×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 10974

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6847

บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค และ บริษัท การีนา ออนไลน์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการเกมออนไลน์และแพลตฟอร์มการสื่อสารชั้นนำ ที่ให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงเกมออนไลน์ยอดนิยมทั้งบนมือถือและคอมพิวเตอร์  ร่วมกันเปิดตัวงานแข่งขัน Free Fire Thailand Championship 2019 Presented by dtac” ณ ลานแฟชั่นฮอล์ ชั้น 1 ศูนย์การค้าสยามพารากอน อย่างเป็นทางการเพื่อตอกย้ำกระแสความแรงของเกม  Garena Free Fire อีกทั้งยังเป็นการผลักดันนักกีฬา และวงการ E-Sportsของไทยให้ก้าวไกลสู่ระดับโลก พิเศษสุดสำหรับลูกค้าดีแทคทั้งระบบรายเดือนและเติมเงิน ซื้อแพ็กเสริมเน็ตที่กำหนด รับไอเทมสุดพิเศษในเกม และรับไอเทมสุดพิเศษอีกมากมาย เมื่อซื้อไอเทมในเกมผ่านระบบชำระเงินของดีแทค (Pay via dtac) ตามระยะเวลาที่กำหนด

ปัจจุบันอัตราการเติบโตของผู้เล่นเกมบนโทรศัพท์มือถือนั้นเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ข้อมูลจากเว็บไซต์ Newzoo.com ระบุว่า ในปี 2561 ที่ผ่านมา ตลาดอุตสาหกรรมเกมทั่วโลกนั้นขยายตัวเป็นอย่างมาก ซึ่งส่วนสำคัญที่ช่วยให้ตลาดอุตสาหกรรมเกมนั้นเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดคือกลุ่มเกมบนโทรศัพท์มือถือ เมื่อเปรียบเทียบการขยายตัวที่เกิดขึ้นในปี 2561 กับปี 2560 แล้ว เห็นได้ว่ามีการขยายตัวของเกมบนโทรศัพท์มือถือมากกว่า 50%  ทั้งนี้เป็นเพราะว่าการเล่นเกมผ่านอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือนั้นเข้าถึงได้ง่าย สามารถเล่นได้ทุกที่ ทุกเวลา อีกทั้งยังไม่ได้ถูกจำกัดไว้ด้วยเพศ หรือช่วงอายุอีกต่อไป

นางสุกัณณี เลิศสุขวิบูลย์ ผู้อำนวยการ สายงานการตลาดระบบเติมเงิน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “ดีแทคเห็นแนวโน้มกระแสความแรงของตลาดเกมบนโทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าดีแทค ปัจจุบันมีฐานลูกค้าที่สนใจเกมมากกว่า 30% ฐานเกมเมอร์ผู้หญิงค่อนข้างเติบโตขึ้นในปีที่ผ่านมา แต่ฐานลูกค้าผู้ชายยังคงเยอะกว่า โดยกลุ่มช่วงอายุจะอยู่ในช่วงอายุต่ำกว่า 24 ปี และ 25 - 39 ปี มากกว่า 50% อาศัยอยู่ในบริเวณ กรุงเทพมหานคร  และข้อมูลที่น่าสนใจ คือค่าเฉลี่ยการใช้จ่ายเงินในลูกค้าเติมเงินเกมเมอร์จะสูงกว่าลูกค้าเติมเงินปกติถึง 1 เท่าตัว 

