SCB WEALTH เปิด 3 สินทรัพย์ผลงานโดดเด่นในไตรมาสแรก ได้แก่ น้ำมัน ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และทองคำ พร้อมแนะกลยุทธ์ลงทุนไตรมาส2 จัดพอร์ตระยะยาว มองตราสารหนี้ Investment grade อายุ 2-3 ปี เพื่อเก็บผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยจ่ายที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าตราสารหนี้ระยะยาวไว้ และเมื่อ Fed ลดดอกเบี้ยแล้ว ยังมีโอกาสรับ Capital gain จากราคาตราสารหนี้ที่ปรับเพิ่มขึ้น ด้านหุ้นสหรัฐ อินเดีย และไทย รอจังหวะปรับตัวลดลง ค่อยเข้าลงทุน ส่วนการลงทุนระยะสั้น แนะนำตลาดหุ้นเกาหลีใต้ และเวียดนาม จากอานิสงส์ ผลประกอบการแนวโน้มดี มูลค่าหุ้นถูก เงินลงทุนต่างชาติไหลเข้า
SCB WEATLH เดินหน้าจัดสัมมนาตลอดปี ตอบรับการตื่นตัวในการอัพเดทข้อมูลการลงทุนของกลุ่มลูกค้า Wealth ของธนาคารที่ต้องการรับคำปรึกษาการลงทุน จากผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน โดยตรงแบบตัวต่อตัว โดยเริ่มที่งานแรกExclusive Investment Talk ในหัวข้อ “ส่องแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและไทย ปรับกลยุทธ์ลงทุนไตรมาส 2” โดยมี 2 ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน จาก SCB CIO ได้แก่ น.ส.เกษรี อายุตตะกะ CFP® ผู้อำนวยการกลยุทธ์การลงทุน SCB Chief Investment Office (SCB CIO) และนายธนกฤต ศรันกิตติภัทร CFP® ผู้อำนวยการที่ปรึกษาการลงทุน SCB CIO ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นวิทยากร เพื่อเปิดมุมมองวิเคราะห์เจาะลึกสถานการณ์เศรษฐกิจ การลงทุน พร้อมแนะนำกลยุทธ์ และผลิตภัณฑ์ลงทุนที่เหมาะสำหรับการจัดพอร์ตลงทุนในไตรมาส 2 ให้กับกลุ่มลูกค้า Wealth ของธนาคาร เมื่อเร็วๆ นี้ ณ SCB Investment Center เซ็นทรัลเวิลด์
น.ส.เกษรี อายุตตะกะ CFP® ผู้อำนวยการกลยุทธ์การลงทุน SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า การลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ทั่วโลก ช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา พบว่า น้ำมัน เป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนรวม (Total Return) สูงสุด โดย 3 เดือนแรกของปี 2567 ปรับเพิ่มขึ้น 16.5% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2566 สาเหตุหลักมาจากอุปทานน้ำมันตึงตัว ท่ามกลางการฟื้นตัวของอุปสงค์น้ำมัน ประกอบกับมีความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่มีการโจมตีโรงกลั่นในบริเวณที่ผลิตน้ำมัน
รองลงมาได้แก่ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ให้ผลตอบแทน ประมาณ 10.6% ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากกระแสปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ที่ทำให้บริษัทหลายแห่ง เช่น NVIDIA มีผลประกอบการเติบโตค่อนข้างโดดเด่น ประกอบกับนักลงทุนคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้ และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ออกมาดี และ ทองคำ เป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนรวม เป็นอันดับ 3 อยู่ที่ 9.8% ส่วนหนึ่งมาจากประเด็นความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ที่ทำให้นักลงทุนต้องการถือครองทองคำมากขึ้น เนื่องจากมองว่า เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ขณะที่ ธนาคารกลางต่างๆ ก็สะสมทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นด้วย
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลงทุน ได้แก่ เศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณชัดเจนขึ้นว่า จะชะลอตัวแบบจัดการได้ (Soft Landing) ทำให้นักลงทุนมองว่า เศรษฐกิจโลกไม่น่าจะเข้าสู่ภาวะชะลอตัวอย่างรุนแรง แต่ก็ทำให้ ความหวังที่ Fed จะลดดอกเบี้ยรวดเร็วและรุนแรง มีน้อยลง ด้านความน่าจะเป็นที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอีก 1 ปีข้างหน้า ในกลุ่ม
ประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว (Developed Market) มีแนวโน้มลดลงเกือบทุกประเทศ รวมถึงสหรัฐฯ ที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลายรายการปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ Fed ก็มีการปรับคาดการณ์ตัวเลขต่างๆ ดีขึ้น ส่วนโอกาสการเกิดเศรษฐกิจถดถอยใน 1 ปีข้างหน้า ของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging Market) ในเอเชีย อยู่ในระดับต่ำกว่าประเทศพัฒนาแล้ว โดยประเทศไทย แม้มีความน่าจะเป็นสูงที่สุดในกลุ่ม Emerging Market ในเอเชีย แต่ก็ยังอยู่ในระดับ 30% เท่านั้น และเมื่อพิจารณาภาพรวมเศรษฐกิจไทยแล้ว ก็ยังเติบโตล่าช้ากว่าเมื่อเทียบกับ Emerging Market ในเอเชียอื่นๆ
ส่วนของนโยบายการเงิน SCB CIO มองว่า Fed ไม่จำเป็นต้องรีบลดดอกเบี้ย โดยอาจเริ่มลดในไตรมาสที่ 3 ปี 2567 ช้ากว่าที่ตลาดมอง เพราะข้อมูล Fed Dot Plot สะท้อนว่า แม้ปีนี้ Fed จะลดดอกเบี้ย 3 ครั้ง จนไปอยู่ที่ 4.625% แต่ Fed ได้ปรับคาดการณ์การปรับลดดอกเบี้ยในปี 2568-2569 และในระยะยาว น้อยลงจากคาดการณ์ครั้งก่อน จากการที่เงินเฟ้ออาจไม่ได้ลดลงเร็ว ขณะที่ สภาพคล่องในระบบยังมีค่อนข้างมาก ส่วนตลาดแรงงานยังแข็งแกร่ง สนับสนุนให้ Fed ไม่ต้องรีบลดดอกเบี้ย
สำหรับ ธนาคารกลางอื่นๆ ได้แก่ ธนาคารกลางญี่ปุ่นนำร่องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสวนทางธนาคารกลางอื่นๆ ไปเรียบร้อยแล้ว ในไตรมาสแรก เนื่องจากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น แต่ธนาคารกลางอื่นๆ ในโลกส่วนใหญ่มีแนวโน้มปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้ทั้งสิ้น โดยมีธนาคารกลางหลักที่คาดว่าจะเริ่มลดดอกเบี้ยในไตรมาสที่ 2 นี้ ได้แก่ ธนาคารกลางยุโรป ที่คาดว่าจะลดดอกเบี้ยในเดือน มิ.ย. ประมาณ 25 bps และ ธนาคารกลางจีน ที่คาดว่าจะลดดอกเบี้ยในช่วงปลายไตรมาสที่ 2 เช่นกัน
