“APO” บมจ. เอเชียนน้ำมันปาล์ม หุ้นน้องใหม่ไฟแรง นำทัพโดย CEO หนุ่มหล่อ สิทธิภาส อุดมผลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร APO พร้อมด้วย FA ระดับเทพ สมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แห่ง APM ควง ดร. วรนันท์ ถาวรนันท์ กรรมการผู้จัดการ KFS ผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้น เปิดจองซื้อหุ้น IPO 25 - 27 มีนาคมนี้ เตรียมเทรดตลาดหลักทรัพย์ mai วันแรก 2 เม.ย. 67

ชูจุดเด่นความเชี่ยวชาญการสกัดน้ำมันปาล์มดิบกว่า 40 ปี พร้อมด้วยโครงการ Asian Plus+ ให้ความรู้เกษตรกร ตัดผลปาล์มคุณภาพสูง ให้เปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง ปริมาณการขายเพิ่มขึ้น ส่วนฐานะทางการเงินอย่างแจ่ม สภาพคล่องอยู่ในระดับดี D/E Ratio เพียง 0.4 เท่า กำไรสะสมอีก 117 ล้านบาท พร้อมทุกด้านที่จะขยายการเติบโตในอนาคต

ที่สำคัญราคาหุ้นโคตรดี เพียง 0.99 บาทต่อหุ้น P/BV แค่ 1 เท่า ใครได้ไปเท่ากับว่ามีต้นทุนเดียวกับเจ้าของที่ทำมากว่า 40 ปี แถมยังอุ่นใจผู้ถือหุ้นเดิมสมัครใจ Lockup หุ้นเดิม 99.96% เป็นเวลา 6 เดือน ไม่ต้องกลัวการเทขายในวันเทรด นักลงทุนวางใจได้เลย

ก.ล.ต. นับหนึ่งคำขอ เพชรศรีวิชัย เอ็นเตอร์ไพรส์ หรือ “PCE” ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) กลุ่มธุรกิจหลัก คือ อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มแบบครบวงจร เตรียมเสนอขายหุ้น IPO 750 ล้านหุ้น ระดมทุนเดินหน้าเข้า SET ขึ้นแท่นผู้นำด้านธุรกิจน้ำมันปาล์มและระบบซัพพลายเชนครบวงจร

 

นายสมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัท เพชรศรีวิชัย เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PCE เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เริ่มนับหนึ่งแบบแสดงคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกการเสนอขายหลักทรัพย์ เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งแรกต่อประชาชน (IPO) ของ PCE เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2567 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ด้วยประสบการณ์ในธุรกิจน้ำมันปาล์มมากกว่า 40 ปี ทำให้ PCE ได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรมเป็นอย่างดี และด้วยวิสัยทัศน์ของ PCE ที่มุ่งมั่นและต้องการขยายธุรกิจน้ำมันปาล์มและระบบซัพพลายเชนให้ครบวงจร เพื่อรองรับการเติบในอนาคต จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริษัทเป็นผู้นำในธุรกิจและอุตสาหกรรม และสร้างความน่าสนใจให้กับนักลงทุน

นายสุพล ค้าพลอยดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวเสริมว่า ปัจจุบัน PCE มีทุนจดทะเบียน 2,750 ล้านบาท เป็นทุนชำระแล้ว 2,000 ล้านบาท โดยเตรียมเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก จำนวน 750 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 1 บาท ซึ่งคิดเป็น 27.27% ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดที่ออกและจำหน่ายแล้วของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้ และจะนำหุ้นสามัญทั้งหมดเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ SET กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (AGRO) หมวดธุรกิจการเกษตร (AGRI)

นายประกิต ประสิทธิ์ศุภผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เพชรศรีวิชัย เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PCE เปิดเผยว่า การระดมทุนและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ SET ถือเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือให้กับ PCE ในการต่อยอดธุรกิจพร้อมขยายโอกาสทางธุรกิจให้เติบโตต่อเนื่องและยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมปาล์มครบวงจรในอนาคต

สำหรับวัตถุประสงค์ในการระดมทุน บริษัทจะนำไปลงทุนในกิจการอื่นที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจโรงงานผลิตน้ำมันไบโอดีเซล (B100) ของบริษัท เช่น โรงสกัดน้ำมันปาล์ม รวมถึงลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต และควบคุมต้นทุน อีกทั้งเพื่อต่อยอดหรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ของบริษัท ส่วนที่เหลือใช้เป็นทุนหมุนเวียนในกิจการ

