กรุงเทพฯ, ประเทศไทย – 23 มกราคม พ.ศ. 2567 – อโกด้า แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเดินทางท่องเที่ยว เผยข้อมูลการจองห้องพักช่วงเทศกาลตรุษจีนปี 2024 นี้ พบกรุงเทพฯ เป็นจุดหมายปลายทางต่างประเทศยอดฮิตอันดับ 1 ของนักท่องเที่ยว และไทยยังเป็นจุดหมายปลายทางต่างประเทศยอดฮิตอันดับ 2 อีกด้วย โดยเป็นรองเพียงญี่ปุ่นเท่านั้น

ข้อมูลการจองห้องพักของอโกด้ายังแสดงให้เห็นว่านักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย จีน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และญี่ปุ่นเป็น 5 อันดับแรกที่มาท่องเที่ยวในไทยมากที่สุดตามลำดับ นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2019 ที่จีนกลับเข้ามาอยู่ใน 5 อันดับแรก ส่วนจุดหมายปลายทางยอดฮิตในไทย 5 อันดับแรกสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต หาดใหญ่ พัทยา และเชียงใหม่ตามลำดับ

แม้การเฉลิมฉลองอย่างเป็นทางการจะมีขึ้นในวันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2024 แต่ปกติแล้วเทศกาลตรุษจีนมักขยายเวลาเป็นวันหยุดยาวในหลายประเทศทั่วทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในจีน ญี่ปุ่น (วันหยุดฤดูใบไม้ผลิ) และเวียดนาม (เต๊ด) ที่หยุดนานถึง 1 สัปดาห์ เทศกาลตรุษจีนถือเป็นช่วงเวลาท่องเที่ยวยอดนิยมช่วงหนึ่งสำหรับนักท่องเที่ยวจีน ปีนี้นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2019 ที่จีนติดอันดับ 3 ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด และกลับเข้ามาอยู่ใน 5 อันดับแรกของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางไปอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ไทย และเวียดนาม

นักท่องเที่ยวไทยเองก็ให้ความสนใจกับจุดหมายปลายทางต่างประเทศไม่น้อย โดยญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ ฮ่องกง และเวียดนามเป็นประเทศยอดฮิต 5 อันดับแรก ส่วนเมืองยอดฮิต 5 อันดับแรก ได้แก่ โตเกียว ไทเป โซล โอซาก้า และฮ่องกง

 

คุณเอนริก คาซาลส์, Associate Vice President Southeast Asia, อโกด้า กล่าวว่า “เทศกาลตรุษจีนเป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาสำคัญที่ผู้คนออกไปท่องเที่ยว และปีนี้ก็ไม่ต่างกัน ตั้งแต่ปี 2019 มา โรงแรมและจุดหมาย

ปลายทางต่าง ๆ ก็สร้างตัวเลือกให้ตัวเองน่าสนใจมากขึ้นในสายตานักท่องเที่ยวที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เช่น การไม่ต้องขอวีซ่า และสิ่งจูงใจอื่น ๆ ซึ่งนั่นทำให้พวกเขาไม่ต้องพึ่งพานักท่องเที่ยวจากแค่ประเทศเดียว และดึงดูดนักท่องเที่ยวจากประเทศอื่นได้ด้วยในขณะเดียวกัน แต่ในปีนี้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนั้นตั้งตารอต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวจีนมากขึ้นแน่นอน”

ในระดับภูมิภาค นักท่องเที่ยวต่างชาติส่วนมากมาจากเกาหลีใต้ สิงคโปร์ จีน ฮ่องกง และญี่ปุ่น โดยประเทศที่ได้ต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเหล่านี้มากที่สุด ได้แก่ ญี่ปุ่น ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม แสดงให้เห็นความหลากหลายของวัฒนธรรมและการพักผ่อน ส่วนเมืองต่าง ๆ เช่น กรุงเทพฯ โตเกียว โซล และโอซาก้า ยังคงมีเสน่ห์ในสายตานักท่องเที่ยว ซึ่งมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และเป็นเมืองอันอุดมสมบูรณ์ของภูมิภาค

แพลตฟอร์มของอโกด้ามีที่พักมากกว่า 3.9 ล้านแห่ง ตั๋วเครื่องบิน และกิจกรรมท่องเที่ยวต่าง ๆ มากมาย ตอบโจทย์ความต้องการด้านการเดินทางท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้คนได้อย่างดีเยี่ยม อโกด้าพร้อมมอบประสบการณ์การท่องเที่ยวที่ราบรื่นให้นักท่องเที่ยวทุกคนช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นในไทย หรือประเทศอื่น ๆ

