บริษัทสตาร์ทอัพมักเป็นผู้นำในการสร้างสรรค์นวัตกรรมมาโดยตลอด โดยเฉพาะในยุคของ Generative AI บริษัทเหล่านี้มีความพร้อมในการปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประสบการณ์ของลูกค้าและการทำงานของเราอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ข้อมูลจาก PitchBook data เผยว่านักลงทุนทั่วโลกที่มองเห็นคุณค่าและศักยภาพของสตาร์ทอัพในด้าน Generative AI ได้ลงทุนไปแล้วกว่า 21.4 พันล้านเหรียญสหรัฐตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2566 ไปจนถึง 30 กันยายน 2566 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2565 เป็นจำนวน 5.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปัจจุบันมีสตาร์ทอัพด้าน Generative AI มากกว่า 5,000 รายที่กำลังสร้างโซลูชันบน AWS สตาร์ทอัพรายย่อยเหล่านี้มีความคล่องตัวสูงและมีศักยภาพที่จะพลิกโฉมอุตสาหกรรมด้วยแนวคิดใหม่ ๆ บวกกับการพัฒนาโซลูชันที่เหมาะสมกับแต่ละประเทศ และการนำเสนอวิธีการใหม่ ๆ โดยนำ AI มาใช้งาน ความสำเร็จของสตาร์ทอัพเหล่านี้เป็นที่น่ายกย่องอย่างยิ่ง เมื่อคำนึงถึงความท้าทายในการเป็นผู้บุกเบิกของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

 AI ที่เข้าใจบริบททางวัฒนธรรม

เทคโนโลยี Generative AI ได้ดึงดูดความสนใจผู้คนมาแล้วทั่วโลก ด้วยความสามารถในการเรียนรู้และนำไปใช้จากโมเดลพื้นฐาน (Foundation Models: FMs) ซึ่งได้ถูกเทรนล่วงหน้าด้วยข้อมูลปริมาณมหาศาล อย่างไรก็ตาม คุณภาพของโมเดลขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ได้ถูกนำมาใช้เทรน ตัวอย่างเช่น เมื่อโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Models: LLMs) ที่ได้ถูกเทรนล่วงหน้าด้วยข้อมูลที่เป็นภาษาอังกฤษ หากถูกนำมาใช้งานเพื่อตอบคำถามในภาษาอื่น ๆ อาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดหรือการตีความที่ผิดได้

สิ่งต่างๆนี้เป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งมีประชากรที่พูดภาษาต่าง ๆ กว่า 2,300 ภาษา เพื่อที่จะรองรับวิธีการทำงาน วัฒนธรรม และภาษาที่หลากหลายของภูมิภาคนี้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการเทรน LLM ด้วยข้อมูลที่มีความหลายหลายทางวัฒนธรรม เพื่อให้ AI เข้าใจแง่มุมที่ละเอียดอ่อนเกี่ยวกับประสบการณ์ของมนุษย์ และสามารถเข้าใจความซับซ้อนทางสังคมได้ การสร้าง AI ที่สามารถรับรู้วัฒนธรรมของมนุษย์ในแต่ละท้องถิ่นมากขึ้นนั้น จะช่วยเพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยี AI ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงต่อประเทศ ชุมชน และประชากรรุ่นต่อ ๆ ไปอีกด้วย

สตาร์ทอัพเป็นผู้นำในการเทรนโมเดลด้วยข้อมูลที่มีความเจาะจงในแต่ละท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลในรูปแบบข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอ และอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น Botnoi Voice ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพสัญชาติไทยที่ใช้โครงสร้างพื้นฐานของ AWS ในการสร้าง AI Bot ที่สามารถอ่านออกเสียงข้อความภาษาไทยด้วยเสียงสังเคราะห์ใหม่ ๆ ที่หลากหลาย ได้อย่างชัดเจนและเป็นธรรมชาติ แบรนด์ต่าง ๆ สามารถใช้ประโยชน์จากบริการของ

Botnoi Voice ได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่ไปยังเว็บไซต์ของ Botnoi Voice และอัปโหลดข้อความต้นฉบับ ก็จะสามารถดาวน์โหลดไฟล์เสียงที่มีความเป็นธรรมชาติ ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยอัตโนมัติโดยไม่ต้องสมัครสมาชิก สิ่งนี้จะช่วยปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษาไปจนถึงสื่อ (media) เพื่อให้แบรนด์ต่าง ๆ สามารถนำเสนอประสบการณ์ที่เหนือชั้นให้แก่ลูกค้าของตนได้

การสร้างนวัตกรรมในหลากหลายอุตสาหกรรม

สตาร์ทอัพมีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้าน Generative AI ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวางเฟรมเวิร์คพื้นฐานด้วย (Foundation Model: FM) ไปจนถึงการพัฒนาการใช้งานจริง ปัจจุบันสตาร์ทอัพที่ใช้ Generative AI ในพลิกโฉมอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เช่น อุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ บริการทางการเงิน สื่อและความบันเทิง การศึกษา และเกม Generative AI ยังคงปฏิวัติวิธีการดำเนินงานของธุรกิจและองค์กรทุกขนาดต่อไปเรื่อย ๆ โดยการพัฒนาระบบทำงานอัตโนมัติ ปรับปรุงกระบวนการวางแผนทางธุรกิจ และดัดแปลงประสบการณ์ผู้ใช้ให้เหมาะกับแต่ละบุคคล

ในแวดวงการแพทย์ เครื่องมือการฝึกอบรมที่ได้รับความช่วยเหลือจาก AI สามารถสร้างรูปแบบการฝึกอบรมให้แก่บุคลากรทางการแพทย์เฉพาะบุคคลและเป็น real time เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีอยู่ในปัจจุบัน SimConverse สตาร์ทอัพจากออสเตรเลียใช้ Generative AI เพื่อจำลองสถานการณ์จริง ในการฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์กว่า 300,000 คน จากองค์กรกว่า 150 แห่งในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ บริษัท SimConverse ใช้บริการประมวลผลของ Amazon เพื่อเทรนโมเดล AI ของตนในสถานการณ์จำลองกว่า 1,000 รูปแบบ ตั้งแต่การสื่อสารเบื้องต้น เช่น การกรอกประวัติทางการแพทย์ ไปจนถึงสถานการณ์ที่มีความซับซ้อนทางภาษา เช่น การพูดเพื่อลดความรุนแรงของสถานการณ์ และการแจ้งข่าวร้ายให้แก่ญาติครอบครัว

อีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากเทคโนโลยี AI คือธุรกิจสื่อและความบันเทิง ซึ่งบริษัทต่าง ๆ ได้นำ Generative AI มาช่วยในด้านการผลิตเนื้อหาใหม่ ๆ แบบอัตโนมัติ ลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิต Toonsquare สตาร์ทอัพจากเกาหลีใต้ ได้บุกเบิกนวัตกรรมในวงการเว็บตูนด้วยเครื่องมือสร้างเว็บตูนสุดล้ำสมัยที่ขับเคลื่อนด้วย AI ชื่อว่า Tooning ซึ่งอยู่บน AWS เครื่องมือ Tooning ช่วยให้งานที่ก่อนหน้านี้ใช้เวลาถึง 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สามารถเสร็จสิ้นได้ภายในเวลาเพียง 6 ชั่วโมงเท่านั้น

