×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 805

ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นในระดับโลกที่ไม่อาจละวางไปจากสายตา ในขณะที่เราพยายามจะสร้างการพัฒนาด้วยการนำมาซึ่งเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจให้ดีขึ้น แต่ดูเหมือนในแต่ละก้าวของเราจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา 

บนเวทีเสวนาในหัวข้อ “เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องของเรา” ซึ่งจัดขึ้นในวันสิ่งแวดล้อมไทย 4 ธันวาคม 2561 ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารเจริญวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล มีการพูดคุยถึงประเด็นหลักในเรื่องการขับเคลื่อนประเทศไทยบนเส้นทางใหม่ด้วยยุทธศาสตร์ที่ 5

ภายใต้เป้าหมายหลักอย่างยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมีการนำเสนอมุมมองที่น่าสนใจจากหน่วยงานที่มีส่วนร่วมในการปลุกปั้นยุทธศาสตร์ที่ 5 ขึ้นมาเพื่อพัฒนาประเทศของเราให้ เติบโต สมดุล ยั่งยืน เป็นมิตรต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์ชาติด้านที่ 5 : เติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เริ่มต้นด้วยภาพรวมเพื่อให้ผู้เข้าร่วมเสวนาได้เห็นภาพและเข้าใจหลักการของยุทธศาสตร์ที่ 5 โดย ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ประธานกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านที่ 5 ว่าด้วยการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้อธิบายในส่วนนี้ไว้ว่า “กระทรวงอุตสาหกรรมและสภาอุตสาหกรรมมีการทำ MOU เพื่อจะทำงานร่วมกันโดยมุ่งเป้าการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในประเทศ โดยยึดเอายุทธศาสตร์ชาติเป็นแกนหลักโดยมีการขอความร่วมมือจากหลายๆ ภาคส่วนให้เข้ามามีส่วนร่วม จนเป็นที่มาของ Factory 4.0 ซึ่งโครงการมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายอันประกอบไปด้วยเรื่องต่างๆ ได้แก่

  1. โรงงานอุตสาหกรรม ที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการกระบวนการผลิต
  2. ชุมชนและ SMEs ที่ดูแลสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน และการลงทุนต่างๆ
  3. ควบคุมเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งเน้นให้โรงงานอุตสาหกรรมมีระบบที่ส่งผลลบต่อสิ่งแวดล้อมเท่ากับศูนย์ หรือ น้อยที่สุด
  4. ทรัพยากรบุคคล ให้ภาคการศึกษาเข้ามามีบทบาทในการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นหรือจัดทำ Big Data เพื่อนำมาวิเคราะห์แล้วนำมาพัฒนาประเทศต่อไป

บนเวทีเสวนาได้หยิบประเด็นที่ประเทศไทยซึ่งกำลังพัฒนาไปข้างหน้าโดยมีบริบทแวดล้อมที่แตกต่างไปจากอดีต ซึ่งแบ่งได้เป็นสองมิติใหญ่ๆ คือ

เรื่องเทคโนโลยีซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับ Climate Change ที่อาจจะมีความรุนแรงมากขึ้นอีก ดังนั้น เราจึงจำเป็นจะต้องมียุทธศาสตร์มาเป็นตัวชี้เป้าว่าประเทศเราในอีก 20 ปีข้างหน้านั้นมีเป้าหมายอย่างไรในภาพกว้าง ระหว่างนั้นก็สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการได้ เพื่อให้การพัฒนาสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องในโลกที่มีความ uncertainty อย่างมาก”

อุตสาหกรรม แล การสร้างความเติบโต

ทั้งนี้ บนเวทีเสวนามีการกล่าวถึง ประเด็นเรื่องการเติบโต ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีเรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเรื่องนี้ อภิจิณ โชติกเสถียร รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ระบุถึงแนวนโยบายที่จะถูกนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศไทยควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมได้กล่าวบนเวทีว่า “หากมองย้อนกลับไปในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยของเรามีการพัฒนาจากประเทศยากจนขึ้นมาได้ แต่ช่วงระยะเวลา 50 ปีให้หลังมานี้ จะเห็นว่าเราติดอยู่ที่เดิม เนื่องจากเราพุ่งเป้าไปที่การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมโดยที่ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ในอนาคต เข็มทิศและแนวทางของการพัฒนาอุตสาหกรรม เราได้กำหนด motto หรือคติพจน์ว่า เติบโต สมดุล ยั่งยืน โดยมีวิสัยทัศน์ของยุทธศาสตร์ที่ 5 ที่จะถูกนำมาใช้ในการผลักดันให้ประเทศมีคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมดีที่สุดในอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2580 โดยให้ความสำคัญกับ 6 ประเด็นหลัก บนหลักการ 3 สร้าง : 2 พัฒนา : 1 ยก