 

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ปิดท้ายปี 2566 อย่างงดงามด้วยเทศกาลรับลมหนาวหรือ Thailand Winter Festival แบ่งเป็น 5 กิจกรรมเชิงวัฒนธรรม อาทิ การจัด ‘กิจกรรมสีสันแห่งสายน้ำ’ ส่งเสริมมหกรรมลอยกระทง รวมไปถึงการจัดงานวิจิตรเจ้าพระยา 2566, อะเมซิ่ง ไทยแลนด์ พาสปอร์ต พรีวิลเลจ, อเมซิ่ง ไทยแลนด์ มาราธอน แบงค็อก 2566, และอเมซิ่ง ไทยแลนด์ เคาท์ดาวน์ 2567 เพื่อจัดแสดงกิจกรรมต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ สะท้อนความรุ่งเรืองและงดงามของวัฒนธรรมไทย

 

เทศกาลรับลมหนาวในประเทศไทยนำเสนอเอกลักษณ์ของไทยผ่านมหกรรม ศิลปะ แสงสี การแสดงดนตรี และการเฉลิมฉลองเทศกาลวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่รอบเกาะรัตนโกสินทร์ที่มีชื่อเสียงของกรุงเทพฯ ททท. มองว่าการจัดเทศกาลนี้เป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริมเมืองหลวงแห่งวัฒนธรรมของประเทศอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

อีเว้นต์และเทศกาลในประเทศไทยส่วนใหญ่ถูกสืบทอดมาหลายศตวรรษ โดยส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดมาจากประเพณีท้องถิ่น คติชน และวิถีชีวิตแบบไทย สองเทศกาลเชิงวัฒนธรรมในไทยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวและเป็นที่รู้จักในสากล คือเทศกาลสงกรานต์ (ปีใหม่ไทย) และเทศกาลลอยกระทง

กิจกรรมอื่น ๆ รวมไปถึง งานไหว้ครูมวยไทยโลกซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ประเพณีปอยส่างลอง พิธีอุปสมบทโบราณที่จัดขึ้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน และเทศกาลบุญบั้งไฟอันเลื่องชื่อ ซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุดในหลายจังหวัดทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย อาทิ ร้อยเอ็ด ยโสธร และกาฬสินธุ์

กิจกรรมในจังหวัดบุรีรัมย์ ที่เพิ่งปิดฉากไปโดยผสมผสานวัฒนธรรมไทยในทุกองค์ประกอบของงานอย่าง ศึกโมโตจีพี โออาร์ ไทยแลนด์ กรังด์ปรีซ์ หนึ่งในกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมทั่วโลกได้สัมผัสกับวัฒนธรรมท้องถิ่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างแท้จริง โดยผู้จัดงานได้เลือก ‘หนุมาน’ พญาวานรจากวรรณคดีไทยเรื่องรามเกียรติ์ให้เป็นทูตวัฒนธรรมและธีมในการแข่งขัน

อิโก้ พูเทร่า (Iko Putera) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มงาน Transport ของ Traveloka กล่าวว่า "เรามองว่างานไทยแลนด์ กรังด์ปรีซ์ และการท่องเที่ยวเชิงกิจกรรมเป็นอีกช่องทางสำคัญในการยกระดับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย ในระหว่างการแข่งขันปี 2566 ที่ผ่านมา Traveloka มองเห็นความต้องการด้านที่พักและเที่ยวบินขาเข้ากรุงเทพฯ และบุรีรัมย์เพิ่มขึ้น จากข้อมูลภายในของเราธุรกรรมการจองโรงแรมเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าในช่วงสัปดาห์ของการแข่งขัน โดยเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดตั้งแต่วันที่ 27 ถึง 28 ตุลาคม 2566 และความต้องการส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในพื้นที่บุรีรัมย์ โดยเฉพาะอำเภอนางรอง”

 

ในส่วนของเที่ยวบิน Traveloka เห็นแนวโน้มเชิงบวกในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งส่วนใหญ่มาจากเที่ยวบินภายในประเทศ โดยมีบุรีรัมย์เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางหลัก และดอนเมืองเป็นต้นทางที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในช่วงสัปดาห์การแข่งขัน

