×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6847

เอไอเอส เดินหน้าผลักดันการสร้างสังคม Digital อย่างยั่งยืน ผ่านแนวคิด “ถ้าเราทุกคน คือเครือข่าย” ประกาศภารกิจยิ่งใหญ่ “อุ่นใจไซเบอร์” สำหรับเยาวชน

  • การยกระดับมาตรฐานความรู้เท่าทัน Digital ด้วย DQ (Digital Quotient)
  • การพัฒนาระบบคัดกรอง Online Content ที่ไม่เหมาะสม ด้วยระบบ AIS Secure Net (Beta Phase)” และ Google Family Link” ที่เกิดจากความร่วมมือกับ Google

โครงการ “อุ่นใจไซเบอร์” มีเป้าหมายในการสร้างภูมิคุ้มกัน รณรงค์ ปลูกจิตสำนึก และสร้างเครื่องมือคัดกรอง Content ที่ไม่เหมาะสมจากโลก Digital โดยเน้นใน 2 ด้าน คือ มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างทักษะทาง Digital (Educator) เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะเพื่อให้ใช้ดิจิทัลอย่างรู้เท่าทัน  และ ป้องกัน (Protector) ความเสี่ยงจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่าน Digital Solutions

  1. การยกระดับมาตรฐานความรู้เท่าทัน Digital ด้วย DQ (Digital Quotient)

เอไอเอส โดยบทบาทการเป็นผู้ส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะทางดิจิทัล (Digital Educator) เป็นรายแรกและรายเดียวในไทยที่ได้นำเข้า DQ ชุดการเรียนรู้ 360 องศา เพื่อพัฒนาทักษะและความฉลาดทางดิจิทัล DQ (Digital Quotient) ครบทั้ง 8 ทักษะ ให้กับเด็กๆ สร้างภูมิคุ้มกันในการก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์อย่างมีไหวพริบ รู้จักวางตัวอย่างเหมาะสมกับคนแปลกหน้า และใช้มือถือ
แท็บเล็ต อย่างฉลาด ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งชุดการเรียนรู้นี้ได้รับการยอมรับและมีการนำไปฝึกทักษะให้กับเด็กๆ มากกว่า 110 ประเทศทั่วโลก แปลถึง 21 ภาษา จาก 100 พาร์ทเนอร์ ขณะนี้
ได้เริ่มขยายผลการสร้างทักษะความฉลาดทางดิจิทัล DQ (Digital Quotation)  ไปสู่ภาคการศึกษาทั่วประเทศ รวมถึงเปิด Portal ศูนย์กลางการเรียนรู้สำหรับคนไทยทุกคน ที่โรงเรียน หรือ สถาบันที่ทำงานเพื่อพัฒนาเยาวชนต่างๆ สามารถเข้ามาใช้งานได้แล้ววันนี้ที่ www.ais.co.th/dq

  1. การพัฒนาระบบคัดกรอง Online Content ที่ไม่เหมาะสม

เอไอเอส โดยบทบาทการเป็นผู้ให้บริการและพัฒนาเครือข่ายที่ป้องกันความเสี่ยง (network protector) จาก Content ที่ไม่เหมาะสม

  • เปิดตัว AIS Secure Net (Beta) ที่จะช่วยป้องกันและคัดกรองเนื้อหาบนโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเว็บ, ข้อความ รูปภาพ หรือวิดีโอที่ไม่เหมาะสม จากบุตรหลาน ในช่วงแรกนี้ เอไอเอสจะเปิดให้ลูกค้าได้ทดลองใช้บริการเป็น Beta Phase เชิญชวนลูกค้าเอไอเอสที่สนใจอยกใช้บริการ เข้ามาลงทะเบียนผ่านหน้าเว็บไซต์ เพื่อร่วมเป็น Pioneer ในการทดลองใช้บริการก่อนใคร จำนวน 10,000 คนแรก  สามารถเข้ามาลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2562  และลูกค้ากลุ่มนี้ ก็จะได้ทดลองใช้บริการ AIS Secure Net ได้ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2562 เป็นต้นไป
  • ร่วมมือกับ Google ในการนำบริการ Parental Control ผ่านแอปพลิเคชัน Google Family Link มาขยายผลสู่กลุ่มผู้ปกครองคนไทย (ใช้ได้ทุกเครือข่าย) ที่จะสามารถให้คำแนะนำ
    ดูแลการใช้งานโทรศัพท์ รวมถึงดูแลความปลอดภัยจากพิกัดปัจจุบันของบุตรหลานได้ง่ายๆ โดยเอไอเอส มอบอินเทอร์เน็ต on-top สำหรับการใช้งานให้ลูกค้าเอไอเอสสามารถดูแลบุตรหลานของท่านได้อย่างสบายใจ