เกมออนไลน์ถูกจัดให้เป็นกีฬา E-Sports กีฬาประเภทนี้สามารถส่งเสริมให้คนพัฒนาแนวคิด วิเคราะห์สถานการณ์ เป็นการเพิ่มทักษะและการแก้ไขปัญหา ดีแทคมุ่งนำเสนอบริการที่เป็นมากกว่าผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ และต้องการที่จะมีส่วนร่วมในการสนับสนุนความก้าวหน้าของวงการ E-Sports ไทย เพราะเราเชื่อว่าเกมเมอร์ทุกคน ต่างล้วนมีความสามารถที่ซ่อนอยู่ภายในตัว และพัฒนาความสามารถนั้นเพื่อก้าวเข้าสู่สายอาชีพนักกีฬา E-Sports อย่างเต็มตัว ด้วยเหตุผลนี้เองที่ทำให้เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ผนึกกำลังกับบริษัท การีนา ออนไลน์ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเกมออนไลน์ยักษ์ใหญ่ในประเทศไทย ในการที่จะช่วยกันผลักดันให้นักกีฬา และวงการ E-Sports ของไทย สามารถก้าวไกลไปสู่ระดับโลก”

“ในความร่วมมือกับการีนาครั้งนี้ ดีแทคได้ก้าวเข้ามาเป็นผู้สนับสนุนกีฬา E-Sports อย่างเต็มตัวเป็นครั้งแรก โดยเป็นผู้สนับสนุนหลักตลอดรายการ “Free Fire Thailand Championship 2019 Presented by dtac” เริ่มตั้งแต่การเปิดตัวเต็มรูปแบบอย่างยิ่งใหญ่ในวันที่ 6 และ 7 เมษายน 2562 ที่กำลังจะมาถึงนี้ รวมทั้งงานแข่งขัน “Free Fire Proleague 2019 Presented by dtac” เพราะเราอยากที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างพลังของเกมเมอร์ชาวไทยให้เป็นที่ประจักษ์ในระดับโลก” นางสาว สุกัณณี กล่าว

นายศรุต วานิชพันธุ์, Director of Sea (ประเทศไทย) บริษัทผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตแพลตฟอร์มชั้นนำ อาทิ การีนา (Garena) กล่าวว่า “ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมเกม การีนามุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อมอบประสบการณ์เหนือระดับให้กับเหล่าเกมเมอร์อยู่เสมอ เช่น การก้าวเข้าสู่การเป็นผู้พัฒนาเกม จากเกม Garena Free Fire ซึ่งเป็นเกมแรกที่การีนาพัฒนาและเปิดให้บริการเอง สำหรับความร่วมมือระหว่าง การีนา และ ดีแทค บนเกม Garena Free Fire นี้ ก็เป็นการตอบโจทย์และเติมเต็มความต้องการของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน ซึ่งมองหานวัตกรรมและประสบการณ์การเล่นเกมใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา ความร่วมมืออย่างเต็มรูปแบบในครั้งนี้รวมถึงความพิเศษบนตัวเกม Garena Free Fire เช่น ไอเท็มต่างๆ เอ็กซ์คลูซีฟเฉพาะลูกค้าดีแทค และ ความยิ่งใหญ่บนการแข่งขันอีสปอร์ต ซึ่งดีแทคได้เข้ามาสนับสนุนรายการแข่งขันทั้งระดับประเทศ อย่าง ‘Free Fire Thailand Championship 2019 Presented by dtac’’ นอกจากนี้ คอเกมชาวไทยยังสามารถติดตามอีกหนึ่งสุดยอดการแข่งขัน จาก การีนา และ ดีแทค ในรายการ  ‘Free Fire Proleague 2019 Presented by dtac’ ภายในกลางปี 2562 นี้ ได้อีกด้วย”

