อีริคสัน (NASDAQ: ERIC) และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU)

สั่งการรถบรรทุกเครื่องยนต์ไฟฟ้า ผ่านเครือข่ายอัจฉริยะ 5G ในพื้นที่อุตสาหกรรม SCG แห่งแรกในไทย

อีริคสัน (NASDAQ: ERIC) เปิดรายงานใหม่ครั้งสำคัญ ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยระดับโลกที่ใหญ่ที่สุดในโลกจนถึง ณ ปัจจุบัน ระบุถึงการใช้ 5G ในหลายส่วนของโลกเชื่อมหมุดหมายระหว่างผู้นำกระแส (Early Adopter) ไปสู่การยอมรับในวงกว้าง (Mass Adoption) พร้อมเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคและความคาดหวังของพวกเขาต่อเครือข่าย 5G กับการใช้งานรูปแบบต่าง ๆ ในยุคถัดไป

รายงาน Ericsson ConsumerLab หรือในชื่อ 5G: The Next Wave เผยผลกระทบของเครือข่าย 5G ที่มีต่อผู้บริโภคในกลุ่มผู้นำกระแสจากหลากหลายประเทศ รวมถึงประเมินความตั้งใจและความคาดหวังในการสมัครใช้เครือข่าย 5G ของกลุ่มผู้ใช้ที่ยังไม่ได้เป็นผู้ใช้ 5G (Non-5G Subscribers) จากรายงานคาดการณ์ว่าผู้ใช้สมาร์ทโฟนอย่างน้อย 30% ตั้งใจสมัครใช้เครือข่าย 5G ภายในปีหน้า

รายงานนี้เป็นการผนวกและติดตามข้อมูลโดยอีริคสัน ครอบคลุมตั้งแต่การเปิดตัว 5G เมื่อปี 2562 ซึ่งการสำรวจผู้บริโภคครั้งล่าสุดนี้ ทำให้รายงาน Ericsson ConsumerLab สามารถระบุถึงแนวโน้มสำคัญ 6 ประการอันส่งผลกระทบต่อการนำ 5G มาใช้งานครั้งใหม่

รายงานยังครอบคลุมถึงการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมที่เกิดจากบริการดิจิทัลที่บันเดิลอยู่ในแผนหรือแพ็กเกจ 5G ของผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร (CSP) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้แอปพลิเคชั่นวิดีโอและ AR ที่ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้น

และในรายงานยังระบุถึงความเร็วในการนำเครือข่าย 5G ไปใช้อย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็น การค้นพบความต้องการของผู้บริโภค การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนที่เกี่ยวข้องกับเครือข่าย 5G และผลกระทบต่อการรับ-ส่งข้อมูลในเครือข่าย

งานวิจัยฉบับนี้ได้สัมภาษณ์ผู้บริโภคมากกว่า 49,000 ราย ใน 37 ประเทศ ถือเป็นการสำรวจผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับเครือข่าย 5G ทั่วโลกที่ใหญ่ที่สุดในโลกจนถึง ณ ปัจจุบัน และเป็นแบบสำรวจผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุดที่จัดทำโดยอีริคสันในทุกหัวข้อ ซึ่งขอบเขตในการสำรวจนี้จะเป็นตัวแทนความคิดเห็นของผู้บริโภคประมาณ 1.7 พันล้านคนทั่วโลก รวมถึงผู้ใช้เครือข่าย 5G ราว 430 ล้านราย

มร.อิกอร์ มอเรล ประธานกรรมการ บริษัท อีริคสัน ประเทศไทย กล่าวว่า “การศึกษาเพิ่มเติมทำให้เราเข้าใจถึงมุมมองและทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อเครือข่าย 5G อย่างแท้จริง รายงานนี้แสดงให้เห็นว่าคลื่นลูกต่อไปของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของบริการ 5G มีความคาดหวังเทคโนโลยีที่แตกต่างจากเดิมเมื่อเทียบกับผู้ใช้ในกลุ่มผู้นำกระแส และในภาพรวม ผู้บริโภคมองว่าการมีส่วนร่วมกับ 5G เป็นส่วนสำคัญของไลฟ์สไตล์ในอนาคตของพวกเขา”

