บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) (TPIPP) ผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงขยะ โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนทิ้ง และโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงถ่านหิน ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการเปลี่ยนเป็นโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ 100% ทั้งนี้ บริษัทจัดเป็นโรงกำจัดขยะรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงเป็นโรงกำจัดขยะที่ตั้งอยู่ในพื้นที่แห่งเดียวกันที่ใหญ่ที่สุดในโลก บริษัทได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในบริษัทกลุ่มหลักทรัพย์ ES100 ที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental Social and Governance: ESG) จากการประเมินหลักทรัพย์จดทะเบียน ในปี พ.ศ.2566 โดยสถาบันไทยพัฒน์

นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานกรรมการ บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สถาบันไทยพัฒน์ประกาศให้ บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) (TPIPP) ติดอันดับ ESG100 ประจำปี 2566 ด้วยการคัดเลือกจาก 888 หลักทรัพย์จดทะเบียน ให้เป็นบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาล (ESG) ในกลุ่มทรัพยากร และบริษัทเข้าอยู่ในทำเนียบ ESG100 ได้เป็นปีที่ 4 (2561 และ 2564-66)

บริษัทมีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงถ่านหินที่ดำเนินการทั้งหมด จำนวน 220 เมกะวัตต์ มาใช้เชื้อเพลิงขยะทดแทน 100% ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2568 ทั้งนี้ในปี 2565 บริษัทได้นำขยะชุมชนมาทำการคัดแยกเป็นเชื้อเพลิงทดแทน แทนการนำขยะชุมชนไปฝังกลบ ได้เป็นจำนวนกว่า 2.73  ล้านตัน ทำให้ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการฝังกลบสู่บรรยากาศได้ จำนวนสูงถึง 6.34 ล้านตัน CO2  เทียบเท่า นอกเหนือจากใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงขยะแล้ว บริษัทยังให้ความสำคัญกับการเติบโตในธุรกิจผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดสีเขียว ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม

ทั้งนี้ การจัดอันดับของสถาบันไทยพัฒน์ พิจารณาข้อมูลจากการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) และผลประกอบการของบริษัทควบคู่ไปพร้อมกัน

สำหรับสถาบันไทยพัฒน์ เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาข้อมูลด้านความยั่งยืนของธุรกิจ ได้เปิดเผยรายชื่อหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้าน ESG จำนวน 100 บริษัท หรือที่เรียกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 เป็นครั้งแรกในปี 2558 และได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนและดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่เก้าในปีนี้

ขณะที่ การจัดอันดับบริษัทจดทะเบียนด้านการพัฒนาความยั่งยืนของธุรกิจนี้ ถือเป็นแหล่งข้อมูลด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียน เพื่อรองรับความต้องการของผู้ลงทุนที่ให้น้ำหนักการลงทุนในบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ และเป็นทางเลือกให้ผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีคุณภาพและได้รับผลตอบแทนที่มิได้ด้อยไปกว่าการลงทุนในแบบทั่วไป

บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) (TLI) ผู้นำในธุรกิจประกันชีวิตได้รับคัดเลือกให้เป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) เข้าอยู่ในกลุ่มบริษัทวิถียั่งยืนที่น่าลงทุน หรือ ESG Emerging List ปี 2566

สถาบันไทยพัฒน์ ประกาศให้ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในรายชื่อหลักทรัพย์จดทะเบียนที่น่าลงทุนในกลุ่ม ESG Emerging ปี 2566 ด้วยการคัดเลือกจาก 888 หลักทรัพย์จดทะเบียน โดยใช้ข้อมูลด้าน ESG ที่ปรากฏในการเปิดเผยข้อมูล การดำเนินงานที่สะท้อนปัจจัยด้าน ESG และความริเริ่มหรือลักษณะธุรกิจที่เกี่ยวโยงกับประเด็นด้าน ESG ของกิจการ

