ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ร่วมกับ และเดอะ ฟินแล็บ หน่วยงานบ่มเพาะผู้ประกอบการเพื่อพัฒนานวัตกรรมภายใต้ธนาคารยูโอบี สนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ไทยมากกว่า 250 รายในการปรับธุรกิจสู่ดิจิทัล ภายใต้โครงการ Smart Business Transformation หรือ SBTP ของธนาคารยูโอบี ประจำปี 2565

โดยผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการต่างได้รับประโยชน์หลายประการ อาทิ การพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจ ลดต้นทุนการดำเนินงาน มีการบริหารองค์กรที่ดีขึ้น และปรับปรุงความพร้อมสำหรับการขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืนได้อย่างบูรณาการ โดยผลลัพธ์เหล่านี้สอดคล้องกับผลสำรวจ ASEAN SME Transformation Study 2022 ของธนาคารยูโอบี ซึ่งพบว่าร้อยละ 50 ของ SMEs ในภูมิภาคอาเซียนมีมุมมองในแง่บวกต่อการฟื้นฟูกิจการของพวกเขา โดยร้อยละ 50 ของ SMEs ไทยยังตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนโมเดลทางธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล การขับเคลื่อนสู่แนวทางความยั่งยืน และการมีส่วนร่วมของลูกค้าเนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคปรับเปลี่ยนไป

นางสาวสิรินันท์ จิรดิลก ผู้อำนวยการอาวุโส Digital Engagement and FinTech Innovation ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “นอกจากการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ดิจิทัลแล้ว แนวคิดเรื่องความยั่งยืนก็ส่งผลต่อวิธีคิดในด้านแนวทางการดำเนินงานของ SMEs ด้วยเช่นกัน จากผลสำรวจระบุว่า 2 ใน 3 หรือคิดเป็นร้อยละ 65 ของ SMEs ไทย มองว่าแนวทางความยั่งยืนกำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญที่จะส่งผลต่อธุรกิจของพวกเขา”

นับตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการ SBTP ในปี 2562 เราได้ช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการในประเทศไทยมากกว่า 900 รายให้เกิดการพัฒนาและการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลมากยิ่งขึ้น เราเสริมความพร้อมให้กับ SMEs ด้วยทักษะทางดิจิทัลและเครื่องมือที่เกี่ยวข้องเพื่อที่ให้พวกเขาสามารถแข่งขันในตลาดได้ อีกทั้งพวกเขายังเรียนรู้วิธีการบูรณาการความยั่งยืนให้เข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจของตนเองและได้รู้จักกับระบบการเงินสีเขียวเพื่อความสำเร็จในระยะยาวได้”

ตลอดระยะเวลา 3 เดือนของการเข้าร่วมโครงการ ผู้ประกอบการไทยได้นำโซลูชันดิจิทัลไปปรับใช้ รวมถึงแนวทางการทำธุรกิจและแนวคิดด้านความยั่งยืน ภายใต้คำแนะนำของธนาคารยูโอบี ประเทศไทย และพันธมิตรในโครงการ ที่คอยช่วยพวกเขาให้สามารถเดินหน้ากระบวนการปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจเพื่อรองรับความท้าทายใหม่ได้

สำหรับโซลูชันที่ผู้ประกอบการนำไปใช้ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการข้อมูล สามารถช่วยจัดการความท้าทายต่างๆ ที่ธุรกิจเผชิญอยู่ อาทิ การวิเคราะห์และจัดการข้อมูลภายในที่เก็บบันทึกมา เพื่อทำความเข้าใจกับลูกค้าทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและลูกค้าใหม่ได้ดียิ่งขึ้น การปรับปรุงการตลาดดิจิทัล รวมถึงการพัฒนาขั้นตอนการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ และการจัดการต้นทุนที่ดีขึ้น

ผู้ประกอบการไทย เผยผลลัพธ์เชิงบวกที่ได้รับจากโครงการ Smart Business Transformation โดย SMEs ที่เข้าร่วมโครงการ SBTP ประจำปี 2565 เปิดเผยว่าพวกเขาสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานให้สูงขึ้น และการมีส่วนร่วมจากลูกค้าเพิ่มขึ้นได้ด้วยการปรับปรุงกระบวนการทำงาน เพิ่มยอดขายได้มากขึ้นจากการใช้เครื่องมือการตลาดดิจิทัล ในขณะที่ต้นทุนด้านการตลาดและการปฏิบัติงานนั้นลดลง อีกทั้งพวกเขายังสามารถสร้างความเข้าใจ และความมุ่งมั่นในการเปิดรับแนวทางความยั่งยืนของทั้งองค์กร จากผู้บริหาร เจ้าของธุรกิจ และผู้มีอำนาจในการตัดสินใจได้ด้วย

