×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 10974

ทีเอ็มบี หรือ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) นำทีมโดย นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวเปิดงานส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่มีคุณภาพเพื่อลูกค้าตามปรัชญา Make THE Difference ด้วยการสร้างสรรค์และพัฒนา ทีเอ็มบี ซัพพลายเชน โซลูชัน (TMB Supply Chain Solution) ที่มีมานานมากว่า 10 ปี เริ่มต้นจากการให้แหล่งเงินทุนแก่เครือข่ายคู่ค้าของลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน และมุ่งเน้นสร้างความสะดวกสบายจากการทำธุรกรรมการเงินรูปแบบใหม่ ให้แก่ลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่  SMEs ขนาดกลางและเล็ก ที่มีมากถึง 3 ล้านราย ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการค้าปลีก รับเหมาก่อสร้าง การเกษตรและอื่นๆ มีอัตราการจ้างงานสูงถึง 82% แต่ทำรายได้เพียง 42% ของ GDP ในประเทศไทย ปัญหาหลักเป็นเพราะ SMEs ยังประสบปัญหาขาดแคลนแหล่งเงินทุน บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ และการบริหารจัดการที่ดี ทีเอ็มบีจึงผลักดันนำเทคโนโลยีเข้ามาเสริม เชื่อมต่อดิจิทัลโซลูชันกับพาร์ทเนอร์ต่างๆ ให้สามารถเชื่อมการชำระเงินและการส่งต่อข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่ออำนวยความสะดวกอย่างครบวงจร ตอบสนองแนวทางการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับธุรกิจของลูกค้าและผลักดันความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศ

ด้านนายเสนธิป ศรีไพพรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบี เปิดเผยถึงหัวใจสำคัญของการให้บริการลูกค้าธุรกิจของทีเอ็มบี ก็คือการพัฒนาบริการ TMB Supply Chain Financing พร้อม Total Solution ครบวงจร ทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้า ร่วมมือกับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และพัฒนา Solution สร้าง ECO-System ให้คู่ค้ามีส่วนร่วม เพื่อให้ธุรกิจทุกขนาดมีการเจริญเติบโตไปพร้อมๆ กัน ปัจจุบันกลุ่มธุรกิจด้านอุตสาหกรรมอุปโภค บริโภค วัสดุก่อสร้าง และอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยต่างให้ความสนใจนำ TMB Supply Chain Solution เข้าไปใช้เพื่อสร้างประสิทธิภาพทั้งซัพพลายเชนให้คู่ค้าเติบโตอย่างแข็งแกร่ง อาทิ บุญรอดบริวเวอรี่ ปตท. เอสซีจี

นอกจากนั้น ยังมีกลุ่มอุตสาหกรรมและพาร์เนอร์ที่มีศักยภาพสูงที่เปิดใจต้อนรับระบบ TMB Supply Chain Solution อย่าง บริษัท น้ำตาลมิตรผล ที่นำโซลูชันไปใช้เชื่อมต่อกับเกษตรกรให้เกิด Circular Economy ที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน กิจการค้าปลีก ซีเจ ซูเปอร์มาร์เก็ต นำเอาโซลูชันนี้มาแก้ปัญหาการเกิด Lap ระบบสั่งซื้อ สั่งผลิตให้ไม่สะดุด และ Tech Startup ในแวดวงธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง บริษัท บิลค์ เอเชีย จำกัด พัฒนาเเพลตฟอร์มช่วยบริหารต้นทุนมาวางแผนการเงิน เปิดใบสั่งซื้อให้ผู้ใช้งาน 25,000 บริษัททั่ว Southeast Asia ร่วมทั้งการ Match กับ Developer รายใหญ่ สร้างเว็บไซต์วัสดุออนไลน์ เชื่อม Data Supply Chain เข้าด้วยกันทั้งหมด

คุณรัชกร ชยาภิรัต หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารนวัตกรรมทางดิจิทัล (ลูกค้าธุรกิจ) ทีเอ็มบี เผยส่วนผสมสำคัญ 3 อย่างที่จะนำมาทำ E-Money ระบบเช็ค จัดการธุรกรรมทางการเงิน Cost Control เข้ามา Disrupt ระบบ Eco-System ได้แก่ Data, Device และ Distribute สู่ลูกค้า จนสามารถต่อยอดและร่วมกันพัฒนาดิจิทัลโซลูชันเพื่อเสริมเรื่องการให้แหล่งเงินทุนสำหรับแก้ปัญหาและเดินหน้าให้บรรลุเป้าหมายได้ รวมไปถึงการสามารถตอบสนองความต้องการของภาครัฐอย่างครบวงจร ร่วมสนับสนุนนโยบายรัฐบาลเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐให้เป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว ขานรับนโยบายการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของประเทศให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

นอกจากนั้น นายณศมณ คุ้มธรรมพินิจ เจ้าหน้าที่บริหารผลิตภัณฑ์สินเชื่อเครือข่ายธุรกิจ ทีเอ็มบี ยังได้นำเสนอดิจิทัลซัพพลายเชน แพลตฟอร์มใหม่ เปลี่ยนเรื่องยากให้กลายเป็นเรื่องง่าย รวมผู้ซื้อและผู้ขายไว้บนแพลตฟอร์มเดียวกัน ทำให้ลูกค้าธุรกิจและคู่ค้าทำงานได้สะดวก ง่าย และลดกระบวนการในการทำงานให้รวดเร็วขึ้น โดยมาในรูปแบบของทั้งเว็บไซต์และมือถือ ช่วยให้ผู้ซื้อสามารถสร้างใบสั่งซื้อ ผู้ขายสามารถสร้างใบแจ้งหนี้ และส่งหากันผ่านทางแพลตฟอร์มได้ทันที ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ซื้อยังสามารถใช้วงเงินเบิกเกินบัญชี หรือ OD มาขายลดใบแจ้งหนี้ได้ ตรวจสอบและดูรายงานทางการเงินแบบเรียลไทม์ผ่านทางแพลตฟอร์มนี้ ได้ทุกที่ ทุกเวลา ทำให้การใช้วงเงินสินเชื่อ Supply Chain เป็นเรื่องง่าย ทำได้เพียงไม่กี่ขั้นตอน