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส กล่าวว่า “ในฐานะ Digital Life Service Provider ที่มุ่งมั่นพัฒนา Digital Infrastructure เพื่อประเทศ นอกเหนือจากการทำหน้าที่พัฒนาบริการเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าอย่างดีที่สุดแล้ว เรายังให้ความสำคัญกับการร่วมสร้างการเติบโตและพัฒนาสังคม สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อทำให้ทุกภาคส่วน (Stakeholder) เติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง

การมาถึงของเทคโนโลยี Digital ก่อให้เกิดผลกระทบและการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่วิถีการดำเนินชีวิต รูปแบบการทำธุรกิจ ตลอดจนระบบเศรษฐกิจในระดับมหภาค ซึ่งแน่นอนว่าย่อมนำมาทั้งประโยชน์มหาศาล ในขณะเดียวกันหากนำไปใช้อย่างไม่เหมาะสมก็สามารถส่งผลในทางลบกับสังคมได้เช่นกัน ทั้งนี้รวมไปถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่มาจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ (e-waste) ที่หากไม่ได้รับการปลูกฝัง หรือให้ข้อมูลการบริหารจัดการอย่างถูกวิธี ย่อมส่งผลร้ายแรงมาสู่ชีวิตทุกคนในโลก

โดยปรากฎการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นเด่นชัดผ่านงานวิจัยหลากหลายสำนักที่ระบุว่า ในปี 2561เยาวชนไทยอายุระหว่าง 8 – 12 ปี มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงถึง 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง 3 ชั่วโมง อีกทั้งยังค้นพบว่าเด็กไทยขาดทักษะในการใช้งานดิจิทัลอย่างชาญฉลาดทำให้เสี่ยงได้รับภัยอันตรายที่แฝงมากับอินเทอร์เน็ตใน 4 รูปแบบ คือ การถูกกลั่นแกล้งออนไลน์ (Cyberbullying) การเข้าถึงสื่อลามก การติดเกม และการถูกหลอกให้พบกับคนแปลกหน้า

นายสมชัยกล่าวเสริมว่า “อีกปัญหาที่ประเทศไทยกำลังได้รับผลกระทบจากการมาของเทคโนโลยีคือ ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2561 มีรายงานว่า คนไทยทิ้งขยะอันตรายทั้งสิ้น 638,000 ตัน ซึ่งขยะส่วนใหญ่เป็นซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สูงถึง 65% อีกทั้งของเสียอันตรายจากชุมชนเหล่านี้ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธีเพียง 83,000 ตันเท่านั้น”

ในฐานะผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรม Digital โดยตรง เราจึงมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเป็นแกนกลางเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาความรู้แก่เยาวชน อันจะนำมาซึ่งการเติบโตของสังคม Digital อย่างยั่งยืน รวมถึงยังมีเจตนารมณ์อย่างแรงกล้า ที่จะอุทิศตนเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสังคมให้มีความสุข จากสภาพแวดล้อมที่ดี อันจะนำมาซึ่งความแข็งแกร่ง และเติบโตอย่างยั่งยืนของประเทศชาติ ผ่าน Digital Platform  ที่จะเป็น Digital Platform ของคนไทยทุกคน ผ่านแนวคิด “ถ้าเราทุกคน คือ เครือข่าย” นั่นเอง

 

เอไอเอส คว้ารางวัล Champion of WSIS Prizes 2019 จากโครงการ "Work Wizard" the digital platform for disability ด้วยการนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีอยู่ภายในองค์กรมาสร้างอาชีพแด่ผู้พิการ เพื่อช่วยลดช่องว่างที่เกิดขึ้นในสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิตให้ยืนหยัดอยู่ในสังคมได้อย่างยั่งยืน สำหรับ WSIS Prizes 2019 นี้ จัดขึ้นโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ITU) และองค์การสหประชาชาติ (United Nation: UN) เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมพัฒนาและลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศของประชากรโลก โดยในปีนี้ มีโครงการส่งเข้าร่วมประกวดจากทั่วโลก รวมทั้งสิ้น 1,062 โครงการ และนับเป็นปีที่ 4 ติดต่อกันที่เอไอเอส สามารถคว้ารางวัลจากเวทีระดับโลกนี้มาครองได้สำเร็จ

