ในโลกยุคใหม่ที่รูปแบบการเรียนรู้และความต้องการของตลาดแรงงานเปลี่ยนไป อีกทั้งผู้คนมีการตั้งคำถามถึงความสำคัญของสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมมือกับ SkillLane ปรับตัวรับมืออนาคตด้วย TUXSA หลักสูตรปริญญาโทออนไลน์ ที่ช่วยให้ธรรมศาสตร์กลับสู่การเป็น “ตลาดวิชายุคดิจิทัล” ที่ตอบโจทย์โลกสมัยใหม่ โดยเป็นปีที่ 4 แห่งความสำเร็จด้วยจำนวนผู้เรียนมากกว่า 16,000 คน รวมถึงมีนักศึกษาเรียนจบเป็นมหาบัณฑิตแล้วในปี พ.ศ.2565 นี้

ในปัจจุบัน รูปแบบการเรียนรู้ของผู้คนเปลี่ยนแปลงไป ทั้งไม่จำเป็นต้องเรียนรู้อยู่แค่ในห้องเรียนและอาจไม่จำเป็นต้องเรียนในมหาวิทยาลัย ขณะเดียวกัน สถานการณ์ของตลาดแรงงานก็เปลี่ยนไป ผลวิจัยระบุว่า ในช่วง 5 ปีข้างหน้า งานทั่วโลกจะหายไป 85 ล้านตำแหน่ง และจะเกิดงานใหม่กว่า 97 ล้านตำแหน่ง ส่งผลให้ตลาดแรงงานยุคใหม่อาจเกิดปรากฏการณ์คนจำนวนมากไม่มีงานทำ และงานเกิดใหม่จำนวนมากไม่มีคนที่ทักษะเหมาะสมมาทำได้ กระแสการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้เกิดคำถามสำคัญคือ “มหาวิทยาลัยยังจำเป็นอยู่หรือไม่” และ “หากมหาวิทยาลัยจะอยู่รอดต่อไป ควรปรับตัวและมีบทบาทอย่างไร”

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทยได้ตอบคำถามเหล่านี้ผ่านการปรับตัวเพื่อตอบโจทย์อนาคต โดยร่วมกับ SkillLane แพลตฟอร์มเรียนออนไลน์ของไทย ได้เปิดตัว TUXSA หลักสูตรปริญญาโทในรูปแบบออนไลน์ที่ส่งมอบทักษะแห่งอนาคตให้แก่คนไทย หลักสูตรปริญญาโทนี้ทั้งตอบโจทย์การเรียนรู้ของผู้เรียนยุคใหม่และตอบโจทย์ตลาดแรงงานในอนาคตไปพร้อมกัน

รศ.ดร.พิภพ อุดร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “ธรรมศาสตร์มีอายุ 88 ปี เก่าแก่และมีความขลัง แต่ความขลังนี้อาจทำให้ไม่ทันโลก เราจึงต้องกลับไปเป็น 18 ใหม่อีกครั้ง โดยเราจะตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ในโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี แต่หลักการทำงานของเราคือ อะไรที่ไม่เชี่ยวชาญอย่าลงทุน ให้หาพันธมิตรที่เก่งในเรื่องนี้แทน นั่นคือเหตุผลที่เราจับมือกับสตาร์ทอัปด้าน Education Technology สร้าง TUXSA ปริญญาโทออนไลน์ที่เป็นโปรแกรมการเรียนรู้รูปแบบใหม่

7 จุดเด่นของหลักสูตร TUXSA  คือ

● เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้าถึงความรู้ที่ต้องการจากที่ไหน เมื่อไรก็ได้

● เลือกเรียนเฉพาะวิชาที่สนใจได้

● ถ้าเลือกเรียนทั้งหลักสูตรเพื่อรับใบปริญญา จะได้รับวุฒิปริญญาโทที่มีศักดิ์และสิทธิ์เท่าปริญญาโทปกติ

