ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดตัว DAPBot (แดปบอท) แพลตฟอร์มสนับสนุนการจำแนกศัตรูพืชและการเข้าถึงชีวภัณฑ์เกษตร ในรูปแบบ Line Official เพื่อให้เข้าถึงการใช้งานโดยง่ายของเกษตรกร

เป็นแพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อระหว่าง 3 หัวใจหลัก (เกษตรกร นักวิชาการ และผู้ผลิตชีวภัณฑ์) เป็นผู้ช่วยส่วนตัวเกษตรกรในไลน์ เพียงแค่กดเพิ่มเพื่อน โดย DAPBot จะให้บริการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของพืช ทั้งปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืชต่าง ๆ พร้อมรวบรวมกลุ่มผู้ผลิตชีวภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมาตรฐานจากทั่วประเทศ รวมถึงยังให้บริการตรวจวัดสภาพอากาศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานชีวภัณฑ์ นอกจากนี้ยังเป็นระบบที่เผยแพร่ความรู้และแจ้งเตือนการระบาดของศัตรูพืช ช่วยให้เกษตรกรสามารถวินิจฉัยปัญหาในแปลงเกษตรได้อย่างตรงจุด เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดใช้สารเคมี เสริมสร้างความเข้มแข็งการใช้ชีวภัณฑ์ในประเทศอย่างยั่งยืน ยกระดับภาคเกษตรไทยเป็นเกษตรปลอดภัยตามนโยบาย BCG

 

ดร.อลงกรณ์ อำนวยกาญจนสิน หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ ไบโอเทค สวทช. ผู้พัฒนาระบบ DAPBot กล่าวว่า จากการถอดบทเรียนการทำงานของทางห้องปฏิบัติการและออกเผยแพร่ในแปลงทดสอบร่วมกับเกษตรกรในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย ทำให้ทีมวิจัยเราพบว่า ปัญหาหลักหนึ่งคือ เกษตรกรเข้าถึงเชื้อชีวภัณฑ์ที่มีคุณภาพได้จำกัดมาก ไม่ว่าจะเป็นแหล่งที่ซื้อ ซื้อที่ไหน ซื้อออนไลน์ได้ไหม หรือพอซื้อแล้วกลับได้ชีวภัณฑ์ปลอมเป็นน้ำผสมสี นำไปใช้แล้วไม่ได้ผล ทำให้มุมมองต่อการใช้ชีวภัณฑ์ติดลบ ไม่ใช้แล้ว กลับไปใช้สารเคมีดังเดิมดีกว่า และอีกหนึ่งปัญหาหลักคือ เกษตรกรมักมีความเข้าใจผิดค่อนข้างมากว่า สิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นเกิดจากแมลง แท้จริงแล้วเกิดจากเชื้อรา จึงใช้ยาไม่ถูกโรคเสียที เพิ่มการใช้สารเคมีมากขึ้นหรือใช้ชีวภัณฑ์ไม่ได้ผลอย่างที่ต้องการ เหตุผลเหล่านี้คือที่มาหลักในการพัฒนา DAPBot ขึ้นมา

DAPBot เป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมชีวภัณฑ์ในประเทศไทยไว้ โดยเฉพาะชีวพันธุ์ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานจากผู้ประกอบการไทย คือได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจาก สวทช. และได้รับการขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร โดย DAPBot จะเป็นตัวช่วยส่วนตัวของเกษตรกรในการตอบคำถามความผิดปกติของพืช ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโรคพืชแมลง เรื่องปุ๋ย เรื่องสภาพอากาศ เรื่องน้ำ แล้วยังมีการรวบรวมแอปพลิเคชัน ที่ช่วยตอบคำถามเรื่องสภาพอากาศ เพราะการจะใช้ชีวภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด หนึ่งจะต้องมีคุณภาพ สองใช้ให้ถูกโรคถูกแมลง และสามต้องตรวจสอบสภาพอากาศก่อนใช้งาน เช่น ถ้าใช้ก่อนฝนตกหนัก ชีวภัณฑ์จะหายไปหมดไม่ได้คุณภาพ หรือถ้าจะใช้วันนี้อากาศร้อนมากแต่พรุ่งนี้ฝนตก ให้รอใช้พรุ่งนี้ดีกว่า เป็นต้น

