สำนักงาน กขค. ร่วมกับ สสว. จัดพิธีเอ็มโอยูเพื่อส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าของเอสเอ็มอี

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น

EXIM BANK ประสบความสำเร็จในการเสนอขายพันธบัตรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อ SMEs (SME Green Bond) ครั้งแรกภายใต้กรอบการระดมทุนเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance Framework) อายุ 3 ปี มูลค่ารวม 3,500 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้สนับสนุนสินเชื่อโครงการพลังงานสะอาดให้แก่ผู้ประกอบการกลุ่ม SMEs โดยมีธนาคารออมสินเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายพันธบัตร และธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดการการจำหน่ายพันธบัตร และนายทะเบียนพันธบัตร ซึ่งนักลงทุนชั้นนำในประเทศไทยตอบรับเป็นอย่างดีด้วยยอดการจองซื้อสูงกว่าวงเงินที่เสนอขายถึง 2.5 เท่า ทำให้ระดมทุนได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ดี ท่ามกลางตลาดการเงินที่มีความผันผวนและภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น ตอกย้ำบทบาทการเป็นผู้นำด้านการเงินสีเขียว เติมเต็ม Green Financial Ecosystem ให้ครบวงจรมากขึ้น

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า EXIM BANK ออก SME Green Bond เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2566 โดยเสนอขายให้แก่นักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายใหญ่ ในรูปแบบพันธบัตรประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน อายุ 3 ปี ครบกำหนดไถ่ถอน ปี 2569 อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.71% ต่อปี ชำระดอกเบี้ยทุก 6 เดือนตลอดอายุพันธบัตร มูลค่ารวม 3,500 ล้านบาท พันธบัตร SME Green Bond ที่เสนอขายในครั้งนี้ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับ AAA โดยบริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด สะท้อนถึงสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งและมั่นคงของ EXIM BANK ต่อเนื่องจากการเสนอขาย Green Bond ในปี 2565 และในปี 2566 ยังคงได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักลงทุนชั้นนำในประเทศไทยด้วยยอดการจองซื้อสูงกว่าวงเงินที่เสนอขายถึง 2.5 เท่า ทำให้ EXIM BANK สามารถระดมทุนได้เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ และได้อัตราดอกเบี้ยที่ดีในช่วงที่ตลาดการเงินมีความผันผวนและอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น

กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวว่า ที่ผ่านมา EXIM BANK ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Economy) ไปแล้วประมาณ 30% ของพอร์ตสินเชื่อรวมของธนาคาร หรือประมาณ 50,000 ล้านบาท และตั้งเป้าหมายจะขยายสินเชื่อ BCG ของธนาคารเป็น 100,000 ล้านบาทภายในปี 2570 สนับสนุนการนำพลังงานสะอาดมาใช้พัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการอุปโภคบริโภคและการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ การออกพันธบัตรในครั้งนี้จึงตอกย้ำความมุ่งมั่นของ EXIM BANK ในการบริหารจัดการการเงินอย่างมีความรับผิดชอบตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ขยายผลความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนให้ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ นำไปสู่ความร่วมมือระดับชุมชน สังคม และนานาประเทศเพื่อสร้างโลกที่สะอาดและเติบโตอย่างสมดุลในทุกมิติ 

ทั้งนี้ EXIM BANK ได้รับรางวัล Best Green Bond ประเภทสถาบันการเงินจากเวทีระดับโลก The Asset Triple A Awards 2022 จัดโดย The Asset นิตยสารการเงินชั้นนำแห่งเอเชีย และรางวัล State Owned Enterprise ESG Bond of the Year จากสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (The Thai Bond Market Association : ThaiBMA) จากการออกพันธบัตรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) จำนวน 2 รุ่น มูลค่ารวม 5,000 ล้านบาท ในปี 2565

“ด้วยเป้าหมายสู่การเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน EXIM BANK มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจที่สร้างผลตอบแทนให้แก่ทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน สร้างผลลัพธ์ที่เป็นเลิศให้แก่ลูกค้าผู้ประกอบการ ตลอดจนสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งต่ออนาคตที่ดีสู่คนรุ่นหลัง ธนาคารจึงพัฒนารูปแบบการดำเนินธุรกิจและผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เป็นการลงทุนในระยะยาวเพื่อความยั่งยืนของภาคธุรกิจ เสริมสร้างการพัฒนาสังคมและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญและจุดแข็ง ตลอดจนเครือข่ายพันธมิตร ในการบริหารจัดการการเงินและดำเนินธุรกิจที่นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทยและโลกโดยรวม” ดร.รักษ์ กล่าว