“น่าสนใจที่ทราบว่าเครือข่าย 5G กำลังกลายเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญสำหรับการเปิดใช้งานสำคัญในบริการที่เกี่ยวข้องกับเมตาเวิร์สของกลุ่มผู้นำกระแส อาทิ การเข้าสังคม การเล่น และการซื้อสินค้าดิจิทัลในแพลตฟอร์มเกมเสมือนจริง 3 มิติ แบบอินเตอร์แอคทีฟ นอกจากนี้ระยะเวลาที่ผู้ใช้ 5G ใช้ไปในแอปพลิเคชั่น Augmented Reality ก็เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในช่วงสองปีที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับผู้ใช้ 4G” มร.อิกอร์ กล่าวเพิ่มเติม

รายงานยังคาดการณ์ว่าผู้บริโภค 5G ที่มีประสบการณ์ใช้ฟังก์ชัน Extended Reality (XR) จะเป็นผู้ใช้กลุ่มแรกที่เปิดรับอุปกรณ์ในอนาคต เนื่องจากพวกเขามีมุมมองแง่บวกเกี่ยวกับศักยภาพของแว่นตา Mixed Reality Glasses โดยผู้ใช้ 5G ครึ่งหนึ่งที่ใช้บริการด้าน XR ทุกสัปดาห์คิดว่าแอปพลิเคชั่น AR จะย้ายจากสมาร์ทโฟนไปสู่อุปกรณ์ XR แบบสวมศีรษะภายใน 2 ปีข้างหน้านี้ เมื่อเทียบกับ 1 ใน 3 ของผู้บริโภค 4G ที่มีมุมมองแบบเดียวกัน

6 แนวโน้มสำคัญในรายงาน 5G – the Next Wave

1. การใช้งานบริการ 5G ยังคงจะเติบโตสวนกระแสอัตราเงินเฟ้อ ผู้บริโภคอย่างน้อย 510 ล้านรายใน 37 ตลาดทั่วโลก มีแนวโน้มเปิดใช้งาน 5G ในปีหน้า (2566)

2. ความต้องการใช้งานใหม่ ๆ ของผู้ใช้: ผู้ใช้ 5G มีความคาดหวังสูงในด้านประสิทธิภาพของเครือข่าย 5G โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความครอบคลุมของสัญญาณเครือข่าย ต่างจากผู้ใช้ในกลุ่มผู้นำกระแส ซึ่งสนใจเกี่ยวกับบริการที่เป็นนวัตกรรมที่เปิดใช้งานโดย 5G

3. ความพร้อมใช้งาน 5G ที่รับรู้ได้กำลังกลายเป็นมาตรฐานความพึงพอใจใหม่ในหมู่ผู้บริโภค ความครอบคลุมของสัญญาณเครือข่ายทางภูมิศาสตร์ ความครอบคลุมสัญญาณในอาคาร/นอกอาคาร และความครอบคลุมของสัญญาณในจุด Hot-Spot มีความสำคัญต่อการสร้างการรับรู้แก่ผู้ใช้มากกว่าความครอบคลุมของประชากร

4. 5G กำลังกระตุ้นการใช้วิดีโอและเทคโนโลยี AR ที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ในช่วงสองปีที่ผ่านมาผู้ใช้ 5G ใช้งานแอปพลิเคชั่น AR เพิ่มขึ้น 2 เท่า เป็นสองชั่วโมงต่อสัปดาห์

5. โมเดลการสร้างรายได้ 5G จะพัฒนามีความหลากหลายขึ้น: ผู้บริโภค 6 ใน 10 คาดหวังว่าข้อเสนอเกี่ยวกับ 5G จะมากกว่าแค่เรื่องปริมาณการใช้ข้อมูลและความเร็วที่มากขึ้นไปสู่ความสามารถเครือข่ายตามความต้องการเฉพาะ