“กว่า 10 ปี ที่ทีเอ็มบีให้ความสำคัญกับเรื่อง Supply Chain Financing และพัฒนาผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับ Supply Chain จนเป็นโซลูชันแบบดิจิทัลที่สร้างความแตกต่างและการเจริญเติบโตให้กับลูกค้าธุรกิจ ปัจจุบันมีลูกค้าที่เลือกใช้บริการ TMB Supply Chain Solution ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่หรือซัพพลายเออร์ ร่วม 100 ราย ดีลเลอร์ของคู่ค้า ซึ่งก็คือ SMEs ขนาดกลางและเล็ก ในเครือข่าวกว่า 1,500 ราย และจะยังคงเดินหน้าพัฒนาต่อยอดไปอีก เพราะความสำเร็จของลูกค้าคือความภาคภูมิใจของทีเอ็มบี ปัจจุบันลูกค้าที่เลือกใช้บริการ TMB Supply Chain Solution ได้แก่ ธุรกิจรายใหญ่ร่วม 100 ราย และธุรกิจ SMEs ที่อยู่ในเครือข่ายกว่า 1,500 ราย” นายเสนธิปกล่าว

ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี เผยทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2562 เน้นตอบโจทย์ รู้จริงแก้ปัญหาหลักของเอสเอ็มอีไทย ทั้งปัญหาเรื่องการจัดการธุรกรรมการเงิน การบริหารจัดการพนักงาน และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อคว้าโอกาสทางธุรกิจได้ทันเวลาที่ต้องการ โดยมีแนวทางการพัฒนา 3 ดิจิทัลโชลูชันเพื่อเอสเอ็มอี ได้แก่ รายงานสุขภาพการเงินของเอสเอ็มอีแบบเรียลไทม์ที่เข้าใจง่าย และนำไปใช้วางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ, สวัสดิการด้านสุขภาพเพื่อพนักงานของเอสเอ็มอีที่ยืดหยุ่นคล่องตัว และบริการให้สินเชื่อเอสเอ็มอีผ่านโมบายล์แอปพลิเคชัน เพื่อให้เอสเอ็มอีสามารถเติบโตได้มากกว่า และทีเอ็มบีเป็นธนาคารที่ลูกค้าชื่นชอบ และบอกต่อมากที่สุดในประเทศไทย

 

นางสาวชมภูนุช  ปฐมพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าเอสเอ็มอี ทีเอ็มบี กล่าวว่า “ด้วยปรัชญาของทีเอ็มบี คือ Make THE Difference ที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ชีวิตลูกค้าดีขึ้น เราจึงมีความพิถีพิถันในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ และคิดอย่างรอบด้าน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเอสเอ็มอีอย่างแท้จริง (Need-based) และให้สามารถใช้งานได้ง่าย และสะดวก (Simple & Easy) สร้างประสบการณ์ใหม่เพื่อเอสเอ็มอีสามารถเติบโตได้มากกว่า (Get MORE with TMB) ซึ่งในปีนี้ แผนธุรกิจของทีเอ็มบี เอสเอ็มอี ตั้งเป้ายอดการปล่อยสินเชื่อมูลค่า 27,000 ล้านบาท คิดเป็นการเติบโต 60% จากปีที่ผ่านมา”

 

“ทั้งนี้จากการศึกษาอินไซต์ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยพบว่า ปัญหาหลักที่เป็นอุปสรรคในการเติบโตของเอสเอ็มอีมีอยู่ 3 ข้อ คือ

(1) ปัญหาธุรกรรมยุ่งเหยิง ทั้งการรับเงินจากลูกค้าและการจ่ายเงินให้คู่ค้า ด้วยเงินสด และการโอนเงินในหลายช่องทาง เช่น QR Code และเครื่อง EDC ซึ่งต้องใช้เวลานานในการรวบรวมและทำบัญชีกระทบยอด ทั้งยังมีโอกาสผิดพลาดได้ง่าย สรุปยอดไม่ตรง และสุดท้ายรายงานบัญชีที่ทำขึ้นมาก็ยังไม่สะท้อนภาพรวมสุขภาพการเงิน หรือสภาพคล่องทางการเงินของธุรกิจได้ ไม่สามารถนำไปใช้เพื่อวางแผนทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(2) ปัญหาการบริหารบุคคล เนื่องจากธุรกิจเอสเอ็มอีเป็นองค์กรขนาดเล็ก พนักงานคือกลไกสำคัญเพื่อขับเคลื่อนให้ธุรกิจเดินหน้าได้อย่างราบรื่น ซึ่งการสร้างความสัมพันธ์อันดีและครองใจพนักงานนั้น สวัสดิการด้านสุขภาพเป็นปัจจัยอันดับต้นๆ ที่พนักงานให้ความสำคัญ แต่ทว่าธุรกิจเอสเอ็มอีมีข้อจำกัด เพราะไม่สามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพแบบกลุ่มให้กับพนักงานได้ ด้วยจำนวนพนักงานไม่เพียงพอต่อการซื้อขั้นต่ำของประกันสุขภาพแบบกลุ่ม แต่ถ้าจะซื้อประกันสุขภาพแบบรายบุคคลให้กับพนักงานก็ติดปัญหาที่มีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นหากพนักงานประสบอุบัติเหตุหรือมีปัญหาสุขภาพ เจ้าของธุรกิจเอสเอ็มอีส่วนใหญ่จึงเข้ามารับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้จึงไม่สามารถควบคุมต้นทุนด้านการบริหารบุคคลได้