PCE ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ในธุรกิจอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มแบบครบวงจร ที่มีความพร้อมการจัดการระบบซัพพลายเชน (Supply Chain) โดยแบ่งได้เป็น 1) กลุ่มธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำมันปาล์ม น้ำมันไบโอดีเซล และน้ำมันปาล์มโอเลอีนเพื่อการบริโภค ซึ่งรวมถึงการซื้อน้ำมันปาล์มและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาจำหน่ายต่อให้กับลูกค้าทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ 2) กลุ่มธุรกิจให้บริการคลังสินค้าและท่าเทียบเรือ 3) กลุ่มธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางรถ และ 4) กลุ่มธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือ

“บริษัทตั้งเป้าจะเป็นผู้นำธุรกิจน้ำมันปาล์มและน้ำมันพืชอื่นแบบครบวงจร มีมาตรฐานด้านคุณภาพและบริการเป็นอันดับหนึ่งของประเทศและก้าวสู่ระดับสากล PCE มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างการเติบโตและความยั่งยืนทางธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต พร้อมทั้งส่งมอบบริการและสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย และยกระดับการบริหารจัดการองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ภายใต้หลักธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม” นายประกิตกล่าวเพิ่มเติม

ปัจจุบันบริษัทย่อยภายในกลุ่ม PCE ประกอบด้วย

· บริษัท นิว ไบโอดีเซล จำกัด ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่าย น้ำมันไบโอดีเซล น้ำมันปาล์มดิบ น้ำมันปาล์มกึ่งบริสุทธิ์ และน้ำมันพืชสำหรับการบริโภค ภายใต้ตราสินค้า “รินทิพย์”

· บริษัท ปาโก้เทรดดิ้ง จำกัด ประกอบธุรกิจซื้อขายน้ำมันปาล์มดิบ น้ำมันเมล็ดในปาล์ม เมล็ดในปาล์ม และผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากปาล์ม โดยจัดจำหน่ายให้กับลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ

· บริษัท พี.เค. มารีน เทรดดิ้ง จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการคลังสินค้าและท่าเทียบเรือ มีพื้นให้บริการกว่า 50,000 ตร.ม. และมีคลังน้ำมันจำนวน 58 แทงค์ที่สามารถรองรับปริมาณการจัดเก็บได้ถึง 240,000 ตัน โดยมีท่าเทียบเรือทั้งในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดฉะเชิงเทรา (อ.บางปะกง)

· บริษัท เพชรศรีวิชัย จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางบกภายในประเทศซึ่งมีรถให้บริการมากกว่า 150 คัน เพื่อขนส่งน้ำมันปาล์ม รวมถึงสินค้าแห้งและอื่นๆ

· บริษัท พี.ซี. มารีน (1992) จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือ ทั้งในและต่างประเทศ โดยมีขนาดเรือ 1,800 – 3,100 ตัน ซึ่งสามารถขนส่งได้ทั้งของแห้งและของเหลว รวม 13 ลำ

สิงห์ เอสเตท รายงานรายได้รวมจากการขายและการบริการสำหรับปี 2566 จำนวน 14,675 ล้านบาท โดยรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ เติบโตเด่นถึง 42% ด้วยแรงส่งสำคัญจากการเปิดตัว 5 โครงการ มูลค่ารวม 10,000 ล้านบาท มั่นใจปี 2567 โตแรงจากสินค้าพร้อมขายในระดับสูง ขณะที่รายได้จากธุรกิจให้บริการปรับตัวเพิ่มขึ้น 11% จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่เติบโต ซึ่งส่งผลให้ระดับรายได้เฉลี่ยต่อห้อง (RevPAR) ของโรงแรมในปี 2566 เพิ่มขึ้นถึง 23% แรงส่งสำคัญคือการปรับอัตราค่าห้องพักเฉลี่ย (ADR) ที่โดดเด่นจากการปรับปรุงโรงแรมตามแผนและความสามารถในการดึงดูดลูกค้าตลาดใหม่

บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) ประกาศรายได้รวมเติบโตขึ้น 17% สู่จำนวน 14,675 ล้านบาท และกำไรสำหรับปี 2566 จำนวน 240 ล้านบาท พร้อมเตรียมจ่ายปันผลสำหรับผลดำเนินงานประจำปี 2566 จำนวน 0.015 บาท ต่อหุ้น ซึ่งจะขึ้นเครื่องหมาย XD ในวันที่12 มีนาคม 2567 และกำหนดวันจ่ายเงินปันผลวันที่ 24 พฤษภาคม 2567 ทั้งนี้ สิทธิในการรับเงินปันผล ขึ้นอยู่กับการอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566

สำหรับรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทฯ จำนวน 3,638 ล้านบาท เติบโตก้าวกระโดดถึง 42% ซึ่งประกอบด้วย (1) ยอดโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์เพื่อการพักอาศัยจำนวน 3,416 ล้านบาท ปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากการการรับรู้รายได้เต็มสัดส่วน จำนวน 919 ล้านบาท จากโครงการดิ เอส สุขุมวิท 36 ภายหลังสิงห์ เอสเตท เข้าถือหุ้น 100% เพื่อรองรับโอกาสการฟื้นตัวของดีมานด์กลุ่มคอนโดมิเนียม และการเปิดตัวโครงการบ้านแนวราบใหม่ โดยเฉพาะโครงการพร้อมโอน “ลาซัวว์ เดอ เอส” โครงการ Flagship Cluster Home ระดับอัลตร้าลักชัวรี่ และ “โครงการสริน ราชพฤกษ์ สาย 1” บ้านแนวราบระดับลักชัวรี่ ซึ่งสามารถรับรู้รายได้ทันทีในปีจำนวนรวมประมาณ 900 ล้านบาท และ (2) การรับรู้ค่าเช่าของโครงการสิงห์ คอมเพล็กซ์ ตามสัญญาเช่าพื้นที่ระยะยาวจำนวน 175 ล้านบาท

ในขณะที่รายได้จากการให้บริการของบริษัทฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 11% มีสาเหตุสำคัญมาจากรายได้ของธุรกิจโรงแรมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 12% สู่จำนวน 9,701 ล้านบาท หนุนจากทั้งอัตราการเข้าพักเฉลี่ยของโรงแรมซึ่งคำนวณเฉพาะห้องพักที่เปิดให้บริการของบริษัท อยู่ที่ 68% ปรับเพิ่มขึ้น 8% จากปีก่อนหน้า ด้วยการปรับแผนการตลาดอย่างมีประสิทธิผล มุ่งเน้นการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพ นอกจากนี้ บริษัทฯ พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของโรงแรมอยู่เสมอ โดยเฉพาะความสำเร็จสำคัญจากการปรับปรุงโรงแรมตามแผน ส่งผลให้อัตราค่าห้องพักเฉลี่ยต่อคืน (ADR) ที่ระดับ 5,675 บาท ปรับเพิ่มขึ้น 9% จากปีก่อน สำหรับรายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์จำนวน 1,060 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4% จากการทยอยรับรู้รายได้ตามการส่งมอบพื้นที่เช่าของอาคารเอส โอเอซิส (S-OASIS)

นางฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ ‘S’ เปิดเผยว่า “จากความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจที่เป็นเลิศ ความสำเร็จของการพัฒนาโครงการอสังหาฯ และการปรับปรุงประสิทธิภาพของ Portfolio อย่างเข้มข้นในปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ในปี 2566 บริษัทฯ บันทึกรายได้ในระดับสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ควบคู่กับการคุมต้นทุนต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับช่วงการขยายธุรกิจและเปิดตลาดใหม่ ส่งผลให้เรามีผลกำไรสุทธิในปี จำนวน 240 ล้านบาท ด้วยความพร้อมทางการเงินและประสบการณ์ที่จะขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนและให้เป็นไปตามแผนธุรกิจที่วางไว้ รวมถึงการเดินหน้าสร้างผลประกอบการที่แข็งแกร่ง เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีอย่างต่อเนื่องให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยในปีนี้ เราประกาศจ่ายปันผลการดำเนินงานดังกล่าวเป็นเครื่องยืนยันความสำเร็จจากการปรับตัวทางธุรกิจ ทำให้เราสามารถช่วงชิงโอกาสได้ทันกับการฟื้นตัวของธุรกิจที่พักอาศัยและโรงแรม ทั้งนี้ บริษัทฯ เห็นสัญญาณการเติบโตของธุรกิจที่ชัดเจนในช่วงไตรมาส 4 ปี 2566 ต่อเนื่องมาจนถึงช่วงต้นปีนี้ เราจึงเชื่อมั่นว่าแรงส่งจากการตอบรับที่ดีของตลาดต่อผลิตภัณฑ์ของสิงห์ เอสเตท ผนวกกับพัฒนาการสำคัญต่างๆ ที่เราได้สร้างไว้ในปี 2566 นี้ จะเป็นแหล่งรายได้สำคัญให้กับผลประกอบการในปี 2567 โดยอธิบายได้ตามหมวดธุรกิจ ดังนี้

