ในงานแถลงข่าวเปิดตัวผลิตภัณฑ์และโซลูชันของหัวเว่ย ซึ่งจัดขึ้นภายในงานมหกรรม Mobile World Congress Barcelona ประจำปี พ.ศ. 2567 (MWC Barcelona 2024) คุณบรูซ สวิน ประธานฝ่ายบริการด้านเทคนิคระดับโลกของหัวเว่ย ประกาศเปิดตัวโซลูชันอัจฉริยะทางดิจิทัลสำหรับอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์และการบริการด้านไอซีที โดยโซลูชันเหล่านี้ได้มีการนำเทคโนโลยี AI ใหม่ล่าสุดมาประยุกต์ใช้ ประกอบด้วยโซลูชัน Intelligent Connectivity Integration, Intelligent IT Integration, Intelligent Operations, SmartCare, Intelligent Digital Service และ Huawei Learning โดยโซลูชันนวัตกรรมใหม่และรูปแบบการใช้งานใหม่ ๆ จะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตใหม่ และผลักดันให้โลกก้าวเข้าสู่ยุคอัจฉริยะทางดิจิทัลได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น      

คุณบรูซ สวิน กล่าวว่า “ในยุคโลกอัจฉริยะ การเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นอัจฉริยะทางดิจิทัลจะขับเคลื่อนด้วยการผสมผสานเทคโนโลยี AI เข้ากับกระบวนการคิดและประมวลผลในเชิงโทรคมนาคม และข้อมูลจำนวนมหาศาลซึ่งรวบรวมมาจากผู้ให้บริการเครือข่าย ซึ่งฝ่ายซอฟท์แวร์และการบริการของหัวเว่ยได้นำเทคโนโลยี AI และวิธีการในรูปแบบใหม่มาใช้เพื่อยกระดับโซลูชัน ปรับปรุงเครือข่ายให้มีความเสถียรและประหยัดพลังงานได้ดียิ่งขึ้น พร้อมทั้งสามารถมอบประสบการณ์ที่น่าพึงพอใจให้กับผู้ใช้งาน ตลอดจนช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมการบริการและสร้างการเติบโตในรูปแบบใหม่ให้แก่ธุรกิจ”     

โซลูชัน Intelligent Connectivity Integration: เร่งเครื่องยกระดับสู่เครือข่ายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  

โซลูชัน Intelligent Connectivity Integration มีเป้าหมายเพื่อช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถยกระดับการพัฒนาเครือข่ายให้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ตามเป้าหมาย ด้วยการเข้ามาช่วยแก้ปัญหาความท้าทายในสองสถานการณ์สำคัญ นั่นคือ ในสถานการณ์ที่ไม่มีไฟฟ้าหรือการเชื่อมต่อไม่มีคุณภาพ ระบบอัลกอริธึมจะวางแผนการจ่ายพลังงานซึ่งใช้ AI เข้ามาช่วยสั่งการให้กักเก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์ เครื่องปั่นไฟดีเซล และแบตเตอรี่ ซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียด้านทราฟฟิกข้อมูลที่ได้รับผลกระทบจากไฟฟ้าดับ ลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง และสร้างรายได้ในรูปแบบใหม่ สำหรับในสถานการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาแบบครบวงจรและมีการวางแผนด้านการยกระดับทั้งสำนักงานส่วนกลาง เครือข่าย บริการ และระบบโครงสร้างพื้นฐาน การบริการโดยเชื่อมต่อและถ่ายโอนระหว่างเครือข่ายสามารถทำงานได้อย่างราบรื่นไม่มีติดขัด จึงสามารถช่วยลดการใช้พลังงานและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ การยกระดับเครือข่ายให้มีความทันสมัยมากขึ้นยังจะช่วยให้องค์กรมีพื้นที่ในการพัฒนาบริการรูปแบบใหม่ ๆ และสร้างการเติบโตใหม่ได้อีกด้วย      

โซลูชัน Intelligent IT Integration: สร้างศูนย์ประมวลผลข้อมูลแบบหลากหลาย

โซลูชัน Intelligent IT Integration มีเป้าหมายเพื่อสร้างศูนย์ประมวลผลข้อมูลที่หลากหลาย เพื่อรองรับความต้องการด้านการประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ในยุคอัจฉริยะ โดยการวางแผนและรวมศูนย์ระบบประมวลผล พื้นที่จัดเก็บ และเครือข่ายเข้าด้วยกันจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบคลัสเตอร์คอมพิวเตอร์ได้อย่างมหาศาล ในขณะเดียวกัน โซลูชันระบบระบายความร้อนด้วยของเหลว (liquid cooling) แบบ L1 & L2 full-stack และอัลกอริธึมระบบปรับอุณหภูมิด้วย AI จะช่วยให้สามารถประหยัดพลังงานลงได้อีกมาก

โซลูชัน Intelligent Operations: ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านจากแนวคิดเครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ไปสู่การปฏิบัติการโดยมีบริการเป็นศูนย์กลาง

ระบบจำลองฝาแฝดดิจิทัลของเครือข่ายและเทคโนโลยี AI ได้เข้ามาช่วยขับเคลื่อนให้แก่การเปลี่ยนผ่านในกระบวนการซ่อมบำรุง (O&M) จากรูปแบบเดิมที่เน้นเครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (network-centric) สู่การมุ่งเน้นที่บริการเป็นหลัก (service-centric) โดยในสถานการณ์การซ่อมบำรุงต่าง ๆ ของธุรกิจบรอดแบนด์มือถือ โซลูชันและอัลกอริธึม AI จะสามารถประเมินผลกระทบจากข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นที่ไซต์โครงข่าย ซึ่งสามารถส่งผลต่อผู้ใช้งานและการบริการได้โดยอัตโนมัติ รวมทั้งยังสามารถระบุตำแหน่งไซต์โครงข่ายที่มีความสำคัญสูง และให้บริการเพื่อชดเชยและลดผลกระทบต่อการบริการได้ ส่วนทีมวิศวกรก็จะได้รับมอบหมายให้เข้าไปแก้ไขปัญหาที่ไซต์โครงข่ายที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ก่อน ในขณะเดียวกัน สำหรับการใช้งานรูปแบบใหม่ กิจกรรมการซ่อมบำรุงต่าง ๆ ก็จะได้รับการวางแผนโดยอ้างอิงจากผลกระทบต่อบริการ นอกจากนี้ การใช้งานในรูปแบบใหม่นี้ยังขยายผลต่อยอดไปสู่สถานการณ์การซ่อมบำรุงของธุรกิจไฟเบอร์ออฟติก (FTTx) ซึ่งระบบจำลองฝาแฝดดิจิทัลของเครือข่ายและระบบการกู้คืนที่มีความแม่นยำสูง จะสามารถระบุต้นเหตุของข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ในเวลาไม่กี่นาที และสามารถมอบหมายการดำเนินงานแก้ไขได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอน ซึ่งจะมีระบบผู้ช่วยอัจฉริยะที่คอบสนับสนุนวิศวกรซ่อมบำรุง เพื่อส่งเสริมความเชี่ยวชาญและปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น       

โซลูชัน SmartCare: สร้างเครือข่าย NPS ที่ดีที่สุดเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาบริการด้านดิจิทัล 