นายชลวัส เรืองปรีชาเวช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คลินตันอินเตอร์เทรด จำกัด ผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องไฟฟ้าและปั๊มน้ำ กล่าวว่า “โครงการ SBTP ประจำปี 2565 ช่วยผลักดันการเปลี่ยนผ่านธุรกิจของเราสู่ดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว เราเลือกใช้งาน SAP B1 ซึ่งเป็นหนึ่งในซอฟต์แวร์สำคัญในการบริหารจัดการและนำข้อมูลที่ถูกจัดเก็บมาจัดสรรได้อย่างเหมาะสม ทำให้เราสามารถปรับปรุงการดำเนินงานเอกสารต่างๆ ได้เป็นอย่างดี และการเห็นข้อมูลแบบเรียลไทม์นี้ ก็ช่วยให้การรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นได้ทันที นอกจากนี้หนึ่งในพันธมิตรของโครงการ SBTP ก็ยังให้คำแนะนำแก่เราในเรื่องการจัดการช่องหว่างระหว่างเจนเนอเรชันในที่ทำงาน ที่เราเชื่อว่าจะช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและสร้างผลงานให้กับเราได้เป็นอย่างดี”

นายคุณากร ธนสารสมบัติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรงงานไทยแลนด์นิตติ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเสื้อยืดตราห่านคู่ กล่าวว่า “ห่านคู่เข้าร่วมโครงการ SBTP เป็นระยะเวลา 2 ปีแล้ว โดยเห็นผลเชิงบวกตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปีที่สองที่เราเริ่มนำโซลูชันเทคโนโลยีอย่าง SAP B1 เข้ามาใช้ ซึ่งช่วยเราพัฒนาการบริหารจัดการต้นทุนและการจัดเก็บข้อมูลทางธุรกิจ โดยข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมมานี้ ก็ทำให้เราสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลใหม่ได้มากกว่าเดิมในสายการผลิตของเรา ช่วยพาเราเดินหน้าผันตัวสู่การเป็นผู้ผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ นอกจากนี้เรายังนำโซลูชันทางธุรกิจอย่าง UOB mCollect มาช่วยลดภาระในส่วนงานการเรียกเก็บและชำระเงิน ส่งผลให้พนักงานขายของเรา สามารถทุ่มเทให้กับการบริการลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น”

นายปิติพัฒน์ มงคลอริยนันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เคเอ็มพี พาร์ทเนอร์ จำกัด ผู้ประกอบการให้คำปรึกษาด้านงานก่อสร้าง กล่าวว่า “เราได้เรียนรู้การนำเอาแนวคิดลูกค้าคือศูนย์กลาง (customer centric) มาปรับใช้ในการพัฒนาแอปพลิเคชันของเรา ทำให้แอปพลิเคชันสามารถระบุถึงความต้องการของลูกค้าได้ ทำให้ฐานลูกค้าของเราขยายตัวขึ้นจาก 20 เป็น 700 ราย นอกจากนี้เราต้องขอบคุณ SBTP ที่แนะนำ Zaviago ซึ่งเป็นโซลูชันด้านการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) ที่เก็บรวบรวมข้อมูลและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการระบุเป้าหมายของสื่อออนไลน์ สิ่งนี้ทำให้เราสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเราได้ภายใต้ต้นทุนที่ต่ำที่สุด”

นายจักกเดช อัศวโสภณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอราเมง จำกัด กล่าวว่า “ข้อมูลทางธุรกิจและข้อมูลของลูกค้าเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญสูงที่สุดเสมอ และโครงการ SBTP ช่วยให้เราสามารถติดตั้งเครื่องมือในการบริหารจัดการข้อมูลได้เป็นผลสำเร็จ ทำให้เราสามารถวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้าได้ ช่วยให้เราลดต้นทุนและเพิ่มยอดขาย ขณะเดียวกันก็มอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้า ที่สำคัญ SBTP ยังช่วยปูเส้นทางให้เราในการมุ่งสู่การทำธุรกิจแบบ Zero Waste ตามนโยบายการทำธุรกิจที่ยั่งยืนด้วย โดยเรามีแผนของเราจะเริ่มจากการทำครัวกลางในปี 2566 นี้ด้วย”

