4 กรกฎาคม 2566, - บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของไทยที่มุ่งเน้นตอบสนองไลฟ์สไตล์แบบครบวงจร ร่วมกับ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) สานต่อเจตนารมณ์ด้านความยั่งยืนของทั้งสององค์กรในการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ลงนามความร่วมมือสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability Linked Loan) และสินเชื่อสีเขียว (Green Loan) จำนวน 20,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงการคุณภาพระดับเมกะโปรเจกต์ให้เป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวระดับโลก (Mega global destination) ร่วมนำมาตรฐานใหม่เสริมความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่มุ่งเน้นการลดการใช้ทรัพยากร และส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในทุกมิติ สร้างคุณค่าองค์รวมแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) รวมถึงสนับสนุนโครงการริเริ่มต่างๆ เพื่อพัฒนาความยั่งยืนของทรัพยากรทางทะเล และการพัฒนาสังคมในอนาคต พร้อมร่วมสร้างให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวยั่งยืนระดับโลก

นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “การลงทุนอย่างต่อเนื่องของ AWC ซึ่งเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์แถวหน้าของประเทศ เป็นตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนถึงอนาคตทางเศรษฐกิจไทยที่กำลังดีขึ้น ธนาคารไทยพาณิชย์ ตระหนักถึงบทบาทในการร่วมขับเคลื่อนความยั่งยืนให้เกิดขึ้นแก่สังคมไทยในทุกมิติ จึงมีความยินดีที่ได้มีส่วนร่วมสนับสนุนสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability Linked Loan) และสินเชื่อสีเขียว (Green Loan) จำนวน 20,000 ล้านบาท แก่ AWC เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงการใหม่ๆ และการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของ AWC อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อมของธนาคาร และธุรกิจภายใต้กลุ่มเอสซีบี เอกซ์ โดยมีเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์จากการดำเนินงานภายในปี 2030 และจากการให้สินเชื่อและการลงทุนภายในปี 2050 ธนาคารมีความเชื่อมั่นในศักยภาพทางธุรกิจของ AWC และเชื่อมั่นว่าการสนับสนุนทางการเงินจำนวน 20,000 ล้านบาทในครั้งนี้ จะช่วยเสริมศักยภาพทางธุรกิจให้แก่ AWC ผ่านการพัฒนาโครงการคุณภาพมากมาย ที่จะสร้างความน่าตื่นเต้นให้แก่วงการอสังหาริมทรัพย์ และเพื่อสนับสนุนประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวที่ยั่งยืนระดับโลก”

นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC กล่าวว่า “AWC มีความประทับใจ SCB ต่อความมุ่งมั่น วิสัยทัศน์ที่ร่วมกันด้านความยั่งยืน ที่ได้ออกสินเชื่อด้านความยั่งยืนเป็นรายแรกของประเทศ ควบคู่การเดินหน้าผนึกกำลังร่วมสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนให้กับทุกภาคส่วน ทั้งนี้ AWC มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับ SCB ในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศ โดย AWC มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาโครงการคุณภาพระดับเมกะโปรเจกต์ให้เป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวยั่งยืนระดับโลก (Mega sustainable destination) อาทิ โครงการเอเชียทีค ที่จะสร้างเป็นแลนด์มาร์คความยั่งยืนริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้กับกรุงเทพฯ โครงการอควอทีค กลางเมืองพัทยา และโครงการเวิ้ง นาครเกษม ศูนย์กลางคุณค่าประวัติศาสตร์วัฒนธรรมกลางไชน่า ทาวน์ รวมถึงโครงการลานนาทีค ที่มีคุณค่าของเสน่ห์ศิลปวัฒนธรรมล้านนากลางเมืองเชียงใหม่ เป็นต้น ซึ่ง AWC เชื่อมั่นว่าการพัฒนาโครงการต่างๆ ให้เป็นจุดหมายปลายทางด้านความยั่งยืนระดับโลกนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งเพื่อสานต่อนโยบายและกลยุทธ์หลักของประเทศสู่การเป็นผู้นำการท่องเที่ยวยั่งยืนระดับโลก