● วางแผนค่าใช้จ่ายในการเรียนได้

● ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

● เนื้อหาหลักสูตรพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ผู้เรียน

● เรียนพร้อมทำงานได้ ไม่เสียโอกาสทางการงาน

ปัจจุบัน TUXSA เปิดสอนอยู่ทั้งหมด 2 หลักสูตรคือ หลักสูตรปริญญาโทบริหารธุรกิจ สาขา Business Innovation (M.B.A. Business Innovation) ที่ผ่านการรับทราบหลักสูตรจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และหลักสูตรปริญญาโท Data Science for Digital Business Transformation (M.S. Digital Business Transformation)

และในปี พ.ศ. 2565 ซึ่งครบรอบ 4 ปีของการก่อตั้ง TUXSA หลักสูตรปริญญาโทนี้ฉลองความสำเร็จด้วยจำนวนผู้เรียนมากกว่า 16,000 คน และมีนักศึกษาจบการศึกษาเป็นมหาบัณฑิตแล้ว ความสำเร็จของ TUXSA สะท้อนถึงการปรับตัวไปในทิศทางที่ถูกต้องของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทั้งรูปแบบการเรียนและเนื้อหา โดยมีปริญญาสนับสนุนว่าผู้เรียนผ่านการรับรองจากสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพ

รศ.ดร.พิภพ อุดร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ตอนธรรมศาสตร์เกิดขึ้นมา เราเป็นมหาวิทยาลัยเปิดที่ทุกคนเข้าถึงได้ พอเราเปลี่ยนมาเป็นมหาวิทยาลัยปิด จำนวนที่นั่งก็จำกัด คนจะเข้าสู่ธรรมศาสตร์ต้องผ่านการคัดเลือกมากมาย การเปิดปริญญาโทออนไลน์ที่ชื่อ TUXSA ของเราคือการ Back to the Future ทำให้ธรรมศาสตร์กลับไปสู่จุดตั้งต้นเดิมของความเป็นตลาดวิชา แต่เทคโนโลยีทำให้เราก้าวผ่านข้อจำกัดของจำนวนที่นั่ง เวลา สถานที่ และค่าใช้จ่าย ทำให้เราตอบโจทย์การเรียนรู้รูปแบบใหม่ให้กับคนในทุกเจนเนอเรชัน

สำหรับผู้ที่สนใจ ดูรายละเอียด TUXSA ได้ที่ www.skilllane.com/tuxsa

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดรับสมัครพนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการ ตำแหน่งอาจารย์

 

สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำโดย ผศ. ดร. สุทธิกร กิ่งเเก้ว ผู้บริหารโครงการวิจัยเผยผลวิจัยเกี่ยวกับบริการเรียกรถมอเตอร์ไซค์ผ่าน แอปพลิเคชัน โดยได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่มีต่อ ประเด็นต่างๆ ทั้งประโยชน์ของบริการ ผลกระทบ ตลอดจนนโยบายของภาครัฐในการกำกับดูแลบริการ ดังกล่าว ผ่านการทำแบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 411 คน รวมถึงการจัดสนทนา กลุ่มย่อย (โฟกัสกรุ๊ป) กับกลุ่มผู้ให้บริการรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ทั้งวินมอเตอร์ไซค์ (ป้ายเหลือง) และ บุคคลทั่วไปที่ให้บริการผ่านแอปพลิเคชัน (ป้ายดำ) พร้อมนำเสนอแนวทางที่ภาครัฐควรนำมาพิจารณา ในการกำกับดูแลบริการดังกล่าว โดยมุ่งเน้นการสร้างประโยชน์สูงสุดให้เกิดกับทุกภาคส่วน ทั้งคนขับ ผู้ใช้บริการ ผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน ภาครัฐ ตลอดจนสังคมโดยรวมควบคู่ไปกับส่งเสริมการสร้างราย ได้และกระตุ้นเศรษฐกิจในยุคยุคดิจิทัล โดยผลการสำรวจระบุว่า 

