สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล และ สยามจุลละมณฑล ผู้จัดงาน “45 ปี ซีไรต์มาไกลมาก” เชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมประกวดโปสเตอร์นิทรรศการ 45 ปี ซีไรต์มาไกลมาก ภายใต้แนวคิด “ซีไรต์ใน “ภาพจำ” กับ “จินตนาการ” ของฉัน” เพื่อสะท้อนความรู้สึกและความคิดเห็นในฐานะผู้อ่านที่มีต่อวรรณกรรมรางวัลซีไรต์ตลอด 45 ปีที่ผ่านมา รวมถึงความมุ่งหวังที่ต้องการเห็นพัฒนาการของวรรณกรรมรางวัลซีไรต์ที่จะเติบโตต่อไปในอนาคต โดยสามารถสมัครและส่งผลงานได้แล้วตั้งแต่วันนี้ - 30 มิถุนายน 2566 ที่ https://forms.gle/Kcbc581XCNZkvjQu5

การประกวดแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทบุคคล และ ประเภททีม ประกอบไปด้วยกลุ่มเด็ก-เยาวชน และกลุ่มประชาชนทั่วไป ผู้สนใจสามารถสมัครได้โดยไม่จำกัดอายุและอาชีพ โดยต้องส่งผลงานในรูปแบบภาพนิ่ง (A3) โปสเตอร์ ไฟล์นามสกุล JPG, PNG ฯลฯ จำนวน 1 ไฟล์ และไฟล์ต้นฉบับนามสกุล AI, PSD, PPT ฯลฯ จำนวน 1 ไฟล์

ความละเอียดไม่ต่ำกว่า 300 dpi โดยระบุชื่อ-นามสกุล สถานศึกษา (ถ้ามี) ช่องทางการติดต่อ พร้อมคำอธิบายที่สื่อถึงแนวคิดของโปสเตอร์นิทรรศการฯ ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2566 ที่อีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. ระบุหัวเรื่อง: ส่งผลงานเข้าร่วมกิจกรรม 45 ปีซีไรต์ (นิทรรศการ)

โดยคณะกรรมการจะพิจารณาคัดเลือกผลงานที่ผ่านเข้ารอบ เพื่อจัดแสดงผ่านช่องทางออนไลน์ที่ www.siamclmt.com และ Facebook Page : สยามจุลละมณฑล พร้อมเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมโหวตโปสเตอร์ที่เข้าประกวดได้ตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2566 ถึงวันที่ 20 สิงหาคม 2566 โดย 20 ผลงานที่ได้รับการโหวตสูงสุดทางออนไลน์จะถูกนํามาจัดแสดงในงานกิจกรรมพิเศษ 45 ปี ซีไรต์มาไกลมาก และประกาศผลผู้ได้รับคะแนนโหวตสูงสุด 3 อันดับแรกของแต่ละประเภทในวันที่ 27 สิงหาคม 2566 พร้อมร่วมพิธีมอบเกียรติบัตรและเงินรางวัล ในวันเดียวกัน ซึ่งรางวัลชนะเลิศมีทั้งหมด 4 รางวัล ได้แก่ ประเภทบุคคล และ ประเภททีม ในกลุ่มเด็กและเยาวชน และ กลุ่มประชาชนทั่วไป

กิจกรรมการประกวดโปสเตอร์นิทรรศการฯ เป็นหนึ่งในกิจกรรมของการจัดงาน “45 ปีซีไรต์มาไกลมาก” ในโอกาสที่รางวัลซีไรต์เดินทางมาครบ 45 ปี โดยต้องการปลุกกระแสแวดวงวรรณกรรมไทยและอาเซียนให้กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง พร้อมดึงเยาวชนและนักอ่านรุ่นใหม่ให้สร้างงานเขียนและการอ่านอย่างมีคุณค่า เพื่อพัฒนาศักยภาพพัฒนาความคิดและการเติบโตทางสังคม ซึ่งการจัดงานฯ มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม2566 สำหรับการจัดงาน “45 ปี ซีไรต์มาไกลมาก” ได้รับความร่วมมือจากสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ธนาคารออมสิน และแอปพลิเคชันสอบติดจูเนียร์

ผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดงาน “45 ปีซีไรต์มาไกลมาก” สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.siamclmt.com, Facebook: สยามจุลละมณฑล, Line Oa: @siamclmt หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.063-451-9359, 061-519-3641, 092-425-5229

มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือพันธมิตร พัฒนาหลักสูตร "Wellness & Healthcare Business Opportunity for Executives (WHB)" โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานในพิธีมอบวุฒิบัตร ให้แก่ผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 2 จำนวน 117 คน ขององค์กรชั้นนำต่างๆ ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน

ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า ในช่วงระหว่างสถานการณ์โควิด-19 ประเทศไทย ได้รับความชื่นชมจากนานาประเทศ เรื่องการบริหารจัดการและควบคุมการแพร่ระบาดได้เป็นอย่างดี ทำให้ประเทศไทยสามารถยกระดับการบริการสุขภาพและการแพทย์ สู่ศูนย์กลางของภูมิภาคและทั่วโลก

"หลักสูตรนี้ เป็นอีกหนึ่งความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ อาทิ กระทรวงสาธารณสุข และภาคเอกชน มาพัฒนาธุรกิจด้านสุขภาพและการแพทย์ของไทยให้เป็น World Hub ต้องอาศัยความถนัดจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาช่วยผลักดันให้ถึงเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งโปรเจกต์ Andaman Wellness Corridor (AWC) ของผู้เข้าอบรมรุ่นแรกประสบความเร็จ ได้รับการอนุมัติจากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนรุ่นที่ 2 จะเน้นเรื่องของการสร้างแบรนด์ให้ธุรกิจนี้เป็นที่รู้จักของนานาประเทศ" ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล กล่าว

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันจิรา วงษ์ขมทอง ผู้อำนวยการหลักสูตร WHB เปิดเผยว่า หลักสูตรนี้เป็นการรวมตัวของผู้อบรมหลากหลายวงการ ได้แก่ ภาคนโยบาย ภาควิชาการ และภาคธุรกิจ ที่จะมาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองใหม่ๆ ด้านการบริการสุขภาพ รวมถึงการแพทย์ นำไปสู่การต่อยอดและส่งเสริมเป็นธุรกิจต่างๆ อีกมากมาย เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เป็นผู้นำด้าน Wellness & Healthcare ขณะนี้ กำลังเปิดรับสมัครรุ่นที่ 3 เพื่อสร้างโอกาสให้แก่อุตสาหกรรมนี้ต่อไป ซึ่งจะปิดรับสมัครภายในวันที่ 30 พ.ย. นี้

สำหรับกิจกรรมในหลักสูตร WHB ประกอบด้วย การบรรยายให้ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำธุรกิจ พร้อมจัดนิทรรศการและนำเสนอผลงานวิชาการของผู้เข้าอบรม ด้วยกลยุทธ์หลัก 6 ด้าน ได้แก่ "SABAI Wellcation, Sabai Thailand" ดึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย ส่งมอบความสบายและผ่อนคลายแบบองค์รวมแก่นักท่องเที่ยว เพื่อให้ประเทศไทยเป็นที่หนึ่ง ด้าน Wellness Tourism, การถ่ายทอดองค์ความรู้ให้เกิดการบูรณาการใน Ecosystem โครงการ Framework for Digital Transformation : Empowering Thailand Wellness and Healthcare, Platform การให้บริการด้านสุขภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ 24 ชม., โครงการ Lady D-Care ดูแลสุขภาพเชิงรุกรับสังคมสูงวัย, "Mindfulness for Wellness" เพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นำทางด้านการฝึกสติและสมาธิในระดับสากล และการพัฒนาบุคลากรด้าน Wellness ที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง รองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมบริการทั้งระบบ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจจากการระบาดของโควิด-19 และสร้างรายได้กลับสู่ประเทศจากการท่องเที่ยว

