×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 802

เมื่อปี 2019 ที่ผ่านมาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า – NIDA) ได้ส่งตัวแทนนักศึกษาจากคณะบริหารธุรกิจ สาขา Flexible MBA 3 คนเข้าร่วมแข่งขันรายการ TUN DATA Challenge 2019 ผลจากการแข่งขันสามารถคว้ารางวัล Teradata Technology Award 2019 มาครอง ด้วยการนำความรู้ที่ศึกษามาปรับใช้สร้างแผนธุรกิจให้กับองค์กร HIRE HERO เหนือกว่ารางวัลที่ได้รับ นักศึกษาทั้ง 3 คนได้รับประสบการณ์ที่น่าประทับใจและความรู้จาก Keynote ระดับโลก

จาก “เพื่อน” สู่ความเป็น “ทีม”

วีรุตม์ แพทย์สุวรรณ (ชุณห์) นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขา Flexible MBA 34 กล่าวว่า การเข้าร่วมแข่งขัน TUN DATA Challenge 2019 นั้นเริ่มจากทีมของตนเองเป็นนักศึกษาสาขา Flexible MBA และได้ลงเรียนวิชา Big Data, Data Mining, and CRM Applications กับ รศ.ดร.จงสวัสดิ์ จงวัฒน์ผล อาจารย์จึงชวนให้ทำโปรเจคเพื่อส่งไปประกวดที่สหรัฐอเมริกา และถ้าได้เข้ารอบจะได้ไปร่วม “2019 Teradata Analytics Universe” Conference ที่สหรัฐอเมริกา

ตอนนั้นผมกับวินเรียนอยู่รุ่นเดียวกัน ส่วนป๊อปอยู่รุ่น 32 เราสนใจเรื่อง Data Mining และ Big Data ก็เลยมาฟอร์มทีมกัน ตอนแรกจริงๆ ผมไม่ได้ตั้งเป้าจะไปแข่งขันอะไร ผมลงเรียนวิชา Data Mining เพราะอยากลองเรียนวิชานี้เพราะเป็นเทรนด์ และเป็นสิ่งที่คนพูดกันก็เลยลงเรียน แล้วก็มาเจอป๊อปซึ่งเป็นเพื่อนเก่าของผม เขาก็สนใจวิชานี้เพราะอาจารย์สอนดี เขาบอกว่าถ้าทำโปรเจ็กต์ได้ดีก็มีโอกาสไป Conference ระดับนานาชาติ ผมก็รู้สึกว่าน่าสนใจดีเลยตัดสินใจร่วมกลุ่มกัน

รับโจทย์ รับ Data ลงมือทำ

วีรุตม์: กล่าวถึงโจทย์ที่ทาง Teradata ให้ไว้ว่า “โปรเจ็กต์สำหรับปีที่ลงแข่งเป็นการเสนอ Solution ให้กับองค์กรไม่แสวงหากำไร มีชื่อโปรเจ็กต์ คือ DATA EMPOWERMENT FOR HIRE HERO ผู้จัดงานให้ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรนี้ว่า HIRE HERO เป็นองค์กรที่ทำพันธกิจในการหางานให้กับทหารและทหารผ่านศึก ผู้จัดงานมีการไกด์ไลน์คำถามให้เรา โดยคำถามจะเน้นไปทางด้านการจัดการ ด้านลูกค้า คำถามเกี่ยวกับการบริจาค ว่าเขามีข้อมูลแบบนี้เราจะช่วยอะไรเขาได้บ้าง เราก็เอาข้อมูลมาสร้างกลยุทธ์ สร้างแผน เราเอาความรู้ด้านแมนเนจเม้นต์มาใช้ ที่นิด้ามีคณะสถิติประยุกต์เขาทำเรื่องข้อมูลเหมือนกัน แต่ผมเป็นบริหารธุรกิจสิ่งที่ผมแตกต่างจากเขาคือความเข้าใจในธุรกิจและเอาข้อมูลดิบมาแปลงเป็นอินไซน์เพื่อตอบโจทย์ให้กับองค์กร”

นที พนมโชคไพศาล (ป๊อป) นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขา Flexible MBA 32 กล่าวเสริมว่า “เราต้องคิดว่าจะทำยังไงให้เขาถูกใจ คำถามของเขาทำให้เราเข้าใจ Data มากขึ้น”

