EXIM BANK จัดเต็มแพ็กเกจของขวัญปีใหม่ 2566 เพื่อผู้ส่งออก “สินเชื่อพลิกฟื้นธุรกิจส่งออก” เพื่อบุคคลทำธุรกิจและ SMEs

ZORT สตาร์ตอัปแพลตฟอร์มบริหารจัดการออเดอร์และสต๊อกครบวงจรของไทย จับมือ Investree สตาร์ตอัป ให้บริการ คราวด์ฟันดิงแพลตฟอร์ม เสริมศักยภาพแพลตฟอร์ม ปลดล็อกสภาพคล่องทางการเงิน ติดปีก SMEs ให้ขยายธุรกิจได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น เพิ่มสภาพคล่องได้สูงสุด 5 ล้านบาท ด้วยรูปแบบการระดมทุนรูปแบบใหม่ แบบคราวด์ฟันดิง ด้วยการใช้ฐานข้อมูลการขายของออนไลน์มาประกอบการพิจารณา มั่นใจการให้บริการระดมทุนรูปแบบใหม่ไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ช่วยปลดล็อก SMEs ไทยเติบโตได้ไกลขึ้น หลังพบ 80 % ขาดแหล่งเงินทุนใช้หมุนเวียนทำธุรกิจ

 

นายธนัทพันธุ์ ธนเศรษฐ์สกุล ประธานเจ้าหน้าที่สายงานพัฒนาธุรกิจ บริษัท ซอร์ทเอาท์ จำกัด เปิดเผยว่า ล่าสุด ได้ลงนามความร่วมมือกับ บริษัท อินเวสทรี (ไทยแลนด์) จำกัด หรือ Investree บริษัทสตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยีการเงินที่มีฐานการทำธุรกิจอยู่ในภูมิภาคอาเซียน ในรูปแบบคราวด์ฟันดิง (Crowdfunding) เพื่อผสานทั้งสองแพลตฟอร์มทำงานร่วมกันเพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs) ที่ใช้บริการแพลตฟอร์ม ZORT เข้าถึงแหล่งเงินทุนระดมทุนรูปแบบใหม่ แบบไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ SME ที่ใช้บริการ ZORT Platform ที่ปัจจุบันมีอยู่ 4,500 ร้านค้า มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส สามารถระดมทุนขั้นต่ำจากบริการนี้เริ่มต้นที่ 100,000 บาทต่อราย สูงสุดที่ 5 ล้านบาท นับเป็นครั้งแรกที่ SMEs จะสามารถใช้ข้อมูล ธุรกรรมทางการเงินสถิติด้านการซื้อขายและบัญชีบน Marketplace ของ ZORT มาใช้เป็นประโยชน์ในการขอเงินทุน โดยความร่วมมือครั้งนี้เป็นครั้งแรกของไทย ที่ถือกำเนิดจุดเริ่มต้นแห่งการสร้าง Ecosystem แพลตฟอร์มบริหารจัดการออเดอร์และสต๊อกครบวงจรให้มีศักยภาพและสมบูรณ์ เพื่อกลายเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจของผู้ใช้บริการสามารถเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพในตลาด

จากการเก็บรวบรวมข้อมูล ( Data) ของผู้ใช้แพลตฟอร์มพบ อุปสรรค (Pain Point) ของผู้ประกอบการ SMEs ขาดแหล่งเงินทุนและสภาพคล่องเนื่องจากธุรกิจที่เติบโตเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ตามแผนส่งผลให้สภาพคล่องเงินทุนไม่เพียงพอต่อการขยายธุรกิจ รวมทั้งผู้ประกอบการไม่มีหลักทรัพย์ในการค้ำประกัน ซึ่งในระบบเงินกู้โดยเฉพาะธนาคารและสถาบันการเงินจำเป็นต้องใช้ประกันสินเชื่อ ซึ่งส่วนใหญ่เพิ่มเริ่มดําเนินธุรกิจไม่มีสภาพคล่องทางการเงินมากพอ ประกอบกับระบบธนาคารไม่รองรับการใช้ข้อมูลประวัติ สถิติด้านการเงินและบัญชี จากการทำธุรกิจบน Marketplace มาประกอบการพิจารณา และยังพบว่ารูปแบบเงินเชื่อที่ไม่ตอบโจทย์กับความต้องการ เช่นการอนุมัติเงินกู้ระยะสั้นที่มีดอกเบี้ยสูงหรือ การอนุมัติเงินกู้ในระยะยาว ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม สสว. ที่ระบุว่าผู้ประกอบการ SMEs มากกว่าร้อยละ 80 เผชิญกับปัญหาด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และมีอุปสรรคในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากหลายปัจจัย เช่น ขาดหลักทรัพย์ค้ำประกันและประวัติธุรกรรมทางการเงิน” นายธนัทพันธุ์ กล่าว