ทั้งนี้ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ โดย นางสาวอนรรฆวี ชูรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านการตลาดกลาง และ นายอภิสิทธิ์ ธีรภาพรุ่งโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการ เป็นหนึ่งในภาคเอกชนที่ร่วมอบรมหลักสูตร WHB รุ่นที่ 2

หลักสูตร Wellness & Healthcare Business Opportunity Program for Executives (WHB) เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน นำโดย มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ บริษัท ไทยพัฒนาสุขภาพ จำกัด, กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข, Huawei Technologies (Thailand) และ The Department of Community and Global Health มหาวิทยาลัยโตเกียว เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดให้อุตสาหกรรมทางการแพทย์ครบวงจร เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมและบริการของประเทศไทย พร้อมกับขับเคลื่อนให้ประเทศเป็นศูนย์กลางการบริการด้านสุขภาพและการแพทย์ของโลก โดยคัดเลือกผู้บริหารและผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการแพทย์ในประเทศ รวมถึงผู้ที่สนใจธุรกิจนี้ตระหนักถึงนวัตกรรมด้าน Wellness เพื่อสร้างเครือข่ายธุรกิจใหม่ ต่อยอดและพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Wellness & Healthcare ต่อไป ./

 

 

-บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เป็นเวลา 3 ปี ในการวิจัยและพัฒนาโซลูชันระบบอัตโนมัติด้วยผลิตภัณฑ์เดลต้าและผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพรังสีอัลตราไวโอเลต-ซี (UV-C)

ภายใต้ข้อตกลง เดลต้าจะสนับสนุนโครงการเดลต้า ออโตเมชั่น อะคาเดมี (Delta Automation Academy) ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อพัฒนาทักษะของนักศึกษาในด้านวิทยาการหุ่นยนต์, ระบบอัตโนมัติ, IoT, อิเล็กทรอนิกส์ และพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่ห้องแล็บระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรมของเดลต้า (Delta Industrial Automation Lab) นายแจ็คกี้ จาง ประธานบริษัทเดลต้า ประเทศไทย และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนาม MOU ดังกล่าว พร้อมมอบเกียรติบัตรและรางวัลแก่ทีมนักศึกษา Gaia จากมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขัน Delta Cup ประจำปี 2565 จากการนำเสนอโครงงาน Carbon Polymerizing System ระบบจุลินทรีย์อัตโนมัติที่สามารถเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นพลาสติกที่ย่อยสลายทางชีวภาพที่เรียกว่า Polyhydroxybutyrate (PHB) โดยสามารถย่อยสลายได้ถึง 90% ภายในเวลา 10 วันโดยไม่ทิ้งเศษเมื่อสิ้นสุดวงจรชีวิตของมัน โดยโครงงานทดลอง Carbon Polymerizing System Project ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ระบบอัตโนมัติของเดลต้า ดังต่อไปนี้:

· อุปกรณ์ควบคุมระบบ AS200 PLC 1 ตัว

· ระบบ DIAView SCADA

· ซอฟต์แวร์ DIACloud

· หุ่นยนต์แขนกลอัจฉริยะ DRV70L 1 ตัว

· AC มอเตอร์ไดรฟ์ ASDA-A3 5 ตัว

· เซอร์โวมอเตอร์ ECMA-C20401SS AC กำลังไฟ 400W 5 ตัว

· วาล์วควบคุม 3 ตัว

· ปั๊ม 1 ตัว

· มิเตอร์วัดพลังงานไฟฟ้า DPM-C530 1 ตัว

ในการร่วมมือครั้งนี้ เดลต้าจะสนับสนุนชุดฝึกอบรมระบบอัตโนมัติขั้นสูงและหุ่นยนต์อุตสาหกรรมสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อฝึกอบรมที่ Delta Industrial Automation Lab

นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรมของเดลต้าจะจัดหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับคณาจารย์เกี่ยวกับอุปกรณ์ควบคุมระบบ (PLC), หน้าจอสัมผัสรับ-ส่งข้อมูลระหว่างผู้ใช้กับเครื่องจักร (HMI), อุปกรณ์ควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์ (VFD) รวมถึง เซอร์โวมอเตอร์/ไดรฟ์ และการรวมระบบ 

โดยก่อนหน้านี้ เดลต้าและมหาวิทยาลัยมหิดลได้ร่วมมือกันเพื่อเฟ้นหาและพัฒนาผู้มีความสามารถด้านวิศวกรรมระบบอัตโนมัติ โดยการบันทึกข้อตกลงนี้ ถือเป็นก้าวใหม่ที่ทำให้มหาวิทยาลัยมหิดลอยู่ในรายชื่อพันธมิตรของสถาบัน Delta Automation Academy ในประเทศไทย ซึ่งรวมถึงมหาวิทยาลัยชั้นนำอื่น ๆ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือและธนบุรี

นอกจากนี้ การลงนามบันทึกข้อตกลงนี้ จะช่วยให้นักศึกษาและอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยมหิดลมีโอกาสพัฒนาโครงการนวัตกรรมที่สอดคล้องกับธุรกิจระบบอัตโนมัติและพลังงานสีเขียวของเดลต้าให้เป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ที่งาน Delta Angel Fund สำหรับสตาร์ทอัพประจำปีอีกด้วย โดยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559 เดลต้าและกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดตั้งกองทุน Angel Fund ที่มุ่งพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถในประเทศไทย และบ่มเพาะธุรกิจสตาร์ตอัปเพื่อสนับสนุนแผนพัฒนาประเทศไปสู่ประเทศไทย 4.0

นายแจ็คกี้ จาง กล่าวในพิธีว่า “เดลต้ารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะเริ่มต้นความร่วมมือบทใหม่กับมหาวิทยาลัยมหิดล ในขณะที่เรายังคงบุกเบิกการพัฒนาการศึกษาด้านระบบอัตโนมัติซึ่งสนับสนุนแผนการพัฒนาประเทศไทย 4.0 อย่างต่อเนื่อง เรามุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนการพัฒนาระบบอัตโนมัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของภาคการผลิตในท้องถิ่น และยกระดับมูลค่าของประเทศไทยในห่วงโซ่อุปทานโลก” โครงการ เดลต้า ออโตเมชัน อะคาเดมี ได้ให้การฝึกอบรมแก่นักศึกษาวิศวกรรมไทยกว่า 1,000 คน รวมถึงบุคลากรระดับแนวหน้าซึ่งได้รับรางวัลจากการแข่งขัน Delta Advanced Automation Competition ระดับนานาชาติหรือ Delta Cup ที่จัดขึ้นทุกปีระหว่างทีมนักศึกษาวิศวกรรมชั้นยอดจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไต้หวัน จีน อินเดีย และ ยุโรป"

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และ รศ.ดร.วิชิตา รักธรรม (ขวา) คณบดีวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง “ความร่วมมือในการส่งเสริมความรู้และพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจให้กับนักศึกษาและผู้ประกอบการไทย” เพื่อสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านการบริหารจัดการธุรกิจด้วยนวัตกรรมป้อนเข้าสู่ภาคธุรกิจ พร้อมสนับสนุนทั้งความรู้และเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการไทย เพื่อสร้างนักรบเศรษฐกิจไทยในเวทีการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ นอกจากนี้ กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ได้เสวนาและบอกเล่ากลยุทธ์ของ EXIM BANK ในการ “ซ่อม สร้าง เสริม และสานพลัง” สนับสนุนผู้ประกอบการไทย ในงานสัมมนาออนไลน์ “Shift ธุรกิจ คิดต่างอย่าง Next Normal” จัดโดย EXIM BANK ร่วมกับสาขาภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม CMMU ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็วๆ นี้

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click