ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เดินหน้าตอกย้ำ การเป็น “ศูนย์ฯ ประชุม สีเขียว” จับมือเอไอเอส (AIS) สนับสนุนการจัดการขยะ E-Waste อย่างถูกวิธี ตั้งจุดรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์ พร้อมชวนคนไทยยุคดิจิทัล กำจัดขยะอย่างถูกวิธี เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน และรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ศูนย์ฯ สิริกิติ์ เป็นศูนย์การประชุมแห่งแรกในประเทศไทยที่เข้าร่วมโครงการ ‘คนไทย ไร้ E-Waste’ กับ AIS เพื่อแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ออกจากขยะประเภทอื่นๆ และส่งต่อไปยังหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญในการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี โดยเปิดจุดรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Waste บริเวณเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ ชั้น LG

 

สุทธิชัย บัณฑิตวรภูมิ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กล่าวว่า “ทางศูนย์ฯ สิริกิติ์ มีความยินดีที่ได้เข้าร่วมโครงการ ‘คนไทยไร้ E-Waste’ กับ AIS ซึ่งเป็นโครงการ ที่ให้ความสำคัญกับการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี สอดรับกับพันธกิจหลัก ของศูนย์ฯ สิริกิติ์ ที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนในการรักษาสิ่งแวดล้อม และพัฒนาชุมชน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยผู้เข้ามาใช้บริการที่ศูนย์ฯ สิริกิติ์ หรือชุมชนใกล้เคียง สามารถนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต สายชาร์จ หูฟัง แบตเตอรี่มือถือ มาทิ้ง ได้ที่จุดรับขยะภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์ นอกจากนั้นเรายังได้จัดวางถังแยกขยะประเภทต่างๆ เพื่อให้ผู้มาใช้บริการภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์ ได้รับความสะดวก และง่ายต่อการทิ้งขยะอย่างถูกวิธี ซึ่งขยะที่ผ่านการคัดแยกจะเข้าสู่กระบวนการ Recycle และ Upcycle เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติ ตามระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนโดยจัดสรรให้ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์ มากที่สุด”

 

สายชล ทรัพย์มากอุดม รักษาการหัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์ และธุรกิจสัมพันธ์ เอไอเอส กล่าวว่า “AIS ในฐานะผู้ให้บริการดิจิทัล นอกเหนือจากความมุ่งมั่นในการพัฒนาเครือข่ายสื่อสารอัจฉริยะให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีหลักของประเทศแล้ว เรายังวางนโยบายในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนในทุกมิติ โดยเฉพาะในด้านสิ่งแวดล้อม ที่วันนี้ AIS เดินหน้าสร้าง Ecosystem ในการบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้โครงการ ‘คนไทยไร้ E-Waste’ ตั้งแต่การสร้างองค์ความรู้ให้คนไทยตระหนักถึงปัญหา สร้างกระบวนการจัดเก็บเพื่อให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลแบบ Zero Landfill ตามมาตรฐานสากล ผ่านการสร้างการมีส่วนร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่หลากหลาย โดยครั้งนี้เราได้ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เข้ามาเป็นหนึ่งในเครือข่าย ด้าน Green Partnerships โดยมีเป้าหมายเดียวกันที่ต้องการแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน โดยผู้ที่เข้ามาใช้บริการที่ศูนย์ฯ สิริกิติ์ หรือมาเข้าร่วมงานประชุม งานแสดงสินค้า หรืองานแฟร์ต่างๆ สามารถนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ มาทิ้งได้ที่จุดรับขยะภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์ เพื่อจะได้รวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปกำจัดอย่างถูกต้องต่อไป”

 

เพราะความยั่งยืนคือพันธกิจหลัก ศูนย์ฯ สิริกิติ์ จึงให้ความสำคัญตั้งแต่การออกแบบอาคาร ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้เพื่อประหยัดพลังงาน การควบคุมมลพิษ การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการจัดภูมิทัศน์ที่ช่วยเชื่อมโยงอาคารเข้ากับพื้นที่สีเขียวของสวนเบญจกิติ และการจัดพื้นที่ส่วนกลางเพื่อจัดกิจกรรมสันทนาการ การร่วมมือ ในโครงการ ‘คนไทยไร้ E-Waste’ กับ AIS ในครั้งนี้ จึงเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนของศูนย์ฯ สิริกิติ์ อย่างแท้จริง”

