ดีลอยท์ ประเทศไทย ผนึก SME D BANK และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผ่านบริการจาก LiVE Platform จัดโครงการ ‘Incubation Program – Road to LiVE’ หลักสูตรเสริมแกร่งสำหรับ SMEs และ Startups เพื่อเตรียมความพร้อมก้าวสู่ตลาดทุนและสร้างโอกาสในการเติบโต พร้อมโอกาสรับเงินทุนสนับสนุนการดำเนินโครงการฯ จากกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) สูงสุด 50,000 บาท

นายวัลลภ วิไลวรวิทย์ Audit & Assurance Partner ดีลอยท์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้รับเกียรติร่วมเป็นที่ปรึกษาโครงการ Incubation Program - Road to LiVE หรือเส้นทางเตรียมความพร้อมสู่ตลาดทุน ซึ่งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ร่วมกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D BANK) จัดขึ้นเพื่อเสริมความพร้อมที่สำคัญให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางถึงขนาดย่อม (SMEs) และสตาร์ตอัพไทย (Startups) ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีแผนจะเข้าระดมทุนผ่านตลาดทุน ได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ (LiVEx) ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เพื่อสร้างโอกาสการเติบโตให้กับธุรกิจ

ความร่วมมือครั้งนี้ ดีลอยท์ ได้ส่งทีมงานผู้เชี่ยวชาญร่วมให้คำปรึกษา แนะนำแนวทางให้ SMEs และ Startups ที่เข้าร่วมโครงการ สามารถพัฒนาเรียนรู้การสร้างเส้นทางธุรกิจ และสามารถเตรียมความพร้อมในการระดมทุนผ่านกลไกตลาดทุนได้ตามวัตถุประสงค์ หลักสูตรดังกล่าวจัดขึ้นในวันที่ 26 - 27 มีนาคม 2567 "ผู้ที่เข้าร่วมโครงการ “Incubation Program - Road to LiVE” ได้เรียนรู้ 4 เรื่องสำคัญคือ การบ่มเพาะเส้นทางธุรกิจ (Incubation) เริ่มต้นการเปลี่ยนแปลง (Driving Change), การสำรวจและวางแผนระบบงาน (Explore) และการสร้างแรงบันดาลใจเพื่อต่อยอดธุรกิจ (Aspiration) จากผู้เชี่ยวชาญ หลักสูตรการอบรมครอบคลุมตั้งแต่การปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจสู่ธุรกิจมหาชน การทำแผนธุรกิจ การกำหนดการควบคุมภายใน รวมถึงการดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนอีกด้วย” นายวัลลภ กล่าว

นายโมกุล โปษยะพิสิษฐ์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D BANK) กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า SME D Bank ร่วมมือกับพันธมิตรอย่างดีลอยท์ มาอย่างต่อเนื่องในการสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs และ Startups ให้เตรียมความพร้อมในการเพื่อก้าวเข้าสู่ตลาดทุน ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับสิทธิพิเศษในการเข้าเป็นสมาชิก DX by SME D Bank สามารถเข้าถึงห้องเรียนผู้ประกอบการออนไลน์ ซึ่งจะให้ความรู้โดย Exclusive Coach และได้รับสิทธิเข้าร่วมกิจกรรม “โอกาสธุรกิจสู่ Global Market” พร้อมสิทธิประโยชน์อื่นอีกมากมาย นอกจากนี้ ยังมีโอกาสได้รับเงินทุนสนับสนุนการดำเนินโครงการ จากกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) สูงสุดไม่เกิน 50,000 บาทอีกด้วย นายประพันธ์ เจริญประวัติ ผู้ช่วยผู้จัดการสายงานผู้ออกหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ และ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ กล่าวว่า “ตลาดหลักทรัพย์ฯ ส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs และ Startups เพิ่มศักยภาพการดำเนินธุรกิจ ผ่านบริการจาก LiVE Platform แพลตฟอร์มที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจ พัฒนาธุรกิจให้เติบโต เตรียมความพร้อมในการเข้าถึงแหล่งทุนในตลาดทุน และโครงการ Incubation Program – Road to LiVE เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาผู้ประกอบการ (LiVE Academy) โดยหวังว่าบริษัทที่เข้าร่วมโครงการนี้จะได้เรียนรู้กลไกการระดมทุน และการเตรียมพร้อมระบบงานที่สำคัญเพื่อสร้างโอกาสการเติบโตให้ธุรกิจ และเข้าร่วมเป็นสมาชิกในฐานะบริษัทจดทะเบียนที่มีคุณภาพในตลาดหลักทรัพย์ LiVEx – mai - SET ได้ต่อไป

