พร้อมเผยรายชื่อหุ้น ESG Turnaround ดันผลประกอบการพลิกฟื้น เป็นปีแรก

เผย 10 ชุมชนร่วมโครงการ ต่อยอดเพื่อพัฒนาศักยภาพให้เป็นชุมชนเข้มแข็ง เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีและเติบโตอย่างยั่งยืน

เอสซีจี โดย นายถิรวัฒน์ พูนกาญจนะโรจน์ Distribution Director  บริษัท เอสซีจี ดิสทริบิวชั่น จำกัด ในธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี มอบโล่รางวัล  Sustainable Leader SCG Green Choice 2022 แก่ บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ SC ผู้นำการส่งมอบ Living Solutions คุณภาพมาตรฐานสูง โดยมี นายปภาณเดช พชรชานันท์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านสนับสนุนโครงการ มาเป็นผู้รับมอบ

นายถิรวัฒน์ พูนกาญจนะโรจน์ กล่าวว่า “ฉลาก SCG Green Choice คือฉลากรับรองสินค้า เพื่อแสดงให้เห็นถึงนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมให้ผู้อยู่อาศัยมีคุณภาพการอยู่อาศัยที่ดี ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญของเอสซีจีที่จะส่งเสริมให้ผู้บริโภคเลือกผลิตภัณฑ์รักษ์โลกได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนตามแนวทาง ESG 4 Plus ของเอสซีจี ที่ส่งเสริมให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม เพื่อสร้างความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม โดยในปี 2022 ยอดขายสินค้ากลุ่ม SCG Green Choice เติบโตถึงร้อยละ 34 เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ หรือมียอดขายรวม ร้อยละ 51 แสดงให้เห็นว่าปัจจุบันลูกค้าให้ความสำคัญกับการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น การมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ Sustainable Leader SCG Green Choice 2022 แก่ SC Asset ในครั้งนี้เป็นเครื่องตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นร่วมกันในการส่งมอบที่อยู่อาศัยที่ดีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”

การประกาศเกียรติคุณ Sustainable Leader SCG Green Choice 2022 นี้ เพื่อเป็นเกียรติแก่ความมุ่งมั่นในการสร้างที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของพันธมิตรและคู่ค้าผ่านการเลือกใช้สินค้าภายใต้ฉลาก SCG Green Choice ซึ่ง SC Asset ได้เลือกใช้นวัตกรรมวัสดุก่อสร้างที่ได้รับฉลาก SCG Green Choice ในทุกโครงการ โดยในปี 2022 ที่ผ่านมา SC Asset มีสัดส่วนการใช้ผลิตภัณฑ์ SCG Green Choice ร้อยละ 30 ของยอดซื้อทั้งหมด สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปได้อย่างน้อย 878 ตัน หรือเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 73,204 ต้น ตลอดปี

นายปภาณเดช กล่าวว่า “SC Asset มุ่งพัฒนาสินค้าและบริการอย่างยั่งยืน เน้นการส่งมอบคุณค่าที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า การเลือกใช้วัสดุที่มีนวัตกรรมเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการสร้างคุณค่า เพราะไม่ได้เพียงแค่จะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ แต่ลูกค้าได้รับประโยชน์จากบ้านที่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีฉลาก SCG Green Choice ยังส่งผลให้ลูกค้ามีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดความร้อน ลดค่าน้ำ ค่าไฟได้อีกด้วย ซึ่งภายในปี 2025 บริษัทฯ ได้มีการตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ ร้อยละ 20 เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจ SCero Mission”

ภารกิจ SCero Mission (ซี-โร่-มิช-ชั่น) คือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ ก่อสร้าง การนำไปใช้ และการบริหารจัดการของเหลือใช้ ตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำ โดยหนึ่งในกลุยทธ์สำคัญคือการเลือกคู่ค้าที่มีแนวคิดและเป้าหมายเดียวกัน ในการรักษาสิ่งแวดล้อม คือการเลือกใช้วัสดุก่อสร้าง ที่มีนวัตกรรมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้ฉลาก SCG Green Choice ในโครงการบ้านและคอนโดมิเนียมของเรา และตั้งเป้าสัดส่วนการใช้ให้ได้ ร้อยละ 40 ภายในปี 2024

การร่วมมืออย่างเต็มรูปแบบ จะเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจด้วยแนวคิดการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม (ESG) ยกระดับคุณภาพของบ้านและคอนโด รวมถึงคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยขึ้นไปอย่างยั่งยืน