นายสุทธิชัย บัณฑิตวรภูมิ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (ซ้าย) เดินหน้าตอกย้ำ การเป็น “ศูนย์ฯ ประชุม สีเขียว” จับมือ นางสายชล ทรัพย์มากอุดม รักษาการหัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์ และธุรกิจสัมพันธ์ เอไอเอส (ขวา) เข้าร่วมโครงการ ‘คนไทยไร้ E-Waste’ ตั้งจุดรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์ พร้อมชวนคนไทยยุคดิจิทัล กำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน และรักษาสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน

วัน แบงค็อก เมืองอัจฉริยะแห่งความยั่งยืนสมบูรณ์แบบใจกลางกรุงเทพฯ ตอกย้ำวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ด้วยหลักการของความยั่งยืน สอดรับกับเป้าหมายการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมโลกขององค์การสหประชาชาติ (UN) และกรุงเทพมหานครฯ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พร้อมส่งเสริมนโยบายวันสิ่งแวดล้อมโลก Reduce (ลด) และ Recycle (รีไซเคิล) ด้วยการนำวัสดุเหลือใช้และวัสดุที่ใช้แล้ว มาเปลี่ยนให้มีคุณค่าเป็นประโยชน์ในด้านต่างๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของผู้คนในเมือง

(3 แกนหลักด้านความยั่งยืนของ โครงการวัน แบงค็อก)

องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้ วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day เพื่อให้ทั่วโลกตื่นตัวกับวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ร่วมกันหาแนวทางป้องกันและลงมือแก้ไข วัน แบงค็อก ในฐานะโครงการอสังหาริมทรัพย์ภาคเอกชนมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างจุดเปลี่ยนด้านสิ่งแวดล้อมพร้อมตั้งเป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net-zero) และเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนในการสร้างอนาคตที่ดีขึ้น เพื่อสร้างความยั่งยืนในทุกมิติ สะท้อนผ่านแนวคิด 3 แกนหลัก ได้แก่ การให้ความสำคัญกับผู้คน (People Centric) การยกระดับความยั่งยืน (Sustainability) และการใช้ชีวิตในเมืองอัจฉริยะ (Smart City Living)

เพื่อตอกย้ำการเป็นโครงการต้นแบบสีเขียวที่มุ่งมั่นสร้างความยั่งยืนให้เทียบเท่าระดับสากล วัน แบงค็อก มุ่งสู่การเป็นโครงการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน LEED for Neighborhood Development ระดับ Platinum แห่งแรกในประเทศไทย พร้อมมุ่งมั่นประหยัดพลังงาน จัดการของเสียและอากาศภายในอาคารได้อย่างมีคุณภาพ และมาตรฐานรับรองอาคาร WELL เพื่อให้ผู้ที่ใช้อาคารมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี และยังจะดำเนินงานตามแนวปฏิบัติด้านการก่อสร้างที่ยั่งยืนภายใต้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การก่อสร้างไปจนถึงช่วงเปิดดำเนินการของโครงการ 

วัน แบงค็อก กำหนดเป้าหมายด้านความยั่งยืนขึ้น พร้อมแนวทางปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม นับตั้งแต่การออกแบบมาสเตอร์แพลนของโครงการฯ จนไปถึงขั้นตอนของการดำเนินงาน โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาบริหารจัดการ สนับสนุนการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด ภายใต้แนวคิด Reuse และ Recycle อาทิ

· การลดขยะจากการก่อสร้าง โดยตั้งเป้านำขยะจากการก่อสร้างมากกว่า 75% กลับมาใช้ใหม่และรีไซเคิล อาทิ การนำเทคโนโลยีบดย่อยเศษขยะคอนกรีตจากหัวเสาเข็มเพื่อนำไปสร้างผนังอาคารในโครงการฯ ช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 5.94 ตันหรือเทียบเท่ากับปริมาณการผลิตก๊าซออกซิเจนจากต้นไม้ 540 ต้น อีกทั้งยังมีการนำเศษอิฐมวลเบาที่เหลือใช้จากการก่อสร้างมาผลิตเป็นแผ่นผนังกันเสียงในอุโมงค์ทางลอดเข้าโครงการฯ