(3) ปัญหาพลาดโอกาสทางธุรกิจ เนื่องจากเอสเอ็มอีเพียง 20% เท่านั้นที่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ เนื่องจากขาดความเข้าใจ และขาดข้อมูลที่น่าเชื่อถือเพื่อยื่นสมัครสินเชื่อ ส่งผลให้เอสเอ็มอี 27% เลือกใช้เงินทุนตั้งต้นธุรกิจจากการใช้บริการสินเชื่อและการกดเงินสดจากบัตรเครดิต โดยยอมแบกรับกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินความคุ้มค่าระหว่างดอกเบี้ยกับกำไรของธุรกิจ”

 

นายพร้อมพงษ์  พัฒนธีระเดช หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารผลิตภัณฑ์และ Portfolio ธุรกิจเอสเอ็มอี ทีเอ็มบี ได้เผยถึงเนวทางการพัฒนาโซลูชันเพื่อเอสเอ็มอีว่า “ในปีนี้ทีเอ็มบียังคงยึดหลักแนวคิดให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centricity) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ตอบโจทย์ แก้ปัญหา และยกระดับการเติบโตให้เอสเอ็มอีได้อย่างครบวงจร โดยเตรียมเปิดตัว 3 โซลูชันเพื่อเอสเอ็มอี ได้แก่

(1) รายงานสุขภาพการเงินของเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลและธุรกรรมในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เป็นภาพกราฟฟิกสวยงาม ชี้ให้เห็นทิศทางของเงินเข้าและออก จากทุกช่องทางเพื่อสามารถนำไปประเมินสภาพคล่องทางการเงินของธุรกิจได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งจะช่วยลดความผิดพลาดและลดเวลาของการทำบัญชีกระทบยอดของเอสเอ็มอีได้ และยังนำไปใช้วางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพได้อีกด้วย

(2) สวัสดิการด้านสุขภาพเพื่อพนักงานของเอสเอ็มอีที่ยืดหยุ่นและคล่องตัว ในราคาที่เอสเอ็มอีเข้าถึงได้ เพียงลูกค้าเอสเอ็มอี เปิดบัญชีธุรกิจ ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี วัน แบงก์ สามารถมีสิทธิ์ซื้อโปรแกรมสวัสดิการด้านสุขภาพให้กับพนักงานของธุรกิจตนเอง มีสิทธิประโยชน์แบบประกันกลุ่ม โดยเริ่มต้นพนักงานเพียง 5 คน และจ่ายขั้นเพียงสามร้อยกว่าบาทต่อเดือน ครอบคลุมทั้งกรณีผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก สามารถซื้อและปรับเปลี่ยนชื่อพนักงานได้ทางออนไลน์ด้วยขั้นตอนง่ายๆ เพียงแค่ 4 คลิกเท่านั้น นอกจากนี้ เมื่อลูกค้าเอสเอ็มอีใช้บริการจัดการเงินเดือนพนักงานด้วยระบบอัตโนมัติ (Payroll) กับทีเอ็มบี จะได้รับฟรี! แอปพลิเคชันระบบช่วยบริหารจัดการงานบุคคลแบบดิจิทัล HR Management Program ครบทุกฟีเจอร์ เข้า ออก ขาด ลา มาสาย ครอบคลุมการใช้งานทั้งบริษัทและพนักงาน

(3) บริการให้สินเชื่อเอสเอ็มอีผ่านโมบายล์แอปพลิเคชัน ทีเอ็มบี บิส ทัช (TMB BIZ TOUCH) โดยการสร้างโมเดลอัจฉริยะวิเคราะห์ข้อมูล เปลี่ยนข้อมูลธุรกรรมการเงินต่างๆ ของลูกค้าที่ธนาคารมีอยู่แล้ว ให้เป็นหลักประกัน เพื่อช่วยลูกค้าให้เข้าถึงสินเชื่อและได้เงินทุนง่ายขึ้นในเวลาที่ต้องการ และประหยัดเวลาในการเตรียมข้อมูลและเอกสารที่ใช้ในการสมัครสินเชื่ออีกด้วย

ทีเอ็มบี หรือธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) มุ่งตอกย้ำลูกค้าทีเอ็มบีต้องได้มากกว่า (Get MORE with TMB) นำเสนอบริการเพื่อการจัดการงานบุคคลที่ชาญฉลาดสำหรับกลุ่มลูกค้าธุรกิจ บริการ ‘TMB Payroll Plus’ ชูจุดเด่น All-in-One Digital Employee Engagement Solution การบริหารจัดการสวัสดิการพนักงานด้วยระบบอินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง ที่มากกว่าเรื่องการจ่ายเงินเดือน เอื้อประโยชน์นายจ้างหรือเจ้าของธุรกิจสร้างความผูกพันกับพนักงาน ส่งมอบสวัสดิการสุขภาพ พร้อมคุ้มครองชีวิต หรือประกันกลุ่มราคาสุดพิเศษ ตัดความกังวลที่ต้องเตรียมเงินก้อนโตไว้จ่าย ด้วยข้อเสนอชำระค่าเบี้ยประกันเป็นรายเดือนในราคาเบาๆ ซึ่งเป็นรูปแบบบริการใหม่ที่จะช่วยอำนวยความสะดวก เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารธุรกิจ และตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้าธุรกิจ