Google Cloud ได้เผยผลสำรวจด้านความยั่งยืนระดับโลกที่แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยติด 1 ในตลาด 3 แห่งที่ผู้บริหารให้ความสำคัญในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมภิบาล (ESG) เป็นอันดับ 1

โดยตลาดอีกสองแห่งคือสิงคโปร์และเยอรมนี แม้ว่าจะมีปัจจัยทางเศรษฐกิจเข้ามาเป็นอุปสรรคในการดำเนินงานก็ตาม ทั้งนี้ผลสำรวจระดับโลกยังแสดงให้เห็นว่าได้มีการลดความสำคัญของความพยายามด้าน ESG ในประเทศต่างๆ จากอันดับ 1 ในปี 2022 มาเป็นอันดับ 3 ในปี 2023

ความยั่งยืนถือเป็นปัญหาหลักขององค์กร ได้แก่ ปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงและคุณภาพของอากาศ การปฏิบัติตามกฎระเบียบ และความน่าเชื่อถือของแบรนด์ เป็นต้น แบบสำรวจความยั่งยืนประจำปีครั้งที่ 2 ของ CXO ได้รับมอบหมายโดย Google Cloud และจัดทำโดย The Harris Poll มีการสำรวจผู้บริหารระดับสูงกว่า 1,476 คนจากตลาด 16 แห่ง ประกอบด้วยตลาด 4 แห่งในเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไต้หวัน และประเทศไทย การสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนที่ผู้บริหารต้องดำเนินการเพื่อหลีกเลี่ยงผลเสียใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน เช่น ส่งผลให้การทำงานหยุดชะงักและเกิดความล้มเหลวในการดำเนินงาน

ผลประกอบการทางการเงินและการปฎิบัติตามความรับผิดชอบด้าน ESG นั้นไม่ใช่สิ่งที่สูญเปล่า

ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ในประเทศไทย (85%) ตระหนักดีว่าลูกค้ามีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมและทำธุรกิจกับแบรนด์ที่ตระหนักถึงความยั่งยืน และ 84% เชื่อว่าการยืดเวลาออกไปหรือลดระดับความสำคัญของเป้าหมายด้านความยั่งยืนจะส่งผลเสียต่อมูลค่าขององค์กร อย่างไรก็ตาม 59% ของผู้ตอบแบบสำรวจกล่าวว่าการดำเนินงานของผู้นำองค์กรไม่สอดคล้องกับการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนอย่างเต็มที่ เงื่อนไขทางเศษฐกิจที่ไม่แน่นอนส่งผลให้ 76% ของผู้บริหารเหล่านี้เผชิญความท้าทายในการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนของบริษัทในขณะที่ดำเนินธุรกิจด้วยงบประมาณที่น้อยลงกว่าเดิม

ผู้บริหารชี้ว่าการขาดการปรับแนวทางของผู้นำและภาวะเศรษฐกิจระดับมหภาค เป็นสาเหตุของการถดถอยในความพยายามด้านความยั่งยืนขององค์กร โดยเหล่าผู้บริหารถูกกดดันในเรื่องการให้ความสำคัญกับการเพิ่มรายได้และเสริมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า

เอพริล ศรีวิกรม์, ผู้อำนวยการ Google Cloud ประจำประเทศไทย กล่าว “ครื่องมืออัจฉริยะที่ขับเคลื่อนโดยข้อมูลอย่าง Active Assist ที่องค์กรสามารถใช้เพิ่มประสิทธิภาพในค่าใช้จ่ายด้าน IT, ปรับปรุงความปลอดภัย และลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้ในเวลาเดียวกัน โดยทาง Google Cloud นำมาปรับใช้เพื่อช่วยให้ผู้บริหารธุรกิจเห็นว่าผลประกอบการทางการเงินและการปฏิบัติตามความรับผิดชอบด้าน ESG นั้นไม่สูญเปล่า ยิ่งไปกว่านั้นเกือบ 4 ใน 10 ของลูกค้าท้องถิ่นเผยว่าตนเต็มใจที่จะจ่ายมากขึ้นให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีแนวคิดความยั่งยืน องค์กรสามารถปลูกฝังแนวคิดความยั่งยืนลงในการปฏิบัติการและรูปแบบธุรกิจ รวมถึงสามารถวัดมูลค่าและผลตอบแทนจากการลงทุนได้

 