นายพาวรอวัชระ ยุวนะศิริ กรรมการผู้จัดการ RainForest Green Community กล่าวว่า “เป้าหมายของเราคือการสร้างโครงการคอมมูนิตี้มอลของเราให้เป็น ‘ชุมชนสีเขียว’ โดยสิ่งที่เราได้รับจากโครงการไม่ได้มีแค่คำแนะนำเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเท่านั้น แต่ทำให้เราได้รู้จักโซลูชันทางการเงินที่ยั่งยืนจากธนาคารยูโอบีอย่าง U-Solar ที่เรามองว่าเป็นโอกาสของเราในการนำพลังงานสะอาดเข้ามาใช้ในคอมมูนิตี้มอลของเราอีกด้วย โครงการ SBTP ได้แนะนำให้เรารู้จักกับพันธมิตรของโครงการ ที่เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีส่วนช่วยในการลดค่าใช้จ่ายและลดการใช้พลังงานเมื่อเราติดตั้งโซลูชันสำเร็จ ในด้านปรับองค์กรสู่ดิจิทัล เราเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในการบริหารจัดการต้นทุน การจัดการภาษีองค์กร กระบวนการทำงาน จากการที่เรานำ PEAKaccount ซึ่งเป็นโซลูชันการทำบัญชีออนไลน์และบริหารจัดการต้นทุนที่ช่วยในด้านการบริหารจัดการข้อมูลมาใช้งาน”

โครงการ SBTP เปิดรับเจ้าของธุรกิจ SMEs หรือผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ ที่พร้อมเปิดรับแนวคิดใหม่ในการทำธุรกิจ มีความกระตือรือร้นในการปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีและความพร้อมในการลงทุนด้านเครื่องมือดิจิทัล และสามารถให้เวลากับโครงการได้อย่างเต็มที่ตลอดระยะเวลาสามเดือนของโครงการ 

มุ่งเพิ่มศักยภาพเอสเอ็มอีไทยก้าวสู่ธุรกิจดิจิทัลเต็มรูปแบบ ธนาคารตั้งเป้าหมายเปลี่ยนผ่าน เอสเอ็มอีไทย เป็นองค์กรดิจิทัลได้มากยิ่งขึ้นในสิ้นปี 2563

ธนาคารยูโอบี (ไทย) เปิดตัว โครงการ Smart Business Transformation เพื่อสนับสนุนและพัฒนาขีดความสามารถผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ในประเทศไทยให้สามารถเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัลเต็มตัว ตลอดระยะเวลา 3 เดือนของโครงการ ผู้เชี่ยวชาญจากเดอะ ฟินแล็บ[1] จะช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถระบุปัญหาในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงแนะนำการใช้งานเครื่องมือต่างๆ ให้ความรู้และแนวทางการทำงานในการปรับตัว และสร้างความเชื่อมั่นในการใช้นวัตกรรมใหม่ หลังจากนั้น จะมีการจับคู่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกับผู้ให้บริการโซลูชั่นด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีไปทดลองแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยโครงการนี้ ยังได้รับความร่วมมือจากองค์กรพันธมิตร ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  และ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)

ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภค การก่อสร้าง การขนส่ง ค้าปลีก ค้าส่งและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ที่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถดูรายละเอียดและลงทะเบียนสมัครได้ที่เว็บไซต์ www.thefinlab.com/thailand โดยเปิดรับสมัครวันนี้ถึงเดือนเมษายน 2562 โดยผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการต้องมีความมุ่งมั่นในการใช้เทคโนโลยี พร้อมทั้งมีแผนขยายธุรกิจในระดับภูมิภาคและมีผลประกอบการตั้งแต่ 25 – 1,000 ล้านบาท