นางวรางค์ ไชยวรรณ กรรมการและรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจภายใต้วิสัยทัศน์ “การเป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งความยั่งยืน” โดยให้ความสำคัญกับการส่งมอบคุณค่าแห่งความยั่งยืน (Value of Sustainability) ให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน ทั้งลูกค้า บุคลากร ผู้ถือหุ้น คู่ค้าและพันธมิตร หน่วยงานกำกับดูแล และสังคม รวมถึงยึดมั่นในจรรยาบรรณตามหลักบรรษัทภิบาล และการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม เพื่อสร้างความสมดุลและความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมถ่ายทอดและส่งเสริมให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการส่งมอบคุณค่าให้กับผู้เอาประกันภัย ชุมชน และสังคม ซึ่งเป็นจิตวิญญาณและความเข้มแข็งของวัฒนธรรมองค์กรที่ไทยประกันชีวิตยึดมั่นมาโดยตลอดกว่า 81 ปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้ การจัดอันดับหลักทรัพย์ที่น่าลงทุนในกลุ่ม ESG Emerging พิจารณาข้อมูลจากการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) และผลประกอบการของบริษัทควบคู่กันในกระบวนการประเมิน สำหรับสถาบันไทยพัฒน์ เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาข้อมูลด้านความยั่งยืนของธุรกิจ ได้เปิดเผยรายชื่อหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ในกลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 เป็นครั้งแรกในปี 2558 และในกลุ่มหลักทรัพย์ ESG Emerging เป็นครั้งแรกในปี 2563

การจัดอันดับบริษัทจดทะเบียนด้านการพัฒนาความยั่งยืนของธุรกิจในกลุ่มบริษัทวิถียั่งยืนที่น่าลงทุน หรือ ESG Emerging List ถือเป็นแหล่งข้อมูลด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียน เพื่อรองรับความต้องการของผู้ลงทุนที่ให้น้ำหนักการลงทุนในบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ และเป็นทางเลือกให้ผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีคุณภาพและได้รับผลตอบแทนที่มิได้ด้อยไปกว่าการลงทุนในแบบทั่วไป

เอสซีจี เปิดต้อนรับครอบครัวพลังชุมชนจากทั่วประเทศ กับงาน พลังชุมชน สร้างคนด้วยปัญญา” ในโครงการ “พลังชุมชน”

เอสซีจี มุ่งแก้จน ลดความเหลื่อมล้ำสังคม ตามแนวทาง ESG 4 Plus (มุ่ง Net Zero – Go Green – Lean เหลื่อมล้ำ – ย้ำร่วมมือ ภายใต้ความเชื่อมั่น โปร่งใส) ผ่านโครงการพลังชุมชน อบรมให้ความรู้คู่คุณธรรม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต มุ่งให้ชุมชนเห็นคุณค่าและพัฒนาศักยภาพตนเอง  สร้างอาชีพด้วยการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นให้โดนใจลูกค้า ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้น่าซื้อ ดึงดูดใจผู้บริโภค นำหลักการตลาดไปใช้ในการจัดจำหน่ายทั้งออนไลน์ (Online) และออฟไลน์ (Offline) ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ขณะเดียวกันต้องบริหารจัดการความเสี่ยง สร้างภูมิคุ้มกันให้ตนเอง หากทำผิดพลาด ต้องไม่ย่อท้อ ล้มแล้วต้องรีบลุก  นำจุดบกพร่องมาเป็นบทเรียนพัฒนาตนเอง

ตั้งแต่ปี 2561 มีผู้ร่วมอบรมในโครงการ​พลังชุมชน 650 คน จาก 14  จังหวัด ได้แก่ ลำปาง สระบุรี กาญจนบุรี นครศรีธรรมราช เชียงราย แพร่ อุดรธานี อุบลราชธานีลำพูน อุตรดิตถ์ บุรีรัมย์ พิษณุโลก ตาก และระยอง มีสินค้าแปรรูป​กว่า 1,150 รายการ ชุมชนมีรายได้เพิ่ม 5 เท่า เกิดการจ้างงาน 3,410 คน ส่งต่อความรู้ 26,130 คน ช่วยปลดหนี้ มีอาชีพมั่นคง ต่อยอดความรู้ พัฒนาเป็นการตลาดรอดจนซึ่งมีรูปแบบเฉพาะตัว ขณะเดียวกันยังแบ่งปันความรู้และเป็นต้นแบบส่งต่อแรงบันดาลใจให้ชุมชนอื่นๆ เกิดเป็นเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง

เอสซีจีได้จัดงาน “พลังชุมชน สร้างคนด้วยปัญญา โดยเชิญ 6 ตัวแทนบุคคลต้นแบบมาร่วมแบ่งปันความรู้ แนวคิดการพัฒนาอาชีพ หัวข้อ “เปลี่ยนอย่างไรให้ปัง” และเปิดเวทีให้น้อง ๆ โรงเรียนน้ำโสมพิทยาคม จ.อุดรธานี มาแชร์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการสร้างมูลค่าจากวัตถุดิบรอบตัวและนำไปทำโครงการวิชาการประกวด ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับประเทศ นอกจากนั้น ยังเปิด “ตลาดพลังชุมชนชวนช้อป” นำสินค้ากว่า 200 รายการมาจำหน่าย เช่น ผงกล้วยหอมทองพร้อมชง จ.แพร่  ก๋วยจั๋บรสต้นตำรับเส้นญวน จ.อุบลราชธานี กระบกเคลือบคาราเมล จ.อุบลราชธานี  เกล็ดปลานิลอินทรีย์ทอดกรุบกรอบ จ.เชียงราย  ขนมกุ๊กไก่ไส้สับปะรด จ.ลำปาง ผ้าย้อมดินถิ่นครูบา จ.ลำพูน แผ่นแปะสมุนไพรแก้ปวด จ.เชียงราย  น้ำพริกปลาส้ม 4 ภาค จ.อุดรธานี และกระเป๋าทำจากผ้าขาวม้า จ.สระบุรี   

ผู้สนใจสามารถสนับสนุนชุมชน โดยเลือกซื้อสินค้าขึ้นชื่อของแต่ละจังหวัด และแหล่งท่องเที่ยวทั่วไทย ได้ที่ E-CATALOG https://my.eboox.cc/shop9/1/2566/   

วันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) หลายๆ องค์กรได้เดินหน้าขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อมด้วยตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อโลกและความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ไม่เว้นแม้แต่ “มนุษย์” อย่างเราๆ

SCGC มุ่งมั่นสู่ความเป็นผู้นำธุรกิจเคมีภัณฑ์ครบวงจรเพื่อความยั่งยืน (Chemicals Business for Sustainability)  โดยได้นำแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) และ ESG (Environmental, Social and Governance) มาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้คนในสังคม โดยให้ความสำคัญกับมิติด้านสิ่งแวดล้อมมาอย่างยาวนาน พร้อมทั้งนำความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมมาเป็นโซลูชั่นเพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง (Innovation for Better Environment & Society)

และในโอกาสวันสิ่งแวดล้อมโลกนี้ (World Environment Day) SCGC ขอแบ่งปันเรื่องราว เพื่อสิ่งแวดล้อมยั่งยืนผ่านภารกิจ ภารกิจ เพิ่มผืนน้ำ ฟื้นผืนป่า คืนฝูงปลา ที่ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนเห็นผลเชิงประจักษ์... มาร่วมติดตามเรื่องราวดีๆ เหล่านี้ไปด้วยกัน

 

ชุมชนคนน้ำดี เก็บน้ำดีมีน้ำใช้ ด้วยโมเดล 2 สร้าง 2 เก็บ

 “เขายายดาเมื่อก่อนไม่ใช่แบบนี้นะ เมื่อหลายปีที่แล้ว มันเกิดความแห้งแล้งจากการแผ้วถางป่า ที่ผ่านมาเราพยายามแล้วนะในเรื่องการปลูกป่า แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่ จนเราได้ประสานไปที่บริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ เขามาช่วยสอนเราเรื่องการจัดการน้ำ เราได้เขามาเป็นพี่เลี้ยง แล้วเวลามีปัญหา ปรึกษาได้ทุกเรื่อง ผู้ใหญ่วันดี อิทรพรม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 บ้านมาบจันทร์ จังหวัดระยอง บอกเล่าถึงที่มาก่อนจะร่วมมือกับ SCGC พลิกฟื้นพื้นที่เขายายดา ให้กลับมาอุดมสมบูรณ์

