×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 813

อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผู้จัดงาน ProPak Asia 2024 งานแสดงเทคโนโลยีด้านกระบวนการผลิต การแปรรูปและบรรจุภัณฑ์ชั้นนำระดับเอเชีย โหมโรงก่อนการจัดงานฯ ด้วยการเปิดพื้นที่ 8 โซนกิจกรรมพิเศษ เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร เครื่องดื่มและบรรจุภัณฑ์ โดยร่วมมือกับพันธมิตรหน่วยงานภาครัฐ องค์กรธุรกิจและภาคเอกชน อาทิ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.), ศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ภายใต้การดำเนินงานกระทรวงอุตสาหกรรม, World Packaging Organization, Asian Packaging Federation, INNOLAB, Prompt Design, TasteBud ฯลฯ พร้อมเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ อัพเดทแนวโน้มทิศทางอุตสาหกรรม เรียนรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ รวมทั้งเปิดพื้นที่ในการให้คำปรึกษาแนะนำการแก้ปัญหาทางธุรกิจ การลดต้นทุน จนถึงการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยทั้ง 8 โซนกิจกรรมพิเศษประกอบด้วย

1. ProPak Gourmet เวิร์คช็อปและการสาธิตการใช้เทคโนโลยีเพื่อการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อค้นหาวิธียืดระยะเวลาความสดและเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบประเภทเนื้อสัตว์ สัตว์ปีก สัตว์น้ำและอาหารทะเล

2. Lab & Test Teather ความร่วมมือกับ INNOLAB พบการควบคุมและการประกันคุณภาพอย่างมีประสิทธิภาพ กุญแจสำคัญของการเติบโตอย่างยั่งยืน อัพเดทข้อกำหนดล่าสุดด้านความปลอดภัย เทคโนโลยีตรวจสอบและควบคุมมาตรฐานการแปรรูปอาหาร เครื่องดื่ม ยา สินค้าอุโภคบริโภคและบรรจุภัณฑ์สินค้า

3. ProPak Bar รับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮอล์ เพื่อสร้างโอกาสและเครือข่ายธุรกิจในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม

4. Future Food Corner พบไอเดีย ร่วมเรียนรู้และสัมผัสประสบการณ์ใหม่ไปกับอาหารแห่งอนาคต โดยเฉพาะเทคโนโลยีการผลิตและบรรจุภัณฑ์

5. I-Stage เวทีรวบรวม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นวัตกรรมและการลงทุน สำหรับโซลูชั่นทางธุรกิจในระบบห่วงโซ่ของอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่มและธุรกิจ FMCG (Fast-Moving Consumer Goods) ของสินค้าอุปโภค บริโภค พบกับเซเลป กูรู ในวงการที่จะมาแบ่งปันประสบการณ์แก่ผู้ประกอบการ SME (Small and Medium-sized Enterprises) ให้ได้รับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับนวัตกรรมแห่งความยั่งยืนในกระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ พร้อมรับคำปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินเกี่ยวกับด้านการลงทุนและการขยายกลุ่มธุรกิจ

6. WorldStar, AsiaStar & ThaiStar Packaging Awards Display พบตัวอย่างเพื่อสร้างแรงบันดาลใจจากนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่ชนะรางวัลในเวทีการประกวด ทั้งในระดับภูมิภาค ระดับประเทศและเวทีการประกวดระดับโลก

7. Design Box พื้นที่จัดแสดงผลงานการออกแบบบรรจุภัณฑ์ จากคุณสมชนะ กังวารจิตต์ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ไทยที่ดังไกลระดับโลก กับผลงานที่ตราตรึงและโดดเด่นไม่เหมือนใครจนชนะใจผู้บริโภคมากมาย

8. Packaging Design Clinic ไขทุกปัญหาบรรจุภัณฑ์ที่ซับซ้อน ด้วยไอเดียสร้างสรรค์และการวิเคราะห์ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การออกแบบจนถึงการเลือกใช้วัสดุ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จนถึงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ ที่คอยให้คำปรึกษาในทุกประเด็นสำคัญ ทั้งการลดต้นทุน การปฏิบัติตามหลักความยั่งยืนและร่วมแบ่งปันประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้งานจริง

ProPak Asia 2024 มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-15 มิถุนายน 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ โดยมีความยิ่งใหญ่กว่าทุกครั้งที่ผ่านมา ทั้งการจัดแสดงพาวิลเลียนนานาชาติถึง 14 กลุ่มประเทศ อาทิ ออสเตรเลีย บาวาเรีย ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน สวิตเซอร์แลนด์ อังกฤษ อเมริกาเหนือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย สิงคโปร์ และไต้หวัน โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลของแต่ละประเทศในการเข้าร่วมงานฯ เพื่อนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มาจัดแสดง

นอกจากนั้นยังได้รับการยืนยันเข้าร่วมจัดแสดงงานจากบริษัทชั้นนำของโลกกว่า 2,000 แบรนด์ จาก 45 ประเทศ โดยใช้พื้นที่จัดงานฯ เต็มพื้นที่ของศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค เพื่อช่วยสร้างและเติมเต็มระบบนิเวศทางธุรกิจและอุตสาหกรรมระดับภูมิภาคให้เติบโต โดยยังคงความเป็นงานแสดงเทคโนโลยีด้านกระบวนการผลิต การแปรรูปและบรรจุภัณฑ์ชั้นนำระดับเอเชีย ที่ตอบโจทย์ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของเทคโนโลยีกระบวนการแปรรูปอาหาร บรรจุภัณฑ์ การจัดเก็บและการขนส่ง ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ สำหรับผู้ประกอบการทุกขนาด ไม่ว่าจะเป็น Start Up, SME, ธุรกิจขนาดเล็ก ธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่

สำหรับผู้สนใจรายละเอียดและต้องการเข้าร่วมกิจกรรม 8 โซนกิจกรรมพิเศษ สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานล่วงหน้าได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ www.propakasia.com

นางสาวกชสร โตเจริญธนาผล รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผู้จัดงาน ProPak Asia 2024 ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 12 – 15 มิถุนายน 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา จากแนวโน้มการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทย และข้อมูลประเมิณตัวเลขการส่งออกที่เป็นบวกต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2566 เฉพาะในเดือนตุลาคมมีการขยายตัวถึง 8% สูงสุดในรอบ 13 เดือน จะเป็นแรงส่งให้การส่งออกปี 2567 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ประมาณ 2% โดยกลุ่มอาหารยังคงเป็นกลุ่มสำคัญ ซึ่งในปี 2566 ไทยก้าวขึ้นเป็นผู้ส่งออกอาหารอันดับ 12 ของโลก และสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ประมาณการดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) GDP ภาคอุตสาหกรรมปี 2567 จะมีขยายตัวอยู่ที่ 2.0-3.0%

โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่คาดว่าจะขยายตัวได้ดี อาทิ กลุ่มผลไม้แช่เย็น-แช่แข็ง กลุ่มอาหารทะเล ทูน่ากระป๋อง กุ้งสดแช่แข็ง และสินค้าที่มีแนวโน้มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เช่น อาหารและเครื่องดื่มสุขภาพ อาหารเฉพาะทาง อาหาร ฮาลาล และ อาหารแปรรูปคุณภาพสูง ทำให้อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ก็เติบโตขึ้นเช่นกัน โดยปี 2566 มีมูลค่ารวม 1.10 ล้านล้านดอลลาร์ และจะเพิ่มเป็น 1.33 ล้านล้านดอลลาร์ ในปี 2571 จากการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม การออกแบบและการเลือกใช้วัตถุดิบที่ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายง่าย การเปลี่ยนไปใช้บรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว สัญญาณดังกล่าวส่งผลดีต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิตไทยทั้งระบบ โดยงาน ProPak Asia ยังคงเป็นงานสำคัญที่ช่วยสร้างและเติมเต็มระบบนิเวศทางธุรกิจและอุตสาหกรรมระดับภูมิภาคให้เกิดการเติบโต ซึ่งงาน ProPak Asia 2023 นับว่าเป็นปีที่พลิกฟื้นจากสถานการณ์โควิดได้อย่างรวดเร็ว มีผู้ร่วมจัดแสดงงานถึง 1,800 รายจาก 45 ประเทศ และมีผู้เข้าร่วมชมงานกว่า 58,555 คน จาก 75 ประเทศทั่วโลก

ส่วนงาน ProPak Asia 2024 ยังคงความเป็นงานแสดงเทคโนโลยีด้านกระบวนการผลิต การแปรรูปและบรรจุภัณฑ์ชั้นนำระดับเอเชีย เป็นงานที่จะตอบโจทย์ครบทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และห่วยโซ่อุปทาน (Supply Chain)ของเทคโนโลยีกระบวนการแปรรูปอาหาร บรรจุภัณฑ์ การจัดเก็บ และ การขนส่ง เรียกได้ว่าครบตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ สำหรับผู้ประกอบการทุกขนาด ไม่ว่าจะเป็น Start Up, SME, ธุรกิจขนาดเล็ก ธุรกิจขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถเข้ามาชมนวัตกรรม เทคโนโลยี อัพเดทเทรนด์ และ ความรู้ใหม่ เพื่อนำไปต่อยอดเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า

สำหรับแนวคิดของการจัดงาน ProPak Asia 2024 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ยกระดับความสำเร็จในกระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน ด้วยแนวคิด นวัตกรรม และ การลงทุน” (Sustainably Empowering Processing & Packaging Success with Ideation, Innovation and Investment) เพื่อกระตุ้นให้เกิดแรงบัลดาลใจ ความคิดสร้างสรรค์ ผู้ประกอบการจะได้พบนวัตกรรมต่างๆ เทคโนโลยีการผลิต การแปรรูปเพื่อไปถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Carbon) การเลือกใช้วัสดุ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ และอื่นๆ ไปต่อยอดลงทุนให้ธุรกิจประสบ

ความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน ส่วนกลุ่มผู้เข้าร่วมงานหลักของ ProPak Asia มาจากกลุ่มผู้ประกอบการอาหาร เครื่องดื่ม ยา เครื่องสำอาง สินค้าอุปโภค บริโภค ที่สนใจเข้ามาชมงานเป็นทางลัดแก่ผู้สนใจไม่ต้องเดินทางไปดูงานถึงยุโรป หรือ อเมริกา แต่สามารถอัพเดทเทรนด์เทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากตัวจริงในอุตสาหกรรม พบปะคู่ค้า สร้างโอกาสและร่วมสร้างเครือข่ายธุรกิจระดับนานาชาติได้ นอกจาก ProPak Asia จะเป็นงานที่จัดขึ้นต่อเนื่องทุกปีแล้ว ProPak Asia 2024 ครั้งนี้เป็นการจัดงานครั้งที่ 31 เป็นจุดหมายปลายทางของผู้ประกอบการที่ต้องเข้าร่วมงานในทุกครั้งของการจัดงานและเป็นงานใหญ่สำคัญของอุตสาหกรรมการผลิตโลก ด้วยการเป็นเวทีเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจและอุตสาหกรรมทั้งระบบ

งาน ProPak Asia 2024 มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-15 มิถุนายน 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ

สำหรับงานในครั้งนี้ แบ่งพื้นที่จัดแสดงงานเป็น 8 โซน ประกอบด้วย

1) ProcessingTechAsia เทคโนโลยีเพื่อการแปรรูปอาหารปรุงสุก

2) PackagingTechAsia เทคโนโลยีการบรรจุภัณฑ์ และ กระบวนการบรรจุภัณฑ์

3) DrinkTechAsia เทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม

4) PharmaTechAsia เทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมยา

5) Lab&TestAsia เทคโนโลยีการตรวจสอบ และ ควบคุมมาตรฐานการผลิต ผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์

6) PackagingSolutionAsia เทคโนโลยีการผลิตบรรจุภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์สำเร็จรูป

7) Coding,Marking&LabellingAsia เทคโนโลยีเพื่อการเขียนรหัส, ติดป้าย, และปักหมายเลขบนสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ต่างๆ

8) Coldchain,Logistics,Warehousing&FactoryAsia เทคโนโลยีเพื่อการขนส่ง จัดเก็บสินค้า และ เทคโนโลยีที่สนับสนุนกระบวนการผลิต