เอาความรู้ที่เรียนมาปรับใช้

วีรุตม์: กล่าวต่อว่า “ความรู้เรียนจากที่นิด้าสามารถนำมาปรับใช้ได้มาก อย่างวิชาด้านการตลาด การเงิน หรือการบริหารทรัพยากรบุคคล อาจารย์เคยตั้งคำถามกับเราว่าคณะบริหารธุรกิจสอนเพื่อให้ตัวธุรกิจได้กำไรมากที่สุด แต่การที่เราไปช่วยองค์กรไม่แสวงหากำไร เราจะช่วยอะไรเขาได้บ้าง จริงๆ วิชาที่เรียนมาสามารถช่วยได้มาก ถึงเขาจะเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร แต่ถ้ารายจ่ายเขามากกว่ารายได้ องค์กรเขาก็อยู่ไม่ได้ เราต้องเข้าไปช่วยทำยังไงให้เขาลดค่าใช้จ่าย ทำยังไงให้พนักงานของเขามีประสิทธิภาพ หรือแม้แต่เรื่องของการตลาดทำยังไงให้มีคนมาบริจาคเพิ่มมากขึ้น สิ่งที่ทำให้ทีมได้รับรางวัลนั้นมาจากหลายเรื่อง ทั้งความทุ่มเท การใช้เครื่องมือ ซึ่งอาจารย์จงสวัสดิ์เป็นคนช่วยไกด์ให้ว่าควรใช้เครื่องมืออะไรแต่ทีมเป็นคนลงมือทำเองทั้งหมด”

นที: กล่าวเสริมว่า เครื่องมือที่ทีมเอามาใช้เป็นเครื่องมือที่นักศึกษานิด้าได้เรียนอยู่แล้ว อย่าง Teradata Aster, SAS Enterprise Miner, Tableau, RapidMiner ฯลฯ เหล่านี้ ทางนิด้าให้กับสนับสนุนและลงทุนกับนักศึกษาอย่างมาก

ได้มากกว่าการแข่งขันแต่ได้ความรู้ด้วย

วีรุตม์: กล่าวถึงสิ่งที่ได้จากการแข่งขันในครั้งนี้ว่า ในรายการแข่งขันจะมีคนดังๆ ด้าน Big Data และ Data Mining มาบรรยายให้ฟังถึงเทรนด์ของ Data Analysis ว่าจะไปทิศทางไหน เช่น Michael Hansen – Director Business Intelligence at Vodafone Genmany บรรยายเรื่อง Driving Success with Data and Analytics at VODOFONE, Katie Linendoll พิธีกร และนักเขียนชื่อดังทางด้าน Technology & Geadgets, Oliver Ratzesberger อดีต CEO Teradata บรรยายเรื่อง The New Reality and the 5 Factors Impacting Business Success ฯลฯ ทำให้การไปแข่งขันครั้งนี้ได้ทั้งการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคนที่เป็นมืออาชีพ ได้พูดคุยกับบริษัทชั้นนำ และได้รู้ว่าเทรนด์กำลังไปทิศทางไหน

นที: กล่าวเสริมต่อว่า “การไปครั้งนี้เราได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากคนในวงการจริงๆ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้เข้าแข่งขันเป็นประสบการณ์ที่ดีมาก ได้เห็นมุมมองที่แตกต่าง ได้เห็นความสนใจเรื่อง Data Analysis ของเด็กมัธยมปลายที่มาร่วมการแข่งขัน Analytic Challenge และเวลาที่ Keynote บรรยายเหมือนกับเขาแนะแนวทางให้กับเรา เหมือนเขาไม่ได้สอน เขาเล่าประสบการณ์ของเขาให้ฟัง”

กิตติธรา สงวนชาติ (วิน) นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขา Flexible MBA 34 กล่าวเสริมว่า “ประสบการณ์ที่ได้ฟังจาก Keynote เราได้ฟังว่าสิ่งไหนที่เขาทำแล้วสำเร็จ สิ่งไหนไม่สำเร็จ ทำให้เราไม่ต้องไปเรียนรู้ตั้งแต่ศูนย์ใหม่แต่เราเอามาต่อยอดได้เลย”

