×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6855

 ธุรกิจ Business Analytics & Development บริษัท เอ้ก ดิจิทัล ให้บริการโซลูชันที่ปรึกษาด้านข้อมูลและวิเคราะห์บิ๊กดาต้าครบวงจรที่ขับเคลื่อนด้วย AI “Business Analytics as a Service - Powered by AI Engine” รุกชิงส่วนแบ่งตลาดบิ๊กดาต้ามูลค่า 14,000 ล้าน เดินหน้าให้บริการใน 5 อุตสาหกรรมหลัก “ค้าปลีก-ธุรกิจสื่อ-การเงิน-ประกัน-ยานยนต์” ซึ่ง Data Science และเทคโนโลยี AI, Machine Learning ขั้นสูงของ EGG Digital จะเป็นขุมพลังที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรธุรกิจนั้นๆ อย่างตรงจุด โดยพร้อมดูแลและจัดการข้อมูลได้ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ มอบบริการแบบ End-to-End มีความยืดหยุ่นสูง วางแผน กำหนดกลยุทธ์ และออกแบบจัดการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงลึกได้หลากหลายมิติ ตอบอินไซต์และการดำเนินงานตามโจทย์ทางธุรกิจ เสริมศักยภาพความแข็งแกร่งการแข่งขันให้กับองค์กรต่างๆ ช่วยเพิ่มรายได้-ลดต้นทุน-ลดความเสี่ยง โดย EGG Digital ตั้งเป้ารายได้เติบโตก้าวกระโดด 30% ในปี 2566 นี้

 

นายวรภัทร งามเจตวรกุล ผู้จัดการทั่วไปธุรกิจ Business Analytics & Development บริษัท เอ้ก ดิจิทัล จำกัด กล่าวว่า “ธุรกิจยุคใหม่ต่างหันมาให้ความสำคัญกับการใช้ข้อมูลและมีความต้องการขับเคลื่อนธุรกิจด้วย Data-Driven Analytics โดยใช้ประโยชน์จากบิ๊กดาต้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งเอ้ก ดิจิทัล ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์เชิงลึกจากข้อมูลขนาดใหญ่และ ผู้ให้บริการที่ปรึกษาทางธุรกิจ ได้นำเสนอบริการให้คำปรึกษาด้านข้อมูลและวิเคราะห์บิ๊กดาต้าครบวงจรที่ขับเคลื่อนด้วย AI หรือ Business Analytics as a Service - Powered by AI Engine เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจตลอดเส้นทางให้กับองค์กรธุรกิจ เพิ่มรายได้ ลดต้นทุน และลดความเสี่ยง โดยที่ผ่านมาเอ้ก ดิจิทัล ได้เข้าไปช่วยจัดการข้อมูลในด้านต่าง ๆ ให้กับหลากหลายธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจรีเทลชั้นนำขนาดใหญ่ และ FMCG รวมกว่า 200 แบรนด์ ซึ่งเราได้นำผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีขั้นสูงเข้าไปช่วยจัดการกับข้อมูล พร้อมสร้างคุณค่าในหลากหลายมิติ อาทิ เพิ่มอัตราเติบโตเฉลี่ย (Growth), อัตราส่วนยอดขายต่อค่าใช้จ่าย (Sales to Cost Ratio), ค่าเฉลี่ยอัตราตอบรับการตลาดจากลูกค้า (Conversion) ให้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ”