AWC ยังมุ่งพัฒนาอาคารตามมาตรฐานอาคารสีเขียวในระดับสากล อาทิ โรงแรมอินน์ไซด์ บาย มีเลีย กรุงเทพ สุขุมวิท ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐาน EDGE (Excellence in Design for Greater Efficiencies) และโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล เชียงใหม่ แม่ปิง ได้รับการรับรอง LEED & WELL PRECERTIFIED รวมถึงอีกหลากหลายโครงการ โดยใช้สินเชื่อยั่งยืนแรกที่ได้รับการสนับสนุนจาก SCB เมื่อปีที่แล้ว โดยปัจจุบัน AWC ได้ร่วมมือกับพันธมิตรสถาบันการเงินชั้นนำจัดวงเงินสินเชื่อระยะยาวที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืนกว่าร้อยละ 75 และตั้งเป้าที่จะเพิ่มสัดส่วนวงเงินสินเชื่อระยะยาวเชื่อมโยงความยั่งยืนเป็นร้อยละ 100 เพื่อมุ่งสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับประเทศ”

AWC มุ่งขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน 3 เสาหลัก 9 มิติ หรือ 3 BETTERs ประกอบไปด้วย 1) การสร้างคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม (BETTER PLANET) เพื่อโลกที่มีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น 2) การสร้าง

คุณค่าด้านสังคม (BETTER PEOPLE) เพื่อผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 3) การสร้างคุณค่าด้านเศรษฐกิจ (BETTER PROSPERITY) เพื่อเศรษฐกิจของประเทศที่ดีขึ้น โดยที่ผ่านมา AWC ได้ดำเนินโครงการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง อาทิ โรงแรม เชอราตัน สมุย ดำเนินโครงการธนาคารปู เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และโรงแรมบันยันทรี กระบี่ ที่ได้ร่วมมือกับมูลนิธิอันดามัน เพื่อนำร่องโครงการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน รวมถึงการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน ผ่านแนวคิดธุรกิจ reConcept ที่ส่งเสริมการนำเฟอร์นิเจอร์และวัสดุเก่า รวมถึงอุปกรณ์ตกแต่งของโรงแรมที่ไม่ได้ใช้งาน กลับมารีไซเคิลและใช้ซ้ำ เพื่อลดปริมาณขยะฝังกลบ ตลอดจนการลงทุนพัฒนาบริหารโครงการอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทฯ ที่ส่งเสริมการสร้างงานและสร้างรายได้สู่ชุมชนรอบโครงการ และสนับสนุนผู้ประกอบการไทยท้องถิ่นเพื่อสร้างโอกาสรายได้ที่ยั่งยืนผ่านโครงการ เดอะ GALLERY เป็นต้น

AWC ยังคงดำเนินงานตามแผนแม่บทอนุรักษ์พลังงาน (Energy Efficiency Plan: EEP) สอดคล้องกับกรอบสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืนและสินเชื่อสีเขียว เพื่อมุ่งเน้นการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผ่านโครงการติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคาหรือชั้นดาดฟ้าของอาคาร การเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน การเพิ่มประสิทธิภาพระบบทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ ครอบคลุมโรงแรมในเครือที่มีการดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2019 นอกจากนี้ AWC จะพัฒนาโครงการในเครือตามกรอบเพื่อขอรับรองมาตรฐานอาคารสีเขียวสากล อาทิ มาตรฐาน EDGE LEED หรือ WELL เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและคํานึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด

“การลงนามสัญญาในครั้งนี้เป็นการตอกย้ำวิสัยทัศน์ร่วมกันของ AWC และ SCB ในการดำเนินธุรกิจ โดย AWC จะยังคงดำเนินการตามกลยุทธ์ความยั่งยืนอย่างต่อเนื่องผ่านโครงการริเริ่มต่างๆ ของ AWC เพื่อร่วมสร้างคุณค่าในระยะยาวให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งต่ออุตสาหกรรม ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ภายใต้พันธกิจ “สร้างสรรค์อนาคตที่ดีกว่า” พร้อมเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวยั่งยืนระดับโลก” นางวัลลภา กล่าวเสริม