ธุรกิจที่พักอาศัย: เราเห็นกิจกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่เร่งตัวขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปี ที่จำนวน 1,734 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นกว่า 50% ของยอดโอนทั้งปีมีแรงขับเคลื่อนหลักจากการรับรู้ Backlog ของโครงการศิรนินทร์ เรสซิเดนเซส และการรับรู้ยอดโอนของโครงการใหม่ สริน ราชพฤกษ์สาย 1 ที่มีมูลค่า 3,700 ล้านบาท ซึ่งพึ่งเปิดตัวในต้นไตรมาส 4 ที่ผ่านมา และได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดี พร้อมมียอดโอนกรรมสิทธิ์ทันทีกว่า 12% ของมูลค่าโครงการซึ่งเราเชื่อว่ายอดโอนของทั้งสองโครงการนี้ในปี 2567 จะสามารถปิดได้ตามเป้าหมายของเราที่ 2,000 ล้านบาท หนุนด้วยโครงการใหม่ SHAWN ทั้งสองทำเล ปัญญาอินทรา และวงแหวนจตุโชติ มีมูลค่าโครงการรวมกันราว 4,600 ล้านบาท ที่เปิดตัวอย่างไม่เป็นทางการไปในช่วงปลายปีที่แล้ว ซึ่งได้ความสนใจจากลูกค้าเป็นอย่างดี เสริมด้วยการเริ่มโอนกรรมสิทธิ์โครงการ The Extro พญาไทรางน้ำ ซึ่งคาดว่าจะพร้อมส่งมอบห้องชุดให้กับลูกค้าได้ตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไป และ ณ ปัจจุบัน มียอดขายรอรับรู้รายได้ของโครงการแล้วกว่า 1,200 ล้านบาท

ธุรกิจโรงแรม: เราเห็นสัญญานบวกที่แข็งแกร่งในปี 2567 จากจำนวนนักท่องเที่ยว และความเต็มใจในการใช้จ่ายสำหรับการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อาทิเช่น (1) โรงแรมในประเทศไทย ได้รับแรงสนับสนุนจากการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการปรับเพิ่มอัตราค่าห้องพักภายหลังการปรับปรุงตามแผน ทำให้ตอบโจทย์กับกระแสนิยมการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี สะท้อนอัตราการเข้าพักในเดือนมกราคมในปี 2567 ของโรงแรมทั้ง 4 แห่งในประเทศไทยสูงถึงกว่า 90% ประกอบกับแผนการปรับปรุงห้องพักทั้งหมดที่เราเตรียมทำเพิ่มในช่วง 2 ปีข้างหน้า จะสามารถผลักดันผลการดำเนินงานของโรงแรมในประเทศไทยให้เติบโตได้อย่างก้าวกระโดด (2) สัญญานการตอบรับอย่างดีของโรงแรม SO/ Maldives จากกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูง อาทิ ชาวรัสเซีย สหราชอาณาจักร และตะวันออกกลาง รวมถึงยอดจองห้องพักล่วงหน้าที่แข็งแกร่งตลอดช่วง High Season ของปี 2567 ของโรงแรม SAii Lagoon Maldives, Curio Collection by Hilton และ โรงแรม Hard Rock Hotel Maldives และ (3) ความต้องการท่องเที่ยวในสาธารณรัฐหมู่เกาะฟิจิที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากนักท่องเที่ยวชาวออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นตลาดหลัก รวมถึงศักยภาพในการเพิ่มอัตราค่าห้องพักภายหลังการปรับปรุงเสร็จสมบูรณ์ไปในช่วงเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ในเดือนมกราคมปี 2567 นี้ เราสามารถบริหารอัตราการเข้าพักเฉลี่ยสูงกว่า 70% และมีระดับ RevPAR ในเดือนมกราคม เติบโตขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 43% เป็นต้น

ธุรกิจอาคารสำนักงาน: บริษัทฯ มีแนวทางในการบริหารอาคารสำนักงานทุกแห่งเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการใช้พื้นที่อาคารสำนักงานที่เปลี่ยนแปลงไป และสามารถรักษาอัตราการปล่อยเช่าพื้นที่ (Occupancy rate) ได้เป็นอย่างดีท่ามกลางภาวะการณ์ต่างๆ รวมถึงการเพิ่มขึ้นของอัตราการเช่าพื้นที่ของอาคาร S-OASIS ในปี 2567 นี้จะขับเคลื่อนผลประกอบการของธุรกิจอาคารสำนักงานได้อย่างมั่นคง

ธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม: บริษัทคาดว่ารายได้จากธุรกิจนี้จะเติบโตโดดเด่นในปี 2567 จากกิจกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน สอดคล้องกับความสำเร็จในการพัฒนาที่ดินและระบบสาธารณูปโภค หนุนด้วยความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐ นอกจากนี้ การเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ของโรงไฟฟ้าทั้งสามแห่ง ซึ่งมีกำลังการผลิตรวมกว่า 400 เมกะวัตต์ และจะทำให้บริษัทมีรายได้ประจำจากการขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รวม 270 เมกะวัตต์

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการต่อยอดรากฐานทางธุรกิจอันมั่นคงที่ได้สร้างไว้ตลอดเวลาที่ผ่านมา บริษัทฯ จะเดินหน้ามุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพในการสร้างผลกำไรในปี 2567 ผ่านการขยายพอร์ตโฟลิโอ และยกประสิทธิภาพในการทำกำไร ได้แก่ (1) การเปิดตัวโครงการอสังหาฯ เพื่อการพักอาศัยต่อเนื่องที่ระดับ 10,000 ล้านบาท การเข้าซื้อที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการใหม่ๆ รวมถึงการช่วงชิงโอกาสจากเรียลดีมานด์ที่เติบโตผ่านการพัฒนาโครงการเอ็กซ์คลูซีฟ เรสซิเดนท์ ซึ่งเป็นโครงการระดับบน จำนวนยูนิตไม่มากอยู่โซนพื้นที่ใกล้เมืองและพื้นที่เมืองชั้นใน และการเปิดโอกาสเข้าร่วมลงทุนกับพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อเร่งการเติบโต (2) การมุ่งเน้นการลงทุนในโรงแรมที่เป็นสินทรัพย์คุณภาพ และการยกระดับประสบการณ์ท่องเที่ยวผ่านทางการบริการที่เฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้น (personalized experiences) รวมถึงนำเสนอ Brand Concept ใหม่ให้ตอบโจทย์ความต้องการและเทรนด์การท่องเที่ยวในระดับสากล (3) การมองหาโอกาสในการเข้าซื้อและควบรวมกิจการเพื่อสร้างความหลากหลายให้แก่พอร์ตโฟลิโอของบริษัทฯ และ (4) การปรับแผนการตลาดเชิงรุก เน้นกลุ่มธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโต และใช้ช่องทางการขายที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งจะช่วยผลักดันผลประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้า และธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมให้เติบโตต่อเนื่องได้

“เรามีความมั่นใจที่จะทำตามเป้าหมายในการสร้างรายได้ที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ต่อเนื่องอีกครั้งนึง ผนวกกับการควบคุมค่าใช้จ่าย พร้อมผลักดันอัตราการทำกำไรให้เติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้น และส่งมอบคุณค่าที่ยั่งยืนและรับผิดชอบให้กับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะพันธสัญญาที่จะพัฒนาสินค้าและบริการอันเป็นเลิศ เพื่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของลูกค้า ดั่งที่ สิงห์ เอสเตท ได้ทำมาด้วยดีแล้วตลอด ควบคู่ไปกับการรักษาวินัยทางการเงินที่ดี และการเตรียมความพร้อมในการเข้าถึงเครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสมที่สุดกับสภาวะตลาดในแต่ละช่วง เพื่อเพิ่มความพร้อมในการสนับสนุนการขยายการเติบโตและการทำกำไรให้กับบริษัทอย่างต่อเนื่อง” นางฐิติมา กล่าวเสริม

บมจ.ซินเน็ค (ประเทศไทย) หรือ SYNEX ดิสทริบิวเตอร์ผู้นำด้านไอทีอีโคซิสเต็ม เดินหน้าสร้างการเติบโตด้วยสินค้าและบริการครบวงจร ชูการบริหารจัดการ Product Mix ปรับสัดส่วนพอร์ตสินค้าที่หลากหลายตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ด้านผลงานปี 66 มีรายได้จากการขายและให้บริการอยู่ที่เกือบ 36,554 ล้านบาท กำไร 513 ล้านบาท ซึ่งเติบโตในกลุ่มสินค้าคอมเมอร์เชียล มือถือ และเกมมิ่ง ขณะที่กลุ่มคอนซูเมอร์ได้รับผลกระทบจากปัจจัยสภาวะตลาด แต่เชื่อมั่นว่าปีนี้จะกลับมาดีขึ้น ด้านบอร์ดไฟเขียว อนุมัติการจ่ายเงินปันผลในอัตราหุ้นละ 0.26 บาท กำหนดจ่ายวันที่ 8 พ.ค.นี้ หนุนทั้งปี 66 จ่ายเงินปันผลรวมในอัตราหุ้นละ 0.36 บาท ตอบแทนผู้ถือหุ้นที่เชื่อมั่น