 ขยายการเข้าถึง AI

สตาร์ทอัพมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการปฏิวัติเทคโนโลยี AI อย่างปฏิเสธไม่ได้ตั้งแต่เริ่มแรกไปจนถึงการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในขณะที่สตาร์ทอัพยังคงขับเคลื่อนนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง พวกเขายังเผชิญกับ

อุปสรรคสำคัญซึ่งรวมถึงข้อจำกัดด้านทรัพยากร ความซับซ้อนด้านจริยธรรมและกฎระเบียบ อุปสรรคในการนำมาปรับใช้งาน รวมไปถึงการขาดผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิค

ในการเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้ สตาร์ทอัพจำเป็นต้องมีเครื่องมือและสามารถเข้าถึงทรัพยากรระบบคลาวด์ที่จะทำให้พวกเขามีข้อได้เปรียบในการแข่งขันได้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ AWS ได้เปิดตัวเทคโนโลยีในทุกเลเยอร์ของ “สแต็ก” Generative AI เพื่อให้สามารถสร้าง เทรน และขยาย Generative AI ของตนได้ง่ายยิ่งขึ้น ถูกลง และสะดวกเร็วขึ้น ในเลเยอร์ล่างสุดของโครงสร้างพื้นฐาน (bottom layer) เรามีการผลักดันประสิทธิภาพต่อราคาของ MLChips รุ่นใหม่ที่ออกแบบโดย AWS เช่น Trainium2 ซึ่งมีความสามารถเพิ่มความเร็วในการเทรนโมเดลบน Amazon SageMaker

สำหรับสตาร์ทอัพที่สนใจทดลองใช้โมเดลที่มีอยู่ ในส่วนของเลเยอร์ระดับกลาง (middle layer) ซึ่งเป็นเลเยอร์เครื่องมือ โดยการเรียกใช้ Amazon Bedrock ต่อกับโมเดลชั้นนำต่าง ๆ หลากหลายรูปแบบ และสามารถปรับแต่งได้ มีเอเจนต์ให้ใช้งาน และมีความปลอดภัยกับความเป็นส่วนตัว ใช้งานในระดับองค์กรใหญ่ได้ ทั้งหมดนี้ผู้ใช้จะได้รับประสบการณ์ที่มีการจัดการอย่างเต็มรูปแบบ (Fully managed) ในเลเยอร์บนสุด (top layer) ซึ่งเป็นเลเยอร์แอปพลิเคชัน สตาร์ทอัพสามารถใช้แอปพลิเคชันอย่างเช่น Amazon Q ซึ่งทำหน้าที่เสมือนผู้ช่วยรูปแบบใหม่ ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี Generative AI ออกแบบมาสำหรับการทำงานโดยเฉพาะและสามารถปรับให้เข้ากับธุรกิจของลูกค้าได้ อีกหนึ่งแอปพลิเคชันคือ Amazon CodeWhisperer ซึ่งเป็นเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วย AI เหมาะสำหรับการเขียนโปรแกรมแบบรวม (Integrated Development Environment: IDE) และ command line นอกจากนี้ AWS ยังช่วยอุดช่องว่างในด้านทักษะ AI สำหรับสตาร์ทอัพด้วยการจัดโปรแกรมการฝึกอบรมฟรีด้าน AI ทั่วทุกภูมิภาคอีกด้วย

ความยืดหยุ่นในการสร้างสรรค์นวัตกรรม

แม้ว่าการสร้างสรรค์ Generative AI จะเป็นก้าวแรกของการปฏิวัติ แต่การก้าวไปสู่ระดับโลกก็มีความสำคัญไม่แพ้กันในการผลักดันให้เกิดการยอมรับอย่างกว้างขวาง และการนำ Generative AI ที่ขับเคลื่อนโดยสตาร์ทอัพมาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ Yellow. AI เป็นสตาร์ทอัพในอินเดียซึ่งเป็นผู้ให้บริการโซลูชันชั้นนำด้าน AI ในการสนทนา และวางขาย Generative AI Solution อยู่บน AWS Marketplace ที่เป็นแค็ตตาล็อกดิจิทัลที่มีลูกค้าสมัครใช้งานกว่า 330,000 ราย ปัจจุบัน Yellow.AI ซึ่งตั้งอยู่ที่ประเทศอินเดียจัดการการสนทนามากกว่า 12 พันล้านบทสนทนาในกว่า 85 ประเทศต่อปี

ในขณะที่สตาร์ทอัพทั่วเอเชียแปซิฟิกยังคงผลักดันขีดจำกัดในการสร้างสรรค์ ดัดแปลง และปรับขนาด FM และแอปพลิเคชัน Generative AI ของตนเอง พวกเขาจำเป็นต้องเข้าถึงเครื่องมือในการทำ ML การสนับสนุน โครงสร้างพื้นฐาน และโปรแกรมต่าง ๆ ที่คุ้มราคาและคุ้มค่าที่สุด เช่น AWS Activate เพื่อสร้าง AI ที่เข้าใจ

บริบททางวัฒนธรรมของมนุษย์ได้ เรามีความยินดีอย่างยิ่งที่จะสนับสนุนสตาร์ทอัพเหล่านี้ เพื่อช่วยเร่งการพัฒนาและการนำเทคโนโลยี Generative AI มาประยุกต์ใช้ สำหรับโลกในอนาคตที่มี AI เป็นเครื่องมือ เพื่อสร้างมุมมองใหม่ ๆ และโซลูชันอันสร้างสรรค์ที่จะขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกให้กับพวกเราทุกคน

Amezon Web Services หรือ AWS มองว่าในปี 2566 ระบบคลาวด์จะมีบทบาทที่สำคัญมากขึ้น ในการช่วยให้อาเซียนและประเทศไทยบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ ภายใต้การมุ่งสู่ Digital Transformation

โดย AWS หวังว่าจะช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้ประโยชน์จาก AWS Cloud ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพที่สุดเพือสร้างนวัตกรรม ลดค่าใช้จ่าย และช่วยเปิดตลาดให้กับหลายๆ ธุรกิจของไทยไปสู่ตลาดระดับภูมิภาคและระดับโลก

จุดเปลี่ยน

ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา จะพบว่าการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วภูมิภาคอาเซียนรวมถึงประเทศไทย องค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทยเริ่มหันมาใช้ระบบคลาวด์และมุ่งสู่ digital transformation เพื่อความคล่องตัวทางธุรกิจที่มากขึ้นและเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจของตน ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน ในขณะที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 เรายังคงเห็นการเร่งปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากของการนำระบบคลาวด์มาใช้ในทุกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ องค์กรรูปแบบใดขนาดไหนก็ตาม

จากข้อมูลของธนาคารโลก มีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะเผชิญกับการเติบโตที่ช้าลงในปี 2566 เนื่องจากภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจทั่วโลก และตามรายงานของบริษัทวิจัย Gartner แม้จะเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจ แต่ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการคลาวด์สาธารณะของประเทศไทย คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 31.8% ในปี 2566 ซึ่งสูงกว่าอัตราการเติบโตทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 20.7% ค่าใช้จ่ายสำหรับบริการคลาวด์สาธารณะโดยผู้ใช้ในประเทศไทยคาดว่าจะสูงถึง 54.4 ล้านบาทในปี 2566 เพิ่มขึ้นจาก 41.3 ล้านบาทในปี 2565