AWC ดำเนินงานภายใต้กรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อเนื่อง และได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในมาตรฐานสากลต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ การได้รับการประเมินจาก MSCI ESG Rating ในระดับ "AA" ได้รับการคัดเลือกเข้าสู่รายชื่อหุ้นยั่งยืน Thailand Sustainability Investment (THSI) ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ติดอันดับรายงานความยั่งยืน S&P CSA Yearbook 2023 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ซึ่งได้รับคัดเลือกเป็น “Top 1% S&P

Global ESG Score 2022” ได้รับรางวัล “Industry Mover” ในฐานะบริษัทที่มีความยั่งยืนของกลุ่มอุตสาหกรรมโรงแรม รีสอร์ท และเรือสำราญ ได้รับการจัดอันดับรายงานการกำกับดูแลกิจการ ในระดับ “ดีเลิศ” (Excellence CG Scoring) ได้รับการรับรองให้เป็นแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (CAC) และได้รับการจัดอันดับในฐานะองค์กรที่มีการกำกับกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียนในอาเซียนของปี 2564 (ASEAN CG Scorecard)

นโยบายการเงินโลกมีความแตกต่างกันมากขึ้น ขณะที่ความไม่แน่นอนทางการเมืองยังมีอยู่ ส่งผลให้เงินบาทจะยังผันผวนสูงในระยะต่อไป SCB มองเงินบาทในช่วง 3 เดือนข้างหน้าอ่อนค่าในกรอบ 34.35-35.35 แนะลูกค้าทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงเงินบาทผันผวน

บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด (SCB Julius Baer) เดินหน้าสานต่อกลยุทธ์ “The New Wave of Wealth” เร่งเครื่องเจาะตลาดกลุ่มลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งระดับสูงของเมืองไทยด้วยบริการแบบครบวงจร ล่าสุด เปิดหลักสูตรสุดเอ็กซ์คลูซีฟ “The 45 Academia” ภายใต้แนวคิด “Leader of Tomorrow” มุ่งปั้นผู้นำแห่งอนาคตที่มีพลังและสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกให้แก่สังคมในทุกมิติ ผ่านการปูพื้นฐานด้านการลงทุนและเตรียมความพร้อมให้กับกลุ่มทายาทธุรกิจรุ่นใหม่ (Next Generation) ให้เข้าใจถึงการบริหารความมั่งคั่งอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยโปรแกรมพัฒนาศักยภาพตนเองอย่างเข้มข้น เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถส่งต่อความมั่งคั่งจากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างยั่งยืน โดยได้รับเกียรติจากซีอีโอและนักธุรกิจแถวหน้าของเมืองไทยและต่างประเทศนั่งแท่นที่ปรึกษาหลักสูตรอย่างใกล้ชิด พร้อมบิสซิเนสทริปบินลัดฟ้าสู่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สัมผัสประสบการณ์เรียนรู้จริงกับธุรกิจบริหารความมั่งคั่งระดับสูงของ “จูเลียส แบร์” (Julius Baer) และโอกาสเข้าร่วมเวิร์คชอปกับ IMD (International Institute for Management Development) สถาบันพัฒนาการจัดการด้านธุรกิจระดับโลก โดยกิจกรรมครั้งนี้นับเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่น “Your Legacy. Our Promise.” ของ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ อย่างแท้จริง ผ่านการรักษาคุณค่าและช่วยให้ลูกค้าคนสำคัญสามารถวางแผนส่งต่อความมั่งคั่งจากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างสมบูรณ์แบบ