(27-29 ตุลาคม 2566) พร้อมกับเที่ยวบินภายในประเทศโดยรวมสู่กรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นพร้อมกับจุดหมายปลายทางอื่น ๆ ในประเทศ เช่น ขอนแก่น อุบลราชธานี หาดใหญ่ นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี

ททท. ยังคงตั้งเป้าให้จุดหมายปลายทางที่กำลังพัฒนากลายเป็นปลายทางยอดนิยม เช่น บุรีรัมย์ เพื่อชูสุดยอดรสมือด้านการทำอาหารของประเทศไทย โดยได้ร่วมมือกับภาคเอกชนเปิดตัวแคมเปญ “เมนูเปิดประสบการณ์ใหม่ เมืองรองมิรู้ลืม”เพื่อเชิญชวนนักท่องเที่ยวมาเที่ยวเมืองรองอย่างบุรีรัมย์ และสัมผัสประสบการณ์เมนูอาหารท้องถิ่นไทยในระดับภูมิภาค

อีเว้นต์ต่างๆ ช่วยให้ประเทศไทยมีการฟื้นตัวของท่องเที่ยวที่แข็งแกร่งในช่วงปี 2566 และตั้งเป้าที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวไปอีกขั้นในปี 2567 งานไทยแลนด์ กรังด์ปรีซ์ 2566 ได้แสดงให้เห็นถึงผลกระทบเชิงบวกด้านความต้องการที่พักและเที่ยวบิน ในขณะที่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยว เช่น ร้านค้า ธุรกิจค้าปลีก ร้านอาหาร และสถานที่ทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นก็ได้รับประโยชน์จากการเข้าชมที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน

Traveloka ดำเนินงานเพื่อก้าวนำเทรนด์ของตลาดและความต้องการของลูกค้า โดยบริการทางเลือกการเดินทางที่ง่ายและยืดหยุ่นพร้อมวิธีการชำระเงินที่หลากหลาย ช่วยให้บริษัทสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับธุรกิจท่องเที่ยวไทยที่ได้รับประโยชน์จากการแข่งขัน ไทยแลนด์ กรังด์ปรีซ์ 2566 ที่จัดขึ้นก่อนเริ่มฤดูกาลท่องเที่ยวตามปกติของประเทศไทย

"Traveloka ให้บริการนักเดินทางจำนวนหลายล้านคนทุกวัน และมีส่วนในการช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยด้วยการขับเคลื่อนนวัตกรรม เรายังเชื่อมั่นในการขับเคลื่อนการเติบโตและสร้างงานให้กับธุรกิจไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองรอง โดยมอบประสบการณ์การเดินทางที่ผสมผสานระหว่างอีเวนต์ระดับนานาชาติกับการท่องเที่ยวและมรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลายของประเทศ” อิโก้ กล่าวเสริม

เคทีซีร่วมกับสายการบินแอร์ อัสตานา จัดเวิร์คช้อป Kazakhstan, at your first sight. . . "VERY NICE!" กิจกรรมวาดภาพสะท้อนความงดงามผ่านสถานที่ท่องเที่ยวไฮไลท์ของสาธารณรัฐคาซัคสถาน พร้อมรังสรรค์โปรแกรม “Explore Kazakhstan” ตอบโจทย์เทรนด์ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรม มอบประสบการณ์การเดินทางที่สะดวกและคุ้มค่า ผ่านบริการจาก KTC World Travel Service เพื่อให้สมาชิกบัตรฯ ได้เข้าถึงธรรมชาติที่แตกต่าง รวมถึงเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นกับโปรแกรมสุดเอ็กซ์คลูซีฟ

 