นวัตกรรมด้านเทคโนโลยี

ในงาน AWS re:Invent 2022 ที่จัดขึ้นที่เมืองเมืองลาสเวกัส ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 55,000 คน และผู้เข้าร่วมทางออนไลน์ถึง 300,000 คน แสดงให้เห็นว่าธุรกิจต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับเรื่องเทคโนโลยีและการใช้ประโยชน์จากคลาวด์ โดยภายในงาน Adam Selipsky, CEO ของ AWS ได้เน้นย้ำว่าข้อมูลเป็นรากฐานที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของทุกองค์กร ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า ปริมาณข้อมูลจะมีมากขึ้นกว่าสองเท่าเมื่อเทียบกับช่วงเริ่มต้นของยุคดิจิทัล ทำให้การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่และการเติบโตของข้อมูลนั้น เป็นทั้งความท้าทายและโอกาสสำหรับทุกองค์กร

ภายในงาน AWS re:Invent 2022 ได้มีการประกาศนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ ๆ ตัวอย่างเช่น

· Data and Analytics - Amazon Aurora: เป็นบริการที่เติบโตเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ของ AWS และมีลูกค้า AWS หลายแสนรายที่ใช้ Amazon Aurora ที่เป็นการรวมประสิทธิภาพและความพร้อมใช้งานของฐานข้อมูลแบบดั้งเดิม ผสมผสานเข้ากับความเรียบง่าย และความคุ้มค่าของฐานข้อมูลโอเพ่นซอร์ส มีประสิทธิภาพมากกว่า MYSQL ถึงห้าเท่า และประสิทธิภาพมากกว่า PostgreSQL ถึงสามเท่า โดยมีค่าใช้จ่ายเพียงหนึ่งในสิบของฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์

· Data and AnalyticsRedshift: สามารถนำข้อมูลที่หลากหลายจากแอปพลิเคชันมาจัดเก็บในที่ต่างๆ ซึ่งต้องใช้เครื่องมือวิเคราะห์ที่เหมาะสมเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลประเภทต่าง ๆ Redshift คือคลังข้อมูลขนาดเพตะไบต์ (petabyte) ที่มีการจัดการเต็มรูปแบบ ใช้โดยลูกค้า AWS หลายหมื่นรายเพื่อจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดเอกซะไบต์ (exabyte) มันให้ประสิทธิภาพด้านราคาที่ดีกว่าคลังข้อมูลคลาวด์อื่น ๆ ถึงห้าเท่า

· AI/ML – SageMaker: เทคโนโลยี Machine Learning ช่วยให้เราสามารถคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ และยังช่วยสร้างข้อมูลอัจฉริยะให้กับระบบและแอปพลิเคชันต่าง ๆ AWS มีเทคโนโลยี ML และ AI ที่สมบูรณ์ที่สุด ปัจจุบัน ลูกค้าหลายหมื่นรายใช้ SageMaker เพื่อฝึกโมเดลที่มีพารามิเตอร์หลายพันล้านตัว เพื่อทำการคาดการณ์มากกว่าล้านล้านรายการทุกเดือน ซึ่ง AWS ได้ประกาศความสามารถของ Amazon SageMaker ที่เพิ่มขึ้นมาใหม่อีก 8 รายการในงาน AWS re:Invent อีกด้วย

· Security: Amazon GuardDuty: ความปลอดภัยเป็นหัวใจสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานและบริการของ AWS ซึ่งได้รับการออกแบบให้มีความปลอดภัยสูงสุดตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบ เพื่อความปลอดภัยของลูกค้าในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การดูแลสุขภาพ ธนาคาร และหน่วยงานภาครัฐ เป็นต้น โดยโครงสร้างพื้นฐานของ AWS ได้รับการตรวจสอบตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน

· Security: Amazon Security Lake: AWS ประกาศเปิดตัว Amazon Security Lake แบบ preview ซึ่งเป็นบริการที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยให้ทีมรักษาความปลอดภัยสามารถรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลความปลอดภัยในระดับเพตะไบต์ได้อัตโนมัติ ลูกค้าสามารถสร้างที่เก็บข้อมูลความปลอดภัยได้โดยอัตโนมัติด้วยการคลิกเพียงไม่กี่ครั้ง ทำให้มองเห็นข้อมูลความปลอดภัยทั้งหมดและสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของเวิร์กโหลด แอปพลิเคชัน และข้อมูล AWS Security Lake จะรวบรวมข้อมูลความปลอดภัยโดยอัตโนมัติจากโซลูชันของคู่ค้า เช่น Cisco, Crowdstrike และ Palo Alto Networks รวมถึงเครื่องมือรักษาความปลอดภัยมากกว่า 50 รายการที่รวมอยู่ใน security hub

ทิศทางธุรกิจของ AWS ในประเทศไทยในปี 2566

AWS ในประเทศไทยในปีนี้ จะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มลูกค้าในธุรกิจการเงิน ธุรกิจค้าปลีก และอุตสาหกรรมการผลิต ที่คาดการณ์ว่ามีอัตราการเติบโตสูงในด้านการใช้คลาวด์ โดย AWS กำลังเพิ่มจำนวน AWS Partner และทีมงานในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง

ในปี 2564 AWS ได้แต่งตั้งบริษัทเอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น ประเทศไทย จำกัด มหาชน (SiS) ดิสทริบิวเตอร์สินค้าไอทีชั้นนำในประเทศไทย ซึ่งมีลูกค้าเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าไอทีมากกว่า 7,000 รายทั่วประเทศ ให้เป็นดิสทริบิวเตอร์อย่างเป็นทางการ โดย SiS จะเป็นเป็นดิสทริบิวเตอร์ของ AWS รายแรกในประเทศไทยสำหรับกลุ่มผู้ใช้บริการที่เป็นภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมการเติบโตด้านดิจิทัลโดยการขยายฐานคู่ค้าและตัวแทนจำหน่าย AWS ในประเทศไทย โดยในปี 2566 นี้ SiS จะสนับสนุน reseller ในการสร้าง Solution Packages สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (small to medium-sized business: SMB) รวมถึงเว็บไซต์ การสำรองข้อมูล การย้ายข้อมูล และ VDI และสนับสนุน reseller ในการขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อการเข้าสู่ตลาดผ่านการสัมมนาผ่านเว็บและการมีส่วนร่วมกับลูกค้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน และเพิ่มลูกค้าใหม่ในกลุ่ม SMB

การลงทุนของ AWS ในประเทศไทย

เมื่อไม่นานมานี้ AWS ได้ประกาศแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานใหม่ในประเทศไทย AWS Asia Pacific (Bangkok) Region ด้วยเงินลงทุนมากกว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ (หรือ 1.9 แสนล้านบาท) ในระยะเวลา 15 ปี ซึ่งถือเป็นการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดของ AWS ในประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน

ในปี 2565 AWS ได้ประกาศแผนเตรียมเพิ่มบริการด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์มายังประเทศไทยด้วย AWS Local Zone แห่งใหม่ในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเปิดตัว Local Zones ใหม่ 10 แห่งทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและญี่ปุ่น (APJ) เพื่อทำให้ลูกค้าของ AWS ในประเทศไทยสามารถมอบประสิทธิภาพความเร็วในหลักหน่วยของมิลลิวินาที (single-digit millisecond) แก่ผู้ใช้ปลายทางของพวกเขาได้

การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว มีส่วนทำให้เกิดช่องว่างด้านทักษะดิจิทัลที่กว้างขึ้น ซึ่งต้องได้รับการแก้ไขเพื่อปลดล็อกศักยภาพทางเศรษฐกิจเต็มรูปแบบของภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับความท้าทายในปี 2566 ทั้งภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และสถาบันการศึกษาจำเป็นต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้การฝึกอบรมทักษะมีความสำคัญมากกว่าที่เคย ภาครัฐและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วอาเซียนกำลังเผชิญกับการขาดแคลนผู้มีความสามารถและทักษะด้านดิจิทัล ซึ่ง AWS กำลังแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านดิจิทัล โดยได้เริ่มฝึกอบรมบุคลากรมาแล้วกว่า 700,000 คนทั่วอาเซียนด้วยทักษะด้านระบบคลาวด์ตั้งแต่ปี 2560

AWS วางแผนที่จะลงทุนมากกว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ (หรือ 1.9 แสนล้านบาท) ในประเทศไทยในระยะเวลา 15 ปี

อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Services: AWS) บริษัทในเครือ Amazon.com, Inc. (NASDAQ:AMZN) ในวันนี้ 18 ต.ค 2022 ได้ประกาศแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ ด้วยการเปิดตัว Region ในประเทศไทย  โดยจะใช้ชื่อว่า AWS Asia Pacific (Bangkok)

โดย Regionแห่งใหม่นี้จะประกอบด้วย Availability Zone สามแห่ง ซึ่งเพิ่มเติมจาก Availability Zone ของ AWS ที่มีอยู่แล้ว 87 แห่งใน 27 ภูมิภาคทั่วโลก และ AWS ได้ประกาศแผนที่จะสร้าง Availability Zone ทั่วโลกอีก 24 แห่งและ AWS Region อีก 8 แห่งในออสเตรเลีย แคนาดา อินเดีย อิสราเอล นิวซีแลนด์ สเปน สวิตเซอร์แลนด์ รวมถึงประเทศไทย

AWS Region ที่กําลังจะมีขึ้นในประเทศไทยจะช่วยให้นักพัฒนา สตาร์ทอัพ และองค์กรต่าง ๆ รวมถึงภาครัฐ การศึกษา และองค์กรไม่แสวงผลกําไร สามารถเรียกใช้แอปพลิเคชันของตนและให้บริการผู้ใช้ปลายทางจากศูนย์ข้อมูล AWS ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ก็เพื่อให้ลูกค้าที่ต้องการเก็บข้อมูลของตนไว้ในประเทศไทยสามารถทําได้ นอกจากนี้ ส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นที่ AWS มีต่อภูมิภาคนี้ AWS วางแผนที่จะลงทุนมากกว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ (หรือ 1.9 แสนล้านบาท) ในประเทศไทยในระยะเวลา 15 ปี สําหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานระดับโลกของ AWS (สามารถดูได้ที่  aws.amazon.com/about-aws/global-infrastructure/)

เรามุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของประเทศไทย ผ่านการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในประเทศและการนำเสนอบริการใหม่ๆ ที่รวดเร็ว เพื่อช่วยให้ลูกค้าในประเทศไทยสามารถใช้ศักยภาพทั้งหมดของคลาวด์เพื่อเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานและนำเสนอบริการต่างๆ ” ปราสาท กัลยาณรามัน รองประธานฝ่ายบริการโครงสร้างพื้นฐานของ AWS “AWS Asia Pacific (Bangkok) region จะช่วยให้องค์กรสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยการใช้ประโยชน์จากบริการที่หลากหลายและเชี่ยวชาญของ AWS เช่น แมชชีนเลิร์นนิ่ง การวิเคราะห์ และอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ด้วยเครื่องมือใหม่เหล่านี้ AWS ยังช่วยให้ลูกค้าภาครัฐสามารถมีส่วนร่วมกับพลเมืองได้ดียิ่งขึ้น องค์กรต่าง ๆ สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการเติบโตในระยะต่อไป รวมถึงสร้างธุรกิจและแข่งขันในระดับโลก

“แผนของ AWS ในการสร้างศูนย์ข้อมูลหรือดาต้า เซ็นเตอร์ในประเทศไทยถือเป็นก้าวสําคัญที่จะนำบริการการประมวลผลบนระบบคลาวด์ขั้นสูงมาสู่องค์กรจำนวนมากขึ้น และช่วยให้เราบรรลุเป้าหมาย Thailand 4.0 ในการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลที่มีมูลค่า”

ฯพณฯ สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าว “รัฐบาลไทยยินดีที่ได้ร่วมมือกับ AWS ผู้ให้บริการระบบคลาวด์ชั้นนำของโลก เพื่อนำโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ระดับโลกที่ปลอดภัยและยืดหยุ่นมาสู่ประเทศไทย การลงทุนของ AWS จะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในระยะยาวอย่างมีนัยสำคัญ และช่วยสร้างแรงงานที่มีทักษะด้านดิจิทัลขั้นสูงอีกด้วยAWS Region ในประเทศไทยจะช่วยภาคธุรกิจและหน่วยงานภาครัฐในการให้บริการดิจิทัลที่ดีขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนของประเทศเราในอีกหลายทศวรรษข้างหน้า

ฯพณฯ ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) กล่าว “MDES และ AWS ได้ทํางานร่วมกันเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของภาครัฐโดยการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานแบบเดิมให้ทันสมัยเพื่อปรับปรุงการดําเนินงาน การลงทุนของ AWS จะทําให้ประเทศของเราก้าวเข้าใกล้อนาคตดิจิทัลของประเทศไทยมากขึ้นอีกขั้น บริการคลาวด์เป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนที่สําคัญที่สุดของเศรษฐกิจดิจิทัล เรายินดีกับแผนของ AWS ในการสร้าง region ในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยพัฒนาจุดยืนของเราในการเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมในเอเชีย และเป็นจุดหมายปลายทางชั้นนําสําหรับการลงทุน" นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนไทย กล่าว “AWS เอเชียแปซิฟิค (กรุงเทพฯ) รีเจี้ยนจะช่วยส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันระดับโลกของประเทศ ไปพร้อม ๆ กับการขับเคลื่อนนวัตกรรมและประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจในทุกอุตสาหกรรมในประเทศไทย”

AWS Region ประกอบด้วย Availability Zone ที่วางโครงสร้างพื้นฐานในที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่แยกจากกันและแตกต่างกัน โดยมีระยะห่างเพียงพอที่จะลดความเสี่ยหากเกิดเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อการใช้งานที่ต่อเนื่องของลูกค้า แต่ใกล้พอที่จะให้เวลาแฝงต่ำสําหรับแอปพลิเคชันที่มีความพร้อมใช้งานสูงซึ่งใช้หลาย Availability Zone ซึ่ง Availability Zone แต่ละแห่งมีแหล่งพลังงาน การระบายความร้อน และการรักษาความปลอดภัยทางกายภาพที่แยกจากกัน และเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายเวลาแฝงที่ซ้ำซ้อนและต่ำเป็นพิเศษ ลูกค้า AWS ที่เน้นความพร้อมใช้งานสูงสามารถออกแบบแอปพลิเคชันให้ทํางานในหลาย ๆ Availability Zone และในหลาย region เพื่อให้เกิดความทนทานต่อความเสียหาย (fault tolerance) ที่ดียิ่งขึ้น