 

นางสาวณัทสุดา พุกกะณะสุต ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินเวสทรี (ไทยแลนด์) จำกัด( Investree) เปิดเผยว่า Investree จะเข้ามาเสริม Ecosystem ของ ZORT ให้แข็งแรงด้วยบริการด้านการเงิน เพิ่มโอกาสให้ลูกค้า ZORT มีช่องทางการระดมทุนแบบใหม่ที่แตกต่างจากเดิม และสามารถนำข้อมูลการซื้อขายของตนเองผ่าน ZORT Platform มาประกอบคำขอระดมทุน โดยผู้ประกอบการที่สนใจสามารถสมัครขอระดมทุนสะดวกและรวดเร็ว ผ่านช่องทางเว็บไซต์ Investree คราวด์ฟันดิง แพลตฟอร์ม (Crowdfunding platform) ที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องการระดมทุน สามารถผ่านช่องทางออนไลน์ อย่างสะดวก รวดเร็วใช้งานง่ายเพียงไม่กี่ขั้นตอน และทราบผลอนุมัติ เร็วสุดภายใน 3 วันหลังจากส่งเอกสารครบ โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นพันธกิจของทั้งสององค์กรที่ต้องการให้ส่งเสริม SMEs มีศักยภาพสามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงยั่งยืนเพราะเป็นฟันเฟืองสำคัญของระบบเศรษฐกิจไทยผลผลิตจาก SMEs คิดเป็น 35% ของ GDP รวมทั้งประเทศมีการจ้างงานถึง 12.6 ล้านคน คิดเป็น 72% ของการจ้างงานทั้งหมดจากบริษัท SMEs กว่า 3 ล้านบริษัท ซึ่งคิดเป็น 99 % ของจำนวนบริษัททั้งหมดในประเทศ

 

“Investree ใช้คะแนนเครดิต ที่เป็น Data-Driven Model มาเป็นตัวกำหนดวงเงินระดมทุนให้สอดคล้องกับรายได้ และสถานะทางธุรกิจของผู้ประกอบการ ดังนั้น จำนวนเงินที่ระดมทุนของบริษัทแต่ละรายจะแตกต่างกัน สำหรับผู้ที่ต้องการระดมทุนจะต้องเป็นผู้ประกอบการ SMEs ที่จดทะเบียนในรูปแบบ บริษัทจำกัด ใน กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร ที่ใช้ ZORT PLATFORM มาแล้วไม่ต่ำกว่า 24 เดือน และมี ยอดขายจาก Marketplace Integration เฉลี่ย 100,000 บาทต่อเดือน อัตราดอกเบี้ย 6%-26% ผ่อนชำระสูงสุด 12 เดือน ซึ่งตอบโจทย์และแก้ Pain Point ของ SMEs ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ สะดวกรวดเร็ว สร้างสภาพคล่องทางการเงินทันต่อการขยายธุรกิจและการแข่งขันส่งผลให้เติบโตได้อย่างมั่นคง นำไปสู่การระบบเศรษฐกิจประเทศให้มีเสถียรภาพอย่างยั่งยืนต่อไป” นางสาวณัทสุดา กล่าว

กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED FUND) กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดงานแถลงข่าวความสำเร็จ “โครงการส่งเสริมการขยายตลาดและธุรกิจของผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Market Scaling up) ปี 2565” พร้อม Kick Off เปิดรับสมัครผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สนใจขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศในปี 2566 เป็นการสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการให้สามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดและต่อเนื่อง พร้อมทั้งเป็นการผลักดันผลงานนวัตกรรมที่พัฒนาแล้วเสร็จภายใต้การสนับสนุนของกองทุนฯ และหน่วยงานสนับสนุนทุนภาครัฐอื่นๆ ให้สามารถขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ได้

นายวิเชฐ ตันติวานิช ประธานคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองและคัดเลือกผู้ประกอบการฯ (TED Market Scaling Up) กล่าวว่า TED Fund มีนโยบายภารกิจในการสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการทั้งในด้านการดำเนินธุรกิจ การพัฒนาศักยภาพ และการขยายตลาดอย่างต่อเนื่อง และได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรมสามารถขยายตลาดได้ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นการผลักดันผลงานนวัตกรรมที่พัฒนาแล้วเสร็จภายใต้การสนับสนุนของกองทุนฯ และหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ให้สามารถขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ได้ TED Fund จึงได้ริเริ่มโครงการ TED Market Scaling Up ขึ้นในปีที่ผ่านมา โดยความสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้น ในปี 2566 นี้ เชิญชวนให้ผู้ประกอบการที่สนใจ สมัครเข้าร่วมโครงการ เพื่อร่วมสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมให้แก่ประเทศ โดยหวังเป็นอย่างยิ่ง โครงการที่มีประโยชน์ต่อผู้ประกอบการเช่นนี้ จะสะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของภาครัฐในการที่จะช่วยสนับสนุนส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการให้มีศักยภาพ พร้อมรับกับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมอย่างแท้จริง

ดร.ชาญวิทย์ ตรีเดช ผู้จัดการกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) กล่าวว่า โครงการ TED Market Scaling Up เป็นอีกกลไกหนึ่งของ TED Fund ที่มุ่งสนับสนุนผู้ประกอบการให้สามารถขับเคลื่อนและนำผลงานนวัตกรรมไปสู่การขยายผล เพื่อสร้างผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมให้แก่ประเทศได้ และเพื่อให้การสร้างธุรกิจของผู้ประกอบการบรรลุตามวัตถุประสงค์และสามารถเติบโตได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน โดยขอบเขตการดำเนินงานของโครงการดังกล่าว ประกอบด้วยการจัดสรรเงินสนับสนุนผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปพร้อมๆ กัน และผลจากการดำเนินงานโครงการ TED Market Scaling Up ในปี 2565 พบว่า มีผู้ประกอบการที่สนใจยื่นสมัครขอรับการสนับสนุนจำนวนถึง 74 ราย และโครงการที่เสนอเข้ามานั้นล้วนแล้วแต่มีความน่าสนใจและมีศักยภาพค่อนข้างสูง ส่งผลให้กองทุนฯ พิจารณาอนุมัติเงินสนับสนุนทุนจำนวนถึง 23 โครงการ รวมเป็นวงเงินจำนวนมากกว่า 35 ล้านบาท ซึ่งจากการสนับสนุนดังกล่าว คาดว่าจะสามารถสร้างรายได้รวมถึง 566,590,345 บาท หรือประมาณ 15.8 เท่าของวงเงินสนับสนุน

และในปีงบประมาณ 2566 ทางกองทุนฯ ได้เตรียมเปิดรับสมัครผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการขยายตลาดและธุรกิจของผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Market Scaling up) ให้การสนับสนุนทุนไม่เกินมูลค่า 2 ล้านบาท/โครงการ โดยตั้งเป้าจะสนับสนุนจำนวน 30 ราย ในวงเงินงบประมาณ 60 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจากการสนับสนุนในปีนี้จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศไทยได้สูงถึง 948 ล้านบาท ซึ่งการเปิดรับสมัครรอบที่ 1 จะอยู่ในระหว่างวันที่ 15 - 30 เดือนพฤศจิกายน 2565 และรอบที่ 2 จะเปิดรับสมัครในเดือนเมษายน 2566 ดร.ชาญวิทย์ฯ กล่าว