· การรีไซเคิลขยะเศษอาหาร ที่เหลือจากการบริโภคของคนงานก่อสร้าง ให้กลายเป็นปุ๋ย ผ่านเครื่อง Food Waste Composter ทำให้สามารถช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ได้ถึง 1.2 ตันคาร์บอนต่อวัน หรือ 367 ตันคาร์บอนต่อปี เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ จำนวน 40,815 ต้น

· การรีไซเคิลน้ำเสีย ด้วยระบบบริหารจัดการน้ำอัตโนมัติที่สามารถตรวจสอบคุณภาพน้ำ ลดการใช้น้ำ (Reduce) และนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่โดยผ่านเทคโนโลยีบำบัดน้ำเสีย เพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำทำให้มีคุณภาพดีขึ้น Wastewater Treatment Plant (Recycle) และนำไปใช้ในส่วนต่างๆ อาทิ ระบบรดน้ำต้นไม้ภายในโครงการฯ และระบบชำระล้างของสุขภัณฑ์ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังได้มีการนำเทคโนโลยีไอโอที (IoT) มาเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดแยกและจัดการขยะรีไซเคิล ทำให้โครงการสามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ปริมาณขยะแบบเรียลไทม์ เพื่อนำเศษวัสดุที่เหลือใช้กลับเข้าสู่กระบวนการผลิตช่วยให้สามารถลดปริมาณขยะที่สะสม และเมื่อโครงการเปิดดำเนินการ จะเพิ่มระบบเซ็นเซอร์เพื่อตรวจจับปริมาณของขยะพร้อมแจ้งเตือนไปยังส่วนกลาง ทำให้ลดปัญหาขยะล้นถัง ส่งเสริมสภาพแวดล้อมด้านสุขอนามัย

(โครงการวัน แบงค็อก)

ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการออกแบบพื้นที่สาธารณะ (Public Realm) ให้เป็นพื้นที่เปิดโล่งและพื้นที่สีเขียวมากถึง 50 ไร่ เทียบเท่ากับครึ่งหนึ่งของพื้นที่โครงการทั้งหมด เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนหันมาใช้ทางเดินเท้าในโครงการ แทนการใช้รถยนต์ ลดมลภาวะทางอากาศ โดยพื้นที่ส่วนหน้าของโครงการตลอดแนวถนนพระรามสี่และถนนวิทยุ ถูกรังสรรค์ให้เป็นสวนสาธารณะสีเขียวขนาดใหญ่ (Linear Park) และมีระยะร่นจากทางเท้าเข้าไปยังตัวอาคาร 35 - 45 เมตร สร้างทัศนียภาพที่สวยงาม ร่มรื่น ช่วยกรองฝุ่น และลดอุณหภูมิ วัน แบงค็อก มุ่งมั่นสู่การเป็นส่วนหนึ่งในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยพัฒนาพื้นที่สาธารณะที่มีคุณภาพ พร้อมเป็นต้นแบบโครงการสีเขียวที่ยั่งยืน

หนึ่งในภารกิจหลักหลังการควบรวมทรู-ดีแทค คือ การส่งมอบเครือข่ายสัญญาณที่ดียิ่งกว่า ครอบคลุมยิ่งขึ้นทั่วไทย โดยที่ผ่านมา การติดตั้งเสาสัญญาณ นอกเหนือจากจะต้องเป็นไปตามกฎระเบียบที่กสทช.กำหนดไว้แล้ว ทุกพื้นที่ที่ทรูและดีแทคติดตั้งเสาสัญญาณจะมีการนำปัจจัยเรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ Biodiversity มาใช้ในการวางแผน โดยทีมปฏิบัติการจะทำการสำรวจสิ่งมีชีวิตนานาพันธุ์ในระบบนิเวศรอบพื้นที่เสาสัญญาณ ควบคู่กับการปลูกต้นไม้เพื่อให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยสมบูรณ์ของสัตว์และพันธุ์พืช เพื่อบรรลุเป้าหมายที่จะไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียคุณค่าด้านความหลากหลายทางชีวภาพสุทธิ และไม่ก่อให้เกิดการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้สุทธิ ภายในปี 2573 สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ หรือ SDGs “เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน” โดยมีกระบวนการที่ชัดเจน ตั้งแต่