3 สร้าง : สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว สร้างความเติบโตในภาคทะเล และสร้างความเติบโตที่เป็นมิตรกับภูมิอากาศ

2 พัฒนา : พัฒนาพื้นที่การเกษตร อุตสาหกรรมและชุมชนให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาแหล่งทรัพยากรและพลังงาน และ

1 ยก : ยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อกำหนดอนาคตประเทศไทย

ทั้งนี้กลยุทธ์สูตร 3:2:1 เหล่านี้จะตั้งอยู่บนเป้าหมายอยู่ 4 ข้อ คือ 1.การอนุรักษ์ไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ, สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมให้คนรุ่นหลัง 2.ฟื้นฟูผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นในอดีต 3.บริหารจัดการการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า และ 4.สรรหาเครื่องมือและวิธีการใหม่ๆ มาใช้ในการพัฒนา

ในประเทศอื่นมีการวางยุทธศาสตร์ชาติมานานมากแล้ว อย่างในญี่ปุ่นอาจจะมียุทธศาสตร์ระยะยาวถึง 50 ปี เขาจึงสามารถพัฒนาประเทศขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว ทั้งๆ ที่มีแหล่งทรัพยากรไม่มากและภูมิประเทศเป็นเกาะ ประเทศไทยจะถอยหลังไปแบบเดิมไม่ได้อีกแล้ว เราต้องก้าวไปข้างหน้า ในส่วนของผู้ประกอบการหรือภาคอุตสาหกรรมเองเราก็ต้องการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำเอาเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้โดยตระหนักในเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย เพื่อให้ประเทศก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางไปให้ได้ อย่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการช่วยสร้างและผลิตคนที่มีความรู้ความสามารถมาช่วยพัฒนาประเทศในอนาคตได้ อภิจิน โชติกเสถียร รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : บนมิติความยั่งยืน

ผู้ทรงคุณวุฒิอีกท่านบนเวทีเสวนา ดร.อัษฎาพร ไกรพานนท์ ผู้ตรวจราชการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมบอกเล่าและแบ่งปันแง่มุมของเรื่องสิ่งแวดล้อมบนมิติของความยั่งยืน ว่า “กิจการใดๆ ก็แล้วแต่ไม่ว่าเราจะทำอะไรล้วนแล้วแต่มีผลกระทบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ในสถานการณ์การพัฒนาประเทศไทยเราจากอดีตที่เราเริ่มต้นจากการเป็นประเทศเกษตรกรรม ทำให้เกิดผลกระทบแรกต่อสิ่งแวดล้อมในเชิงพื้นที่ โดยมีการบุกรุกพื้นที่ป่า เป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง ต่อมาก็พัฒนาเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม มีกิจการหลายๆ ประเทศย้ายฐานการผลิตมาที่ประเทศไทย ซึ่งแม้จะมีการจำกัดเขตนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตเศรษฐกิจพิเศษไว้ในบางพื้นที่ก็ตาม แต่ก็ต้องยอมรับว่าในระยะแรกๆ เราเน้นไปที่เรื่องการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติมากนัก ทำให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมตามมาหลายอย่าง ทั้งมลพิษปริมาณมากส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประชาชน ทั้งเรื่องแหล่งน้ำ และอีกหลายระลอกของผลกระทบต่อมา เมื่อภาคอุตสาหกรรมมีความเติบโต ก็ทำให้การเติบโตทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โตตามไปด้วย มีความแออัดจากการอพยพเข้ามาอยู่ในเมืองมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมคล้ายกับการทำการเกษตร นั่นคือสูญเสียพื้นที่บางส่วนไปเพื่อใช้ในการพัฒนา รวมถึงส่งผลในเรื่องมลพิษขยะและน้ำเสีย ดังนั้น สามส่วนนี้ต่างก็ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมทั้งหมดแต่แตกต่างกันในเรื่องสัดส่วนและลักษณะของการพัฒนดำเนินงาน”

ดร.อัษฏาพร ยังได้เปิดเผยถึงแนวทางนโยบายเรื่องนี้ว่า “ จริงๆ เรามีนโยบายในการดูแลเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมานานแล้ว ซึ่งสืบเนื่องมาจากกระแสโลกในการประชุม Earth Summit 1992 (Rio) ซึ่งให้ความสำคัญในเรื่องของผลกระทบจากการพัฒนาเมืองในด้านต่างๆ ต่อสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยได้มีการออกพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ซึ่งมาดูแลในภาพรวม ต่อมาในปี พ.ศ.2545 ก็มีการตั้งกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมขึ้นมาโดยมีนโยบายในการดูแลเรื่องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมต่อเนื่องมาโดยตลอด