ธุรกิจ Business Analytics & Development ภายใต้เอ้ก ดิจิทัล ดำเนินงานโดยวางจุดยืนเป็นพาร์ทเนอร์คู่คิดของทุกธุรกิจในทุกสเกล มีบริการครอบคลุมทั้งด้านให้คำปรึกษาทางธุรกิจ (Business Consult) และด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) โดยใช้หลักการ “Always-on Power of Two” เป็นหัวใจสำคัญในการให้บริการคือ ผสานความเข้าใจ การวิเคราะห์ บริบททางธุรกิจ (Business Context) และการใช้ศาสตร์ด้านข้อมูลขั้นสูง (Advanced Data Science) ทั้ง Cloud Computing, AI ซึ่งรวมถึงการใช้ Generative AI, และ Machine Learning ที่สามารถออกแบบบริการและ Customize ให้ตอบโจทย์แต่ละธุรกิจอย่างเหมาะสมด้วยรูปแบบ Business Analytics as a Service - Powered by AI Engine พร้อมมีผู้เชี่ยวชาญดูแลแบบ End-to-End ตั้งแต่การสำรวจปัญหาและความต้องการ นำดาต้าของลูกค้าผนวกกับบิ๊กดาต้าของเอ้ก ดิจิทัล เพื่อวิเคราะห์เชิงลึกเป็นอินไซต์ทางธุรกิจ รวมถึงสามารถออกแบบกลยุทธ์และข้อเสนอแนะที่สร้างผลลัพธ์เชิงบวกที่ยั่งยืนให้กับลูกค้าด้วยอัตราค่าบริการที่เหมาะสม

โดยบริการ Business Analytics as a Service – Powered by AI Engine ของเอ้ก ดิจิทัล ประกอบด้วย 5 บริการหลัก ได้แก่ 1. Data Management as a Service – บริการดูแลจัดการข้อมูลครบวงจร (Data Discovery, Cleansing, Consolidation, Cloud, Query, Visualization) 2. Data Platform & Enrichment as a Service – บริการ Data Mart, Customer Data Platform (CDP),

Analytics Platform ทั้งแบบมาตรฐานและแบบ customize, Data Enrichment บริการข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์รอบด้าน (Customer 360/720 องศา) 3. Data Analytics as a Service – บริการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกทุกมิติ ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน เชิงบรรยาย (Descriptive), เชิงการพยากรณ์แนวโน้ม (Predictive), และขั้นสูงแบบให้คำแนะนำ เชิงการประมวลฉากทัศน์และผลลัพธ์ในแง่มุมต่าง ๆ (Prescriptive) ด้วยเทคโนโลยี AI และ ML 4. Business Consulting as a Service – บริการให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีข้อมูลที่เชื่อมโยงกับกลยุทธ์และการดำเนินธุรกิจโดยผู้ที่มีประสบการณ์ตรงกับธุรกิจต่าง ๆ 5. Customer Experience Enhancement as a Service – บริการให้คำปรึกษา วางแผนกลยุทธ์ และดำเนินการด้านการพัฒนาประสบการณ์ลูกค้า (CX/CI) รวมถึงเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน และ Touchpoints ต่าง ๆ

 

นายวรภัทร กล่าวต่อว่า “จากผลสำรวจพบว่า ตลาด Big Data Analytics มีอัตราการเติบโต 12-15% ต่อปี* โดยคาดการณ์ว่า ในปีนี้ตลาดจะมีมูลค่าประมาณกว่า 14,000 ล้านบาท ซึ่งมองว่า ตลาดบิ๊กดาต้าในประเทศไทยยังมีโอกาสทางการตลาดอยู่อีกมาก เมื่อเทียบกับตลาดในเอเชียและตลาดโลก ดังนั้น ในช่วงครึ่งปีหลังนี้ บริษัทฯ ได้วางแผนที่จะขยายการให้บริการในธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้น โดยมุ่งเป้าไปที่ 5 ธุรกิจหลักที่มีความต้องการใช้บิ๊กดาต้าในการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างมาก ได้แก่ ธุรกิจค้าปลีก หลังจากช่วงโควิด-19 ธุรกิจรีเทลแบบออฟไลน์เริ่มกลับมาคึกคักมากขึ้น การใช้บิ๊กดาต้าจะเข้าไปช่วยกำหนดโมเดลทางการตลาดไม่ว่าจะเป็น 4Rs (Recognize, Remember, Recommend, Relevance) และ 4Ps เพื่อทำการตลาดแบบเฉพาะเจาะจง ตอบอินไซต์ผู้บริโภคได้มากขึ้น ธุรกิจสื่อ กลับมาฟื้นตัวได้อย่างน่าสนใจโดยเฉพาะการใช้สื่อแบบ O2O2O ที่เกิดจากการวิเคราะห์ บิ๊กดาต้าและวัดผลการใช้สื่อได้อย่างครบลูป ธุรกิจการเงิน มีการนำบิ๊กดาต้ามาใช้มากที่สุดผ่าน FinTech อาทิ การวิเคราะห์ Credit Scoring และการประมวลผลเพื่อการดำเนินงานที่ดีที่สุด พร้อมทั้งการลดความเสี่ยงของธนาคารและสถาบันการเงิน เพื่อธุรกิจรายย่อยจนถึงรายใหญ่ ธุรกิจประกัน ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างโดดเด่น มีการนำบิ๊กดาต้ามาใช้เพื่อนำเสนอบริการและเบี้ยประกันที่หลากหลาย ตรงตามพฤติกรรมลูกค้ากรมธรรม์ที่เปลี่ยนไปได้อย่างดี และธุรกิจยานยนต์ ซึ่งคำนึงถึงการมอบประสบการณ์ตั้งแต่ก่อนขาย ระหว่างการขาย และหลังการขายด้วยการใช้บิ๊กดาต้า”