  • 83% ของกลุ่มตัวอย่าง เคยใช้บริการเรียกรถมอเตอร์ไซค์ผ่านแอปพลิเคชัน โดยให้เหตุผลว่า บริการดังกล่าวมีประโยชน์ในหลายด้าน อาทิ
    • 4% เห็นว่าบริการดังกล่าวช่วยสร้างความสะดวกสบายในการเดินทาง เพราะสามารถ เรียกจากที่ไหนหรือเวลาไหนก็ได้
    • 8% ระบุว่าแอปเรียกรถมีความโปร่งใสในด้านราคา เพราะทราบค่าบริการล่วงหน้า ก่อนเรียกใช้บริการ
    • 2% บอกว่าบริการนี้สะดวกในแง่ระบบการชำระค่าบริการ เพราะสามารถจ่ายแบบ ออนไลน์ ไม่ต้องใช้เงินสด
    • 6% คิดว่าเป็นบริการที่ปลอดภัย เพราะแอปเรียกมีการคัดกรองที่เข้มงวด มีฐานข้อมูล คนขับ-ทะเบียนรถ สามารถตรวจสอบได้ และมีเทคโนโลยีติดตามการเดินทาง
    • 62% เห็นว่าสามารถเดินทางข้ามเขตหรือพื้นที่ได้ ไม่มีข้อจำกัดเรื่องจุดรับเหมือนกับวิน ที่ต้องอยู่ในพื้นที่ที่กำหนด
    • 8% มองว่าบริการนี้ช่วยสร้างอาชีพเสริมให้กับบุคคลทั่วไปที่มีรถมอเตอร์ไซค์
    • 4% เห็นว่าบริการนี้ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะมีส่วนลดจากโปรโมชัน และรีวอร์ดให้กับผู้ใช้ 
  • ต่อประเด็นที่หน่วยงานภาครัฐกำลังจะนำระบบวินมอเตอร์ไซค์มาใช้ในการกำกับดูแลบริการเรียกรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างผ่านแอป เช่น ให้รับ-ส่งได้เฉพาะในพื้นที่เท่านั้น คนขับมีใบขับขี่สาธารณะ หรือใช้ป้ายเหลืองเท่านั้น และมีระบบโควต้าจำกัดจำนวนผู้ให้บริการ พบว่า 69% ของผู้ที่เคย ใช้บริการไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว
    • โดย 75% มองว่า ระบบวินมอเตอร์ไซค์มีข้อจำกัดในการให้บริการ ทั้งในเรื่องจุดรับ-ส่ง การไม่สามารถให้บริการข้ามเขตได้ ซึ่งไม่สะดวกและไม่ตอบโจทย์การเดินทางของ คนกรุงเทพฯ
    • ขณะที่ 72% ระบุว่าการใช้ระบบโควต้าส่งผลให้มีการจำกัดจำนวนคนขับหรือรถ อาจทำ ให้มีรถมอเตอร์ไซค์ที่ให้บริการไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะใน ช่วงเวลาเร่งด่วน
    • นอกจากนี้ 88% ยังบอกว่าการใช้ระบบโควต้าอาจนำพาไปสู่ปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น มาเฟียเสื้อวิน การโก่งราคา หรือการปิดกั้นโอกาสคนขับทั่วไปที่ต้องการจะเข้าสู่ระบบ ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียม เป็นต้น
    • ส่วนผู้ที่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าวมีเพียงหนึ่งในสามเท่านั้น โดย 91% ของคนกลุ่มนี้ เชื่อว่าระบบวินมีความปลอดภัยมากกว่าเพราะภาครัฐมีฐานข้อมูลของคนขับทุกคน ขณะที่ 75% คิดว่าระบบวินช่วยสร้างความมั่นใจเพราะเป็นระบบที่ถูกกฎหมาย

 ส่วนกรณีที่มีการนำเสนอข่าวว่าหน่วยงานภาครัฐจะมีคำสั่งปิดแอปพลิเคชันเรียกรถมอเตอร์ไซค์ รับจ้างที่ให้บริการโดยบุคคลทั่วไปนั้น 94% ไม่เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าว