นายรัชกร ชยาภิรัต หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารนวัตกรรมทางดิจิทัล (ลูกค้าธุรกิจ) ทีเอ็มบี เปิดเผยว่า การที่บริษัทมี Employee Engagement ที่ดี จะลดอัตราการลาออกของพนักงานได้ถึง 32%  ดังนั้นบริษัทจึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการงานบุคคลไม่ว่าจะเรื่องการจ่ายเงินเดือน หรือดูแลด้านสวัสดิการต่างๆ แก่พนักงาน เพื่อให้เขามีความสุขในการทำงานและสร้างผลกำไรให้กับบริษัท ยิ่งไปกว่านั้นเครื่องมือเหล่านี้ต้องมาช่วยลดความยุ่งยาก ค่าใช้จ่ายและงาน Operation ที่เกิดจากการจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือนแบบเงินสด ซึ่งทางเลือกบริหารจัดการงานบุคคล TMB Payroll Plus จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจส่งมอบสิ่งที่ตรงกับความต้องการของพนักงานอย่างแท้จริง 

"นอกจากจะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้กับการจ่ายเงินเดือน และช่วยบริหารจัดการงานบุคคลด้วยฟีเจอร์ต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกลูกค้าธุรกิจของเราแล้ว ทีเอ็มบียังมองถึงความต้องการของคนในองค์กรของลูกค้า เพราะหลังจากสำรวจข้อมูลพบว่าสวัสดิการที่คนทำงานต้องการนอกเหนือจากเรื่องรายได้ และสวัสดิการพื้นฐานตามกฎหมาย ก็คือสวัสดิการด้านสุขภาพ หรือการประกันสุขภาพ ค่ารักษาพยาบาลให้กับบุคคลในครอบครัวของพนักงาน หรือประกันชีวิต เราจึงนำเสนอ TMB Payroll Plus ใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ แต่สำคัญ เพื่อช่วยแก้ปัญหา และตอบสนองความต้องการของทุกฝ่าย่ได้อย่างตรงจุด"

ทั้งนี้ บริการ TMB Payroll Plus สร้างขึ้นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าขนาดกลาง-ใหญ่ โดยมุ่งเน้นที่บริการ 3 ด้านเป็นสำคัญ ได้แก่

1.จัดการเงินเดือนพนักงานด้วยระบบอัตโนมัติ จัดการเงินเดือน เบี้ยเลี้ยง หรือค่าจ้างพนักงานโดยไม่จำกัดจำนวนด้วยระบบอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง (TMB Business CLICK) ได้ 24 ชั่วโมง พร้อมให้อิสระกับพนักงานในการเลือกรับเงินเดือนบัญชีธนาคารใดก็ได้ เพื่อลดความยุ่งยากในการเปลี่ยนบัญชีธนาคารเดิมของพนักงาน

2.สร้าง Employee Engagement ในราคาเบาๆ และไม่ต้องจ่ายเงินก้อน ซื้อประกันกลุ่มราคาสุดพิเศษให้พนักงาน เมื่อสมัครบริการจ่ายเงินเดือนกับทีเอ็มบีก็สามารถได้รับประกันชีวิต ฟรี และถ้าต้องการซื้อประกันเพิ่ม ก็ซื้อได้ในราคาประหยัดเริ่มต้นที่ 200-300 บาทต่อคนต่อเดือน พร้อมประกันกลุ่มราคาสุดพิเศษที่คุ้มครองครอบคลุมมากกว่า ทั้งค่ารักษาจากการเจ็บป่วยทั่วไป (OPD) การเจ็บป่วยนอนโรงพยาบาล (IPD) อุบัติเหตุไม่จำกัดจำนวนครั้ง รวมถึงคุ้มครองชีวิตให้แก่พนักงาน

3.นำเสนอระบบช่วยบริหารจัดการงานบุคคลแบบดิจิทัล HR Management Program ครบทุกฟีเจอร์ ครอบคลุมการใช้งานทั้งบริษัทและพนักงาน โดย TMB Payroll Plus จะช่วยอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าธุรกิจด้วยระบบจัดการข้อมูลพนักงาน ระบบการบริหารการทำงานเป็นกะ และคำนวนบัญชีเงินเดือน (Payroll) อัตโนมัติ เพิ่มช่องทางสื่อสารภายในธุรกิจ ส่วนฟีเจอร์สำหรับพนักงาน มีทั้งบันทึกเวลาเข้า-ออก และส่งลางานแบบเรียลไทม์ ตลอดจนดาวน์โหลดแบบฟอร์มภาษีอัตโนมัติพร้อมดูสลิปเงินเดือน ออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชันเป็นต้น