สำหรับโครงการส่งเสริมการขยายตลาดและธุรกิจของผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Market Scaling up) ที่จะเปิดรับสมัครนั้น นอกจากโครงการจะให้การสนับสนุนในด้านเงินทุนอุดหนุนแล้ว โครงการยังได้สนับสนุนการบ่มเพาะองค์ความรู้ทางด้านธุรกิจและการตลาด โดยเพิ่มพูนความรู้และเสริมกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจแบบเชิงลึก ควบคู่ไปกับการให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด การเชื่อมโยงและต่อยอดเครือข่ายความร่วมมือทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อให้สามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจจริงอีกด้วย โดยผู้ที่สนใจสามารถติดตามข่าวสารการเปิดรับสมัครได้ผ่านเว็บไซต์ www.tedfund.mhesi.go.th หรือแอดไลน์กองทุนฯ ได้ที่ : @tedfund หรือโทร 02 333 3700 ต่อ 4072-4075

การช้อปปิ้งผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซได้กลายเป็นส่่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปแล้วก็ว่าได้  เทรนด์อีคอมเมิร์ซไทยก็ยังคงร้อนแรงต่อเนื่อง พลังการช้อปในโลกออนไลน์สั่นสะเทือนไปถึงออฟไลน์ โดยเฉพาะเทศกาล Mega Sales จนสร้างเม็ดเงินให้กับธุรกิจดิจิทัลอย่างมหาศาล นับเป็นอีกหนึ่งโอกาสและช่องทางสำหรับแบรนด์, SMEs และร้านค้าออนไลน์ ในการเพิ่มยอดขายหรือสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภค

เมื่อ Mega Sales ไม่ใช่เทรนด์ แต่เป็นวิถีชีวิตและโอกาสเติบโตของธุรกิจในปัจจุบัน

ไม่เพียงเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการช้อปปิ้งออนไลน์ส่งผลต่อ Mega Sales อย่างเห็นได้ชัด เมื่อนักช้อปไม่ได้จ่ายเงินเพื่อซื้อของที่ต้องการเท่านั้น แต่การช้อปปิ้งที่มาพร้อมคอนเทนต์บันเทิงได้กลายเป็นอีกปัจจัยกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของผู้คน นับตั้งแต่วินาทีที่นักช้อปออนไลน์สัมผัสกับประสบการณ์ความสนุก ตื่นเต้น ของเทศกาล Mega Sales พวกเขาจะค้นหาสินค้าและแบรนด์เพื่อให้ได้ดีลที่ดีที่สุดและพร้อมใจกันกดสินค้าเข้าตะกร้า โดยจากรายงานพบว่า 94% ของผู้ใช้ TikTok ซื้อของในช่วง Mega Sales ในปี 2021