บริษัท ณุศาศิริ จำกัด (มหาชน) ได้ทำหนังสือชี้แจงเบื้องต้นตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ออกหนังสือฉบับลงวันที่ 12 มีนาคม 2567 ขอให้ชี้แจง กรณียอดเงินสดในบัญชีของบริษัทฯ เปรียบเทียบกับหนี้สินที่จะครบกำหนดชำระในระยะเวลา 1 ปี

นายวิษณุ เทพเจริญ ประธานกรรมการบริษัท บริษัท ณุศาศิริ จำกัด (มหาชน) ฝ่ายบริหารของบริษัทฯได้ทำหนังสือแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ว่า “ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 ตามข้อมูลในรายงานงบการเงินบริษัทฯ มีอัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ คิดเป็นร้อยละ 0.58 ซึ่งคำนวณจากราคาสินทรัพย์ประเภทที่ดินของบริษัท ในราคาทุน โดยราคาตลาดของที่ดินมีราคาสูงกว่าราคาทุนมาก อาทิ ที่ดินที่เขาใหญ่ หรือสัตหีบ โดยล่าสุด หุ้นกู้ของบริษัท NUSA242A ซึ่งครบกำหนด วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 ได้มีการชำระเงินต้นทั้งจำนวนแล้วเสร็จตามกำหนด

ทั้งนี้หุ้นกู้ของบริษัทฯและบริษัทในเครือ เป็นหุ้นกู้มีหลักประกันเป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในอัตราส่วนโดยเฉลี่ยสูงกว่า 1.2 เท่า ณ ปัจจุบัน โดยบริษัทมีการประมาณการกระแสเงินสดตลอดปี 2567 ที่เพียงพอต่อกำหนดการชำระหนี้ทุกประเภท ” นายวิษณุกล่าว

“เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) แจ้งว่าเคทีซีได้รับการประเมิน SET ESG Rating ระดับเรตติ้งสูงสุด AAA ในกลุ่มธุรกิจการเงิน และเป็นสมาชิกของดัชนี SETTHSI เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน ซึ่งสะท้อนความมุ่งมั่นในการพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน โดยเคทีซีจะมุ่งพัฒนาการดำเนินงานด้านความยั่งยืนในทุกมิติ โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และมีการบริหารงานตามหลักบรรษัทภิบาลที่ดี (Environmental, Social and Governance: ESG) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนต่อไป

ทั้งนี้ ในปี 2566 ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ยกระดับการประกาศผลประเมินหุ้นยั่งยืน (SET ESG Ratings) ในรูปแบบของการจัดเรตติ้งโดยแบ่งเป็น 4 ระดับ คือ AAA, AA, A และ BBB โดยคัดเลือกบริษัทจดทะเบียนที่มีคะแนนจากการตอบแบบประเมินความยั่งยืนผ่าน 50% ในแต่ละมิติ และผ่านเกณฑ์คุณสมบัติตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด เช่น มีผลกำไรสุทธิ 3 ใน 5 ปีย้อนหลัง ไม่เป็นบริษัทที่ถูกกล่าวโทษหรือได้รับการตัดสินความผิดจากหน่วยงานทางการ เป็นต้น โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ จะนำผลประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ไปใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกสมาชิกในดัชนี SETESG เพื่อส่งเสริมการลงทุนอย่างยั่งยืน และเพื่อช่วยให้ผู้ลงทุน นักวิเคราะห์การลงทุนและผู้จัดการกองทุน มีข้อมูลใช้ประกอบการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุนได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น

นายสิริวัฒน์ ธนุรเวท ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิริซอฟต์ จำกัด (มหาชน) หรือ SRS พร้อมด้วย ทีมผู้บริหารของบริษัทฯ และนางสาวเดือนพรรณ ลีลาวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไพโอเนีย แอดไวเซอรี่ จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน ร่วมนำเสนอข้อมูลในงานประชุมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ (Analyst Meeting) โชว์ศักยภาพ SRS ที่ปรึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับองค์กร ผ่านแนวทางการทำงานแบบ DevOps (Development & Operations) ที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง ชูผลการดำเนินงานปี 2563–2565 รายได้จากการขายและบริการเติบโตเฉลี่ย (CAGR) 137.37% พร้อมเดินหน้าขยายการเติบโต เสนอขายหุ้น IPO 40 ล้านหุ้น และนำบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ในหมวดธุรกิจเทคโนโลยี (Technology) โดยงานดังกล่าวจัดขึ้น ณ สำนักงานใหญ่ บมจ.สิริซอฟต์ เมื่อเร็วๆ นี้

ตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยยังคงเติบโตต่อเนื่อง โดยมีการคาดการณ์ว่าจะขยายตัวเฉลี่ยปีละ 13% ในช่วงปี 2022 - 2025 จนมีมูลค่าราว 32,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ธุรกิจต่าง ๆ ก้าวเข้าสู่โลกอีคอมเมิร์ซเพื่อหาโอกาสใหม่ ๆ ทั้งยังมีผู้ประกอบการรายใหม่เกิดขึ้นมากมาย ทั้งนี้ ผู้ค้าออนไลน์รายใหม่อาจจะยังขาดความรู้และประสบการณ์ ทั้งด้านการบริหารร้านค้าออนไลน์ การคำนวณต้นทุน การตั้งราคาขาย การบริหารคลังสินค้า และความรู้ด้านภาษี แม้ขายดีก็อาจจะขาดทุนได้

ดังนั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ Sea (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแพลตฟอร์มชั้นนำ ได้แก่ การีนา (Garena) ช้อปปี้ (Shopee) และซีมันนี่ (SeaMoney) จึงผสานความเชี่ยวชาญ จัดทำวิดีโอสั้น (video series) ชุด ‘Smart E-commerce Entrepreneur’ จำนวน 5 ตอน เพื่อเติมเต็มความรู้ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการออนไลน์ ผ่านเนื้อหาที่ถูกย่อยให้กระชับ เข้าใจง่าย และนำไปใช้ได้จริง ทั้งด้าน ‘การทำธุรกิจบนอีคอมเมิร์ซ’ และ ‘การเงินเพื่อธุรกิจออนไลน์’ (Financial literacy for online sellers)

นางพรรณวดี ลดาวัลย์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ มุ่งส่งเสริมการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนในทุกมิติ โดยมุ่งมั่นพัฒนาตลาดทุนให้เป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน ภายใต้วิสัยทัศน์ “To Make the Capital Market ‘Work’ for Everyone” โดยภารกิจหนึ่งที่สำคัญในด้านการส่งเสริมความรู้ผู้ประกอบการ คือ การพัฒนาองค์ความรู้และทักษะความเป็นผู้ประกอบการ ตลอดจนการเผยแพร่ความรู้เหล่านี้ไปยังกลุ่มเป้าหมาย ภายใต้แบรนด์ “ห้องเรียนผู้ประกอบการ” ผ่านสื่อความรู้ดิจิทัล e-Learning คลิปความรู้ วีดีโอซีรีส์ บทความและ Infographic กว่า 600 ชิ้น ซึ่งการได้ร่วมมือกับ Sea (ประเทศไทย) ในครั้งนี้ จะเป็นการผนึกกำลังความแข็งแกร่งของแต่ละองค์กร มาต่อยอดและขยายผลไปยังกลุ่มเป้าหมายในวงกว้าง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการออนไลน์ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง”

ดร.ศรุต วานิชพันธุ์ ผู้อำนวยการอาวุโส Sea (ประเทศไทย) กล่าวถึงการยกระดับความสามารถผู้ประกอบการบนแพลตฟอร์มช้อปปี้ (Shopee) ว่า “การเริ่มทำธุรกิจบนอีคอมเมิร์ซเป็นเรื่องง่าย ทั้งยังใช้ต้นทุนต่ำ ทำให้คนไทยหันมาเป็นผู้ประกอบการออนไลน์กันมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ดังนั้น Sea (ประเทศไทย) และช้อปปี้ (Shopee) ซึ่งเป็นธุรกิจ อีคอมเมิร์ซภายในเครือ จึงมุ่งให้ความรู้และส่งเสริมทักษะผู้ประกอบการให้กับผู้ค้าช้อปปี้มาโดยตลอด ปฏิเสธไม่ได้ว่า การทำธุรกิจในปัจจุบันมีการแข่งขันสูง และผู้ค้ารายใหม่อาจจะยังขาดความรู้ โดยเฉพาะในด้านการจัดการร้านค้า การคำนวณและบริหารต้นทุน การตั้งราคา การบริหารคลังสินค้า และภาษี ดังนั้น การร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ในครั้งนี้ จึงเป็นการผสานความเชี่ยวชาญ เพื่อตอบโจทย์ Pain Point ของผู้ประกอบการออนไลน์อย่างแท้จริง”

เนื้อหา 5 ตอน ประกอบไปด้วย

· EP1 โอกาสการขายผ่าน e-commerce

· EP2 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจ Ecommerce ประสบความสำเร็จ

· EP3 ตั้งราคาสินค้าอย่างไรให้เหมาะสมและไม่ขาดทุน

· EP4 จัดการ Stock สินค้าให้ดีทุนไม่จม

· EP5 ขายออนไลน์ต้องรู้ เสียภาษีอย่างไร

ผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ สามารถรับชม วิดีโอสั้นชุด ‘Smart E-commerce Entrepreneur’ ทั้ง 5 ตอน ได้ทาง Shopee University, SeaAcademy.co และ LiVE Platform by SET

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click