"สิ่งที่เรามุ่งมั่นและยึดถือมาตลอดคือ ลูกค้าทีเอ็มบีต้องได้มากกว่า  (Get MORE with TMB) เราจึงต้องมองหาทางเลือกที่ดีที่สุดเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุดและครบรอบด้าน ซึ่ง TMB Payroll Plus คือคำตอบที่ทีเอ็มบีคัดสรรอย่างดีเพื่อนำเสนอสำหรับลูกค้าธุรกิจที่กำลังมองหาเครื่องมือช่วยจัดการงานบุคคลได้อย่างชาญฉลาด พร้อมทั้งเข้าถึงแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานด้วยระบบสวัสดิการที่ตรงใจ เพื่อให้ทุกคนทำงานอย่างมีความสุข ไร้ความกังวล เพิ่มขีดความสามารถในการทำงาน และยังมีส่วนช่วยสนับสนุนให้กลุ่มธุรกิจของไทยเติบโตและแข็งแกร่งขึ้นอีกด้วย" นายรัชกร กล่าวทิ้งท้ายถึงเหตุผลที่ควรเลือก TMB Payroll Plus ไว้เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ

 

 

ลูกค้าที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ TMB Payroll Plus บริการเพื่อการจัดการงานบุคคลสำหรับกลุ่มลูกค้าธุรกิจ ได้ที่ Corporate Call Center เบอร์ 02-643-7000

ทีเอ็มบี หรือ ธนาคาร ทหารไทย จำกัด (มหาชน) เปิดตัวกลยุทธ์เดินหน้ายกระดับผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อตอบโจทย์ชีวิตคนไทยภายใต้ “TMB Strive MORE for You to Get MORE : ทีเอ็มบี พยายามมากกว่าเพื่อให้คุณได้มากกว่า”

โดยนายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวถึงการพยายามตั้งคำถามเพื่อค้าหาคำตอบที่ตรงใจ พัฒนาโซลูชั่นที่ดีกว่า ตั้งเป้าหมายให้เกิดการบริการที่ครอบคลุม ทำให้ที่ผ่านมา ทีเอ็มบี กลายเป็นสถาบันการเงินที่ก้าวหน้าเป็นผู้นำหลายๆ แนวคิดที่ช่วยขับเคลื่อนคนไทยให้เดินหน้าไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของโลกให้ทันและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

10 ปีที่ผ่านมาโลกหมุนเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วกกว่าที่เคย นางณัฐวรรณ อภิรัตนพิมลชัย หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารกลุ่มลูกค้าบุคคลระดับกลาง ทีเอ็มบี กล่าวถึงสิ่งต่างๆ รอบตัวที่เข้ามาเป็นปัจจัยหลักส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างฉับพลัน ทุกความต้องการต้องง่ายและตรงใจ ทีเอ็มบี จึงมุ่งเน้นการพัฒนา 3 ผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี (TMB All Free) ทีเอ็มบี ทัช (TMB Touch) และ ทีเอ็มบี สมาร์ท พอร์ต (TMB Smart Port) เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้า เพิ่มความคล่องตัวในการใช้ชีวิต ได้รับสิทธิประโยชน์ที่คุ้มค่าและสามารถสร้างความมั่งคงในระยะยาวให้ลูกค้าได้

ท่องเที่ยวปลอดภัยไร้กังวลกับ ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี (TMB All Free)

นายชวมนต์ วินิจตรงจิตร หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารผลิตภัณฑ์ธุรกรรมธนาคาร เผยถึงโซลูชั่นที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์นักเดินทาง ซึ่งบ่อยครั้งต้องปวดหัวกับการแลกเงิน ต้องพกเงินสดไปต่างประเทศจำนวนมากจนกังวลเพราะกลัวถูกโจรกรรม เป็นเรื่องเล็กน้อยแต่ยุ่งยากและทำให้เสียเวลา ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปเพราะ ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี (TMB All Free) บัตรเดียวสามารถพกไปใชจ่ายในต่างประเทศได้โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน 2.5% (FX Rate) เท่ากับว่ารูดเท่าไหร่จ่ายเท่านั้น เพียงเดือนเดียวที่เปิดตัวผลิตภัณฑ์นี้ก็ทำให้ยอดใช้จ่ายในต่างประเทศผ่านบัตรเพิ่มขึ้นถึง 7 เท่า มีการใช้จ่ายใน 117 ประเทศ จาก 166 สกุลเงินที่ให้บริการ และในวันที่ 6 มีนาคม 2562 ลูกค้าจะสามารถออกบัตร TMB All Free ที่มีชื่ออยู่บนบัตรหรือออกบัตรสำรองได้ด้วยตัวเองผ่านแอปพลิเคชัน มีการเพิ่มวงเงินใช้จ่ายสูงสุดให้จุใจถึง 2 ล้านบาท และในช่วงตั้งแต่ 1 มีนาคม – 31 ธันวาคม 2562 ลูกค้านักเดินทางจะได้รับความคุ้มครองจากการเดินทาง (Travel Insurance) ในวงเงิน 1,000,000 บาททันที นอกจากนี้ยังเพิ่มสิทธิประโยชน์ประกันคุ้มครองวงเงินในบัญชีกรณีอุบัติเหตุให้กับลูกค้าที่มีบัญชีและบัตรเดบิต ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี ทุกคนกว่า 3 ล้านบัญชีโดยไม่ต้องจ่ายเบี้ยประกันใดๆ เพิ่มเติม

ลงทุนจัดพอร์ตง่ายกว่าที่คิดด้วย ทีเอ็มบี สมาร์ท พอร์ต (TMB Smart Port)