หัวเว่ยได้สร้างระบบจำลองฝาแฝดดิจิทัลแบบ Spatio-Temporal ที่มีเอกลักษณ์ ด้วยการเชื่อมต่อ วิเคราะห์ และจำลองข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์ เครือข่าย ประสบการณ์ และความพึงพอใจ โดยการนำเทคโนโลยี AI ใหม่ล่าสุดมาประยุกต์ใช้นี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการเครือข่ายสามารถพัฒนาเครือข่าย NPS ที่ดีที่สุด พร้อม ๆ ไปกับการส่งมอบประสบการณ์ผู้ใช้งานและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครือข่าย โซลูชัน Smart Data Cube ช่วยเสริมประสิทธิภาพในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่หลั่งไหลเข้ามา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาบริการใหม่ ๆ เช่น การอัพเกรดผู้ใช้จาก 4G สู่ 5G การดึงดูดผู้ใช้โซลูชัน Mobile Money รายใหม่ ๆ และการให้บริการโซลูชัน FWA เป็นต้น   

โซลูชัน Intelligent Digital Service: เดินหน้าสู่ยุคอัจฉริยะ ด้วยบริการใหม่ ประสบการณ์ใหม่ และการเติบโตใหม่

ระบบ Convergent Billing System (CBS) ใหม่ ซึ่งดำเนินการโดย Generative AI (GenAI) จะใช้ข้อมูลจากคลังบรรจุข้อมูลเกี่ยวกับภาษีศุลกากรทั่วโลกกว่าหลายล้านหมวด เพื่อลดระยะเวลาของกระบวนการเปิดตัวภาษีพิกัดใหม่ ช่วยแปลงไอเดียให้เป็นเงินได้อย่างรวดเร็ว

โซลูชัน AICC ยังมีระบบตอบรับอัจฉริยะที่สามารถเข้าใจความหมายของคำศัพท์ได้อย่างถูกต้องและสามารถให้ความรู้และคำแนะนำได้อย่างแม่นยำ ด้วยอัตราความสำเร็จในการปิดจบการให้บริการด้วยตัวเองที่เพิ่มขึ้นจาก 60% เพิ่มเป็น 85% ระบบผู้ช่วยอัจฉริยะนี้ยังสามารถรับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง และสามารถแนะนำร่างบทสนทนาได้อย่างเหมาะสม จนสามารถปรับปรุงประสบการณ์การสื่อสารปฏิสัมพันธ์ และลดระยะเวลาในการดำเนินงานโดยเฉลี่ยลงได้ถึง 30% ระบบใหม่นี้ยังสนับสนุนกิจกรรมการขายแบบ ToB จึงสามารถสร้างการเติบโตใหม่ ๆ ให้กับธุรกิจได้อีกด้วย

ขณะเดียวกัน ผลิตภัณฑ์ด้านการเงินในระดับจุลภาค (micro-finance) ภายใต้โซลูชัน SmartCare จะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการดึงดูดลูกค้ามูลค่าสูงรายใหม่ ๆ ให้เข้ามาใช้บริการ รวมไปถึงสามารถกระตุ้นการทำธุรกรรม และเพิ่มรายได้ด้านการเงินระดับจุลภาพให้กับภาคธุรกิจ ส่วนแพลตฟอร์มแบบเปิดที่ใช้โค้ดเพียงเล็กน้อย (low-code capability) สามารถร่นระยะเวลาของการเปิดตัวแอปพลิเคชันจากหลายเดือนให้เหลือเพียงไม่กี่วัน ทำให้สามารถเข้าถึงพันธมิตรในอีโคซิสเต็มได้รวดเร็วยิ่งขึ้น       

Huawei Learning: มุ่งพัฒนาบุคลากรแห่งโลกอัจฉริยะทางดิจิทัล เดินหน้าสู่ยุคของ AI

หัวเว่ยให้บริการด้านการพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบ ซึ่งรวมไปถึงการวางแผนบุคลากร การฝึกอบรม การประเมินผล และการปฏิบัติงาน บริการดังกล่าวมุ่งเน้นที่การพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับบุคลากรใหม่ ๆ ในยุคแห่งโลกอัจฉริยะ รวมไปถึงการกำหนดแนวทางและวิธีการฝึกอบรม โดยหัวเว่ยจะยังคงเดินหน้าบ่มเพาะบุคลากรรุ่นใหม่ให้มีทักษะที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคอัจฉริยะทางดิจิทัลต่อไป  

คุณบรูซ ซูน ได้กล่าวทิ้งท้ายว่าเป้าหมายหลักของการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิทัลอัจฉริยะคือการคลี่คลายปัญหาที่มีมาอย่างยาวนาน และสร้างคุณค่าทางธุรกิจที่สัมผัสได้อย่างแท้จริงให้กับลูกค้า ด้วยการใช้เทคโนโลยีใหม่และการใช้งานในรูปแบบใหม่ ซึ่งกลุ่มธุรกิจด้านซอฟท์แวร์และบริการด้านไอซีทีของหัวเว่ยจะยังคงเดินหน้าสร้างคุณค่าใหม่ ๆ ผ่านทางนวัตกรรมและแนวปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานเทคโนโลยีนั้น ๆ ต่อไป  

ทั้งนี้ ภายในงาน หัวเว่ยได้จัดแสดงผลิตภัณฑ์และโซลูชันล้ำสมัยเทคโนโลยีล่าสุด ณ บูธ 1H50 ในอาคาร Fira Gran Via Hall 1 ในงานมหกรรม MWC Barcelona จัดขึ้นในเมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน จากการประกาศเปิดตัวเทคโนโลยี 5.5G เพื่อการใช้งานเชิงพาณิชย์ในปี พ.ศ. 2567 นี้ หัวเว่ยได้ผนึกกำลังร่วมกับผู้ประกอบการเครือข่ายและพันธมิตรทั่วโลกเพื่อค้นหาและขับเคลื่อนนวัตกรรมใหม่ ๆ ในด้านเทคโนโลยีเครือข่าย คลาวด์ และระบบอัจฉริยะ โดยหัวเว่ยพร้อมเดินหน้าร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อผลักดันการเติบโตของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยี 5G พร้อมขับเคลื่อนให้เกิดระบบนิเวศทางอุตสาหกรรมที่เฟื่องฟู นำไปสู่ยุคใหม่ของการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิทัลที่ชาญฉลาด ผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://carrier.huawei.com/en/events/mwc2024.