ขอบคุณอาจารย์ผู้ผลักดันให้แจ้งเกิด

กิตติธรา: กล่าวว่า “ตั้งแต่เรียนวิชาการ Data Mining ของอาจารย์จงสวัสดิ์ อาจารย์พยายามสร้างแรงกระตุ้นให้กับนักศึกษาเกี่ยวกับโครงการ TUN DATA Challenge พอทีมของผมต้องการเข้าประกวด อาจารย์ก็เป็นที่ปรึกษาให้”

วีรุตม์: กล่าวเสริมว่า “อาจารย์ช่วยทุกเรื่องไม่ใช่แค่เรื่อง Data Mining เรื่อง MBA ก็ช่วย อาจารย์เขาเป็นทั้งที่ปรึกษาและโค้ช เขาผลักดันพวกเรามาก ขอแค่นักศึกษามีความตั้งใจทำงานชิ้นนี้ออกมา ซึ่งเราก็ทำงานกันหนักมาก”

นที: กล่าวทิ้งท้ายว่า “บางช่วงเรารู้สึกเหนื่อยมาก เราคิดว่าทำไมเราต้องมาทำอะไรเหนื่อยขนาดนี้ เราต้องมาทำอะไรที่ไม่รู้ผลจะออกมายังไง ตอนนั้นหมดแรงแล้วอยากจะยอมแพ้แล้ว ขอจบโปรเจ็กต์นี้สักที อาจารย์ก็มาเป็นแรงกระตุ้นให้กับเราว่าถ้าเราทำให้ดีผลสุดท้ายออกมาก็จะรู้สึกภาคภูมิใจ”


บทความ: กองบรรณาธิการ

ภาพ: อาทิตย์ กัณฐัศว์กำพล

เปิดหนังสือในแวดวงไอทีช่วงนี้ คำหนึ่งที่จะพบเสมอคือ “บิ๊กเดต้า” (Big Data) หรือข้อมูลที่ยิ่งใหญ่

รศ.ดร.จงสวัสดิ์ จงวัฒน์ผล รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ได้บรรยายถึงประเด็นสำคัญบนเวทีใหญ่งาน Thailand MBA Forum 2018

“ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีมีพัฒนาการที่รวดเร็วมาก ผลสืบเนื่องคือพฤติกรรมของผู้บริโภคถูกเปลี่ยนแปลงจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป เมื่อพฤติกรรมคนเปลี่ยน สิ่งที่ตามมาคือ ผลกระทบทางสภาพสังคมก็เปลี่ยนแปลงไป นั่นหมายถึงสภาพการแข่งขัน และแรงกดดันของการแข่งขันก็มีการเปลี่ยนแปลงเฉกเช่นกัน สิ่งสำคัญในฐานะผู้บริหาร คือการเตรียมแผนและการตั้งรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีให้เท่าทัน ในด้านของนักศึกษา ทั้งบัณฑิตและมหาบัณฑิตที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ตลาดงาน ต้องตระหนักให้ได้ว่า ทักษะและความรู้ที่จะทำงานในยุคดิจิทัลต้องเป็นอย่างไร” 

รศ.ดร. จงสวัสดิ์ ได้สรุปความโดยอ้างอิงข้อมูลของ Oliver Ratzesburger ที่ชี้ให้เห็นว่า ทุกวันนี้การยอมรับและการนำเทคโนโลยีมาใช้อยู่ในอัตราตอบรับที่เร่งมากขึ้น อย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การใช้เทคโนโลยีประเภทอินเทอร์เน็ต ถือเป็นเรื่องปกติ 

