ยกระดับนวัตกรรม ดูแลลูกค้าให้รวดเร็วและความปลอดภัยทั่วองค์กร ด้วยโซลูชันดิจิทัลและการปฏิบัติงานผ่านออโตเมชั่นบนระบบคลาวด์ พร้อมหนุนเป้าหมาย Net Zero 2050

ผ่าน 3 แนวคิด สไตล์ โซลูชัน และบริการจากผู้เชี่ยวชาญ มัดรวมมาให้เพื่อคนรักบ้านโดยเฉพาะ

 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC ธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน ผนึกกำลังจัดงาน SCGC-Mahidol Science Symposium: “Healthcare, Well-being & Sustainability” เดินหน้าความร่วมมือสร้างสรรค์งานวิจัยเชิงพาณิชย์ ผลักดันนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี และความยั่งยืนให้กับผู้คนทั้งในประเทศไทยและระดับสากล

ตอบรับเมกะเทรนด์ ภายในงานได้มีการลงนามบันทึกความร่วมมือ Research and Innovation for the Future Materials โดยรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และดร.สุรชา อุดมศักดิ์ รองผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรม SCGC ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข พญาไท คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีทีมผู้บริหารจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์ วราภรณ์ รองคณบดี และ ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดี พร้อมทั้งทีมผู้บริหารจาก SCGC นายนิวัฒน์ อธิวัฒนานนท์ ผู้อำนวยการเทคโนโลยี SCGC และ ดร.สุเมธ เจริญชัยเดช หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนา SCGC เข้าร่วมงาน

 

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ SCGC ได้ร่วมมือทางวิชาการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 พร้อมทั้งได้จัดตั้ง “ศูนย์วิจัยนวัตกรรม SCG-MUSC Innovation Research Center” ขึ้นในปี 2562 ณ อาคารเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อพัฒนาพอลิเมอร์ชนิดพิเศษ โดยใช้องค์ความรู้ในศาสตร์เคมีเชิงลึกของมหาวิทยาลัยมหิดล ประสานกับเทคโนโลยีชั้นนำระดับสเกลอัปเชิงอุตสาหกรรมของ SCGC เพื่อต่อยอดในการสร้างวัสดุและผลิตภัณฑ์แห่งอนาคต

สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการขยายขอบเขตความร่วมมือให้ครอบคลุมถึงนวัตกรรมด้านสุขภาพเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี (Healthcare & Well-being) และความยั่งยืน (Sustainability) โดยยังคำนึงถึงหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์ขาดแคลนทรัพยากร ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างความยั่งยืนในอุตสาหกรรมเคมี รวมถึงส่งเสริม Open Innovation ผ่านความร่วมมือของสถาบันการศึกษาและภาคเอกชน (Public-Private Partnership) ที่ประสานความเข้มแข็งขององค์กรพันธมิตรเข้าด้วยกัน เพื่อร่วมวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้สอดคล้องกับเมกะเทรนด์โลก นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างผู้เชี่ยวชาญและนวัตกรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์ เพื่อคิดค้นนวัตกรรมที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตผู้คนได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไปในอนาคต

 

ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ รองผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรม SCGC กล่าวว่า “ SCGC มุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมเคมีภัณฑ์เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดียิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริง โดยนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนและเมกะเทรนด์มาเป็นแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการ โดย SCGC ยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนนวัตกรรมผ่านการสร้างเครือข่ายด้าน R&D กับองค์กรและสถาบันชั้นนำทั้งในประเทศและระดับโลก เพื่อวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้ามูลค่าเพิ่มสูง หรือ HVA (High Value Added Products & Services) อย่างต่อเนื่อง สำหรับการลงนามความร่วมมือด้าน “Research and Innovation for the Future Materials” ระหว่าง SCGC กับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในครั้งนี้ เป็นการยกระดับและขยายกรอบการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม ครอบคลุมทั้งหมด 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) การวิจัยพัฒนาพอลิเมอร์ชนิดพิเศษที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การพัฒนาสารประกอบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของตัวเร่งปฏิกิริยาให้ครอบคลุมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ Green Polymer โดยเน้นโซลูชัน 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ Reduce, Recyclable, Recycle, Renewable 2) การวิจัยพัฒนาสินค้านวัตกรรมเพื่อสุขภาพ มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ ให้มีความสะดวกสบายขึ้น และป้องกันหรือลดความเสี่ยงของการเกิดโรคและโรคอุบัติใหม่ และ 3) การวิจัยพัฒนาเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบครบวงจร โดยเริ่มตั้งแต่การลดของเสียและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี รวมถึงการเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยตรงให้เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี หรือการนำสารตั้งต้นที่มีคาร์บอนฟุตพริ้นต์ต่ำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ”

 

รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี กล่าวว่า “การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ รวมถึงการลงนามต่ออายุข้อตกลงความร่วมมือ จะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้นระหว่างบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด มหาชน (SCGC) และ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมร่วมกัน นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมงานวิจัยที่ตอบโจทย์เศรษฐกิจ และส่งเสริมงานวิจัยเชิงพาณิชย์ให้กับประเทศไทย ซึ่งเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศในระดับสากล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เรามีอาจารย์และนักวิจัย ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยที่หลากหลาก โดยเฉพาะในสาขาวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ตรงกับความต้องการของ

ภาคเอกชน กิจกรรมครั้งนี้จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นในการเพิ่มขยายความร่วมมือไปในด้านอื่น ๆ อาทิ ด้านนวัตกรรมด้านสุขภาพเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี (Healthcare & Well-being) และความยั่งยืน (Sustainability) ทั้งยังเป็นโอกาสอันดีที่ในการแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมของบุคลากรและนักศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ตอบโจทย์เศรษฐกิจหมุนเวียนและเมกะเทรนด์โลก และแลกเปลี่ยนมุมมองทางด้านงานวิจัยและนวัตกรรมต่าง ๆ กับทีมนักวิจัยของ SCGC เพื่อหารือต่อยอดความร่วมมือนำไปสู่การทำวิจัยร่วม รวมถึงการให้ทุนนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาในอนาคตอันใกล้นี้ นอกจากนั้น ยังเป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรและนักศึกษาได้พัฒนาแนวคิดต่อยอดสู่การผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ด้วย”

นอกจากนี้ ภายในงาน SCGC-Mahidol Science Symposium: “Healthcare, Well-being & Sustainability” ยังมีการ หารือต่อยอดความร่วมมือทางการวิจัยและนวัตกรรมระหว่างทีมนักวิจัยของ SCGC และคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อาทิ เคมี, เทคโนโลยีชีวภาพ, ฟิสิกส์, ชีวเคมี, วัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ, ยางและพอลิเมอร์, เภสัชวิทยา, สรีรวิทยา, กายวิภาคศาสตร์ รวมทั้งได้มีการนำเสนองานวิจัยต่างๆ เช่น การตรวจหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ, การนำส่งยา, เอนไซม์, วัสดุและเซนเซอร์ ฯลฯ พร้อมเดินหน้าหารือความร่วมมือ และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกับทีมนักวิจัยจาก SCGC อย่างเข้มข้น รวมถึงการให้ทุนนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาอีกด้วย

เอสซีจี หนุนไทยเป็นเจ้าภาพจัดงาน Specialised Expo 2028 ที่ภูเก็ต

เอสซีจีผสานความร่วมมือกระทรวงต่างประเทศ เร่งส่งมอบเตียงสนามกระดาษและสุขากระดาษ

X

Right Click

No right click