ยกระดับ SMEs ไทยคว้าโอกาสในเศรษฐกิจยุคดิจิทัล

ภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 รัฐบาลไทยต้องการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศได้ถึงร้อยละ 50 ภายในปี2568 จากร้อยละ 36 ในปี2561 โดยข้อมูลในปี2561พบว่าประเทศไทยมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเกือบ 3 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 99.7 ของบริษัททั้งหมดในประเทศ จึงนับว่าเอสเอ็มอีมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศและการพัฒนาเศรษฐกิจในภาพรวม

ผลการสำรวจความคิดเห็นออนไลน์ที่จัดทำโดย เดอะ ฟินแล็บ[2] ระบุว่า บรรดาเอสเอ็มอีในประเทศไทยต่างระบุว่า กลยุทธ์เพื่อสร้างการเติบโต 2 อันดับแรกคือ การรุกตลาดใหม่ (ร้อยละ54) และการใช้การตลาดระบบดิจิทัลเพื่อเพิ่มยอดขาย (ร้อยละ51) อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยจะให้ความสำคัญกับการใช้โซลูชั่นดิจิทัลต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธภาพในการให้บริการออนไลน์ แต่ยังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับต้นทุนค่าใช้จ่าย (ร้อยละ 67) และความซับซ้อนของการใช้งานโซลูชั่นในการดำเนินงาน (ร้อยละ 44)

เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีหมดความกังวล โครงการ Smart Business Transformation  จึงมุ่งเน้นที่การช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการสามารถรุกสู่ตลาดใหม่และใช้การตลาดระบบดิจิทัลเพื่อเพิ่มยอดขายได้ ตัวอย่างเช่น ธนาคารยูโอบี (ไทย) จะสามารถให้คำแนะนำผู้ประกอบเอสเอ็มอีในการขยายธุรกิจไปในระดับภูมิภาค และสนับสนุนเรื่องเงินทุนกู้ยืมแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในโครงการที่มีการนำโซลูชั่นเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

นาย ตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี (ไทย) กล่าวว่า “ธนาคารยูโอบี (ไทย) ได้ทำงานร่วมกับบริษัทต่าง ๆ ในประเทศไทยเพื่อช่วยให้พวกเขาบรรลุเป้าหมายด้านการเงินมาเป็นระยะเวลาหลายปี เรารู้สึกยินดีที่ได้สนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยให้สามารถปรับองค์กรให้เป็นดิจิทัลเต็มตัว  ผ่านโครงการ Smart Business Transformation โดยได้รับความร่วมมือจาก เดอะ ฟินแล็บ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  และ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เมื่อเอสเอ็มอีเหล่านี้สามารถปรับองค์กรสู่ดิจิทัลเต็มตัวและสามารถแข่งขันในตลาดได้แล้ว พวกเขาจะต้องการเงินทุนสนับสนุนเพื่อการเติบโต ซึ่งยูโอบีเอง จะให้การสนับสนุนแผนธุรกิจและการเงินของลูกค้าเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนทั้งในประเทศไทยและทั่วภูมิภาคเอเชียต่อไป”

เดอะ ฟินแล็บ ได้ดำเนินโครงการบ่มเพาะสำหรับกลุ่มสตาร์ทอัพและเอสเอ็มอีในสิงคโปร์มาแล้ว 3 รุ่น  โดยครั้งนี้ จะเป็นผู้ดำเนินโครงการสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในประเทศไทยด้วยเช่นกัน โดย นาย เฟลิกซ์ ตัน กรรมการผู้จัดการ เดอะ ฟินแล็บ กล่าวว่า “ภารกิจของ เดอะ ฟินแล็บ คือการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วภูมิภาคอาเซียน ปรับตัวและขยายธุรกิจในยุคดิจิทัลได้ เพื่อให้พวกเขาสามารถแข่งขันในธุรกิจได้ดีขึ้นทั้งตลาดในประเทศและในภูมิภาค เรารู้สึกตื่นเต้นอย่างมากที่ได้เปิดตัวโครงการ Smart Business Transformation ในประเทศไทย และรอคอยที่จะได้ทำงานร่วมกับบรรดาผู้ประกอบการไทยในการเปลี่ยนแปลงการทำงานไปสู่ระบบดิจิทัล ในการดำเนินโครงการนี้ เราได้รับการสนับสนุนจากธนาคารยูโอบี (ไทย) รวมถึงสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  และ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เราจึงเชื่อมั่นว่าโครงการนี้จะช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมในกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในประเทศไทยได้แน่นอน”