การประชุมสุดยอดหัวเว่ย คลาวด์ ซัมมิท (Huawei Cloud Summit) ตอกย้ำความเป็นเลิศของหัวเว่ย คลาวด์ ด้านความเป็นที่สุดแห่งโครงสร้างพื้นฐานสำหรับ AI โดยงานประชุมจัดขึ้นภายใต้แนวคิด ‘รุดหน้าสู่ความอัจฉริยะด้วยทุกสิ่งในรูปแบบบริการ’ (Accelerate Intelligence with Everything as a Service) ซึ่งมีผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญกว่า 500 รายจากหลากหลายอุตสาหกรรมเข้าร่วม เช่น ธุรกิจบริการเครือข่าย ธุรกิจการเงินและอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ หัวเว่ย คลาวด์เผย 10 นวัตกรรมสุดล้ำเพื่อ AI และความเชี่ยวชาญหลากหลายด้านของผานกู่ โมเดล (Pangu Model) โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรองรับ AI และประยุกต์ให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมแต่ละสาขาเพื่อก้าวสู่ยุคอัจฉริยะได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

นายจิม ลู่ ประธานภูมิภาคยุโรปและรองประธานอาวุโสของหัวเว่ย กล่าวย้ำระหว่างสุนทรพจน์ว่า “ระบบอัจฉริยะจะเปิดประตูสู่โอกาสใหม่ให้ยุโรปในทศวรรษหน้า เรามุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีไอซีทีเพื่อช่วยให้ลูกค้าและพันธมิตรทั่วโลกปลดล็อกศักยภาพสู่ความอัจฉริยะอย่างเต็มรูปแบบ เมื่อผนึกกำลังกับพันธมิตรในยุโรป เราจะพร้อมสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและยุคอัจฉริยะในภาคอุตสาหกรรมได้ดียิ่งขึ้นไปอีก”

แจ็คเกอลีน สือ ประธานฝ่ายการตลาดและบริการขายระดับโลกของหัวเว่ย คลาวด์ กล่าวว่า “หัวเว่ย คลาวด์ เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการคลาวด์ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ทีมงานของเราทุกคนทุ่มเทเพื่อก้าวข้ามขีดจำกัดและนำเสนอเทคโนโลยีล้ำสมัยให้กับลูกค้าทั่วโลก ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเราได้เปิดตัว Could Region ในไอร์แลนด์, ตุรกี, อินโดนีเซีย, ซาอุดีอาระเบีย เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงระบบคลาวด์ประสิทธิภาพสูงได้ง่ายขึ้น หัวเว่ยมีการรับรองด้านความปลอดภัยมากกว่า 120 ฉบับทั่วโลก มอบความมั่นใจว่าธุรกิจและข้อมูลของคุณจะปลอดภัย นอกเหนือจากการนำเสนอเทคโนโลยีสุดล้ำ เรามุ่งผลักดันพาร์ทเนอร์ให้เติบโตไปพร้อมกัน และบรรลุเป้าหมายดังกล่าวด้วยโครงการ GoCloud และ GrowCloud ในขณะที่ เทคโนโลยี AI ปัจจุบันกำลังพลิกโฉมทุกสิ่ง และเรามุ่งยืนหยัดในระดับแนวหน้าเพื่อวางรากฐานระบบคลาวด์ที่แข็งแกร่งสำหรับผู้ใช้งานทุกคน ใน ทุกอุตสาหกรรมเพื่อพุ่งทะยานสู่ความอัจฉริยะ”

โมเดลพื้นฐานในปัจจุบันสร้างนิยามใหม่ของการผลิต, ปฏิสัมพันธ์, กระบวนทัศน์การบริการ และโมเดลธุรกิจสำหรับการใช้งานแบบดั้งเดิม AI ถูกใช้เป็นเครื่องมือผลักดันการเติบโตของการประมวลผลบนคลาวด์ ถึงแม้ว่า AI จะมีศักยภาพมากมาย แต่การนำไปใช้ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทางธุรกิจต้องมีนวัตกรรมเชิงระบบที่เหมาะสม บรูโน จาง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของหัวเว่ย คลาวด์ กล่าวว่า “หัวเว่ย คลาวด์จะช่วยคุณด้วยสองกลยุทธ์หลัก กล่าวคือ AI for Cloud ที่ใช้ AI และโมเดลพื้นฐานในการยกระดับประสบการณ์ใช้งาน โดยพลิกโฉมการพัฒนาซอฟต์แวร์ การผลิตคอนเทนต์ดิจิทัลและสิ่งอื่น ๆ อีกมากมาย และอีกข้อคือ Cloud for AI ที่ทำให้การใช้ AI ราบรื่นและมีประสิทธิภาพ โดยใช้นวัตกรรมเชิงสถาปัตยกรรม พื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบ AI Native และการผสานข้อมูลกับ AI ทำให้การฝึกและใช้งาน AI มีประสิทธิภาพมากกว่าที่เคย"

วิลเลียม ฟาง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ของหัวเว่ย คลาวด์ เน้นย้ำถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นในด้านต่าง ๆ ของโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ เนื่องจาก AI และโมเดลพื้นฐานพัฒนารุดหน้าอย่างรวดเร็ว ลูกค้าต้องการการทำงานร่วมกันระหว่างสถาปัตยกรรมการประมวลผลที่ต่างกัน การประมวลผลแบบคลาวด์ เนทีฟ (Cloud Native) ประสิทธิภาพสูง พื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ การปฏิบัติตามข้อกำหนดความปลอดภัย การกำกับดูแลที่ลดความสูญเปล่า และความยืดหยุ่นด้านการใช้งาน เมื่อโมเดลพื้นฐานขยายไปสู่การใช้งานที่กว้างขึ้น การประมวลผลบนคลาวด์จะช่วยบ่มเพาะนวัตกรรมและการพัฒนาโมเดล AI ดังนั้น การผสานการทำงานระหว่าง AI กับคลาวด์จะปลดปล่อยศักยภาพความอัจฉริยะให้รุดหน้า โดยหัวเว่ย คลาวด์มุ่งมั่นผลักดันการบูรณาการนี้ให้บรรลุเป้าหมาย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการสูงสุดของลูกค้า

ในการประชุมสุดยอดหัวเว่ย คลาวด์ ซัมมิท หัวเว่ย คลาวด์เปิดตัว 10 นวัตกรรมล้ำสมัยที่มุ่งรองรับ AI ตอกย้ำความเป็นที่สุดแห่งโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์สำหรับ AI อย่างแท้จริง

คูเวิร์ส (KooVerse): หัวเว่ย คลาวด์มี Availability Zone (AZ) 85 แห่งใน 30 ภูมิภาค ในกว่า 170 ประเทศ โครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ระดับโลกนี้ครอบคลุมการประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล ระบบเครือข่าย และระบบรักษาความปลอดภัยขั้นสูง ที่ลดค่าความหน่วงลงเหลือเพียง 50 มิลลิวินาที

สถาปัตยกรรมชิงเทียนแบบกระจาย (Distributed QingTian architecture): โมเดลพื้นฐานต้องการทรัพยากรการประมวลผลเพิ่ม 10 เท่าทุก 18 เดือน ซึ่งเหนือกว่ากฎของมัวร์ (Moore's Law) มาก เพื่อรับมือความท้าทายนี้ สถาปัตยกรรมชิงเทียนแบบกระจายได้พัฒนาจากสถาปัตยกรรมหลักและรองแบบดั้งเดิม และเนื่องจากสร้างบนบัสความเร็วสูง (Unified Bus) ชิงเทียนจึงก้าวข้ามขีดจำกัดด้านการประมวลผล พื้นที่จัดเก็บ และเครือข่ายในกลุ่มแกนหลักการประมวลผล AI ขั้นสูงที่ประมวลผลด้วยเครือข่ายแบบ peer-to-peer ด้วยฐานข้อมูลต่างชนิดกัน