เอาชนะการฟอกเขียว (Greenwashing) ขององค์กรด้วยข้อมูลและการประมาณอย่างแม่นยำ

การฟอกเขียว (Greenwashing) และการสร้างภาพว่ารับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมขององค์กรเป็นปัญหาที่แพร่หลายในหมู่ผู้บริหารในประเทศไทย โดยเกือบ 7 ใน 10 ของผู้ตอบแบบสำรวจในประเทศไทย (69%) กล่าวว่าองค์กรของตนกล่าวเกินจริงหรือนำเสนออย่างไม่ถูกต้องเกี่ยวกับผลกระทบของโครงการริเริ่มด้านความยั่งยืน ผู้บริหารส่วนใหญ่ (83%) เชื่อว่าการฟอกเขียวเป็นเรื่องที่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น (เช่น เมื่อบริษัทไม่สามารถวัดผลลัพธ์หรือความคืบหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ มักจะกล่าวเกินจริงถึงความพยายามด้านความยั่งยืนของตน) ดังนั้น องค์กรจำเป็นต้องมีระบบที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลที่ให้ข้อมูลเชิงลึกที่นำไปใช้ได้จริงเพื่อช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงวิธีการใช้ความคิดริเริ่มด้านความยั่งยืน ที่จะสามารถขับเคลื่อนให้เกิดผลลัพธ์สูงสุด และวัดความก้าวหน้าได้อย่างถูกต้อง

ทั้งนี้ ผู้บริหารในประเทศไทยกว่า 63% มีโปรแกรมการวัดผลสำหรับความพยายามด้านความยั่งยืนอยู่แล้ว ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงที่สุดจากตลาดทั้งหมดที่ได้สำรวจเมื่อเทียบกับผู้ร่วมแบบสำรวจทั่วโลกที่ 37% โดยผู้บริหารส่วนใหญ่ (67%) เทียบกับผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลก (47%) เชื่อว่าการเข้าถึงเครื่องมือวัดผลขั้นสูงจะมีส่วนช่วยอย่างมากในการพัฒนาความพยายามด้านความยั่งยืนขององค์กรให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น

ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้วยวิธีการที่คล่องตัวและการสร้างความสามารถภายในองค์กร

นอกเหนือจากการวัดผลที่แม่นยำแล้ว องค์กรจำเป็นต้องทบทวนโครงสร้างและโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะที่มีอยู่ใหม่เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน นอกเหนือจากการปรับแนวทางที่จำเป็นสำหรับกลุ่มผู้บริหารระดับสูงที่จะช่วยตัดสินใจเกี่ยวกับความยั่งยืนขององค์กร ผู้บริหารในประเทศไทยยังต้องมีวิธีการที่คล่องตัวและการสร้างความสามารถภายใน ซึ่งอาจเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับความสำเร็จ โดยผู้ตอบแบบสำรวจมากกว่า 9 ใน 10 ในประเทศไทย (96%) เชื่อว่าจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดขึ้นได้หากบริษัทนำแนวทางการทำงานข้ามสายงานมาปรับใช้ แทนการมีทีมงานด้านความยั่งยืนโดยเฉพาะ ทั้งนี้ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากมองหาความรู้ที่เกี่ยวข้อง (61%) และเข้าถึงบุคลากรที่มีความสามารถที่เหมาะสม (45%) เพื่อพัฒนาความพยายามด้านความยั่งยืนของบริษัท

“องค์กรต่างๆ สามารถระดมทีมบุคลากรที่มีความสามารถที่มีอยู่เพื่อออกแบบและดำเนินการริเริ่มด้านเทคโนโลยีและความยั่งยืน โดยนำทักษะอื่นๆ หรือทักษะข้ามสายงานที่พนักงานเหล่านี้มีอยู่แล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในด้านต่างๆ เช่น สถาปัตยกรรมคลาวด์, การวิเคราะห์ข้อมูล, AI และแมชชีนเลิร์นนิง (ML) เป็นต้น Google Cloud สนับสนุนความพยายามในการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลภายในองค์กรผ่านโปรแกรมต่างๆ เช่น Google Cloud Skills Boost นอกจากนี้ เรายังนำเสนอแลปเชิงปฏิบัติที่ช่วยให้ทีมวิศวกรทำความคุ้นเคยกับคุณลักษณะด้านความยั่งยืนที่ฝังอยู่ในเครื่องมือ Google Cloud ที่ใช้อยู่แล้ว รวมถึงหลักสูตรการฝึกอบรมที่ปรับให้เหมาะกับผู้เรียนซึ่งช่วยให้ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานในการทำความเข้าใจและจัดการกับความท้าทายด้านความยั่งยืนที่องค์กรต้องเผชิญ” คุณเอพริล ศรีวิกรม์ กล่าว