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า “กว่า 29 ปีที่ผ่านมา เอไอเอส มุ่งมั่นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยมาโดยตลอด ที่ผ่านมา เอไอเอส ได้ดำเนินธุรกิจภายใต้บริบทของภาคเอกชนไทยที่พร้อมช่วยเหลือสังคมในทุกโอกาสเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ประเด็นหนึ่งที่เราเอาใจใส่เป็นอย่างมาก คือการเปิดโอกาสให้ผู้พิการได้เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกครอบครัวเอไอเอส เราเชื่อมั่นว่า ทุกคนต่างมีศักยภาพและมีทักษะในการพัฒนาตัวเองไม่แตกต่างกัน หากได้รับโอกาสในการเข้าทำงาน ผู้พิการจะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมพัฒนาและเติบโตไปพร้อมกัน สำหรับรางวัล Champion of WSIS Prizes 2019 ที่ได้รับมาในครั้งนี้ ถือเป็นสิ่งยืนยันถึงความจริงใจและความสำเร็จของพวกเราทุกคนที่สามารถนำเอาเทคโนโลยีมาช่วยผลักดันให้ผู้พิการสามารถปฏิบัติงานได้เทียบเท่ากับคนปกติ ทำให้พวกเขามีกำลังใจในการต่อสู้ชีวิต มีความภาคภูมิใจในตัวเอง และมีรายได้ที่มั่นคงสามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้เป็นอย่างดี”

“ปัจจุบัน เอไอเอส มีพนักงานคอลล์ เซ็นเตอร์ผู้พิการ รวมทั้งสิ้น จำนวน 113 คน แบ่งออกเป็น ผู้พิการทางการมองเห็น จำนวน 57 คน ผู้พิการทางการได้ยิน จำนวน 9 คน และผู้พิการทางร่างกาย จำนวน 47 คน ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานผู้พิการทางการมองเห็น ได้นำเทคโนโลยีมาช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน โดยติดตั้งโครงข่าย Online สำหรับฮาร์ดแวร์ พร้อมติดตั้งโปรแกรม PPA ตาทิพย์ (Text to Speech ภาษาไทย) นำเทคโนโลยีดักจับความเคลื่อนไหวที่ Key Board หรือสิ่งที่แสดงผลบนหน้าจอ ซึ่งเป็นโปรแกรมสังเคราะห์เสียงภาษาไทย ช่วยให้พนักงานสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ด้วยตนเองได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ส่วนผู้พิการทางการได้ยิน ได้จัดให้มีซอฟต์แวร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ Web Cam (iSign) สำหรับการให้บริการ Call Center ภาษามือ ผ่านทาง Web Cam ซึ่งเป็นระบบการทำงานคล้ายกับโปรแกรม Skype ช่วยให้ทำงานได้สะดวก และสื่อสารได้อย่างเข้าใจมากยิ่งขึ้น และสำหรับพนักงานผู้พิการทางร่างกาย ได้มีการจัดสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ลิฟต์โดยสาร ห้องน้ำ ทางลาด และราวจับ เพื่อให้ผู้พิการทุกคนได้รับความสะดวกและปลอดภัยตลอดช่วงเวลาทำงานอีกด้วย”

“การยกระดับคุณภาพชีวิตให้คนในสังคมไทยได้อย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ไม่ได้เป็นเพียงหน้าที่ของภาครัฐ ภาคเอกชน หรือภาคประชาชนเท่านั้น แต่เป็นหน้าที่ของทุกคนที่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้คนละเล็กละน้อย ทำในสิ่งที่ตัวเองมีความสามารถและเกิดประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม เราเชื่อว่า ประเทศชาติจะแข็งแรง สังคมจะต้องแข็งแรง และทุกคนสามารถช่วยกัน เติบโตไปพร้อมกัน” นายสมชัย กล่าวสรุป

นางอมรรัตน์ ชาญปรีชญา หัวหน้าส่วนงานประชาสัมพันธ์ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส กล่าวว่า “เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ อันถือเป็นวาระมหามงคลนี้ ในฐานะภาคเอกชนและพสกนิกรไทย ขอร่วมถวายความจงรักภักดี โดยได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเตรียมความพร้อม เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่จะมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล  รวมถึงสนับสนุนการทำงานของภาครัฐ เพื่อให้การจัดงานในครั้งนี้เป็นไปอย่างราบรื่นและสมพระเกียรติมากที่สุด