การประมวลผล AI (AI compute): บริการ AI บนคลาวด์ขนาดมหึมาและเสถียรภาพสูง รองรับการฝึกโมเดลพื้นฐานได้ในระดับล้านล้านพารามิเตอร์ ทำการฝึกอบรม AI บนคลัสเตอร์ที่มีการ์ดนับพันใบต่อเนื่องได้เป็นเวลา 30 วัน โดยประสิทธิภาพการทำงานสูงถึง 90% มีช่วงเวลาหยุดให้บริการไม่เกิน 10 นาที ใช้การประมวลผลผ่านผานกู่ โมเดล (Pangu Model) มากกว่า 100 ชุด พร้อมด้วยโมเดลโอเพนซอร์สขนาดใหญ่ที่ดัดแปลงแล้ว 100 รายการ

พื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบ AI-Native (AI-Native storage): โมเดลการฝึกอบรมต้องการข้อมูลมหาศาล หัวเว่ย คลาวด์รับมือกับความต้องการนี้ด้วย 3 กลยุทธ์ ได้แก่ บริการหน่วยความจำ EMS ที่จัดเก็บพารามิเตอร์หลายเพตะไบต์ด้วยแบนด์วิดท์ขนาดใหญ่ถึง 220 TB พร้อมค่าความหน่วงต่ำระดับไมโครวินาที; บริการ Cache SFS Turbo พร้อมประสิทธิภาพการประมวลผลเหนือระดับและทำงานพร้อมกันด้วยความเร็วหลายสิบล้าน IOPS ทำให้บันทึกข้อมูล 1 พันล้านรายการในเวลาเพียง 5 ชั่วโมง จากเวลาปกติ 100 ชั่วโมง และแหล่งเก็บข้อมูลบนคลาวด์ Object Storage Service (OBS) ที่ลดต้นทุนการจัดเก็บข้อมูลการฝึกอบรมและการอนุมานลงถึง 30%

การรักษาความปลอดภัย E2E (E2E security): วงจรการรักษาความปลอดภัยที่ครอบคลุมสภาพแวดล้อมการทำงานของโมเดลทั้งข้อมูลการฝึก, โมเดล, เนื้อหาที่สร้างขึ้นและแอปพลิเคชัน เพิ่มความมั่นใจได้ว่าจะเป็นโมเดลและแอปพลิเคชันที่มีความเสถียร ปลอดภัย และสอดคล้องกับข้อกำหนด

เกาส์ดีบี (GaussDB): คลังข้อมูลยุคใหม่พร้อมใช้งาน ทั้งยังเปี่ยมประสิทธิภาพ, ความปลอดภัย, ความยืดหยุ่นและความอัจฉริยะ นอกจากนี้ยังปรับใช้งานและโยกย้ายได้ง่ายดาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาปัตยกรรมแบบกระจายที่รองรับความต้องการระดับองค์กร ยกระดับความพร้อมใช้งานด้วยจุดกู้คืนข้อมูล (RPO) คลัสเตอร์คู่แบบ zero intra-city, แยกการขัดข้องระหว่างซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์อย่างสมบูรณ์โดยไม่หยุดการทำงาน เกาส์ดีบี (GaussDB) ได้รับการรับรองความปลอดภัยระดับ CC EAL4+ ซึ่งเป็นระดับความปลอดภัยสูงสุดในอุตสาหกรรม สำหรับระบบอัตโนมัติ เกาส์ดีบี (GaussDB) ยกระดับการโยกย้ายฐานข้อมูล การใช้งาน และการโยกย้ายในรูปแบบฐานข้อมูล AI เนทีฟชุดแรกของโลก

ดร. นิโคส เอ็นตาร์มอส ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฐานข้อมูล สถาบันซอฟต์แวร์ส่วนกลางของหัวเว่ย กล่าวย้ำว่า GaussDB เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ด้านฐานข้อมูลของหัวเว่ยเป็นเวลายาวนานกว่า 20 ปี นอกจากนี้ศักยภาพการบริการระดับองค์กรอันเป็นที่ยอมรับมานานกว่า 30 ปี GaussDB จึงเป็นตัวเลือกที่เหนือกว่าสำหรับผู้ใช้คลาวด์ทั่วโลก เพื่อตอบสนองความต้องการด้านธุรกรรมและการประมวลผลข้อมูลขั้นสูง

การผสานระหว่าง Data และ AI (Data-AI convergence): ปลดปล่อยศักยภาพเต็มรูปแบบของโมเดลพื้นฐาน จาก “Data+AI” เป็น “Data4AI และ AI4Data” หัวเว่ยคลาวด์ เลคฟอร์เมชัน (Huawei Cloud LakeFormation) รวมข้อมูลมหาศาลจาก Data Lake หรือคลังสินค้าหลายแห่ง และสามารถใช้ชุดข้อมูลเพียงชุดเดียวกับกลไกการวิเคราะห์ข้อมูลและกลไก AI อื่น ๆ โดยปราศจากการโยกย้ายข้อมูล ก่อให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่าง DataArts, ModelArts และ CodeArts จากนั้นจัดระเบียบและกำหนดข้อมูลและขั้นตอนการทำงานของ AI ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้จะขับเคลื่อนการฝึกอบรมแบบออนไลน์และการอนุมานด้วยข้อมูลแบบเรียลไทม์ กลยุทธ์ AI4Data ทำให้การกำกับดูแลข้อมูลมีความอัจฉริยะยิ่งขึ้น ตั้งแต่การบูรณาการข้อมูล การพัฒนา ไปจนถึงการจัดการคุณภาพและสินทรัพย์

โครงสร้างพื้นฐานสำหรับสื่อ (Media infrastructure): หัวเว่ย คลาวด์ สร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับสื่อที่เปี่ยมประสิทธิภาพเพื่อรองรับยุคทองของการสร้างคอนเทนต์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AIGC) และอินเทอร์เน็ต 3 มิติ (3D Internet) ที่มอบประสบการณ์สดใหม่และพลิกโฉมวงการโดยสิ้นเชิง เจมี หลู ประธานฝ่ายบริการสื่อหัวเว่ย คลาวด์ เผยว่า หัวเว่ย คลาวด์ ปรับโฉมและบูรณาการบริการด้านสื่อด้วยโซลูชันล้ำสมัยที่ออกแบบเฉพาะอุตสาหกรรม ในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพ Huawei Cloud MetaStudio รวมบริการผลิตคอนเทนต์ที่มาพร้อม Workspace และมนุษย์เสมือนจริงจาก AIGC ช่วยเพิ่มคุณภาพและย่นเวลาการผลิตเนื้อหา ในด้านประสบการณ์โซลูชัน Huawei Cloud Live, Low Latency Live และ SparkRTC มอบประสบการณ์ไลฟ์สดที่น่าจดจำ และในด้านการพลิกโฉมวงการสื่อ หัวเว่ย คลาวด์มอบบริการ AIGC และ 3D space ที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานแบบเรียลไทม์ ทุกบริการดังกล่าวช่วยต่อยอดธุรกิจและยกระดับประสบการณ์การใช้งานไปอีกขั้น