‘Garena Free Fire’  เป็นเกมแนว ‘Battle Royale’ บนมือถือเกมแรกที่พัฒนาและเปิดให้บริการเองโดยการีนา โดดเด่นด้วยดีไซน์ ควบคุมง่าย จบไว รองรับกับการเล่นบนสมาร์ทโฟนทุกรุ่น  มาพร้อมความตื่นเต้นในการเอาตัวรอดของเกมแนว ‘Battle Royale’ โดยภายในเกม ผู้เล่นจะต้องรับบทเป็นหนึ่งใน 50 ตัวละคร ที่เดินทางมายังเกาะร้าง และต้องทำทุกวิถีทางเพื่อเอาตัวรอด ผู้ที่เหลือรอดเป็นคนสุดท้ายเท่านั้นจึงจะเป็นผู้ชนะ  หลังจากได้เปิดให้บริการมาเป็น ระยะเวลา 1 ปี เกม ‘Garena Free Fire’  กลายเป็นเกม ‘Battle Royale’ มือถือ ที่ได้รับการตอบรับและความนิยมจากผู้เล่นทั่วโลกและชาวไทยอย่างดีเยี่ยม มียอดผู้ลงทะเบียนบนเกม ‘Free Fire’ สูงถึง 350 ล้านคนจากทั่วโลก มียอดผู้เล่นสูงสุดต่อวันถึง 40 ล้านคน ติดอันดับ ‘Top 5’ สำหรับแอพพลิเคชั่นยอดนิยม และได้รับการถูกเสนอชื่อเป็น ‘Game of the year’ 2018 บน ‘Google Play’ รวมถึง‘Top Free Games of the year 2018’ บน ‘App Store’  และกลายเป็นเกมที่ได้รับยอดดาวน์โหลดสูงสุด บน App Store อีกด้วย  เกม ‘Garena Free Fire’ พร้อมเติบโตต่อเนื่องไปพร้อมกับเกมเมอร์ทั่วโลกและเกมเมอร์ชาวไทยอย่างไม่หยุดยั้ง

ความร่วมมือระหว่างดีแทค และ การีนา ในครั้งนี้ได้มอบสิทธิพิเศษให้แก่ลูกค้าดีแทคทั้งระบบรายเดือนและเติมเงินทุกคนที่เล่นเกม Garena Free Fire โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. ลูกค้าดีแทคทั้งแพ็กเกจเติมเงินและรายเดือน เมื่อสมัครแพ็กเกจเสริมตามที่กำหนด รับทันที!ไอเทมสุดพิเศษในเกม
  2. ลูกค้าดีแทคที่ซื้อไอเทมในเกมผ่านระบบชำระเงินของดีแทค (Pay via dtac)รับทันที! ไอเทมสุดพิเศษในเกม

ลูกค้าดีแทคสามารถใช้บริการ Pay via dtac ให้ลูกค้าซื้อแอป เติมเกม ซื้อสติกเกอร์ไลน์ และสมัครบริการต่างๆ ผ่านเบอร์ดีแทคได้ง่ายๆ สะดวก ปลอดภัยไร้กังวล ไม่ต้องใช้บัตรเครดิต ใช้ได้ทั้งลูกค้าเติมเงินและรายเดือน สำหรับลูกค้าเติมเงิน ระบบจะตัดเงินจากกระเป๋าเงินในเบอร์ดีแทค ส่วนลูกค้ารายเดือน ยอดการซื้อจะถูกรวมไปกับค่าบริการรอบบิลนั้นๆ

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับโปรโมชั่นสำหรับเกม Garena Free Fire ได้ที่ http://dtac.co.th/s/ff

มาร่วมสนุกไปกับสุดยอดเกมมือถือสไตล์ Battle Royale ที่ต้องทำทุกวิถีทาง ให้อยู่รอด...เป็นคนสุดท้าย  Garena Free Fire สามารถดาวน์โหลดได้แล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ทั้งบนระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือ iOS และ Android

ติดตามรายละเอียดและกิจกรรมต่างๆ จากเกม Garena Free Fire ได้ที่

Website:http://ff.garena.in.th/
Facebook: https://web.facebook.com/freefireth/

ดีแทคเผย 6 ทักษะสำคัญทางดิจิทัล ลดความเหลื่อมล้ำทางเพศในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี พร้อมชูนโยบายสนับสนุนความหลากหลายทางเพศในองค์กร สร้างวัฒนธรรมเคารพซึ่งกันและกัน-ออฟฟิศปลอดภัย หนุนความเท่าเทียมทางเพศ เนื่องในวันสตรีสากล 8 มีนาคม