การอำนวยความสะดวกประชาชน

วันที่ 5 พฤษภาคม 2562 : ร่วมกับ กองอำนวยการร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษก อำนวยความสะดวก
แก่ประชาชนที่จะเดินทางมาร่วมถวายพระพรชัยมงคล โดย จัดรถ Shuttle Bus ให้บริการรับ/ส่งฟรี ระหว่างเวลา 08.00-24.00 น. ณ 6 จุดพักคอย ที่กองอำนวยการร่วมฯ กำหนดไว้ ประกอบด้วย สะพานพระรามแปด, สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า, บ้านพิษณุโลก, บ้านมนังคศิลา, วัดเทพศิรินทร์, สนามม้านางเลิ้ง ไปส่ง ณ จุดคัดกรอง

วันที่ 6 พฤษภาคม 2562 : เปิดให้บริการ Free WiFi สำหรับลูกค้าโทรศัพท์มือถือทุกเครือข่าย เพื่อให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่สื่อสารได้อย่างไม่ติดขัด โดยสามารถใช้งานได้ง่ายๆ เพียงกดค้นหาสัญญาณ WiFi และเลือกใช้งาน Free WiFi by AIS จากนั้น ลงทะเบียนด้วยหมายเลขประจำตัวประชาชน โดยมีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมบริเวณเสด็จออก ณ สีหบัญชร พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท และบริเวณพื้นที่โดยรอบงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครอบคลุมพื้นที่แยกกัลยาณไมตรี ถนนสนามไชย
ถึงแยกท้ายวัง ตลอดจนบริเวณสะพานช้างโรงสี ไปจนถึงบริเวณสะพานมอญ

นอกจากนี้ ยังได้ขยายเครือข่ายมือถือให้สามารถรองรับการใช้งานได้มากกว่า 5 เท่าในบริเวณรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งคาดว่าจะเป็นจุดที่ประชาชนเดินทางเข้ามาร่วมงานเป็นจำนวนมากอีกด้วย

การสนับสนุนภาครัฐ

  • สนับสนุนโทรศัพท์เคลื่อนที่ 400 เครื่องพร้อมซิมการ์ดและแพ็กเกจใช้งาน ให้กองอำนวยการร่วม
    พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ใช้งาน ณ จุดคัดกรอง ตลอดช่วงงานพระราชพิธี
  • สนับสนุนโทรศัพท์เคลื่อนที่ 100 เครื่องพร้อมซิมการ์ดและแพ็กเกจใช้งาน ให้สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีใช้ในการสื่อสาร ประสานงาน ตลอดช่วงงานพระราชพิธี
  • สนับสนุนน้ำดื่มจำนวน 100,000 ขวด เพื่อมอบให้แก่ประชาชนที่เข้าร่วมงานพระราชพิธี
    บรมราชาภิเษก

พร้อมกันนี้ ยังได้ตกแต่งซุ้มเฉลิมพระเกียรติเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ บริเวณหน้าอาคารเอไอเอสทาวเวอร์ 1 รวมถึงประดับตกแต่งธงตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษกและเครื่องราชสักการะ ณ สำนักงานเอไอเอส และศูนย์บริการทั่วประเทศ เพื่อแสดงออกถึงการรวมใจเป็นหนึ่งของชาวเอไอเอสในการแสดงพลังแห่งความจงรักภักดี

ตามที่ เอไอเอส และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการศึกษา วิจัย เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี 5G เมื่อเดือนธันวาคม 2561 ที่ผ่านมานั้น ล่าสุดนี้ รศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ร่วมกับ นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนเทคนิคทั่วประเทศ เอไอเอส ตรวจความเรียบร้อย การติดตั้งเครือข่าย 5G ที่อาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เพื่อรองรับการเปิดตัว  “5G Garage Innovation LAB  ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง เอไอเอส และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้การสนับสนุนจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เพื่อเป็นพื้นที่ให้นิสิต นักศึกษา รวมถึงนักพัฒนา ใน 5G Ecosystem ได้เข้ามาใช้ 5G Garage Innovation LAB  เป็นพื้นที่ทดลอง ทดสอบ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม 5G ในการพัฒนาประเทศ

                ภายใน 5G Garage Innovation LAB จะประกอบไปด้วยข้อมูลเทคโนโลยีเกี่ยวกับ 5G ที่จะเป็นองค์ความรู้พื้นฐานแบบครบวงจร ตั้งแต่ รายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างการทำงานของเทคโนโลยี 5G, อุปกรณ์โครงข่าย, อุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณ ตลอดจนตัวอย่างรูปแบบการใช้งาน หรือ Use case ที่มาจากความร่วมมือของผู้ผลิตอุปกรณ์ระดับโลก พร้อมทั้งการ work shop เพื่อพัฒนาความรู้ ความชำนาญในทางเทคนิค รวมไปถึงร่วม Co-Develop บริการต้นแบบบน 5G เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนทุกระดับในประเทศไทย อย่างต่อเนื่อง โดยคณาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทั้งจากเอไอเอส และ พาร์ทเนอร์ในแวดวงโทรคมนาคมทั้งในและต่างประเทศ