การจัดการพื้นที่ใช้งาน (Landing Zone): ลูกค้าองค์กรใช้งานและจัดการทรัพยากรได้ดีขึ้นบนหัวเว่ย คลาวด์ ด้วยการบริหารแบบควบรวมทั้งบัญชีผู้ใช้ ข้อมูลส่วนตัว สิทธิ์การใช้งาน เครือข่าย การกำกับดูแล และการจัดการต้นทุน โดยระบบคลาวด์แบบ multi-tenancy ทำให้การทำงานร่วมกันทั้งด้านบุคลากร การเงิน ทรัพยากร สิทธิ์การใช้งานและการปฏิบัติตามข้อกำหนดความปลอดภัยราบรื่นแบบไร้รอยต่อ

การใช้งานที่ยืดหยุ่น (Flexible deployment): ศักยภาพและบริการของผานกู่ โมเดล (Pangu Model) สามารถใช้งานได้ในระบบคลาวด์สาธารณะ ระบบคลาวด์ส่วนตัวและระบบคลาวด์แบบไฮบริด กล่าวคือลูกค้าสามารถสร้างและใช้งานแพลตฟอร์ม AI และโมเดลพื้นฐานบนคลาวด์ส่วนตัวขององค์กรในศูนย์ข้อมูลบนหัวเว่ย คลาวด์ สแต็ก (Huawei Cloud Stack) ซึ่งเป็นโซลูชันคลาวด์แบบไฮบริด

นอกเหนือจากการเปิดตัวนวัตกรรมสุดล้ำทั้ง 10 ประการ หัวเว่ย คลาวด์ได้ย้ำกลยุทธ์การบูรณาการเทคโนโลยีคลาวด์เนทีฟและเทคโนโลยี AI เพื่อขับเคลื่อนความรุดหน้าด้านเทคโนโลยีและการใช้งาน AI อย่างกว้างขวางทั่วโลก ในการประชุมสุดยอดครั้งนี้ บรูโน จาง เปิดตัว Global Leap Program โดย Cloud Native Elite Club (CNEC) ภายใต้แนวคิด “เติบโตก้าวกระโดดด้วยคลาวด์เนทีฟและ AI” (Leap with Cloud Native × AI) เพื่อจุดประกายความคิดผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคนิค การอภิปรายเชิงลึกและหลักปฏิบัติสู่ความสำเร็จ

ณ งานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส บาร์เซโลนา ประจำปี 2567 (Mobile World Congress 2024 – MWC) หัวเว่ยคว้ารางวัล GSMA Foundry Excellence Awards 2024 ในสาขาผู้ประสานงานในภาคอุตสาหกรรม (Industry Collaborator Award) จากคุณริชาร์ด ค็อกเคิล ผู้นำคนปัจจุบันของ GSMA Foundry โดยรางวัลบนเวทีระดับสากลครั้งนี้สะท้อนความร่วมมือของหัวเว่ยในนวัตกรรมหลากหลายด้านในปีที่ผ่านมา อาทิ เครือข่ายโทรคมนาคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี 5G New Calling ตลอดจนร่วมสนับสนุนการผนึกกำลังระหว่างพันธมิตรในภาคอุตสาหกรรม โดยมีดร. ฟิลิป ซอง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดกลุ่มธุรกิจผู้ให้บริการเครือข่าย และนายลีโอ หม่า ประธานการตลาดคลาวด์คอร์เน็ตเวิร์กเป็นตัวแทนจากหัวเว่ยเพื่อขึ้นรับรางวัล

ในปีพ.ศ. 2566 หัวเว่ยได้ร่วมมือกับพันธมิตรอุตสาหกรรมชั้นนำหลายสิบรายเพื่อสนับสนุน GSMA Foundry ในหลากหลายโครงการที่มีนวัตกรรม ซึ่งรวมถึงโครงการ ‘ก้าวสู่โลกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม: สร้างผลลัพธ์มากขึ้นจากการทำงานที่น้อยลง’ (Towards Green: Doing More with Less) และโครงการ ‘5G New Calling’ โดยโครงการดังกล่าวจะผนึกกำลังระหว่างผู้นำในอุตสาหกรรมชั้นนำเพื่อร่วมเผยแพร่กรณีศึกษาและสมุดปกขาวในหลายหัวข้อ โดย GSMA Foundry จัดการประชุมสุดยอดผู้นำหลายครั้งผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อเร่งรับมือกับความท้าทายที่ภาคอุตสาหกรรมนี้กำลังเผชิญ

หนึ่งในนวัตกรรมล่าสุดที่ประสบความสำเร็จในโครงการ GSMA Foundry คือโซลูชันการพัฒนาด้านกรีน 1-2-3 หรือเครือข่ายการสื่อสารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งมอบ “1” หนึ่งดัชนีให้กับลูกค้าต่อ “2” สองสถานการณ์ประหยัดพลังงาน (ระหว่างสถานะการทำงานและสถานะหยุดนิ่ง) และโซลูชันสถาปัตยกรรม “3” สามระดับ (ครอบคลุมเรื่องการดำเนินงาน, เครือข่ายและไซต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม) โดยโซลูชันดังกล่าวได้เพิ่มศักยภาพผู้ให้บริการ เพื่อส่งมอบเครือข่ายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสามารถขยายเครือข่ายและข้อเสนอการบริการที่ครอบคลุมไปพร้อม ๆ กัน นับเป็นเครื่องมือสำคัญที่ผลักดันให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมบรรลุเป้าหมายด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

โซลูชัน 1+3+N สำหรับบริการโทรออกหรือรับสายด้วยเสียงของหัวเว่ย ถือเป็นอีกหนึ่งผลลัพธ์สำคัญจากการผนึกกำลังกับ GSMA Foundry โดยได้มอบศักยภาพการใช้งานเครือข่ายที่รองรับการใช้งานด้านเสียงและมัลติมีเดีย (IP Multimedia Subsystem - IMS) รวมถึงแพลตฟอร์ม New Calling (NCP), ฟังก์ชันด้านสื่อที่มีการควบรวม (Unified Media Function - UMF) และฟังก์ชันการสื่อสารหลากหลายช่องทาง (Multimodal Communications Function - MCF) โดยศักยภาพการใช้งานดังกล่าวสามารถรองรับบริการ New Calling ได้หลายรูปแบบ อาทิ การโทรด้วยเสียงหรือวิดีโอความละเอียดสูง, ประสบการณ์ใช้งานแบบมีส่วนร่วม, และการดำเนินงานด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ โดยแพลตฟอร์มการใช้งานดังกล่าวสามารถมอบศักยภาพเหนือระดับของเครือข่าย, รองรับการสื่อสารในหลากหลายสถานการณ์ และขับเคลื่อนอุตสาหกรรมแนวดิ่งเพื่อพัฒนาบริการใหม่ที่ตอบโจทย์เรื่องการแปลแบบเรียลไทม์, ความบันเทิงระหว่างการโทร (fun calling), การโทรพร้อมวิดีโอ และการถอดเสียงพูดเป็นข้อความแบบอัตโนมัติ

ด้วยเครือข่ายเหล่านี้ ผู้ใช้งานทั่วไปจะสามารถเพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การโทรติดต่อด้วยเสียงและวิดีโอที่เหนือระดับ ในขณะที่ผู้ใช้งานระดับองค์กรจะสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าทางธุรกิจและสังคมให้เพิ่มขึ้นได้