“บริษัทฯ มั่นใจว่าบริการ Business Analytics as a Service - Powered by AI Engine จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพลิกธุรกิจลูกค้าในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ สู่ Data-driven เพื่อสามารถเพิ่มยอดขาย ลดค่าใช้จ่าย และลดความเสี่ยงในการตัดสินใจ โดยบริษัทฯ จะให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลข้อมูลของลูกค้าด้วยมาตรฐาน 3 ชั้น เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าข้อมูลจะถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีที่สุด ทั้งการกำกับดูแลข้อมูลภายในให้เป็นไปตามมาตรฐานระดับสูง การกำกับดูแลข้อมูลตามพรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พรบ. การแข่งขันทางการค้า และมาตรฐานทางกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล รวมถึงการใช้เทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมขั้นสูงเพื่อป้องกันการรั่วไหลและรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยตั้งเป้าปีนี้ เพิ่มรายได้ธุรกิจ Business Analytics & Development เติบโต 30% ปีนี้ ขยายจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้น 10% และช่วยดันตลาดบิ๊กดาต้าไทยเติบโตต่อเนื่อง” นายวรภัทร กล่าวทิ้งท้าย

ภายใต้สถานการณ์ที่สังคมโดยรวมเริ่มขยับเข้าสู่โลกดิจิทัล  บริบทของวิถีชีวิตตลอดจนธุรกรรมทางเศรษฐกิจได้เปลี่ยนจากรูปแบบอะนะล็อคมาสู่รูปแบบดิจิทัล และด้วยศักยภาพของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและสามารถบรรจุข้อมูลหรือ ดาต้า ของกิจกรรมต่างๆ ไว้อย่างมากมายในหลายปีที่ผ่านมา และนั่นหมายถึง โอกาส ต่อการแก้ไขและพัฒนา เพื่อก้าวสู่อนาคตที่ดียิ่งขึ้น 

ในส่วนของภาคเอกชนได้มีการนำข้อมูลที่เรียกว่า บิ๊กดาต้ามาใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์อย่างแพร่หลาย  โดยในขณะที่ภาครัฐในหลายประเทศก็ได้มีการอภิปรายถึงแนวทางการนำ “บิ๊กดาต้า” มาใช้ประโยชน์เพื่อต่อการออกแบบนโยบายสาธารณะ

ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ได้เผยถึงความเห็นต่อประเด็นนี้ว่า " ในต่างประเทศเริ่มมีข้อถกเถียงและการอภิปรายถึงประเด็นการใช้ mobility data มาเป็นแนวทางในการพัฒนานโยบาย ตัวอย่างเช่นในนอร์เวย์ สวีเดน ฝรั่งเศส สโลวาเกีย ที่มีการนำ mobility data มาวิเคราะห์รูปแบบการเดินทางของนักท่องเที่ยวเพื่อการออกแบบยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว เช่นเดียวกับการดำเนินการวิเคราะห์ mobility data ร่วมกันระหว่างดีแทค คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และบุญมีแล็บในครั้งนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอานุภาพของข้อมูล Mobility data ต่อการออกแบบนโยบายสาธารณะที่มีข้อได้เปรียบด้านขนาดข้อมูล ความรวดเร็วในการรวบรวมข้อมูล ต้นทุนที่น้อยกว่าการได้มาซึ่งข้อมูลแบบสำรวจ  หากเราสามารถนำ mobility data มาใช้ในการออกแบบนโยบายได้มากขึ้น จะสร้างพลังขับเคลื่อนอันมหาศาลในการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม"