โดยใช้พื้นที่จัดงานฯ เต็มพื้นที่ของศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค ภายในงานมีการจัดแสดงพาวิลเลียนนานาชาติถึง 14 กลุ่มประเทศ อาทิ ออสเตรีย บาวาเรีย ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน สวิตเซอร์แลนด์ อังกฤษ อเมริกาเหนือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย สิงคโปร์ และ ไต้หวัน โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลของแต่ละประเทศในการเข้าร่วมงานฯ เพื่อนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาจัดแสดง นอกจากนั้นยังมีบริษัทชั้นนำของโลกยืนยันเข้าร่วมจัดแสดงงานแล้วกว่า 2,000 แบรนด์ จาก 45 ประเทศ ทำให้คาดว่าในปีนี้จะมีผู้เข้าร่วมชมงานไม่ต่ำกว่า 60,000 คน จึงอยากเชิญชวนให้ผู้ประกอบการและผู้สนใจในอุตสาหกรรมการผลิต แปรรูป และบรรจุภัณฑ์ ไม่พลาดที่จะเข้าร่วมงาน ProPak Asia 2024 ในครั้งนี้

ผู้สนใจรายละเอียดการจัดงานและต้องการลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อเข้าชมงาน ProPak Asia 2024 สามารถลงทะเบียนได้ที่ www.propakasia.com

ปัญญาประดิษฐ์ (AI) กลายเป็นหัวข้อที่ได้รับการพูดถึงบ่อยครั้งในปัจจุบัน เพราะ ChatGPT และเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกันกำลังส่งผลต่อชีวิตประจำวันของผู้คน แต่ AI ก็ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ ต้นกำเนิดของ AI สามารถย้อนกลับไปได้ถึงในช่วงทศวรรษ 1950 ทั้งนี้ผลจากการวิจัยและพัฒนาทางเทคโนโลยีที่สั่งสม มานานหลายทศวรรษจนถึงปัจจุบัน กำลังกลายเป็นกระแสหลักและสร้างความแตกต่างอย่างแท้จริง

สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มก็เช่นกัน ธุรกิจจำนวนมากขึ้นกำลังเก็บเกี่ยวประโยชน์ต่าง ๆ จากเทคโนโลยี AI พร้อมกันนี้มีการคาดการณ์ว่า ตลาด AI ในภาคอาหารและเครื่องดื่มจะมีมูลค่าสูงถึง 29.94 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2571 ดังนั้นจึงคาดว่าธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่ลงทุนใน AI จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ยังคงมีความสับสนอย่างมากว่าแท้จริงแล้ว AI คืออะไร ทำงานอย่างไร และเป็นประโยชน์ต่อภาคอาหารและเครื่องดื่มอย่างไร

AI คืออะไร แมชชีนเลิร์นนิงคืออะไร

 

AI คือความสามารถของคอมพิวเตอร์หรือเครื่องจักร ที่สามารถลอกเลียนหรือเลียนแบบพฤติกรรม อันชาญฉลาดและปฏิบัติงานได้เหมือนมนุษย์ โดยสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ที่ต้องใช้ความสามารถ ในการเรียนรู้ของมนุษย์ เช่น การคิด การใช้เหตุผล การเรียนรู้จากประสบการณ์ และที่สำคัญที่สุดคือ การตัดสินใจได้เอง

ส่วนแมชชีนเลิร์นนิง (Machine Learning - ML) นั้นเป็นส่วนหนึ่งของ AI ที่สามารถเรียนรู้และปรับเปลี่ยนได้โดยไม่ต้องตั้งโปรแกรมหรือช่วยทำ แมชชีนเลิร์นนิงใช้อัลกอริธึมและแบบจำลองทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างชาญฉลาด โดยวินิจฉัยจากรูปแบบข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการขั้นต่อไป

AI เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในด้านใด ?

พูดง่าย ๆ ก็คือ AI (เฉพาะส่วนแมชชีนเลิร์นนิง) มีความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอาหาร ทุกด้าน ทำให้แอปพลิเคชันอัจฉริยะที่ออกแบบเฉพาะสำหรับแต่ละอุตสาหกรรม สามารถปรับปรุงระบบ ห่วงโซ่อุปทานได้ทุกจุดตั้งแต่แหล่งกำเนิดไปจนถึงมือผู้บริโภค ช่วยสร้างระบบห่วงโซ่อุปทานที่มี ความคล่องตัวและขับเคลื่อนให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

ส่วนแมชชีนเลิร์นนิงสามารถให้คำแนะนำที่แม่นยำและทันเวลาสำหรับระบบห่วงโซ่อุปทานได้เกือบทุกด้าน ด้วยความสามารถในการคำนวณค่าข้อมูล พารามิเตอร์ สถานการณ์จำลอง และปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ จำนวนมาก ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยากจะเลียนแบบหากปราศจาก การใช้เทคโนโลยี AI

มีการใช้แมชชีนเลิร์นนิงในด้านใดบ้าง ?

ดูเหมือนว่าอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มจะมีการใช้แมชชีนเลิร์นนิงอย่างไร้ขีดจำกัด เช่น เรื่องเกษตรแม่นยำ (precision farming) ที่แมชชีนเลิร์นนิงสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกใหม่ ๆ ซึ่งอาจเป็นการวิเคราะห์ การเก็บเกี่ยวที่ผ่านมาทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ควบคู่ไปกับการพยากรณ์สภาพอากาศเพื่อกำหนดพื้นที่และเวลาที่ต้องรดน้ำ หรือเวลาที่ต้องใส่ปุ๋ย เป็นต้น

บริษัทอาหารและเครื่องดื่มจำนวนมากขึ้นหันมาใช้ AI เพื่อช่วยลดการสูญเสีย และค้นหาความไร้ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นในระบบห่วงโซ่อุปทานเตรียมพร้อมรับกับทุกสถานการณ์

เมื่อไม่นานมานี้ เราอาจพอเข้าใจได้ถึงการที่ธุรกิจอาหารคิดว่าสิ่งที่แน่นอนที่สุดคือความไม่นอน แต่ด้วยสภาพอากาศแปรปรวนเพิ่มขึ้นที่ไม่สามารถคาดเดาได้ แมชชีนเลิร์นนิงจะเข้ามีบทบาทด้านใดในเรื่องนี้ หากไม่มีรูปแบบข้อมูลให้ค้นหาสิ่งที่แมชชีนเลิร์นนิงทำได้คือ ช่วยให้เข้าใจความเสี่ยงของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น รวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดต่อการเก็บเกี่ยวทั่วโลก ซึ่งความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นนี้จะช่วยให้กำหนดแผนงานที่จำเป็น ในการลดความเสี่ยงเหล่านี้ได้ แต่ถึงแม้จะมีเทคโนโลยีแมชชีนเลิร์นนิงทันสมัยที่สุดพร้อมสรรพแล้วก็ตาม เพื่อให้แน่ใจว่ากลยุทธ์เหล่านี้มีประสิทธิภาพก็ต้องมีความเห็นพ้องต้องกันด้วย ทั้งนี้ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่า ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในระบบห่วงโซ่อุปทานอาหารจะต้องยืดหยุ่นมากขึ้น ลดการใช้น้ำ พลังงาน และทรัพยากรอื่น ๆ ให้น้อยลง โดยแมชชีนเลิร์นนิงจะสามารถรองรับ การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดที่กล่าวมาได้