นางสาวสุธิดา มงคลสุธี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ SYNEX เปิดเผยผลการดำเนินงานปี 2566 ได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี บริษัทเน้นบริหารจัดการกลุ่มสินค้าให้มีประสิทธิภาพ โดยโฟกัสสินค้ากลุ่มคอมเมอร์เชียลที่เติบโตต่อเนื่อง ซึ่งมีสัดส่วนรายได้เป็น 22% จาก 20% ในปี 2565 และกลุ่มอุปกรณ์และเครื่องมือสื่อสารที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 40% จากปีก่อนอยู่ที่ 36% ขณะที่ สินค้ากลุ่มคอนซูเมอร์คาดสัดส่วนรายได้จะปรับลดลงอยู่ที่ 37% จากเดิม 42% เพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพิงกลุ่มสินค้าคอนซูเมอร์ที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง

สำหรับภาพรวมปี 2566 ซินเน็คฯ รายงานผลการดำเนินงาน มีรายได้จากการขายและให้บริการ 36,553.57 ล้านบาท ลดลง 6.47% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน โดยสามารถรักษาการเติบโตที่ดีของสินค้าในกลุ่มอุปกรณ์และเครื่องมือสื่อสารที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากยอดขายสินค้าแบรนด์ Apple และการเติบโตอย่างมากของสมาร์ทโฟนแบรนด์ HONOR ที่บริษัทฯ เป็นผู้จัดจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียว ที่มียอดขายมากกว่า 3 เท่า เมื่อเทียบกับปีก่อน สำหรับสินค้ากลุ่มคอมเมอร์เชียล ยังเติบโตจากกลุ่มสินค้าเน็ตเวิร์ค ทั้ง CISCO และ HUAWEI รวมถึงอุปกรณ์ IoT ในกลุ่มกล้องวงจรปิดทั้งในแบรนด์ HIKVISION และ DAHUA อย่างไรก็ดี บริษัทฯ ได้รับปัจจัยกระทบจากสภาวะโดยรวมของตลาดที่ส่งผลถึงกำลังซื้อของผู้บริโภค โดยเฉพาะสินค้าคอนซูเมอร์ ประเภทคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และผลิตภัณฑ์ประเภทอุปกรณ์ชิ้นส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก เป็นผลให้รายได้สินค้ากลุ่มนี้ลดลง 16.29% เมื่อเทียบกับปีก่อน

ด้านกำไรขั้นต้น อยู่ที่ 1,470.20 ล้านบาท มีอัตรากำไรขั้นต้นเท่ากับ 4.02% ลดลงจากปีก่อน 4.60% ซึ่งสาเหตุหลักมาจากอัตรากำไรขั้นต้นที่ลดลงในเกือบทุกกลุ่มสินค้า ทำให้ผู้จัดจำหน่ายมีข้อจำกัดในการกำหนดราคาขายของสินค้า อย่างไรก็ดีบริษัท ได้ปรับแผนกลยุทธ์ในการมุ่งเน้นและเพิ่มกลุ่มสินค้าที่มีอัตราการทำกำไรที่สูงขึ้น เช่น สินค้ากลุ่มเกมมิ่ง เป็นต้น เพื่อให้สามารถดำรงอัตรากำไรขั้นต้นให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและแข่งขันได้

 สำหรับกำไรสุทธิ อยู่ที่ 513.3 ล้านบาท ลดลง 302.77 ล้านบาท หรือ 37.10% เมื่อเทียบกับปีก่อน สาเหตุจาก ยอดขายและกำไรที่ลดลงจากสภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง และการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย เนื่องจากการขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายทำให้บริษัทมีต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นตามไปด้วย รวมถึงกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ลดลงจากความผันผวนอย่างมากของค่าเงินบาท ซึ่งบริษัทฯ ยังคงประเมินความเสี่ยงและติดตามสถานการณ์ดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนอย่างใกล้ชิด และใช้เครื่องมือทางการเงินต่างๆในการป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อลดผลกระทบจากดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน

อย่างไรก็ดี ทิศทางภาพรวมกลุ่มสมาร์ทโฟนยังคงเติบโตเป็นไฮไลท์ที่น่าจับตามอง หลังจากในช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 แบรนด์ชั้นนำต่างๆ มีการเปิดตัวสินค้ารุ่นเรือธงที่นำมาซึ่งนวัตกรรมใหม่ๆ และเทรนด์ AI Phone ที่เขย่าตลาดสมาร์ทโฟนได้อย่างน่าสนใจ และกลุ่มสินค้าคอมเมอร์เชียล (Commercial) ที่มองว่า จะยังรักษาการเติบโตที่ดี ส่วนสินค้ากลุ่มคอนซูเมอร์ (Consumer) แม้ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจในปี 2566 กำลังซื้อลดลง แต่มองว่า ยังคงเป็นสินค้าจำเป็นและมีความต้องการเข้ามาตามยุคสมัยและความก้าวหน้าของเทคโนโลยี จึงมองว่า ในปี 2567 สินค้ากลุ่มนี้มีโอกาสที่จะกลับมาฟื้นตัว โดยโค้งแรกของปีได้รับอานิสงส์จากโครงการกระตุ้นของภาครัฐต่างๆ อาทิ โครงการลดหย่อนภาษี (Easy E-receipt) ในไตรมาส 1/2567 และโครงการอื่นๆในอนาคตที่คาดว่าจะเข้ามาช่วยเพิ่มกำลังซื้อของผู้บริโภคให้เติบโตได้ และด้วยรากฐานธุรกิจที่มีความแข็งแกร่งของซินเน็คฯ และความเชื่อมั่นภายใต้ตราสัญลักษณ์ “Trusted By Synnex” ที่รับประกันสินค้าไอทีกว่า 70 แบรนด์ชั้นนำระดับโลก ครอบคลุมทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ด้วยศูนย์บริการทั่วประเทศที่ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่า เมื่อซื้อสินค้าของซินเน็คฯ จะอุ่นใจได้ตลอดการใช้งานอย่างแน่นอน

“ในปี 2567 นี้ ซินเน็คฯ มองว่าเป็นอีกปีที่ท้าทายในการบริหารงานในช่วงการฟื้นตัวของเศษฐกิจและภาพรวมของอัตรากำไรขั้นต้นของสินค้าไอที แต่เราก็คาดว่าน่าจะเห็นทิศทางที่ดีขึ้น จากการปรับกลยุทธ์การบริหาร Product Mix เพื่อปิดความเสี่ยง อีกทั้งการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ไอทีของผู้บริโภคตามอายุการใช้งานตั้งแต่ช่วงของโควิด-19 และอัพเดตสินค้าตามเทรนด์ต่างๆ ซึ่งเราพร้อมเดินหน้าอย่างเต็มที่เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าของเรา และนำมาซึ่งการเติบโตตามเป้าหมายที่ตั้งไว้” นางสาวสุธิดา กล่าวทิ้งท้าย

ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ อนุมัติการจ่ายเงินปันผลประจำปี 2566 ในอัตราหุ้นละ 0.36 บาท คิดเป็นเงินปันผลรวมทั้งสิ้น 305.05 ล้านบาท ทั้งนี้บริษัทฯ ได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลสำหรับงวด 6 เดือนแรกของปี 2566 ไปแล้วเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2566 ในอัตราหุ้นละ 0.1 บาท โดยจะจ่ายปันผลส่วนที่เหลือ ในอัตราหุ้นละ 0.26 บาท ซึ่งกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับปันผล (Record date) ในวันที่ 20 มีนาคม 2567 และวันที่ไม่ได้รับสิทธิปันผล (XD) วันที่ 19 มีนาคม 2567 และจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้นในวันที่ 8 พฤษภาคม 2567 ทั้งนี้สิทธิในการรับเงินปันผลดังกล่าวยังมีความไม่แน่นอน เนื่องจากต้องรอการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นก่อน ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 23 เมษายน 2567