การเชื่อมโยงกับผู้บริโภคที่ความบันทิงต้องมาก่อน หรือ Entertainment-First

คอนเทนต์นับเป็นอาวุธลับสำหรับแบรนด์และสินค้า Shoppertainment หรือการตัดสินใจซื้อ/การซื้อขายที่ขับเคลื่อนด้วยเนื้อหา ที่ผสานการสร้างความบันเทิงและให้ความรู้แก่ผู้บริโภคเป็นหลัก จึงมีแนวโน้มจะเติบโตอย่างรวดเร็วและมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มสูงขึ้นในตลาดอีคอมเมิร์ซโดยรวมอย่างมีนัยยะสำคัญ การสร้างคอนเทนต์ที่มีความสนุกสนานและคงความบันเทิงจะทำให้แคมเปญในช่วง Mega Sales ของแบรนด์มีความโดดเด่นมากขึ้น โดย 85% ของผู้ใช้ TikTok เพลิดเพลินกับคอนเทนต์ความบันเทิง และ 81% ของผู้ใช้ TikTok เปิดเผยว่าคอนเทนต์วีดีโอบนแพลตฟอร์มทำให้เกิดการใช้จ่ายครั้งล่าสุด Mega Sales จะเปิดโอกาสต่อยอดให้ธุรกิจทุกขนาดสามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด หากแบรนด์, SMEs และร้านค้าออนไลน์ เข้าใจวิธีเชื่อมต่อกับผู้บริโภคและมอบประสบการณ์การจับจ่ายใช้สอยของพวกเขาในช่วงเวลานี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ TikTok รวบรวมแนวทางสำหรับปลอดล็อคความสำเร็จในช่วง ‘Mega Sales’ เพื่อให้นักการตลาด แบรนด์รวมถึง SMEs และร้านค้าออนไลน์ สามารถนำไปวางแผนกลยุทธ์ในการเข้าถึงลูกค้า เพิ่มยอดขายให้ได้มากกว่าเดิมและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับแคมเปญของตนเอง และช่วยคว้าโอกาสในการเพิ่มรายได้และสร้างการรับรู้ให้เติบโตได้อย่างโดดเด่น โดยแบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่

Pre-Mega Sale

· การตั้งกลุ่มเป้าหมายแสำหรับธุรกิจให้ชัดเจน เช่น เพศ อายุ พื้นที่ ความชอบ ฯลฯ

· เตรียมคอนเทนต์วีดีโอ พร้อมแคปชั่นโดนๆ ใส่ Call to Action และชื่อแคมเปญให้พร้อม ให้ผู้บริโภคอยาก”คลิก”มากยิ่งขึ้น อย่าลืมที่จะใส่เพจหรือลิงก์สำหรับการซื้อเพื่อง่ายต่อการสั่งซื้อสินค้าของคุณ

· สร้างแคมเปญ Always-on เพื่อเป็นที่จดจำของผู้บริโภคและเพิ่มการมองเห็น แบรนด์และ SMEs สามารถใช้โอกาสนี้ในการสร้างแผนการตลาดของแบรนด์ ทดสอบและเรียนรู้ตลาด ผู้บริโภค ให้ดียิ่งขึ้น เพื่อปรับแผนการตลาดของแบรนด์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

· นำคอนเทนต์แคมเปญของตนเข้าไปแทรกอยู่ในหน้า For You ของผู้ใช้ด้วยฟีเจอร์ In-Feed Ads เพื่อเพิ่มการรับรู้ของผู้บริโภค โดยผลสำรวจรายงานว่า 86% ของยอดชมวีดีโอมาจาก #Foryoupage เช่น McDonald Thailand ที่นำคอนเทนต์วีดีโอจากลูกค้าและที่ใช้ฟีเจอร์ Spark-Ads ในการสร้างการรับรู้แต่สามารถเพิ่มยอดขายได้ 130% และลูกค้าเข้ามาหน้าร้านมากขึ้น 83% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้านั้น

Sale Announcement

· ผู้ใช้ TikTok เฝ้ารอเทศกาล Mega Sales ไม่ต่าางจากคนทั่วไป การเริ่มแคมเปญในแต่ละช่วงจะสร้างความตื่นเต้นจะสามารถทำให้คอนเทนต์เข้าถึงผู้บริโภคจำนวนมาก ผู้บริโภคเหล่านี้จะเป็นจุดสำคัญที่จะช่วยให้เราเรียนรู้และตั้งกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น ผลวิจัยรายงานว่า 73% ของผู้ใช้ TikTok ค้นหาแบรนด์ใหม่ๆในช่วงก่อนเทศกาล Mega Sales และ 89% ของผู้ใช้ TikTok จะกลับมาซื้อใหม่หลังเทศกาลนี้จบลง

· สร้างการมีส่วนร่วมด้วยการครีเอทไอเดียใหม่ๆ ลงไปในคอนเทนต์วีดีโอของแบรนด์ เพราะความสร้างสรรค์และความบันเทิงเป็นกุญแจสำคัญให้แบรนด์โดดเด่นและเป็นที่จดจำ