ในเรื่องกฎหมาย ดร.อัษฎาพร ได้กล่าวถึงการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ซึ่งเพิ่มเติมไปจากเดิมในประเด็นของผู้ประกอบการว่า จากนี้ไปหากกิจการหรือกิจกรรมอะไรก็แล้วแต่ ถ้าดำเนินการสร้างไปก่อนโดยไม่ทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กฎหมายจะบังคับปรับถึงวันละ 100,000 บาท

นอกจากนี้ พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 ในมาตรา 7 ที่กำลังจะมีการแก้ไขโดยอนุญาตให้ประชาชนปลูกไม้มีค่าต่างๆ ในขอบเขต 58 ชนิด จะสามารถตัดขายหรือใช้เป็นหลักประกันกู้ยืมเงินได้ นอกจากนี้ยังมีการประเมินผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment : SEA) โดยการมองภาพรวมทั้งพื้นที่เพิ่มเข้ามาด้วย

อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือ เรื่องนวัตกรรม ซึ่ง ดร.อัษฎาพร ได้แสดงความคิดต่อวงเสวนาว่า “ถ้าเราสามารถสร้างนวัตกรรมได้เองที่สามารถนำมาใช้พัฒนา Circular Economy และ Bio Economy ก็จะทำให้เราสามารถยืนหยัดได้ด้วยขาของเราเองอย่างยั่งยืนได้”

พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม : สามประสานภาครัฐ เอกชน และประชาชน

ลดาวัลย์ คำภา อดีตรองเลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านที่ 5 เปิดประเด็นบนเวทีอภิปรายว่า

การที่เราจะบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ได้นั้น ไม่ใช่แค่อาศัยการทำงานจากภาครัฐแต่เพียงเท่านั้น ต้องมีการร่วมมือกันทั้งภาคเอกชนและประชาชนด้วย กล่าวง่ายๆ คือ การดูแลสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของเราทุกคน

นอกเหนือไปจากการบรรยายให้รายละเอียดของแผนและนโยบายต่างๆ ของงานยุทธศาสตร์ชาติซึ่งถือเป็นแผนหลักของประเทศอันดับหนึ่ง โดยมีแผนสองคือแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมถึงแผนปฏิรูป แผนแม่บทและแผนเรื่องความมั่นคง ส่วนแผนสามคือแผนของหน่วยกระทรวงต่างๆ ซึ่งจะต้องมีการทำงานที่สอดคล้องกันทั้งหมด หากหน่วยงานไหนดำเนินการไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันอาจมีบทลงโทษและถูกฟ้องร้องได้ ภายใต้แผนทั้งหมดยังมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นของภาคประชาชนเพื่อนำมาปรับ เพราะต้องมีความร่วมมือระหว่างประชาชนและภาคเอกชนด้วยถึงจะทำให้ทำงานสำเร็จตามที่ตั้งเป้าเอาไว้

ลดาวัลย์ คำภา ได้กล่าวถึงเป้าหมายของความสำเร็จของยุทธศาสตร์ชาติ ที่กำหนดไว้ 4 ประเด็นสำคัญด้วยกัน คือ

1.สาระในยุทธศาสตร์ชาติต้องเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์จริงๆ

2.กลไกปฏิบัติ ในเบื้องต้นจะเริ่มจากภาครัฐ แล้วค่อยขยายไปภาคประชาชน

3.กฎหมาย ต้องมีการปรับเปลี่ยนแก้ไขให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัย

4.เป็นที่ยอมรับของสังคม โดยให้ทุกคนตระหนักและการยอมรับเป้าหมายร่วมกัน

ภายใต้การทำยุทธศาสตร์ทั้งหมด 6 ด้าน แบ่งเป็นแผนแม่บททั้งหมด 23 แผน โดยครอบคลุมเรื่องการเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การพัฒนาเมือง ระบบขนส่ง ค่านิยมวัฒนธรรม การสร้างความสุขและการบริหารจัดการ ซึ่งแผนที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ชาติโดยตรงคือแผนแม่บทที่ 18 และ 19 ซึ่งเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งหมดล้วนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก “ ในอีก 20 ปีข้างหน้า ประเทศของเรามีแนวโน้มเข้าสู่ Aging Society อย่างรวดเร็วกว่าในประเทศอื่นๆ เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญซึ่งอยู่ในยุทธศาสตร์ที่ 5 เช่นกัน นั่นคือ การปรับกระบวนทัศน์ในเรื่องของสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น ในอดีตถ้าเราขับรถไปต่างจังหวัดอาจจะเห็นคนทิ้งขยะตามข้างถนนค่อนข้างเยอะ บางทีไปสร้างความเดือดร้อนให้รถคันอื่นบนท้องถนน ดังนั้น การปรับทัศนคติต่อเรื่องเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องมีจิตสำนึกร่วมกัน เราต้องเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีสิ่งแวดล้อมที่ดีด้วย” คือคำกล่าวของ ลดาวัลย์ คำภา บนเวทีเสวนา เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องของเรา อีกหนึ่งเวทีที่เริ่มขับเคลื่อนการก้าวไปข้างหน้าบนแนวทางของยุทธศาสตร์ด้านที่ 5 ซึ่งจัดขึ้นที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ


เรื่อง บรรณาธิการ

ภาพ ภัทรวรรธน์ พงษ์บริพันธ์

Event

  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook) ในเดือนตุลาคม 2018 และปรับลดคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจโลกในปี 2018 และ 2019 ลดลงเป็น 3.7% ทั้งสองปีจากประมาณการในเดือนกรกฎาคมที่ระดับ 3.9% จากการที่หลายกลุ่มประเทศมีการขยายตัวน้อยกว่าที่คาด ประกอบกับความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผลกระทบจากสงครามการค้า

Analysis

  • IMF ปรับลด GDP ของเศรษฐกิจโลกจากความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของสงครามการค้า ความเปราะบางทางเศรษฐกิจรายประเทศ และภาวะการเงินโลกที่มีแนวโน้มตึงตัวต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับประมาณการในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา (รูปที่ 1) การเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคหลักปี 2018 ถูกปรับลดลงโดยเฉพาะในยูโรโซนและกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา (EM) สำหรับประมาณการการเติบโตในปี 2019 สหรัฐฯ และจีนจะขยายตัวราว 2.5% และ 6.2% ตามลำดับลดลงจากประมาณการรอบก่อน 0.2% ทั้งสองประเทศจากผลของสงครามการค้า ในขณะที่ยูโรโซนและญี่ปุ่นจะขยายตัวราว 1.9% และ 0.9% ตามลำดับ (รูปที่ 2) สำหรับการขยายตัวของกลุ่มประเทศ EM ทั้งในปี 2018 และ 2019 มีทิศทางแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ EM เอเชียจะเติบโตได้ค่อนข้างดีราว 6.5% และ 6.3% ตามลำดับ อย่างไรก็ดี อัตราการขยายตัวของปริมาณการค้าโลกถูกปรับลดลงเหลือ 4.2% (ลดลงจากรอบก่อน 0.6%) ในปี 2018 และ 4% (ลดลงจากรอบก่อน 0.5%) ในปี 2019 ตามลำดับ สะท้อนผลกระทบจากสงครามการค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ การขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ EM ถูกปรับลงในปีหน้า เนื่องจากจีน บราซิล เม็กซิโก และแอฟริกาใต้ถูกปรับ GDP ลง และกลุ่มประเทศ EM ที่มีความเปราะบางสูง อาทิ ตุรกี อาร์เจนตินา กำลังประสบวิกฤตค่าเงินและมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย พร้อมกันนี้ ภาวะการเงินโลกที่จะตึงตัวขึ้นจากดอกเบี้ยนโยบายในหลายประเทศที่เข้าสู่ช่วงขาขึ้น (รูปที่ 3) และผลกระทบจากมาตรการกีดกันการค้าของสหรัฐฯ ที่จะเริ่มส่งผล จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อภาพรวมการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปีหน้า

 

  • IMF ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2019 จากมาตรการกีดกันการค้า  โดย IMF คงประมาณการเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2018 ขยายตัวที่ 2.9% เนื่องจากพื้นฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและการกระตุ้นนโยบายการคลังส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวเกินกว่าศักยภาพ อย่างไรก็ตาม การขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2019 ถูกปรับลดลงเป็น 2.5% (จากเดิม 2.7%) โดยมีปัจจัยเสี่ยงหลักมาจากมาตรการกีดกันการค้า จากล่าสุดที่สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนมูลค่ารวม 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และจีนได้ตอบโต้กลับ หลังปี 2019 เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวลงเมื่อผลของนโยบายการคลังหมดลงและนโยบายการเงินเข้าสู่ภาวะปกติ

 

  • เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องในระยะข้างหน้า โดย IMF ปรับการเติบโตเศรษฐกิจจีนในปี 2019 ลดเหลือ 6.2% (จากเดิม 6.4%) จากสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนที่ทวีความรุนแรงขึ้น ประกอบกับการควบคุมภาคธนาคารเงาและระดับหนี้ในบางภาคส่วนจะส่งผลให้เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอลง โดยตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจล่าสุด อาทิ การบริโภคภายในประเทศ การลงทุน และการผลิตภาคอุตสาหกรรมเริ่มมีแนวโน้มขยายตัวลดลง ในขณะที่ การส่งออกจะเริ่มชะลอตัวชัดเจนในปี 2019 เนื่องจากภาษีนำเข้าสินค้าจีนที่สหรัฐฯ เรียกเก็บมูลค่ารวม 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จะถูกปรับอัตราภาษีจาก 10% เป็น 25% ในวันที่ 1 มกราคม 2019 นอกจากนี้ เงินหยวนยังมีความเสี่ยงอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องจากความเชื่อมั่นนักลงทุนที่อาจลดลงและความเสี่ยงจากสงครามการค้าที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง

 

  • กลุ่มประเทศ EM เฉพาะในภูมิภาคเอเชียยังมีปัจจัยพื้นฐานโดยรวมแข็งแกร่ง แต่ความเสี่ยงต่อการเติบโตเพิ่มขึ้น การเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ EM เอเชียยังอยู่ในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ดี สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนจะสร้างแรงกดดันให้เศรษฐกิจกลุ่ม ASEAN-5 (มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย) เติบโตในอัตราที่ชะลอลงเล็กน้อยจาก 5.3% ในปี 2018 เป็น 5.2% ในปี 2019 อย่างไรก็ตาม จากผลกระทบสงครามการค้า ภาวะการเงินโลกที่มีแนวโน้มตึงตัวขึ้นจากการที่ Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ผนวกกับวิกฤตการเงินในตุรกี อาร์เจนตินา จะยังเป็นปัจจัยกดดันความเชื่อมั่นของนักลงทุนและสินทรัพย์ในกลุ่มประเทศ EM และยังอาจส่งผลให้เกิดภาวะเงินทุนไหลออกจากกลุ่มประเทศ EM เอเชียได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศ EM เอเชียที่มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการคลังสูงต่อเนื่อง เช่น อินโดนีเซีย ที่เริ่มประสบปัญหาภาวะเงินทุนไหลออกและค่าเงินอ่อนค่า

 

  • สงครามการค้าจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งสหรัฐฯ และจีนโดยผลกระทบจะเริ่มชัดเจนในปีหน้าโดยเฉพาะกับเศรษฐกิจจีน IMF ได้คาดการณ์ผลกระทบจากมาตรการการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ทั้งการขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียม 10% และ 25% ตามลำดับ การขึ้นภาษีนำเข้า 25% ในสินค้านำเข้าจากจีนมูลค่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และภาษีนำเข้า 10% ในสินค้านำเข้าจากจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงการตอบโต้จากประเทศคู่ค้าสหรัฐฯ และจีนซึ่งตอบโต้ในมูลค่าที่เท่ากัน ยกเว้นรอบล่าสุดที่จีนขึ้นภาษีนำเข้าเฉลี่ย 7% ในมูลค่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยคาดว่าเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะสหรัฐฯ และจีนจะได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันการค้าชัดเจนในปี 2019 จากประมาณการของ IMF นอกจากภาษีนำเข้าปัจจุบันที่มีผลบังคับใช้แล้ว หากคาดการณ์ว่าสหรัฐฯ จะขึ้นภาษีนำเข้า 25% บนสินค้านำเข้าจากจีนที่เหลือ 2.67 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รวมมูลค่าสินค้าจีนที่สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าราว 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และจีนมีการตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ ทั้งหมดที่จีนสามารถทำได้ราว 1.3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ผลกระทบสงครามการค้าจะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และจีนในปี 2019 มีแนวโน้มชะลอลง 0.2% และ 1.16% ตามลำดับ และในปี 2020 จะมีแนวโน้มลดลง 0.27% และ 0.95% ตามลำดับ

Implication

  • มุมมองของอีไอซีต่อเศรษฐกิจไทยสอดคล้องกับประมาณการใหม่ของ IMF โดย IMF ปรับประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยดีขึ้นจากประมาณการครั้งก่อน ซึ่งในปี 2018 เพิ่มขึ้นเป็น 4.6% จาก 3.9% และในปี 2019 ขึ้นเป็น 3.9% จาก 3.8% ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจไทยโดยอีไอซีที่ระดับ 4.5% และ 4.0% ในปี 2018 และ 2019 ตามลำดับ ทั้งนี้ อัตราการขยายตัวตามประมาณการใหม่ของ IMF สะท้อนว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาสามารถขยายตัวได้ดีกว่าที่เคยประเมิน โดยไทยเป็นประเทศเดียวในกลุ่ม ASEAN-5 ที่ IMF ปรับประมาณการเพิ่มขึ้นทั้งในปีนี้และปีหน้า ทั้งนี้ ถึงแม้ว่า IMF จะมองว่าการเติบโตของไทยอาจชะลอลงบ้างในระยะข้างหน้า แต่อัตราการเติบโตในระดับดังกล่าวยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีเมื่อเทียบกับช่วง 5 ปีก่อนหน้า (2013-2017) ที่เติบโตเฉลี่ยเพียง 2.8% ต่อปี เศรษฐกิจไทยยังคงได้รับแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายทั้งจากในประเทศและต่างประเทศที่มีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ไทยควรจับตาผลกระทบและความเสี่ยงจากปริมาณการค้าโลกที่ IMF ประเมินว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวลดลงในปีหน้า จากสาเหตุของการชะลอตัวของเศรษฐกิจกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและสงครามการค้า รวมถึงผลกระทบของนโยบายการเงินที่มีแนวโน้มตึงตัวมากขึ้น ทั้งนี้ ธุรกิจไทยยังต้องจับตาผลกระทบทั้งในเชิงบวก เช่น การย้ายฐานการผลิตของธุรกิจจีนเข้ามาไทย และผลกระทบเชิงลบ เช่น การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและการค้าโลกหากสงครามการค้าทวีความรุนแรงขึ้น