GSMA Foundry คือแพลตฟอร์มส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมและการพัฒนาธุรกิจ ที่มุ่งปลดล็อกศักยภาพเครือข่ายการเชื่อมต่อ โดยสมาชิกสมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) และผู้เล่นในอุตสาหกรรมสามารถร่วมระดมความคิดเพื่อพัฒนาโซลูชันที่ใช้งานได้จริง เพื่อรับมือกับความท้าทายในปัจจุบันได้อย่างทันท่วงที, บ่มเพาะแนวคิดสดใหม่ผ่านการทดลองเชิงพาณิชย์, และขยายโซลูชันที่เปี่ยมประสิทธิภาพทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก เพื่อปูทางให้แก่อนาคตทางดิจิทัล

หัวเว่ยให้การสนับสนุนแพลตฟอร์ม GSMA Foundry มาอย่างยาวนาน สืบเนื่องจากการมุ่งส่งเสริมการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ของ 5G หัวเว่ยมุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานและผู้ให้บริการเครือข่าย ส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอซีทีในสถานการณ์การใช้งานและภาคอุตสาหกรรมที่หลากหลาย เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมที่เพิ่มขึ้น

โมบายล์ เวิลด์ คองเกรส บาร์เซโลนา ประจำปี พ.ศ. 2567 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-29 กุมภาพันธ์ ณ เมืองบาร์เซโลนา, ประเทศสเปน, โดยหัวเว่ยจัดแสดงผลิตภัณฑ์และโซลูชันสุดล้ำที่บูธ 1H50 ใน Fira Gran Via ฮอลล์ 1

เพื่อรองรับการเปิดตัว 5.5G เชิงพาณิชย์ในปีพ.ศ. 2567 หัวเว่ยจับมือผู้ให้บริการและพาร์ทเนอร์ทั่วโลกเพื่อค้นหานวัตกรรมใหม่ด้านเครือข่าย, เทคโนโลยีคลาวด์, และระบบอัจฉริยะ เราจะร่วมขับเคลื่อนธุรกิจ 5G และส่งเสริมอีโคซิสเต็มอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต เพื่อก้าวสู่ยุคใหม่แห่งการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลอัจฉริยะอย่างเต็มรูปแบบ สามารถดูรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://carrier.huawei.com/en/events/mwc2024

ในงานประชุมระดับโลกด้านเทคโนโลยีไร้สาย โมบายล์ เวิลด์ คองเกรส (MWC)  บาร์เซโลนา 2024 หัวเว่ยประสบความสำเร็จในการจัดงานประชุมเกี่ยวกับบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรมและการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีอัจฉริยะ หรือ “Huawei Industrial Digital and Intelligent Transformation Summit” ภายใต้แนวคิด “เร่งการเปลี่ยนผ่านทางด้านอุตสาหกรรมไปสู่ความอัจฉริยะ ด้วยความเป็นผู้นำโครงสร้างพื้นฐานทางด้านดิจิทัล” โดยหัวเว่ยได้ต้อนรับทั้งลูกค้าระดับโลก พาร์ทเนอร์ รวมถึงผู้นำในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อร่วมกันค้นหา แบ่งปันนวัตกรรม รวมถึงแนวทางปฏิบัติด้านการเปลี่ยนผ่านให้ธุรกิจทั้งในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ได้ก้าวไปสู่ยุคดิจิทัลและความเป็นอัจฉริยะอย่างแท้จริง นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้ทำการเปิดตัวโซลูชันด้านการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลอัจฉริยะจำนวน 10 โซลูชันอย่างเป็นทางการรวมถึงเปิดตัวซีรีส์ผลิตภัณฑ์เรือธงใหม่หลากหลายกลุ่มเพื่อตอบโจทย์ที่หลากหลายของลูกค้า ที่กำลังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการเปลี่ยนผ่านของภาคอุตสาหกรรมทางดิจิทัล และมีความต้องการที่แตกต่างกันไป

นายหลี่ เผิง รองประธานอาวุโสฝ่ายองค์กร และประธานฝ่ายขายและบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของหัวเว่ย ได้กล่าวว่า “ตั้งแต่การเปลี่ยนผ่านจากยุคของข้อมูลข่าวสารมาสู่ยุคดิจิทัล ทุกการเปลี่ยนผ่านล้วนนำความเป็นไปได้ต่าง ๆ มากมายมาด้วยเสมอ และวันนี้เรากำลังก้าวเข้าสู่โลกแห่งความอัจฉริยะ ซึ่งการสร้างอนาคตแห่งความอัจฉริยะขึ้นมาด้วยตัวเอง ก็อาจจะเป็นวิธีที่เราจะคาดการณ์อนาคตได้อย่างแม่นยำที่สุด โดยหัวเว่ยจะเดินหน้าทุ่มเทการทำงานของเราเป็นเท่าตัว เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานทางด้านดิจิทัลและโซลูชันต่าง ๆ เพื่อช่วยเร่งกระบวนการการเปลี่ยนผ่านอัจฉริยะให้กับอุตสาหกรรมทั้งหลาย ทั้งนี้ เราจะทำงานอย่างหนักในฐานะพาร์ทเนอร์ที่ทุกคนสามารถไว้วางใจได้ในเส้นทางการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้”

การเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิทัลในระดับอุตสาหกรรมคือก้าวสำคัญสู่โลกอัจฉริยะ

“เพื่อเป็นการเปิดรับโลกอัจฉริยะแห่งอนาคต หัวเว่ยเชื่อว่าหนึ่งในขั้นตอนสำคัญคือการเดินหน้าเข้าสู่โลกดิจิทัลในระดับอุตสาหกรรม และเมื่อกระบวนการการเปลี่ยนผ่านนี้เข้าสู่ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ เราจะต้องมีการจัดการกับข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นในขั้นตอนการ “คำนวณ ส่งต่อ และจัดเก็บ” อย่างเป็นระบบ รวมทั้งมีการจัดการข้อมูลซึ่งมีที่มาจากสถานการณ์อันหลากหลาย เข้าสู่ฐานข้อมูลบนเทคโนโลยีคลาวด์อย่างเป็นระบบ และเข้าถึงลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมพื้นฐานและอุตสาหกรรมหลัก ๆ ให้มากขึ้น เพื่อการสนับสนุนให้กลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้เดินหน้าสู่การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลและมุ่งสู่โลกอัจฉริยะได้อย่างราบรื่น" นายลีโอ เฉิน ประธานฝ่ายขาย สำหรับภาคองค์กร ของหัวเว่ยกล่าว