สมาคมธนาคารไทย และธนาคารสมาชิก สนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ปรับตัว ผ่าน “มาตรการสินเชื่อเพื่อการปรับตัว” ภายใต้พ.ร.ก.ฟื้นฟูฯ มุ่งเสริมศักยภาพการแข่งขันผู้ประกอบการ รับ 3 เมกะเทรนด์ธุรกิจโลกยุคใหม่“เทคโนโลยีดิจิทัล ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และนวัตกรรมแห่งโลกอนาคต” หนุนธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน

นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า แม้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย แต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยาวนาน เป็นปัจจัยเร่งให้เกิดบริบทโลกใหม่ (New Normal) ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคและทิศทางการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทย ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับตัวในช่วงการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจ เพื่อรับกับทิศทางธุรกิจในอนาคต จึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนออกมาตรการ“สินเชื่อเพื่อการปรับตัว” ต่อยอดจากสินเชื่อฟื้นฟู ภายใต้ พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2564 (พ.ร.ก.ฟื้นฟูฯ) เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ สำหรับการลงทุนปรับปรุง พัฒนาและเสริมศักยภาพธุรกิจให้สอดรับกับ New Normal ใน 3 รูปแบบ คือ 1.กระแสเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital) 2.การดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green) 3.นวัตกรรมแห่งโลกอนาคต (Innovation) ซึ่งเป็นเมกะเทรนด์ธุรกิจของโลก

มาตรการ “สินเชื่อเพื่อการปรับตัว” เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ประกอบการ SMEs เพื่อการลงทุนสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน ในช่วงที่เศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวและทิศทางอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น โดยธปท. ได้ปรับหลักเกณฑ์ขยายวงเงินกู้สูงสุด 150 ล้านบาท ภายใต้เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ย 2 ปีแรก ไม่เกิน 2% ต่อปี และเฉลี่ย 5 ปี ไม่เกิน 5% ต่อปี ขณะที่เงื่อนไขการค้ำประกันยืดหยุ่นขึ้น เพื่อเอื้อต่อการเข้าถึงสินเชื่อและส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของ SMEs ไทย สำหรับ SMEs ที่ไม่มีความประสงค์ในการกู้เพื่อลงทุนใหม่ สามารถขอสนับสนุนสภาพคล่องเพื่อหมุนเวียนทั่วไป ผ่านมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูที่ยังดำเนินการควบคู่กันได้

สมาคมธนาคารไทย และ ธนาคารสมาชิก พร้อมสนับสนุนมาตรการสินเชื่อเพื่อการปรับตัวอย่างเต็มกำลัง ปัจจุบันมีสถาบันการเงินที่ได้จัดทำผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อการปรับตัวแล้วจำนวน 16 แห่ง โดยผู้ประกอบธุรกิจที่ประสงค์ขอสินเชื่อเพื่อการปรับตัวสามารถติดต่อสถาบันการเงินได้โดยตรง สามารถดูรายชื่อสถาบันการเงินและศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมผ่านเว็บไซต์ของ ธปท. ได้ที่ มาตรการสินเชื่อเพื่อการปรับตัว ภายใต้ พ.ร.ก. ฟื้นฟูฯ (bot.or.th)

ทั้งนี้ นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 สมาคมธนาคารไทยได้ประสานความร่วมมือกับธปท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ทั้งมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) เพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการในระยะสั้น โดยสามารถช่วยเหลือ SMEs ได้ถึง 7.7 หมื่นราย วงเงินรวม 1.4 แสนล้านบาท มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู ให้ความช่วยเหลือ 5.9 หมื่นราย คิดเป็นยอดอนุมัติสินเชื่อกว่า 2.1 แสนล้านบาท มาตรการพักทรัพย์พักหนี้ ให้ความช่วยเหลือ 413 ราย คิดเป็นมูลค่าสินทรัพย์ที่รับโอนราว 5.8 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีมาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืน เพื่อช่วยเหลือลูกค้าแก้ไขปัญหาหนี้ได้ตรงจุด ทันการณ์ และยั่งยืน เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ผ่านวิกฤต มีความพร้อมกลับมาเติบโตได้อย่างยั่งยืน

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร (กลาง) กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) พบปะหารือกับนางเจมี่ เบรนแนน (ที่ 3 จากซ้าย) หัวหน้าอเมซอน โกลบอล เซลลิ่ง (Amazon Global Selling) ประจำประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพ SMEs ไทย ผ่านการอบรมให้ความรู้ การให้คำปรึกษาแนะนำ การให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อยกระดับธุรกิจ SMEs ให้สามารถเริ่มต้นค้าขายออนไลน์ระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพบน  Amazon.com แพลตฟอร์มระดับโลก ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็ว ๆ นี้

Page 2 of 5
X

Right Click

No right click