SCB CIO มองว่า กลยุทธ์การจัดพอร์ตลงทุนไตรมาส 2 ช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวแบบจัดการได้ ส่วนดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับสูง และลดลงช้า ในพอร์ตลงทุนหลัก (Core Portfolio) ควรเน้นลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ เช่น การลงทุนในตราสารหนี้ ให้เน้นในกลุ่มพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้เอกชนที่มีคุณภาพดี มีอันดับเครดิตอยู่ในระดับที่ลงทุนได้ (Investment Grade) โดยเน้นเลือกตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีอายุคงเหลือ (Duration) เฉลี่ย 2-3 ปี เพื่อเก็บอัตราผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยจ่าย (Carry Yield) ที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าตราสารหนี้ระยะยาวไว้ ก่อนที่ Fed จะตัดสินใจลดดอกเบี้ย และเมื่อ Fed ลดดอกเบี้ยแล้ว ผู้ถือตราสารหนี้กลุ่มนี้ก็จะมีโอกาสได้รับ Capital gain จากราคาตราสารหนี้ที่ปรับเพิ่มขึ้นด้วย
ส่วนการลงทุนในตลาดหุ้น สำหรับพอร์ตระยะยาว แนะนำลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ อินเดีย และไทย โดยในส่วนของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ผ่านมาดัชนีปรับขึ้นมามากตั้งแต่ปี 2566 และจากข้อมูลของ Bloomberg ณ วันที่ 29 มี.ค. 2567 การปรับขึ้นกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มหุ้น 7 บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ ได้แก่ Apple, Microsoft, Alphabet, Amazon, META, Tesla และ Nvidia อีกทั้งสถิติหลังตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับขึ้นเกิน 10% ติดต่อกัน 2 ไตรมาสแล้ว ใน 1 เดือนถัดมาดัชนีมักจะปรับลดลง และหลังจากนั้น 3 เดือน ดัชนีจะปรับขึ้นได้ไม่มาก จึงแนะนำให้รอจังหวะที่หุ้นปรับตัวลดลง แล้วทยอยเข้าไปลงทุน เน้นคัดเลือกหุ้นกลุ่มคุณภาพ หรือ Quality Growth เป็นหลัก
ขณะที่ ตลาดหุ้นอินเดีย กำลังจะมีการเลือกตั้ง คาดว่านายนเรนทรา โมดี น่าจะยังได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง และนโยบายรัฐบาลก็คงเป็นการสานต่อนโยบายเดิม เน้นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ปฏิรูประบบแรงงาน เน้นสนับสนุนให้ภาคธุรกิจเข้าไปลงทุนโดยตรงในอินเดียมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จากสถิติในอดีต 3 เดือนก่อนการเลือกตั้ง ตลาดหุ้นอินเดียมักจะปรับขึ้น แต่ในช่วง 1 เดือนก่อนการเลือกตั้งตลาดหุ้นมักจะพักฐาน เพราะนักลงทุนรอให้การเลือกตั้งผ่านพ้นไปก่อน แล้วหลังจากนั้นจึงขานรับนโยบายรัฐบาลใหม่ แล้วจึงปรับขึ้นต่อ อีกทั้งตลาดหุ้นอินเดียปรับขึ้นมามาก ทำให้มูลค่าค่อนข้างแพงแล้ว จึงเหมาะสำหรับการลงทุนระยะยาวมากกว่าระยะสั้น ส่วนตลาดหุ้นไทย ยังปรับขึ้นล่าช้ากว่าตลาดหุ้น Emerging Market ในเอเชีย แต่มีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ การท่องเที่ยวฟื้นตัว งบประมาณภาครัฐที่เบิกจ่ายเร็วขึ้น และแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในปีนี้ จึงลงทุนในพอร์ตระยะยาวได้
ส่วนการลงทุนในพอร์ตลงทุนเพื่อโอกาสระยะสั้น (Opportunistic Portfolio) ซึ่งผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลางค่อนข้างสูง ควรลงทุนไม่เกิน 10-20% ของเงินลงทุนโดยรวม เรามองว่า ตลาดหุ้น Emerging Market ในเอเชีย มีความน่าสนใจมากกว่า ตลาดหุ้น Developed Market ที่ปรับขึ้นมาค่อนข้างมาก และเป็นการปรับขึ้นกระจุกตัวในหุ้นมาร์เก็ตแคปสูงในตลาดไม่กี่ตัว เนื่องจากตลาด Emerging Market ในเอเชีย มีการกระจุกตัวของหุ้นที่ปรับขึ้นน้อยกว่า ราคาหุ้นยังไม่ได้ปรับขึ้นมากนัก ทำให้มูลค่าหุ้นยังถูกกว่า Developed Market ยกเว้นตลาดหุ้นอินเดีย ขณะที่กำไรของบริษัทจดทะเบียนที่ตลาดคาดการณ์ 12 เดือนข้างหน้า มีแนวโน้มเติบโตค่อนข้างมาก อีกทั้งเงินลงทุนต่างชาติมีแนวโน้มไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดหุ้นที่โดดเด่น คือ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ และตลาดหุ้นชายขอบ (Frontier Market) อย่างเช่น ตลาดหุ้นเวียดนาม
“ช่วงที่ผ่านมา เงินลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดหุ้น Emerging Market เอเชียต่อเนื่อง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2563-2565 และเพิ่งจะเริ่มไหลกลับเข้ามาในปี 2566 ต่อเนื่องถึง ไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 โดยเมื่อนำเงินลงทุนจากต่างชาติไหลเข้าและไหลออกหักลบกัน พบว่า ยอดเงินลงทุนจากต่างชาติยังไหลออกสุทธิ อยู่ที่ 78,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้ง สัดส่วนเงินที่ไหลกลับมาลงทุนที่เป็นของนักลงทุนต่างชาติ นับตั้งแต่ปี 2566 จนถึงปัจจุบัน ยังอยู่เพียง 38% ของยอดเงินที่ไหลออกทั้งหมด ดังนั้น จึงมีช่องว่างที่นักลงทุนต่างชาติจะกลับเข้ามาลงทุนใน Emerging Market เอเชียต่อ โดยเฉพาะในตลาดหุ้นเกาหลีใต้ที่เงินไหลออกไปมากในช่วงที่ผ่านมา” น.ส.เกษรี กล่าว
ทั้งนี้ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากเศรษฐกิจเกาหลีใต้ที่ได้อานิสงส์การส่งออกที่ดี โดยเฉพาะสินค้าเซมิคอนดักเตอร์ในวงจรต้นน้ำ เช่น DRAM ชิปหน่วยความจำในคอมพิวเตอร์ และ NAND ชิปประมวลผลในการ์ดความจำ ซึ่งจะไปสนับสนุนหุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่มีสัดส่วน 39% ของมูลค่าตลาดรวม (มาร์เก็ตแคป) ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ให้เติบโตได้ นอกจากนี้ ยังมีประเด็นกำไรบริษัทจดทะเบียนที่เติบโตขึ้นมาก อีกทั้งตลาดหุ้นเกาหลีใต้พยายามให้บริษัทจดทะเบียนเพิ่มมูลค่าบริษัทโดยสมัครใจ ด้วยการเพิ่มการจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น และการซื้อหุ้นคืน เพื่อให้ผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) ของบริษัทสูงขึ้น ซึ่งหุ้นที่มีราคาต่อมูลค่าทางบัญชี (P/BV) ระดับต่ำ จะได้ประโยชน์จากปัจจัยนี้
ส่วนตลาดหุ้นเวียดนาม เรามองว่า เศรษฐกิจเวียดนาม ในปี 2567 ยังมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากภาคการส่งออก และเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ การยกระดับสถานะตลาดหุ้นเวียดนาม จากตลาด Frontier Market ไปสู่ตลาด Emerging Market มีแนวโน้มส่งผลให้เงินทุนไหลเข้ามากขึ้น อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ หุ้นกู้ในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่จะครบกำหนดนัดชำระหนี้ในไตรมาสที่ 2-3 ปี 2567 นี้มีค่อนข้างมาก อาจส่งผลให้นักลงทุนกังวลและขายทำกำไรกลุ่มอสังหาฯ ในระยะสั้น ดังนั้นควรเน้นคัดเลือกกองทุนที่มีนโยบายการบริหารเชิงรุก มีผู้จัดการกองทุนคัดเลือกหุ้นรายตัว หลีกเลี่ยงหุ้นที่อ่อนไหวกับประเด็นในภาคอสังหาฯ