ย้อนเวลากลับไปเมื่อปี 2550  SCGC ได้เริ่มรับรู้ถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำบริเวณพื้นที่รอบเขายายดา ซึ่งชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ดังนั้นการมีน้ำไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกจึงมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจชุมชน และจังหวัดระยองเป็นอย่างมาก  SCGC จึงเริ่มภารกิจเพิ่มผืนน้ำ ฟื้นผืนป่า ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมรอบเขายายดา จนกระทั่งนำไปสู่การจัดทำโครงการ เก็บน้ำดี มีน้ำใช้ ด้วยโมเดล 2 สร้าง 2 เก็บ เปลี่ยนชีวิตชุมชนด้วยการบริหารจัดการน้ำและสู้ภัยแล้งอย่างเป็นระบบ ภายใต้หัวใจสำคัญ 4 ด้านคือ สร้างคน”  มุ่งสร้างนักวิจัยท้องถิ่นโดยทำงานร่วมกับ SCGC และผู้เชี่ยวชาญ สร้างกติกา กำหนดกติกาการใช้น้ำของชุมชนอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานของความเกื้อกูลกัน เก็บข้อมูล เก็บข้อมูลปริมาณน้ำตามจุดต่าง ๆ โดยบันทึกสถิติอย่างเป็นระบบ สำหรับนำไปกำหนดกติกาการใช้น้ำร่วมกัน เก็บน้ำเก็บน้ำให้ได้มากและนานที่สุด ด้วยการดูแลแหล่งต้นน้ำ และแหล่งเก็บน้ำของชุมชน

SCGC ได้นำโมเดล 2 สร้าง 2 เก็บ มาบูรณการร่วมกับองค์ความรู้ในการอนุรักษ์ป่าและน้ำ เริ่มตั้งแต่การฟื้นฟูป่าต้นน้ำด้วยการปลูกป่า 5 ระดับ หรือการคัดเลือกพรรณไม้ท้องถิ่นซึ่งมีเรือนยอดต่างระดับกัน การสร้างฝายชะลอน้ำ โดยเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติ เพื่อเก็บน้ำและชะลอการไหลของน้ำในช่วงฤดูฝน การขุดลอกคลองเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ และสุดท้ายคือการทำธนาคารน้ำใต้ดิน เพื่อเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาไว้ใต้ดิน ประหยัดน้ำสำหรับรดน้ำต้นไม้และพืชผลทางการเกษตร ลดน้ำท่วมขังช่วงหน้าฝน และสร้างความชุ่มชื้นในช่วงหน้าแล้ง

จากการทำงานร่วมกับชุมชนและหน่วยงานราชการในพื้นที่อย่างต่อเนื่องมากกว่า 10 ปี ทำให้เกิดผลลัพท์เชิงประจักษ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่สร้างรอยยิ้มและความสุขให้กับชุมชนอย่างประเมินค่าไม่ได้ อาทิ ช่วยเติมน้ำในลำธารได้ 14.83 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี อุณหภูมิอากาศต่อปีลดลง 1.6 องศาเซลเซียส สามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 38.49 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อไร่ พบสัตว์ป่า 123 ชนิด และพรรณไม้อีกกว่า 120 ชนิดพันธุ์

ปลูก เพาะ รัก : ปลูกต้นไม้ เพาะต้นกล้า รักษาป่า สู่วิถีสังคมคาร์บอนต่ำ

จากความมุ่งมั่นในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อนำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ SCGC จึงเดินหน้าปลูกป่าทั้งป่าบกและป่าชายเลน โดยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา เยาวชน ชุมชนในพื้นที่ และเหล่าจิตอาสา เกิดเป็นโครงการ ปลูก เพาะ รัก: ปลูกต้นไม้ เพาะต้นกล้า รักษาป่า