ดีแทคชูต้นแบบการใช้งาน 5G ร่วมทดสอบที่ศูนย์ 5G IoT & AI Innovation Center ภายใต้ความร่วมมือสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  (กสทช.) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมชวน CAT และทีโอที ร่วมเป็นพันธมิตรเพื่อสร้างกรณีการใช้งานในภาคธุรกิจจริง ทั้งศึกษาแนวทางและคุณสมบัติ 5G เพื่อสร้างต้นแบบการใช้งาน ทดลองใช้จริง

นางอเล็กซานดรา ไรช์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “เรามุ่งมั่นอย่างไม่หยุดเพื่อวางรากฐานสำหรับโครงข่ายสู่อนาคตในประเทศไทย อาทิ ดีแทคเป็นรายแรกที่การนำเทคโนโลยีโครงข่ายระบบชุมสายเสมือน (Visualized Core Network: VCN) มาดำเนินงาน และนำอุปกรณ์รับส่งสัญญาณแบบ Massive MIMO 64x64 ที่ทันสมัยที่สุดในโลกมาให้บริการเชิงพาณิชย์เป็นรายแรกในไทย การนำประเทศไทยเข้าสู่ยุค 5G จะต้องอาศัยความร่วมมือหลายภาคส่วน ทั้งจากภาครัฐ ภาคการศึกษา และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแตกต่างจากการเปลี่ยนผ่านสู่ 3G หรือ การมาของ 4G ดังนั้น ผู้ประกอบการโทรคมนาคมที่จะต้องวางแผนขยายโครงข่ายตอบโจทย์ในการรองรับอุตสาหกรรมและรูปแบบการใช้งาน นี่คือความสำคัญสำหรับเราในการมุ่งสู่การทดสอบเทคโนโลยีเพื่อค้นหาการใช้งานด้วยวิธีการใหม่ๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความยั่งยืนสู่กลยุทธ์ 5G ของไทย”

ดีแทคร่วมกับ CAT และ ทีโอที ในการเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ร่วมกัน พร้อมทั้งร่วมกับทาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงาน กสทช. ในการเปิดศูนย์ 5G IoT & AI Innovation Center เพื่อทำการทดสอบ 5G ด้วยรูปแบบการใช้งานจริงต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อนำบริการ 5G ขับเคลื่อนประเทศไทย โดยศูนย์แห่งนี้ยังเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษา คณาจารย์ และผู้สนใจร่วมทดสอบและพัฒนาสู่ความพร้อมของการทำงานดิจิทัล

สำหรับในช่วงทดสอบ 5G ดีแทคได้วางแผนเบื้องต้น ที่จะมีแนวทางทดสอบกรณีการใช้งาน (Use Cases) กับทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคาดว่ามีรูปแบบการใช้งาน (Use cases) ในกลุ่มฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farming) อาคารอัจฉริยะ (Smart Building Solutions) บรอดแบนด์ไร้สายประจำที่ (Fixed Wireless Access) การวัดคุณภาพอากาศ (Air Quality Measurement) บริการสื่อขั้นสูง (Advanced media services) โดรนเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture Drones) สมาร์ทเฮลธ์แคร์(Smart Healthcare) อุตสาหกรรมอัจฉริยะ(Smart Industry) สมาร์ทซิตี้แอปพลิเคชัน (Smart City Application)

ที่ผ่านมา ดีแทคได้จัดทำโซลูชัน “ฟาร์มแม่นยำ” ซึ่งถูกพัฒนาด้วยเทคโนโลยี Internet of Things เพื่อการทำเกษตรที่มีความแม่นยำที่ดีแทคได้พัฒนาขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมสุ่ 5G สามารถปลดล็อกมูลค่ามหาศาลให้แก่เกษตรกรของประเทศไทยได้ ซึ่งทำให้เห็นได้ว่าการทำเกษตรกรรมยุคใหม่จะต้องใช้ประโยชน์ของดิจิทัลและความสามารถของ 5G มาต่อยอดเพื่อทำรายได้เพิ่มมากขึ้น