    • โดย 90% มองว่าเป็นการจำกัดทางเลือกของผู้ใช้บริการ ขณะที่ 81% เห็นว่าการดำเนิน การเช่นนั้นสะท้อนถึงความล้าหลังของกฎหมายไทยที่ไม่สอดรับกับพฤติกรรมของ ผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน และ 74% เชื่อว่าเป็นการปิดกั้นโอกาสทำกินและขัดต่อการ ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล
    • ส่วนผู้ที่เห็นด้วยกับการออกคำสั่งให้ปิดแอปมีซึ่งมีเพียง 6% เท่านั้น โดยส่วนใหญ่ (73%) มองว่าเป็นการบังคับใช้กฎหมายให้ถูกต้อง ขณะที่ 60% ไม่ต้องการถูกหักค่าธรรมเนียม การใช้บริการจากแอป และ 47% คิดว่าจะช่วยให้คนขับในระบบวินมีรายได้มากขึ้น 

นอกจากประชาชนผู้ใช้บริการแล้ว สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังได้ สำรวจความคิดเห็นเพิ่มเติมกับกลุ่มผู้ให้บริการรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มวินมอเตอร์ไซค์ (ป้ายเหลือง) และบุคคลทั่วไปที่ให้บริการผ่านแอปพลิเคชัน (ป้ายดำ) ผ่านการทำสนทนากลุ่มย่อย (โฟกัสกรุ๊ป) โดย 

  • กลุ่มผู้ให้บริการวินรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างระบุว่า บริการเรียกรถมอเตอร์ไซค์ผ่านแอปได้รับ ความนิยมเพิ่มมากขึ้น ทำให้เสื้อวินมีราคาถูกลงไปมาก หลายวินเริ่มไม่เก็บค่าธรรมเนียม รายเดือนอีกต่อไป ทั้งนี้ในหลายพื้นที่คนขับวินก็เริ่มปรับตัวเพื่อให้บริการผ่านแอป ไม่ว่าจะเป็น บริการรับ-ส่งผู้โดยสาร  รวมไปถึงบริการจัดส่งอาหารหรือขนส่งสินค้า-พัสดุ โดยตัวแทนคนขับ วินที่เข้าร่วมทำโฟกัสกรุ๊ปมองว่า การมีทั้งระบบวินและระบบเเอปเป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ตอนนี้คนขับวินในหลายพื้นที่เริ่มยอมรับรถป้ายดำที่วิ่งรับ-ส่งผู้โดยสารมากขึ้น เพียงแต่ต้อง ไม่มาทับพื้นที่กัน ในพื้นที่ที่มีผู้โดยสารจำนวนมาก เช่น บริเวณสถานีรถไฟฟ้า BTS หรือ MRT การมีวินประจำก็สะดวกต่อผู้โดยสาร ทำให้สามารถขึ้นวินต่อได้เลย ขณะเดียวกันระบบเเอป ก็ช่วยให้ผู้โดยสารที่อยู่ห่างจากวินหรืออยู่ในซอยลึกสามารถเดินทางได้สะดวกขึ้น เพราะมีรถ ไปรับถึงที่ทุกเวลา ดังนั้น ทั้งสองระบบสามารถอยู่ร่วมกันได้ เพราะช่วยเติมเต็มจุดเเข็งเเละ เเก้ปัญหาจุดอ่อนของกันเเละกันเพื่อตอบสนองผู้ใช้บริการ 
  • ขณะที่กลุ่มบุคคลทั่วไปที่ให้บริการผ่านแอปให้ความเห็นว่า การมีระบบเเอปเรียกมอเตอร์ไซค์ รับจ้างช่วยสร้างรายได้ให้กับตัวเองเเละครอบครัว และสร้างความสะดวกอย่างมากให้กับ ผู้โดยสารและตอบโจทย์คนยุคนี้ ทำให้มีจำนวนผู้เรียกใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งส่งผลให้มี คนขับเข้ามาในระบบเรียกรถผ่านเเอปมากขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้ อยากให้ภาครัฐให้ความสำคัญ กับคนทุกกลุ่ม ไม่เฉพาะกลุ่มวิน โดยมองไปที่ประโยชน์ในภาพรวม หากจะมีการบังคับใช้ กฎระเบียบใดๆ เพื่อควบคุมบริการ อยากให้คำนึงถึงผลกระทบและให้มีเวลาได้ปรับตัว เพราะไม่อยากสูญเสียรายได้ โดยเฉพาะในสภาวะเศรษฐกิจที่ข้าวยากหมากแพงแบบนี้ หากมีการสั่งปิดแอปอย่างที่มีการรายงานข่าวจริง ย่อมส่งผลกระทบและสร้างความลำบาก ให้กับคนจำนวนมาก 