นางกิดาการ ชัฎสุวรรณ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารผลิตภัณฑ์กองทุนรวม ทีเอ็มบี กล่าวถึงสถิติที่พบว่ามีคนไทยเพียง 1 ล้านคนจากประชากรทั้งหมด 70 ล้านคนที่มีเงินเก็บไว้ใช้หลังเกษียณ ซึ่งถือเป็นอัตราที่น้อยมาก โดยสาเหตุที่ทำให้คนไทยมีเงินไม่เพียงพอเพราะไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นลงทุนอย่างไร ทีเอ็มบี จึงมองเห็นปัญหาในส่วนนี้และต้องการเข้ามาช่วยให้คนไทยสามารถเข้าถึงการลงทุนได้ง่ายขึ้น สามารถสร้างโอกาสให้ได้รับผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอ โดยมีผู้เชี่ยวชาญเป็นพาร์ทเนอร์จาก บจล.ระดับโลก มาคอยช่วยจัดสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะสมมีประสิทธิภาพ ทีเอ็มบี สมาร์ท พอร์ต (TMB Smart Port) เป็นบริการด้านการลงทุนระดับ Private Wealth ที่จะมาช่วยให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงบริการจัดพอร์ตได้มากขึ้น โดยมีความร่วมมือระหว่าง TMB และ Amundi บริษัทจัดการกองทุนระดับโลก ซึ่งจะมีการผสมผสานเทคโยโลยีเข้ากับความเชี่ยวชาญด้านการลงทุนทำให้ได้เป็น Total Solution ที่ช่วยจัดสรรการลงทุนให้สอดคล้องกับทุกสถานการณ์ตลาดโดยมีเงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 100,000 บาทเท่านั้น

โมบายล์แบงก์กิ้งแอปพลิเคชันเสริมประสบการณ์ให้ง่ายและเร็วยิ่งขึ้นจาก ทีเอ็มบี ทัช (TMB Touch)

นายสหชัย ลิ้มอำไพ เจ้าหน้าที่บริหาร บริหารช่องทางบริการดิจิทัล เผยถึงการพัฒนาการใช้บริการที่หลากหลาย เสริมประสบการณ์การใช้งานที่ดีและมุ่งพัฒนาอย่างต่อเนื่องของ ทีเอ็มบี ทัช (TMB Touch) โดยถือเป็นแบงก์กิ้งแอปพลิเคชันที่มีความปลอดภัยสูง มีการใช้ระบบ Bot เฝ้าระวังระบบตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลาและแก้ไขเมื่อเกิดปัญหาได้ทันที ตั้งเป้าเพิ่มความเร็วการใช้งานจาก 5 วินาทีเหลือเพียง 2 วินาที พร้อมกับความสามารถในการรองรับลูกค้าที่จะเข้ามาในอนาคตได้มากถึง 3 เท่า ผ่านการออกแบบหน้าจอด้วยหลัก 3 ง่าย คือ รูปแบบเรียบง่าย หาเจอง่าย และใช้งานง่าย พ่วงมาด้วยบริการคะแนนสะสม ทีเอ็มบี ว้าว (TMB WOW) และรางวัลทรงเกียรติจากสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย “TAB Digital Inclusive Awards” ที่เป็นเครื่องการันตีถึงความมุ่งมั่นที่ต้องการจะทำให้ผู้ใช้บริการทุกคนได้รับความสะดวกสบายจาก ทีเอ็มบี ทัช (TMB Touch)

ปิดท้ายงานด้วยการตอกย้ำปรัชญาของทีเอ็มบี Make THE Difference นายรูว์ ไฮซ์แมน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้ารายย่อย ทีเอ็มบี ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้คุณภาพชีวิตของทุกคนดีขึ้น โดยได้ศึกษาพฤติกรรมทางการเงินของคนไทยและพบว่าข้อมูลที่น่าสนใจว่า คนไทย 5 ใน 10 คนเท่านั้นที่มีเงินเพียงพอหลังเกษียณ 6 ใน 10 คนยังไม่มีกรรมธรรม์ประกันชีวิต และกว่า 9 ใน 10 คนยังไม่มีการลงทุนเพื่อให้งอกเงยใดๆ ทำให้เห็นว่าคนไทนยังขาดหลักประกันพื้นฐานของตัวเองและลูกค้าก็อาจจะยังไม่ตระหนักถึงสิ่งที่เขาควรมี ดังนั้น ทีเอ็มบี ในฐานะสถาบันทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าโดยตรง จึงต้องการที่จะให้กลุ่มลูกค้าที่ยังไม่มีตัวช่วยทางการเงินเข้าถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินได้อย่างเต็มรูปแบบ โดยในปี พ.ศ.2561 ที่ผ่านมา ทีเอ็มบี ได้มอบดอกเบี้ยส่วนต่างที่สูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ทั่วไปให้ลูกค้ากว่า 2,400 ล้านบาท มอบความคุ้มครองผ่าน ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรีแล้ว 625,000 ล้านบาท และ ทีเอ็มบี ทัช ที่ช่วยให้ลูกค้าประหยัดเวลาในการทำธุรกรรมต่างๆ ได้มากถึง 12,500 ปี ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่จะยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องในอนาคตเพื่อตอบโจทย์ความต้องการและทำให้ลูกค้าได้รับสวัสดิภาพทางการเงินอย่างมั่นคง

ศูนย์วิเคราะห์ Customer Insights by TMB Analytics เผยผลการศึกษาพฤติกรรมการซื้อลอตเตอรี่และหวย(ใต้ดิน)คนไทยพบว่า หวยไม่ใช่แค่เรื่องของมวลชน กลุ่มพนักงานประจำและเจ้าของธุรกิจ ที่เป็นแรงขับเคลื่อนของประเทศ กว่า    9 ล้านคน  เสพติดหวย ส่วนใหญ่มีครอบครัวมีภาระ ที่ซื้อลอตเตอรี่เพราะหวังรวยทางลัดและอยากเสี่ยงโชค หวยเป็นปัจจัยพื้นฐานแม้เศรษฐกิจไม่ดีก็ยังซื้อ

