ตลอดจนส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักบริหารการใช้จ่าย และเรียนรู้การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพื่อใช้ในชีวิตจริงให้เกิดประโยชน์กับตนเองและครอบครัว สำหรับหลักสูตรการเรียนการสอน รวม 12 สัปดาห์ จะมีวิทยากรให้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญจากฟาร์มเห็ดโพธิ์ทอง อาจารย์โรงเรียน เศรษฐเสถียรฯ และเคทีซี โดยจะมีการประเมินความรู้ก่อนและหลังเรียนรวมทั้งเปิดเวทีให้น้องๆ นำเสนอผลงานในสัปดาห์สุดท้าย”

อาจารย์สายใจ สังขพันธ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ โรงเรียนเศรษฐเสถียรในพระราชูปถัมภ์ กล่าวว่า “โรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ ขอขอบคุณเคทีซีและทีมงานทุกฝ่าย ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอาชีพให้กับคนพิการ โครงการ CSR ครั้งนี้ เน้นการออกแบบกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ฝึกทักษะสร้างอาชีพและสร้างรายได้ ในรูปแบบ “เรียนรู้ ต่อยอด ยั่งยืน” เชื่อมโยงกับการจัดการเรียนการสอนบูรณาการแบบโครงงานเพาะเห็ดในโรงเรียน นักเรียนจะได้ฝึกปฏิบัติจริงลงพื้นที่จริงกับวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญ และอาจารย์จะร่วมถ่ายทอดด้วยภาษามือ เพื่อให้สอดคล้องกับศักยภาพของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ซึ่งจะเรียนรู้ได้ดีจากการมองเห็นและสัมผัสจริง นอกจากนั้นเห็ดที่เกิดขึ้นจากการเพาะในโครงการ ยังสามารถนำไปเป็นอาหารหรือจำหน่ายเป็นรายได้ ก็จะทำให้นักเรียนมีความเข้าใจในการทำอาชีพมากขึ้น สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความคิดในเชิงบวกต่ออาชีพ จะได้คิดเป็นทำเป็น และเป็นความยั่งยืนในการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประกอบอาชีพจริงด้วยความภาคภูมิใจในตนเองและของผู้ปกครอง”

นางสาวฐิติรัตน์ พ่วงโพธิ์ทอง เจ้าของ “ฟาร์มเห็ดโพธิ์ทอง” เกษตรกรผู้เชี่ยวชาญด้านการเขี่ยเชื้อเห็ดและการเพาะเห็ด กล่าวถึงกระบวนการเพาะสายพันธุ์เห็ดเศรษฐกิจ การต่อยอดทางอาชีพตามวิถีเกษตรพอเพียงว่า “จากประสบการณ์การทำงานและอยู่ในกระบวนการเพาะเห็ดอย่างครบวงจรมามากกว่า 30 ปี ตลอดจนทำการแปรรูปเป็นอาหารคาว-หวานและเครื่องดื่ม ซึ่งนำมาสู่การต่อยอดเป็นอาชีพตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ครั้งนี้จึงมีความรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติที่ได้ร่วมเป็น ส่วนหนึ่งของกิจกรรมเพาะเห็ดต่อยอดอย่างยั่งยืน โดยน้องๆ โรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ จะได้เรียนรู้การ เพาะเห็ดแบบไม่ใช้สารเคมี ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และเมื่อเรียนแล้วสามารถนำไปทำเองที่โรงเรียนได้ สิ่งที่ได้รับจากการเพาะเห็ดจะเป็นประโยชน์ในภายภาคหน้า เพราะเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์จริงและสามารถทำได้จริง ดีใจที่จะได้ร่วมกับเคทีซีและโรงเรียนในการสร้างแนวทางให้กับนักเรียน รวมทั้งประสบการณ์ที่ได้รับนั้นจะเป็นแนวทางให้นักเรียนสร้างรายได้ สร้างความสุขและสร้างความยั่งยืนในอนาคต”

นางสาวอภิวันท์ กล่าวปิดท้าย “การที่เคทีซีเลือกการเพาะเห็ดเป็นหลักสูตรให้กับโรงเรียน เศรษฐเสถียรฯ เพราะเห็ดเป็นผักที่ได้รับความนิยม มีรสชาติดีและมีคุณค่าทางอาหารสูง สภาพดินฟ้าอากาศของไทยเหมาะต่อการเจริญเติบโต และยังได้ผลผลิตสูง ขายง่าย ได้ราคาดี เป็นที่ต้องการของตลาด วิธีการเพาะเห็ดก็ทำได้ง่ายและลงทุนไม่มาก จึงน่าจะเรียนรู้และนำไปพัฒนาต่อได้ไม่ยาก โดยเคทีซียังได้สร้างโรงเรือนเพาะเห็ดในโรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ เพื่อประกอบการเรียนการสอน และหวังอย่างยิ่งว่านักเรียน และบุคลากรโรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ จะได้รับประโยชน์จากองค์ความรู้ที่เคทีซีตั้งใจมอบให้ เพื่อเป็นแหล่งความรู้ และส่งต่อการเรียนรู้จากรุ่นสู่ร่นต่อไป”