นายลีโอ เฉิน กล่าวเสริมว่า “เราอาจจะอธิบายผลของกระบวนการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลเพื่อไปสู่โลกอัจฉริยะได้ด้วยคำศัพท์ทางฟิสิกส์ที่ว่า การเปลี่ยนแปลงสถานะ (Phase transition) ซึ่งหมายความว่าการเปลี่ยนผ่านนี้จะไม่เพียงแต่นำมาซึ่งการเติบโตที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังหมายถึงพลวัตรของภาคเศรษฐกิจที่พลิกโฉมโหม่  เพราะเมื่อเราก้าวเข้าสู่โลกที่มีประสิทธิภาพและผลิตภาพสูงแล้ว เราสามารถมอบคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าให้แก่ผู้คนได้ทุกคน ทั้งนี้ หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับทุกฝ่ายเพื่อเร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลในทุกภาคอุตสาหกรรมเพื่อก้าวไปสู่โลกแห่งอัจฉริยะ”

หัวเว่ยเปิดตัวโซลูชันเรือธงเพื่อช่วยในการเปลี่ยนผ่านทางด้านดิจิทัลอัจฉริยะจำนวน 10 โซลูชัน และผลิตภัณฑ์ใหม่ที่หลากหลายสำหรับภาคอุตสาหกรรม

หัวเว่ยทำงานร่วมกับลูกค้าและพาร์ทเนอร์รายต่าง ๆ เพื่อเก็บรวบรวมแนวทางการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จ และเพื่อค้นหาแนวทางการเปลี่ยนผ่านอัจฉริยะใหม่ ๆ อยู่เสมอ โดยในปี พ.ศ. 2566 หัวเว่ยได้ทำการเปิดตัวสถาปัตยกรรมอัจฉริยะสำหรับการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล เพื่อให้ลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมได้ใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในการดำเนินกระบวนการเปลี่ยนผ่านของตนเอง

ทั้งนี้ หัวเว่ยให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมถึงได้สร้างอีโคซิสเต็มระบบเปิด เพื่อให้เป็นจุดศุนย์รวมของพาร์ทเนอร์และเหล่านักพัฒนา ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะทางด้านดิจิทัลให้ประสบความสำเร็จ

โดยหัวเว่ยเชื่อว่าลูกค้าแต่ละรายมีความต้องการที่ต่างกัน และเราจำเป็นที่จะต้องส่งมอบโซลูชันที่ออกแบบมาสำหรับแต่ละสถานการณ์การใช้งานให้เหมาะสม เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถทำการเปลี่ยนผ่านทางด้านดิจิทัลอย่างอัจฉริยะได้สำเร็จลุล่วง

สำหรับลูกค้าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีความจำเป็นต้องใช้บริการที่มีความหลากหลายและซับซ้อน ทางหัวเว่ยได้มีการเปิดตัวระบบดิจิทัลอัจฉริยะในระดับอุตสาหกรรม 10 รูปแบบ ซึ่งมาภายใต้ชื่อต่าง ๆ ได้แก่ National Cloud Solution 2.0, Smart City, Smart Classroom 3.0, Medical Technology Digitalization, Digital CORE, Intelligent Factory, Smart Airport Fully Connected Fiber Network, Perimeter Security with Fiber Sensing, Smart Railway Perimeter Detection, ITS 2.0, Intelligent Power Distribution (IDS), Oil and Gas Pipeline Safety Management Solutions นอกจากนี้ ยังมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์อีกหลากหลายกลุ่ม เช่น Campus Digital Platform, Multilayer Ransomware Protection (MRP) 2.0 และ Perimeter Protection Site เป็นต้น

เพื่อเป็นการตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าทางธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางที่อาจจะมีความต้องการใช้งานที่ไม่ซับซ้อนมากนัก หัวเว่ยได้เดินหน้าร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในการสร้างโซลูชันระบบเปิดที่ใช้ทรัพยากรน้อย (lightweight) แต่มีการออกแบบมาสำหรับสถานการณ์นั้น ๆ โดยเฉพาะ ด้วยการใช้โซลูชันเหล่านี้ช่วยลดต้นทุน สร้างความแตกต่างให้กับผู้ประกอบการทั้งในแง่ของการให้บริการและการเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม โดยกลุ่มโซลูชันใหม่นี้จะช่วยให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลอย่างอัจฉริยะได้อย่างราบรื่น ด้วยโซลูชันที่ออกแบบมาสำหรับสถานการณ์รูปแบบเฉพาะกว่า 30 สถานการณ์ ซึ่งเป็นการร่วมพัฒนากับพาร์ทเนอร์ของเรา สำหรับกลุ่มลูกค้าขนาดเล็กที่มีความต้องการใช้งานในระดับพื้นฐาน หัวเว่ยได้ทำการเปิดตัว HUAWEI eKit สำหรับลูกค้ากลุ่มนี้ในปีพ.ศ. 2566 โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รับการออกแบบมาให้มีคุณสมบัติใช้งานง่าย ตั้งแต่ขั้นตอนการซื้อขาย ติดตั้ง บำรุงรักษา รวมไปถึงการเรียนรู้การใช้งาน โดยภายในงาน MWC ปีนี้ แบรนด์ HUAWEI eKit ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับการใช้งานในออฟฟิศสำหรับกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี โรงแรมราคาประหยัด โรงเรียนประถมและมัธยม ห้างสรรพสินค้า คลินิก โรงพยาบาล บริษัทอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงร้านอาหารต่างๆ เป็นต้น

นอกจากนี้ หัวเว่ย ยังคงยึดมั่นในพันธกิจที่จะเดินหน้าสร้างนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนำ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ โดยหัวเว่ยได้ทำการเปิดตัวผลิตภัณฑ์เรือธงในกลุ่มข้อมูลสื่อสาร เครือข่ายออพติคัล การจัดเก็บข้อมูล รวมทั้งระบบปฏิบัติการและการบำรุงรักษาแบบครบวงจรที่ใช้ทรัพยากรน้อยอีกด้วย

นายเดวิด ฉี รองประธานฝ่ายการตลาดเทคโนโลยีและสารสนเทศ และฝ่ายขายโซลูชันเพื่อธุรกิจของหัวเว่ย กล่าวว่า “หัวเว่ย เข้าใจดีว่าลูกค้าแต่ละรายล้วนมีความต้องการและความท้าทายในการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกัน และในช่วงเวลาที่การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลไปสู่ความเป็นอัจฉริยะนี้กำลังเดินไปข้างหน้า หัวเว่ยจะมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่ออกแบบมาจากสถานการณ์การใช้งานจริง พร้อมเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้จริง”

หัวเว่ย เดินหน้าทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ เพื่อสร้างอนาคตที่สดใสให้กับโลกอัจฉริยะ

อีโคซิสเต็มที่มีความยั่งยืนและทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ถือเป็นส่วนสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสำหรับภาคอุตสาหกรรมอัจฉริยะ โดยช่วงปลายปี พ.ศ. 2566 หัวเว่ยมีพาร์ทเนอร์ที่อยู่ในตลาดระดับองค์กรทั่วโลกกว่า 40,000 ราย ที่จะเข้ามาช่วยให้ลูกค้าของเราเดินหน้าไปสู่ความสำเร็จทางธุรกิจได้