AWS Asia Pacific (Bangkok) แห่งใหม่นี้ จะช่วยให้ลูกค้าที่ต้องการเก็บข้อมูลไว้ในประเทศหรือสร้างข้อกำหนดข้อมูลสามารถจัดเก็บข้อมูลในประเทศไทยได้อย่างปลอดภัยพร้อมให้เวลาแฝงที่ต่ำทั่วประเทศ ลูกค้าตั้งแต่สตาร์ทอัพไปจนถึงองค์กรต่าง ๆ องค์กรภาครัฐ และองค์กรไม่แสวงผลกำไรจะสามารถใช้เทคโนโลยีขั้นสูงจากคลาวด์ชั้นนำของโลกเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรม AWS นำเสนอบริการที่หลากหลายและเชี่ยวชาญที่สุด รวมถึงการวิเคราะห์ การประมวลผล ฐานข้อมูล อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง แมชชีนเลิร์นนิง บริการมือถือ พื้นที่จัดเก็บข้อมูล และเทคโนโลยีคลาวด์อื่น ๆ

ลูกค้าต้อนรับแผนการเปิดตัว AWS Region ในประเทศไทย

องค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทยเป็นหนึ่งในลูกค้าหลายล้านรายที่ใช้งาน AWS ในกว่า 190 ประเทศทั่วโลก องค์กรไทยที่เลือกใช้ AWS เพื่อรันปริมาณงานในการเร่งสร้างนวัตกรรม เพิ่มความคล่องตัว และประหยัดต้นทุน ได้แก่ 2C2P, บริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน), สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, เอ็นเรส (ENRES), ปาปิรุส สตูดิโอ, ปตท. จำกัด, เอสซีจี หรือ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และองค์กรอื่น ๆ อีกมากมาย

บริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน) เป็นผู้ประกอบการร้าน 7-Eleven มากกว่า 13,000 แห่งในประเทศไทยและกัมพูชา “การใช้ AWS ช่วยให้เรามีความคล่องตัวและสามารถรองรับความต้องการของลูกค้าในช่วงการระบาดใหญ่เนื่องจากลูกค้าไม่สามารถเข้าไปที่ร้านได้” วิวัฒน์ พงษ์ฤทธิ์ศักดิ์ รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายสารสนเทศและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ บริษัท ซีพี ออลล์ กล่าว “เราสร้างแอปพลิเคชัน 7-Eleven และ 7-Delivery บน AWS ในเวลาน้อยกว่าหกเดือน ทำให้ลูกค้าสามารถซื้อผลิตภัณฑ์จากร้านสะดวกซื้อที่ใกล้ที่สุด ซื้อแพ็คเกจออนไลน์ รวบรวมและแลกคะแนน และใช้ e-wallet เพื่อชำระเงินออนไลน์ เราต้องการมอบประสบการณ์ดิจิทัลที่ราบรื่นให้กับลูกค้าต่อไป และเราได้ลงทุนในการวิเคราะห์ข้อมูลและเทคโนโลยีแมชชีนเลิร์นนิง เช่น Amazon Personalize ที่ช่วยเราแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับลูกค้า AWS Asia Pacific (Bangkok) Region แห่งใหม่จะช่วยให้เราเดินหน้าสู่เส้นทางดิจิทัลและปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงตามพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว และในขณะเดียวกันก็มอบประสบการณ์ที่เป็นนวัตกรรมและเป็นส่วนตัวสำหรับลูกค้า 7-Eleven ของเรา”

 เอ็นเรส (ENRES) สตารท์อัพผู้พัฒนาเทคโนโลยีทางด้านอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งและเทคโนโลยี AI ในการประหยัดพลังงานทางเลือกใหม่ของอาคารและโรงงานขนาดใหญ่ทั่วเอเชีย “ในฐานะที่เป็นสตาร์ทอัพในระยะเริ่มต้น เราต้องมีความระมัดระวังในการใช้ทรัพยากรและวิธีการปรับขนาดอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโครงการ AWS Activate ให้การสนับสนุนทางด้านเทคนิคและให้เครดิตที่เป็นเครื่องมือในการช่วยให้ ENRES สามารถพัฒนา proof-of-concept แพลตฟอร์มของเราบนคลาวด์” ไพสิฐ จารุณนำศิริ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี ที่ ENRES กล่าว “ด้วยภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดบนโลกของเรา เราเชื่อว่าอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง AI และเทคโนโลยีนวัตกรรมอื่น ๆ สามารถขับเคลื่อนการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานให้ดีขึ้นสำหรับบริษัทต่าง ๆ ลดการใช้พลังงาน และในขณะเดียวกันสร้างประโยชน์ให้กับโลกอีกด้วย การเปิดตัว AWS รีเจี้ยนใหม่ในประเทศไทย เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้สานต่อความร่วมมือกับ AWS และช่วยให้ลูกค้าจำนวนมากสามารถเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานของพวกเขาได้ดียิ่งขึ้น”

บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTGC) เป็นธุรกิจปิโตรเคมีครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย "การทำงานร่วมกันกับ AWS ช่วยให้เราขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในธุรกิจของเราได้ด้วยการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ที่ช่วยให้เราปรับขนาดได้" ณัฐพล จงจรูญเกียรติ หัวหน้าฝ่ายการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของ PTTGC กล่าว “PTTGC สร้าง Data Lake บน AWS ที่ช่วยให้เราป้อนข้อมูลได้เร็วยิ่งขึ้น และรันแมชชีนเลิร์นนิงและการวิเคราะห์ เช่น โซลูชัน BPA Catalyst Life Prediction เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่ออายุการใช้งานของตัวเร่งปฏิกิริยาที่เราใช้ในธุรกิจ การทำความเข้าใจสภาวะที่เหมาะสมที่สุดที่จะยืดอายุของตัวเร่งปฏิกิริยาจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานและประหยัดต้นทุนในการผลิตปิโตรเคมี เราตั้งใจที่จะร่วมมือกับ AWS ต่อไปเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมในภาคปิโตรเคมีมากขึ้นกับ AWS Region ในประเทศไทย”

บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ เป็นผู้ค้าปลีกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและธุรกิจค้าปลีกชั้นนำของประเทศไทย มีบริการน้ำมันภายใต้แบรนด์ พีทีที สเตชั่น กว่า 1,900 สาขาทั่วประเทศและคาเฟ่อเมซอนมากกว่า 3,700 แห่งทั้งในและต่างประเทศ “เราร่วมมือกับ AWS เพื่อย้าย Loyalty Management System ของเราไปยังคลาวด์ ซึ่งเป็นรากฐานสำหรับแอปแบบครบวงจรใหม่ที่มุ่งเน้นที่จะเป็นโซลูชันแบบครบวงจรสำหรับทุกไลฟ์สไตล์” วิศน สุนทราจารย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์องค์กร นวัตกรรมและความยั่งยืนของ OR กล่าว "อุตสาหกรรมพลังงานกำลังอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ และเรารู้สึกตื่นเต้นกับ AWS Asia Pacific (Bangkok) Region จะช่วยให้เราก้าวทันการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในขณะที่เราสร้างความหลากหลายให้กับธุรกิจและขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืน"