 “1 ใน 4 ของคนไทยซื้อลอตเตอรี่และหวย รวมเป็นเงินกว่า 2.5 แสนล้านบาทต่อปี” พูดง่ายๆคือคนไทยราว 20 ล้านคนซื้อลอตเตอรี่และเล่นหวยเทียบเป็นมูลค่าในแต่ละปีเท่ากับ 3 เท่าของมูลค่าซื้อกองทุน LTF และ RMF หรือมองในมุมของเศรษฐกิจเทียบเท่ากับเม็ดเงินลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเลยทีเดียว 

แล้วทุกวันนี้คนไทยมองการซื้อลอตเตอรี่หรือการเล่นหวยอย่างไร เสียงสะท้อนจากสื่อโซเชียลส่วนใหญ่และผลสำรวจ พบว่าร้อยละ 55 มองหวยเป็นความฝันและความหวังที่ทำให้รวยและมีความเป็นอยู่ที่ดี แต่จาก สถิติชี้ว่าโอกาสที่จะรวยจากการถูกรางวัลนั้นน้อยมากไม่ว่าเป็นลอตเตอรี่หรือหวย โดยคนคาดหวังว่าจะถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ 1 มีอยู่ 44% แต่โอกาสถูกจริงเน้นว่าเป็นเพียง 1 ในล้าน ส่วนด้านคนเล่นหวยคาดว่าจะถูก 2-3 ตัวบนล่างมีอยู่ถึง 78% แต่โอกาสถูกจริงคิดเป็น 0.4-2% เท่านั้น

นอกจากนี้ข้อมูลจาก Google Trend ยังชี้ว่าในช่วง 15  ปีที่ผ่านมาคนไทย search คำว่า “เลขเด็ด” ซึ่งเป็นคำที่ฮิตทั่วไทยเพิ่มขึ้นถึงปีละ 18% ขณะที่การ search คำว่า “ฝากเงิน”เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียงปีละ 9% และกระจุกอยู่แค่หัวเมืองเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับข่าวที่ได้ยินเสมอว่าถ้ามีเลขเด็ดแพร่สะพัดไปเมื่อไรละก็ ทั่วทั้งประเทศแผงไหนๆ จังหวัดไหนก็ขายหมด และไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรคนไทยก็ยังคงเสพติดหวยอย่างสม่ำเสมอ บ่งชี้จากในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในปี 2552 รายจ่ายในการซื้อลอตเตอรี่และหวยของคนไทยอยู่ที่  340 บาทต่อเดือนหรือคิดเป็น 2.1% ต่อรายได้ทั้งหมด เทียบกับในช่วงที่เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวในปี 2560 รายจ่ายในด้านนี้อยู่ที่  452 บาทต่อเดือน หรือคิดเป็น 2.1% ต่อรายได้ทั้งหมด ซึ่งตอกย้ำความเชื่อที่ว่าหวยเป็นความหวังที่ทำให้รวยและมีชีวิตที่ดีขึ้น แม้ในสถานการณ์ที่รายได้ตกต่ำควรเก็บเงินเพื่อใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น แต่ก็ยังต้องการเสี่ยงโชคแทงหวย หรือหวยจะมีบทบาทกลายเป็นสินค้าจำเป็นตามหลักเศรษฐศาตร์เข้าไปทุกที

เมื่อเจาะลึกถึงหน้าตาผู้ซื้อลอตเตอรี่หรือหวยเป็นอย่างไร เราพบว่าความเชื่อที่ว่าคนรายได้น้อยเท่านั้นที่เล่นหวย ส่วนคนรวยเล่นหุ้นนั้นไม่จริง จากสถิติและผลสำรวจพบว่า คนไทยไม่ว่าจะรายได้มากหรือน้อยก็เล่นหวยทั้งนั้น โดยกลุ่มคนที่มีรายได้สูงกว่า 15,000 บาทต่อเดือน มีการซื้อลอตเตอรี่และหวยเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 680 บาท คิดเป็น 1.2% ของรายได้ ซึ่งมากกว่ากลุ่มคนที่มีรายได้น้อยกว่า 15,000 บาทต่อเดือนที่เฉลี่ยอยู่ที่ 350 บาท คิดเป็น 2.2% ของรายได้

และไม่ว่าจะอายุมากหรือน้อย ก็เล่นหวยทั้งนั้น แต่หนักไปที่คนวัยสร้างครอบครัว ส่วนใหญ่เป็นมนุษย์เงินเดือนและเจ้าของกิจการ แถมเริ่มเล่นหวยตั้งแต่อายุยังน้อย จากสถิติและผลสำรวจชี้ว่า กลุ่มคนวัยสร้างครอบครัว (อายุ 35-55 ปี) หรือมีภาระรับผิดชอบเยอะ เป็นกลุ่มที่ซื้อลอตเตอรี่และเล่นหวยหนักที่สุดเฉลี่ยเดือนละ 500 บาท มากกว่าวัยทำงานและวัยเกษียณที่เฉลี่ยต่อเดือนราว 400 บาท โดยส่วนใหญ่เป็นมนุษย์เงินเดือนและเจ้าของกิจการ อย่างไรก็ตาม สถิติและผลสำรวจยังชี้ถึงประเด็นที่น่าตกใจว่า  10% ของจำนวนนักเรียนและนักศึกษาเล่นหวย โดยซื้อหวยต่อเดือนเฉลี่ยประมาณ 187 บาท เรียกว่าเริ่มเล่นหวยกันตั้งแต่ยังไม่มีรายได้ สาเหตุที่ซื้อเพราะมีแรงจูงใจมาจากผู้ปกครองและคนรอบข้าง และสื่อโซเชียล 