6. การนำ 5G มาใช้งานกำลังกำหนดเส้นทางไปสู่เมตาเวิร์ส ผู้ใช้ 5G เฉลี่ยใช้เวลา 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในบริการที่เกี่ยวข้องกับเมตาเวิร์ส มากกว่าผู้ใช้เครือข่าย 4G และยังคาดหวังจะใช้เวลาชมเนื้อหาประเภทวิดีโอบนอุปกรณ์เคลื่อนที่อีกสองชั่วโมงทุกสัปดาห์ โดย 1.5 ชั่วโมงชมผ่านแว่นตา AR/VR ภายในปี 2568

ในส่วนของประเทศไทย จากการศึกษาของอีริคสันพบว่า ความพร้อมใช้งาน 5G ของผู้บริโภคในประเทศไทยอยู่ในระดับสูง โดยผู้ใช้ถึง 47% ตั้งใจสมัครใช้ 5G ในปี 2566 และประมาณ 9 ใน 10 ของผู้ใช้ 5G ในปัจจุบันระบุว่า พวกเขาไม่อยากกลับไปใช้เครือข่าย 4G อีก แม้ 5G จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตอย่างแข็งแกร่งต่อการนำ 5G ไปใช้งาน มีลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของบริการ 5G ประมาณ1.5 เท่า ของผู้ใช้ 5G ปัจจุบัน โดยมองว่าเครือข่ายที่ครอบคลุมเป็นเหตุผลสำคัญที่สุดในการสมัครใช้ 5G ขณะที่ผู้ใช้ 5G ในกลุ่มผู้นำกระแส (Early Adopter) 92% ต้องการบริการและอุปกรณ์ดีไวซ์ที่มีนวัตกรรมล้ำสมัยมากยิ่งขึ้น

 

ในปี 2565 คาดว่ายอดผู้สมัครใช้งาน 5G ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะเพิ่มขึ้นสองเท่า จาก 15 ล้านบัญชี ณ สิ้นปี 2564  ตามที่ระบุไว้ในรายงาน Ericsson Mobility Report ของอีริคสัน (NASDAQ: ERIC) ฉบับล่าสุด และยังได้คาดการณ์ไว้อีกว่า ภายในสิ้นปี 2565 จะมียอดสมัครใช้บริการ 5G ทั่วโลกมากถึงหนึ่งพันล้านบัญชี 

ภายในไม่กี่ปีข้างหน้าจะมีการปรับใช้งานเครือข่ายมากขึ้นคาดว่าจะทำให้การสมัครใช้บริการ 5G จะเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ (CAGR) 83% ตลอดช่วงระยะเวลาคาดการณ์ซึ่งจะเพิ่มขึ้นแตะ 570 ล้านบัญชี ภายในปี 2570   ตัวเลขดังกล่าวนี้เกือบเท่ากับจำนวนการสมัครใช้บริการ 4G ทั้งหมดในภูมิภาคในช่วงเวลานั้น โดยปริมาณการใช้ดาต้าบนมือถือต่อสมาร์ทโฟนยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งและคาดว่าจะพุ่งแตะ 45 กิกกะไบท์ (GB) ต่อเดือน ภายในปี 2570 หรือเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ 30% โดยการใช้งาน 5G ที่กว้างขึ้นและบริการ XR ใหม่ จะช่วยผลักดันการเติบโตของปริมาณการใช้ดาต้าเน็ตในช่วงหลังของระยะเวลาคาดการณ์ของอีริคสันจนถึงปี 2570 