ในขณะที่เทคโนโลยีพัฒนาและธุรกิจต่าง ๆ ค้นพบประโยชน์ของการประยุกต์ใช้ AI ความสามารถของ AI ก็จะยิ่งพัฒนามากขึ้นไปอีก โดยได้รับการปรับปรุงให้เหมาะกับการแก้ปัญหาเฉพาะของอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ ดังที่เราได้เห็นแล้วว่าการประยุกต์ใช้ AI อย่างรอบคอบกำลังช่วยเหลือธุรกิจต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม และในระบบห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้คาดว่าจะมีการใช้ AI เพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เพราะ AI ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นตัวขับเคลื่อนประสิทธิภาพที่แท้จริง พร้อมทั้งช่วยให้ธุรกิจวางแผนรับมือกับเหตุการณ์ทั้งหลายที่อาจเกิดขึ้น โดยให้ข้อมูลเชิงลึกที่นำไปปฏิบัติได้จริง ซึ่งจำเป็นต่อการก้าวล้ำนำหน้าคู่แข่งอยู่ตลอดเวลา

สำหรับประเทศไทย รัฐบาลได้ขับเคลื่อนแผนพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เพื่อสร้างมูลค่าเศรษฐกิจในอาเซียนกว่า 1.9 พันล้านล้านบาทในปี 2573 โดยมีโครงการ AI Thailand เป็นหน่วยงานกลางเพื่อการพัฒนาที่มุ่งสนับสนุนทิศทางการพัฒนาในทุกด้าน รวมถึงการส่งเสริมการพัฒนา การศึกษา การนำไปใช้ และความปลอดภัยให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากการใช้เทคโนโลยี AI อย่างยั่งยืน โดยได้ทำการสำรวจธุรกิจใน 10 ภาคส่วน ครอบคลุมผู้ตอบแบบสอบถามจาก 3,529 บริษัท โดยผลการศึกษาพบว่า 15.2% ของธุรกิจได้นำ AI ไปใช้แล้ว 56.7 % มีแผนจะใช้ในอนาคต และ 28.2% ไม่มีแผนใด ๆ ในการใช้ AI

ดังนั้นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว รัฐบาลจึงได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) จัดทำแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (พ.ศ. 2565 – 2570) ขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่าเทคโนโลยี AI จะถูกนำไปใช้อย่างมีจริยธรรมและความรับผิดชอบ ตลอดจนจัดทำแนวทางการใช้ AI ในภาคส่วนต่าง ๆ นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมการใช้ AI ในการเกษตรและอาหารเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน โดยเทคโนโลยี AI จะช่วยให้เกษตรกรตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการพืชผล สุขภาพของดิน และการควบคุมศัตรูพืชได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนา AI สำหรับอาหาร เพื่อปรับปรุงความปลอดภัยและคุณภาพของอาหารอีกด้วย

สมาคมโรงแรมไทย สมาคมภัตตาคารไทย และ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผสานพลังสร้างกลยุทธ์ สร้างการท่องเที่ยวมูลค่าสูงขับเคลื่อนเร็ว จับกระแส Maga Trend ส่งเสริม Soft Power อาหารไทย พร้อมร่วมมือจัดงาน Food & Hospitality Thailand 2023 ดึงผู้ผลิตสินค้า บริการและโซลูชั่นระดับโลก ร่วมโชว์ผลิตภัณฑ์ใหม่ นวัตกรรม-เทคโนโลยีล่าสุด คาดปีนี้มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 28,000 คน

ในงานเสวนาพิเศษ “รวมพลังสร้างกลยุทธ์เพิ่มมูลค่า เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย” ซึ่งร่วมกันจัดขึ้นโดย สมาคมโรงแรมไทย สมาคมภัตตาคารไทย และ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย พร้อมแถลงความร่วมมือการจัดงาน Food & Hospitality Thailand 2023 โดยเนื้อหาในการเสวนากล่าวถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ขับเคลื่อนได้รวดเร็ว เป็นอีกกลยุทธ์สำคัญของการท่องเที่ยวไทย โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ประกอบการในภาคท่องเที่ยวทั้งระบบ

นางมาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย กล่าวถึงแนวโน้มของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่กำลังเติบโตขณะนี้ว่า เป็นกลุ่มการท่องเที่ยวพร้อมทำงาน (Work from Anywhere) ซึ่งเป็นวิถีชีวิตและการทำงานของคนรุ่นใหม่ที่ไม่ยึดติดกับสถานที่ คนเหล่านี้เรียกว่า Digital Nomad มักเลือกแหล่งท่องเที่ยวที่ใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ ค่าครองชีพไม่สูง อากาศดี มาตรการวีซ่าไม่ยุ่งยาก และจะใช้เวลาการท่องเที่ยวนานกว่านักท่องเที่ยวปกติ ซึ่งไทยก็เป็นหนึ่งในจุดหมายของการท่องเที่ยวของคนกลุ่มนี้ ส่วนแนวโน้มการท่องเที่ยวของโลกนั้น การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Travel) กลายเป็นกระแสหลักที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวตระหนักถึงและช่วยกันผลักดันให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าสู่ระบบนิเวศ (Ecosystem) เดียวกัน ดังนั้นภาครัฐและผู้ประกอบการไทยต้องเร่งส่งเสริมเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งการมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดขยะ ใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า รักษาแหล่งท่องเที่ยวและธรรมชาติให้สมบูรณ์ หากเราทำได้ดีก็จะมีแต้มต่อในการสนับสนุนการท่องเที่ยวไทยจากทั่วโลกและยังส่งผลดีต่อทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวด้วย