นายเออร์เนสต์ จาง ประธานฝ่ายพาร์ทเนอร์สากล ธุรกิจและการกระจายสินค้า และฝ่ายขายสำหรับองค์กรของหัวเว่ยได้ กล่าวว่า “หัวเว่ยจะยังคงเดินหน้าทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์และยึดตามหลักแนวคิดของการ ‘เชื่อมโยงกันด้วยการแบ่งปันผลประโยชน์ บนรากฐานของความซื่อสัตย์ และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์โดยไม่มีข้อยกเว้น’ เราจะเดินหน้าส่งเสริมนโยบายสำหรับพาร์ทเนอร์ของเราในเรื่องการพัฒนาไปข้างหน้าอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างพันธมิตรที่แน่นแฟ้น เกื้อกูลผลประโยชน์แก่กัน และก้าวไปสู่ช่วงเวลาแห่งความสำเร็จด้วยกัน”

งานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส (MWC) ครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 - 29 กุมภาพันธ์ ณ เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน โดยหัวเว่ยเข้าร่วมงานในปีนี้ภายใต้แนวคิด “เร่งการเปลี่ยนผ่านทางด้านอุตสาหกรรมไปสู่ความอัจฉริยะด้วยความเป็นผู้นำทางด้านโครงสร้างพื้นฐานทางด้านดิจิทัล” ("Leading Digital and Intelligent Infrastructure, Accelerating Industrial Intelligence") และมีการจัดแสดงทัพผลิตภัณฑ์และโซลูชันเรือธงใหม่ล่าสุด ที่บูธ 1H50 ใน Fira Gran Via Hall 1 โดยสามารถดูรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Huawei Enterprise at MWC 2024| Accelerate Industrial Intelligence | Huawei Enterprise

หัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป (ประเทศไทย) ร่วมจับมือ ช้อปปี้ อีคอมเมิร์ซเบอร์ 1[1] ครองใจนักช้อปชาวไทย ส่งโปรโมชั่นเปิดดีลลดใหญ่ รับมหกรรมเทศกาลช้อปปิ้งออนไลน์ครั้งแรกของปีในแคมเปญ Shopee 3.3 ลดใหญ่ต้นปี ส่งมอบส่วนลดเกินต้าน ลดสูงสุดกว่า 47% เมื่อสั่งซื้อสินค้าผ่านร้านค้า Huawei Official Store บน Shopee ตั้งแต่วันที่ 3 - 5 มีนาคม 2567 มาดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรน่าช้อปบ้าง

ไอเทมแรก เริ่มด้วย HUAWEI Band 8 แก็ดแจ็ดเอาใจสายสุขภาพและออกกำลังกาย ที่มาพร้อมเทคโนโลยีสุดล้ำ โดดเด่นด้วยดีไซน์แบบ Ultra-Thin พร้อมฟีเจอร์ติดตามการนอนหลับทางวิทยาศาสตร์ และใช้งานได้อย่างยาวนานไม่มีสะดุดด้วยฟีเจอร์ชาร์จไว โดยสามารถใช้งานได้ทั้งบนแอนดรอย์และ iOS มาในราคาพิเศษเพียง 1,299 บาท จากปกติ 1,899 บาท

HUAWEI MatePad 11.5" แท็บเล็ตดีไซน์สวย ขอบบาง เบา วัสดุทนทานแบบ Unibody พร้อมรองรับการเชื่อมต่อกับคีย์บอร์ดและปากกา HUAWEI M-Pencil (รุ่นที่ 2)  และ หน้าจอคมชัด 120 Hz HUAWEI FullView Display มอบประสบการณ์ที่ไหลลื่นสะดวกสบายทั้งทำงานและเอนเตอร์เทนเมนต์ได้ทุกที่ทุกเวลา พิเศษรุ่น WiFi 6+128GB ราคาเพียง 8,990 บาท จากปกติ 9,990 บาท

HUAWEI WATCH GT 4 รุ่น Light Gold Edition ขนาด 41 มม. โดดเด่นด้วยตัวเรือนสแตนเลสสตีลสีทอง ผสานเข้ากับสายมิลานสีทองที่ขึ้นชื่อเรื่องงานฝีมืออันประณีตได้อย่างลงตัว มอบความหรูหราสะดุดทุกสายตา พร้อมหน้าปัดนาฬิกาอีกกว่า 25,000 แบบ รวมถึงมีโหมดออกกำลังกายกว่า 100 โหมด  ฟีเจอร์วัดความเครียดและ SpO2 อัตโนมัติ ที่จะทำงานทันที่เมื่อสวมใส่ รองรับการเชื่อมต่อได้ทั้ง iOS และ Android พร้อมแบตเตอร์รี่ยาวนานถึง 7 วัน มาในราคาพิเศษเพียง 5,990 บาท จากปกติ 8,490 บาท

เป็นยังไงกันบ้างกับ 3 แก็ดเจ็ตสุดฮิตต้นปี บอกเลยว่าสายแก็ตเจ็ตเลิฟเวอร์ห้ามพลาด เป็นเจ้าของแก็ตเจ็ตในราคาสุดคุ้มกับแคมเปญ Shopee 3.3 ลดใหญ่ต้นปี ที่พร้อมส่งต่อความคุ้มค่าแบบยิ่งใหญ่ด้วย ส่วนลดสูงสุด 47%[2] และยังมีโค้ดลดเพิ่ม 1,000 บาท[3] และโค้ดส่งฟรีขั้นต่ำ 0 บาท[4] ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ยอดฮิต อาทิ สมาร์ทโฟน หูฟังไร้สาย แท็บเล็ต และผลิตภัณฑ์คุณภาพจากหัวเว่ยอีกมากมาย ร่วมถึงช่วงลดหนักจัดเต็ม กับสินค้า Flash Sale ในวันที่ 3 มีนาคม 2567 เวลา 00:00 น.

และเพื่อรับประสบการณ์ความคุ้มค่าสูงสุดในการช้อป ก่อนการชำระเงินลูกค้าสามารถกดเก็บโค้ดของ HUAWEI ได้ที่หน้าร้าน และโค้ดส่วนลดของช้อปปี้จากหน้าแคมเปญ ไม่ว่าจะเป็นโค้ดส่วนลด โค้ดส่งฟรี หรือโค้ดรับ Shopee Coins คืน นอกจากนี้ลูกค้ายังสามารถใช้ Shopee Coins เป็นส่วนลดเพิ่มเติม โดย 1 Shopee Coin จะมีมูลค่าเท่ากับ 1 บาท พร้อมเพลิดเพลินกับสิทธิประโยชน์มากมายเมื่อชำระผ่าน ShopeePay

เตรียมช้อป แก็ดเจ็ตฮิตจาก HUAWEI พร้อมดีลลดใหญ่ใน Shopee 3.3 ลดใหญ่ต้นปี ตั้งแต่วันที่ 3 - 5 มีนาคม 2567 เพื่อไม่ให้พลาดโปรโมชั่นลดใหญ่ อย่าลืมกดติดตามข่าวสารและโปรโมชันดีๆ จาก HUAWEI บน Shopee Mall ได้ที่ https://shopee.co.th/huawei_official_store


[1] อ้างอิงจากรายงาน Ecommerce in Southeast Asia 2023 ของ Momentum Works

[2] อ่านเงื่อนไขเพิ่มเติมในหน้าร้านค้า

[3] อ่านเงื่อนไขเพิ่มเติมในหน้าร้านค้า

[4] อ่านเงื่อนไขเพิ่มเติมในหน้าร้านค้า

X

Right Click

No right click