ดีแทคมีเทคโนโลยีการสื่อสาร ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ ที่พร้อมจะนำคนไทยสู่ความยั่งยืนของยุค 5G ดีแทคมีจุดยืนและให้ความสำคัญที่จะทำให้ 5G เกิดขึ้นในไทย คือ

  1. แนวทางการกำกับดูแล (Regulation) กฎระเบียบต่างๆ ต้องเอื้อให้5G สามารถเกิดได้อย่างรวดเร็ว กระบวนการที่ซับซ้อนและระยะเวลาในการขออนุญาต เป็นปัจจัยในการจำกัดความสามารถในการเร่งขยายสัญญาณในประเทศไทย และควรมีแนวทางในการใช้ทรัพยากรเศรษฐกิจเพื่อประโยชน์สูงสุด เช่น การคำนึงถึงการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกัน และมีความสะดวกในการปฏิบัติ
  2. แผนจัดสรรคลื่นความถี่ (Spectrum Roadmap) ต้องกำหนดว่าจะมีการจัดสรรคลื่นความถี่ใด เมื่อไร ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดแผนและการนำคลื่นย่านความถี่ต่างๆ ที่ชัดเจนมาใช้งาน เพราะการจะให้บริการ5Gได้นั้นต้องมีคลื่นความถี่ที่เพียงพอ ผู้ให้บริการจึงไม่สามารถวางแผนการใช้งานที่ชัดเจนรวมถึงประสิทธิภาพการวางแผนลงทุน
  3. สร้างความร่วมมือ (Enhanced collaboration) จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกันอย่างยั่งยืน ทั้งจากภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคอุตสาหกรรม ผู้ให้บริการและผู้บริโภค ในการสร้างระบบนิเวศน์ที่เข้มแข็งและยั่งยืน และช่วยกระตุ้นนวัตกรรมใหม่ๆให้เกิดขึ้นตลอดเวลา

นอกจากความร่วมมือที่ดีแทคพร้อมสำหรับทุกภาคส่วนแล้ว ดีแทคยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรในเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้ให้บริการอุตสาหกรรมโทรคมนาคม คือ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบมจ.ทีโอที  เพื่อประสานความรู้ ประสบการณ์ และพัฒนารูปแบบบริการสู่ 5G ในอนาคตอีกด้วย

ครั้งแรกในไทยกับการจับมือระหว่างสองบริษัทใหญ่ของประเทศ ดีแทคและอีริคสัน ร่วมมือกันนำ 5G Ready Massive MIMO 64T6R ซึ่งเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่จะใช้เทคโนโลยีนี้บนเครือข่าย 4G TTD โดยเมื่อวันที่ 13 ธันวาคมที่ผ่านมา ทางบริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) ร่วมมือกับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค  พันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการดีแทค เทอร์โบ นำเทคโนโลยี 5G-Ready Massive MIMO บนเครือข่าย 4G TDD ที่โรมมิ่งบนคลื่นความถี่ 2300 MHz ของทีโอทีมาทดลองใช้งานครั้งแรกในประเทศไทย

ทางสองบริษัทได้เผยว่าการนำเทคโนโลยีนี้เข้ามาใช้นั้นเป็นนวัตกรรมด้านการอุปกรณ์สื่อสารของอีริคสันที่ไม่ใช่แค่ยกระดับประสบการณ์ใช้งานดาต้าในวันนี้ แต่ยังพร้อมรองรับเทคโนโลยี 5G บนบริการดีแทค เทอร์โบได้ในอนาคต ทางดีแทคเองก็ได้เผยถึงแผนการในอนาคตที่จะขยายการให้บริการกับลูกค้าบนเครือค่ายดีแทค เทอร์โบ ด้วยการเร่งขยายเสาสัญญาณคลื่น 2300 MHz แล้วยังนำ Massive MIMO 64R64R ที่เหนือกว่าในการรับส่งสัญญาณดาต้ามาให้ลูกค้าได้ใช้งานจริง ซึ่งจะทำให้การใช้งานดาต้าในพื้นที่ที่ผู้ใช้บริการหนาแน่นมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น และยังเหมาะกับพื้นที่ใช้งานดาต้าสูงที่มีความต้องการใช้งานในรูปแบบต่างกัน โดยอุปกรณ์จะรับส่งสัญญาณเฉพาะจุด หรือ Beam forming เจาะจงเฉพาะให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่กำลังใช้งานขณะนั้นอย่างแม่นยำ และยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการกระจายสัญญาณไปยังอุปกรณ์อีกหลายจุดในพื้นที่เดียวกัน ภายในเวลาและความถี่เดียวกัน ทำให้เพิ่มขีดความสามารถการครอบคลุมของโครงข่ายได้มากขึ้นบนคลื่น 2300 MHz โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีผู้ใช้งานหนาแน่นได้อย่างมีนัยสำคัญ