ด้าน น.ส.เชษฐ์ธิดา ศรีสุขสาม ผู้ช่วยวิจัยทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ ไบโอเทค สวทช. กล่าวเสริมว่า ทีมวิจัยมุ่งมั่นให้ DAPBot เป็นระบบที่ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน เกิดการอัพสกิลด้วยตัวเอง เช่น เมื่อเจออาการแบบนี้ส่งมาถามในแชทได้ความรู้ที่ถูกต้อง เกษตรกรจะเริ่มจำได้ในคราวต่อไป และทางทีมมีแผนจะรวบรวมภาพที่เกษตรกรส่งมานำไปทำ AI Training เพื่อที่ว่าต่อไปเมื่อเกษตรกรสอบถามมาจะได้คำตอบเร็วขึ้น ไม่ต้องรอผู้เชี่ยวชาญตอบ และจากที่ต้องรอสองชั่วโมงจะเหลือแค่หนึ่งวินาที เป็นต้น นอกจากนี้ DAPBot ยังนับเป็นช่องทางให้ผู้ผลิตชีวภัณฑ์ที่มีคุณภาพของประเทศไทยได้มาเจอกันกับลูกค้าที่เป็นกลุ่มผู้ใช้งานโดยตรงคือเกษตรกร ซึ่งผู้ใช้งาน DAPBot จะไม่ได้จำกัดเพียงแค่เกษตรกรในกลุ่มเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัยเท่านั้น แต่เกษตรทั่วไปที่อยากหันมาใช้ชีวภัณฑ์ในช่วงที่แมลงไม่ได้ระบาดมาก สามารถใช้ได้ หรือเกษตรกรตามบ้านที่ปลูกผักปลูกกุหลาบ ไม่อยากซื้อยามาฉีด อยากใช้ชีวภัณฑ์ก็ได้เช่นกัน โดย DAPBot นับเป็นตัวเชื่อมให้กลุ่มผู้ใช้งานและกลุ่มผู้ใหบริการชีวภัณฑ์ได้มาเจอกันนั่นเอง

ทั้งนี้ DAPBot จะมีแอดมินที่เป็นทีมวิจัยซึ่งมีความรู้เรื่องโรคและแมลงคอยดูแลตอบคำถามอยู่ และพร้อมส่งต่อคำถามให้ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัยหรือนักวิชาการเกษตร โดย DAPBot ตั้งใจทำถึง ทำมาก ด้วยความพยายามตอบทุก ๆ คำถามไม่เกิน 24 ชั่วโมง ผู้สนใจใช้งาน เพียงแค่แอดไลน์ @dapbot สามารถเริ่มใช้งานได้ทันที โดยทีมวิจัยคาดหวังว่าระบบนี้จะสามารถเป็นผู้ช่วยของเกษตรกรและเป็นประโยชน์สนับสนุนให้เกิดการใช้ชีวภัณฑ์เป็นวงกว้างและยั่งยืนต่อไป

สำหรับเกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องที่สนใจ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทาง กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีไบโอรีไฟเนอรีและชีวภัณฑ์ ไบโอเทค สวทช. โทร. 02-5646700 ต่อ 3378, 3364 อีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. และช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ Facebook Page: ชีวภัณฑ์ไบโอเทค เพื่อผักผลไม้ปลอดภัย Blockdit: ชีวภัณฑ์ไบโอเทค เพื่อผักผลไม้ปลอดภัย X (Twitter): Green Crop Defender @GCD_Squad และ TikTok: ชีวภัณฑ์ไบโอเทค

กรุงเทพฯ 15 กุมภาพันธ์ 2567 - บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมกับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ช่วยสนับสนุนสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงด้วยการเพิ่มช่องทางการกระจายสินค้า รับซื้อหอมแดงจากเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาสมนาคุณลูกค้า โดยสมาชิกบางจากกรีนไมลส์ เติมน้ำมันทุกชนิดตั้งแต่ 300 บาทขึ้นไป รับฟรีหอมแดง 1 มัด ขนาด 250 กรัมมูลค่า 20 บาท ตั้งแต่วันที่ 16 - 18 กุมภาพันธ์ 2567 หรือจนกว่าของจะหมด ที่สถานีบริการน้ำมันบางจากและสถานีบริการน้ำมันเอสโซ่เดิม ในเขตกรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ ที่ร่วมรายการ ดูรายละเอียดได้ที่ www.bcpgreenmiles.com