สำหรับการสนับสนุนและร่วมจัดงาน Food & Hospitality Thailand นั้น ถือเป็นวาระสำคัญของสมาคมฯ เพราะนอกจากจะได้ติดตามแนวโน้มการท่องเที่ยว พบกับสินค้าและบริการจากบริษัทชั้นนำแล้ว ปีนี้ยังเป็นปีพิเศษฉลองครบรอบ 60 ปี ของสมาคม พร้อมมีการจัดประชุมใหญ่ประจำปีและกิจกรรมให้ความรู้กับสมาชิกและผู้สนใจ โดยร่วมกับ มูลนิธิใบไม้สีเขียว ในหัวข้อเกี่ยวกับการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การคำนวณคาร์บอนในการเข้าพัก การลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน รวมถึงการจัด Hospitality Digital Day ที่พูดถึง Digital Marketing สำหรับธุรกิจโรงแรมทุกแง่มุม การแข่งขัน Thailand & AHRA ASEAN Hotel Bartenders’ Championships 2023 เพื่อพัฒนาทักษะพนักงานบาร์เทนเดอร์โรงแรมด้วย

 

นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย กล่าวถึง การส่งเสริมอาหารไทยให้เป็น Soft Power ด้านการท่องเที่ยวไทยว่า อาหารไทย (Food) เป็นหนึ่งใน 5F ของ Soft Power เป้าหมายที่ ททท. วางไว้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านความอุดมสมบูรณ์ของวัฒนธรรมอาหารไทย หรือ การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism) ซึ่ง 20% ของค่าใช้จ่ายที่นักท่องเที่ยวต่างชาติจ่ายในการท่องเที่ยวไทยมาจากอาหาร โดยในปี 2562 นักท่องเที่ยวต่างชาติมีการใช้จ่ายด้านอาหารในไทยสูงถึง 6 แสนล้านบาท ซึ่งในการการพัฒนาอาหารไทยให้เป็น Soft Power นั้น ต้องร่วมกันสร้างมาตรฐานพัฒนาทั้งระบบ ทั้งด้านสาธารณสุข ความสะอาด ปลอดภัย รสชาติ ฯลฯ รวมถึงประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อที่เข้าถึงง่าย อาทิ ภาพยนตร์ ซีรีย์ ดารานักร้อง รายการอาหาร และรางวัลอาหารระดับโลก อาหารไทยมีข้อได้เปรียบหลายด้าน ทั้งอาหารไทยแท้และเกิดจากการผสมผสานหลายวัฒนธรรมดัดแปลงร่วมกับวัตถุดิบท้องถิ่นจนมีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ โดยปีนี้อาหารไทยติด 10 Best Rated Curries ถึง 5 อันดับ ได้แก่ แกงพะแนง ข้าวซอย แกงเขียวหวาน แกงมัสมั่น และแกงส้ม ความมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเป็นเสน่ห์ที่ชวนให้หลงไหลและทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเพื่อสัมผัสกับรสชาติที่แท้จริงของอาหารเหล่านี้

ส่วนการจัดงาน Food & Hospitality Thailand นั้น สมาคมฯ ให้การสนับสนุนมาตลอด มีการเชิญสมาชิกให้เข้าร่วมงานเพื่อหาความรู้รับทราบแนวโน้มธุรกิจใหม่ๆ พร้อมร่วมประชุมและร่วมกิจกรรม โดยกิจกรรมที่น่าสนใจปีนี้ คือ การเชิญวิทยากรที่เป็นนักธุรกิจอาหาร ซึ่งประสบความสำเร็จ มาสร้างแรงบันดาลใจ แนะนำการบริหารและการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ จึงขอเชิญให้ผู้สนใจติดตามและเข้าร่วมกิจกรรมที่จะจัดขึ้นในครั้งนี้

นายสรรชาย นุ่มบุญนำ ผู้จัดการทั่วไป อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย กล่าวว่า งาน Food & Hospitality Thailand มีเป้าหมายการในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้เป็นกำลังสำคัญของธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งไทยเป็นจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวของโลก แต่เราจะสร้างความประทับใจ สร้างแรงดึงดูดใจ และรักษาตำแหน่งนี้ไว้ได้อย่างไร การจัดงาน Food & Hospitality Thailand แต่ละครั้งผู้จัดงานจึงต้องทำงานกันอย่างหนัก ทั้งรวบรวมฐานข้อมูลการจัดงานและผู้ประกอบการจากทั่วโลกมาประมวลผลสรุปเป็นแนวทางจัดงาน พร้อมนำเสนอแนวโน้ม ทิศทาง และโอกาสใหม่ๆ ของธุรกิจการท่องเที่ยวให้แก่ผู้เข้าร่วมงานได้รับทราบ เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ธุรกิจก่อนเสมอ

สำหรับแนวคิดในการจัดงานฯ ครั้งนี้ คือ เชื่อมโยงสู่อนาคต (Connecting the Future) เนื่องจากปีนี้การท่องเที่ยวมีการเดินหน้าต่อเนื่องหลังฟื้นตัวจากช่วงโควิด ทำให้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไทยถึง 30 ล้านคน ด้วยสัญญาณบวกนี้ส่งให้งานฯ ปีนี้มีความสำคัญมากขึ้น ผู้ประกอบการต่างมองหาผลิตภัณฑ์ บริการ และโซลูชั่นระดับพรีเมียมไว้รองรับและสร้างความพึ่งพอใจให้กับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามามากขึ้นในช่วงปลายปีนี้และปีหน้า ทั้งยังเป็นการขานรับและดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกันกับกลยุทธ์ที่ทาง ททท. และ องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยววางไว้

ดังนั้นงาน Food & Hospitality Thailand 2023 จึงได้รับความสนใจจากผู้ผลิตสินค้าและบริการระดับพรีเมียมในการเข้าร่วมจัดแสดงงานกว่า 2,000 แบรนด์ จาก 20 ประเทศทั่วโลก ในโซนต่างๆ ของการจัดงานฯ ได้แก่ Coffee & Bakery Thailand (CBT), Restaurant & Bar Thailand (RBT) และ 2 โซนใหม่ Shop & Retail Thailand (SRT), และ Cleaning

Hygiene Thailand (CHT) ที่เกิดขึ้นครั้งแรก ส่วนความพิเศษในปีนี้ คือ การจับมือกับพันธมิตรรายใหญ่ยักษ์ใหญ่จากจีน ที่นำงาน Hotel & Shop Plus Thailand งานแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์สำหรับการออกแบบตกแต่งอาคาร โรงแรมและพื้นที่เชิงพาณิชย์ มาร่วมจัดแสดง นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมงานสัมมนา การประชุม เวิร์กชอป และการแข่งขันที่น่าสนใจมากมาย อาทิ สัมมนาพิเศษจาก ททท. หัวข้อ “โอกาสการเติบโตของธุรกิจอาหารออร์แกนิกและความเป็นคลังอาหารของประเทศไทย รวมถึงการเป็นผู้นำด้านการท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism)”, การแข่งขันทำอาหาร Thailand's 27th International Culinary Cup (TICC), การแข่งขัน Latte Art และ Coffee in Good Spirits, การทำเบเกอรี่ ไอศกรีม ศิลปะการตกแต่งอาหาร บาริสต้าและบาเทนเดอร์เวิร์กชอป ฯลฯ โดยการจัดงานฯ ครั้งนี้คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมชมงานกว่า 28,000 คน