นอกจากนี้ทางบริษัท อีริคสัน ยังได้ขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ด้าน Radio Systemเพื่อสนับสนุนผู้ให้บริการในการเปลี่ยนถ่ายเข้าสู่เทคโนโลยี 5G ได้อย่างไร้รอยต่อ กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ขยายเพิ่มเติมนี้จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้สูงขึ้น เข้าถึง 5G แบบ end-to-end ซึ่งรวมไปถึง 5G NR Radio ครั้งแรกในอุตสาหกรรมระดับโลก

 

          บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เปิดตัวซีอีโอคนใหม่ อเล็กซานดรา ไรช์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งในช่วงเวลาที่สัมปทานซึ่งมีอยู่กำลังจะหมดลง เป็นช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้นที่อาจจะส่งผลกระทบทั้งภายในและนอกองค์กรดีแทค

         อเล็กซานดรา เป็นชาวออสเตรียที่เคยผ่านงานมาหลายด้านทั้ง ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจออนไลน์เมื่อกว่า 30 ปีที่แล้ว และเริ่มเข้ามาสู่อุตสาหกรรมโทรคมนาคมเมื่อปี 2544 จนเข้ามาทำงานกับกลุ่มเทเลนอร์เมื่อปี 2559 เธอเล่าว่าเธอเป็นนักกีฬากอล์ฟ ความเป็นนักกีฬาทำให้เธอชอบการแข่งขันเพราะการแข่งขันจะทำให้เกิดสิ่งที่ดีขึ้นมา และเธอก็หวังว่าการบริหารงานดีแทคจะเป็นเช่นเดียวกับช่วงเวลาที่สามารถเล่นกีฬาได้ดี

         อเล็กซานดรามองดีแทคว่ามีองค์ประกอบที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ 3 ประการคือ มีแบรนด์ที่น่าภาคภูมิใจ มีลูกค้ากว่า 20 ล้านราย และมีพนังงานที่มุ่งมั่นในการทำงานให้ดีแทคประสบความสำเร็จ

         การเข้ามาทำงานในช่วงเวลานี้ซึ่งใกล้ถึงวันสิ้นสุดสัมปทานเดิมที่มีอยู่ในวันที่ 15 ก.ย. ทำให้ภารกิจแรกของซีอีโอหญิงคนแรกของดีแทคคือการดูแลลูกค้าของบริษัท โดยเธอบอกว่าจะทำทุกอย่างที่จะช่วยคุ้มครองลูกค้าให้สามารถใช้งานโทรศัพท์ได้

         “เราให้ความสำคัญกับลูกค้าต้องมาก่อน โดยเฉพาะช่วงเปลี่ยนผ่านสัมปทานเราจึงตั้งใจดูแลลูกค้าเราให้ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง สิ่งสำคัญที่เน้นย้ำ เราต้องได้รับอนุมัติแผนความคุ้มครองลูกค้าในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทานจาก กสทช. เพื่อลูกค้าดีแทคได้ใช้คลื่น 1800 MHz และ 850 MHz ซึ่งเป็นช่วงคลื่นเดิมของดีแทคที่หมดสัมปทานและไม่ได้ถูกนำไปใช้งาน โดยลูกค้าดีแทคควรได้สิทธิ์ใช้งานอย่างต่อเนื่อง ตามที่ผ่านมาที่ผู้ประกอบการรายอื่นๆ ได้รับการคุ้มครองตามมาตรการคุ้มครองชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน”