5G Garage Innovation LAB ตั้งอยู่ที่อาคารวิศวฯ ๑๐๐ ปี จะพร้อมเปิดให้บริการแก่นิสิต นักศึกษา และเหล่านักพัฒนาภายในไตรมาส 1 ของปี 2562 โดยถือเป็นพื้นที่ทดลอง ทดสอบ 5G แห่งแรกในเมืองไทย ที่เปิดให้ได้ลงมือพัฒนาได้จริง ภายใต้เครือข่าย 5G LIVE ที่ กสทช. ให้การสนับสนุน

 

             สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ประกาศผลประกอบการครึ่งปี 2561 ว่า  ภาพรวมในครึ่งแรกของปี 2561 เอไอเอสมีรายได้รวมเติบโตขึ้น 6.7% จากปีก่อน ขณะที่รายได้หลักจากการให้บริการเพิ่มขึ้น 4.9% จากปีก่อน เป็นผลมาจากทั้งบริการอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือและธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้าน AIS Fibre โดยปัจจุบันเอไอเอสมีผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ 4G คิดเป็นสัดส่วน 54% ของฐานลูกค้าทั้งหมด 40.1 ล้านเลขหมาย ขณะที่การใช้งานดาต้าเพิ่มขึ้นเป็น 8.9 กิกะไบต์ต่อเดือน จาก 4.7 กิกะไบต์ต่อเดือน ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สำหรับธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้าน AIS Fibre มีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็น 623,400 และมีรายได้เพิ่มขึ้น 64% จากปีก่อน และจากการควบคุมต้นทุนและรายได้ที่เติบโตขึ้น ส่งผลให้ในครึ่งแรกของปี 2561 เอไอเอสมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 16,042 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 7.6% จากปีก่อน และมีกำไรสุทธิในไตรมาส 2/2561 อยู่ที่ 8,005  ล้านบาท

            ทั้งนี้ ในครึ่งแรกของปี 2561 มีการแข่งขันทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง เอไอเอสจึงพิจารณาปรับคาดการณ์การเติบโตรายได้ของทั้งปี 2561 เป็น 5-7% โดยคงตั้งเป้าอัตรากำไร EBITDA ที่ 45-47% และยังคงแผนการลงทุนเช่นเดิม โดยคาดว่างบลงทุนสำหรับปีนี้จะอยู่ที่ประมาณ 25,000 ล้านบาท

           เอไอเอสยังคงเดินหน้าต่อยอดโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งดิจิทัลแพลตฟอร์มและเครือข่าย NB-IoT ที่ครอบคลุมแล้ว 77 จังหวัด รวมถึงเครือข่าย eMTC ที่จะยกระดับบริการ IoT ไปอีกขั้น เพื่อสนับสนุนการเติบโตของลูกค้าองค์กร และภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งเมื่อผสมผสานเข้ากับขีดความสามารถของซีเอส ล็อกอินโฟร์ ที่เชี่ยวชาญการให้บริการลูกค้าองค์กร ที่ขยายศักยภาพของเอไอเอสให้สามารถสร้างสรรค์รูปแบบโซลูชั่นที่หลากหลายได้อย่างต่อเนื่อง

          สมชัยให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันเอไอเอสร่วมกับภาครัฐและเอกชน อาทิ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ซัมซุง และโมไบค์ นำเทคโนโลยี IoT ให้บริการเชิงพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบและครบวงจร เพื่อตอบโจทย์แต่ละอุตสาหกรรมทั้งในระดับผู้บริโภคหรือในระดับองค์กร ส่งผลให้สามารถบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ระบบ Smart Tracking และ Face Recognition เข้ามาช่วยเสริมด้านความปลอดภัย ระบบ Smart Bike และ ระบบ Smart Lightning ช่วยส่งเสริมด้านการประหยัดพลังงาน นำไปสู่การยกระดับเมืองสู่ Smart City เป็นต้น อันเป็นการช่วยเสริมขีดความสามารถของประเทศอย่างยั่งยืน สอดรับนโนบาย Thailand 4.0

 

Page 6 of 7
X

Right Click

No right click