ด้านนายธนกฤต ศรันกิตติภัทร CFP® ผู้อำนวยการที่ปรึกษาการลงทุน SCB CIO ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกล่าวว่า ในส่วนของการลงทุน นักลงทุนควรลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้ โดยการลงทุนในพอร์ตหลักนั้น ตราสารหนี้ ยังเป็นคำตอบที่น่าสนใจในช่วงก่อนดอกเบี้ยปรับลดลงในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งเราแนะนำให้เลือกพันธบัตรรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ส่วนหุ้นกู้ให้หลีกเลี่ยงการเลือกหุ้นกู้ที่ มีความเสี่ยงจะถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือจากระดับ Investment Grade ไปอยู่ในกลุ่มตราสารหนี้ความเสี่ยงสูง (High Yield) โดยควรเลือกลงทุนหุ้นกู้ Investment Grade ระดับ A ขึ้นไป ซึ่งกองทุนที่ตอบโจทย์ได้ค่อนข้างดีคือ SCBDBOND(A) ที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ธปท.รัฐวิสาหกิจในไทยเป็นส่วนใหญ่ และลงทุนในตราสารหนี้เอกชนในประเทศ
กรณีที่รับความเสี่ยงได้สูงขึ้น ต้องการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายขึ้นในพอร์ตลงทุนหลัก แต่ยังเน้นลงทุนในประเทศเป็นหลัก แนะนำเลือกกองทุนผสม KFYENJAI-A ซึ่งมีการลงทุนในหุ้น ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
(REITs) และพันธบัตรรัฐบาล กรณีที่พร้อมรับความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน มีกองทุนผสมน่าสนใจ 2 กองทุน ได้แก่ SCBCIO(A) ซึ่งมุ่งเน้นการปรับสัดส่วนเงินลงทุนได้ยืดหยุ่น เพิ่มหรือลดสินทรัพย์เสี่ยงได้ 0-100% เพื่อรับมือทุกสภาวะตลาด ที่บริหารพอร์ตกองทุนโดย SCB CIO Office และ กองทุน SCBGA(A) ที่เงินลงทุนหลัก 70% บริหารโดยสะท้อนมุมมองการลงทุนจากจูเลียส แบร์ อีก 30% คัดเลือกลงทุนโดย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ โดยทั้ง 2 กองทุน มีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน และกรณีที่ต้องการเลือกลงทุนกองทุนหุ้นไทยในพอร์ตหลัก แนะนำกองทุน SCBDV(A) ซึ่งเน้นลงทุนในหุ้นไทยที่มีการจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ และมีปัจจัยพื้นฐานที่ดี สามารถลงทุนได้ในระยะยาว ขณะที่ กองทุนที่น่าสนใจสำหรับ Opportunistic Portfolio ได้แก่ SCBKEQTG ซึ่งลงทุนในตลาดหุ้นเกาหลีใต้ และกองทุน PRINCIPLE VNEQ-A ที่ลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนาม
นอกจากนี้ หากผู้ลงทุนที่มีความมั่งคั่งสูง ประสบการณ์ลงทุนสูง รับความเสี่ยงได้สูง อาจเลือกลงทุนเพิ่มเติมในผลิตภัณฑ์หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง (Structured Product) ที่ออกแบบมาให้ตอบโจทย์การป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุนในภาวะตลาดผันผวน เพื่อลดโอกาสการสูญเสียเงินต้น เช่น Double Sharkfin ซึ่งการลงทุนส่วนใหญ่ลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้แบบมีกำหนดอายุและมีโอกาสได้รับผลตอบแทนคงที่ อีกส่วนหนึ่งไปลงทุนในสัญญาวอแรนท์ ที่อ้างอิงกับดัชนีตลาดหุ้นต่างๆ โดยกำหนดเงื่อนไขว่า หากดัชนีเคลื่อนไหวปรับขึ้นหรือลดลงในกรอบที่กำหนด มีโอกาสได้ผลตอบแทนตามที่ระบุไว้ แต่กรณีดัชนีเคลื่อนไหวหลุดจากกรอบที่กำหนด จะได้รับผลตอบแทนน้อยลง หรือไม่ได้เลย แต่โอกาสขาดทุนก็น้อยลงเช่นกัน
SCB WEALTH เปิด 3 สินทรัพย์ผลงานโดดเด่นในไตรมาสแรก ได้แก่ น้ำมัน ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และทองคำ พร้อมแนะกลยุทธ์ลงทุนไตรมาส2 จัดพอร์ตระยะยาว มองตราสารหนี้ Investment grade อายุ 2-3 ปี เพื่อเก็บผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยจ่ายที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าตราสารหนี้ระยะยาวไว้ และเมื่อ Fed ลดดอกเบี้ยแล้ว ยังมีโอกาสรับ Capital gain จากราคาตราสารหนี้ที่ปรับเพิ่มขึ้น ด้านหุ้นสหรัฐ อินเดีย และไทย รอจังหวะปรับตัวลดลง ค่อยเข้าลงทุน ส่วนการลงทุนระยะสั้น แนะนำตลาดหุ้นเกาหลีใต้ และเวียดนาม จากอานิสงส์ ผลประกอบการแนวโน้มดี มูลค่าหุ้นถูก เงินลงทุนต่างชาติไหลเข้า
SCB WEATLH เดินหน้าจัดสัมมนาตลอดปี ตอบรับการตื่นตัวในการอัพเดทข้อมูลการลงทุนของกลุ่มลูกค้า Wealth ของธนาคารที่ต้องการรับคำปรึกษาการลงทุน จากผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน โดยตรงแบบตัวต่อตัว โดยเริ่มที่งานแรกExclusive Investment Talk ในหัวข้อ “ส่องแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและไทย ปรับกลยุทธ์ลงทุนไตรมาส 2” โดยมี 2 ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน จาก SCB CIO ได้แก่ น.ส.เกษรี อายุตตะกะ CFP® ผู้อำนวยการกลยุทธ์การลงทุน SCB Chief Investment Office (SCB CIO) และนายธนกฤต ศรันกิตติภัทร CFP® ผู้อำนวยการที่ปรึกษาการลงทุน SCB CIO ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นวิทยากร เพื่อเปิดมุมมองวิเคราะห์เจาะลึกสถานการณ์เศรษฐกิจ การลงทุน พร้อมแนะนำกลยุทธ์ และผลิตภัณฑ์ลงทุนที่เหมาะสำหรับการจัดพอร์ตลงทุนในไตรมาส 2 ให้กับกลุ่มลูกค้า Wealth ของธนาคาร เมื่อเร็วๆ นี้ ณ SCB Investment Center เซ็นทรัลเวิลด์
น.ส.เกษรี อายุตตะกะ CFP® ผู้อำนวยการกลยุทธ์การลงทุน SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า การลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ทั่วโลก ช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา พบว่า น้ำมัน เป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนรวม (Total Return) สูงสุด โดย 3 เดือนแรกของปี 2567 ปรับเพิ่มขึ้น 16.5% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2566 สาเหตุหลักมาจากอุปทานน้ำมันตึงตัว ท่ามกลางการฟื้นตัวของอุปสงค์น้ำมัน ประกอบกับมีความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่มีการโจมตีโรงกลั่นในบริเวณที่ผลิตน้ำมัน