         ประเด็นสองคือลูกค้าอาจได้รับผลกระทบบ้างช่วงเปลี่ยนผ่าน เราพยายามทำให้ดีที่สุด ช่วงนี้เป็นช่วงที่สำคัญเราจะตรงไปตรงมากับลูกค้าให้มากที่สุด ถึงแม้จะเป็นช่วงที่ท้าทายแต่ก็เป็นช่วงที่จะมองไปสู่การปรับเปลี่ยนองค์กรที่มุ่งสู่การให้ความสำคัญกับลูกค้าให้มากยิ่งขึ้น ดีแทคจะขยายโครงข่ายการบริการทั้งคลื่น 2100 MHz และบริการบนคลื่น 2300MHz ของทีโอที เพื่อให้มั่นใจว่าลูกค้าได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

         อเล็กซานดรา  กล่าวเพิ่มเติมว่า “การเข้าสู่มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทานนั้นยังเป็นการทำรายได้ให้กับรัฐ ตามข้อกำหนดจะเห็นได้ว่าผู้ให้บริการไม่สามารถแสวงหาผลประโยชน์จากมาตรการดังกล่าวได้ อีกทั้งตามประกาศ กสทช ยังกำหนดให้รายได้ระหว่างการให้บริการในระยะเวลาคุ้มครองจะต้องเป็นของรัฐ ผู้ให้บริการเป็นเพียงผู้รับรายได้แทนรัฐเท่านั้น เมื่อได้รับรายได้มาผู้ให้บริการทำได้เพียงหักต้นทุนค่าใช้จ่าย และนำส่วนที่เหลือส่งเข้ารัฐเป็นรายได้ของแผ่นดินต่อไป จึงจะเห็นได้ว่าผู้ให้บริการไม่สามารถแสวงหาผลประโยชน์ใดๆ ในช่วงดูแลลูกค้า”

         อเล็กซานดราให้ข้อมูลว่าปัจจุบันยังมีลูกค้าที่ใช้โครงข่าย 850 MHz อยู่ประมาณ 400,000 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ผู้สูงอายุ ยังใช้โทรศัพท์รุ่นเก่า ซึ่งต้องใช้เวลาในการโอนย้ายเครือข่ายตามความต้องการของลูกค้า

         แม้จะเข้ามารับตำแหน่งในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านขององค์กรแต่ซีอีโอคนใหม่ดีแทคก็มองว่าเป็นโอกาสดีในการปรับองค์กรโดยเน้นการให้ความสำคัญกับลูกค้ามากขึ้นแบบ outside in ปรับกระบวนการทำงานให้สนองความต้องการของลูกค้ามากขึ้น เธอบอกว่าจะมาทำให้ดีแทคแข็งแกร่งอีกครั้งหนึ่ง นำเสนอบริการที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า โดยมีการตั้งหน่วยงานพิเศษที่รวบรวมพนักงานจากหลายแผนกมาทำงานเป็นทีมลดความเป็นไซโลในการทำงานลง เพื่อคิดหาวิธีบริการใหม่ๆ

         และเมื่อมีคำถามถึงการแข่งขันในอุตสาหกรรมเธอมองว่าเหมือนกับการวิ่งแข่งระยะสั้นที่หากมัวแต่หันไปมองคู่แข่งก็คงแพ้แน่นอน แต่หากมุ่งมั่นวิ่งไปข้างหน้าก็มีโอกาสที่จะชนะรออยู่ เป็นบทสรุปมุมมองที่น่าสนใจของซีอีโอหญิงคนใหม่ของดีแทคคนนี้

X

Right Click

No right click