นางสาวอุรฉัท ปัญญาวุธ ผู้จัดการ สายการบินแอร์ อัสตานาประจำประเทศไทยและกัมพูชา กล่าวว่า “สายการบินแอร์อัสตานา เป็นสายการบินแห่งชาติสาธารณรัฐคาซัคสถาน ปัจจุบันให้บริการทั้งเส้นทางในประเทศและเส้นทางระหว่างประเทศมากกว่า 60 เส้นทาง และเป็นสายการบินเดียวที่บินตรงจากประเทศไทยสู่สาธารณรัฐคาซัคสถาน ด้วยระยะเวลาบินเพียงแค่ 6 – 7 ชั่วโมง โดยปัจจุบันสายการบินได้มีการเพิ่มจำนวนเที่ยวบินจากกรุงเทพฯ และภูเก็ตไปยังเมืองอัลมาตีเป็น 14 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวของสาธารณรัฐคาซัคสถาน โดดเด่นด้วยวิวธรรมชาติที่ยังบริสุทธิ์และสวยงาม รวมถึงสถาปัตยกรรมที่หลากหลายที่ยังรอคอยการมาเยือนของนักท่องเที่ยว อาทิ ทะเลสาบบิ๊กอัลมาตี้ (Big Almaty Lake ทะเลสาบที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองอัลมาตี / ชารีน แคนยอน (Charyn Canyon แกรนด์แคนยอนขนาดใหญ่ รวมถึงหอคอยเบย์เทเรค (Bayterek Tower) อาคารทรงกระบอกที่มียอดเป็นวัตถุทรงกลมสีทอง ถือเป็นสัญลักษณ์ของการเกิดใหม่ของประเทศ นับเป็นส่วนผสมลงตัวที่เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักท่องเที่ยวที่กำลังมองหาจุดหมายปลายทางแห่งใหม่ที่มีความพร้อมทั้งสถานที่ท่องเที่ยวแบบธรรมชาติ และความทันสมัยของตัวเมือง ด้วยความร่วมมือกับเคทีซีจัดกิจกรรมวาดภาพเพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว รวมถึงโปรแกรม “Explore Kazakhstan” ที่ให้บริการผ่าน KTC World Travel Service ในครั้งนี้ จะเป็นการเปิดประสบการณ์การท่องเที่ยวสุดประทับใจและเป็นอีกจุดหมายที่มีเรื่องราวหลากหลายมิติ รอคอยการมาเยือนของนักท่องเที่ยวได้อีกครั้ง”

 

นางสาวพัทธ์ธีรา อนันต์โชติพัชร ผู้บริหารสูงสุด KTC World Travel Service และการตลาดท่องเที่ยวหมวดสายการบิน กล่าวว่า “สำหรับในปีนี้ ยอดการใช้จ่ายของสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีที่ใช้บริการผ่าน KTC World Travel Service ศูนย์บริการการเดินทางและท่องเที่ยวสำหรับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี มี

ทิศทางที่ดีขึ้น อีกทั้งพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวได้มีการปรับเปลี่ยนสอดรับกับเทรนด์ของนักท่องเที่ยวที่นิยมวางแผนการเดินทางไปยังสถานที่พักผ่อนที่ใกล้ชิดธรรมชาติมากขึ้น (Slow Travel) มองหาประสบการณ์ในเส้นทางที่แปลกใหม่ รวมถึงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Eco Tourism) รวมถึงกระแสการท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรม (A Taste of Culture) ที่ผสมผสานในหลากมิติ ทั้งด้านอาหาร ขนบธรรมเนียมท้องถิ่น และภาษา เป็นจุดหมายปลายทางหนึ่งที่นักท่องเที่ยวเริ่มมองหาและปักหมุดการเดินทาง”

“KTC World Travel Service จึงได้ร่วมมือกับสายการบินแอร์ อัสตานา จัดกิจกรรมเวิร์คช้อปวาดภาพ Kazakhstan, at your first sight. . . "VERY NICE!" ให้กับสื่อมวลชนและอินฟลูเอนเซอร์ ได้ร่วมสะท้อนความงดงามผ่านการวาดภาพสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นไฮไลท์ และรังสรรค์ผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวเส้นทางใหม่กับโปรแกรม “Explore Kazakhstan” เพื่อให้สมาชิกได้เปิดประสบการณ์การเดินทางท่องเที่ยวที่ไม่ซ้ำใคร เข้าถึงธรรมชาติที่แตกต่าง รวมถึงเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น ด้วยการเดินทางที่สะดวกและคุ้มค่าผ่านโปรแกรมสุดเอ็กซ์คลูซีฟ 5 วัน 3 คืน ในราคาเริ่มต้นท่านละ 72,000 บาท พร้อมมอบสิทธิพิเศษ สมาชิกรับคะแนน KTC FOREVER 2 เท่า ตลอดโปรแกรม (เพียง 2 ท่านก็เดินทางได้) สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KTC World Travel Service โทรศัพท์ 02 123 5050 หรือที่เว็บไซต์ www.ktc.co.th/ktcworld จองแพ็กเกจได้ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2566 - วันที่ 15 มีนาคม 2567 ระยะเวลาเดินทาง 18 พฤศจิกายน 2566 – วันที่ 31 มีนาคม 2567”