1. คัดกรองและคัดเลือกพื้นที่ตั้งเสาสัญญาณ หากพิจารณาว่าพื้นที่โดยรอบที่ตั้งเสาสัญญาณนั้นมีโอกาสที่จะส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ไม่ว่าจะเป็น สัตว์สายพันธุ์เล็ก สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ความหลากหลายของพันธุ์พืช ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ ก็จะส่งประเมินความเสี่ยงต่อไป

2. ประเมินและจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่เสี่ยง โดยนำไปประเมินเชิงลึกผ่านโปรแกรมมาตรฐานระดับโลก คือ Biodiversity and Ecosystem Services Trends and Conditions Assessment Tool (BESTCAT) เพื่อทำการคัดกรองพื้นที่อ่อนไหว ซึ่งมีมาตรกำหนดวัดระดับความรุนแรงของผลกระทบตั้งแต่ต่ำสุดถึงสูงสุดที่ 0 – 100 อาทิ มีชนิดพันธุ์ถูกคุกคามมากน้อยแค่ไหนในพื้นที่รัศมี 10 ตารางกิโลเมตรจากเสาสัญญาณที่ติดตั้ง

3. ดำเนินตามแผนแก้ไข ป้องกัน เพื่อลดผลกระทบ โดยยึดหลักบรรเทาผลกระทบตามลำดับชั้น ตั้งแต่ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบ ลดผลกระทบที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ฟื้นฟูสภาพพื้นที่ด้วยการปลูกพรรณไม้ท้องถิ่น และชดเชยด้วยการปลูกต้นไม้นอกพื้นที่โครงการ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ทั้งทรูและดีแทคได้ดำเนินการในพื้นที่ที่ใกล้ชิดแหล่งธรรมชาติ คือการจัดทำเสาสัญญาณที่ออกแบบเป็นเสาต้นไม้ เพื่อให้กลมกลืนกับทัศนียภาพ เข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบข้างและแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้อยใหญ่

4. สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยรอบ โดยชักชวนผู้มีส่วนได้เสียเข้าร่วมอนุรักษ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งเสริมการปลูกต้นไม้ในสังคมยุคดิจิทัลเพื่อสร้างแหล่งที่อยู่อันอุดมสมบูรณ์ให้แก่สิ่งมีชีวิตผ่านแอป We Grow โดยในปี 2564 ได้สร้างพื้นที่สีเขียวได้ถึง 165 ไร่ และคาดว่าจะดูดซับก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ถึง 2,400 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ในปี 2573

จากผลการศึกษาในปี 2564 พบว่ามีพื้นที่เสาสัญญาณที่อาจอยู่ในระดับเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ คิดเป็นสัดส่วนที่ 0.38% ซึ่งจะต้องนำไปประเมินเพิ่มเติม พร้อมหารือผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางแผนดำเนินการแก้ไข ป้องกัน และลดผลกระทบอย่างเคร่งครัด

อัลลี่ (ALLIE) ผลิตภัณฑ์กันแดดชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น โดย บริษัท คาเนโบ คอสเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด นำเสนอผลิตภัณฑ์กันแดดภายใต้แนวคิด “ความงาม เพื่อโลกที่ยั่งยืน” จัดกิจกรรมฉลองครบรอบ 1 ปี ALLIE "Beauty & Sustainable UV” ในประเทศไทย กิจกรรม ALLIE x EARTH DAY เนื่องในวันคุ้มครองโลก เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2566 ด้วยการเปิดสยามสแควร์เชิญผู้สนใจร่วมงาน เพื่อร่วมกันสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม และรณรงค์ให้ทุกคนอนุรักษ์ และร่วมรักษ์โลกให้ยั่งยืน อัลลี่ (ALLIE) อาสาเป็นตัวแทนรวบรวมขวดน้ำดื่ม PET ที่ใช้แล้ว ส่งมอบต่อสำนักงานสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร เพื่อผลิตเป็นชุด PPA สำหรับเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานต่อไป