มร. อิกอร์ มอเรล  ประธานบริษัท อีริคสัน ประเทศไทย กล่าวว่า “ในตลาดอาเซียน โดยเฉพาะประเทศไทย คาดว่าจะมีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัดทั้งในด้านจำนวนผู้ใช้บริการและปริมาณการใช้งาน 5G โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะมียอดการใช้ดาต้าต่อสมาร์ทโฟนเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง แตะระดับ 45 กิกกะไบท์ (GB) ต่อเดือน ภายในปี 2570 หรือเติบโตเฉลี่ยที่ 30% ต่อปี จากตลาดในประเทศไทยมีความไดนามิกสูงมาจากพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มที่เป็น Tech Savvy ระดับต้น ๆ ของโลก” 

“อีริคสันดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาเป็นเวลานานและเรายังมุ่งมั่นเพื่อเป็นส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเสริมศักยภาพให้แก่ประเทศไทย เราพร้อมร่วมพัฒนาระบบนิเวศ 5G ของประเทศไทย เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จาก 5G ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยี XR/AR การเล่นเกมบนคลาวด์ และช่วยเหลือองค์กรต่าง ๆ เร่งเปลี่ยนผ่านธุรกิจไปสู่ยุคดิจิทัล ด้วยการนำเสนอคลื่น 5G ทั้งย่านความถี่ต่ำ กลาง และสูง ในประเทศไทย ที่เป็นกุญแจสำคัญสำหรับมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า เต็มไปด้วยสมรรถนะของสัญญาณ ความครอบคลุม และความเร็วที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ใช้ 5G ในประเทศไทย” 

คาดว่าในปี 2570 ภูมิภาคอเมริกาเหนือจะกลายเป็นผู้นำโลกด้านการสมัครใช้บริการ 5G โดยจากยอดผู้สมัครใช้บริการมือถือในทุก ๆ 10 รายจะมีผู้สมัครใช้ 5G ถึง 9 ราย 

จากไทม์ไลน์ปี 2570  มีการคาดการณ์เกี่ยวกับ 5G ที่น่าสนใจตามภูมิภาคต่าง ๆ  อาทิ ในยุโรปตะวันตก มีสัดส่วนการสมัครใช้บริการ 5G ที่ 82% ขณะที่ในภูมิภาคของกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC) มีสัดส่วนอยู่ที่ 80% และ 74% ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ  

 

รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด ซึ่งเป็นฉบับที่ 22 ได้นำเสนอข้อมูลเชิงลึกและการคาดการณ์ที่น่าสนใจ พร้อมยังเผยให้เห็นว่าปริมาณการใช้ดาต้าบนมือถือทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าในช่วงสองปีที่ผ่านมา  

การเติบโตของยอดการใช้ดาต้านี้ได้รับแรงหนุนมาจากปริมาณการใช้สมาร์ทโฟนและบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตบนมือถือที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของภาคสังคมและภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไปสู่ดิจิทัล สถิติและการคาดการณ์ล่าสุดยังสะท้อนถึงความต้องการเชื่อมต่อข้อมูลและบริการดิจิทัลอย่างชัดเจน ถึงแม้จะมีการระบาดของโควิด-19 และความไม่แน่นอนของภูมิศาสตร์ทางการเมืองเกิดขึ้นทั่วโลก แต่ก็มีผู้คนหลายร้อยล้านคนสมัครใช้งานบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตบนมือถือใหม่ทุกปี 

รายงาน Ericsson Mobility Report เดือนมิถุนายน ปี 2565 ตอกย้ำให้เห็นว่าการเติบโตของ 5G เป็นเจนเนอเรชั่นเครือข่ายไร้สายที่มีการนำมาใช้งานรวดเร็วกว่าเทคโนโลยีมือถือรุ่นก่อน ๆ ทั้งหมด โดยเวลานี้หนึ่งในสี่ของประชากรโลกสามารถเข้าถึงเครือข่าย 5G ได้ และเพียงช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 มีจำนวนการสมัครใช้บริการ 5G เพิ่มขึ้นประมาณ 70 ล้านบัญชี ซึ่งตามรายงานยังระบุว่า ภายในปี 2570 ประชากรทั่วโลกสามในสี่จะสามารถเข้าถึง 5G ได้  