 

รายละเอียดใหม่ ๆ เกี่ยวกับการบุกเบิกโรงเรียนการท่องเที่ยวและการโรงแรมแห่งริยาด (Riyadh School of Tourism and Hospitality) ได้รับการเปิดเผยภายในงานวันท่องเที่ยวโลก (WTD) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงริยาด โดยมีการประกาศก่อตั้งโรงเรียนแห่งนี้เป็นครั้งแรกในปี 2564 ซึ่งร่วมก่อตั้งโดยกระทรวงการท่องเที่ยวของซาอุดีอาระเบียและโครงการกิดดียะห์ (Qiddiya) ภายใต้ความร่วมมือกับองค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ (UNWTO)

โรงเรียนการท่องเที่ยวและการโรงแรมแห่งริยาดได้รับการคาดหวังให้เป็นสถาบันการศึกษาแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแห่งแรกของโลกที่จะรวมการฝึกอบรมด้านการท่องเที่ยวในทุก ๆ ด้านที่จำเป็นเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับบรรดาผู้นำด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรมรุ่นต่อไปจากทั่วโลก และแก้ไขปัญหาการขาดแคลนผู้มีทักษะด้านการท่องเที่ยว

พัฒนาการใหม่ ๆ นี้ได้รับการประกาศในระหว่างการแถลงข่าวซึ่งจัดโดย ฯพณฯ อาเหม็ด อัล คาตีบ (Ahmed Al-Khateeb) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวของซาอุดีอาระเบีย และคุณซูรับ โปโลลิคาชวิลี (Zurab Pololikashvili) เลขาธิการ UNWTO นอกรอบกิจกรรมงานวันท่องเที่ยวโลก โรงเรียนการท่องเที่ยวและการโรงแรมแห่งริยาดจะจัดตั้งขึ้นที่กิดดียะห์ ศูนย์กลางโครงการเมกะโปรเจกต์ด้านความบันเทิงของซาอุดีอาระเบีย โดยจะมีที่ตั้งชั่วคราวที่มหาวิทยาลัยปรินซ์เซสนูเราะห์ (Princess Nourah University) โดยโรงเรียนการท่องเที่ยวและการโรงแรมแห่งริยาดตอกย้ำจุดยืนของซาอุดีอาระเบียในฐานะผู้นำในการพัฒนาภาคการท่องเที่ยวทั่วโลก และเน้นย้ำความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนผู้มีทักษะทั่วโลกเพื่อเร่งการเติบโตของอุตสาหกรรมในอนาคต โรงเรียนจะเปิดรับผู้เรียนตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 และตั้งเป้ารับผู้เรียนให้ได้มากกว่า 25,000 คนต่อปีภายในปี 2573

ในปัจจุบัน มีสถาบันการท่องเที่ยวระหว่างประเทศเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มีการเรียนการสอนทั้งในสายวิชาการและสายอาชีพที่ครอบคลุมทุกด้านของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายในสถาบันเดียว ด้วยเหตุนี้ โรงเรียนการท่องเที่ยวและการโรงแรมแห่งริยาดที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางจึงจะเปิดหลักสูตรบุกเบิกแบบผสมทั้งสายวิชาการและสายอาชีพ และจะใช้ประโยชน์จากโอกาสนี้รวบรวมคนระดับหัวกะทิ เทคโนโลยีล้ำสมัย สิ่งอำนวยความสะดวกใหม่ล่าสุด และคณาจารย์ชั้นนำเพื่อสร้างโปรแกรมแบบองค์รวมที่ช่วยให้ผู้เรียนพร้อมประกอบอาชีพด้านการท่องเที่ยว

คณะกรรมการบริหารของโรงเรียนจะประกอบด้วยผู้นำที่มาจากสาขาต่าง ๆ ตั้งแต่สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม ไปจนถึงสาขาการลงทุนและเทคโนโลยีการศึกษา (Ed-Tech) นอกจาก ฯพณฯ อาเหม็ด อัล คาตีบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวแห่งซาอุดีอาระเบียแล้ว กรรมการท่านอื่นยังรวมถึงคุณอับดุลลอฮ์ อัลดาวูด (Abdullah AlDawood) กรรมการผู้จัดการกิดดียะห์, คุณซูรับ โปโลลิคาชวิลี เลขาธิการ UNWTO, คุณเซบาสเตียง บาแซง (Sebastian Bazin) ซีอีโอบริษัทแอคคอร์ โฮเทลส์ (Accor Hotels), คุณเจอร์รี อินเซอริลโล (Jerry Inzerillo) ซีอีโอเครือหน่วยงานกำกับดูแลด้านการพัฒนาอัดดิรอียะฮ์เกต (Ad Diriyah Gate Development Authority), คุณมอร์แกน พาร์คเกอร์ (Morgan Parker) และคุณไค เรอมเมลต์ (Kai Roemmelt) ซีอีโอของยูดาซิตี (Udacity) และจะมีการประกาศรายชื่อกรรมการเพิ่มเติมให้ทราบต่อไป