นอกจากนั้น ยังได้เผยถึงตัวเลขมูลค่าการตลาดของโมไบล์แอปพลิเคชัน ของปี 2017 ที่อเมริกามีมูลค่าสูงถึง 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มีการลงเม็ดเงินในโซเชียลมีเดียอย่างมหาศาล รูปแบบการเก็บข้อมูลเปลี่ยนแปลงจากเดิมไปสู่การเก็บ-ใช้ข้อมูลใน คลาวน์ มีการนำ Big Data ที่เป็นการใช้ข้อมูลต่างๆ เพื่อการออกแบบกลยุทธ์ เรื่อง Neuroscience เป็นเทรนด์ที่กำลังเติบโต ผลิตภัณฑ์และการบริการเริ่มประยุกต์นำ Sensor มาติดวัดเพื่อสร้างเป็นเครือข่ายข้อมูล เพื่อศึกษาและพัฒนาการเข้าถึงแนวคิดและการรับรู้ของลูกค้าต่อคุณภาพสินค้าและบริการอย่างเป็นตรรกะและเชื่อถือได้ และต่อไปเรื่อง AI และ Deep Learning เป็นสิ่งที่ยุค 5G จะมีการหยิบยกมาใช้อย่างเป็นเรื่องปกติสามัญ

ทั้งนี้ รศ.ดร.จงสวัสดิ์ ได้เน้นย้ำว่า “ประเด็นสำคัญที่อยากให้ดูคือ การทำงานทุกอย่างนับแต่นี้จะเป็น Real-Time มากขึ้น ลูกค้าต้องสามารถทำทุกอย่างได้เอง เทคโนโลยีได้เปิดโอกาสและอนุญาตให้หลายสิ่งเป็นไปได้ แต่คำถามคือ “องค์กรปรับตัวตามได้มากน้อยแค่ไหน” มีกรณีศึกษาของหลายองค์กรที่ตามไม่ทันเทคโนฯ หรือการตัดสินใจไม่ยอมรับในการเปลี่ยนแปลง อาทิ บริษัท โกดัก ผู้ผลิตฟิล์มที่เคยยิ่งใหญ่ในอดีต หรือ กรณี Blockbuster ที่ปฏิเสธการลงทุนใน Netflix ร้านของเล่น Toyrus ที่ปิดตัวลง เพราะพฤติกรรมการเล่นของเด็กเปลี่ยนไปอยู่ในออนไลน์ในที่สุด”

ทุกวันนี้ องค์กรธุรกิจชั้นนำล้วนปรับนำ Algorithm มาใช้ในการบริหารงาน ซึ่งสามารถทำงานแทนคนจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถจัดการข้อมูล เพื่อคาดการณ์ เพื่อการวางแผนทั้งในด้าน Operation และการวางกลยุทธ์ในการบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“ทุกองค์กรต้องปรับตัวแทบทั้งหมด เหตุผลสำคัญคือ เพื่อการลด Uncertainty หรือความไม่แน่นอน บนข้อมูลที่จะสามารถรวบรวมและประมวลมาได้ ทั้งข้อมูลลูกค้า ข้อมูลการเงิน ข้อมูลอุตสาหกรรม และข้อมูลต่างๆ เพื่อค้นหา Trend หา Spotting Trend เพื่อค้นหาว่าจะมี signal หรือสัญญาณใดที่จะบอกให้รู้ว่า สิ่งไหนคือเทรนด์ที่ถ้าองค์กรไม่ปรับ คือ ตายแน่นอน! และนอกเหนือจากนั้น คือการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจที่สำคัญ” รศ.ดร.จงสวัสดิ์ 

6 กลยุทธ์ดิจิทัล เพื่อองค์กร : 6 Types of Digital Strategy (HBR) 

รศ.ดร จงสวัสดิ์ ได้อ้างอิงถึง 6 กลยุทธ์เพื่อการปรับตัวขององค์กรและธุรกิจ ในยุคดิจิทัล ของ Harvard Business Review เพื่อเป็นแนวคิดและแนวทาง อาทิ การปรับเปลี่ยน Platform Play ที่ต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไป หรือการสร้างแนวทางกลยุทธ์การตลาดใหม่ๆ ให้กับลูกค้า เช่น H&M หรือ IKEA ที่ใช้กลยุทธ์ New Marginal Supply เช่นการเปิดช่องทางขายสินค้ามือสองให้กับลูกค้าชั้นดี เพื่อเป็นทางเลือก และที่น่าสนใจและจับตาคือ ใช้กลยุทธ์ Digital-
Enabled Products and Services ที่ปรับสินค้าและบริการให้เชื่อมต่อกับความเป็นดิจิทัล โดยมีการนำ Sensor มาติดกับผลิตภัณฑ์ เช่น ผ้าอ้อมเด็ก ที่ปั๊มนม และกรณีศึกษาที่โด่งดังคือ แปรงสีฟัน Oral B โดย Sensors เหล่านั้นจะส่งผ่านข้อมูลของการใช้งาน อาทิ ความชื้นของผ้าอ้อม แรงดันและปริมาณน้ำนมจากการปั๊ม และคุณภาพของการแปรงฟัน ซึ่งทั้งหมดจะถูกส่งเข้าสู่แอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือ เพื่อเป็นข้อมูลกับผู้ใช้งาน