ในรายงานยังได้ชี้ให้เห็นความสำคัญของการเชื่อมต่อความเร็วสูงแบบ Fixed Wireless Access (FWA) ที่มีบทบาทเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับการให้บริการบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ต โดยอีริคสันคาดการณ์ว่า ในปี 2565 นี้ จะมีการเชื่อมต่อแบบ FWA เกิน 100 ล้านจุด และจะเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวภายในปี 2570 แตะระดับ 230 ล้านจุด 

ในส่วนของ Internet of Thing  (IoT) ตามรายงานระบุว่าในปี 2564 บรอดแบนด์ IoT (4G/5G) แซงหน้า 2G และ 3G กลายเป็นเทคโนโลยีหลักที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่เชื่อมสัญญาณเซลลูลาร์แบบ IoT มากที่สุด หรือคิดเป็น 44% ของการเชื่อมต่อทั้งหมด 

เทคโนโลยีเชื่อมต่อ IoT (NB-IoT, Cat-M) เพิ่มขึ้นเกือบ 80% ช่วงปี 2564 โดยมีการเชื่อมต่อแตะ 330 ล้านจุด และคาดว่าจำนวนอุปกรณ์ IoT ที่เชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยีเหล่านี้จะแซงหน้าเทคโนโลยี 2G/3G ภายในปี 2566  

นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน Thailand 5G Summit 2022 ภายใต้แนวคิด The 5G Leader in the Region ผนึกกำลังเครือข่ายพันธมิตร ผลักดัน 5G สู่โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลสำคัญของไทย และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G ผ่านการแสดงศักยภาพและความพร้อมเชิงพาณิชย์ รวมถึงการสร้างสังคมคุณภาพด้วยเทคโนโลยี 5G เดินหน้าขับเคลื่อนประเทศสู่ ASEAN Digital Hub พร้อมประกาศการสร้างเครือข่ายพันธมิตรเทคโนโลยี 5G ในประเทศ คาดสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจากงานไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาท อีกทั้งเปิดโอกาสให้ผู้สนใจรับความรู้และสัมผัสเทคโนโลยีโชว์เคสด้าน 5G โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เริ่มแล้ววันนี้ – 17 มิถุนายนนี้ ณ ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ และ บางกอก คอนเวนชัน เซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงานสัมมนาและนิทรรศการในชื่อ Thailand 5G Summit 2022 ภายใต้แนวคิด The 5G Leader in the Region ที่จัดโดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) รวมถึงเครือข่ายพันธมิตรภาคเอกชน บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด และ Global System for Mobile Communications Association (GSMA) APAC 5G Industry Community

สำหรับงาน Thailand 5G Summit 2022: “The 5G Leader in the Region” มีวัตถุประสงค์ที่จะผลักดัน 5G สู่โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลสำคัญของประเทศ โดยการส่งเสริมการนำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมสู่เป้าหมายการเป็นศูนย์กลางการลงทุนเพื่อการประยุกต์ใช้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN Digital Hub) มุ่งเน้นการแสดงศักยภาพและความพร้อมในแต่ละภาคส่วนอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งการขับเคลื่อนเชิงพาณิชย์ (Use Case) รวมถึงการสร้างสังคมคุณภาพด้วยเทคโนโลยี 5G พร้อมส่งเสริมองค์ความรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์ และแนวทางปฏิบัติที่ดีในการนำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้เชิงพาณิชย์แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทำให้ทุกภาคส่วนพร้อมใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการพัฒนาระบบนิเวศธุรกิจของกลุ่มเทคโนโลยี 5G ของไทย และผลักดันให้เกิดเครือข่ายพันธมิตรเทคโนโลยี 5G (Thailand 5G Alliance) เพื่อนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศในอนาคต

โดย พลเอก ประยุทธ์ กล่าวบนเวทีปาฐกถาพิเศษหัวข้อ The 5G Leader in the Region ว่า รัฐบาลได้มอบหมายให้ กระทรวงดิจิทัลฯ วางกรอบนโยบายการจัดทำแผนปฏิบัติการว่าด้วยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G ของประเทศ เพื่อบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่รองรับการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ บนโครงสร้างพื้นฐาน 5G ที่รัฐบาลจัดเตรียมไว้ให้ประชาชน และต่อยอดการใช้งาน รวมถึงการส่งเสริมการสร้างระบบนิเวศของอุตสาหกรรมดิจิทัลโดยใช้โครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น อีกทั้งมุ่งเน้นการบูรณาการการทำงานเช่นการจัดงานในครั้งนี้ที่เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนระดับโลกอย่าง หัวเว่ย เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยี 5G ของไทยไปสู่การต่อยอดเชิงพาณิชย์อย่างทั่วถึงและครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับประเทศ พร้อมก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 อย่างเต็มรูปแบบ

Thailand 5G Summit 2022 จะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งเป็นการแสดงศักยภาพและความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่รองรับ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G ของไทย ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพของดิจิทัลสตาร์ทอัพและกำลังคนดิจิทัลของประเทศ รวมถึงการต่อยอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล พร้อมก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการลงทุน และประเทศผู้นำด้านเทคโนโลยี 5G และโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่รองรับการใช้ประโยชน์จาก 5G ในภูมิภาคอย่างแท้จริง ทั้งนี้ทางรัฐบาลต้องขอบคุณสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล รวมถึงหัวเว่ย เป็นอย่างยิ่ง ที่ผลักดันให้เกิดพันธมิตรด้าน 5G ขึ้น ผมเชื่อว่าด้วยความร่วมมือของพันธมิตรจะสามารถนำประเทศไทยสู่ผู้นำด้าน 5G ได้อย่างแน่นอน” พลเอก ประยุทธ์ กล่าว

จากนั้น พลเอก ประยุทธ์ ยังเป็นประธานในพิธีประกาศการสร้างเครือข่ายพันธมิตรเทคโนโลยี 5G ในประเทศไทย โดย ดีป้า และผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงสมาคมในภาคอุตสาหกรรม อาทิ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (AIS) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (True) สมาคมไทยไอโอที และ สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ในภาคอุตสาหกรรม นำไปสู่การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ ทั้งการยกระดับประสิทธิภาพระบบให้บริการด้านสาธารณสุข ความปลอดภัย การศึกษา การขนส่ง การบริหารจัดการโรงงาน และการเกษตรสมัยใหม่ รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง เท่าเทียม เต็มประสิทธิภาพ

 

ด้าน นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ กล่าวว่า การขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลนับเป็นกลไกสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์ในภาคส่วนต่างๆ ซึ่งแนวโน้มพัฒนาการของเทคโนโลยีดิจิทัลถือเป็นรากฐานสำคัญของอุตสาหกรรมและบริการดิจิทัล โดยเฉพาะเทคโนโลยี 5G โครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่จะถูกนำไปใช้พลิกโฉมเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอนาคต กระทรวงดิจิทัลฯ โดย ดีป้า จึงได้ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรจัดงาน Thailand 5G Summit 2022 ขึ้น ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก หัวเว่ย

กระทรวงดิจิทัลฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า งาน Thailand 5G Summit 2022 จะช่วยเปิดโอกาสด้านดิจิทัลให้กับภาคธุรกิจและภาคประชาชน แสดงศักยภาพและความพร้อมของประเทศในการส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้ดิจิทัลต่อยอดธุรกิจให้กับผู้ประกอบการไทย ตลอดจนการพัฒนากำลังคนดิจิทัล และการเพิ่มศักยภาพแก่ดิจิทัลสตาร์ทอัพไทย ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน พร้อมมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการลงทุน และประเทศผู้นำด้านเทคโนโลยี 5G ของภูมิภาคต่อไปรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ กล่าว