โดยงาน Food & Hospitality Thailand 2023 มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-26 สิงหาคม 2566 ณ ฮอลล์ 1-3 ชั้น G ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ผู้สนใจรายละเอียดการจัดงานฯ สามารถติดตามข้อมูลได้ที่ www.fhtevent.com

เซโนสติกส์ คิดค้นหาชุดตรวจสอบเชื้อ “DNA chip” ตอบโจทย์ห้องแล็บทางการแพทย์ และอุตสาหกรรมอาหาร ที่มีต้นทุนต่ำกว่าเดิมเกือบ 80 % และลดระยะเวลาจาก 3 วันเหลือเพียง 3 ชม. ซึ่งนี่เป็นงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ ที่มาถูกจังหวะและโอกาส เช่นเดียวกับผลงานหลายชิ้นที่เกิดขึ้นในยุคไทยแลนด์ 4.0 เป็นที่มาของการแจ้งเกิดสตาร์ตอัพดาวรุ่งในอีกหลายๆ สายงาน

กวิน น้าวัฒนไพบูลย์ Founder & CEO และภัทราวุธ คุณวิภูษิต Co-Founder & MD บริษัท เซโนสติกส์ จำกัด ซึ่งเป็นสตาร์ตอัพดีพเทคโนโลยี (Deep Technology) ที่เน้นด้านการวิจัยและพัฒนาเชิงทดลองด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีการตรวจเชื้อโรคทางการเกษตร โดยเขากล่าวถึงจุดเริ่มต้นของธุรกิจว่า มีที่มาจากปัญหาระยะเวลา 3 -5 วัน ของกระบวนการตรวจสอบเชื้อในทางการแพทย์ หรือการตรวจเชื้อปนเปื้อนในอาหาร ซึ่งส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตที่ล่าช้า ก่อให้เกิดต้นทุนตามมา

สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร จะทำให้กระบวนการผลิตล่าช้า ก่อให้เกิดต้นทุนหลายด้าน ทั้งการสต๊อคของ ต้นทุนการทำงานล่วงเวลา การสำรองกำลังพล รวมทั้งความยุ่งยากในกระบวนการตรวจ ที่กว่าจะเป็นตัวผลิตภัณฑ์ออกมาถึงมือผู้บริโภค จะต้องอยู่ในกระบวนการผลิตนานเกินกว่าที่จำเป็น และมีต้นทุนมากขึ้น ขณะเดียวกันในด้านของบริษัทที่ดำเนินการ ด้านห้องปฏิบัติการตรวจสอบความปลอดภัยของอาหาร หรือห้องแล็บตรวจสอบอาหาร ก็ต้องเพิ่มกำลังคนในช่วงที่ต้องเร่งตรวจสอบ ในกรณีที่มีตัวอย่างส่งเข้ามาพร้อมกัน และขั้นตอนการตรวจสอบอันซับซ้อน ทั้งการจัดเตรียม การเลี้ยงเชื้อ กว่าจะได้ผลอย่างน้อยต้องใช้เวลาถึง 3 วัน

ในทางการแพทย์ หรือในโรงพยาบาล ก็เผชิญปัญหานี้เช่นกัน ซึ่งเซโนสติกส์ได้ให้ความสำคัญกับวิธีการตรวจเชื้อดื้อยาให้เร็วขึ้น เพราะในปัจจุบันนี้ เชื้อดื้อยาเป็นปัญหาใหญ่ของสาธารณสุขทั่วโลก ซึ่งองค์การอนามัยของโลกเองก็เป็นกังวลกับเรื่องนี้ เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มียาปฏิชีวนะ (Antibiotic) ตัวใหม่ๆ ที่จะใช้รักษาโรคได้

ดังนั้นนโยบายหนึ่งที่มองว่าเป็นการหาทางออกเพื่อแก้ปัญหานี้คือ การพัฒนาชุดตรวจ ให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้น

การตรวจสอบเร็วขึ้นดีอย่างไร ข้อแรก คือ ลดโอกาสการเสียชีวิตผู้ป่วยได้ และสอง คือ ลดการใช้ยาปฏิชีวนะที่เกินความจำเป็น จะได้มียาปฏิชีวนะตัวแรงๆ เหลือไว้สำหรับกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้จริง คิดถึงผลดีว่า ถ้าเราสามารถให้คนไข้มารับผลการตรวจและรับยาปฏิชีวนะได้ในวันรุ่งขึ้น แพทย์สามารถสั่งยาปฏิชีวนะได้ตรงตามเชื้อ ไม่มีความจำเป็นต้องจ่ายยาตัวที่แรงกว่า และเก็บตัวที่แรงกว่าไว้ใช้กรณีที่เจอเชื้อดื้อยา สามารถลดโอกาสการเสียชีวิต

นอกจากนี้ยังสามารถลดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วย กรณีที่ต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล 3 –4 วัน เพื่อรอผลการตรวจเชื้อ ทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากกว่าที่จำเป็น หรือต้องอยู่ต่อไปเพื่อให้ยาที่ถูกต้องตรงกับเชื้อ การตรวจแล้วได้ผลเร็วจะลดจำนวนวันของการแอดมิทลง

 

 

DNA chip เทคโนโลยีใหม่

กวินทร์ เจ้าของงานวิจัยชุดตรวจ DNA chip เทคโนโลยีใหม่ เล่าถึงปัญหาที่เห็นจึงได้มีการวิจัยคิดค้น เพื่อพัฒนาชุดตรวจ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และรวดเร็วขึ้น บนต้นทุนที่ต่ำลง จนเป็นผลสำเร็จด้วย เทคโนโลยีดีเอ็นเอชิพ (DNA chip) ซึ่งแตกต่างและมีราคาที่ต่ำกว่า ซิลิคอนเวเฟอร์ของต่างประเทศ ที่มีราคาสูง จนไม่สามารถนำมาใช้ในโรงพยาบาลหรือห้องแล็บอุตสาหกรรมได้ เพราะราคาของซิลิคอนเวเฟอร์อยู่ที่ประมาณชุดละ 6 -7 พันบาท ในขณะที่ชุดตรวจ DNA chip ที่เซโนสติกส์พัฒนาขึ้นมานั้น ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 1,000 – 1,500 บาท และลดระยะเวลาจากการเพาะเชื้อแบบเดิม 3-5 วันมาที่ประมาณ 3 ชม. เท่านั้น