SAWAD ปิดงบปี 66 ทำกำไรสุทธิรวม 5,254 ล้านบาท พอร์ตสินเชื่อจ่อพุ่งทะยานสู่ 100,000 ล้านบาท หลังควบรวมสินเชื่อเงินสดทันใจ ด้านผู้บริหาร ธิดา แก้วบุตตา ชี้ปี 67 เป็นขาขึ้นเต็มตัว จากแนวโน้มดอกเบี้ยขาลงหนุนต้นทุนทางการเงินลด คุณภาพสินทรัพย์ดีขึ้น พร้อมเบรกความเสี่ยงผ่านการให้สินเชื่ออย่างมีคุณภาพมากขึ้น เพื่อคุมระดับ NPLs ตามกรอบ 3-4% ตั้งเป้าปีมังกรรุกตลาดอาเซียนและดันพอร์ตสินเชื่อขยายตัวอย่างต่ำ 20% ส่วนบอร์ดอนุมัติปันผลประจำปี 66 เป็นหุ้นด้วยอัตราส่วน 10 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นปันผล รอผู้ถือหุ้นไฟเขียว พร้อมจ่าย 23 พฤษภาคมนี้

ธิดา แก้วบุตตา ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์องค์กร บริษัท ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SAWAD เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานประจำปี 2566 ของบริษัทและบริษัทย่อย (สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566) มีกำไรสุทธิรวม 5,254 ล้านบาท โดยบริษัทมีรายได้ดอกเบี้ยราว 15,743.7 ล้านบาท และรายได้อื่นราว 3,170.8 ล้านบาท รวมรายได้อยู่ที่ 18,914.5 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่า 54% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้การเติบโตในปี 2566 มาจากธุรกิจหลักสามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมาย รวมถึงการควบรวมกิจการของบริษัท เงินสดทันใจ จำกัด ส่งผลให้รับรู้รายได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ผลักดันพอร์ตสินเชื่อทั้งปีขยายตัวสูงที่ระดับ 98,569 ล้านบาท อีกทั้งค่าใช้จ่ายสำรองลดลงเนื่องจากการบันทึกค่าใช้จ่ายสำรองพิเศษเพียงครั้งเดียวในช่วงไตรมาสที่ 2/2566 จึงสนับสนุนให้ทั้งปีมีรายได้และกำไรสุทธิเติบโตอย่างต่อเนื่องตามแผนงานที่วางไว้

ขณะที่ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 4/2566 มีรายได้ดอกเบี้ย 4,546 ล้านบาท และรายได้อื่นอยู่ที่ 769 ล้านบาท รวมรายได้อยู่ที่ 5,313 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 42% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้วยขนาดของสินเชื่อคงเหลือที่มีการเติบโตอย่างมั่นคง

“ปี 66 เป็นปีที่เราได้ปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นกว่าช่วงโควิด อีกทั้งยังได้ซื้อคืนเงินสดทันใจเพื่อมาบริหารธุรกิจต่อ จึงทำให้พอร์ตสินเชื่อรวมของปีนี้โตขึ้นจากปีก่อนเป็นอย่างมาก และในปี 67 เรายังคงเดินหน้าปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นโดยยึดหลักเกณฑ์แบงก์ชาติในการให้สินเชื่อด้วยความรับผิดชอบและเป็นธรรม ดังนั้นพอร์ตสินเชื่อปีนี้จะอยู่ในอัตราเติบโต 20-30% และคุมเอ็นพีแอลให้อยู่ในช่วง 3-4% ซึ่งเป็นระดับปกติของเครือศรีสวัสดิ์ในช่วงที่มีการปล่อยสินเชื่อเพิ่ม ส่วนปัจจัยหนุนคาดว่าปีนี้จะได้อานิสงส์ที่อัตราดอกเบี้ยเป็นขาลง ทำให้ต้นทุนทางการเงินของบริษัทลด กอร์ปกับคุณภาพหนี้ที่ดีมากยิ่งขึ้นของพอร์ตโดยรวม ขณะเดียวกันมีโอกาสขึ้นอัตราดอกเบี้ยในบางผลิตภัณฑ์และเริ่มกลับมาโฟกัสในการขยายฐานลูกค้าในกลุ่มอาเซียนเพิ่ม ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะหนุนให้ผลการดำเนินงานในปี 67 ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ” ธิดา กล่าว

ทั้งนี้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติจัดสรรกำไรประจำปี 2566 ด้วยการจ่ายปันผลเป็นหุ้นในอัตรา 10 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นปันผล โดยกำหนดเสนอที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 เพื่อขออนุมัติจากที่ประชุม โดยหากที่ประชุมอนุมัติ บริษัทจะดำเนินการกำหนดขึ้นเครื่องหมาย XD ในวันที่ 8 พ.ค. 2567 และจ่ายปันผลในวันที่ 23 พ.ค. 2567

Page 1 of 7
X

Right Click

No right click