 

นางสาวแสงเดือน อุทารวุฒิพงศ์ ผู้จัดการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ บริษัท คาเนโบ คอสเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า อัลลี่ (ALLIE) เป็นผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีแนวคิดสนับสนุนการรักษ์โลกและสิ่งแวดล้อมโดยคำนึงถึงในหลายมิติ ตั้งแต่บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล และสามารถนำกลับมารีไซเคิลซ้ำอีกได้ทุกชิ้นส่วน เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนอย่างคุ้มค่า และส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ ได้ยกเลิกการใช้สารดูดซับรังสียูวีจำพวก OMC ที่ประกอบด้วยสาร Octinoxate, Oxybenzone, 4-Methylbenzylid Camphor (4MBC) และ Butylparaben ที่มีข้อมูลการวิจัยพบว่าเป็นอันตรายต่อสัตว์ทะเลบางชนิด ขัดขวางการเจริญเติบโตของปะการัง ก่อให้เกิดมลพิษต่อท้องทะเล ซึ่งจากการคิดถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกขั้นตอน ทำให้ อัลลี่ (ALLIE) เป็นที่ยอมรับว่าเป็นผลิตภัณฑ์กันแดดรักษ์โลกอย่างแท้จริง

ซึ่งในกิจกรรม ALLIE x EARTH DAY ทางอัลลี่ (ALLIE) ได้แนะนำ ผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุด LIMITED-EDITION PACKAGE ALLIE X PEANUTSTM กันแดดที่ออกแบบมาให้ทุกชิ้นส่วนสามารถนำไปใช้งานได้ โดยนำกันแดด 2 รุ่นขายดีมาบรรจุในแพ็คเกจจิ้งลาย SNOOPY กล่องบรรจุภัณฑ์นำไป DIY เป็นที่ใส่ปากกาหรือใส่แปรงได้ เนื้อกันแดดมีให้เลือก 2 รุ่น คือ ALLIE CHONO BEAUTY GEL UV EX สำหรับผิวหน้า-ผิวกาย และ ALLIE CHONO BEAUTY COLOR TUNING UV 03SHEER BEIGE สำหรับผิวหน้า พร้อมคุณสมบัติสำคัญในการกันแดดประสิทธิภาพสูง SPF50+ PA++++ โดยยังคงแนวคิดและคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไร้สารอันตรายต่อปะการังและสัตว์ทะเล ภายในงานมีการให้ความรู้แนะนำการดูแลสิ่งแวดล้อมง่ายๆ ใกล้ตัว

 

กิจกรรมนี้มีคุณ ปูเป้-จิรดาภา อินทจักร และ ไข่มุก-วรัทยา ดีสมเลิศ อดีตสมาชิก BNK48 และนักแสดงน้องใหม่ ริวกิ (@rryu.ki), จิมมี่ (@jimmy.nt), พรีเซ้นต์ (@ssaintntp) และ ตั๋ง (@tung_thatkawin) ในฐานะตัวแทนคนรุ่นใหม่มาร่วมทดสอบคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์กันแดด อัลลี่ (ALLIE) พร้อมอาสาร่วมเป็นตัวแทนในการรวบรวมขวดน้ำดื่มพลาสติกที่เป็น PET เพื่อส่งต่อให้กับสำนักงานสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร เพื่อนำไปผลิตเป็นชุด PPE ให้กับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลรักษาความสะอาดของกรุงเทพฯ โดยการเลือกจัดกิจกรรมนี้ เนื่องจากเป็นเรื่องใกล้ตัว ทุกวันนี้มีการใช้งานผลิตภัณฑ์ที่เป็นพลาสติกเป็นจำนวนมาก การเป็นจุดเล็กๆ ของเขาหวังว่าจะเป็นอีกหนึ่งแรงกระตุ้นให้ตระหนักว่า ทุกคนสามารถดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมได้ด้วยการช่วยกันคนละไม้ละมือ ซึ่งทำให้สิ่งแวดล้อมและสังคมน่าอยู่ยิ่งขึ้น