 

เทคโนโลยี: หนทางสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

Google Cloud สนับสนุนองค์กรในประเทศไทยด้วยการใช้งานระบบคลาวด์ที่สะอาดที่สุดในอุตสาหกรรม องค์กรต่างๆ เช่น ยิ้ม แพลตฟอร์ม (Yim Platform) ของ Central Retail, โรบินฮุ้ด (Purple Ventures: Robinhood) ของ SCBX Group และ EVme ของกลุ่มบริษัท ปตท. ได้เลือก Google Cloud เป็นผู้ให้บริการคลาวด์หลัก โดยช่วยให้องค์กรเหล่านั้นดำเนินการลดคาร์บอนของโครงสร้างพื้นฐานและแอปพลิเคชันดิจิทัล และบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนตามคำมั่นขององค์กรได้อย่างสูงสุด

ในปี 2017 ทาง Google เป็นบริษัทแห่งแรกที่มีการใช้ไฟฟ้าประจำปีด้วยพลังงานหมุนเวียน 100% เมื่อเทียบกับขนาดขององค์กร และยังคงบรรลุเป้าหมายนี้ทุกปีตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อย้ายโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและแอปพลิเคชันไปยัง Google Cloud องค์กรต่างๆ จะได้รับความเป็นกลางทางคาร์บอนของ Google และปรับปรุงโปรไฟล์ด้านความยั่งยืนในทันที

เครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพอัจฉริยะและคุณลักษณะด้านความยั่งยืนที่ฝังอยู่ใน Google Cloud เพิ่มโอกาสให้องค์กรต่างๆ สามารถลดการปล่อยคาร์บอนในวงกว้างได้ง่ายขึ้น ดังนี้:

· Carbon Footprint จะแสดงภาพของการปล่อยก๊าซแบบครบวงจรในสโคป 1, 2 และ 3 ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน Google Cloud ขององค์กร ซึ่งทำให้สามารถแยกย่อยข้อมูลตามโครงการ บริการ หรือภูมิภาค และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเหล่านี้และทำให้เกิดการตัดสินใจเกี่ยวกับความยั่งยืนมากขึ้น · Active Assist ใช้ AI เพื่อให้คำแนะนำแก่องค์กรในการทำความสะอาดสภาพแวดล้อมระบบคลาวด์ เพื่อทำการใช้จ่ายด้านไอทีอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงปรับปรุงความปลอดภัยและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อีกด้วย · Google Earth Engine ใช้แคตตาล็อกภาพถ่ายดาวเทียมและชุดข้อมูลเชิงพื้นที่หลายเพตะไบต์ของ Google Cloud และการวิเคราะห์ที่ครอบคลุมระดับโลก เพื่อแสดงข้อมูลเชิงลึกในเวลาที่เหมาะสม แม่นยำ มีความละเอียดสูง และ

เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเกี่ยวกับความเป็นอยู่และระบบนิเวศของโลก ซึ่งช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถมองเห็นห่วงโซ่อุปทานของตนและเข้าใจถึงความเสี่ยงด้านสภาพอากาศที่เกิดขึ้นได้

ดาวน์โหลดเอกสารข้อมูลแบบสำรวจความยั่งยืนของ CXO หรือเยี่ยมชมบล็อกและเว็บไซต์ความยั่งยืนของ Google Cloud

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี คว้ารางวัลคะแนนสูงสุดประจำปี พ.ศ. 2565 ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนองค์กรสู่การธนาคารเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Banking) ครองอันดับหนึ่งการเงินที่เป็นธรรมต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 และ รางวัลพัฒนาการสูงสุด 5 ปี พ.ศ. 2561-2565 โดยนายกมลพันธ์  ลักษณา (ซ้าย) หัวหน้าการพัฒนาที่ยั่งยืน ทีเอ็มบีธนชาต เป็นผู้แทนรับมอบรางวัลจาก นางสาวสฤณี อาชวานันทกุล (ขวา) หัวหน้าคณะวิจัย แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย ในงานเวทีสาธารณะ “เปิดคะแนน ESG ธนาคารไทย ปีที่ 5 ก้าวต่ออย่างไรให้ยั่งยืนและเป็นธรรม” จัดโดยแนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย (Fair Finance Thailand) ณ ศูนย์การเรียนรู้ ธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อเร็ว ๆ นี้

X

Right Click

No right click