ขณะที่ ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าวว่า เทคโนโลยี 5G ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่สำคัญ ด้วยความสามารถในการเป็นโครงข่ายไร้สายที่รวดเร็ว รองรับการสื่อสารระหว่างคนสู่คน และอุปกรณ์สู่อุปกรณ์ (Machine to Machine) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้บริการด้านดิจิทัลแก่ภาคประชาชน โดยงาน Thailand 5G Summit 2022 เกิดขึ้นจากความร่วมมือของเครือข่ายพันธมิตรเทคโนโลยี 5G ซึ่งผู้เข้าร่วมงานจะได้พบกับหลากหลายตัวอย่างของการประยุกต์ใช้ 5G ในภาคอุตสาหกรรม โดยความตั้งใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการจุดประกายความคิด และส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์ รวมถึงแนวทางปฏิบัติที่ดีในการนำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้เชิงพาณิชย์แก่ดิจิทัลสตาร์ทอัพ นักพัฒนา ผู้ประกอบการไทย และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

ดีป้า ประเมินว่า งาน Thailand 5G Summit 2022 จะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากกว่า 5,000 ล้านบาท และถือเป็นก้าวสำคัญในการผนึกกำลังระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน อย่าง หัวเว่ย และในห่วงโซ่ของเอกชน รวมถึงนักลงทุนกว่า 60 ราย ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเดินหน้าพัฒนาประเทศ สร้างบุคลากร และมาตรฐานดิจิทัล พร้อมเผยแพร่องค์ความรู้ ถ่ายทอดเทคโนโลยี 5G เชิงพาณิชย์อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเป็นตัวกลางในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรค รวมถึงกฎระเบียบที่จำเป็นต่อการประยุกต์ใช้ 5G เพื่อการพัฒนาประเทศต่อไปผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว

นายไซมอน หลิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า ความคืบหน้าของการขยับขยายเทคโนโลยี 5G ในระดับโลกเป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งบรรดาผู้บุกเบิกด้าน 5G ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้ก้าวผ่านอัตราส่วน 16% และมุ่งเข้าสู่ยุคทองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยระหว่างกระบวนการแห่งการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ เทคโนโลยี 5G ได้กลายเป็นตัวผลักดันหลักในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตแก่ผู้คน เร่งการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งยังขยายขอบเขตของภาคเศรษฐกิจไปพร้อมกันนอกจากเทคโนโลยีจะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลแล้ว โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลยังเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และเป็นกุญแจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยเช่นกัน

หัวเว่ย มองว่า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถือเป็นตลาดสำคัญของเรามาโดยตลอด และเรามุ่งมั่นที่จะเป็นผู้สนับสนุนหลักด้านเศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคนี้ ซึ่งโครงข่ายการเชื่อมต่อบนเทคโนโลยี 5G ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการที่จะทำให้เราเดินไปถึงเป้าหมายเรื่องนี้ได้ ในฐานะที่ประเทศไทยผันตัวมาเป็นผู้นำด้าน 5G ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างรวดเร็ว หัวเว่ย จะมุ่งสนับสนุนความเร็วของ 5G ในประเทศไทยต่อไปผ่าน 3 เรื่องหลัก ได้แก่ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้าน 5G ชั้นนำ การผลักดันให้เกิดการประยุกต์ใช้ 5G ในภาคอุตสาหกรรม และการสร้างระบบนิเวศสำหรับอุตสาหกรรม รวมถึงทักษะด้าน 5Gนายหลิน กล่าว