รองลงมาได้แก่ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ให้ผลตอบแทน ประมาณ 10.6% ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากกระแสปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ที่ทำให้บริษัทหลายแห่ง เช่น NVIDIA มีผลประกอบการเติบโตค่อนข้างโดดเด่น ประกอบกับนักลงทุนคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้ และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ออกมาดี และ ทองคำ เป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนรวม เป็นอันดับ 3 อยู่ที่ 9.8% ส่วนหนึ่งมาจากประเด็นความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ที่ทำให้นักลงทุนต้องการถือครองทองคำมากขึ้น เนื่องจากมองว่า เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ขณะที่ ธนาคารกลางต่างๆ ก็สะสมทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นด้วย
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลงทุน ได้แก่ เศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณชัดเจนขึ้นว่า จะชะลอตัวแบบจัดการได้ (Soft Landing) ทำให้นักลงทุนมองว่า เศรษฐกิจโลกไม่น่าจะเข้าสู่ภาวะชะลอตัวอย่างรุนแรง แต่ก็ทำให้ ความหวังที่ Fed จะลดดอกเบี้ยรวดเร็วและรุนแรง มีน้อยลง ด้านความน่าจะเป็นที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอีก 1 ปีข้างหน้า ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว (Developed Market) มีแนวโน้มลดลงเกือบทุกประเทศ รวมถึงสหรัฐฯ ที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลายรายการปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ Fed ก็มีการปรับคาดการณ์ตัวเลขต่างๆ ดีขึ้น ส่วนโอกาสการเกิดเศรษฐกิจถดถอยใน 1 ปีข้างหน้า ของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging Market) ในเอเชีย อยู่ในระดับต่ำกว่าประเทศพัฒนาแล้ว โดยประเทศไทย แม้มีความน่าจะเป็นสูงที่สุดในกลุ่ม Emerging Market ในเอเชีย แต่ก็ยังอยู่ในระดับ 30% เท่านั้น และเมื่อพิจารณาภาพรวมเศรษฐกิจไทยแล้ว ก็ยังเติบโตล่าช้ากว่าเมื่อเทียบกับ Emerging Market ในเอเชียอื่นๆ
ส่วนของนโยบายการเงิน SCB CIO มองว่า Fed ไม่จำเป็นต้องรีบลดดอกเบี้ย โดยอาจเริ่มลดในไตรมาสที่ 3 ปี 2567 ช้ากว่าที่ตลาดมอง เพราะข้อมูล Fed Dot Plot สะท้อนว่า แม้ปีนี้ Fed จะลดดอกเบี้ย 3 ครั้ง จนไปอยู่ที่ 4.625% แต่ Fed ได้ปรับคาดการณ์การปรับลดดอกเบี้ยในปี 2568-2569 และในระยะยาว น้อยลงจากคาดการณ์ครั้งก่อน จากการที่เงินเฟ้ออาจไม่ได้ลดลงเร็ว ขณะที่ สภาพคล่องในระบบยังมีค่อนข้างมาก ส่วนตลาดแรงงานยังแข็งแกร่ง สนับสนุนให้ Fed ไม่ต้องรีบลดดอกเบี้ย
สำหรับ ธนาคารกลางอื่นๆ ได้แก่ ธนาคารกลางญี่ปุ่นนำร่องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสวนทางธนาคารกลางอื่นๆ ไปเรียบร้อยแล้ว ในไตรมาสแรก เนื่องจากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น แต่ธนาคารกลางอื่นๆ ในโลกส่วนใหญ่มีแนวโน้มปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้ทั้งสิ้น โดยมีธนาคารกลางหลักที่คาดว่าจะเริ่มลดดอกเบี้ยในไตรมาสที่ 2 นี้ ได้แก่ ธนาคารกลางยุโรป ที่คาดว่าจะลดดอกเบี้ยในเดือน มิ.ย. ประมาณ 25 bps และ ธนาคารกลางจีน ที่คาดว่าจะลดดอกเบี้ยในช่วงปลายไตรมาสที่ 2 เช่นกัน
SCB CIO มองว่า กลยุทธ์การจัดพอร์ตลงทุนไตรมาส 2 ช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวแบบจัดการได้ ส่วนดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับสูง และลดลงช้า ในพอร์ตลงทุนหลัก (Core Portfolio) ควรเน้นลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ เช่น การลงทุนในตราสารหนี้ ให้เน้นในกลุ่มพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้เอกชนที่มีคุณภาพดี มีอันดับเครดิตอยู่ในระดับที่ลงทุนได้ (Investment Grade) โดยเน้นเลือกตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีอายุคงเหลือ (Duration) เฉลี่ย 2-3 ปี เพื่อเก็บอัตราผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยจ่าย (Carry Yield) ที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าตราสารหนี้ระยะยาวไว้ ก่อนที่ Fed จะตัดสินใจลดดอกเบี้ย และเมื่อ Fed ลดดอกเบี้ยแล้ว ผู้ถือตราสารหนี้กลุ่มนี้ก็จะมีโอกาสได้รับ Capital gain จากราคาตราสารหนี้ที่ปรับเพิ่มขึ้นด้วย
ส่วนการลงทุนในตลาดหุ้น สำหรับพอร์ตระยะยาว แนะนำลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ อินเดีย และไทย โดยในส่วนของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ผ่านมาดัชนีปรับขึ้นมามากตั้งแต่ปี 2566 และจากข้อมูลของ Bloomberg ณ วันที่ 29 มี.ค. 2567 การปรับขึ้นกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มหุ้น 7 บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ ได้แก่ Apple, Microsoft, Alphabet, Amazon, META, Tesla และ Nvidia อีกทั้งสถิติหลังตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับขึ้นเกิน 10% ติดต่อกัน 2 ไตรมาสแล้ว ใน 1 เดือนถัดมาดัชนีมักจะปรับลดลง และหลังจากนั้น 3 เดือน ดัชนีจะปรับขึ้นได้ไม่มาก จึงแนะนำให้รอจังหวะที่หุ้นปรับตัวลดลง แล้วทยอยเข้าไปลงทุน เน้นคัดเลือกหุ้นกลุ่มคุณภาพ หรือ Quality Growth เป็นหลัก
ขณะที่ ตลาดหุ้นอินเดีย กำลังจะมีการเลือกตั้ง คาดว่านายนเรนทรา โมดี น่าจะยังได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง และนโยบายรัฐบาลก็คงเป็นการสานต่อนโยบายเดิม เน้นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ปฏิรูประบบแรงงาน เน้นสนับสนุนให้ภาคธุรกิจเข้าไปลงทุนโดยตรงในอินเดียมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จากสถิติในอดีต 3 เดือนก่อนการเลือกตั้ง ตลาดหุ้นอินเดียมักจะปรับขึ้น แต่ในช่วง 1 เดือนก่อนการเลือกตั้งตลาดหุ้นมักจะพักฐาน เพราะนักลงทุนรอให้การเลือกตั้งผ่านพ้นไปก่อน แล้วหลังจากนั้นจึงขานรับนโยบายรัฐบาลใหม่ แล้วจึงปรับขึ้นต่อ อีกทั้งตลาดหุ้นอินเดียปรับขึ้นมามาก ทำให้มูลค่าค่อนข้างแพงแล้ว จึงเหมาะสำหรับการลงทุนระยะยาวมากกว่าระยะสั้น ส่วนตลาดหุ้นไทย ยังปรับขึ้นล่าช้ากว่าตลาดหุ้น Emerging Market ในเอเชีย แต่มีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ การท่องเที่ยวฟื้นตัว งบประมาณภาครัฐที่เบิกจ่ายเร็วขึ้น และแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในปีนี้ จึงลงทุนในพอร์ตระยะยาวได้