Image preview

mobility data ไม่เพียงแต่จะทำให้ภาครัฐและนักวิจัยเข้าใจสถานการณ์ในสังคมได้ดีละเอียด ชัดเจน และฉับไวมากขึ้น  หากภาคประชาชน ชุมชน และผู้ประกอบการรายย่อยสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จะเป็นการเปิดโอกาสให้สังคมมีทางออกใหม่ให้กับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น  ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ กล่าว

เวลาตัวแปรสำคัญของการพัฒนา

ฐิติพงษ์ เหลืองอรุณเลิศ ซีอีโอของ Boonmee Lab เผยว่า บริษัทมีเป้าหมายในการนำความรู้ด้านการออกแบบ ดาต้า และเทคโนโลยีมาทำให้เกิดนวัตกรรมเพื่อสังคม และโปรเจ็คนี้ก็เป็นหนึ่งในโปรเจ็คที่ตื่นเต้นที่สุดด้วยลักษณะของ mobility data ที่มีลักษณะเฉพาะ ประกอบกับการมองเห็นถึงศักยภาพในการออกแบบนโยบายสาธารณะที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพ

โปรเจ็คนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นการนำ mobility data มาวิเคราะห์และนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครั้งแรกของไทย และสามารถต่อยอดไปสู่การกำหนดนโยบายสาธารณะเพิ่มเติม นำมาพลิกแพลงได้หลายอย่างจนนำไปสู่ข้อสรุปใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม” ฐิติพงษ์กล่าว

ในโลกสมัยใหม่ที่ดิจิทัลได้เปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์และองคาพยพของสังคมอย่างสิ้นเชิง การออกแบบนโยบายสาธารณะก็ควรมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เร็วขึ้นของสังคม ควรนำแนวคิดการทำงานแบบ agile มาใช้ เพราะหากรัฐยังมีมุมมองต่อนโยบายสาธารณะแบบเดิม ในห้วงระยะเวลา 10 ปีต่อจากนี้ ประเทศไทยจะตามหลังนานาอารยะประเทศอย่างมาก

“ในยุคที่เวลาเป็นทรัพยากรที่มีค่า ภาครัฐจำเป็นต้องนำเครื่องมือและรูปแบบการทำงานสมัยใหม่มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ อย่างเช่นโปรเจ็คนี้ที่คาดหวังว่าจะเป็น use case ของการนำ mobility data มาเป็นฐานเพื่อหนดนโยบายอื่นๆ ต่อไป” ฐิติพงษ์กล่าวเน้นย้ำพร้อมยกตัวอย่างกรณีการกำหนดเส้นทางเดินสายรถเมล์ที่อาจใช้ mobility data ร่วมกับข้อมูล CCTV ทำให้ระบบขนส่งมวลชนของกรุงเทพฯ มีประสิทธิภาพมากขึ้น

Image preview

พันธกิจแรกเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐ

ภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม อธิบายว่า นับตั้งแต่การเปลี่ยนชื่อจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาเป็นกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของรัฐบาลสะท้อนให้แห็นถึงการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ต่อการพัฒนาสู่ Digital Nation โดยให้ความสำคัญที่ “ข้อมูล” มากกว่า “ระบบไอที”

ปัจจุบัน สดช. ได้กำหนดทิศทางด้านข้อมูลโดยผลักดันให้ฐานข้อมูลที่เป็นบิ๊กดาต้าเป็นแหล่งเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ภาครัฐเองยังเผชิญกับความท้าทายโดยเฉพาะระบบการได้มาและการจัดเก็บข้อมูลนั้นมีความแตกต่าง ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีการจัดเก็บข้อมูลของตัวเอง โดยทั้งหมดต้องคำนึงถึงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว การออกแบบนโยบายจำต้องให้ทันสถานการณ์ ดังนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าการได้มาซึ่งข้อมูลที่ทันการณ์จึงความสำคัญมาก