บางจากฯ ได้ร่วมช่วยเหลือชุมชนเกษตรกรมาอย่างต่อเนื่องด้วยการคัดสรรผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากผลผลิตทางการเกษตร เช่น กล้วยหอมทองกวน เผือกอบกรอบ ลูกหยีกวน กล้วยอบกรอบ ลูกไหนอบแห้ง เป็นต้น มาเป็นของสมนาคุณลูกค้า และร่วมมือกับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ รับซื้อผลผลิตที่ออกมาพร้อมกันจำนวนมากตามฤดูกาล เช่น ส้ม มะนาว ไข่ไก่ มังคุด สับปะรด ลำไย มะม่วง เป็นต้น ฯลฯ เพื่อร่วมดูดซับผลผลิตและพยุงราคา นำมาเป็นของสมนาคุณลูกค้า ซึ่งนอกจากได้ช่วยสร้างงานสร้างรายได้ให้ชุมชนเกษตรกรแล้ว ยังสามารถช่วยค่าครองชีพให้ผู้บริโภคได้อีกทางหนึ่งด้วย บางจากฯ ดำเนินงานไปพร้อมกับการดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคม ด้วยแนวคิด Greenovative Destination ของสถานีบริการน้ำมันบางจากที่มีเป้าหมายให้ผู้บริโภคได้ใช้พลังงานคุณภาพสูงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์ความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน เป็นจุดหมายของการแบ่งปันและสร้างสรรค์สังคมไทยที่น่าอยู่

 

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics คาดการปรับเพิ่มราคาน้ำตาลทราย ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อภาคครัวเรือน และผู้ประกอบการรายย่อยที่มีข้อจำกัดในการขึ้นราคาสินค้า พร้อมสนับสนุนมติภาครัฐที่เห็นชอบให้น้ำตาลทรายกลับเป็นสินค้าควบคุมราคา พร้อมเน้นสนับสนุนให้เกษตรกรไร่อ้อย และผู้ผลิตน้ำตาล เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและลดต้นทุน หรือมาตรการลดภาษีให้ผู้ผลิต มากกว่าการเพิ่มราคาที่จะส่งผลกระทบต่อภาคประชาชน

เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ได้ออกประกาศเรื่อง ราคาน้ำตาลทรายภายในราชอาณาจักร เพื่อใช้ประกอบในการคำนวณราคาอ้อยและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย ประจำฤดูการผลิตปี 2566/2567 โดยมีผลทำให้ราคาน้ำตาลทรายขาวเพิ่มขึ้นจาก 19 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 23 บาทต่อกิโลกรัม และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์จากเดิมกิโลกรัมละ 20 บาทเพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 24 บาท ส่งผลให้ราคาขายปลีกที่ประชาชนต้องใช้จ่ายเพื่อการบริโภคหรือเพื่อเป็นวัตถุดิบปรับเพิ่มขึ้นสูงจาก 24-25 บาทต่อกิโลกรัม เพิ่มเป็น 28-29 บาทต่อกิโลกรัม หรือคิดเป็นการปรับเพิ่มขึ้นเกือบ 17%

ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำตาลทรายย่อมส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่มีการใช้น้ำตาลทรายเป็นวัตถุดิบทางตรง เช่น อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม และ อุตสาหกรรมของหวานและเบเกอรี รวมถึงกลุ่มที่ใช้น้ำตาลทรายเป็นวัตถุดิบทางอ้อมในลักษณะเครื่องปรุงรส เช่น ผู้ประกอบการร้านอาหาร โดย ttb analytics ได้ประเมินว่าการที่น้ำตาลทรายขึ้นราคาส่งผลกระทบค่อนข้างจำกัด โดยกำไรขั้นต้น (กำไรที่ยังไม่หักต้นทุนการขาย การดำเนินการ และต้นทุนทางการเงินอื่น) ของกลุ่มเครื่องดื่ม เช่น ผลิตภัณฑ์นม และน้ำอัดลม อัตรากำไรขั้นต้นจะลดลง 1.2% และ 2.6% ตามลำดับ ในส่วนกลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมหวาน กำไรขั้นต้นลดลง 0.5%-3% ขึ้นอยู่กับสัดส่วนการใช้น้ำตาลทรายในขนมหวานแต่ละประเภท ในขณะที่ผู้ขายอาหารตามสั่ง พบพื้นที่กำไรขั้นต้นลดลง 0.4%-0.6% อย่างไรก็ตาม พื้นที่กำไรที่ลดจากผลกระทบของราคาน้ำตาลทรายที่ปรับเพิ่มขึ้นไม่ได้เกิดจากกลไกของราคาแต่มาจากนโยบายภาครัฐ จึงอาจไม่เป็นธรรมกับฝั่งของผู้ประกอบการที่กำไรลดลง ส่งผลให้ผู้ประกอบการบางส่วนอาจมีการส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นผ่านการขึ้นราคาสินค้าซึ่งอาจกระทบกับภาคประชาชนและผู้ประกอบการที่มีข้อจำกัดในการขึ้นราคา ttb analytics ได้แบ่งผลกระทบจากการขึ้นราคาน้ำตาลทรายโดยมีรายละเอียดดังนี้