เอสซีจี หรือ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด เป็นกลุ่มธุรกิจชั้นนำในภูมิภาคอาเซียนที่มุ่งเน้นในการกำกับดูแลกิจการที่แข็งแกร่งและมีหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนมานานกว่า 100 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้ง เอสซีจีได้เติบโตอย่างต่อเนื่องและแบ่งเป็น 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ วัสดุก่อสร้างซีเมนต์ เคมีภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ “เทคโนโลยีมีความสำคัญต่อธุรกิจของเราเพราะเราพยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าในขณะที่ดำเนินงานภายใต้สภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในฐานะการเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือกับ AWS เอสซีจีและบริษัทในเครือได้ย้ายซอฟต์แวร์การวางแผนทรัพยากรองค์กร SAP ทั้งหมดจากภายในองค์กรไปยังระบบคลาวด์ ซึ่งช่วยให้เราเพิ่มความคล่องตัว ลดต้นทุน และเร่งสร้างนวัตกรรม” ยุทธนา เจียมตระการ รองประธานฝ่ายองค์กร SCG กล่าว “เพื่อเร่งความมุ่งมั้นสู่ยุคดิจิทัล เราวางแผนที่จะปรับปรุงแอปพลิเคชันที่ไม่ใช่ SAP ของเราบน AWS ให้ทันสมัย เช่น CPAC Green Solution และระบบ Vendor Managed Inventory AWS Asia Pacific (Bangkok) Region จะช่วยให้เราสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนต่อไป”

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (STOU) พัฒนาระบบการเรียนการสอนทางไกล มหาวิทยาลัยมีเครือข่ายศูนย์การศึกษาทางไกลระดับภูมิภาคที่กว้างขวางเพื่อรองรับนักศึกษากว่า 200,000 คนทั่วประเทศ “เราเลือก AWS เป็นผู้ให้บริการระบบคลาวด์เชิงกลยุทธ์เพื่อตอบโจทย์วิสัยทัศน์ในการเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล” ดร.ศรันย์ นาคถนอม ผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชกล่าว “STOU เป็นมหาวิทยาลัยไทยแห่งแรกที่อยู่บน AWS และใช้งานระบบคลาวน์อย่างเต็มรูปแบบ หลังจากการย้ายโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีทั้งหมดของเรา รวมถึงอินสแตนซ์เซิร์ฟเวอร์ 137 เครื่อง โดยการดำเนินการบนคลาวด์อย่างเต็มรูปแบบทำให้เราสามารถเร่งการเปิดตัวข้อเสนอดิจิทัลเพื่อมอบประสบการณ์ที่มีส่วนร่วมมากขึ้นสำหรับนักเรียนของเรา ความสามารถในการปรับขนาดของ AWS ช่วยให้แผนกต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย 60 แผนก สามารถเปิดสอนหลักสูตรออนไลน์ 700 หลักสูตรในช่วงระยะเวลาสามเดือน เมื่อเทียบกับการสร้างแพลตฟอร์มบนระบบภายในองค์กรที่อาจต้องใช้เวลาถึงห้าปี เรารู้สึกตื่นเต้นกับ AWS เอเชียแปซิฟิค (กรุงเทพฯ) รีเจี้ยนแห่งใหม่นี้ที่จะช่วยนำเสนอเครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลงระบบดิจิทัลและปรับปรุงความสามารถในการสอนและการเรียนรู้ที่ STOU ต่อไป”

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เป็นสถานที่ซื้อขายหลักทรัพย์ทุกประเภทของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2518 โดยแพลตฟอร์มการซื้อขายออนไลน์ชั้นนำคือ settrade.com ที่รองรับบัญชีกว่า 3.1 ล้านบัญชี และมีมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 850 ล้านดอลลาร์ต่อวัน (32.3 พันล้านบาท) “AWS มอบโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ที่แข็งแกร่ง ปรับขนาดได้สูง และเวลาแฝงต่ำสำหรับแพลตฟอร์มการซื้อขายออนไลน์ ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการด้านความปลอดภัยและการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่เข้มงวด”นายถิรพันธุ์ สรรพกิจ รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานเทคโนโลยีสารสนเทศกล่าว “ด้วยการเพิ่มขึ้นของนักลงทุนดิจิทัล ตลาดหลักทรัพย์จึงจำเป็นต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองความต้องการใหม่ของตลาด และนำเสนอบริการที่ตอบสนองความต้องการของคนรุ่นใหม่ที่กำลังเติบโตนี้ การใช้ AWS สำหรับแพลตฟอร์มการซื้อขายออนไลน์ของตลท. ช่วยให้เราปรับขนาดได้อย่างง่ายดายเพื่อรองรับผู้ใช้พร้อมกันมากกว่า 400,000 ราย ในขณะที่ยังคงให้บริการซื้อขายใหม่สำหรับสินทรัพย์ดิจิทัลและหุ้นเศษส่วนอย่างต่อเนื่อง การเปิดตัว AWS Asia Pacific (Bangkok) Region จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งของตลท. ในการนำเสนอข้อมูลตลาดที่มีความหน่วงต่ำ เพื่อให้แน่ใจว่านักลงทุนพร้อมที่จะตัดสินใจซื้อขายได้ดีที่สุด”

พันธมิตร AWS ตั้งตารอโอกาสใหม่ในประเทศไทย

พันธมิตรในประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของ AWS Partner Network (APN) ที่รวมผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์อิสระ (ISV) และผู้รวมระบบ (SI) กว่า 100,000 รายทั่วโลก พันธมิตร AWS สร้างโซลูชันและบริการที่เป็นนวัตกรรมใหม่บน AWS และ APN ให้การสนับสนุนด้านธุรกิจ เทคนิค การตลาด และการเข้าสู่ตลาดแก่ลูกค้า AWS SI พันธมิตรที่ปรึกษา (consulting partners) และ ISV ช่วยให้ลูกค้าองค์กรและภาครัฐสามารถโยกย้ายไปยัง AWS ปรับใช้แอปพลิเคชันที่มีความสำคัญต่อภารกิจ ให้บริการการตรวจสอบ การทำงานอัตโนมัติ และการจัดการอย่างเต็มรูปแบบสำหรับสภาพแวดล้อมของลูกค้า ตัวอย่างพันธมิตรของ AWS ในประเทศไทยได้แก่ เดลิเทค (DailiTech), G-Able, บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NTT), และ ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ (ทรู ไอดีซี) AWS ISV ในประเทศไทยอย่าง 2C2P และเอมิตี้ (Amity) ใช้ AWS เพื่อส่งมอบซอฟต์แวร์ให้กับลูกค้าทั่วโลกและวางแผนที่จะให้บริการลูกค้าชาวไทยจาก AWS Asia Pacific (Bangkok) Region

