เดินหน้าบทบาท Green Development Bank ขับเคลื่อนสังคมคาร์บอนต่ำและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง มอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นประจำปี 2566 “รางวัลการพัฒนาสู่รัฐวิสาหกิจยั่งยืน” ให้แก่ ดร.พสุ โลหารชุน ประธานกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และ “รางวัลความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาดีเด่น” ให้แก่ ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ซึ่ง EXIM BANK ร่วมกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ดำเนินโครงการ The S1 Project (SME One) รวมช่องทาง รวมกระบวนการ และรวมโมเดลในการประเมินสินเชื่อเข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับความสะดวกรวดเร็วในการใช้บริการขอสินเชื่อจาก EXIM BANK โดยมี บสย. ค้ำประกัน ในงานมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นประจำปี 2566 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง ภายใต้แนวคิด “รัฐวิสาหกิจสร้างสรรค์พลังไทยสู่สากล Enhancing Thainess towards Global Opportunities” ณ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2567

รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและประสิทธิภาพในการดำเนินงานของ EXIM BANK โดยบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร เพื่อพัฒนานวัตกรรมด้านกระบวนการและบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการไทยและเทรนด์การค้าและการลงทุนของโลกปัจจุบัน ภายใต้บทบาท Green Development Bank เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง  

EXIM BANK แต่งตั้งนางสาวมานิดา วัฒโน เป็นผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์สินเชื่อขนาดใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป

EXIM BANK แต่งตั้งนางวันเพ็ญ อรรชุนเดชะ และนายอิทธิพล เลิศศักดิ์ธนกุล เป็นรองกรรมการผู้จัดการ และแต่งตั้งนางเศรษฐสุดา ตุลยธัญ เป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป

ท่ามกลางวิกฤตของสภาพแวดล้อมโลกที่เปลี่ยนผ่านจากโลกร้อน (Global Warming) เข้าสู่ภาวะโลกเดือด (Global Boiling) ส่งผลให้ทุกภาคส่วนจำเป็นต้องเร่งเดินหน้าสู่เศรษฐกิจสีเขียวภายใต้บริบทใหม่ของโลกที่มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) โดยเฉพาะภาคธุรกิจ การค้า การลงทุน ที่กำลังเผชิญแรงกดดันจากบริบทใหม่ดังกล่าว ทั้งนี้ ปัจจุบันมีมาตรการทางการค้าด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลกรวมแล้วราว 18,000 มาตรการ เมื่อประกอบกับผลการศึกษาของ Moore Global บริษัทที่ปรึกษาทางบัญชีและธุรกิจที่ระบุว่า บริษัทที่ให้ความสำคัญอย่างมากกับประเด็นเรื่องของสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Environmental, Social, and Governance : ESG) จะมีอัตราการเติบโตของรายได้และกำไรสูงกว่าบริษัทที่ให้ความสำคัญน้อยถึง 2.2 และ 2.5 เท่าตามลำดับ ส่งผลให้บริษัททั่วโลกตื่นตัวและเร่งปฏิบัติตามหลัก ESG อย่างจริงจัง