เอเชียแปซิฟิกถือเป็นตลาดสำคัญของ หัวเว่ย โดยให้บริการการเชื่อมต่อสำหรับผู้คนกว่า 90 ล้านครัวเรือน และผู้ใช้โทรศัพท์มือถือกว่า 1,000 ล้านคน ซึ่ง หัวเว่ย มุ่งมั่นที่จะเป็นผู้สนับสนุนหลักของวิสัยทัศน์เชิงดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกผ่าน 3 แนวทางหลัก ได้แก่ การเชื่อมต่อและเทคโนโลยีอัจฉริยะ การพัฒนาด้านการลดการใช้คาร์บอนอย่างยั่งยืน และการเข้าถึงระบบดิจิทัลอย่างเท่าเทียม โดย 5G ถือเป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อดิจิทัลอันเป็นพื้นฐานสู่ความสำเร็จของเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคและในประเทศไทย ในฐานะที่ หัวเว่ย เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีไอซีทีและผู้พลิกโฉมสู่ความเป็นดิจิทัลจะเดินหน้าผลักดันนวัตกรรมอัจฉริยะ 5G ผ่านการทำงานกับลูกค้า พันธมิตรในภาคอุตสาหกรรม และภาครัฐ เพื่อนำความอัจฉริยะมาสู่ทุกคน ทุกบ้าน ทุกองค์กร และสร้างประเทศไทยดิจิทัลที่เชื่อมต่อถึงกันอย่างสมบูรณ์ มีความอัจฉริยะ และยั่งยืนไปพร้อมกัน

ด้าน นายจูเลียน กอร์แมน หัวหน้าประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก GSMA APAC 5G Industry Community กล่าวว่า ความร่วมมือการจัดตั้งเครือข่ายพันธมิตรเทคโนโลยี 5G ในครั้งนี้ถือเป็นหมุดหมายสำคัญของประเทศไทย และยังเป็นการจัดตั้งพันธมิตรเพื่อเป้าหมายด้านการพัฒนาระบบนิเวศของเทคโนโลยี 5G เป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย GSMA APAC 5G Industry Community มีความยินดีที่จะร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรผู้นำด้านเทคโนโลยีไอซีทีระดับโลกอย่าง หัวเว่ย เพื่อผลักดันการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ในภาคอุตสาหกรรมไทยให้เกิดศักยภาพสูงสุด

พร้อมกันนี้ ภายในงานยังมีเวทีสัมมนาจากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ กิจกรรมบรรยายและเสวนาเรื่องการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ในภาคอุตสาหกรรมไทย รวมถึงนิทรรศการแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรม 5G ที่สามารถต่อยอดเชิงพาณิชย์ โดยแบ่งพื้นที่จัดแสดงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ออกเป็น 3 โซน ประกอบด้วย โซนที่ 1 การประยุกต์ใช้ 5G ในภาคการผลิตและการขนส่งอัจฉริยะ (5G Smart Manufacturing & Logistics) ครอบคลุมโซลูชันรถขนถ่ายสินค้าอัตโนมัติในโรงงานผ่าน 5G โดรนลาดตระเวนและตรวจสอบ รวมถึงแขนกลยกสินค้าอัจฉริยะ โซนที่ 2 การประยุกต์ใช้ 5G ในภาคสาธารณสุขอัจฉริยะ (5G Smart Medical) ครอบคลุมโซลูชันรถคลินิกเคลื่อนที่ผ่าน 5G กล่องตรวจสุขภาพสำหรับผู้ป่วยติดเตียง และรถพยาบาลอัจฉริยะ 5G โซนที่ 3 เมืองอัจฉริยะ 5G (5G Smart City) ครอบคลุมเรื่องจุดคัดกรองและเสาไฟอัจฉริยะ ช่วยเพิ่มความปลอดภัยด้วยระบบกล้อง AI และศูนย์ดำเนินการอัจฉริยะที่ทำหน้าที่เป็นสมองและระบบประสาทส่วนกลางในเมืองอัจฉริยะ

สำหรับงานสัมมนาและนิทรรศการ Thailand 5G Summit 2022: “The 5G Leader in the Region” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-17 มิถุนายนนี้ ณ ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ และ บางกอก คอนเวนชัน เซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ โดยผู้สนใจสามารถเข้าฟังเสวนา และรับชมเทคโนโลยีโชว์เคส 5G ภายในงานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

X

Right Click

No right click