ส่วนการลงทุนในพอร์ตลงทุนเพื่อโอกาสระยะสั้น (Opportunistic Portfolio) ซึ่งผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลางค่อนข้างสูง ควรลงทุนไม่เกิน 10-20% ของเงินลงทุนโดยรวม เรามองว่า ตลาดหุ้น Emerging Market ในเอเชีย มีความน่าสนใจมากกว่า ตลาดหุ้น Developed Market ที่ปรับขึ้นมาค่อนข้างมาก และเป็นการปรับขึ้นกระจุกตัวในหุ้นมาร์เก็ตแคปสูงในตลาดไม่กี่ตัว เนื่องจากตลาด Emerging Market ในเอเชีย มีการกระจุกตัวของหุ้นที่ปรับขึ้นน้อยกว่า ราคาหุ้นยังไม่ได้ปรับขึ้นมากนัก ทำให้มูลค่าหุ้นยังถูกกว่า Developed Market ยกเว้นตลาดหุ้นอินเดีย ขณะที่กำไรของบริษัทจดทะเบียนที่ตลาดคาดการณ์ 12 เดือนข้างหน้า มีแนวโน้มเติบโตค่อนข้างมาก อีกทั้งเงินลงทุนต่างชาติมีแนวโน้มไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดหุ้นที่โดดเด่น คือ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ และตลาดหุ้นชายขอบ (Frontier Market) อย่างเช่น ตลาดหุ้นเวียดนาม
“ช่วงที่ผ่านมา เงินลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดหุ้น Emerging Market เอเชียต่อเนื่อง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2563-2565 และเพิ่งจะเริ่มไหลกลับเข้ามาในปี 2566 ต่อเนื่องถึง ไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 โดยเมื่อนำเงินลงทุนจากต่างชาติไหลเข้าและไหลออกหักลบกัน พบว่า ยอดเงินลงทุนจากต่างชาติยังไหลออกสุทธิ อยู่ที่ 78,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้ง สัดส่วนเงินที่ไหลกลับมาลงทุนที่เป็นของนักลงทุนต่างชาติ นับตั้งแต่ปี 2566 จนถึงปัจจุบัน ยังอยู่เพียง 38% ของยอดเงินที่ไหลออกทั้งหมด ดังนั้น จึงมีช่องว่างที่นักลงทุนต่างชาติจะกลับเข้ามาลงทุนใน Emerging Market เอเชียต่อ โดยเฉพาะในตลาดหุ้นเกาหลีใต้ที่เงินไหลออกไปมากในช่วงที่ผ่านมา” น.ส.เกษรี กล่าว
ทั้งนี้ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากเศรษฐกิจเกาหลีใต้ที่ได้อานิสงส์การส่งออกที่ดี โดยเฉพาะสินค้าเซมิคอนดักเตอร์ในวงจรต้นน้ำ เช่น DRAM ชิปหน่วยความจำในคอมพิวเตอร์ และ NAND ชิปประมวลผลในการ์ดความจำ ซึ่งจะไปสนับสนุนหุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่มีสัดส่วน 39% ของมูลค่าตลาดรวม (มาร์เก็ตแคป) ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ให้เติบโตได้ นอกจากนี้ ยังมีประเด็นกำไรบริษัทจดทะเบียนที่เติบโตขึ้นมาก อีกทั้งตลาดหุ้นเกาหลีใต้พยายามให้บริษัทจดทะเบียนเพิ่มมูลค่าบริษัทโดยสมัครใจ ด้วยการเพิ่มการจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น และการซื้อหุ้นคืน เพื่อให้ผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) ของบริษัทสูงขึ้น ซึ่งหุ้นที่มีราคาต่อมูลค่าทางบัญชี (P/BV) ระดับต่ำ จะได้ประโยชน์จากปัจจัยนี้
ส่วนตลาดหุ้นเวียดนาม เรามองว่า เศรษฐกิจเวียดนาม ในปี 2567 ยังมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากภาคการส่งออก และเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ การยกระดับสถานะตลาดหุ้นเวียดนาม จากตลาด Frontier Market ไปสู่ตลาด Emerging Market มีแนวโน้มส่งผลให้เงินทุนไหลเข้ามากขึ้น อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ หุ้นกู้ในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่จะครบกำหนดนัดชำระหนี้ในไตรมาสที่ 2-3 ปี 2567 นี้มีค่อนข้างมาก อาจส่งผลให้นักลงทุนกังวลและขายทำกำไรกลุ่มอสังหาฯ ในระยะสั้น ดังนั้นควรเน้นคัดเลือกกองทุนที่มีนโยบายการบริหารเชิงรุก มีผู้จัดการกองทุนคัดเลือกหุ้นรายตัว หลีกเลี่ยงหุ้นที่อ่อนไหวกับประเด็นในภาคอสังหาฯ
ด้านนายธนกฤต ศรันกิตติภัทร CFP® ผู้อำนวยการที่ปรึกษาการลงทุน SCB CIO ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกล่าวว่า ในส่วนของการลงทุน นักลงทุนควรลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้ โดยการลงทุนในพอร์ตหลักนั้น ตราสารหนี้ ยังเป็นคำตอบที่น่าสนใจในช่วงก่อนดอกเบี้ยปรับลดลงในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งเราแนะนำให้เลือกพันธบัตรรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ส่วนหุ้นกู้ให้หลีกเลี่ยงการเลือกหุ้นกู้ที่ มีความเสี่ยงจะถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือจากระดับ Investment Grade ไปอยู่ในกลุ่มตราสารหนี้ความเสี่ยงสูง (High Yield) โดยควรเลือกลงทุนหุ้นกู้ Investment Grade ระดับ A ขึ้นไป ซึ่งกองทุนที่ตอบโจทย์ได้ค่อนข้างดีคือ SCBDBOND(A) ที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ธปท.รัฐวิสาหกิจในไทยเป็นส่วนใหญ่ และลงทุนในตราสารหนี้เอกชนในประเทศ
กรณีที่รับความเสี่ยงได้สูงขึ้น ต้องการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายขึ้นในพอร์ตลงทุนหลัก แต่ยังเน้นลงทุนในประเทศเป็นหลัก แนะนำเลือกกองทุนผสม KFYENJAI-A ซึ่งมีการลงทุนในหุ้น ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) และพันธบัตรรัฐบาล กรณีที่พร้อมรับความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน มีกองทุนผสมน่าสนใจ 2 กองทุน ได้แก่ SCBCIO(A) ซึ่งมุ่งเน้นการปรับสัดส่วนเงินลงทุนได้ยืดหยุ่น เพิ่มหรือลดสินทรัพย์เสี่ยงได้ 0-100% เพื่อรับมือทุกสภาวะตลาด ที่บริหารพอร์ตกองทุนโดย SCB CIO Office และ กองทุน SCBGA(A) ที่เงินลงทุนหลัก 70% บริหารโดยสะท้อนมุมมองการลงทุนจากจูเลียส แบร์ อีก 30% คัดเลือกลงทุนโดย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ โดยทั้ง 2 กองทุน มีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน และกรณีที่ต้องการเลือกลงทุนกองทุนหุ้นไทยในพอร์ตหลัก แนะนำกองทุน SCBDV(A) ซึ่งเน้นลงทุนในหุ้นไทยที่มีการจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ และมีปัจจัยพื้นฐานที่ดี สามารถลงทุนได้ในระยะยาว ขณะที่ กองทุนที่น่าสนใจสำหรับ Opportunistic Portfolio ได้แก่ SCBKEQTG ซึ่งลงทุนในตลาดหุ้นเกาหลีใต้ และกองทุน PRINCIPLE VNEQ-A ที่ลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนาม
นอกจากนี้ หากผู้ลงทุนที่มีความมั่งคั่งสูง ประสบการณ์ลงทุนสูง รับความเสี่ยงได้สูง อาจเลือกลงทุนเพิ่มเติมในผลิตภัณฑ์หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง (Structured Product) ที่ออกแบบมาให้ตอบโจทย์การป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุนในภาวะตลาดผันผวน เพื่อลดโอกาสการสูญเสียเงินต้น เช่น Double Sharkfin ซึ่งการลงทุนส่วนใหญ่ลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้แบบมีกำหนดอายุและมีโอกาสได้รับผลตอบแทนคงที่ อีกส่วนหนึ่งไปลงทุนในสัญญาวอแรนท์ ที่อ้างอิงกับดัชนีตลาดหุ้นต่างๆ โดยกำหนดเงื่อนไขว่า หากดัชนีเคลื่อนไหวปรับขึ้นหรือลดลงในกรอบที่กำหนด มีโอกาสได้ผลตอบแทนตามที่ระบุไว้ แต่กรณีดัชนีเคลื่อนไหวหลุดจากกรอบที่กำหนด จะได้รับผลตอบแทนน้อยลง หรือไม่ได้เลย แต่โอกาสขาดทุนก็น้อยลงเช่นกัน