บริษัทที่ปรึกษาเดลิเทค (DailiTech) เป็นพันธมิตร AWS Advanced Tier Services และพันธมิตรที่ปรึกษา (AWS Consulting Partners) ประจำปี 2564 ของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2557 DailiTech ช่วยลูกค้าองค์กรและลูกค้าสตาร์ทอัพมากกว่า 150 รายในประเทศไทย ที่รวมไปถึงธนาคารที่ใหญ่ที่สุด 3 แห่งของประเทศไทยและผู้ให้บริการด้านพลังงานที่ยั่งยืนอย่าง บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GPSC) ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลบน AWS “DailiTech ทำงานร่วมกับธุรกิจที่ให้บริการทางการเงินและองค์กรภาครัฐหลายแห่ง ซึ่งหมายความว่าการรักษาความปลอดภัยและการกำกับดูแลข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ” ดร. วิชญ์ เนียรนาทตระกูล, กรรมการผู้จัดการ DailiTech กล่าว “เนื่องจากประเภทธุรกิจของลูกค้าซึ่งมีข้อมูลและการดำเนินงานเป็นความลับอย่างสูง เราจำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าการย้ายไปยังคลาวด์เป็นไปตามมาตรฐานการกำกับดูแลและการปฏิบัติตามมาตรฐานสูงสุด AWS Asia Pacific (Bangkok) Region จะเพิ่มความมั่นใจให้แก่เราในการนำเสนอโซลูชันการเงินที่ช่วยให้ลูกค้าปรับปรุงธุรกิจของตนให้ทันสมัย ในขณะที่ปฏิบัติตามความต้องการเก็บข้อมูลหรือสร้างข้อกำหนดข้อมูลเพื่อจัดเก็บข้อมูล”

บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทโทรคมนาคมของรัฐของประเทศไทยและเป็นพันธมิตรภาครัฐของ AWS “เราได้ร่วมมือกับ AWS ตั้งแต่ปี 2563 เพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของภาครัฐของประเทศไทย” ดร.วงกต วิจักขณ์สังสิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจดิจิทัล บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติกล่าว “ด้วยการใช้บริการและโครงสร้างพื้นฐานชั้นนำของอุตสาหกรรมของ AWS เราได้ช่วยหน่วยงานรัฐบาล 14 แห่งในการสร้างรากฐานทางดิจิทัลเพื่อให้บริการพลเมืองที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจในท้องถิ่น และแก้ปัญหาความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของสังคม AWS Asia Pacific (Bangkok) Region จะทำให้โทรคมนาคมแห่งชาติมีโอกาสมากขึ้นในการนำเสนอโซลูชันที่สามารถตอบสนองความต้องการเฉพาะของลูกค้าภาครัฐของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการปฏิบัติตามข้อกำหนดและถิ่นที่อยู่ของข้อมูล ซึ่งสำคัญมากสำหรับรัฐบาลในการย้ายปริมาณงานไปยังระบบคลาวด์”

NTT Thailand เป็นพันธมิตรบริการระดับพรีเมียร์ของ AWS “ตั้งแต่ปี 2563 เราได้ปรับปรุงองค์กรให้ทันสมัยในประเทศไทยโดยใช้ AWS สำหรับแอปพลิเคชันที่มีความสำคัญของภาคธุรกิจ ซึ่งช่วยให้บริษัทได้ประโยชน์จากนวัตกรรมที่รวดเร็ว ความคล่องตัวที่เพิ่มขึ้น และการประหยัดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมของระบบคลาวด์” สุทัศน์ คงดำรงเกียรติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารประจำประเทศไทย และ Communications Lifecycle Management (CLM) ของ NTT กล่าว “เรารู้สึกตื่นเต้นเกี่ยวกับ AWS Asia Pacific (Bangkok) Region เนื่องจากลูกค้าของเราต้องการโซลูชันที่มีเวลาแฝงต่ำมากขึ้น เช่น อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งและแอปพลิเคชันการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตในขั้นต่อไป โครงสร้างพื้นฐานระดับโลกของ AWS จะช่วยให้ลูกค้าของเราใช้บริการการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์โดยมีเวลาแฝงที่ต่ำกว่า เพื่อทำการตัดสินใจทางธุรกิจที่รวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น เราตั้งตารอที่จะได้ช่วยเหลือองค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทยในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและการเติบโตของธุรกิจด้วย AWS”

การลงทุนของ AWS ในประเทศไทย

AWS Asia Pacific (Bangkok) Region ที่กําลังจะเกิดขึ้นเป็นการลงทุนล่าสุดอย่างต่อเนื่องของ AWS ในประเทศไทยเพื่อมอบเทคโนโลยีคลาวด์ขั้นสูงและปลอดภัยแก่ลูกค้า ตั้งแต่ปี 2563 AWS ได้เปิดตัว Amazon CloudFront edge ทั้งหมด 10 แห่งในกรุงเทพฯ นอกจากนี้ Amazon CloudFront เครือข่ายการจัดส่งเนื้อหา (CDN) ที่มีความปลอดภัยสูงและตั้งโปรแกรมได้ ซึ่งช่วยเร่งการส่งข้อมูล วิดีโอ แอปพลิเคชัน และ API ให้กับผู้ใช้ทั่วโลกด้วยเวลาแฝงต่ำและความเร็วในการถ่ายโอนสูง โดยในปี 2563 AWS Outposts ได้เปิดตัวในประเทศไทย AWS Outposts เป็นบริการที่มีการจัดการเต็มรูปแบบซึ่งมีโครงสร้างพื้นฐานและบริการของ AWSไปยังตำแหน่งภายในองค์กรหรือตำแหน่ง Edge แทบทุกแห่งเพื่อประสบการณ์ไฮบริดที่สอดคล้องกันอย่างแท้จริง

AWS วางแผนที่จะขยายการลงทุนในประเทศไทยให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นด้วยการเปิดตัว AWS Local Zone ที่กำลังจะมีขึ้นในกรุงเทพฯ AWS Local Zones เป็นหนึ่งในบริการการปรับใช้โครงสร้างพื้นฐานของ AWS ที่จัดวางการประมวลผล พื้นที่จัดเก็บ ฐานข้อมูล และบริการอื่น ๆ ที่เลือกสรรไว้ใกล้กับประชากรจำนวนมาก อุตสาหกรรม และศูนย์ไอที ทำให้ลูกค้าสามารถส่งมอบแอปพลิเคชันที่ต้องการเวลาแฝงในหน่วยมิลลิวินาทีให้กับผู้ใช้ปลายทางเพื่อรองรับการเติบโตของการนำคลาวด์ไปใช้ในประเทศไทย AWS ยังคงลงทุนอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาทักษะให้กับนักพัฒนาไทย นักเรียน และผู้นําด้านไอทีรุ่นต่อไปในประเทศไทยผ่านโปรแกรมต่าง ๆ เช่น AWS re/Start, AWS Academy และ AWS Educate โครงการด้านการศึกษาของ AWS เหล่านี้ช่วยให้ผู้เรียนที่มีพื้นฐานและประสบการณ์ทุกรูปแบบในการเตรียมพร้อมสําหรับประกอบอาชีพที่ใช้ระบบคลาวด์ ตั้งแต่หลักสูตรระดับวิทยาลัยไปจนถึงโปรแกรมการฝึกอบรมเต็มเวลา และเนื้อหาสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเอง โปรแกรมเพื่อการศึกษาของ AWS มอบการเข้าถึงการฝึกอบรมทักษะที่ช่วยให้บุคคลทั่วไปสามารถเริ่มต้นหรือต่อยอดอาชีพที่ใช้ระบบคลาวด์ได้ ปัจจุบันสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทย 8 แห่งในกรุงเทพฯ เชียงราย และปทุมธานี ได้รวมหลักสูตร AWS Academy ไว้ในหลักสูตรของสถาบัน AWS ยังทํางานร่วมกับองค์กรต่าง ๆ เช่น Siam Cement Group เพื่อช่วยสร้างทักษะระบบคลาวด์ตามความต้องการและฝึกอบรมพนักงานของบริษัทฯ อีกด้วย นอกจากนี้ AWS วางแผนร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทยในแผนพัฒนาทักษะ และให้การสนับสนุนในการฝึกอบรมบุคลากรมากกว่า 1,200 คนด้วยทักษะด้านระบบคลาวด์ หลักสูตรดิจิทัลแบบออนดีมานด์และอํานวยความสะดวกในกิจกรรมการฝึกอบรม เพื่อให้บุคลากรภาครัฐสามารถพัฒนาทักษะที่จําเป็นในการนําเทคโนโลยีระบบคลาวด์ไปใช้ในวงกว้าง ทําการตัดสินใจด้านการดำเนินงานที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลได้ดีขึ้น และสร้างสรรค์บริการใหม่ ๆ ที่ดียิ่งขึ้นสําหรับประชาชน