นางสาวลลิตภัทร ธรณวิกรัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด กล่าวว่า “ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ เล็งเห็นว่าการส่งต่อความมั่งคั่งนั้นสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้มีความมั่งคั่งระดับสูงในประเทศไทย โดยเรามีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะพัฒนาหลักสูตร “The 45 Academia” สำหรับกลุ่มทายาทธุรกิจรุ่นใหม่ (Next Generation) ภายใต้แนวคิด “Leader of Tomorrow” เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมสร้างผู้นำแห่งอนาคตที่มีพลังและสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกให้แก่สังคมในทุกมิติ ผ่านการปูพื้นฐานด้านการลงทุนและเตรียมความพร้อมให้กับกลุ่มทายาทธุรกิจรุ่นใหม่ (Next Generation) ให้เข้าใจถึงการบริหารความมั่งคั่งอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยโปรแกรมพัฒนาศักยภาพตนเองอย่างเข้มข้นจากข้อมูลเชิงลึกโดยตรง (Firsthand Insight) ทั้งในเรื่องของเทรนด์ในอนาคต เพื่อเห็นโอกาสใหม่ๆ และความท้าทาย ตลอดจนมุมมองของผู้นำที่หลากหลาย ผ่านการแชร์ประสบการณ์อันทรงคุณค่าจากซีอีโอชั้นนำในหลากหลายอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาทักษะการคิดในอนาคต

(Future Thinking Skills) ที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกยุคปัจจุบัน นอกจากนี้เรายังเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสืบทอดธุรกิจครอบครัว (Family Succession) และการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มทายาทธุรกิจรุ่นใหม่ (Next Generation Development) ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จึงได้ร่วมกับ IMD (International Institute for Management Development) สถาบันพัฒนาการจัดการด้านธุรกิจระดับโลก ที่มีประสบการณ์คร่ำหวอดด้านการทำงานร่วมกับสถาบันชั้นนำระดับโลก ธนาคารไทยพาณิชย์และธนาคารจูเลียส แบร์ พัฒนาหลักสูตรที่ตั้งใจออกแบบให้เหมาะสมกับผู้เข้าร่วมโปรแกรมของเราได้มีโอกาสเรียนรู้จริงกับเวิร์คชอป ณ แคมปัสของ IMD ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยความร่วมมือครั้งนี้ สะท้อนความมุ่งมั่นขององค์กร “Your Legacy. Our Promise.” ที่ลูกค้าสามารถเชื่อมั่นและไว้วางใจได้อย่างแท้จริง”

 

ด้าน นายชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะ คณบดีหลักสูตร The 45 Academia เปิดเผยว่า “การเป็นผู้นำในยุคนี้ถือเป็นช่วงเวลาที่ท้าท้ายเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม พฤติกรรมของผู้บริโภค หรือแม้แต่ climate change ทำให้ผู้นำต้องปรับตัว ตื่นตัวที่จะพัฒนาเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ เปรียบเสมือนน้ำที่ไม่เต็มแก้ว เพื่อนำพาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน และส่งต่อความยั่งยืนนี้กลับคืนสู่สังคม และโลกต่อไป โดยจุดประสงค์หลักของการพัฒนาหลักสูตร “The 45 Academia” คือ การร่วมกันสร้างผู้นำแห่งอนาคตรุ่นใหม่ “Leader of Tomorrow” ที่ไม่เพียงแต่สร้างความมั่งคั่งเฉพาะบุคคล แต่เป็นการต่อยอดศักยภาพของกลุ่มทายาทธุรกิจคนรุ่นใหม่ (Next Generation) ผ่านการรวมพลังเป็นหนึ่งเดียวเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่สามารถสร้างผลกระทบในเชิงบวกให้แก่สังคมและคนหมู่มากอย่างแท้จริง โดยเราได้รับเกียรติจากซีอีโอและนักธุรกิจแถวหน้าของเมืองไทยและต่างประเทศ ร่วมถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ครอบคลุมทุกด้านของ Leadership Skills อาทิ ความรู้ในการบริหารธุรกิจและเวลธ์แมเนจเม้นท์ กลยุทธ์และเทรนด์การลงทุน การลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ รวมถึงการพัฒนา Mindset ของตนเองอย่างเข้มข้น เพื่อช่วยให้กลุ่มทายาทคนรุ่นใหม่สามารถนำความรู้ ความเข้าใจไปใช้ต่อยอดในการขยายธุรกิจของตนเองและธุรกิจของครอบครัวให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และหลักธรรมาภิบาล (ESG) เป็นสิ่งสำคัญ”