ปลูกต้นไม้ : พลิกฟื้นผืนป่าให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ ด้วยการปลูกป่าบก และป่าชายเลน ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ป่าชุมชน และกิจกรรมปลูกต้นไม้ในพื้นที่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และสร้างสมดุลให้กับระบบนิเวศ โดยเบื้องต้น SCGC ได้ตั้งเป้าปลูกป่า 1 ล้านต้น ซึ่งได้ปลูกป่าชายเลนไปแล้วกว่า 181,800 ต้น คิดเป็นพื้นที่ 260 ไร่ สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 2,272 ตันคาร์บอนไดออกไซด์*  (*ข้อมูล ณ พฤษภาคม 2566)

เพาะต้นกล้า : จากการฟื้นฟูป่าบริเวณเขายายดา สู่การออมเมล็ดพันธุ์เพื่อสร้างธนาคารต้นไม้  SCGC ได้ร่วมกับชุมชนบ้านมาบจันทร์ เก็บรวบรวมเมล็ดพันธุ์ไม้ท้องถิ่นและพันธุ์ไม้หายาก จัดทำเป็นโรงเรือนเพาะชํากล้าไม้ เพื่อนําเมล็ดพันธุ์จากต้นไม้ในพื้นที่เขายายดามาเพาะขยายพันธุ์ ขณะเดียวกันได้แบ่งปันเมล็ดพันธุ์ให้บุคคลทั่วไปนำไปเพาะ และส่งกลับคืนต้นกล้ามายังโรงเรือนเพื่อดูแลให้เป็นกล้าไม้ที่แข็งแรง พร้อมหยั่งรากลงดินต่อไป ที่ผ่านมาสามารถเพาะต้นกล้าได้มากกว่า 20,000 ต้น

รักษาป่า : การปลูกต้นไม้ในใจคนเป็นเรื่องสำคัญที่สุด SCGC จึงได้ส่งเสริมจิตสำนึกรักป่า ให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล ผ่านความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีพันธกิจร่วมกัน รวมถึงเครือข่ายอาสาสมัครการรวมกลุ่มอนุรักษ์ในท้องถิ่นให้มีการจัดกิจกรรมดูแลพื้นที่ป่าอย่างต่อเนื่อง เปิดรับสมัครสมาชิกรุ่นใหม่เพื่อสานต่องานของเครือข่าย และร่วมเป็นแกนนำในการอนุรักษ์พื้นที่ป่าต่อไป

บ้านปลาเอสซีจีซี คืนความสมบูรณ์ให้ทะเลไทย

SCGC ร่วมกับสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 (ระยอง) และกลุ่มประมงพื้นบ้าน จังหวัดระยอง หาทางแก้ปัญหาระบบนิเวศ เพื่อคืนความสมดุลสู่ท้องทะเลระยอง ด้วย นวัตกรรมบ้านปลา จากท่อ PE100 ซึ่งผลิตจากเม็ดพลาสติกคุณภาพสูง ที่เหลือจากกระบวนการขึ้นรูปทดสอบในโรงงาน ซึ่งเม็ดพลาสติก PE100 ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากลว่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทนแดด และแรงดันน้ำ จึงมีความปลอดภัยต่อระบบนิเวศทางทะเล

นับจากการวางบ้านปลาหลังแรกในปี 2555 จนถึงวันนี้ SCGC วางบ้านปลาไปแล้วกว่า 2,260 หลัง  สร้างพื้นที่อนุรักษ์ในทะเลกว่า 50 ตารางกิโลเมตร  เกิดความร่วมมือกับกลุ่มประมงพื้นบ้าน 43 กลุ่ม* (ข้อมูล ณ พฤษภาคม 2566)  นอกจากนี้ ยังได้มีการสำรวจเรื่องไมโครพลาสติก ซึ่งไม่พบไมโครพลาสติกจากท่อ PE100 ในบริเวณบ้านปลาและพี้นที่โดยรอบ

ภารกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมจะสำเร็จและคงอยู่อย่างยั่งยืนได้นั้น เกิดขึ้นจากความร่วมแรงร่วมใจของทุกภาคส่วนในสังคม  สิ่งแวดล้อมจะไปต่อได้หรือไม่ คำตอบนี้จึงอยู่ที่ใจและสองมือของเราทุกคน

X

Right Click

No right click