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) กล่าวว่า ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง ธนาคารมีเจตนารมณ์แน่วแน่และเป้าหมายชัดเจนที่จะเดินหน้าสู่การเป็น Green Development Bank เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืนและสมดุล ในทุกมิติ อีกทั้งสนับสนุนการสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ของภาคการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ ผลักดันการสร้างธุรกิจสีเขียว ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายทางที่สอดรับไปกับกระแสการพัฒนาอย่างยั่งยืน พร้อมเคียงข้างและนำพาผู้ประกอบการไทยก้าวเข้าสู่ Green Economy โดยมีแผนยุทธศาสตร์ปี 2567 ในการขับเคลื่อนบทบาทการเป็น Green Development Bank ผ่านยุทธศาสตร์ Sustainable Growth Escalator เพื่อยกระดับธุรกิจไทยสู่เศรษฐกิจที่เป็น ESG  โดยมุ่งเน้นให้การสนับสนุนสินเชื่อและเป็นกลไกในการยกระดับการบริหารจัดการธุรกิจสู่ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจร ผ่าน “กลยุทธ์ 3 เติม” ได้แก่ “เติมความรู้” ด้วยการบ่มเพาะให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมตามกติกาการค้าโลก พร้อมสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการเร่งปรับตัว ทั้งผู้ส่งออก และ Suppliers ของผู้ส่งออก เพื่อให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง “เติมโอกาส” จับคู่ คู่ค้าทั้งใกล้และไกลทั่วโลก ผ่าน Business Matching และ E-commerce Platform และ “เติมเงินทุน” ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงนวัตกรรมทางการเงินใหม่ ๆ เพื่อยกระดับธุรกิจไทยให้สอดคล้องกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมสากล เช่น EXIM Green Start, Solar Orchestra, Solar D-Carbon Financing, EXIM Green Goal และ EXIM Extra Transformation เพื่อให้ EXIM BANK สามารถขยาย Green Portfolio จาก 28% ในปี 2565 เป็น 50% ของพอร์ตทั้งหมดภายในปี 2571 และสนับสนุนการปรับลดคาร์บอนของ Suppliers ใน Chain ของผู้ส่งออก พร้อมกับเป็นหนึ่งในเครื่องยนต์สำคัญของประเทศที่จะช่วยเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจและธุรกิจไทยไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

 

“การปรับตัวของภาคธุรกิจสู่ ESG กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องตามมาตรฐานสากล เนื่องจากผู้บริโภคทุกกลุ่มให้ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน ผู้ประกอบการที่สามารถปรับตัวได้ก่อน ก็จะสามารถอยู่รอดได้ รวมทั้งมีข้อได้เปรียบจากภาพลักษณ์ที่โดดเด่นขึ้น” ดร.รักษ์ กล่าว

 

นอกจากนี้ EXIM BANK ไม่เพียงพัฒนาสินเชื่อสีเขียว แต่ยังให้ความสำคัญในส่วนของเครื่องมือการระดมทุน ผ่านการออก Green Bond มูลค่า 5,000 ล้านบาท และ SME Green Bond มูลค่า 3,500 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนด้านการเงินแก่ธุรกิจสีเขียว ในระยะถัดไป EXIM BANK มีแผนจะขยายขอบเขตในด้านเครื่องมือของการระดมทุนให้ครอบคลุมไปถึงการออก Blue Bond ซึ่งเป็นตราสารหนี้ที่ระดมทุนเพื่อนำมาใช้กับโครงการที่เป็นประโยชน์กับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางทะเลโดยเฉพาะ เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น พาณิชยนาวีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงเรือให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและปล่อยมลพิษลดลง การซื้อเรือใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น ยังตอกย้ำบทบาทการเป็น Lead Bank ในการสนับสนุนทั้ง Green Economy และ Blue Economy ของประเทศ โดย EXIM BANK พร้อมทำหน้าที่เป็นกลไกเชื่อมโยงและบริหารจัดการการใช้ประโยชน์จากกองทุนของสถาบันการเงินระดับโลกและระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้องกับ Green/Climate Fund เพื่อช่วยผู้ประกอบการไทยในช่วงเปลี่ยนผ่านและปรับธุรกิจให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสร้างกลไกสำหรับอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติตามระเบียบการค้าใหม่ ๆ ของโลก เดินหน้าสู่ Carbon Neutrality และสร้างการพัฒนาที่สมดุลในที่สุด

 

“EXIM BANK มุ่งสนับสนุนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) โดยเฉพาะอุตสาหกรรมใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง รวมไปถึงอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยจะทำหน้าที่เสมือนเป็น Supply Chain Linker เชื่อมโยงระหว่างบริษัทข้ามชาติกับผู้ประกอบการไทย ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ตลอดจนเป็น Financial Arm ของภาครัฐในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ควบคู่กับการให้สิทธิประโยชน์ของหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง” ดร.รักษ์ กล่าว

X

Right Click

No right click