1) ประชาชนและภาคครัวเรือน อาจต้องรับภาระที่ค่าครองชีพปรับเพิ่มสูงขึ้น สืบเนื่องจากการขึ้นราคาน้ำตาลทรายครั้งนี้กระทบต่อต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการ และด้วยสาเหตุหลักไม่ได้เกิดจากกลไกราคาแต่เกิดจากที่มีประกาศให้ขึ้นราคาตามตลาดโลก จึงมีความเป็นไปได้ที่กลุ่มผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ผลิตเครื่องดื่มที่ผู้ประกอบการรายใหญ่มีบทบาทสูงสะท้อนผ่านสัดส่วนรายได้สูงถึง 98% ของมูลค่าตลาด รวมถึงช่องทางจำหน่ายผ่านร้านสะดวกซื้อที่ครอบคลุมทั่วประเทศ ทั้งนี้ ราคาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มมักขึ้นราคาเป็น บาท/หน่วย และ การที่ราคาเครื่องดื่มตามร้านสะดวก

ซื้อทั่วไปมีการปรับเพิ่มขึ้น 1 บาท หมายถึงรายรับของผู้ประกอบการจะเพิ่มขึ้นที่ 5-10% ส่งผลให้ในกลุ่มผู้ประกอบการที่ส่งผ่านราคาได้ มีกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นประมาณ 3.4% - 6.5% จากราคาที่ปรับเพิ่ม รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารขนาดเล็กที่มีความได้เปรียบในทำเลอาจส่งผ่านราคา โดยตามธรรมชาติการเพิ่มราคาของผู้ประกอบการกลุ่มนี้จะเพิ่มราคาต่อเมนูขั้นต่ำที่ 5 บาท ส่งผลต่อรายรับที่อาจสูงขึ้นราว 10 % ส่งผลให้ร้านอาหารที่ขึ้นราคาได้กำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นราว 5.6% รวมถึงโดยธรรมชาติของสินค้าบริโภคขั้นสุดท้ายราคาจะมีความหนืด (Price Rigidity) ในการปรับราคาลง

2) ธุรกิจ SMEs รายย่อย เช่น ผู้ประกอบการอาหาร และขนมหวานรายย่อย แม้พื้นที่กำไรอาจไม่ส่งผลกระทบมากแต่ด้วยปริมาณการขายที่ไม่สูงมากนักส่ง ผลให้มีความกังวลว่าถ้าขึ้นราคาอาจส่งผลต่อยอดขาย ตัวอย่างเช่น กลุ่มผู้ประกอบการที่มีรายได้ประมาณ 2,000 บาทต่อวัน กำไรขั้นต้นของร้านอาหาร และ ผู้ผลิตของหวานจะอยู่ที่ราว 800 – 830 บาท ซึ่งเมื่อหักค่าใช้จ่ายอื่น เช่น ค่าแรงงาน ค่าเช่า พื้นที่กำไรที่เหลืออาจค่อนข้างจำกัดเพื่อใช้ยังชีพและเลี้ยงดูครอบครัว แต่เมื่อมีปัจจัยเรื่องต้นทุนจากราคาน้ำตาลทรายที่เพิ่มขึ้น กดดันให้กำไรขั้นต้นของผู้ประกอบการกลุ่มนี้ลดลงเหลือ 790 – 810 บาทต่อวัน และด้วยรายได้ที่แต่เดิมจำกัดในการยังชีพ เมื่อประสบภาวะต้นทุนที่ปรับเพิ่มจากราคาน้ำตาลทรายที่แม้ไม่สูงมาก แต่อาจส่งผลให้รายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพและเลี้ยงดูครอบครัวได้