ฯพณฯ อาเหม็ด อัล คาตีบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวแห่งซาอุดีอาระเบีย กล่าวว่า "ความสำเร็จของภาคการท่องเที่ยวนั้นขยายไปไกลกว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่นของรัฐบาลทั่วโลกในการจัดหาทักษะที่จำเป็นต่อการเติบโตในอุตสาหกรรมที่พัฒนาอย่างรวดเร็วนี้ให้กับผู้นำด้านการท่องเที่ยวในอนาคต"

"โรงเรียนการท่องเที่ยวและการโรงแรมแห่งริยาดคือของขวัญจากซาอุดีอาระเบียต่อโลก ด้วยหลักสูตรบุกเบิกที่จะนำเสนอหลักสูตรระดับอุดมศึกษาที่ครอบคลุมทุกด้านของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรม โรงเรียนแห่งนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของซาอุฯ ในการมอบการศึกษาที่ก้าวหน้าและครอบคลุมซึ่งเสริมศักยภาพให้กับบุคคลทั้งในและต่างประเทศ ในขณะที่เราลงทุนปลุกปั้นผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวรุ่นใหม่ เราไม่เพียงแต่รักษาอนาคตของอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมมรดกแห่งความเป็นเลิศที่จะขับเคลื่อนความเจริญรุ่งเรือง กระตุ้นการเติบโตของประชาชนแต่ละคน และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมในปีต่อ ๆ ไปอีกด้วย"

นอกจากนี้ คุณซูรับ โปโลลิคาชวิลี เลขาธิการ UNWTO กล่าวเสริมว่า "พัฒนาการล่าสุดของโรงเรียนการท่องเที่ยวและการโรงแรมแห่งริยาดถือเป็นก้าวสำคัญในการแสวงหาภาคการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนและเข้มแข็งมากขึ้น การศึกษาคือรากฐานของความก้าวหน้า และการลงทุนในทักษะและความรู้ของผู้นำการท่องเที่ยวในอนาคตถือเป็นการเสริมสร้างรากฐานการเติบโตและการพัฒนาของอุตสาหกรรม"

ในขณะที่ภาคการท่องเที่ยวยังคงเติบโตทางเศรษฐกิจต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งคาดว่าจะมีส่วนสร้าง GDP ของปี 2566 เป็นมูลค่าถึง 9.5 ล้านล้านดอลลาร์นั้น มีการคาดการณ์ว่าภาคการท่องเที่ยวจะจ้างงาน 430 ล้านคนทั่วโลกภายในปี 2576 โดยเกือบ 12% ของประชากรทำงานในภาคธุรกิจนี้ ซาอุดีอาระเบียมีภาคการเดินทางและการท่องเที่ยวที่เติบโตเร็วที่สุดในตะวันออกกลางตามข้อมูลของสภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลก (WTTC) และได้ฝึกอบรมพลเมือง 80,000 คนภายในปี 2565 สำหรับภาคดังกล่าว และมุ่งมั่นที่จะลงทุนมากกว่า 100 ล้านดอลลาร์ในด้านการศึกษาและการฝึกอบรม

โรงเรียนการท่องเที่ยวและการโรงแรมแห่งริยาดเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นของซาอุฯ ในการพัฒนาภาคการท่องเที่ยวทั่วโลก ซึ่งแสดงให้เห็นได้จากการเป็นเจ้าภาพงาน WTD 2023 ภายใต้ธีม "การท่องเที่ยวและการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม" (Tourism and Green Investments) ผู้เข้าร่วมงานจะสำรวจบทบาทสำคัญของการท่องเที่ยวและความร่วมมือระดับโลกในการขับเคลื่อนความเจริญรุ่งเรือง การเชื่อมโยงวัฒนธรรม และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมผ่านกิจกรรมต่าง ๆ