“ในฐานะที่เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักสถิติแห่งชาติ ผมตระหนักดีถึงบทบาทและความสำคัญของข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากข้อมูลมีการบูรณาการจากหลายแหล่ง วิเคราะห์ได้ถูกจุด ก็จะทำให้ข้อมูลนั้นๆ มีพลังอย่างมาก” เลขาธิการ สดช. กล่าว

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา แม้การเชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐยังเผชิญกับความล่าช้าอันเนื่องมาจากการปรับปรุงกฎหมาย แต่ขณะเดียวกัน รัฐเองก็มีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการปฏิรูปข้อมูล ทั้งการจัดเก็บในรูปแบบดิจิทัลบนระบบคลาวด์ที่สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชนเป็นเจ้าภาพ หรือการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (สวข.ซึ่งเป็นหน่วยงานเต็มไปด้วยบุคลากรด้าน data scientist เพื่ออำนวยความสะดวกวิเคราะห์ข้อมูลตามโจทย์ที่หน่วยงานรัฐต่างๆ ต้องการ

“ข้อมูลที่เรียลไทม์จะทำให้ภาครัฐสามารถบริหารจัดการปัญหาต่างๆ ได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การบริหารจัดการน้ำ การรับมือกับภัยพิบัติ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เป้าหมายสำคัญในระยะอันใกล้นี้คือการเชื่อมโยงฐานข้อมูลให้เป็นแหล่งเดียวกัน ซึ่งเป็นการกลัดกระดุมเม็ดแรกที่มีความสำคัญอย่างมาก” ภุชพงค์ กล่าว

Image preview

ก้าวสู่ความเป็นไปได้ใหม่ๆ

อรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวว่า จุดยืนของดีแทคต่อการใช้ mobility data คือ การขยายความเป็นไปได้ใหม่ๆ ที่อยู่บนสมดุลระหว่างนโยบายความเป็นส่วนตัวกับประโยชน์สาธารณะ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมสังคมเละเศรษฐกิจดิจิทัลให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปแบบอย่างแท้จริง แม้โครงการฯ นี้จะใช้เวลายาวนานถึง 2 ปี แต่ทีมงานทั้ง 3 ฝ่ายก็ทำมันสำเร็จ แต่นั่นเป็นก้าวแรกเท่านั้น โดยก้าวต่อไปคือ การได้รับความเห็นชอบโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบและนำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากงานวิจัยไปปรับใช้ ส่วนปลายทางความสำเร็จคือ การเห็นผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพื่อเป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงวิธีการใช้ข้อมูลและวิธีการใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหาสังคม เช่นเดียวกับกรณีนี้ ที่มีความคาดหวังให้ mobility data สามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการท่องเที่ยว ตลอดจนเพิ่มการมีส่วนร่วมขององค์กรส่วนท้องถิ่น

หลายคนอาจถามว่าเอกชนจะก้าวขามาเกี่ยวข้องกับเรื่องนโยบายสาธารณะทำไม แต่ดีแทคเราเชื่อว่า สิ่งนี้คือหน้าที่ของผู้ให้บริการโทรคมนาคมด้วยการใช้ศักยภาพของ mobility data ผ่านความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชนและสถาบันการศึกษาสร้างประโยชน์ต่อประเทศตามแนวคิด Civil society อรอุมา เผย

Image preview

เมื่อเทคโนโลยีด้าน Data  คือ  คลื่นลูกใหญ่ที่ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและโลกทั้งใบให้เกิดความเปลี่ยนแปลงแบบติดสปีด

Blendata (เบลนเดต้า) บริษัทผู้พัฒนาแพลตฟอร์มบริหารจัดการ Big Data อัจฉริยะ รุกปฏิวัติการทำ Data Archiving จากรูปแบบเดิมที่เป็นเพียงการเก็บข้อมูล

รักษิณา มุตธิกุลโจนส์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท มิดัส คอมมิวนิเคชั่น อินเตอร์เนชั่นเนล เปิดเผยว่า

Page 1 of 4
X

Right Click

No right click