โดยสรุป การประกาศขึ้นราคาน้ำตาลทรายอาจส่งผลดีต่อผู้ผลิตน้ำตาลทราย เกษตรกรชาวไร่อ้อย และ ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการส่งผ่านราคา แต่ผลดีดังกล่าวถูกดึงมาจากภาคครัวเรือน และ ผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่สามารถส่งผ่านราคาได้ ประกอบกับเหตุผลของการขึ้นราคาน้ำตาลทรายในครั้งนี้ตามที่ สอน. ให้เหตุผลว่าปรับตามราคาตลาดโลก ก็ต้องมองย้อนกลับไปที่สาเหตุว่าเพิ่มขึ้นจากการที่อินเดียระงับการส่งออกน้ำตาลทรายจากผลผลิตที่ลดลง เพื่อใช้บริโภคในประเทศและไม่ให้กระทบความเป็นอยู่ของภาคประชาชน แต่ในทางกลับกัน การปรับเพิ่มราคาขายในประเทศจะกลายมาเป็นภาระต้นทุนให้กับภาคประชาชนมากกว่ากรณีของอินเดียที่ประกาศขยายการควบคุมการส่งออกน้ำตาลทรายเพื่อควบคุมราคาภายในประเทศ ด้วยเหตุนี้ทาง ttb analytics จึงสนับสนุนมติ ครม. ที่เห็นชอบให้น้ำตาลทรายกลับเป็นสินค้าควบคุม และเสนอเรื่องการช่วยเหลือผู้ผลิตน้ำตาลทราย เกษตรกรชาวไร่อ้อย อาจใช้เรื่องของการให้เงินสนับสนุน เพื่อลดต้นทุนให้กับเกษตรกรไร่อ้อยหรือมาตรการลดภาษีให้กับผู้ผลิตน้ำตาลทราย แทนที่จะขึ้นราคาสินค้าที่อาจส่งผลกระทบในวงกว้าง

ตลาดไอศกรีมผลไม้ไทยรับอานิสงค์โลกร้อน แม็คซ์ฟู๊ด กรุ๊ป เผยต่างชาติติดใจไอศกรีมผลไม้ไทย ทั้งยุโรป เอเชีย ออสเตรเลีย แห่ออเดอร์เพิ่มไม่หยุด ล่าสุดทุ่ม 50 ล้าน เร่งลงทุนขยายโรงงาน เพิ่มกำลังการผลิต พร้อมคุยเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้คุณภาพเตรียมส่งตรงเข้าโรงงาน เพื่อเป็นวัตถุดิบการผลิตเพิ่ม 1 หมื่นตัน ล่าสุดดัน โมจิ ไอศกรีม เจาะตลาดต่างประเทศรอบใหม่ คาดปีนี้กวาดรายได้ 500 ล้านบาท

นายฐานพงศ์ จุ้ยประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แม็คซ์ฟู๊ด กรุ๊ป จำกัด กล่าวถึงความสำเร็จหลังเปิดตัวไอศกรีมในลูกผลไม้ในปีที่ผ่านมา (2565) ว่า ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากทำยอดขายได้สูงถึง 330 ล้านบาท จากที่ตั้งเป้าไว้ 250 ล้านบาท จากปัจจัยของตลาด การบริโภค และการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวหลังโควิดที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยนอกจากคู่ค้าเดิมจากประเทศเกาหลีที่มีการออเดอร์เพิ่มขึ้นแล้ว ยังได้ลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นในหลายประเทศไม่ว่าจะเป็นลูกค้าในฝั่งยุโรปอย่างฝรั่งเศส ออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และจีน ซึ่งต่างมีการสั่งสินค้าโดยเฉพาะไอศกรีมในกลุ่มไอศกรีมซอร์เบในลูกผลไม้ที่มีสัดส่วนสูงถึง 90% โดยส่วนใหญ่นำไปจำหน่ายทั้งในร้านอาหาร คาเฟ่ บาร์ โรงแรมและซูเปอร์มาร์เก็ต นอกจากนั้นยังเกิดจากเอกลักษณ์ของรสชาติความอร่อยของผลไม้ไทย ที่เมื่อนำมาแปรรูปเพิ่มมูลค่าด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเฉพาะของ แม็คซ์ฟู๊ด กรุ๊ป จนกลายเป็นไอศกรีมผลไม้ ทำให้ถูกปากถูกใจคนทั่วโลก