ทุกวันนี้มนุษย์เงินเดือนและเจ้าของธุรกิจเสพติดการเล่นหวยอยู่ในระดับใด?  ที่เราเซอร์ไพรส์คือ 50% ของมนุษย์เงินเดือนและเจ้าของธุรกิจ หรือประมาณ 12 ล้านคนเล่นหวย  โดยหากแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามลักษณะการเล่นหวย เราพบว่า  26%       “เล่นขำๆ” คือ เล่นสนุกไม่จริงจัง มีความสุขจากการได้หวังเงินรางวัล 63% “ชอบหวย” เพราะชอบลุ้นหรือเสี่ยงโชค มีความสุขจากการได้หวังเงินรางวัล และที่น่าสนใจคือ 11% “ติดหวย” ชอบลุ้นหรือเสี่ยงโชค มองว่ามูลค่าของเงินรางวัลสูงยังไงก็คุ้มกับเงินที่ซื้อหวย จึงซื้อแบบไม่ได้คิด  ทั้งนี้เราอาจสรุปได้ว่า มนุษย์เงินเดือนและเจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่ หรือราว 9 ล้านคน ชอบลุ้นรางวัลไปจนถึงเสี่ยงโชคเพื่อรวยขึ้น

เมื่อเจาะลึกถึงพฤติกรรมการซื้อหวยของกลุ่มคน “ชอบหวย” พบว่ากว่า 80% ซื้ออย่างน้อยเดือนละครั้ง เฉลี่ยเดือนละ 420 บาท และซื้อเพิ่มขึ้นจากครั้งแรกของการเล่นหวยราว 18%  ยิ่งไปกว่านั้น เราพบว่า กลุ่มคน “ติดหวย” จะซื้อทุกงวด หรือ 24 ครั้งต่อปี  จ่ายค่าหวยมากกว่ากลุ่ม “ชอบหวย”ถึงสองเท่า แถมยังซื้อเพิ่มขึ้นจากครั้งแรกถึง 26% ทั้งนี้หากกลุ่มคนเหล่านี้ซื้อหวยต่อเนื่อง 50 ปี  สิ่งที่พวกเขาเสียไปเทียบเท่าได้กับ รถยนต์ City Car หรือบ้านถึง 1 หลัง เลยทีเดียว สะท้อนให้เห็นว่า หวย คือความฝันที่แลกด้วยเงินล้านของคนไทยจริงๆ

นอกจากนี้เราได้เจาะลึกไปถึงสาเหตุของพฤติกรรม โดยพบว่า ทั้งคน “ชอบหวย” และคน “ติดหวย” มองเงินที่ซื้อหวยเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องมี เพราะชอบเสี่ยงโชค แต่ต่างกันตรงที่ คน “ชอบหวย” มีการวางแผนทางการเงิน  โดยกันเงินเพื่อซื้อหวย ในขณะที่คน “ติดหวย” ซื้อหวยแบบไม่ได้คิด คือ หากได้เงินมาก็ใช้ซื้อหวยทันที และอาจยอมลดเงินซื้อหวยส่วนหนึ่งเท่านั้น และเพื่อทำความเข้าใจมากขึ้น เราพบว่า คน “ติดหวย” จะนำเงิน(ถ้าถูกรางวัล) จ่ายหนี้  ต่างจากคน “ชอบหวย” ที่เก็บไว้ใช้ในยามจำเป็น และให้ครอบครัว จึงเป็นข้อยืนยันว่า หวยคือความหวังที่ช่วยปลดล็อดให้มีความเป็นอยู่ที่ดี

อย่างไรก็ตาม จากผลสำรวจสัดส่วนในการออมเงิน คน “ชอบหวย” ส่วนใหญ่ราว 66% มีเงินออมเฉลี่ยมากกว่า 5,000 บาท ขณะที่เงินออมเฉลี่ยต่อเดือนของคน “ติดหวย” นั้นส่วนใหญ่น้อยกว่า 5,000 บาท

โดยสรุปแล้ว มนุษย์เงินเดือนและเจ้าของธุรกิจ ที่    “ชอบหวย” และ “ติดหวย” หากนำเงินเหล่านี้ไปออมเพิ่มขึ้น หรือลงทุนในทางเลือกอื่น ที่มีผลตอบแทนและความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึง โปร่งใส รวมถึงการมีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ จะทำให้มีรายรับเพิ่มขึ้น และอาจนำไปใช้จ่ายสิ่งจำเป็น เช่น ประกันสุขภาพ รถยนต์ หรือ บ้าน ได้โดยไม่ต้องหวังลุ้นเสี่ยงโชคทุกวันที่ 1 และ 16 ของแต่ละเดือนอีกต่อไป ¾

“ศูนย์ Customer Insights by TMB Analytics เป็นศูนย์วิเคราะห์มุมมองใหม่ๆ ด้านการพฤติกรรมทางการเงิน เพื่อสร้างการตระหนักรับรู้ ความเข้าใจ เพื่อนำไปสู่การวางแผนการเงินส่วนบุคคลให้เหมาะสมยิ่งขึ้น” นำเสนอผลการศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงินของคนไทยตลอดเส้นทางทั้งการออม การใช้จ่าย การลงทุน ตลอดจนการป้องกันความเสี่ยง ซึ่งสามารถสะท้อนอะไรหลายๆ อย่างเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมในด้านต่างๆ

X

Right Click

No right click