หลังจากงานวิจัยเป็นผลสำเร็จ กวินทร์ได้มีการพูดคุยกับอาจารย์ ซึ่งเล็งเห็นถึงศักยภาพการเติบโตทางธุรกิจ จึงได้แนะนำให้ขยายผลเป็นการทำโครงการสตาร์ตอัพในสาขา Material science หลักการทำงานของ DNA chip คือการวินิจฉัย (Diagnosis) ชนิดของไมโครแบคทีเรียจาก DNA ของไมโครแบคทีเรียนั้น โดยสามารถตรวจสอบได้ทั้งในทางอาหาร และทางการแพทย์

ขยายผลสู่อุตสาหกรรมอาหาร

การตรวจเชื้อที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วนี้ เราโฟกัสไปที่อุตสาหกรรมอาหาร เพราะมองเห็นโอกาส จากข้อจำกัดที่ผ่านมาอุตสาหกรรมอาหารไม่มีโอกาสใช้ DNA chip เนื่องจากรายได้ไม่มากพอกับการลงทุนทดสอบที่มีต้นทุนสูงมาก ทำให้ยังไม่เคยมีการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ ดังนั้นเมื่อเราทำให้วิธีการทดสอบที่จะนำเข้าไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร มีราคาถูกลงได้ ก็น่าจะเป็นทางเลือกใหม่ที่ช่วยผู้ประกอบการ และแล็บสามารถตรวจสอบและวิเคราะห์เชื้อได้อย่างรวดเร็วขึ้น

ไม่เพียงเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารเท่านั้น ส่วนนี้ยังเป็น core เทคโนโลยีที่สามารถแยกไปได้อีกมากมาย และที่สำคัญคือปัจจุบันมียูสเซอร์ที่สนใจ และต้องการใช้ชุดตรวจ ซึ่งกำลังเริ่มทดลองใช้ในศูนย์บริการห้องแล็บรายใหญ่ 3 แห่ง ทั้งของไทย และต่างประเทศที่เข้ามาตั้งสาขาที่นี่ (Intertek & ALS)

ซึ่งการเจาะตลาดเข้าไปยังแล็บ เพราะมองตลาดโดยรวมแล้ว เห็นว่าธุรกิจอาหารส่วนใหญ่ไม่มีแล็บเป็นของตนเอง เพราะเป็นการลงทุนที่สูงมาก นอกจากบริษัทที่อยู่ในเครือธุรกิจอาหารยักษ์ใหญ่จึงจะมีแล็บเป็นของตนเอง ดังนั้นบริษัทอาหารที่ไม่มีแล็บเป็นของตัวเอง จึงส่งตัวอย่างเข้าไปตรวจสอบยังศูนย์บริการห้องแล็บในปริมาณที่สูงมาก มีการประมาณการว่า เมื่อการทดลองเสร็จสมบูรณ์และเริ่มการจำหน่ายจริง จะมีการใช้แผ่น DNA chip ของเซโนสติกส์ประมาณ 2,000 แผ่นต่อเดือน

“นั่นเป็นเหตุผลที่แล็บต่างๆ จะเลือกเรา เพราะเห็นความคุ้มค่าของต้นทุน และความเร็ว ทำให้ลด Operation cost ได้ และมี Output มากขึ้น”

สำหรับการขยายธุรกิจเข้าไปในแล็บนั้น กวินทร์มองว่า ในระยะนี้ได้แค่เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะมีเงินทุนจากรัฐบาลเข้ามาช่วยสนับสนุนให้ขับเคลื่อนได้ แต่หากจะต้องลงทุนขยายการผลิตเพื่อการจำหน่ายต่อไปนั้น จะต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล การเริ่มจาก B2B ที่มี Potential Customer เป็นแล็บรายใหญ่ 3 รายจากตลาดรวมในอุตสาหกรรมอาหารที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 10 รายใหญ่ทั่วประเทศ ซึ่งกำลังทยอยเข้าไปนั้น ทุกรายต้องการแก้ปัญหาเดียวกันหมด คือ อยากได้ความรวดเร็ว ที่สามารถลดระยะเวลาในการตรวจสอบ รวมถึงการลดต้นทุนในด้านอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

ขณะที่ตลาดในต่างประเทศ มองตลาดในเซาสท์อีสต์เอเชีย เช่น อินโดนีเซีย เวียดนาม ซึ่งมองว่าเป็นกลุ่มประเทศที่มีอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร ซึ่งมีปัญหาและข้อจำกัดที่เหมือนกัน ดังนั้นชุดตรวจจึงน่าจะเป็นทางเลือกให้บริษัทอาหารในต่างประเทศต้องการนำมาใช้สำหรับธุรกิจด้วยเช่นกัน

สินค้าตอบโจทย์แต่ยังมีข้อจำกัดอื่นที่ต้องก้าวข้ามไปให้ได้

สิ่งที่เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจของสตาร์ตอัพหลายรายสามารถคิดค้นผลิตสินค้าขึ้นมาตอบโจทย์สนองความต้องการของตลาดได้ แต่ยังมีข้อจำกัดอื่นๆ อีกหลากหลายมิติที่สำคัญ และไม่สามารถละเลยไปได้

กวินทร์ กล่าวว่า การขยายตลาดยังคงมีข้อจำกัดคือ การทำชุดตรวจนี้ ไม่เหมือนกับสินค้าที่ใช้กับยูสเซอร์ทั่วไป ยังคงต้องผ่านกฎเกณฑ์ที่จำเป็นตามกฎหมายหลายอย่าง เช่น ต้องมีการขอ ISO ที่มารับรองผลการทดสอบ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับว่า สามารถใช้ทดสอบได้แทนเทคนิคเดิม สำหรับการทำ ISO นั้น อยู่ระหว่างการดำเนินการ เพราะเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นว่า การที่ทำราคาได้ถูกกว่า เร็วกว่า ก็ยังต้องเผชิญกับข้อจำกัดอื่นๆ อีก ตั้งแต่มาตรฐานในอุตสาหกรรมอาหาร สิ่งเหล่านี้จึงถือเป็นอีกเสต็ป ที่ต้องก้าวผ่านไปให้ได้ การทำ Third Party Validation เป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนออกสู่ตลาดจริง เป็นการเก็บข้อมูลทดสอบพร้อมกันไป เพื่อเป็นการยื่นประกอบในการขอ ISO ซึ่งคาดว่าเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาพอสมควร ประมาณการไว้ภายในปีนี้

นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดจากภายในบางส่วน คือเรื่องคน เนื่องจากการทำธุรกิจที่พื้นฐานมาจากรูปแบบมหาวิทยาลัย ดังนั้นบุคลากรคือนักศึกษา ซึ่งทำให้ไม่สามารถปฏิบัติงานเต็มเวลาได้ โดยส่วนใหญ่ที่เข้ามาทำงานเกี่ยวกับการค้นคว้า จะเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท ดังนั้นกรณีงานเร่งด่วน จะไม่เหมือนรูปแบบบริษัททั่วไป ที่สามารถระดมคนเพื่อทำให้เสร็จได้ในเวลาจำกัด เพราะทุกคนไม่ได้รับการซัพพอร์ทใดๆ และมีหน้าที่อื่นๆ การเร่งจึงไม่ได้ตามแผน ไม่ได้สปีดอย่างที่ต้องการมากนัก

มุมมองการหา FUNDING

ส่วนที่สำคัญอีกเรื่อง คือ การหาแหล่งเงินทุนหรือ FUNDING ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ซึ่งกวินทร์กล่าวว่า หากในช่วงเริ่มต้นไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐฯ อย่างเต็มที่ การดำเนินธุรกิจของเซโนสติกส์ก็คงไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ เพราะการขอเงินทุนจากธุรกิจบริษัทเอกชนโดยตรง เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก เห็นได้ว่าแต่ละมหาวิทยาลัยนั้นมีองค์ความรู้มากแต่ขาดในส่วนนี้ โดยเฉพาะดีพเทคโนโลยีต้องใช้งบประมาณที่ค่อนข้างสูง การสนับสนุนสตาร์ตอัพจึงต้องใช้ความคล่องตัวในการขับเคลื่อน และใช้ระบบที่ต่างจากราชการ

ในส่วนของเซโนสติกส์นั้น มองหาลู่ทางการหา FUNDING เช่น SPRINT Accelerator ของ SCG chemical ที่เปิดรับสมัครสตาร์ตอัพสาย deep-tech ซึ่งเราได้เข้าร่วมและเป็นโครงการที่ร่วมกับหลายหน่วยงานตั้งขึ้น เพื่อให้ความรู้กับสตาร์ตอัพ สนับสนุนและฝึกอบรมเพื่อสร้าง Mindset ทางธุรกิจ ที่นักวิจัยไทยส่วนใหญ่ขาดความคิดด้านนี้ เพื่อไม่ให้เป็นงานวิจัยขึ้นหิ้ง และทำงานให้เป็น Solution ที่แก้ปัญหาให้ยูสเซอร์ได้อย่างแท้จริง

คีย์ซัคเซสของ Deep technology Startup

เมื่อถามถึงคีย์ซัคเซสสำหรับ Deep technology Startup กวินทร์กล่าวว่า การทำเทคฯ โดยเฉพาะดีพเทคฯ นั้น สิ่งแรกที่ต้องคิดคือ สายป่านต้องยาวมาก การได้เงินทุนจากรัฐเมื่อมาถึงสเตจหนึ่ง จะไม่เพียงพอ เราไม่สามารถนำเงินซัพพอร์ทจากภาครัฐมาเลี้ยงได้ตลอด เงินที่ได้มาจะหยุดเพียงแค่ 4 สเตจ จบแค่กระบวนการเทส การทำ Prototype จากนั้นคือของจริง คือต้องมีเงิน ในทีมผู้ก่อตั้งมีการคุยร่วมกันมาโดยตลอดว่า เงินรัฐฯ ช่วยเราได้แต่เพียงเริ่มต้น ช่วยให้เรายืนและเดินได้แรกๆ เท่านั้น ตอนนี้คือ ต้องสร้าง Cash flow เข้าบริษัทฯ เพื่อให้ดำเนินต่อไปได้ ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญมาก

ส่วนที่สองคือ เรื่องของทีม ที่สำคัญคือการรวมกันให้ได้ บางครั้งจะเห็นว่าพอถึงจุดหนึ่งที่จูนไม่ตรงกัน ก็แยกกันไปรวมกันไม่ติด ต้องมาเริ่มฟอร์มทีมใหม่ ซึ่งจะเกิดอุปสรรค

และส่วนที่สาม คือ เรื่องสภาพแวดล้อม การทำงานดีพเทค สภาพแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญ การเข้ามาอยู่ใน Incubator หรือโครงการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี บางอย่าง เช่นมหาวิทยาลัย จะสามารถขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ได้ทันที ในขณะที่คนทั่วไปอาจจะทำได้ยากกว่า ในการหาผู้เชี่ยวชาญ ( Expertise ) แต่ละด้าน หรือการไปคุยก็อาจจะมีกำแพงบางอย่างมากกว่าคนในองค์กรเดียวกัน

กวินทร์ทิ้งท้ายว่า มีความเชื่อมั่นมากในตัวโพรดักส์ และพร้อมจะขายกับผู้ที่สนใจจะซื้อ เชื่อว่ามีอนาคตที่สดใสรออยู่อย่างแน่นอน โดยธุรกิจอาหารจะเป็นธุรกิจแรกที่จะเข้าไปอย่างเต็มตัว เพราะไม่มีความซับซ้อนเท่าวงการแพทย์ ที่ต้องใช้การวิจัยทดสอบ อย่างไรก็ตามในวงการแพทย์ก็เป็นสิ่งที่ต้องเดินหน้า เพราะประโยชน์ที่จะได้รับ ไม่ได้มองเพียงแค่อนาคตหรือผลกำไร แต่การลดต้นทุนในโรงพยาบาลของรัฐจะเป็นผลดีอย่างยั่งยืนสำหรับการสาธารณสุข และช่วยเรื่องคุณภาพชีวิตของคนไทยอีกด้วย ข้อกังวลเดียวที่มีเหมือนกับสินค้านวัตกรรมอื่นๆ นั่นก็คือเรื่องของการก๊อบปี้ผลิตภัณฑ์ เพราะวันนี้สิทธิบัตรก็ไม่สามารถป้องกันได้

X

Right Click

No right click