จากการขยายตลาดเพิ่มในหลายประเทศและคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ทางบริษัทฯ มีการขยายโรงงานที่ อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต โดยใช้เงินลงทุนครั้งนี้กว่า 60 ล้านบาท ทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิมเดือนละ 60 ตู้คอนเทนเนอร์ เป็น 80 ตู้คอนเทนเนอร์ (1 ตู้คอนเทนเนอร์ ประมาณ 25,000 ชิ้น) คาดว่าเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าและการขยายตลาดในอนาคต

ส่วนอีกปัจจัยที่ต้องมีการวางแผนอย่างดี คือ ผลไม้ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตหลัก โดยบริษัทฯ ได้มีการพูดคุยและประกันราคาให้กับเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรในการผลิตผลไม้คุณภาพเพื่อป้อนเข้าสู่โรงงาน ซึ่งปีนี้ได้เตรียมสต๊อกผลไม้เพื่อเข้าไลน์ผลิตไว้สูงถึง 1 หมื่นตัน ส่วนผลไม้หลักที่เราต้องการจะเป็นสับปะรด 95% นอกจากนั้นจะเป็นเสาวรส แตงโม มะพร้าว มะม่วง และแก้วมังกร แผนงานดังกล่าวนอกจากจะเป็นผลดีกับโรงงานที่จะไม่ขาดวัตถุดิบสำคัญแล้ว ยังส่งผลดีและเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรโดยตรง ไม่เกิดภาวะผลไม้ล้นตลาด หรือผลผลิตถูกกดราคา เพราะหากผลผลิตเป็นไปตามมาตรฐานของโรงงานเราสามารถรับซื้อไว้ได้ทั้งหมด

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของ แม็คซ์ฟู๊ด กรุ๊ป มีทั้งหมด 3 กลุ่ม ประกอบด้วย

กลุ่มไอศกรีมซอร์เบในลูกผลไม้

กลุ่มไอศกรีมผลไม้แท่ง

และกลุ่มโมจิ ไอศกรีม โดยมีจุดเด่นของผลิตภัณฑ์อยู่ที่การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการพัฒนาเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลไม้ไทยให้เป็นไอศกรีมซอร์เบผลไม้แท้ รสชาติดี ที่สามารถบรรจุลงในผลไม้สดได้เก็บได้นานถึง 2 ปี ในอุณหภูมิ -25 องศา ปลอดภัยและปลอดเชื้อ ทำให้สามารถผ่านมาตรฐานอาหารได้รับอนุญาตให้นำเข้าและจัดจำหน่ายได้ในหลายประเทศ

โดยปีนี้ทางบริษัทฯจะนำโมจิไอศกรีมกลับมาทำตลาดอย่างจริงจังมากขึ้น หลังจากการศึกษาและทดลองตลาด โดยนำเสนอลูกค้าต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มยุโรปพบว่ามีความสนใจ โมจิ ไอศกรีม เป็นอย่างมาก เพราะเป็นมิติใหม่ของการกินไอศกรีมที่มีรูปแบบซับซ้อนขึ้น ด้านนอกเป็นแป้งสูตรเฉพาะที่ทางแม็คซ์ฟู๊ด กรุ๊ป คิดค้นขึ้นและ ผลิตด้วยเครื่องจักรที่ถูกออกแบบพิเศษจากประเทศญี่ปุ่นต้นตำหรับของขนมโมจิ สอดไส้ด้วยไอศกรีมผลไม้ไทยที่ให้ความสดชื่น โดย โมจิ ไอศกรีม ที่เราผลิตมีทั้งหมด 13 รสชาติ ประกอบด้วย รสงาดำ, วานิลลา, มะม่วงเชอร์เบท, สตรอเบอร์รี่เชอเบท, ช็อคโกแลต, ชาเขียว, มะพร้าว, เผือก, มะม่วงเบสกะทิ, มะนาว, เมล่อน, ลาเต้ และ เสาวรสเชอร์เบท