 

หลักสูตร “The 45 Academia” นำทีมโดย นายชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะ คณบดีหลักสูตร The 45 Academia พร้อมด้วย ผู้อำนวยการหลักสูตร มร.เอเดรียน เมซนาวเออร์ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารฝ่ายการบริหารความมั่งคั่ง บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด และนางสาวไปรวรรณ ทังสุนันทน์ ผู้อำนวยการหลักสูตร ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ อะคาเดมี และทีมที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) ดร. การดี เลียวไพโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านอนาคตศาสตร์และสินทรัพย์ดิจิตัล กลุ่มบริษัทดีทีจีโอ (FutureTales Lab, DTGO Group) นายรวิศ หาญอุตสาหะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด นายธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานกรรมการ บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และนางสาวยุพาพิน วังวิวัฒน์ กรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิระดับประเทศอีกมากมายที่ร่วมแชร์ประสบการณ์ และแนวคิดในการสานต่อความมั่งคั่ง เพื่อเตรียมความพร้อมกลุ่มทายาทคนรุ่นใหม่สู่ “Leader of Tomorrow”

เอสซีบี เท็นเอกซ์ (SCB 10X) บริษัทภายใต้กลุ่มเอสซีบี เอกซ์ (SCBX Group) จับมือ สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) ร่วมกันศึกษาและพัฒนา WangChanGLM (วังช้างแอลเอ็ม) โมเดลภาษาที่เชี่ยวชาญด้านภาษาไทยและสามารถรองรับภาษาอื่นๆ ได้ในรูปแบบ Generative AI และ Large Language Model ภายใต้ใบอนุญาตเชิงพาณิชย์ ด้วยจุดเด่นในการสรุปเนื้อหา คิดไอเดีย และเขียนบทความภาษาไทย ช่วยเพิ่มโอกาสให้คนไทยสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AI ได้อย่างเท่าเทียมและมีประสิทธิภาพ WangChanGLM เปิดให้ทดลองใช้และเสนอแนะความคิดเห็นเพื่อพัฒนาประสบการณ์ใช้งานโมเดลแล้ววันนี้ที่ https://www.wangchanglm.in.th โดยได้รับเกียรติจาก ดร. ไพรินทร์ ชูโชติถาวร (กลาง) นายกสภาสถาบันวิทยสิริเมธี พร้อมด้วย รศ.ดร.สรณะ นุชอนงค์ (ขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วิสัย เอไอ จำกัด และคณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) และนายกสิมะ ธารพิพิธชัย (ซ้าย) Entrepreneur in Residence บริษัท เอสซีบี เท็นเอกซ์ จำกัด (SCB 10X) ร่วมงานเปิดตัวเมื่อเร็วๆ นี

รศ.ดร.สรณะ นุชอนงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วิสัย เอไอ จำกัด และ และคณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) กล่าวว่า “สถาบันวิทยสิริเมธี หรือ VISTEC เป็นมหาวิทยาลัยวิจัย (Research University) มุ่งเน้นงานวิจัยระดับแนวหน้าด้านวิทยาศาสตร์

เทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับชั้นนำของโลก เปรียบเสมือนเมืองแห่งเทคโนโลยีและนวัตกรรม เราให้ความสำคัญในการผลิตงานวิจัยด้านเทคโนโลยีระบบปัญญาประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศไทยสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์คุณภาพสูง เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาธุรกิจได้ เราจึงได้สร้างและพัฒนา WangChanGLM (วังช้างแอลเอ็ม) AI ด้านโมเดลภาษาที่เชี่ยวชาญด้านภาษาไทยและสามารถรองรับภาษาอื่นๆ ได้ในรูปแบบ Generative AI และ Large Language Model ภายใต้ใบอนุญาตเชิงพาณิชย์ขึ้นมา โดยเรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ SCB 10X เข้ามาช่วยในการศึกษาและพัฒนา Demo Interface WangChanGLM ให้สามารถเข้าถึงภาคธุรกิจได้ง่ายขึ้น และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์โดยคนไทยอีกด้วย”