 

  • ภาวะการเงินที่ตึงตัวขึ้นในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ อีไอซีมองว่าภาระหนี้ของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่เป็นประเด็นที่ต้องจับตามอง ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นและการเงินที่ตึงตัวขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้ว อาจทำให้เกิดการปรับพอร์ตการลงทุนของนักลงทุน การเคลื่อนไหวของค่าเงินที่รุนแรง และเงินทุนไหลเข้าที่ชะลอตัวลงของกลุ่มประเทศ EM โดยเฉพาะประเทศที่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ทั้งนี้ อีไอซีมองว่าจุดเปราะบางที่สำคัญสำหรับกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ได้แก่ ภาระหนี้สิน เนื่องจากในช่วงที่ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น สภาพคล่องที่ลดลง ทำให้กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่มีความเสี่ยงจากเรื่องภาวะหนี้สูงขึ้น จากข้อมูล Institute of International Finance (IIF) พบว่า หนี้ต่อ GDP ของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหนี้ภาคธุรกิจและหนี้ที่อยู่ในรูปสกุลเงินต่างประเทศที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา และจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและหากเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง สำหรับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไทยนั้นยังแข็งแกร่ง เนื่องจากในปี 2017 ไทยมีดุลบัญชีเดินสะพัดสูงถึง 11% ต่อ GDP เงินทุนสำรองต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 3 เท่า และมีหนี้ที่อยู่ในรูปสกุลเงินต่างประเทศค่อนข้างต่ำหากเปรียบเทียบกับในกลุ่มประเทศ EM ด้วยกัน

โดย :

ทีมเศรษฐกิจมหภาค (This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.)

Economic Intelligence Center (EIC)

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

EIC Online: www.scbeic.com

 

 

 

 

"เมื่อกล่าวถึง Disruptive Technologies ซึ่งนานๆทีจะเกิดสักครั้ง แต่นั่นหมายถึงเทคโนโลยีที่จะมาสร้างความเปลี่ยนแปลง เช่น พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer behavior) หรือ Lifestyle ของผู้คนครั้งสำคัญ เหมือนเช่นดั่งในปี 1975 ที่ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(Personal computer) เป็น Disruptive platform เป็น infrastructure ที่เปิดโอกาสให้คนอย่าง บิล เกตต์ สร้างแอพพลิเคชั่นมาเปลี่ยนแปลงโลกจนทุกวันนี้ที่ไม่มีใครไม่ใช้ Personal computer และอีกครั้งในเวลาต่อมาคือในปี 1990 ที่เทคโนโลยี อินเทอร์เนต TCP/IP ก็เป็น Infrastructure รอบใหม่ที่เปิดโอกาสให้คนอย่าง มาร์ก ซัคเกอร์เบริก สร้างแอพพริเคชั่น facebook หรือ แลร์รี่ เพจ สร้าง Google ขึ้นมาและสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกดังเช่นที่เห็นกันในทุกวันนี้"

สำหรับรอบนี้ถือเป็นความโชคดีของคนในยุคนี้ที่จะมีโอกาสได้ใช้ Blockchain ซึ่งจะเป็น Disruptive Technology เป็น Infrastructure ของ Generation โดยที่ผ่านมามี Bitcoin ที่พวกเราแทบทุกคนรู้จักกันดีทั่วโลก เป็นแอพพริเคชั่นตัวแรกซึ่งถูกปล่อยออกมาในปี 2009 แต่ในเวลาไม่ถึง 9 ปี ธนาคารทั่วโลกต้องขยับตัวกันอย่างมหาศาล หรือกระทั่งวงการระดมทุนที่เรียกว่า ICO จะเห็นได้ว่าในปี 2017 มูลค่าการลงทุนผ่าน ICO ปีเดียวมากกว่า VC ทั่วโลกรวมกัน

