นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ในฐานะประธานกรรมการสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ครั้งที่ 5/2566 ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบกรอบทิศทางการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ของสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ปี 2567 – 2569 ซึ่งมีการปรับเพิ่มภารกิจสำคัญที่สมาชิกสมาคมฯ จะร่วมมือกันผลักดันการแก้ไขปัญหาหนี้อย่างยั่งยืน ควบคู่กับการสร้างงาน สร้างอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้ รวมถึงส่งเสริมความรู้การบริหารจัดการเงินแก่ประชาชน โดยดำเนินการภายใต้กรอบ ESG ที่คำนึงถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม และหลักธรรมาภิบาล เพื่อให้สถาบันการเงินของรัฐซึ่งมีบทบาทสำคัญในภาคการเงินของประเทศ ได้ร่วมกันสนับสนุนนโยบายรัฐบาลที่มุ่งใช้การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจ รวมถึงสนับสนุนภาคการผลิตและภาคบริการในการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

ทั้งนี้ ทิศทางการดำเนินงานดังกล่าวจะขับเคลื่อนผ่านแผนยุทธศาสตร์ 3 ด้าน (3S) ได้แก่ 1.Sustainability การขับเคลื่อนงานตามนโยบายภาครัฐและหน่วยงานกำกับดูแล โดยสนับสนุนมาตรการแก้ปัญหาหนี้อย่างยั่งยืน การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ เป็นธรรม และการดำเนินงานที่คำนึงถึง ESG พร้อมสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งซึ่งมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐ 2.Synergy การยกระดับความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง อาทิ ความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการให้บริการทางการเงินที่สะดวก ปลอดภัย รวมถึงความร่วมมือด้านการพัฒนาบุคลากร การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และประสบการณ์ของสมาชิกสมาคมฯ และ 3.Strong การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน ด้วยการปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การบริหาร และพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อยกระดับการบริหารงานของสมาคมฯ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

สำหรับการประชุมครั้งนี้ มีบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม โดยมีผู้บริหารระดับสูงจากสถาบันการเงินของรัฐ ผู้แทนจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมประชุม ณ ห้องประชุมกมลทิพย์ บอลรูม 3 โรงแรมเดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566

นายตัน ฮาค เลห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารระดับภูมิภาค กลุ่มบริษัทเอไอเอ ร่วมบรรยายในงานสัมมนาวิชาการ Thailand InsurTech Fair 2023 ในหัวข้อ ‘ESG - เครื่องมือสำคัญในขับเคลื่อนองค์กรอย่างยั่งยืน’ โดยได้ร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการธุรกิจโดยประยุกต์ใช้หลักการ ESG (Environmental, Social and Governance) ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล ซึ่งเป็นปรัชญาที่เอไอเอยึดถือในการดำเนินธุรกิจมาตลอดกว่าศตวรรษ ตอกย้ำถึงการเป็นผู้นำด้าน ESG ในภูมิภาคเอเชีย สอดคล้องตามคำมั่นสัญญาของเอไอเอ ที่มุ่งมั่นดูแลผู้คนทั่วเอเชียให้มีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น - ‘Healthier, Longer, Better Lives’ ณ ห้องฟินิกซ์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี เมื่อวันศุกร์ที่ 8 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา

เอสซีจีได้รับการยอมรับจากดัชนีความยั่งยืนชั้นนำของโลกหรือ ESG Risk Rating เป็น ESG Industry Top Rated ในกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรม (Industrial Conglomerates) จาก Morningstar Sustainalytics และได้รับ MSCI ESG Rating ระดับ AA (Leader) กลุ่มอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง (Construction Materials) จาก Morgan Stanley Capital International (MSCI) ผลการประเมินดังกล่าวมาจากการดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG 4 Plus มุ่งแก้วิกฤตภาวะโลกเดือด ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ปี 2593 พร้อมเดินหน้าพัฒนานวัตกรรมโซลูชัน เทคโนโลยีดิจิทัลใส่ใจสังคม-สิ่งแวดล้อม บริหารงานตามมาตรฐานสากล โปร่งใส เปิดเผยข้อมูล มีกลยุทธ์เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจท่ามกลางความผันผวนของวิกฤตซ้อนวิกฤต ควบคู่กับการสร้างคุณค่าให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

เอสซีจีมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจตามกลยุทธ์ ESG 4 Plus “มุ่ง Net Zero – Go Green – Lean เหลื่อมล้ำ – ย้ำร่วมมือ” โดยยึดหลักเชื่อมั่นและโปร่งใส ตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2593 เร่งพัฒนานวัตกรรมโซลูชัน เทคโนโลยีดิจิทัล ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์เมกะเทรนด์โลก อาทิ SCG Cleanergy ผู้ให้บริการซื้อ-ขายไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดครบวงจร สำหรับภาครัฐ ธุรกิจและอุตสาหกรรม ด้วยระบบเทคโนโลยีอัจฉริยะ (Smart Grid) ให้ซื้อ-ขายไฟฟ้าพลังงานสะอาดได้สะดวก รวดเร็ว ขณะเดียวกัน ได้ลงทุนกับ Rondo Energy สตาร์ทอัพด้านพลังงานสะอาดระดับโลก ผู้พัฒนานวัตกรรมแบตเตอรี่กักเก็บความร้อน (Thermal Energy Storage) อุณหภูมิสูงที่สุดในโลก เพื่อจ่ายพลังงานความร้อนให้โรงงานทดแทนการใช้บอยเลอร์ (Boiler) หรือเครื่องผลิตไอน้ำในโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้ลดการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ นวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตพร้อมใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อม อาทิ นวัตกรรมอัจฉริยะ เพื่อคุณภาพอากาศและประหยัดพลังงาน SCG Active AIR Quality, SCG Bi-ion และ SCG Air Scrubber โซลูชันจัดการคุณภาพอากาศ กำจัดเชื้อโรค ลดการใช้พลังงานในอาคาร SCGC GREEN POLYMERTM นวัตกรรมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสินค้าภายใต้ฉลาก Green Choice กว่า 250 รายการ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมสุขอนามัยที่ดี ขณะเดียวกันยังมุ่งลดความเหลื่อมล้ำในสังคมด้วยการพัฒนาทักษะอาชีพ สร้างรายได้ให้ชุมชนและ SMEs ให้โอกาสทางการศึกษา และยกระดับสุขภาวะ รวม 50,000 คน เช่น อาชีพช่างก่อสร้าง พนักงานขับรถบรรทุก การแปรรูปและการขายสินค้าทางออนไลน์ ทั้งยังร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ ทั้งไทย อาเซียนและโลก ให้ดำเนินงานด้วย ESG เพื่อส่งต่อโลกที่ยั่งยืนให้คนรุ่นถัดไป

 เอไอเอ ตอกย้ำความสำเร็จครั้งสำคัญในการลดการใช้กระดาษทั่วเอเชีย ซึ่งเผยแพร่ใน AIA ESG Report ประจำปี 2565 โดย เอไอเอ สามารถลดปริมาณการใช้กระดาษทั่วภูมิภาคเอเชียได้มากถึง 1,750 ตัน เทียบเท่ากับกระดาษกว่า 350 ล้านแผ่น ซึ่งแสดงถึงความมุ่งมั่นในการเดินหน้าผลักดันพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social, and Governance - ESG) ที่ถือเป็นรากฐานหลักในการดำเนินธุรกิจ

โดย เอไอเอ ให้ความสำคัญกับการมุ่งมั่นส่งเสริมสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนให้กับทุกคน และ เอไอเอ ยังคงเดินหน้าสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับผู้คนทั่วภูมิภาคเอเชีย ตามคำมั่นสัญญา “Healthier, Longer, Better Lives”

ในปี 2565 เอไอเอ ประเทศไทย สามารถลดปริมาณการใช้กระดาษลงได้ถึง 1,008,440 แผ่น ด้วยการสนับสนุนให้ลูกค้าลงทะเบียนใช้บริการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) และบริการกรมธรรม์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Policy) โดยบริการเหล่านี้ได้เปิดตัวตั้งแต่ปี 2563 เพื่อช่วยให้ลูกค้าเอไอเอ เข้าถึงเอกสารกรมธรรม์ได้ง่ายผ่านแอปพลิเคชัน AIA+ อีกทั้ง เอไอเอ ประเทศไทย ยังได้ผสานเทคโนโลยี บริการดิจิทัล และการวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าไว้ในผลิตภัณฑ์ประกัน ตามเป้าหมายที่จะมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดแบบครบวงจรแก่ผู้ใช้งานผ่านแอปพลิเคชัน AIA+ ตลอดจนยังประสบความสำเร็จตามเป้าหมายในการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน และการตั้งเป้าเป็นผู้นำด้านในการดำเนินงานโครงการด้านสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคม และธรรมาภิบาล โดยที่ผ่านมา เอไอเอ ได้มีโครงการที่ส่งเสริมด้าน ESG เช่น โครงการ AIA Saves the World และอีกหลายโครงการที่มุ่งส่งเสริมด้านการออกแบบและการใช้งานอาคาร ภายใต้คอนเซ็ปต์ Green Building ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