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล จะเป็นผู้สนับสนุนด้านการจัดหาเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เข้าร่วมโครงการในการใช้งานโซลูชั่นเทคโนโลยีใหม่และจะเป็นผู้จัดกิจกรรมเวิร์กชอปเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในวิธีการสมัครเพื่อขอรับทุนดังกล่าว โดยนายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงาน สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กล่าวว่า “ภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 ที่เรากำลังก้าวเข้าสู่ขั้นต่อไปของการเติบโตทางเศรษฐกิจ เราเล็งเห็นว่าเอสเอ็มอีจำนวนมากต้องการปรับองค์กรไปสู่ดิจิทัล เรายินดีต้อนรับพันธมิตรที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันทั้งธนาคารยูโอบี (ไทย)  และ เดอะ ฟินแล็บ เพื่อมาร่วมสนับสนุนผู้ประกอบการให้สามารถเติบโตในเศรษฐกิจยุคดิจิทัลได้อย่างมั่นคง ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ Smart Business Transformation จะได้รับคำแนะนำในการค้นหาโซลูชันดิจิทัลที่เหมาะสมกับความจำเป็นทางธุรกิจ และสมัครขอรับเงินทุนจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อการใช้งานโซลูชันเหล่านั้น”

ด้าน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)   จะให้เงินทุนสนับสนุนในส่วนบริการให้คำปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัล แก่ผู้ประกอบการอสเอ็มอีที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ โดยจะเป็นการให้เงินทุนสนับสนุนผ่านโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ ITAP (Innovation Technology Assistance Programme) ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวว่า “สวทช ได้ริเริ่มโครงการสนับสนุนผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม( Innovation Driven Enterprises ขึ้นในปีนี้ โดยได้ให้ความช่วยเหลือแก่เอสเอ็มอีมาแล้วมากกว่า 10,000 รายทั่วประเทศ ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 1,800 ราย ในปีนี้  โดยเป็นการพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์และขั้นตอนการทำงาน การออกใบรับรอง การเพิ่มประสิทธิภาพและกำลังการผลิต ผ่าน ITAP โดย ITAPจะให้คำแนะนำทางด้านเทคนิคและการสนับสนุนด้านเงินทุนเพื่อช่วยลดความเสี่ยงของเหล่าผู้ประกอบการ โดยโครงการ Smart Business Tranformation นับเป็นอีกหนึ่งโครงการที่สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการในเมืองไทยสามารถบรรลุเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงองค์กรและการทำงานไปสู่ดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบรรดาผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการนี้ จะได้รับการสนุบสนุนจากเราทันที เรารอคอยที่จะได้ร่วมงานกับธนาคารยูโอบี (ไทย) เดอะ ฟินแล็บ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่องค์กรดิจิทัลเต็มตัวเพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจได้ในอนาคต”

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในประเทศไทย  จะดูแลในเรื่องนโยบายและแผนงานใหม่ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถยกระดับการใช้งานเทคโนโลยีเพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจ โดยนายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า “เอสเอ็มอีคือกุญแจสำคัญของการสร้างสรรค์อนาคตเศรษฐกิจไทย ด้วยเหตุนี้ สสว. จึงออกนโยบายส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถยกระดับการใช้งานเทคโนโลยีเพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจและ เพิ่มกำลังการผลิต โดยทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และ สวทช. ในการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าว เรารู้สึกตื่นเต้นอย่างมากที่จะได้ทำงานร่วมกับธนาคารยูโอบี (ไทย) และ เดอะ ฟินแล็บ โดยเราได้ทำงานร่วมกันเพื่อรวบรวมองค์ความรู้เชิงลึกจากโครงการนี้ เพื่อนำไปพัฒนาและปรับนโยบายอันจะเอื้อต่อการส่งเสริมการเติบโตของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในประเทศไทย”


[1] ฟินแล็บ คือโครงการบ่มเพาะนวัตกรรมและสตาร์ทอัพกลุ่มฟินเทค (FinTech) ที่ดำเนินการภายใต้ธนาคารยูไนเต็ดโอเวอร์ซีส์ (UOB)

[2] ผลการสำรวจความคิดเห็นออนไลน์ จัดทำในระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2561 โดยมีกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จำนวนกว่า 800 ราย ในประเทศไทย

X

Right Click

No right click