สถาบันไทยพัฒน์ ประกาศรายชื่อบริษัทจดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance) ติดอันดับ ESG 100 ปี 62 พร้อมคัดกองทุนโครงสร้าง พื้นฐาน / รีทส์ / อสังหาริมทรัพย์ ด้วยเกณฑ์ ESG เป็นครั้งแรก สร้างทางเลือกสำหรับการลงทุนที่ยั่งยืน และได้รับผลตอบแทนที่มิได้ด้อยไปกว่าการลงทุนในแบบทั่วไป

สถาบันไทยพัฒน์ โดยหน่วยงาน ESG Rating ซึ่งเป็นผู้พัฒนาข้อมูลด้านความยั่งยืนของธุรกิจในประเทศไทย ได้ริเริ่มจัดทำและประกาศรายชื่อ 100 หลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เรียกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 ในปี พ.ศ.2558 เป็นปีแรก

การจัดอันดับหลักทรัพย์กลุ่ม ESG100 รอบนี้ถือเป็นปี ที่ห้าของการประเมินโดยทีม ESG Rating ในสังกัด สถาบันไทยพัฒน์ ด้วยการคัดเลือกจาก 771 บริษัทจดทะเบียน (ไม่รวมหลักทรัพย์ที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟู) รวมทั้งกองทุน รวมอสังหาริมทรัพย์ (PF) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (IF) ทาการประเมินโดยใช้ข้อมูลที่เกี่ยวกับ ESG จาก 6 แหล่ง1  จำนวนกว่า 14,278 จุดข้อมูล 

ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธาน สถาบันไทยพัฒน์ กล่าวว่า “การประเมินในปีนี้สถาบันไทยพัฒน์ ได้พิจารณา ข้อมูลทั้งการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) และผลประกอบการของบริษัทควบคู่ไปพร้อมกัน โดยในปีนี้ เรายังได้ทำการประเมินกองอสังหาฯ - REITs – โครงสร้างพื้นฐาน โดยใช้เกณฑ์ ESG เป็นครั้งแรก เพื่อเพิ่มทางเลือกของการลงทุนที่มีความผันผวนต่ำ แต่สามารถให้ผลตอบแทนที่ไม่ด้อยกว่าการลงทุนในหุ้นทั่วไป”

ผลการคัดเลือกหลักทรัพย์ที่เข้าอยู่ใน Universe ของ ESG100 ประจำปี 2562 จำแนกตามรายกลุ่มอุตสาหกรรม จำนวน 8 กลุ่ม ประกอบด้วย

  • กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (Agro & Food Industry) 11 หลักทรัพย์

 

  • กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Products) 4  หลักทรัพย์

 

  • กลุ่มธุรกิจการเงิน (Financials) 12  หลักทรัพย์

 

  • กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม (Industrials) 15 หลักทรัพย์

 

  • กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง (Property & Construction) 21  หลักทรัพย์

 

  • กลุ่มทรัพยากร (Resources) 10  หลักทรัพย์

 

  • กลุ่มบริการ (Services) 21  หลักทรัพย์

 

  • กลุ่มเทคโนโลยี (Technology) 6  หลักทรัพย์

ในจำนวนนี้ มีหลักทรัพย์ที่ได้รับการคัดเลือกให้อยู่ในกลุ่ม ESG100 ที่มาจากตลาด mai อยู่ 9 หลักทรัพย์ ได้แก่ FPI, MBAX, MOONG, PPS, TMILL, TPCH, SPA, WINNER, XO และเป็นกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 กอง ได้แก่

  • กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGATIF)
  • กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต จัสมิน (JASIF)

มีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (PF) และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) ที่ได้รับคัดเลือก จำนวน 7 กอง ได้แก่

  • กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ CPN คอมเมอร์เชียล โกรท (CPNCG)
  • กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ไพร์มออฟฟิศ (POPF)
  • ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์บัวหลวง ออฟฟิศ (B-WORK)
  • ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรม เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ต้ี (FTREIT)
  • ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลเด้นเวนเจอร์ (GVREIT)
  • ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ แอล เอช ช้อปปิ้ง เซ็นเตอร์ (LHSC)
  • ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าดับบลิวเอชเอ พรีเมี่ยม โกรท (WHART)