 

ซึ่งหลังจากกิจกรรมการจัดงาน ALLIE x EARTH DAY คณะผู้บริหารจาก อัลลี่ (ALLIE) นำโดย มร.อะทสึชิ ซูมิโน่ ประธานกรรมการ และ นางสาวแสงเดือน อุทารวุฒิพงศ์ ผู้จัดการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ บริษัท คาเนโบ คอสเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นตัวแทนในการส่งมอบขวด PET ที่รวบรวมได้จำนวน 1,500 ขวด ให้แก่สำนักงานสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร โดยมีนาย นายประพาส เหลืองศิรินภา ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร เป็นผู้รับมอบ โดยขวด PET ทั้งหมดสามารถนำไปผลิตชุด PPE ส่งต่อให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ดูแลรักษาความสะอาดของกรุงเทพฯ ได้เป็นจำนวนถึง 35 ชุด ผลิตภัณฑ์ อัลลี่ (ALLIE) ผู้บริหาร และทีมงานทุกคน ขอขอบคุณผู้ร่วมสนับสนุนกิจกรรมฯ อันเป็นประโยชน์ต่อโลกและสิ่งแวดล้อมในครั้งนี้ และสัญญาว่าจะยืนยัดในแนวคิด “ความงาม เพื่อโลกที่ยั่งยืน” ต่อไปอย่างไม่เปลี่ยนแปลง

 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC ธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน ผนึกกำลังจัดงาน SCGC-Mahidol Science Symposium: “Healthcare, Well-being & Sustainability” เดินหน้าความร่วมมือสร้างสรรค์งานวิจัยเชิงพาณิชย์ ผลักดันนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี และความยั่งยืนให้กับผู้คนทั้งในประเทศไทยและระดับสากล

ตอบรับเมกะเทรนด์ ภายในงานได้มีการลงนามบันทึกความร่วมมือ Research and Innovation for the Future Materials โดยรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และดร.สุรชา อุดมศักดิ์ รองผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรม SCGC ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข พญาไท คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีทีมผู้บริหารจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์ วราภรณ์ รองคณบดี และ ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดี พร้อมทั้งทีมผู้บริหารจาก SCGC นายนิวัฒน์ อธิวัฒนานนท์ ผู้อำนวยการเทคโนโลยี SCGC และ ดร.สุเมธ เจริญชัยเดช หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนา SCGC เข้าร่วมงาน

 

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ SCGC ได้ร่วมมือทางวิชาการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 พร้อมทั้งได้จัดตั้ง “ศูนย์วิจัยนวัตกรรม SCG-MUSC Innovation Research Center” ขึ้นในปี 2562 ณ อาคารเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อพัฒนาพอลิเมอร์ชนิดพิเศษ โดยใช้องค์ความรู้ในศาสตร์เคมีเชิงลึกของมหาวิทยาลัยมหิดล ประสานกับเทคโนโลยีชั้นนำระดับสเกลอัปเชิงอุตสาหกรรมของ SCGC เพื่อต่อยอดในการสร้างวัสดุและผลิตภัณฑ์แห่งอนาคต

สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการขยายขอบเขตความร่วมมือให้ครอบคลุมถึงนวัตกรรมด้านสุขภาพเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี (Healthcare & Well-being) และความยั่งยืน (Sustainability) โดยยังคำนึงถึงหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์ขาดแคลนทรัพยากร ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างความยั่งยืนในอุตสาหกรรมเคมี รวมถึงส่งเสริม Open Innovation ผ่านความร่วมมือของสถาบันการศึกษาและภาคเอกชน (Public-Private Partnership) ที่ประสานความเข้มแข็งขององค์กรพันธมิตรเข้าด้วยกัน เพื่อร่วมวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้สอดคล้องกับเมกะเทรนด์โลก นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างผู้เชี่ยวชาญและนวัตกรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์ เพื่อคิดค้นนวัตกรรมที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตผู้คนได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไปในอนาคต

 

ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ รองผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรม SCGC กล่าวว่า “ SCGC มุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมเคมีภัณฑ์เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดียิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริง โดยนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนและเมกะเทรนด์มาเป็นแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการ โดย SCGC ยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนนวัตกรรมผ่านการสร้างเครือข่ายด้าน R&D กับองค์กรและสถาบันชั้นนำทั้งในประเทศและระดับโลก เพื่อวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้ามูลค่าเพิ่มสูง หรือ HVA (High Value Added Products & Services) อย่างต่อเนื่อง สำหรับการลงนามความร่วมมือด้าน “Research and Innovation for the Future Materials” ระหว่าง SCGC กับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในครั้งนี้ เป็นการยกระดับและขยายกรอบการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม ครอบคลุมทั้งหมด 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) การวิจัยพัฒนาพอลิเมอร์ชนิดพิเศษที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การพัฒนาสารประกอบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของตัวเร่งปฏิกิริยาให้ครอบคลุมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ Green Polymer โดยเน้นโซลูชัน 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ Reduce, Recyclable, Recycle, Renewable 2) การวิจัยพัฒนาสินค้านวัตกรรมเพื่อสุขภาพ มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ ให้มีความสะดวกสบายขึ้น และป้องกันหรือลดความเสี่ยงของการเกิดโรคและโรคอุบัติใหม่ และ 3) การวิจัยพัฒนาเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบครบวงจร โดยเริ่มตั้งแต่การลดของเสียและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี รวมถึงการเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยตรงให้เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี หรือการนำสารตั้งต้นที่มีคาร์บอนฟุตพริ้นต์ต่ำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ”

 

รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี กล่าวว่า “การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ รวมถึงการลงนามต่ออายุข้อตกลงความร่วมมือ จะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้นระหว่างบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด มหาชน (SCGC) และ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมร่วมกัน นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมงานวิจัยที่ตอบโจทย์เศรษฐกิจ และส่งเสริมงานวิจัยเชิงพาณิชย์ให้กับประเทศไทย ซึ่งเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศในระดับสากล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เรามีอาจารย์และนักวิจัย ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยที่หลากหลาก โดยเฉพาะในสาขาวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ตรงกับความต้องการของ

ภาคเอกชน กิจกรรมครั้งนี้จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นในการเพิ่มขยายความร่วมมือไปในด้านอื่น ๆ อาทิ ด้านนวัตกรรมด้านสุขภาพเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี (Healthcare & Well-being) และความยั่งยืน (Sustainability) ทั้งยังเป็นโอกาสอันดีที่ในการแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมของบุคลากรและนักศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ตอบโจทย์เศรษฐกิจหมุนเวียนและเมกะเทรนด์โลก และแลกเปลี่ยนมุมมองทางด้านงานวิจัยและนวัตกรรมต่าง ๆ กับทีมนักวิจัยของ SCGC เพื่อหารือต่อยอดความร่วมมือนำไปสู่การทำวิจัยร่วม รวมถึงการให้ทุนนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาในอนาคตอันใกล้นี้ นอกจากนั้น ยังเป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรและนักศึกษาได้พัฒนาแนวคิดต่อยอดสู่การผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ด้วย”

นอกจากนี้ ภายในงาน SCGC-Mahidol Science Symposium: “Healthcare, Well-being & Sustainability” ยังมีการ หารือต่อยอดความร่วมมือทางการวิจัยและนวัตกรรมระหว่างทีมนักวิจัยของ SCGC และคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อาทิ เคมี, เทคโนโลยีชีวภาพ, ฟิสิกส์, ชีวเคมี, วัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ, ยางและพอลิเมอร์, เภสัชวิทยา, สรีรวิทยา, กายวิภาคศาสตร์ รวมทั้งได้มีการนำเสนองานวิจัยต่างๆ เช่น การตรวจหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ, การนำส่งยา, เอนไซม์, วัสดุและเซนเซอร์ ฯลฯ พร้อมเดินหน้าหารือความร่วมมือ และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกับทีมนักวิจัยจาก SCGC อย่างเข้มข้น รวมถึงการให้ทุนนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาอีกด้วย

Page 2 of 6
X

Right Click

No right click