สำหรับแอปพลิเคชัน AIA+ (เอไอเอ พลัส) ที่ เอไอเอ ประเทศไทยได้พัฒนาขึ้นนั้นเป็นการรวบรวมบริการของ แอปพลิเคชัน AIA iService และแอปพลิเคชัน AIA Vitality เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงบริการกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบดิจิทัล ระบบติดตามสุขภาพ รวมถึงสิทธิประโยชน์ที่ส่งเสริมให้ผู้คนมีไลฟ์สไตล์เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นแบบไร้รอยต่อ

รายงานระบุว่า ในเอเชีย มีการซื้อประกันชีวิต การใช้บริการ และการเรียกร้องสินไหมทดแทนผ่านระบบดิจิทัล สูงถึงร้อยละ 87 จากการนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่ล้ำสมัยเข้ามาช่วยในการดำเนินธุรกิจ (Advancing Digital Transformation) ข้อมูลยังระบุว่า ขั้นตอนการซื้อประกันของ เอไอเอ ร้อยละ 98 เป็นแบบไร้กระดาษทั้งหมด การที่ เอไอเอ นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้จึงช่วยให้นำไปสู่การสร้างรากฐานความยั่งยืนในอนาคต โดยเป็นการทดแทนขั้นตอนการติดต่อดำเนินงานด้านเอกสารแบบเดิม ๆ มาเป็นการให้บริการที่คล่องตัวและราบรื่นอย่างไร้รอยต่อให้แก่ลูกค้า โดย เอไอเอ ได้ติดตามผลและวิเคราะห์ระดับของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและระบบอัตโนมัติมาใช้ในการดำเนินงานของทุกประเทศ โดยต่อยอดจากเฟรมเวิร์กที่พัฒนาขึ้นในปี 2561 พร้อมทั้งมุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อสื่อสารกับลูกค้า พัฒนาตัวเลือกบริการให้ดียิ่งขึ้น และลดปริมาณการใช้กระดาษในองค์กร

ปัจจุบัน เอไอเอ มีลูกค้าที่ถือครองกรมธรรม์ประกันชีวิตรายบุคคลที่มีผลบังคับมากกว่า 41 ล้านกรมธรรม์ โดย AIA ESG Report ประจำปี 2565 ระบุว่า เอไอเอ มีอัตราการซื้อกรมธรรม์แบบไร้กระดาษสูงถึงร้อยละ 98 นอกจากนี้อัตราการส่งเอกสารกรมธรรม์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-submission) สำหรับบริการของ เอไอเอ ยังเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 76 เป็นร้อยละ 85 ส่วนอัตราการเรียกร้องสินไหมทดแทนแบบไร้กระดาษในปัจจุบันคิดเป็นร้อยละ 85 ของทั้งหมด ซึ่งธุรกรรมการซื้อประกัน การให้บริการ และการเรียกร้องสินไหมของ เอไอเอ ในปัจจุบันร้อยละ 87 ดำเนินการผ่านระบบดิจิทัล โดย เอไอเอ ยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนการดำเนินงานตามขั้นตอนต่างๆ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Output) ซึ่งในปัจจุบันมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 92 ซึ่ง เอไอเอ ยังได้ตั้งเป้าหมายที่จะลดการใช้กระดาษโดยใช้ระบบ E-Output ด้วยการเพิ่มบริการ ออกกรมธรรม์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Policy) และการแจ้งเตือนอิเล็กทรอนิกส์ (E-Notifications) เข้ามาใช้อย่างจริงจัง

การนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่ล้ำหน้าเข้ามาช่วย เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในพันธกิจด้าน ESG ของ เอไอเอ และความมุ่งมั่นในการส่งเสริมการใช้ชีวิตที่ยั่งยืนและมีสุขภาพที่ดีขึ้นสำหรับผู้คน โดยกลยุทธ์ ESG ของ เอไอเอ สอดคล้องกับแนวทางหลักทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี การลงทุนที่ยั่งยืน การดำเนินงานที่ยั่งยืน ผู้คนและวัฒนธรรม และธรรมาภิบาลที่มีประสิทธิภาพ โดย เอไอเอ ตระหนักดีถึงการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกที่เกิดขึ้นจากการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและส่งเสริมให้ทุกคนในสังคมมีสุขภาพที่ดีขึ้น รวมไปถึงการส่งเสริมให้ผู้ใช้งานได้สนุกกับการใช้ชีวิตที่ดีขึ้นในทุกด้าน

ทั้งนี้ สำหรับ AIA ESG Report ยังได้รวบรวมข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงความทุ่มเทและความมุ่งมั่นในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนเพื่อทุกคนในสังคม โดยสามารถอ่านรายงานฉบับเต็มเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://www.aia.com/en/about-aia/esg

X

Right Click

No right click