Teaser Sale

· ในช่วงเทศกาล Mega Sales จะเป็นช่วงที่การแข่งขันสูงมาก ยิ่งการแข่งขันสูงลูกค้าก็มีทางเลือกมากขึ้น เพื่อโดดเด่นในช่วงเทศกาลนี้ การสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคสามารถเพิ่มยอดชมและสร้างการจดจำได้

· ครีเอทคอนเทนต์วีดีโอด้วยการนำเทรนด์ใหม่ๆ มาใช้ เพื่อให้ได้คอนเทนต๋ที่แตกต่าง ไม่ซ้ำใคร โดยสามารถผสมผสานความสนุกสนานและสร้างแรงบันดาลใจเข้าไว้ด้วยกัน

· ทำงานร่วมกับครีเอเตอร์เพื่อทำให้แคมเปญเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น เพราะผู้บริโภคจะรู้สึกถึงการมีส่วนร่วมกว่า เช่น Pomelo ประสบความสำเร็จในการร่วมงานกันครีเอเตอร์จาก TikTok Marketplace พร้อมใช้ฟีเจอร์ Spark-Ads ในแคมเปญ Mega Sales ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น 25% และมียอดวิวบนแพลตฟอร์มสูงกว่า 5.3 ล้านวิว

ดึงดูดความสนใจผู้ซื้อด้วย Shoppertainment สู่การช้อปปิ้งหน้าร้านที่ TikTok Shop

แน่นอนว่า เมื่อกลยุทธ์และแนวทางการเชื่อมต่อกับผู้บริโภคในช่วง Mega Sales มีความพร้อมเต็มที่แล้ว ประสบการณ์การจับจ่ายใช้สอยที่สมบูรณ์แบบนับเป็นปัจจัยหนึ่งที่ แบรนด์ SMEs และร้านค้าออนไลน์ ควรคำนึงถึงและให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกๆ เช่นเดียวกับการนำเสนอผลิตภัณฑ์บน shelf หรือหน้าร้านออนไลน์เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามและควรมีการเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้าเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น แคตตาล็อคผลิตภัณฑ์ การเชื่อมโยงไปยังสินค้าอื่นๆ ในร้าน ตลอดจนวิธีการจ่ายเงินและจัดส่งที่สะดวกไม่ซับซ้อน เพราะนอกจาก การอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าแบบ One-Stop Service การให้สิทธิหรือโปรโมชั่นพิเศษ ย่อมดึงดูดใจและส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อได้ง่ายในทันที ซึ่งที่ TikTok Shop กำลังเป็นที่พูดถึงในแง่มุมของความสำเร็จจากร้านค้าออนไลน์และ SMEs ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งโอกาสสำหรับธุรกิจออนไลน์ทุกขนาดได้เช่นกัน

ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดไหน สามารถทำแคมเปญ Mega Sales บน TikTok ได้อย่างง่ายดายโดยเลือกใช้เครื่องมือและโซลูชั่นให้เหมาะสมกับสินค้าและแคมเปญของแบรนด์ในการสร้างการรับรู้และสร้างเม็ดเงินให้กับธุรกิจ

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี หรือ ttb analytics วิเคราะห์งบการเงินภาคธุรกิจ SMEs  ที่มีความเปราะบาง และกังวลต่อประเด็นต้นทุนทางการเงินที่คาดการณ์ว่าจะปรับขึ้นอีกหลายระลอกภายในปี 2565 นี้ พบ 3 ข้อเสียเปรียบโดยธรรมชาติ คือ “กำไรต่ำ ดอกเบี้ยสูง และความต้องการเงินทุนมาก” ทำให้กลยุทธ์การลดต้นทุนอาจใช้ไม่ได้ผลเท่าที่ควร แนะให้มุ่งเน้นการตลาดเชิงรุกเพิ่มรายได้ พัฒนาคุณภาพ สร้างเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ และเพิ่มพื้นที่กำไรรับต้นทุน ด้วยจุดเด่นด้านความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจและความยืดหยุ่นในกลยุทธ์การตลาดที่สูงกว่าของธุรกิจ SMEs

Page 3 of 5
X

Right Click

No right click