SiteMinder ผู้นำแพลตฟอร์มระดับโลกด้านโฮเทลคอมเมิร์ซแบบ Open Platform เปิดตัวรายงานพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไปที่ใหญ่ที่สุดในโลก ฉบับปี 2023 ที่เผยว่า 88% ของนักท่องเที่ยวไทยตั้งใจที่จะท่องเที่ยวอย่างน้อยเท่าๆ กับที่เคยท่องเที่ยวเมื่อปีที่แล้ว โดย 1 ใน 2 หรือประมาณ 53% คาดว่าจะท่องเที่ยวมากกว่าเดิม นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะท่องเที่ยวไปยังต่างประเทศเท่านั้นมีปริมาณเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว จาก 26% ในปีก่อน เป็น 49% ในปีนี้

รายงาน Changing Traveller Report 2023 ของ SiteMinder เป็นข้อมูลจากการสำรวจพฤติกรรมนักท่องเที่ยวกว่า 10,000 คน จากทั้งในประเทศไทยและอีก 11 ประเทศ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นพฤติกรรมหลักๆ ได้ 4 ประเภท โดยแบ่งจากพฤติกรรมแผนการท่องเที่ยว และแรงจูงใจ ที่จะส่งผลต่อการท่องเที่ยวโลกในอนาคตอันใกล้นี้

1. The enduring explorer: นักเดินทางที่จริงจังกับการท่องเที่ยว ค่าครองชีพไม่ใช่เรื่องสำคัญ

2. The digital dependent: นักท่องเที่ยวที่พึ่งพาเทคโนโลยี และอุปกรณ์การสื่อสาร

3. The memory maker: นักท่องเที่ยวที่ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ที่น่าจดจำ

4. The conscious collaborator: นักท่องเที่ยวที่พร้อมให้ความร่วมมือกับผู้ให้บริการที่ัพักและชุมชน

แม้ยุคปัจจุบันจะมีอัตราเงินเฟ้อที่สูง แต่เมื่อเป็นเรื่องของที่พัก นักท่องเที่ยวชาวไทยทั่วโลกถึง 96% พร้อมที่จะใช้จ่ายเพิ่มเติมจากค่าห้องพัก ผลการสำรวจนี้ไม่เป็นที่น่าแปลกใจ เนื่องจากเกือบ 9 ใน 10 ของนักท่องเที่ยวชาวไทยบอกว่า ความคาดหวังจากผู้ให้บริการที่พักของพวกเขาเปลี่ยนแปลงไปเมื่อไม่กี่ปีมานี้ อาทิ การมีสถานที่ทำงานที่สะดวกสบาย และเหมาะกับการทำงาน คือสิ่งที่นักท่องเที่ยวชาวไทยคาดหวัง ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจซึ่งพบว่านักท่องเที่ยวกว่า 57% คาดว่าจะทำงานไปด้วยระหว่างทริป แม้ว่าตัวเลขดังกล่าวจะลดน้อยลงกว่าตัวเลข 65% ในปีที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวชาวไทยยังคงดำรงตำแหน่งอันดับสอง ของประเทศที่คาดว่าจะทำงานระหว่างท่องเที่ยว ซึ่งตามหลังเพียงนักท่องเที่ยวชาวอินเดียเท่านั้น

ในภาพรวมโลก นักท่องเที่ยวถึง 1 ใน 2 มองที่พักเป็นจุดหมายปลายทางในการพักผ่อนในตัวเอง โดยเฉพาะในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยคาดว่าจะใช้ ‘เวลาเกือบทั้งหมด’ หรือ ‘เวลาส่วนมาก’ ไปกับการพักผ่อนในที่พักในทริปถัดไป และในหมู่นักท่องเที่ยวชาวไทยยิ่งสูงขึ้นอีกที่ 77%

 

คุณแบรด ไฮนส์ รองประธานฝ่ายภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค บริษัท SiteMinder เผยว่ารายงานฉบับล่าสุดนี้ ช่วยชี้ให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย รวมถึงการเป็นตัวแปรสำคัญของผู้ให้บริการที่พัก