ด้านการจัดจำหน่ายนั้น ขณะนี้เริ่มส่งออกและวางจำหน่ายไปแล้วในบางประเทศ อาทิ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย เกาหลี จีน โดยผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายในประเทศโซนยุโรปจะเน้นความเป็นสินค้าสุขภาพ เป็น Vegan เนื่องจากกลุ่มลูกค้าเป็นมังสวิรัติเยอะ รสชาติที่นิยมจะเป็นรสงาดำ แต่ในฝั่งเอเชียอย่างเกาหลีหรือจีนนั้น จะนิยมผลิตภัณฑ์ที่ให้ความสดชื่น ทานง่าย รูปแบบผลิตภัณฑ์มีความสวยงาม ทานแล้วถ่ายรูปโชว์ได้

ส่วนแผนการตลาดในปีนี้ ยังคงเน้นการขยายตลาดเพิ่มในประเทศฝั่งตะวันออกกลาง ยุโรป และอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ โดยส่งทีมการตลาดลงพื้นที่เพื่อศึกษาและเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม ตรงกับรสนิยม และความชอบของคนแต่ละประเทศ นอกจากนั้นในบางประเทศอย่างประเทศเกาหลีที่แต่เดิมจะเน้นขายกลุ่ม B2B ก็จะเปิดตลาดในกลุ่ม B2C ที่เป็นรีเทล ซุปเปอร์มาร์เก็ต อาทิ Costco, GS25, 7-ELEVEN มากขึ้น รวมถึงร่วมจัดแสดงสินค้าในงานแสดงสินค้าใหญ่ๆ อย่าง THAIFEX – Anuga Asia 2023 ซึ่งคาดว่าจะได้รับความสนใจจากลูกค้าที่มาจากประเทศใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น สำหรับเป้ารายได้รวมในปีนี้คาดว่าจะเติบโตได้ถึง 500 ล้านบาท

เราเป็นกลุ่มชาวสวนทุเรียนขนาดเล็ก ในจังหวัดระยอง ที่ผ่านมา ก็ต่างคนต่างขาย โดยมีพ่อค้าคนกลางเข้ามารับซื้อ หรือขายเองที่หน้าสวน บางครั้งมาส่งขายที่ตลาดผลไม้ หลายครั้งระบายผลผลิตไม่ทัน ราคาตก แต่เมื่อรวมกลุ่มกับเกษตรกรรายเล็กด้วยกัน แล้วนำผลผลิตมาจำหน่ายที่แม็คโคร ก็ทำให้เราพบความแตกต่าง

นี่เป็นเสียงบอกเล่าของ  “ธันยาภัทร์ ศิริณทิพย์”  เจ้าของสวนทุเรียนในจังหวัดระยอง  ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรขนาดเล็ก ที่ได้พบโอกาสในการกระจายผลผลิตทุเรียนคุณภาพ สู่ตลาดค้าส่งอย่าง “แม็คโคร”

“เมื่อปีที่แล้ว เรารวมกลุ่มเกษตรกรในท้องถิ่น เพื่อนำผลผลิตมาจำหน่ายที่แม็คโคร ซึ่งเปิดโอกาสให้เรานำผลผลิตคุณภาพ โดยคัดเกรดทุเรียนระดับพรีเมียม สดจากสวน มาส่งตรงถึงมือผู้บริโภค กลุ่มเกษตรกรของเราเป็นพี่น้องชาวสวนขนาดเล็กที่มีพื้นที่เพาะปลูกรายละ 10 – 20 ไร่ แม็คโครทำให้เรามีช่องทางในการกระจายผลผลิตมากขึ้น ผลผลิตก็ได้ราคาดี เพราะไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง  ส่วนผู้บริโภค ได้เข้าถึงผลไม้คุณภาพดี ในราคาไม่แพง”

แม็คโครได้ทำงานใกล้ชิดกับเกษตรกร ตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อให้ได้ทุเรียนที่มีคุณภาพดี โดยมีมาตรฐานการรับซื้อจากกำหนดการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ระดับความแก่ 80% ขึ้นไป เพื่อให้มีรสชาติดี ซึ่งทุเรียนที่ขายผ่านสาขาของแม็คโครจะมีหลายรูปแบบ ทั้งแบบชั่งกิโล แกะเนื้อ และบรรจุในแพ็คเกจ สร้างผลตอบแทนที่ดี รวมถึงสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกรหลายคน 