ด้าน นายกสิมะ ธารพิพิธชัย Entrepreneur in Residence บริษัท เอสซีบี เท็นเอกซ์ จำกัด (SCB 10X) กล่าวว่า “SCB 10X เล็งเห็นถึงศักยภาพมหาศาลของเทคโนโลยี AI ในการรับมือกับความท้าทายทางการเงินทั่วโลก นอกเหนือจากภาคธุรกิจการเงินและธนาคาร เรายังให้ความสำคัญกับภาษา วัฒนธรรม และมรดกของไทย เป็นลำดับแรกๆ การร่วมมือกับ สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) ในการเปิดตัว Public Demo ของ WangChanGLM (วังช้างแอลเอ็ม) โดย SCB 10X ได้เข้าส่วนร่วมในการสร้างและพัฒนา Web Application ที่ง่ายต่อการใช้งานและมีเทคโนโลยี AI ที่มีประสิทธิภาพสูง ด้วยจุดเด่นในการสรุปเนื้อหา คิดไอเดีย และเขียนบทความภาษาไทยเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นการปิดช่องว่างทางภาษาที่ส่วนใหญ่การวิจัย AI จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ช่วยเพิ่มโอกาสให้คนไทยสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AI ได้อย่างเท่าเทียมและมีประสิทธิภาพ โดยความร่วมมือครั้งนี้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ SCB 10X ที่มุ่งเน้นสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดด ผ่านการลงทุน และร่วมสร้างสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพสูง ในกลุ่มเทคโนโลยีดิจิทัลแห่งโลกอนาคต ที่จะนำมาซึ่งการพัฒนาเทคโนโลยีการเงินและการธนาคาร ในมีประสิทธิภาพที่ดีต่อไป”

นอกจากนี้ SCB 10X ยังได้ลงทุนรอบ Pre-Series A ใน วิสัย (VISAI) ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ครบวงจรสำหรับภาคธุรกิจ โดยในรอบนี้ได้ลงทุนร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) เพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศไทยสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์คุณภาพสูง และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์โดยคนไทย ผ่าน 3 บริการหลัก คือ AI Cloud Platform บริการโมเดลปัญญาประดิษฐ์คุณภาพสูงบนระบบคลาวด์ AI Solutions บริการให้คำปรึกษาและออกแบบปัญญาประดิษฐ์ไปใช้ในธุรกิจ และ AI Training บริการจัดอบรมความรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์และวิทยาศาสตร์ข้อมูลให้ธุรกิจและองค์กร

WangChanGLM (วังช้างแอลเอ็ม) โมเดลภาษาที่เชี่ยวชาญด้านภาษาไทยและสามารถรองรับภาษาอื่นๆ ได้ในรูปแบบ Generative AI และ Large Language Model ภายใต้ใบอนุญาตเชิงพาณิชย์ ใช้โมเดล XGLM ขนาด 7.5 พันล้านพารามิเตอร์จาก Meta โดยเปิดชุดข้อมูลและโมเดลแบบสาธารณะ (open source) ที่สามารถเข้าถึงได้ทั้งหมดบน GitHub และ Google Colab เพื่อให้นักพัฒนาสามารถนำไปใช้ต่อยอดและเทรนโมเดลได้ด้วยตนเอง พร้อมเปิดให้ผู้ที่สนใจทดลองใช้งานและเสนอแนะความคิดเห็นเพื่อพัฒนาโมเดลแล้ววันนี้ที่ https://www.wangchanglm.in.th

SCB WEALTH เดินหน้ารุกด้าน Financial Privilege มุ่งเน้นการมอบเอกสิทธิ์ทางการเงินและการลงทุน เพื่อนำไปต่อยอดความมั่งคั่งและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง ผ่านกิจกรรมสัมมนา

ในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา และอาจารย์ด้านกฎหมายและเศรษฐกิจระหว่างประเทศคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย นางสาวเกษรี อายุตตะกะ CFP® ผู้อำนวยการกลยุทธ์การลงทุน SCB Chief Investment Office ธนาคารไทยพาณิชย์ ภายใต้หัวข้อ “ China Reopening: Challenges and Prospects ” ณ SCB Investment Center ชั้น 4 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี

โดยดร.อาร์ม กล่าวในงานสัมมนาว่า คนจีนยังคงเชื่อมั่นในศักยภาพเศรษฐกิจระยะยาวของประเทศตนเอง แม้ในระยะสั้น จะเป็นแบบเศรษฐกิจ Square Root Shape กล่าวคือ ดีดตัวขึ้นหลังเปิดเมืองระยะหนึ่งแล้วทรงตัว โดยในไตรมาสแรก GDP Growth อยู่ที่ 4.5% จากคาดการณ์ไว้ที่ 4% การค้าปลีกเติบโต 10% จากการฟื้นตัวการบริโภคภายในประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังไม่มีการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังค้างอยู่ และ ผล

ประกอบการบริษัทจีนยังไม่ดีอย่างที่คาดหวัง ทำให้ประชาชนไม่แน่ใจกับสถานการณ์เศรษฐกิจ ยังระมัดระวังการใช้จ่าย สิ่งที่นักลงทุนในตลาดหุ้นคาดหวัง คือ การกระตุ้นเศรษฐกิจ และอัดฉีดเม็ดเงิน

ส่วนในระยะกลางเศรษฐกิจจีนจะโตแบบขั้นบันได มีทั้งช่วงที่เศรษฐกิจนิ่งๆ และเติบโตสลับกัน ซึ่งมี 3 ปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้อง คือ 1)รัฐบาลจำเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยจีนกำลังเจอปัญหาเงินฝืด สวนทางกับชาติอื่นที่มีปัญหาเงินเฟ้อ ประชาชนคาดหวังว่าจะมีการปรับลดดอกเบี้ย อัดฉีดเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ 2)ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจเริ่มกลับมา หลังรัฐบาลจีน ให้ความเชื่อมั่นในการสนับสนุนภาคธุรกิจ โดยย้ำว่าภาคเอกชนมีความสำคัญกับเศรษฐกิจจีน และ3)ยังมีความท้าทายจากปัญหาอสังหาริมทรัพย์ และปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ แม้ภาคอสังหาริมทรัพย์จะเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น แต่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ส่วนปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้ต่างชาติยังลังเลในการเข้ามาลงทุน เพราะไม่มั่นใจว่าความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐฯ จะลุกลามมากกว่านี้หรือไม่

สำหรับเศรษฐกิจจีนในระยะยาว มีอัตราการเติบโตที่ดีกว่าประเทศอื่นๆในโลก ซึ่งสหรัฐฯ เจอปัญหาเงินเฟ้อ ดอกเบี้ยในอัตราที่สูง ปัญหาภาคธนาคารขาดเสถียรภาพ และปัญหาอสังหาริมทรัพย์ ด้านยุโรป ได้รับผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่วนจีน ได้รับผลกระทบจากนโยบาย zero covid การปราบปรามภาคเอกชน ภาคอสังหาริมทรัพย์ และเทคโนโลยี ที่แรงเกินไป รวมทั้ง ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ แต่พบว่า จีนได้เลิกนโยบายโควิดและเริ่มกลับมาเน้นภาคเอกชนอีกครั้ง ทำให้นักลงทุนสนใจ และหาจังหวะเข้าลงทุน

ทั้งนี้ หุ้นที่น่าสนใจ ได้แก่ หุ้นกลุ่มดั้งเดิม ที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค สนับสนุนการฟื้นตัวในช่วงหลังโควิด ส่วนในระยะยาว แนะนำกลุ่ม Soft Tech ที่ราคามีการปรับลดลงไปมาก จากผลกระทบเรื่องการออกกฎระเบียบจัดการ จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ แม้ราคาจะปรับขึ้นมาบ้างแล้ว แต่ถือว่ายังอยู่ในระดับที่ลงทุนได้ นอกจากนี้ กลุ่มพลังงานสะอาด ซึ่งรัฐบาลยังสนับสนุนเต็มที่ อาจหาจังหวะเข้าลงทุน เมื่อราคาปรับลดลง

X

Right Click

No right click