นอกจากนี้ ผศ. ดร. สุทธิกร กิ่งเเก้ว ยังได้นำเสนอแนวทางในการกำหนดมาตรฐานการกำกับดูแลบริการ เรียกรถมอเตอร์ไซค์ผ่านแอปพลิเคชันในประเทศไทย โดยให้ทรรศนะว่า “ในเเง่มุมของประโยชน์ทาง เศรษฐกิจเเละสังคมโดยเฉพาะในโลกยุคดิจิทัล เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีต่างๆ ที่นำมาประยุกต์ใช้ ในสังคมได้ทำให้ชีวิตเราสะดวกสบายมากขึ้น สร้างโอกาสทางธุรกิจ เกิดเป็นอุตสาหกรรมใหม่ๆ และสร้าง การขยายตัวของเศรษฐกิจในภาพรวม แม้ปัจจุบันกฎหมายหรือข้อบังคับบางอย่างอาจจะไม่รองรับต่อ ความเปลี่ยนเเปลงของโลก เเต่สิ่งที่ภาครัฐควรทำคือ การปรับปรุงเเก้ไขกฎหมายหรือกฎระเบียบเพื่อให้ ทุกภาคส่วนของประเทศสามารถใช้ประโยชน์ได้จากเทคโนโลยีใหม่เหล่านี้ได้” 

“ในกรณีของการบริการเรียกรถมอเตอร์ไซค์ผ่านแอปพลิเคชันนั้น ส่วนตัวมองว่าภาครัฐไม่ควรที่จะ เดินถอยหลังเข้าไปเปลี่ยนเเปลงในสิ่งที่ดีอยู่เเล้ว โดยนำกฎหมายที่ถูกร่างขึ้นในยุคสมัยเดิมบังคับใช้ กับเรื่องในปัจจุบัน โดยไม่ได้พิจารณาถึงสภาพเเวดล้อมทางเศรษฐกิจเเละสังคมที่เปลี่ยนเเปลงไป เช่นภาครัฐไม่ควรเข้าไปกำหนดหรือบังคับห้ามไม่ให้คนขับป้ายดำต้องหยุดการให้บริการ ในทางกลับกัน ภาครัฐควรที่จะช่วยให้คนขับเหล่านี้สามารถให้บริการได้อย่างถูกกฎหมาย โดยมีแผนหรือกระบวนการ ต่างๆ รองรับ ซึ่งอาจจะทำในรูปแบบที่ค่อยเป็นค่อยไป โดยทยอยปรับกฎระเบียบให้เป็นที่ยอมรับ ของทุกฝ่าย และอนุโลมให้รถป้ายดำสามารถวิ่งรับ-ส่งในระบบเเอปได้ไปก่อนจนกว่าทุกฝ่ายจะตกลง หาทางออกกันได้อย่างชัดเจน ขณะเดียวกัน ก็ควรหาทางส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้กลุ่มคนขับวิน โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือกลุ่มที่ตามไม่ทันเทคโนโลยี สามารถปรับตัวเพื่อใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชัน เหล่านี้ได้ จะได้มีรายได้เสริมและก้าวทันเศรษฐกิจดิจิทัล”

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดรับสมัครพนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการ ตำแหน่งอาจารย์ ด้านบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ 1 อัตรา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก หรืออยู่ระหว่างศึกษาระดับปริญญาเอกโดยผ่านการสอบประมวลวัดผล Ph.D. Candidate ทางด้านหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2565

ผู้ที่สนใจสามารถ Download ใบสมัคร ได้ที่ http://www.tbs.tu.ac.th/เกี่ยวกับเรา/Job-Opportunities รายละเอียดโทร. 06 3947 2614 ในวันและเวลาราชการ 

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click