"หมายความว่า Blockchain  คือ  Disruptive platform ตัวต่อไปที่ทุกวงการจะต้องหันมาใช้ เหมือนกับที่เคยต้องหันมาใช้ Personal computer และ Internet TCP/IP ในทำนองเดียวกัน"  นั่นคือ Talk บทเปิดของ จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา  บนเวที Thailand MBA Forum 2018

Blockchain Technology 

เปลี่ยนผ่าน Internet of information → Internet of Value

"ท๊อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา" Group CEO Blockchain Capital, Group Holdings Co.,Ltd. ได้บรรยายถึงหัวใจสำคัญของ บล็อกเชน เทคโนโลยี ซึ่งเป็น layer ที่สองของอินเตอร์เน็ท ที่มีพัฒนาการเหนือไปกว่ายุคแรกที่เป็น TCP/IP ที่เป็น Internet of Information ซึ่งส่งผ่านได้เพียงข้อมูล แต่สำหรับ บล็อกเชน เป็นอินเตอร์เน็ทที่มีความสามารถเหนือไปกว่า เพราะสามารถที่จะส่งผ่านสิ่งที่เรียกว่า "มูลค่า" (Value) ออกไปได้ด้วย โดยไม่ต้องผ่านเทคโนโลยีของตัวกลางดั่งเช่นในอดีตอีกต่อไป และแปลว่าในอนาคตอันใกล้ เหล่ากลไกตัวกลางในวงการแลกเปลี่ยนต่างๆ จะต้องปรับตัวครั้งยิ่งใหญ่

"ท๊อป จิรายุส" ยกกรณีตัวอย่างของวงการแลกเปลี่ยนมูลค่า อย่างเช่น การโอนเงินที่เคยมีธนาคารเป็นตัวกลาง การซื้อขายหุ้นที่เคยต้องผ่านโบรคเกอร์ หรือกระทั่งการซื้อขายที่ดินที่เคยต้องผ่านตัวแทนหรือนายหน้า  ธุรกรรมต่างๆ ที่เคยต้องอาศัยเทคโนโลยีหรือกลไกของตัวกลางในการดำเนินการ ต่อไปเราสามารถแลกเปลี่ยนมูลค่ากันได้โดยตรง เพราะบล็อกเชนมีความพร้อมและอนุญาตให้เราสามารถ digitized มูลค่ากันได้แล้ว เรียกว่า Decentralized Vs. Centralized system

ในอดีตเราใช้อินเตอร์เนท TCP/IP ส่งออกส่งที่เป็นข้อมูลหรือรูปภาพ คือการส่งสิ่งที่เป็นสำเนาออกไป มากมายเพียงใดก็ทำได้ แต่ต้นฉบับก็ยังคงเหลืออยู่ ดังนั้นจึงส่งสิ่งที่เป็นมูลค่า ออกไปไม่ได้จริง ไม่เช่นนั้นเราก็ย่อมจะสามารถส่งออกสิ่งที่มูลค่า เช่นธนบัตรใบละ 1,000 บาทออกไปให้ใครต่อใครก็ได้ มากเท่าไหร่ก็ได้ เพราะส่งกี่ครั้ง ต้นฉบับก็ยังคงเหลืออยู่ และนั่นคือข้อจำกัดหรือที่เรียกว่า Double spent problem

แต่สำหรับ บล็อกเชน ได้รับการพัฒนาภายใต้การรวบรวมปัญหาและงานวิจัยโดยนักพัฒนาผู้มีนามว่า ซาโตชิ นากาโมโตะ ผู้คิดและพัฒนาบิทคอย โดยเขาได้แก้ปัญหาในสิ่งที่เรียกว่า Solve Double Spent Problem ทำให้บล็อคเชน สามารถเก็บมูลค่า และสามารถส่งออก "มูลค่า" ได้โดยตรงระหว่างผู้ส่งและผู้รับ และนั่นคือเป็นวิวัฒนาการของสิ่งที่ว่า Internet of value

4 Development ของ Blockchain

"จิรายุส" บอกกล่าวเล่าถึงพัฒนาการในวงการบล็อกเชนว่า สามารถแบ่งออกได้เป็นขั้นเป็นตอนอยู่ 4 ระยะ ใน stage แรกของบล็อกเชน คือ Internet of Money เช่น bitcoin ที่ออกมาได้ 8-9 ปี ทุกวันนี้ digital currency ทั่วโลกมีมากกว่า 1,700 ตัว โดยกลุ่มแรกของคริปโตนั้น มุ่งเป้าไปสู่การเป็น internet of money เพื่อที่จะทำให้เราสามารถ digitized เงินแล้วโอนหากันแบบ peer to peer โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลางอีกต่อไป