ทั้งนี้ มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เกตแคป) รวมกันของหลักทรัพย์ ESG100 มีมูลค่าราว 10.4 ล้านล้าน บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 62.6 เมื่อเทียบกับมาร์เกตแคปรวมของตลาด (SET) ที่ 16.6 ล้านล้านบาท

รายชื่อหลักทรัพย์ ESG100 ชุดใหม่นี้ มีการเปลี่ยนแปลงจากปี ที่แล้ว ในสัดส่วนร้อยละ 27 และจะถูกนำไปใช้ ทบทวนรายการหลักทรัพย์ที่ใช้ในการคำนวณดัชนี อีเอสจี ไทยพัฒน์ หรือ Thaipat ESG Index ในเดือนกรกฎาคมนี้

ผู้ลงทุนที่สนใจข้อมูลหลักทรัพย์จดทะเบียนในกลุ่ม ESG100 สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.esgrating.com

 

 


1 ประกอบด้วย ข้อมูลในหัวข้อความรับผิดชอบต่อสังคมในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี (แบบ 56-1) สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อมูลการประเมินการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลของบริษัทจดทะเบียน (ESG Rating) บริษัท อีเอสจี เรตติ้ง จำกัด ข้อมูลโครงการประกาศรางวัลรายงานความยั่งยืน สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย ข้อมูลผลสำรวจการกำกับ ดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียน (CG Scoring) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ข้อมูลโครงการประเมินระดับการพัฒนาความยั่งยืนของกิจการ (CSR Progress Indicator และ Anti-corruption Indicator) สถาบันไทยพัฒน์ และข้อมูลการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียและสื่อ (Media and Stakeholder Analysis: MSA) บริษัท อิมเมจ พลัส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด

การทำงานร่วมกันของกลุ่มบุคคลจากหลากหลายเพศสามารถนำมาซึ่งโซลูชันที่สร้างสรรค์และแปลกใหม่ด้วยมุมมองที่แตกต่างจะส่งผลให้เกิดผลงานที่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตามการเหมารวมว่าวงการเทคโนโลยีเป็นอุตสาหกรรมสำหรับผู้ชายเป็นหลักนั้นอาจ

เอสซีจี โดยนายชนะ ภูมี Vice President-Cement and Construction Solution Business เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง และนายศาณิต เกษสุวรรณ ผู้อำนวยการ-ธุรกิจสัมพันธ์และพัฒนาอย่างยั่งยืน ธุรกิจซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ร่วมกับกองทัพบก และเครือข่ายจิตอาสา ส่งมอบถังเก็บน้ำผลิตด้วยวัสดุพอลิเมอร์ “เอลิเซอร์” ของเอสซีจี จำนวน 115 ถัง ให้แก่ นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 50 ถัง และนายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง จำนวน 65 ถัง เพื่อช่วยเหลือเเละบรรเทาภัยแล้งระยะเร่งด่วนแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และลำปาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรม “เฉลิมราชย์ราชา จิตอาสาบรรเทาภัยแล้ง” ที่ร่วมเฉลิมพระเกียรติเเละถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เสด็จขึ้นครองราชย์ พร้อมเชิญชวนจิตอาสาระดมพลังสร้างฐานติดตั้งถังเก็บน้ำจากวัสดุรีไซเคิลที่เหลือจากการก่อสร้าง ซึ่งออกแบบโดยทีมงานเอสซีจีให้สอดคล้องกับแนวทาง SCG Circular Way หรือการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด และนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สำหรับประชาชนที่สนใจเข้าร่วมเป็นจิตอาสาในโครงการ “เฉลิมราชย์ราชา” สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง www.scg.com/volunteerproject

เอสซีจี ยังคงมุ่งมั่นสร้างเครือข่ายจิตอาสาทั่วประเทศ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายเป็นหัวใจสำคัญ พร้อมเชิญชวนทุกภาคส่วนให้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “เฉลิมราชย์ราชา” ผ่านการดำเนิน 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรม “เฉลิมราชย์ราชา จิตอาสาบรรเทาภัยแล้ง” กิจกรรม “เฉลิมราชย์ราชา จิตอาสารักษ์น้ำ” และกิจกรรม “เฉลิมราชย์ราชา จิตอาสาพัฒนาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชทั่วไทย” เพื่อสร้างพลังที่เข้มแข็ง อันจะนำไปสู่การผลักดันสังคม และชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งช่วยขับเคลื่อนประเทศให้เกิดความยั่งยืน และสร้างโลกที่น่าอยู่สำหรับคนรุ่นต่อไป

สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดบริการใหม่ ผ่าน Sustainability Store ของสถาบันฯ ด้วยเครื่องมือ S-Value

Page 4 of 7
X

Right Click

No right click