AWS ให้การสนับสนุนสตาร์ทอัพในระยะเริ่มต้นเพื่อส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการในประเทศไทย ผ่านโปรแกรม AWS Activate โปรแกรมนี้ให้การเข้าถึงคําแนะนําและการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญของ AWS แบบตัวต่อตัว การสนับสนุนทางเทคนิค การให้คําปรึกษาทางธุรกิจ และโอกาสในการเข้าถึงเครดิตบริการของ AWS สูงสุด 100,000 เหรียญสหรัฐ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ AWS ยังทํางานร่วมกับชุมชนผู้ร่วมทุน (venture capital community) โครงการผลักดันและบ่มเพาะสตาร์ทอัพ (startup accelerators and incubators) เพื่อช่วยให้สตาร์ทอัพเติบโตในระบบคลาวด์อีกด้วย ในประเทศไทยซึ่งรวมถึงองค์กรผลักดันสตาร์ทอัพต่าง ๆ เช่น AIS The Startup และ Stormbreaker เพื่อรองรับการเติบโตอย่างรวดเร็วของสตาร์ทอัพ

ในปี 2564 AWS ได้ขยายโปรแกรม Startup Ramp มายังอาเซียน โปรแกรมนี้ ทุ่มเทให้กับการสนับสนุนผู้ประกอบการสตาร์ทอัพระยะเริ่มต้น ในขณะที่พวกเขาสร้าง เปิดตัว และขยายโซลูชันด้านต่าง ๆ ได้แก่ สุขภาพ รัฐบาลดิจิทัล เมืองอัจฉริยะ การเกษตร และเทคโนโลยีอวกาศ AWS Startup Ramp ช่วยขจัดอุปสรรคสําหรับผู้ประกอบการที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงในภาครัฐโดยการให้การตรวจสอบการออกแบบทางเทคนิคและสถาปัตยกรรม การให้คําปรึกษา เครดิต และการสนับสนุนด้วยแผนออกสู่ตลาด เพื่อช่วยในเรื่องข้อกําหนดด้านกฎระเบียบและความปลอดภัยที่ซับซ้อน สตาร์ทอัพในระยะแรกที่ทํางานเพื่อค้นหาความเหมาะสมของตลาดผลิตภัณฑ์และมองหาลูกค้ารายแรกสามารถสมัครเป็น Startup Ramp Innovators ได้ และสตาร์ทอัพที่มีรายได้จากลูกค้าแล้วและมุ่งเน้นการเติบโตและการขยายขนาดสามารถสมัครเป็นสมาชิก Startup Ramp เพื่อเข้าถึงสิทธิประโยชน์ของโปรแกรมได้

นับตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา AWS EdStart ซึ่งเป็นโปรแกรมสนับสนุนสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีการศึกษาของ AWS ได้ช่วยผู้ประกอบการสร้างโซลูชันการเรียนรู้ การวิเคราะห์ และการจัดการวิทยาเขต สมาชิก AWS EdStart ในประเทศไทยประกอบด้วย แกนติค (Gantik), โอเพ่นดูเรียน (OpenDurian) และ วอนเดอร์ (Vonder) ด้วยการใช้ AWS EdStart สมาชิกเหล่านี้ได้สร้างโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมเพื่อช่วยให้นักเรียนตัดสินใจอย่างชาญฉลาดเกี่ยวกับเส้นทางการศึกษา มอบประสบการณ์การเรียนรู้จากประสบการณ์ในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั่วประเทศ และเปิดใช้งานการให้คำปรึกษาเสมือนจริงระหว่างนักเรียนและผู้ประกอบการ

ความมุ่งมั่นสู่ความยั่งยืน

Amazon มุ่งมั่นที่จะเป็นธุรกิจที่ยั่งยืนมากขึ้นและบรรลุคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในการดําเนินงานภายในปี 2583 ซึ่งเร็วกว่าข้อตกลงปารีสถึง 10 ปี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิญญาด้านสภาพภูมิอากาศ Amazon ได้ร่วมก่อตั้ง The Climate Pledge และกลายเป็นผู้ลงนามรายแรกในปี 2562 โดยเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นในปฏิญญาด้านสภาพภูมิอากาศ Amazon กําลังมุ่งสู่การขับเคลื่อนการดําเนินงานด้วยพลังงานหมุนเวียน 100% ภายในปี 2568 ซึ่งเร็วกว่าเป้าหมายเดิม (ปี 2573) ถึงห้าปี Amazon เป็นองค์กรซื้อพลังงานหมุนเวียนรายใหญ่ที่สุดของโลก และ ณ สิ้นปี 2564 บริษัทมีพลังงานหมุนเวียนถึง 85% ทั่วทั้งธุรกิจ องค์กรที่ย้ายปริมาณงานการประมวลผลไปยังAWS Cloud สามารถได้รับประโยชน์จากความพยายามด้านความยั่งยืนของ Amazon ในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

เกี่ยวกับอะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส

ตลอดระยะเวลา 15 ปี อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Services: AWS) เป็นบริการคลาวด์ที่ครอบคลุมและกว้างขวางที่สุดในโลก AWS ขยายการให้บริการอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการทำงานบนคลาวด์ทุกรูปแบบ ซึ่งในปัจจุบันมีบริการอย่างเต็มรูปแบบกว่า 200 รายการ สำหรับการประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล ฐานข้อมูล ระบบเครือข่าย การวิเคราะห์ แมชชีนเลิร์นนิงและปัญญาประดิษฐ์ อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง โทรศัพท์มือถือ ความปลอดภัย ไฮบริด เทคโนโลยีโลกเสมือนจริง (Virtual reality: VR) และการรวมวัตถุเสมือนเข้ากับสภาพแวดล้อมจริง (Augmented reality: AR) สื่อ และการพัฒนา การปรับใช้ และการจัดการแอปพลิเคชันจาก Availability Zone 87 แห่งภายใน 27 ภูมิภาค พร้อมประกาศแผนสำหรับ Availability Zones เพิ่มเติมอีก 24 แห่ง และอีกแปด AWS Regions ในออสเตรเลีย แคนาดา อินเดีย อิสราเอล นิวซีแลนด์ สเปน สวิตเซอร์แลนด์ และไทย ลูกค้าหลายล้านรายรวมไปถึงสตาร์ทอัพที่เติบโตอย่างรวดเร็ว องค์กรขนาดใหญ่ และหน่วยงานภาครัฐ ต่างเชื่อมั่นใน AWS ในการขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานของพวกเขาให้มีความคล่องตัวมากขึ้นและมีต้นทุนที่น้อยลง 

X

Right Click

No right click