เพราะในระบบที่ใช้กันมาจนทุกวันนี้ การโอนเงิน  ซึ่งหมายถึงการโอนเงินจากธนาคารต้นทางไปยังธนาคารผู้รับ จะมีสิ่งที่เรียกว่า international clearing house  เปรียบเสมือนทางด่วนที่เราต้องจ่ายค่าผ่านทางเพื่อจะไปยังจุดที่หมาย  ยิ่งหลายด่านก็หมายถึงค่าผ่านทางที่ต้องเพิ่มขึ้นและต้องจ่ายไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงปลายทาง และนั่นคือที่มาของค่าธรรมเนียมการโอนเงิน 5-10 % ในการโอนเงินไปต่างประเทศ   แต่พอมี digital money อย่าง bitcoin,light coin, state cash หรือ Ripple  เหล่านี้คือ Digital money ที่ล้วนมีเป้าหมายที่ต้องการจะเอาออกในสิ่งที่เรียกว่า international clearing house  หรือกลไกตัวกลางออกไปเพื่อให้เราสามารถโอนเงินกันได้อย่างเร็วขึ้น-ประหยัดขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Internet of Assets = Value Registry

stageที่สองของบล็อกเชน เป็นความสามารถในการ digitized ทุกอย่างที่มีมูลค่า ซึ่งไม่ได้หมายความว่า คือ เพียงเงิน(money)อย่างเดียว แต่สินทรัพย์ที่มีมูลค่าอื่นอาทิเช่น ที่ดิน, เพชร, พลอย, ภาพเขียนหรืออื่นๆ อีกมากมาย ก็สามารถนำมา digitized อยู่ในบล็อกเชนได้เช่นกัน

Internet of Entities = Value Ecosystem

สำหรับstageที่ 3 บล็อคเชนจะถูกนำมาใช้ในการปลดล็อค ทำให้ก่อเกิดโมเดลธุรกิจ และการจัดการใหม่ๆ เป็น decentralized autonomous ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ Ethereum หนึ่งในบล็อกเชนที่เป็น Generalized platform  ที่ถูกใช้ในการสร้างเหรียญและมี Smart contract ที่เปิดโอกาสให้คนสามารถสร้างบล็อคเชนและโทเคน(Token) ขึ้นมาอย่างง่ายดาย  กลายเป็นเครื่องมือในการออกTokenเพื่อระดมทุนในรูปแบบที่เรียกว่า ICO ( Initial Coin Offering) ซึ่งปรากฏว่าจากคริปโตที่เคยมีเพียงไม่กี่ตัวในอดีต เพียงปีเศษๆ ที่ผ่านมามีคริปโตเกิดขึ้นกว่า 1,700 ตัวทั่วโลก โดยกว่า 90% ของเหรียญเหล่านั้นถูกสร้างบน Ethereum

Interoperable  Ledgers = Value web

เป็นพัฒนาขั้นที่ 4 ที่ปัจจุบันกำลังเร่งพัฒนาเพื่อให้โทเคนที่มีอยู่ทั่วโลกจำนวนมากมาย  และจะเพิ่มจำนวนขึ้นอีกมาก แต่มีสิ่งที่เป็นปัญหาติดอยู่ ณ ขณะนี้คือ โทเคนในแต่ละแพลตฟอร์ม  ยังคุยกันคนละภาษา ซึ่งหากจะมีการแลกเปลี่ยนมูลค่าซื้อขาย-แลกเปลี่ยน ก็จะต้องเอาเหรียญเหล่านั้นโอนไปยังที่ที่เรียกว่า Centralized exchange crypto แล้วก็ซื้อขายเพื่อแลกเปลี่ยนกันเหมือนซื้อขายหุ้น เหตุเช่นนี้เพราะคริปโตแต่ละตัวยังไม่สามารถคุยกันได้โดยตรง ( เหมือนอินเตอร์เนทในยุคแรกๆ)

ในขณะนี้นักพัฒนากลุ่มใหม่ๆ เช่น Kyber, Ox, Airswap หรือ OmiseGo กำลังเร่งพัฒนาเพื่อสร้างการเชื่อมโยงระหว่างโทเคนตัวต่างๆ ให้สามารถคุยกันหรือแลกเปลี่ยนมูลค่ากันได้โดยตรง


สามารถรับชมคลิปวิดีโอ หัวข้อ "Blockchain for Management" โดย จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา จากงาน Thailand MBA Forum 2018  ได้ที่นี่

 

 

 

มนุษย์เรามีความผูกพันกับท้องทะเลและมหาสมุทรมาเป็นเวลายาวนาน จนกล่าวได้ว่ามหาสมุทรหรือพื้นน้ำที่กว้างใหญ่ไพศาลบนโลกนี้เองที่ได้ขับเคลื่อนระบบต่างๆ ให้กับทุกสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ผ่านความเชื่อมโยงกันทั้งในด้านอุณหภูมิ องค์ประกอบทางเคมี กระแสน้ำตลอดจนการดำรงชีวิต

Page 5 of 5
X

Right Click

No right click