“ตรงกันข้ามกับปีที่ผ่านๆ มา เราเห็นความต้องการเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินทางไปต่างประเทศเป็นหลัก รวมถึงแผนการใช้จ่ายแม้จะมีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่สูง” คุณแบรด ไฮนส์ กล่าว “นอกจากนี้ เรายังเห็นว่า สถานที่พัก กลายมาเป็นอีกหนึ่งจุดหมายปลายทางสำคัญสำหรับนักท่องเที่ยว โดย 77% ของนักท่องเที่ยวชาวไทยเผยว่า สถานที่พัก ก็คือสถานที่ท่องเที่ยวที่พวกเขาต้องการไป”

แม้ว่าเกือบ 77% ของนักท่องเที่ยวชาวไทย จะเข้าใจถึงคุณภาพการบริการที่อาจจะลดลงกว่ามาตรฐานเนื่องจากการขาดแคลนแรงงาน อย่างไรก็ตาม ในรายงาน Changing Traveller Report 2023 ของ SiteMinder เผยว่า อุตสาหกรรมที่พักถูกมองว่ายังตามหลังอุตสาหกรรมอื่นๆ ในแง่ของเทคโนโลยี โดยกว่า 60% ของนักท่องเที่ยวชาวไทยมองว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยังอยู่ในค่าเฉลี่ย หรือตามหลัง ในเรื่องของการนำเทคโนโลยีมาใช้ และกว่า 95% มองว่าการจองที่พักและประสบการณ์การพักผ่อนของพวกเขาจะดีมากยิ่งขึ้นได้ หากธุรกิจที่พักมีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้มากยิ่งขึ้น

รายงานของ SiteMinder เผยถึงเทคโนโลยีที่มีการใช้ในหมู่ของนักท่องเที่ยว ได้แก่:

· AI - นักท่องเที่ยวทั่วโลกมากกว่าครึ่ง และสองในสามของมิลเลนเนียล มี ‘แนวโน้ม’ หรือ ‘มีโอกาสมาก’ ที่จะใช้ AI ในการแนะนำสถานที่พัก โดยนักท่องเที่ยวชาวไทยมีโอกาสใช้ AI เพื่อแนะนำสถานที่พักมากขึ้นอีก โดยมีแนวโน้มถึง 86%

· โซเชียลมีเดีย - 70% ของนักท่องเที่ยวทั่วโลก รวมถึง 9 ใน 10 ของ Gen Z บอกว่าโซเชียลมีเดีย มีอิทธิพลอย่างมากต่อการเสาะหาที่พักของพวกเขา ในประเทศไทย โซเชียลมีเดีย ยิ่งมีอิทธิพลสูงมากยิ่งขึ้น โดยสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกถึง 25% ทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยดำรงตำแหน่งอยู่ในอันดับสอง รองจากนักท่องเที่ยวชาวอินโดนีเซียเท่านั้น เมื่อวัดจากอิทธิพลของโซเชียลมีเดียต่อการเสาะหาที่พัก

· เว็บไซต์จองที่พัก - แม้นักท่องเที่ยวถึง 4 ใน 5 เลือกที่จะทำการจองที่พักผ่านทางออนไลน์ แต่ 3 ใน 5 บอกว่าพวกเขาจะไม่ดำเนินการจองที่พักต่อ หากพบเจอการใช้งานที่ไม่ลื่นไหล โดย ขั้นตอนที่ยุ่งยาก รวมถึงเว็บไซต์ที่ดูไม่ปลอดภัย นับเป็นสองเรื่องสำคัญอันดับแรกที่นักท่องเที่ยวคำนึงถึง

“นักเดินทางชาวไทยในปัจจุบัน ยังคงชื่นชอบการท่องเที่ยว มีการพึ่งพาเทคโนโลยี และใส่ใจสิ่งแวดล้อม ซึ่งพวกเขาก็ตั้งใจที่จะเดินทางท่องเที่ยวไปเรื่อย ๆ เพื่อสร้างความทรงจำดีๆ ตราบเท่าที่จะท่องเที่ยวได้ และจากผลสำรวจ ทำให้เรารู้ว่า พวกเขามองว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยังไม่ได้มีการปรับใช้เทคโนโลยีเท่าอุตสาหกรรมอื่นๆ ซึ่งนี่อาจจะเป็นสัญญาณสำคัญให้ผู้ให้บริการที่พักต่างๆ หันมาลงทุนด้านเทคโนโลยีคอมเมิร์ซกันมากขึ้น เพื่อให้สามารถปรับตัวได้ทันต่อความต้องการและความคาดหวังของนักท่องเที่ยวในปัจจุบัน” คุณแบรด ไฮนส์ กล่าว

Page 1 of 4
X

Right Click

No right click