นอกจากนั้น Digital Strategy ยังมีในเรื่อง Rebunding and Customizing, Digital Distribution Channel และ Cost Efficency ที่ HBR ได้เสนอแนวคิดและแนวทางไว้ แต่ประเด็นสำคัญที่ รศ.ดร.จงสวัสดิ์ ต้องการชี้ให้ตระหนักและเล็งเห็นคือ “เมื่อเรารู้ว่า เทคโนโลยีเปลี่ยน เราจะ adopt เทคโนโลยี หรือนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ได้อย่างไร นั่นคือประเด็นที่สำคัญกว่า”

สำหรับนักศึกษาในสาขา MBA ในยุคนี้ รศ.ดร. จงสวัสดิ์ กล่าวว่า 

“เป้าหมายของการเรียน MBA ในปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนไปแล้ว เมื่อ 10 ปีก่อน เป้าหมายสำคัญของการเรียน MBA จะกำหนดเป้าหมายไปที่เรื่อง Logical Thinking, Critical Thinking, Analytical Thinking และ Strategic Thinking หมายความว่า นักศึกษาที่จบ MBA จะต้องมีความรู้ มีแนวคิด กระบวนการคิดจนไปสู่กระบวนการสร้างกลยุทธ์ธุรกิจ การบริหารและการตลาดได้ ซึ่งภายใต้เป้าหมายและความคาดหวังใหม่ รศ.ดร. จงสวัสดิ์ ได้เสนอการ+ เพิ่มเรื่อง Technological Data Driven IT-Background เข้าไปด้วย เพราะทุกวันนี้และต่อไปจะไม่มีองค์กรใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องไอที หมายความว่า นักศึกษา MBA จะต้องสื่อสารและทำงานร่วมได้กับนักจัดการ IT เพื่อธุรกิจและองค์กร” 

“ในปัจจุบัน การตลาดประเภท Traditional Marketing ไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป จากอดีตที่เคยเป็น Top-Down Approach ที่รู้ทฤษฎีด้านการตลาดแล้วสามารถแปลงทฤษฎีมาเป็นกลยุทธ์ แต่คำตอบของยุคปัจจุบันคือ Bottom-Up Policy ที่จะเป็นการใช้ดาต้า ใช้ข้อมูลจากทั้งลูกค้า พฤติกรรมต่างๆ มาสร้างกลยุทธ์” 


สามารถรับชมคลิปวิดีโอ หัวข้อ Technology Effects & Management Transformation โดย รศ.ดร.จงสวัสดิ์ จงวัฒน์ผล รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) จากงาน Thailand MBA Forum 2018 ได้ที่นี่

 

ความพร้อมในการรับมือกับบริบทของสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลต่อป่าต้นน้ำของประเทศไทย ในวันนี้เกี่ยวข้องและเชื่อมโยง ทั้งศาสตร์ด้านวิศวกรรมน้ำ และTool (เครื่องมือ) ตลอดจนการบูรณาการเพื่อนำเทคโนโลยี IoT และBig Data มาใช้ในงานบริหารจัดการน้ำให้เกิดความยั่งยืน

5.  5G ตัวเปลี่ยนเกมอุตสาหกรรมโลก การให้บริการ Mobile broadband กำลังก้าวไปสู่ระบบ 5G โดยมีแผนที่จะ roll out ครั้งแรกไม่เกินปี 2018 ซึ่งถือได้ว่าเร็วกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ถึง 2 ปี ทั้งนี้เป็นผลมาจากการแข่งขันที่รุนแรงในความพยายามที่จะผลักดันให้การบริการ   Mobile broadband สามารถให้บริการในทุก digital platform

Page 2 of 4
X

Right Click

No right click