ทุกวันนี้ ทุเรียนคุณภาพดีจากสวนของ “ธันยาภัทร์” เป็นหนึ่งในทุเรียนจากหลายสวนของเกษตรกรทีจำหน่ายอยู่ในสาขาของแม็คโคร  ซึ่งในยามนี้เป็นหนึ่งในสินค้าขายดี ที่ได้รับการตอบรับจากลูกค้าผู้ประกอบการ ผู้บริโภค ทั่วไป ที่ต้องการลิ้มรสราชาแห่งผลไม้ในช่วงฤดูกาลที่สมบูรณ์ที่สุด

ด้วยเจตนารมณ์อันมุ่งมั่นของแม็คโคร ในการทำธุรกิจเคียงข้างเกษตรกรไทย จึงเดินหน้าสนับสนุนผลผลิตจากเกษตรกรช่วงฤดูกาลผลไม้ออกสู่ตลาด โดยในปี 2566 นี้ ได้วางแผนการรับซื้อผลไม้ฤดูกาล ไม่ว่าจะเป็น ทุเรียน มะม่วง เงาะ มังคุด ลำไย สละ ฯลฯ กว่า 36 ล้านกิโลกรัม หรือประมาณ 36,000 ตัน เพิ่มขึ้น 20 % จากปีก่อน โดยกระจายไปจำหน่ายผ่านสาขาของแม็คโครทุกสาขาทั่วประเทศ รวมถึงช่องทางออนไลน์

จากโอกาสที่ “ธันยาภัทร์” ได้รับ ไม่เพียงทำให้เธอมีช่องทางระบายผลผลิตทุเรียนที่กำลังออกผลในตลาดค้าส่งชั้นนำ แต่ “แม็คโคร” ยังแนะนำองค์ความรู้ทางด้านการตลาด รวมถึงมาตรฐานต่างๆ เพื่อสร้างจุดเด่นให้ผลผลิตทุเรียนจากสวนเล็กๆ ในจังหวัดระยองเต็มไปด้วยเสน่ห์ ซึ่งทำให้เธออยากแบ่งปันโอกาสดีๆ นั้นให้เพื่อนชาวสวนทุเรียนในพื้นที่อื่นบ้าง 

ธันยาภัทร์ กล่าวอีกว่า “เราอยากให้ลูกค้าได้ลิ้มลองรสชาติที่แตกต่าง ซึ่งเป็นจุดเด่นของทุเรียนในแต่ละจังหวัด ที่ชาวสวนขนาดเล็กพยายามอนุรักษ์จุดเด่นของทุเรียนเอาไว้ เช่น ทุเรียน ระยอง จะมีเนื้อเหนียวนุ่ม หวานกำลังดี ขณะที่ทุเรียนจันท์ จะหวานกว่าและเนื้อไม่ค่อยเหนียว”

ปีนี้กระทรวงพาณิชย์คาดว่าจะมีผลผลิตผลไม้ออกสู่ตลาดไม่ต่ำกว่า 6.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 3% จากปีที่ผ่านมา และหนึ่งในแนวทางสำคัญในการบริหารจัดการผลไม้ในประเทศ คือการกระจายผลผลิตผ่านช่องทางโมเดิร์น เทรด รวมถึง แม็คโคร ซึ่งจะเป็นการช่วยระบายผลไม้ตามฤดูกาลให้เกษตรกรชาวสวน ลดปัญหาผลผลิตล้นตลาด หรือผลผลิตราคาต่ำ

เพื่อสนับสนุนเกษตรกรไทย สร้างรายได้ที่ยั่งยืน แม็คโคร ยังได้จัดโปรแกรมส่งเสริมการขายต่อเนื่องทุกเดือน ภายใต้คอนเซ็ปต์ Amazing Thai Taste โดยเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน – เดือนสิงหาคม เป็นการกระตุ้นการบริโภคกับลูกค้าทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้ประกอบการร้านอาหาร ที่ต้องการวัตถุดิบไปใช้ในการสร้างสรรค์เมนู รับกระแสการท่องเที่ยวที่กำลังคึกคัก

Page 1 of 4
X

Right Click

No right click