ธนาคารไทยพาณิชย์ จับมือ วีซ่า ผู้นำด้านการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก และผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการมหกรรมกีฬาโอลิมปิก จัดแคมเปญยิ่งใหญ่แห่งปี “เดินหน้าช้อป ลุ้นบินฟรียกทริป” มอบประสบการณ์สุดเอ็กซ์คลูซีฟสำหรับลูกค้าผู้ถือบัตรวีซ่า PLANET SCB เพียงสมัครบัตร PLANET SCB หรือมียอดการใช้จ่ายครบทุก 5,000 บาท (สกุลเงินใดก็ได้) รับสิทธิ์ลุ้นบินลัดฟ้าชมมหกรรมกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติ โอลิมปิก เกมส์ ปารีส 2024 พร้อมตั๋วเครื่องบินไปกลับกรุงเทพฯ – ปารีส และที่พัก 5 วัน 4 คืน จำนวน 4 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 4.4 ล้านบาท โดยวีซ่า ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2567 – 15 พฤษภาคม 2567
นายธนวัฒน์ กิตติสุวรรณ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มงาน Digital Juristic & Payment ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า “มหกรรมกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติที่คนทั่วโลกเฝ้ารอคอย โอลิมปิก เกมส์ ปารีส 2024 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และเพื่อเป็นการตอบแทนคำขอบคุณของลูกค้าที่ให้การสนับสนุนบัตรวีซ่า PLANET SCB เป็นอย่างดีเสมอมา ธนาคารจึงได้ร่วมกับ วีซ่า มอบประสบการณ์สุดเอ็กซ์คลูซีฟสำหรับลูกค้าผู้ถือบัตรวีซ่า PLANET SCB ให้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันกีฬาที่สำคัญที่สุดของโลก พร้อมเชียร์นักกีฬาไทยแบบติดขอบสนาม ผ่านแคมเปญ “เดินหน้าช้อป ลุ้นบินฟรียกทริป” ลุ้นรับสิทธิ์ชมโอลิมปิก เกมส์ ปารีส 2024 โดยวีซ่า พร้อมตั๋วเครื่องบินไปกลับกรุงเทพฯ – ปารีส และที่พัก 5 วัน 4 คืน จำนวน 4 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 4.4 ล้านบาท โดยวีซ่า
นายปุณณมาศ วิจิตรกุลวงศา ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ในฐานะพันธมิตรด้านบริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก และผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการในการจัดมหกรรมกีฬาโอลิมปิก เกมส์ ปารีส 2024 เรายินดีที่ได้ร่วมกับธนาคารไทยพาณิชย์ ในการต่อยอดและใช้ประโยชน์จากการเป็นพาร์ทเนอร์ระดับโลกของกีฬาโอลิมปิกในการจัดแคมเปญมอบประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิตสำหรับผู้ถือบัตรวีซ่า PLANET SCB วีซ่ามุ่งมั่นมากกว่าการนำเสนอโซลูชันการชำระเงินที่ทั้งสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยสำหรับผู้ถือบัตรเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการสนับสนุนให้ลูกค้าชาวไทยได้ใกล้ชิดกับมหกรรมกีฬาโอลิมปิกยิ่งขึ้น สนับสนุนนักกีฬาความหวังของชาติ และสร้างแรงบรรดาลใจอย่างยั่งยืนให้กับแฟนกีฬาชาวไทยในรุ่นต่อๆ ไป”
รายละเอียดแคมเปญ “เดินหน้าช้อป ลุ้นบินฟรียกทริป”
บัตรวีซ่า PLANET SCB โลกเสรีแห่งการแลกเงิน บัตรเดียวใช้จ่ายคุ้มทั่วโลก แลกเงินเรทดีเก็บไว้ก่อนได้ เรทดีเท่าร้านแลกเงินชั้นนำ แลกได้มากถึง 13 สกุลเงินยอดนิยมในบัตรเดียว และรองรับสกุลเงินบาท ใช้จ่ายได้ทุกสกุลเงินทั่วโลกไม่ชาร์จ 2.5% ค่าธรรมเนียมแปลงสกุลเงินต่างประเทศ สะดวก รวดเร็ว แลกเงินง่ายได้ทุกที่ 24 ชั่วโมงผ่านแอปพลิเคชัน SCB EASY
สมัครบัตรวีซ่า PLANET SCB ได้ที่แอปพลิเคชัน SCB EASY หรือธนาคารไทยพาณิชย์ทั่วประเทศ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร SCB Call Center 02-777-7777 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.scb.co.th/th/personal-banking/promotions/prepaid-card/planet-olympic.html
SCB EIC ประเมินเศรษฐกิจ CLMV มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นในปี 2567 ตามการฟื้นตัวของการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยว ซึ่งจะสนับสนุนให้อุปสงค์ในประเทศปรับดีขึ้นผ่านการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน ในระยะปานกลางเศรษฐกิจ CLMV มีแนวโน้มได้อานิสงส์จากการย้ายฐานการผลิตของธุรกิจข้ามชาติออกไปลงทุนในประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคตามยุทธศาสตร์ “China +1” เพื่อลดความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่สูงขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในระยะต่อไป ในปีนี้ SCB EIC ประเมินว่า เศรษฐกิจกัมพูชาจะขยายตัวต่อเนื่อง 6.0% (จาก 5.6% ในปี 2566) สปป.ลาว 4.7% (จาก 4.5%) เมียนมา 3.0% (จาก 2.5%) และเวียดนาม 6.3% (จาก 5.1%)
อัตราการขยายตัวของแต่ละประเทศใน CLMV ยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยช่วงก่อน COVID-19 จากปัจจัยกดดันต่าง ๆ อาทิ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งเศรษฐกิจภูมิภาค CLMV มีความสัมพันธ์สูงทั้งด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ รวมถึงการท่องเที่ยวและภาคอสังหาริมทรัพย์ ขณะเดียวกัน บางประเทศ เช่น กัมพูชาและเวียดนามมีอัตราส่วนหนี้เสีย (Non-performing loans ratio) สูงขึ้นหลังมาตรการช่วยเหลือในช่วง COVID-19 สิ้นสุดลง ประกอบกับภาวะการเงินในประเทศที่ตึงตัวขึ้น อาจกระทบการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินและการเข้าถึงสภาพคล่องของธุรกิจได้ นอกจากนี้ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์เป็นปัจจัยที่ต้องจับตาต่อเนื่อง ในระยะสั้นการค้าโลกอาจได้รับผลกระทบจากปัญหาการขนส่งบริเวณทะเลแดงและคลองปานามาที่แห้งแล้งและอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนการขนส่งสินค้าส่งออกของภูมิภาค CLMV ได้ ในระยะยาวเศรษฐกิจ CLMV จะต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับโลกที่มีแนวโน้มจะกีดกันการค้าและตั้งกำแพงภาษีมากขึ้น
ความเร็วในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ CLMV แตกต่างกัน ขึ้นกับปัจจัยเฉพาะประเทศ โดยเฉพาะในสปป.ลาวที่เผชิญความเสี่ยงจากระดับหนี้สาธารณะซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปสกุลเงินต่างประเทศที่อยู่ในระดับสูงเทียบกับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับต่ำ ท่ามกลางภาวะการเงินโลกตึงตัว ทำให้เงินกีบอ่อนค่ารวดเร็ว ซ้ำเติมภาระการชำระหนี้ต่างประเทศ และทำให้เงินเฟ้อในประเทศพุ่งสูงขึ้นมากและปรับตัวลดลงได้ช้าในปีนี้ ปัจจัยเหล่านี้กดดันศักยภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะปานกลาง โดยสปป.ลาวกำลังดำเนินการรัดเข็มขัดทางการคลัง ควบคู่กับการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้และการหาแหล่งระดมทุนใหม่เพื่อรักษาเสถียรภาพการคลังไว้ ขณะที่เมียนมาเป็นอีกประเทศที่กำลังเผชิญปัจจัยกดดันเชิงโครงสร้าง ซึ่งได้รับผลกระทบจากความไม่สงบทางการเมืองตั้งแต่ปี 2564 และทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงปลายปี 2566 ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและอุปสงค์ในประเทศซบเซา ขณะที่มาตรการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตกมีส่วนทำให้อุปสงค์ต่างประเทศอ่อนแอลงมาก ประกอบกับปัญหาอื่น ๆ เช่น การขาดแคลนเงินดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เงินจัตอ่อนค่าและเงินเฟ้อเร่งตัว ตลอดจนปัญหาระบบขนส่งและโครงข่ายไฟฟ้าหยุดชะงัก การแก้ไขปัญหาเหล่านี้ยังดูเป็นไปได้ยากในระยะสั้น เนื่องจากจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยทางการเมืองที่มีเสถียรภาพ
ค่าเงินของกลุ่มประเทศ CLMV จะเผชิญแรงกดดันด้านอ่อนค่าลดลง ตามธนาคารกลางประเทศเศรษฐกิจหลักที่มีแนวโน้มเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายตั้งแต่กลางปีนี้ ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลกลับเข้าประเทศกำลังพัฒนา รวมถึง CLMV มากขึ้น และจะกระตุ้นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศตามต้นทุนการระดมทุนที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเฉพาะประเทศยังคงเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อแนวโน้มค่าเงิน ส่งผลให้ค่าเงินบางประเทศอาจยังอ่อนค่าต่อ
การค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับ CLMV มีแนวโน้มดีขึ้นในปีนี้ หลังจากค่อนข้างซบเซาในปี 2566 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการค้าโลกที่ปรับดีขึ้น โดยเฉพาะในภาคการผลิต และเศรษฐกิจประเทศในภูมิภาคที่ฟื้นตัว นอกจากนี้ ภาวะการเงินโลกและไทยที่คาดว่าจะผ่อนคลายลงบ้างในปีนี้จะเป็นปัจจัยช่วยสนับสนุนให้บริษัทไทยลงทุนใน CLMV ได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามเสถียรภาพเศรษฐกิจของ CLMV บางประเทศที่ยังไม่เอื้อต่อการลงทุนมากนัก ทั้งนี้ในระยะยาว SCB EIC ยังมีมุมมองบวกต่อเศรษฐกิจ CLMV และคาดว่าจะเป็นหนึ่งในภูมิภาคของโลกที่เติบโตสูง และยังได้รับความสนใจจากนักลงทุนไทยและต่างชาติ จากปัจจัยประชากรที่มีอายุเฉลี่ยน้อย การมีข้อตกลงสนธิสัญญาการค้าเสรีต่าง ๆ และแหล่งที่ตั้งที่มีความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ ติดตลาดใหญ่ เช่น จีนและอินเดีย
SCB WEALTH เผยตั้งแต่ต้นปี 2566 เงินลงทุนทั่วโลกไหลเข้าตลาดเงิน (money market) สกุลดอลลาร์สหรัฐสูงที่สุด ตามด้วย ตราสารหนี้ภาคเอกชน พันธบัตรรัฐบาล และหุ้น โดย money market สกุลดอลลาร์สหรัฐ 5 ปีที่ผ่านมา เงินไหลเข้าประมาณ 3.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หากเฟดลดดอกเบี้ย เม็ดเงินใน money market สกุลดอลลาร์สหรัฐจะเคลื่อนย้ายไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า แนะนักลงทุนหาจังหวะลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ ที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในอีก 1-3 ปี เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีและอาจได้รับผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาอีกด้วย ส่วนตลาดหุ้นแนะหาจังหวะช่วงปรับฐานทยอยสะสมหุ้นญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ด้านตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรปสามารถลงทุนต่อได้แต่ผลตอบแทนอาจจะไม่สูงเหมือนปีที่ผ่านมา
นายศรชัย สุเนต์ตา, CFA รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Office and Product กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ปรับลดลงช้ากว่าที่นักลงทุนคาดการณ์ ขณะที่ อัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ อยู่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อติดต่อกัน 6 เดือน คาดว่า เงินเฟ้อสหรัฐฯ จะค่อยๆ ลดลงและเมื่อธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มั่นใจว่าสามารถควบคุมเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบเป้าหมายที่ 2%ได้ หลังจากนั้น Fed จะกลับมาให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ และเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรก ซึ่งตลาดคาดว่าจะเกิดขึ้นในเดือน มิ.ย. 2567 และรวมทั้งปีนี้ คาดว่าจะมีการลดดอกเบี้ยประมาณ 3-4 ครั้ง โดยในช่วงที่ดอกเบี้ยเริ่มลดลง จะทำให้ผลตอบแทนของการถือครองเงินสดในสกุลดอลลาร์สหรัฐปรับลดลง และผลตอบแทนไม่ได้ดีกว่าสินทรัพย์อื่น
“ในปี 2566 ที่ผ่านมา การถือเงินสดในสกุลดอลลาร์สหรัฐให้ผลตอบแทนประมาณ 5.1% ดีกว่าการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ แต่อาจจะไม่ได้ให้ผลตอบแทนดีกว่าสินทรัพย์อื่นๆ ขณะที่ จากสถิติย้อนหลัง 30 ปี พบว่า เงินสดในสกุลดอลลาร์สหรัฐให้ผลตอบแทนได้ดีกว่าสินทรัพย์อื่นในปีที่เกิดวิกฤต แต่ในจังหวะที่เงินเฟ้อทรงตัว อัตราดอกเบี้ยมีทิศทางเป็นขาลง เศรษฐกิจยังขยายตัวได้ สินทรัพย์เสี่ยงจะให้ผลตอบแทนเป็นบวก ส่วนเงินสดในสกุลดอลลาร์สหรัฐจะไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าสินทรัพย์อื่น ดังนั้น เราจึงควรหาแนวทางไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นก่อนจะตกรถ” นายศรชัย กล่าว
ทั้งนี้ นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจนถึงช่วงต้นเดือน มี.ค. 2567 เงินลงทุนทั่วโลกยังคงไหลเข้าไปในตลาดเงิน (money market) สกุลดอลลาร์สหรัฐสูงที่สุด ตามด้วย ตราสารหนี้ภาคเอกชน พันธบัตรรัฐบาล และหุ้น โดยในส่วนของ money market สกุลดอลลาร์สหรัฐ หากนับรวมตลอด 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีเงินไหลเข้ามารวม 3.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ แล้ว หมายความว่า เมื่อถึงช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยเริ่มปรับลดลง เม็ดเงินใน money market สกุลดอลลาร์สหรัฐ ส่วนนี้มีแนวโน้มที่จะเคลื่อนย้ายไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ
สำหรับผู้ลงทุนที่นำเงินส่วนใหญ่พักไว้ใน money market สกุลดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากมองว่าการลงทุนในตราสารการเงิน ซึ่งมีระยะเวลาสั้นๆ ยังให้ผลตอบแทนได้ดี ทำให้ไม่เคลื่อนย้ายเงินลงทุนไปยังสินทรัพย์ใดนั้น ในอนาคตผลตอบแทนระยะสั้นมีแนวโน้มปรับลดลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่สินทรัพย์อื่นเริ่มปรับตัวดีขึ้นไปก่อนแล้ว ดังนั้น เพื่อโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดี ผู้ลงทุนควรมองหาช่องทางไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ ตราสารหนี้อายุประมาณ 1-3 ปี รวมถึงการเพิ่มโอกาสลงทุนในตลาดหุ้นที่มีความน่าสนใจในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้
ทั้งนี้ การลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ มองว่า ตราสารหนี้ที่มีระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอนในอีก 1-3 ปีข้างหน้า ยังให้ผลตอบแทนสูง เป็นกลุ่มที่น่าสนใจ และอาจได้รับผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาในช่วงที่ดอกเบี้ยปรับลดลงในช่วง ไตรมาส 2-3 นี้ด้วย ส่วนการลงทุนในหุ้น พบว่า ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว เช่น ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และตลาดหุ้นยุโรป ล้วนมีผลการดำเนินงานที่ดี ด้วยอานิสงส์จากการปรับตัวขึ้นของหุ้นขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักในดัชนีค่อนข้างมาก เช่น ดัชนี S&P500 ของสหรัฐฯ นับตั้งแต่ต้นปี 2567 ( YTD) ปรับขึ้นมาประมาณ 7-8% ผลตอบแทนที่มาจากหุ้นขนาดใหญ่กลุ่ม 7 นางฟ้า ประมาณ 6% ส่วนที่เหลือไม่เกิน 2% เป็นผลตอบแทนของหุ้นอื่นๆ ในตลาด สะท้อนถึงการกระจุกตัวของผลตอบแทนที่มาจากหุ้นขนาดใหญ่ค่อนข้างชัดเจน ส่วนตลาดหุ้นยุโรป เมื่อดูจากดัชนี STOXX 600 พบว่า นับแต่ต้นปี 2567 (YTD) ปรับเพิ่มขึ้น 4.5% โดยเป็นผลการดำเนินงานจากหุ้นขนาดใหญ่ 7 ตัว เกือบ 4% มีเพียงส่วนน้อยที่เหลือที่มาจากหุ้นขนาดเล็ก
นายศรชัย กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมาตลาดคาดหวังกับผลตอบแทนของหุ้นขนาดใหญ่ในตลาดหุ้นพัฒนาแล้วค่อนข้างมาก และให้ผลตอบแทนเป็นไปตามที่เป้าหมาย ซึ่งหุ้นเหล่านี้อาจมีการปรับฐาน จากการขายทำกำไร ขณะที่ปัจจัยพื้นฐานยังคงสนับสนุนให้เติบโตได้อีก และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยยังเป็นผลบวกต่อหุ้นกลุ่มนี้ แม้นักลงทุนจะรับรู้ปัจจัยการลดดอกเบี้ยไปในราคาหุ้นแล้วก็ตาม ดังนั้น แนวโน้มในอนาคตอาจจะปรับขึ้นไม่มากอย่างที่ผ่านมา ทำให้มองว่า นักลงทุนสามารถถือลงทุนในตลาดหุ้นพัฒนาแล้วต่อไปได้ แต่ผลตอบแทนที่ได้รับอาจไม่สูงเช่นเดิม
สำหรับตลาดหุ้นในเอเชีย มองว่า ตลาดหุ้นญี่ปุ่น และตลาดหุ้นเกาหลีใต้ น่าสนใจ โดยตลาดหุ้นญี่ปุ่น นับแต่ต้นปี 2567 (YTD) ให้ผลตอบแทน 15-16% แต่ผลตอบแทนกระจุกตัวในหุ้นขนาดใหญ่กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย และเทคโนโลยีเป็นหลัก ในส่วนของดัชนีตลาดหุ้นญี่ปุ่น แม้จะปรับตัวขึ้นมามาก แต่เมื่อเทียบกับการปรับขึ้นในรอบก่อนที่เคยทำสถิติสูงสุด พบว่า ราคาต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) มีความแตกต่างกัน โดยในครั้งนี้มีระดับ P/E ที่ต่ำกว่า ขณะที่ ตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีมาตรการในการปฏิรูปธรรมาภิบาล ส่งเสริมให้บริษัทนำเงินสดที่เก็บไว้จำนวนมากในงบดุล ออกไปซื้อหุ้นคืน ซึ่งจะช่วยให้ราคาหุ้นมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น หนุนให้ EPS สูงขึ้น และสามารถจ่ายผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้นได้สูงขึ้น ก็จะช่วยให้ผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) ของตลาดหุ้นญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นได้ เมื่อเทียบกับปัจจุบันที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรป ที่มี ROE มากกว่า 20% ส่วนภาพรวมเศรษฐกิจญี่ปุ่น เงินเฟ้อเริ่มปรับเพิ่มขึ้น การจ้างงานดีขึ้น โดยเฉพาะในภาคบริการ ส่วนค่าแรงปรับตัวขึ้นตามเงินเฟ้อ ซึ่งช่วยให้การบริโภคในญี่ปุ่นดีขึ้น และจะส่งผลให้เกิดการลงทุนที่มาจากนักลงทุนญี่ปุ่นมากขึ้นตาม ดังนั้น เราจึงมองว่า ตลาดหุ้นญี่ปุ่นน่าสนใจในระยะกลางถึงยาว เพียงแต่ในระยะสั้น ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับขึ้นมามาก อาจจะมีการปรับฐานบ้าง นักลงทุนอาจรอจังหวะที่ตลาดปรับฐานเพื่อกลับเข้าไปลงทุนอีกครั้ง
ส่วนตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ปัจจุบันยังมีอัตราส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชี (P/BV) ที่ต่ำมากเกือบทุกกลุ่มธุรกิจและมีเงินสดมากในงบดุล ซึ่งตลาดหุ้นเกาหลีใต้กำลังพยายามผลักดันการเพิ่มมูลค่าบริษัทคล้ายกับตลาดหุ้นญี่ปุ่น ผ่านการซื้อหุ้นคืน และการจ่ายเงินปันผลให้นักลงทุน นอกจากนี้ ROE ของตลาดหุ้นเกาหลีใต้มักจะเคลื่อนไหวสอดคล้องกับวัฏจักรของการส่งออกสินค้าของเกาหลีใต้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม อิเล็กทรอนิกส์ เซมิคอนดักเตอร์ ดังนั้น เมื่อเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวดีขึ้น การส่งออกเกาหลีใต้ก็น่าจะฟื้นตัว ทำให้ ROE ของตลาดหุ้นเกาหลีใต้ดีขึ้น ส่วนกำไรต่อหุ้นก็
น่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นตามการส่งออก นอกจากนี้ ราคาต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) ก็ยังถูกอยู่ โดย P/E ในระยะ 12 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ 10.6 เท่า หรือ -0.3 S.D. ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ทำให้ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เป็นตลาดที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนใน Opportunistic Portfolio ซึ่งเป็นพอร์ตลงทุนส่วนเสริม สำหรับเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทน ในไตรมาสที่ 2 นี้